thaiall logomy background การรักษาพยาบาล : โรคภัยไข้เจ็บคืออะไร
my town
ออกกำลังกาย

โรค คือ อะไร

โรค คือ สภาวะผิดปกติของร่างกาย หรือจิตใจของสิ่งมีชีวิต ซึ่งทำให้การทำงานของร่างกายเสียไป ผิดปกติ หรืออาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต ที่อาจแสดงออกจากโรคได้ชัดเจน หรือไม่ก็ได้ ซึ่งโรคเป็นปัญหาที่ไม่มีใครอยากให้เกิดกับตนเอง ถ้าเกิดโรคแล้วก็ควรอย่างยิ่งที่จะต้องหาข้อมูล เพื่อรักษาให้หาย
โรคภัยไข้เจ็บ | การปฐมพยาบาล | อาหารที่ต้องพึงระวัง | ผู้สูงอายุ
สุขภาพดี ย่อมไม่มี โรคภัยไข้เจ็บ รค คือ สภาวะผิดปกติของร่างกาย หรือจิตใจของสิ่งมีชีวิต ซึ่งทำให้การทำงานของร่างกายเสียไป ผิดปกติ หรืออาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต ที่อาจแสดงออกจากโรคได้ชัดเจน หรือไม่ก็ได้ ซึ่งโรคเป็นปัญหาที่ไม่มีใครอยากให้เกิดกับตนเอง ถ้าเกิดโรคแล้วก็ควรอย่างยิ่งที่จะต้องหาข้อมูล เพื่อรักษาให้หาย
วามหมายของสุขภาพ
สุขภาพ เป็นการกล่าวถึงลักษณะของการไม่เป็นโรค สุขภาพเป็นความสมบูรณ์ของคนใน 4 มิติ คือ 1) ร่างกาย 2) จิตใจ 3) สังคม และ 4) วิญญาณ (ปัญญา) หากสมบูรณ์อย่างสมดุลแล้ว ก็เรียกว่า สุขภาวะ ตามนิยามขององค์การอนามัยโลก
สุขภาพ หมายถึง สุขภาวะทางร่างกาย จิตใจ และสังคม รวมทั้งการปราศจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งทางกายและทางใจ สุขภาพที่ดีมีส่วนทำให้ชีวิตของเรามีความสุข
สุขภาพ หมายถึง ระดับของประสิทธิภาพเชิงการทำงาน หรือเชิงเมตาบอลิกของสิ่งมีชีวิต และตามนิยามขององค์การอนามัยโลก หมายถึง สภาวะอันสมบูรณ์ของภาวะทางกาย จิต จิตวิญญาณ และสังคมของบุคคล อันมิได้หมายถึง ความปราศจากโรคหรือความบกพร่องเพียงอย่างเดียว (wiki)
ารรักษาพยาบาล คือ การให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยตรงแก่ผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัวของผู้มีสิทธิ เพื่อการรักษาโรค การตรวจวินิจฉัย การฟื้นฟูสมรรถภาพ ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต และให้หมายความรวมถึงการตรวจสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคเพื่อประโยชน์ด้านสาธารณสุข ทั้งนี้ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด แต่ไม่รวมถึงการเสริมความงาม
ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการให้บริการรักษาพยาบาลเป็นเงินเชื่อ พ.ศ. 2562
โรคภัย ไข้เจ็บ
ส่าไข้
หัด
หัดเยอรมัน
ไข้ดำแดง
โรคสุกใส
ไข้หวัดใหญ่
คออักเสบ
หลอดลมอักเสบ
ปอดอักเสบ
วัณโรคปอด
เยื้อหุมปอดอักเสบ
คอตีบ
หืด
ไอกรน
หลอดลมฝอยอักเสบ
ใส้ติ่งอักเสบ
เยื้อบุช่องท้องอักเสบ
ถุงน้ำดีอักเสบ
อาหารเป็นพิษ
กระเพาะอักเสบ
บิดซิลเกลลา
ไข้ไทฟอยด์
ตับอักเสบจากไวรัส
ฝีในตับ
มะเร็งตับ
ไข้เลือดออก
มาลาเรีย
เล็ปโตสไปโรซิส
โลหิตเป็นพิษ
กรวยไตอักเสบ
หน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
มดลูกอักเสบ
การอักเสบในอุ้งเชิงกราน
แท้งบุตร
มะเร็งเม็ดเลือดขาว
มะเร็งของต่อมน้ำเหลือง
ผิวหนังอักเสบ
ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ
หัวใจขาดเลือด
หัวใจเต้นผิดจังหวะ
โลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก
โลหิตจาง เม็ดเลือดแดงแตก
โลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ
ไอทีพี
ปวดศรีษะจากความเครียด
ไมเกรน
ความดันโลหิตสูง
เนื้องอกในสมอง
ฝีในสมอง
เยื่อบุสมองอักเสบ
เส้นโลหิตโป่งพองในสมอง
หลอดโลหิตแดงที่ขมับอักเสบ
ต้อหิน
การบาดเจ็บที่ศรีษะ
สมองอักเสบ
ไซนัสอักเสบ
ข้อเสื่อม
ข้ออักเสบรูมาติก
โรคเกาต์
ข้ออักเสบรูมาตอยด์
ข้ออักเสบชนิดติดเชื้อ
โรคผื่นแดง
ข้อเคล็ดข้อเคลื่อน
โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน
โรคข้อ กระดูกสันหลังอักเสบ
โรคข้อเสื่อม
โรคข้อรูมาตอยด์
โรคข้อรูมาตอยด์เด็ก
โรคข้อหลังอักเสบ
โรคข้ออักเสบไรเตอร์
โรคเก๊าท์เทียม
โรคไฟโบรซัยติส
โรคกล้ามเนื้ออักเสบ
โรคกระดูกพรุน
โรคผิวหนังแข็ง
อาการปวดมือและข้อมือ
อาการปวดคอ
อาการปวดไหล่
อาการปวดหลัง
อาการปวดเข่า
โรคเอดส์
โรคอัลไซเมอร์
ปลาดิบในทะเล มีพยาธิ อย่างแน่นอน ภาพจาก popsugar.com ทความใน ม.มหิดล โดย ดร.ภก.จตุรงค์ ประเทืองเดชกุล และ ภก.สุเมธ จงรุจิโรจน์ ภาควิชาจุลชีววิทยา ระบุว่า มีความเชื่อผิด ๆ ว่า ไม่พบพยาธิในปลาน้ำทะเลอย่างแน่นอน จะพบพยาธิเฉพาะปลาน้ำจืดเท่านั้น จึงรับประทานปลาดิบจากทะเลได้อย่างสบายใจ ในความเป็นจริงปลาทะเลก็มีพยาธิได้ ดังข่าวเมื่อสิงหาคม 2554 ว่าพบพยาธิตัวกลมชนิดหนึ่งในปลาดิบที่ขายอยู่ตามร้านอาหารญี่ปุ่นทั่วไป เจ้าพยาธิที่ว่านี้มีชื่อ อะนิซาคิส (Anisakis simplex) ทำให้เกิดโรคเอนิซาคิเอซิส (Anisakiasis) ตรวจพบได้ในปลาหลายชนิด เช่น ปลาดาบเงิน ปลาตาหวาน ปลาสีกุน ปลาทูแขก ปลากุเลากล้วย ปลาลัง ปลาคอด ปลาแซลมอน ปลาเฮอริ่ง เมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว พยาธิอาจจะชอนไชไปตามทางเดินอาหาร อยู่ในลำไส้ หรือในช่องท้อง
+ ระหว่างปี พ.ศ.2508 - 2530 มีรายงานว่าพบผู้ป่วยในประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 4000 ราย ซึ่งพบการเกิดก้อนทูมในกระเพาะอาหารมากที่สุด ถ้าตัดก้อนทูมจะพบพยาธิอยู่ภายในก้อนทูม การรักษาทำได้โดยการผ่าตัด แล้วปี พ.ศ.2538 มีรายงานพบผู้ป่วยในญี่ปุ่นประมาณ 2000 ราย ในสหรัฐอเมริกามีรายงานการพบผู้ป่วยประมาณ 500 รายต่อปี ในยุโรปมีประมาณ 500 ราย สำหรับประเทศไทยก็มีรายงานการพบผู้ป่วยครั้งแรกจากพยาธิชนิดนี้ในชาวประมงทางภาคใต้ และยังมีรายงานว่าพบผู้ที่เกิดอาการแพ้ต่อพยาธิตัวนี้ทำให้เกิดผื่นลมพิษ ดังนั้นการรับประทานปลาดิบ อาหารอันเลื่องชื่อของแดนอาทิตย์อุทัย จึงต้องสังเกตเนื้อปลาว่ามีตัวอ่อนของพยาธิปะปนอยู่หรือไม่ เพื่อความปลอดภัย
กินปลาดิบอย่างไร ให้ห่างไกลจากพยาธิ
สิ่งที่มากับ…..ปลาดิบ
กินอาหารทะเล มีสารพิษ ส่งผลถึงตับ ไต ใส้ พุง ได้รับพิษ ภาพหอยจาก nytimes.com อ่านข่าว thairath 25 มี.ค.57 พบว่า กรมอนามัย ให้เลี่ยงอาหารประเภทหอย เนื่องจากเป็นแหล่งสะสมขี้ปลาวาฬ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ห่วงอันตรายจากแบคทีเรียที่ปนเปื้อนในอาหารทะเล
ดย ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า อุณหภูมิที่สูงในช่วงหน้าร้อน ทำให้เชื้อจุลินทรีย์เจริญได้ง่าย และพบโลหะหนักหลายชนิด ทั้งตะกั่ว สังกะสี แคดเมียม และทองแดง ในอาหารทะเล ประเภทปูม้า หอยนางรม และปลาหมึก มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี และยังมีพิษอื่น ๆ ที่อาจพบได้ในอาหารทะเล อาทิ ขี้ปลาวาฬ ที่เกิดขึ้นจากแพลงตอนจำพวกไดโนแฟลกเจลเลต (Dinoflagellate) สามารถพบได้ในน้ำทะเลทั่วไป สังเกตได้จากน้ำมีสีน้ำตาลแดง เมื่อมีอากาศร้อนจัดสัตว์ชนิดนี้ จะแบ่งเซลล์และเจริญเติบโตได้ในน้ำทะเลอย่างรวดเร็ว โดยขี้ปลาวาฬจะเข้าสู่สัตว์ทะเลผ่านทางห่วงโซ่อาหาร พบมากในหอย ซึ่งจะสร้างสารพิษพวกไบโอท็อกซิน (Biotaxin) ที่ทนความร้อน ไม่สามารถทำลายได้ในกระบวนการปรุงอาหาร เมื่อกินเข้าไปจะทำให้มีอาการชาบริเวณปากและทำให้แน่นหน้าอก เคลื่อนไหวลำบาก บางรายมีอาการอาเจียนด้วย
ระแวง อาการของโรคสมองเสื่อม "ลืมกินยา หงุดหงิดง่าย ตัดสินใจไม่ถูก ลืมสิ่งที่เคยทำประจำ วางของผิดที่ สับสนเรื่องเวลา หยุดสนทนากลางคัน เดินเรื่อยเปื่อย"
หตุเกิดเมื่อวันนี้ (1 เม.ย.58) เป็นครั้งแรกที่ผมปิดประตูขังเพื่อนร่วมงานไว้ในห้อง ทุกครั้งหลัง 17.00น. จะรู้ตัวหลังก้าวห่างประตูไปไม่กี่ก้าว แล้วกลับไปไขประตูลูกบิดคืน เนื่องจากในห้องทำงานอยู่กันเพียง 2 คน ครั้งใดจะออกห้องก็ต้องล็อกทุกครั้ง วันนี้ล็อกห้องทำงาน ทั้งที่เพื่อนยังนั่งทำงานอยู่ในห้อง เพราะใจจดจ่อกับเรื่องอื่น จึงปล่อยให้ร่างกายถูกควบคุมโดยสมองส่วนใน แล้วสมองส่วนนอกคิดอีกเรื่อง ทำให้รู้สึกว่าความขี้หลงขี้ลืม เป็นอาการเริ่มต้นของโรคสมองเสื่อมคงอยู่อีกไม่ไกลเลย แล้วนึกถึงการก่ออาชญากรรมของผู้คนในข่าว เชื่อว่าเหตุการณ์มากมายที่มีผู้กระทำผิด ถูกคุมด้วยสมองส่วนใน/สมองของสัตว์เลื้อยคลาน หรือสมองเสื่อม ตามทฤษฎีสมองสามส่วน
ต.ย.สมองเสื่อมชั่วคราว : ลืมข้อสอบที่ท่องมา ขับเลยป้ำน้ำมัน ซื้อของไม่ครบ ส่งงานช้า
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์
Siamhealth.net - โรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์
คุณหมอกฤตไท เล่าเรื่องผ่านเพจ สู้ดิวะ มื่อวันที่ 10 พ.ย.65 ได้อ่านเรื่องเล่าที่ชวนให้คิดตามในหลายประเด็น เล่าโดย คุณหมอกฤตไท ผ่านแฟนเพจ #สู้ดิวะ เป็นเรื่องราวชีวิตของคุณหนุ่มแพทย์ อายุ 28 ปี ที่ก้าวหน้าในการใช้ชีวิตการงาน มีอาชีพที่มั่นคง เป็นบทเรียนชีวิตที่ช่วยกระตุ้น ให้เราได้มีความตระหนักในการดูแลสุขภาพ เพราะ ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน (certainty is uncertainty) เรื่องปัญหาสุขภาพ และเกิดขึ้นได้ กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพ และมักมาในเวลาที่เราไม่ทันตั้งตัว ขึ้นชื่อว่ามนุษย์แล้ว โรคภัยถามหาได้ตลอดเวลา ซึ่งการเขียนบอกเล่าเรื่องราวแบบ #storytelling ก็เป็นบทเรียนที่น่าสนใจ พบว่า คุณหมอเขียนเรื่อง โรคมะเร็งปอด ที่ตนเองพบกับตัว อย่างไม่ทันได้ตั้งตัว ได้กระชับเข้าใจง่าย อ่านแล้วได้ข้อคิด ขอขอบคุณที่ได้กรุณาแบ่งปันผ่านสื่อสังคมให้เราได้ตระหนักในการดูแลสุขภาพ
นพ.กฤตไท และ พ.ต.ต.รุ่งคุณ ได้ออกมาแชร์เรื่องราวของตนเอง ที่ได้ป่วยเป็นมะเร็งปอด
ผู้ป่วยอัลไซเมอร์บนถนน มื่อวันที่ 16 ก.พ.2560 มีการแชร์คลิป และคิดกันว่าคุณแม่ท่านที่อยู่ในคลิป เป็นแก็งค์มิจฉาชีพ แกล้งทำให้รถชน เหตุเกิดใน อ.เซกา จ.บึงกาฬ แล้วหวังเงินจากผู้เสียหาย เมื่อสืบกันลึกลงไป ก็พบว่าคุณแม่ท่านป่วย เป็นอัลไซเมอร์ หรือสมองเสื่อมนั่นเอง
http://article-thaiall.blogspot.com
เชื่ออาจารย์หมอท๊อป กินไข่ต้ม 3 ฟอง ฟังอาจารย์หมอท็อป เล่าเรื่องกินไข่ต้ม 3 ฟอง แล้วมีผลดีต่อสุขภาพถึง 5 สิ่ง เมื่อกินติดต่อกัน 7 วัน คือ 1) ลดน้ำหนักอย่างมีคุณภาพ 2) กระดูกแข็งแรงขึ้น 3) บำรุงสมอง 4) เลือดดีขึ้น 5) สายตาดีขึ้น ด้วยสารบำรุงมากมายที่ได้รับจากไข่
8 เคล็ดลับสร้างฮอร์โมนความสุข อ่านเรื่อง 8 เคล็ดลับ สร้างฮอร์โมนความสุขให้ตัวเอง ในเว็บไซต์ของโรงพยาบาลเด็กสมิติเวช เขียนโดย นพ. ไพศิษฐ์ ตระกูลก้องสมุท เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2563 พบว่า มี 8 เคล็ดลับสร้างฮอร์โมนแห่งความสุข ได้แก่
1. การออกกำลังกาย
- โกรทฮอร์โมน (Growth hormone)
- เทสโทสเตอโรน (Testosterone)
- อินซูลิน (Insulin)
- ไทรอยด์ฮอร์โมน (Thyroid)
- โดพามีน (Dopamine)
- เซโรโทนิน (Serotonin)
- เอนดอร์ฟิน (Endorphin)
2. กิจกรรมพาสุขและรอยยิ้มคลายเศร้า
- เซโรโทนิน (Serotonin)
- เอนดอร์ฟิน (Endorphin)
3. รับแสงแดดอ่อนๆ
- เซโรโทนิน (Serotonin)
4. กินช็อกโกแลตบ้าง
- ช่วยทำให้ระบบไหลเวียนเลือดสมดุล
- เสริมความแข็งแรงของหลอดเลือดหัวใจ
5. เน้นอาหารที่เป็นแหล่งทริปโตเฟน
- นม เนย ไข่แดง เนื้อสัตว์ ปลา ถั่ว และอาหารที่มีโปรตีนสูง
- เซโรโทนิน (Serotonin)
6. เล่นกับสัตว์เลี้ยง
- เซโรโทนิน (Serotonin)
- ออกซิโตซิน (Oxytocin)
7. กอด จูบ สัมผัสกับคนที่เรารัก
- เอนดอร์ฟิน (Endorphin)
- โดพามีน (Dopamine)
- ออกซิโตซิน (Oxytocin)
8. การทำสมาธิ
- ลดฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ที่หลั่งออกมาเวลาเครียด
- เอนดอร์ฟิน (Endorphin)
8 เคล็ดลับ สร้างฮอร์โมนความสุขให้ตัวเอง 11 มิ.ย.63
8 ฮอร์โมนสำคัญของร่างกายที่ต้องทำความรู้จักและรับมือให้เป็น 1 มี.ค.64
เมากัญชา ทำอย่างไร เรื่อง เมากัญชา ทำอย่างไร
1. อาการเมากัญชา ตาแดง เดินเซ การตอบสนองช้าลง ปากแห้ง เพิ่มความอยากอาหาร อารมณ์เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว หัวใจเต้นเร็ว ความดันเพิ่มขึ้น เมื่อใช้ปริมาณมากจะมีอาการหลอน เกิดภาพลวงตา ควบคุมตัวเองไม่ได้ ให้รีบส่งโรงพยาบาล
2. ระยะเวลาที่มีอาการ หลังใช้ 2-3 ชม. และอาจอยู่ในร่างกายนานหลายวันถึงเป็นเดือน ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ใช้
3. อาการถอนยา อาการปวดศีรษะ นอนไม่หลับ คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องเสีย ปวดท้อง สั่น เหงื่อออก ไข้ สั่น หลังหยุดกัญชา มักมีอาการ 24-48 ชม. อาการมากสุด อาการมากสุด วันที่ 4-6 อาการจะคงอยู่ 1-3 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ได้รับ สมุนไพรที่อาจจะลดอาการเมากัญชา ได้ น้ำมะนาว หรือรับประทานรากว่านน้ำ
4. ถ้ามีอาการทางจิต เช่น มีภาวะซึมเศร้า กระสับกระส่ายอย่างรุนแรง เห็นภาพหลอน มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ให้รีบส่งโรงพยาบาล
จากบทความ โรงพยาบาลบางโพ ข้อมูลโดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์วินัย วนานุกูล ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
แม่ล้ม ผมก็ล้ม : เป็นกรณีศึกษาที่ผมพบกับตัว บันทึกเป็นบทเรียนของชีวิต
มีถึงเกือบร้อยละ 10 ของผู้สูงอายุที่สมองเสื่อม (๑.)
คนที่ไม่กลัว น่ากลัวนะ (๒.)
พรจากฟ้า (๓.)
อาบน้ำให้แม่ (๔.)
ถ่ายหนัก ถ่ายเบา ก็เรา นายพยาบาล (๕.)
ข้าวเหนียวเปียก (๖.)
นั่งเป็นเพื่อนคุณแม่ทานข้าว (๗.)
วันนี้คุณแม่ล้มทั้งยืน (๘.)
ท้องผูกจากพาร์กินสันไม่ธรรมดา (๙.)
คนที่อยู่ในฝันของแม่ ไม่มีผม (๑๐.)
Thaiall.com