thaiall logomy background ผลวิจัยพบ 5 รูปแบบการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุในปัจจุบัน
my town
รดน้ำดำหัว

5 รูปแบบการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุในปัจจุบัน

รูปแบบการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ คือ กิจกรรมที่ดำเนินตามปกติในทุกวันของผู้สูงอายุทั่วไปที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป หรือการใช้ชีวิตด้วยการทำกิจกรรมหลังเกษียณ เช่น การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การมีความรักความผูกพันต่อคนในครอบครัว การทำกิจกรรมเสียสละเพื่อส่วนรวม และ การฝึกจิตใช้ธรรมะเป็นที่พึ่ง
โรงเรียนผู้สูงอายุ | วิจัยเพื่อท้องถิ่น | ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง | กลุ่มผู้สูงอายุ | แม่ล้มผมก็ล้ม |
รูปแบบการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุในพิธีดำหัวผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของจังหวัดลำปาง เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี 2566 รูปแบบการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ คือ กิจกรรมที่ดำเนินไปตามปกติในแต่ละวัน ในกลุ่มผู้สูงอายุทั่วไป และ กลุ่มผู้ทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องหลังเกษียณ พบว่า มีความสอดคล้องกับรูปแบบการใช้ชีวิตในคลิป The grand age final ของ 8 บุคคลตัวอย่าง พบว่า มีการสรุปกิจกรรมหลักได้ 5 กิจกรรม ได้แก่ 1) การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ (Food) คือ ทานอาหารให้ครบห้าหมู่ ละเว้นสิ่งที่หมอห้าม และไม่ทำลายสุขภาพ 2) การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ (Exercise) คือ ออกทำกิจกรรมทุกวันให้เหมาะสมกับวัย และทำอย่างมีความสุข 3) การมีความรักความผูกพันต่อคนในครอบครัว (Relationship) คือ การแสดงความรักต่อกันและกันมีผลดีต่อสุขภาพจิต 4) การทำกิจกรรมเสียสละเพื่อส่วนรวม (Sacrifice) คือ การเป็นผู้ให้ตามสมควรย่อมส่งผลให้จิตใจเบิกบาน เข้าสังคมช่วยให้รู้สึกถึงคุณค่าของชีวิต 5) การฝึกจิตใช้ธรรมะเป็นที่พึ่ง (Willpower) คือ การมีที่ยึดเหนี่ยวย่อมทำให้จิตใจเข้มแข็ง ทำกิจกรรมทางศาสนาร่วมกับเพื่อน ซึ่งการได้ออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านข้างต้นร่วมกับเพื่อนใหม่ในสังคมอยู่เสมอ จะทำให้ชีวิตได้พบกับความท้ายทาย และได้เรียนรู้สิ่งใหม่อยู่ตลอดเวลา ซึ่งเนื้อหาส่วนหนึ่งปรากฎในบทความวิจัย เรื่อง การศึกษาวิถีชีวิตของผู้สูงอายุ: การศึกษาแบบเรื่องเล่า โดย อัญญา ปลดเปลื้อง และคณะ ตีพิมพ์ใน วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1) และในคลิป The grand age final ที่มีตัวอย่าง 8 บุคคลตัวอย่าง
ส่งข้อมูลออกเป็น ส่งออก: image ส่งออก: pdf
ผู้สูงอายุ คือ อะไร ผู้สูงอายุ (Elderly) คือ บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ทั้งชายและหญิง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้สูงอายุตอนต้น คือ บุคคลที่มีอายุ 60-69 ปี ทั้งชายและหญิง และผู้สูงอายุตอนปลาย คือ บุคคลที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป ทั้งชายและหญิง
นพิการ (Disabled person) คือ บุคคลซึ่งมีความสามารถถูกจำกัดให้ปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน และการมีส่วนร่วมทางสังคมได้โดยวิธีการทั่วไป เนื่องจากมีความบกพร่องทางการมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญาและการเรียนรู้ และมีความต้องการจำเป็นพิเศษด้านต่าง ๆ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตและมีส่วนร่วมในสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป
"แนวคิดที่จะช่วยพัฒนาศักยภาพคนพิการ
ต้องเริ่มที่ตัวเรา และสภาพแวดล้อม
มองเขาด้วยความเท่าเทียม เชื่อมั่นและเชื่อใจ
สิ่งนี้จะเป็นจิ๊กซอว์ที่มาเติมเต็มหัวใจ
ให้เขากล้าที่จะออกมาข้างนอก
ลุกขึ้นมาสร้างการเรียนรู้ด้วยตัวเอง
เพื่อยกระดับอาชีพ สร้างรายได้
ควบคู่กับการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
เพื่อที่จะอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างไม่รู้สึกแตกต่าง
"

นภาพร ขยันดี พี่เลี้ยงภาคเหนือ
ที่มาของวันผู้สูงอายุสากล
https://article-thaiall.blogspot.com/2017/12/3.html
งค์การสหประชาชาติ กำหนดให้ทุกวันที่ 1 ตุลาคม ของทุกปี เป็น "วันผู้สูงอายุสากล" หรือ "International Day of Older Persons" โดยกำหนดขึ้นเป็นครั้งแรกในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1991 (พ.ศ. 2534) จากการประชุมขององค์การสหประชาชาติ เมื่อปี ค.ศ. 1990 (พ.ศ. 2533) ทั้งนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2525 องค์การสหประชาชาติได้เคยจัดประชุมสมัชชาโลกเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย และได้ให้ความหมายของคำว่า "ผู้สูงอายุ" ว่า ผู้สูงอายุ คือ บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ทั้งชายและหญิง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้สูงอายุตอนต้น คือ บุคคลที่มีอายุ 60-69 ปี ทั้งชายและหญิง และผู้สูงอายุตอนปลาย คือ บุคคลที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป ทั้งชายและหญิง
ระเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ล้วนให้ความสำคัญกับวัยสูงอายุเป็นอย่างมาก และมีการกำหนดวันเพื่อเฉลิมฉลอง และตระหนักถึงคุณงามความดีของผู้สูงอายุ อย่างเช่น "วันผู้สูงอายุแห่งชาติ" (National Grandparents Day) ของประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศแคนาดา ขณะที่ประเทศญี่ปุ่น ก็มีวันให้ความเคารพต่อผู้สูงอายุเช่นกัน (Respect for the Aged Day) ซึ่งตรงกับวันจันทร์สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนกันยายน ของทุกปี สำหรับในประเทศไทย ได้ตระหนักถึงคุณค่าของผู้สูงอายุเช่นกัน โดยรัฐบาล พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ได้กำหนดให้วันที่ 13 เมษายน ของทุกปี ซึ่งถือเป็นวันสงกรานต์ และวันปีใหม่ของไทย เป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ พร้อมแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานวันผู้สูงอายุแห่งชาติ มีปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน และจัดให้มีกิจกรรมต่าง ๆ สำหรับผู้สูงอายุทุกปี
อกจากการกำหนดให้วันที่ 13 เมษายน เป็น วันผู้สูงอายุแห่งชาติ แล้ว ยังได้กำหนดให้ "ดอกลำดวน" เป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงอายุด้วย ซึ่งสาเหตุที่เลือก "ดอกลำดวน" เนื่องจากต้นลำดวน หรือหอมหวล (Melodorum fruticosum Lour) ตามชื่อไทยพื้นเมือง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sphaerocoryne clavipes. จัดอยู่ในวงศ์ Annonaceae เป็นพืชยืนต้นที่มีอยู่มากในสวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี คอยให้ความร่มเย็น ลำต้นของลำดวนมีอายุยืน มีใบเขียวตลอดปี ดอกสีเหลืองนวล กลิ่นหอมเย็น กลีบแข็งแรงไม่ร่วงง่าย เปรียบเหมือนกับผู้ทรงวัยวุฒิที่คงคุณธรรมคุณงามความดีให้กับลูกหลานไว้เป็นแบบอย่างสืบต่อไป
1 ตุลาคม วันผู้สูงอายุสากล
กลุ่มอายุ (13 พฤศจิกายน 2557) อยู่เพื่อลูก ลุ่มอายุ บทความโดย จินดารัตน์ โพธิ์นอก ในสำนักงานราชบัณฑิตยสภา "ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางประชากรศาสตร์ หากใช้การวิเคราะห์อายุเป็นรายปีอาจมีความละเอียดมากเกินไป จึงมักรวมอายุรายปีเป็นกลุ่ม เรียกว่า กลุ่มอายุ (age group) ซึ่งพจนานุกรมศัพท์ประชากรศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน อธิบายว่า กลุ่มอายุ หมายถึง อายุของประชากรที่จัดรวมกลุ่มเป็นช่วง ๆ เช่น กลุ่มอายุ 0-2 ปี 3-4 ปี โดยที่หน่วยช่วงอายุอาจเป็นวัน เดือน หรือปี ก็ได้ ตามปรกตินิยมเสนออายุประชากรด้วยหน่วยเวลาเป็นปี กลุ่มอายุที่นิยมกันมากที่สุดในการเสนอภาพโครงสร้างประชากรหรือการนำอายุประชากรไปวิเคราะห์ร่วมกับตัวแปรอื่น ๆ ได้แก่ กลุ่มอายุ 5 ปี เช่น ถ้าเรียงลำดับกลุ่มอายุ 5 ปีตั้งแต่แรกเกิดขึ้นไปจะได้ดังนี้ 0-4, 5-9, … , 75-79, 80-84 เมื่อถึงกลุ่มอายุสูงสุดที่เกินกว่านั้น จะจัดเป็นกลุ่มอายุเปิดคือ 85 ปี ขึ้นไป ในการสร้างพีระมิดประชากร (population pyramid) นิยมแบ่งประชากรชายและหญิงออกเป็นกลุ่มอายุ 5 ปี เช่นเดียวกับตารางชีพย่อ (abridged life table) ที่แบ่งประชากรในตารางเป็นกลุ่มอายุ 5 ปี เช่นกัน ยกเว้นกลุ่มอายุน้อยสุดที่ต่ำกว่า 5 ปี จะแบ่งย่อยเป็น 2 กลุ่ม คือ อายุ 0 ปี และกลุ่มอายุ 1-4 ปี นอกจากนั้น ในการคิดอัตรารายอายุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอัตราเจริญพันธุ์รายอายุ อัตราตายรายอายุ ก็นิยมคิดเป็นอัตราของกลุ่มอายุ 5 ปี เช่นเดียวกัน ประชากรทั้งหมดตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุสูงสุด อาจจัดแบ่งเป็น 3 กลุ่มอายุใหญ่ ๆ ได้แก่ (1) กลุ่มประชากรวัยเยาว์ หรือประชากรเด็ก (young-age population) คือ ประชากรตั้งแต่อายุ 0 ปี จนถึง 14 ปี หรือประชากรที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ทั้งหมด (2) กลุ่มประชากรวัยทำงาน (working-age population) คือ ประชากรอายุ 15-64 ปี แต่ประเทศไทย นิยามว่า ประชากรวัยแรงงาน คือ ประชากรอายุ 15-59 ปี (3) กลุ่มประชากรสูงอายุ (old-age population) คือ ประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป แต่ประเทศไทยนิยามว่า ผู้สูงอายุ (elderly) คือ ผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ หมายถึง ผู้มีอายุ 65 ปีขึ้นไป"
ผู้สูงอายุ คือ บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น พร้อมกับอัตราการเกิดลดลง
นเกิดน้อย เป็นที่ปัญหาที่หลายประเทศกำลังเผชิญ ประเทศไทยเองก็เริ่มมีปัญหานี้ชัดเจนมาได้หลายปีแล้ว แต่นโยบายเพิ่มอัตราการเกิดยังไม่มีผลเป็นรูปธรรม มีคำหลายคำในคลิปวิดีโอ ที่ทำให้ต้องหยุดฟัง เพราะกระทบวิถีชีวิตของคนในปัจจุบันและอนาคตอย่างแน่นอน ได้แก่ "คนไทยแก่ จน ไม่มีคนดูแล" / "เด็กเกิดใหม่น้อย คนไทยไม่อยากมีลูก" / "ทำไมคนไทย เกิดน้อย แก่ก่อนรวย" / "คนไทยไม่อยากมีลูก จุดเริ่มต้นวิกฤษขาดแคลนแรงงาน" / "เปิดข้อมูลประชากรไทยวิกฤตแค่ไหน เมื่อเด็กเกิดใหม่ต่ำทุบสถิติ" / "เศรษฐกิจไทยจะไปรอดไหมกับสังคมผู้สูงอายุ" / "ปี 64 เด็กเกิดต่ำสุด เป็นประวัติการณ์"
ระเทศที่รวมชะตาเดียวกันที่มีอัตราการเกิดลดลง แต่ประชากรผู้สูงอายุเพิ่ีมขึ้น เช่น ญี่ปุ่น สเปน โปรตุเกส เกาหลีใต้ โปรตุเกส อิตาลี และไทย เมื่อมองในระดับโลกจะพบงานวิจัยของ ศ.เมอร์เรย์ และได้ให้ความเห็นว่า "ประชากรลดลงอาจดีต่อสิ่งแวดล้อมก็จริง แต่สิ่งที่น่าห่วงก็คือการเปลี่ยนแปลงของสัดส่วนอายุประชากร คือมีคนชรามากกว่าคนหนุ่มสาว ซึ่งจะส่งผลกระทบด้านอื่น ๆ ตามมาอีกหลายอย่าง"
การพัฒนาทุกด้านทำให้อายุขัยเฉลี่ยสูงจาก 37 ปีในสมัย ร.5 ไปอีกหนึ่งเท่าตัว ปัจจุบัน พ.ศ. 2564 อายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์อยู่ที่ 77 ปี ส่วนเมื่อ 100 ปีที่แล้วหรือประมาณช่วงรัชกาลที่ 5 คนไทยมีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 37 ปี และอายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์ (ปี ค.ศ. 1850 หรือ พ.ศ. 2393) อยู่ที่ 45 ปีเท่านั้น ส่วนอายุขัยเฉลี่ยของคนไทย พบว่า ปี พ.ศ. 2505 อายุเฉลี่ยคนไทยอยู่ที่ 57.29 ปี โดยสาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวกับโรคที่เกี่ยวกับ การติดเชื้อ เช่น กระเพาะ/ลำไส้อักเสบ วัณโรค และระบบทางเดินหายใจ ปอดอักเสบ ไข้จับสั่น ฯลฯ ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 อายุขัยโดยเฉลี่ยคนไทยสูงขึ้นเป็น 74.90 ปี โดยสาเหตุการเสียชีวิต อันดับ 1 คือ โรคมะเร็ง อันดับ 2 คือ อุบัติเหตุ อันดับ 3 คือ โรคความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดในสมอง อันดับ 4 คือ โรคหัวใจ สาเหตุหนึ่งที่มนุษย์เรามีอายุขัยเฉลี่ยสูงขึ้น เพราะการรักษาพยาบาลที่ดีขึ้น การดูแลสุขภาพของมนุษย์ดีขึ้น ร่างกายแข็งแรง มีเพื่อนพูดคุยทำให้จิตใจแจ่มใส ร่างกายแข็งแรงอยู่ดีกินดีเลือกรับประทานของที่มีประโยชน์กับตนเอง อยู่ในสังคมที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ช่วยทำให้มีแนวปฏิบัติที่มาจากความรู้ส่งผลให้อายุเฉลี่ยสูงขึ้น ความหมายของ สุขภาพ หมายถึง สุขภาวะทางร่างกาย จิตใจ และสังคม รวมทั้งการปราศจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งทางกายและทางใจ สุขภาพที่ดีมีส่วนทำให้ชีวิตของเรามีความสุข จากผลวิจัยเม็ดเลือด พบว่า อายุขัยที่แท้จริงของมนุษย์ อาจอยู่ได้นานที่สุดถึง 150 ปี ที่สูงกว่าในอดีต ปี พ.ศ. 2493 พบ อายุขัยมนุษย์อยู่ที่ 49.9 เท่านั้น เผยแพร่โดย ทีมนักวิจัยเชื้อสายรัสเซียจากบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ เจโร (Gero) ในสิงคโปร์
ชวนผู้สูงอายุทำกิจกรรม
ไม่ปลูกก็ตัด ไม่ตัดก็ปลูก รดน้ำ พรวนดิน มะละกอต้นเตี้ย พืชแต่ละสายพันธุ์มีเรื่องราวแตกต่างกันไป ผู้สูงอายุบางท่านรู้จักต้น ดาวกระจายไต้หวัน หรือ ปืนนกไส้ เป็นอย่างดี ที่บ้านอาจมีปลูก หรือเพาะพันธุ์ไว้ในบ้านไม่มีขาดมือ เพราะเป็นต้นไม้สมุนไพรมีสรรพคุณทางยา และนำมาทำอาหารแสนอร่อยได้ ในส่วนของยอดอ่อนนำมาต้มเป็นผักจิ้มน้ำพริก นำไปทำแกงแคกบ หรือห่อนึ่งก็ได้ ามว่าง ก็ไปรดน้ำต้นไม้ ขยายพันธ์ต้นที่ชอบ นั่งกำจัดวัชพืชที่ไม่ต้องการ สำหรับผู้ที่ชอบไม้ผล มีผลไม้ชนิดหนึ่งที่นิยมนำปลูกในรั้วบ้าน คือ มะละกอ ถ้าใครสามารถตัดแต่ง และปลูกมะละกอต้นเตี้ยได้ อาจกล่าวได้ว่า เป็นผู้เชียวชาญ ในการปลูกมะละกอเลยทีเดียว
คุณยายกินแต่นมและไม่กินข้าวมาแล้ว 25 ปี
บคุณยายกินแต่นมและไม่กินข้าวมาแล้ว 25 ปี แต่สุขภาพยังแข็งแรงความจำดีเยี่ยม คุณยายชม บอกว่า ตนเองเคยพบกับอาจารย์คนหนึ่งที่เดินทางมาจากเมืองจีนที่มาสอนเรื่องการปฏิบัติธรรม และหลังจากได้ปฏิบัติธรรม ก็พยายามเลิกกินเนื้อสัตว์ กินแต่อาหารที่ทำจากโปรตีน พืช และผัก กระทั่งต่อมาตนเองก็เลิกกินข้าวเด็ดขาดได้กว่า 20 ปีแล้ว กินแต่ผักได้ทุกชนิด กินเป็นมัดๆ เช่น ผักบุ้ง ต้มเผือก มัน และต้มผักทุกชนิดกินมาตลอด และกินนมที่ทำจากพืชเท่านั้น ไม่กินนมที่มาจากสัตว์ เช่น กินนมถั่วเหลือง นมถั่วเหลืองผสมงาดำ และกินน้ำผลไม้สกัดผสมสมุนไพร อีกเรื่องที่น่าสนใจ
ม้คุณยายจะจบแค่ ป.4 แต่สามารถแต่งนิยายธรรมะที่เกี่ยวกับเรื่องบาปบุญคุณโทษไว้นับร้อยเรื่อง เพื่อเอาไว้แจกจ่ายให้ลูกหลาน รวมทั้งเพื่อนฝูงที่เดินทางไปปฏิบัติธรรมด้วยกันอ่านเพื่อเป็นคติสอนใจ แถมลายมือของคุณยายชม ยังสวยมาก เขียนตัวอักษรมีหัวทุกตัว และยังมีฝีมือในการวาดรูปประกอบเรื่องได้อย่างสวยงามด้วย ซึ่งสมุดเขียนหนังสือของคุณยาย เป็นสมุดเขียนหนังสือของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาสมัยก่อน ซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปี โดยคุณยายเขียนที่หน้าปกสมุดเขียนที่ให้กรอกชั้นประถมปีที่.. ว่า “ไม่สิ้นสุด” แสดงให้เห็นว่าคุณยายชอบเรียน เขียนหนังสือมาตั้งแต่เด็ก
ข่าว ผู้จัดการออนไลน์ - 19 ก.พ. 2564
ความสุข ของ Grand age : แกะดำทำธุรกิจ (1- 8 ต.ย.)

คลิป The grand age final (17.13 นาที)
facebook.com/groups/olderperson
ความสุข นอกจากสุขภาพดีแล้ว ก็มีอีกหลายวิธีในการหาความสุข
เรื่องเล่า Grand age ใน 8 ตัวอย่าง
"โลกของผู้สูงอายุ อาจไม่เหมือนที่คุณคิด
ถึงตอนนี้คุณยังคิดเหมือนเดิม อยู่อีกหรือเปล่า
"
2.00 : 1) นรินทร์ บุญทวีกิจ และ กรองแก้ว บุญทวีกิจ
- ว่างก็ไป shopping ทานอาหารคลีน
- tour ทั่วไทย 2000 ก.ม.
- ออกกำลังกายที่บ้าน ทานน้ำปั่น ทุกวัน
3.18 : 2) สมชาย จงนรังสิน
- Tri กีฬา ปั่น ว่าย วิ่ง
- ปั่น 600 กิโล มา 3 ครั้งแล้ว
- จากไม่เคยมีจักรยาน ตอนนี้มี 12 คัน
4.04 : 3) ชัชวาล วิริยะไพบูลย์
- วิ่งตั้งแต่อายุ 50
- วิ่งได้ถ้วย 2 ปีที่ผ่านมา ได้ 50 กว่าใบ (แม่เมาะ ลำปาง)
- กลุ่มเยอะ ไลน์ ส่งสวัสดีวันจันทร์ บอกกูยังอยู่นะ
5.11 : 4) ปัญญา ศรีสุพรรณ
- เดินป่า ถ่ายรูป 3 ปี 70 ทริป
- ไปไหนมาก็ถ่ายรูปอัพเฟสบุ๊ค
- ยุคนี้เริ่มเห็น คนเดินป่าตอนอายุเยอะล่ะ
5.32 : 5) สุพจน์ สนสุวรรณ
- เล่นกีต้า อายุเยอะก็เล่นได้
- หลัง 60 ชีวิตไม่หยุดนิ่ง หนึ่งนาทีมีค่า อย่าหยุดกับที่
- ซื้อออนไลน์ได้เกือบทุกอย่าง ยกเว้นทีวีตู้เย็น
5.46 : 6) ธนสวรรณ เทพสาธร
- กระตือรือร้นกับตัวเองตลอด แก่ไม่ได้
- สังสรรค์กับเพื่อนปีละครั้ง
- ทุกเดือนต้องนัดเจอ
5.52 : 7) อรัญญา จีระมะกร
- ยังไม่รู้สึกว่าต้องเกษียณ
- เรียนวาดรูป ร้องคอรัสกับเพื่อน ฝึกโยคะ
6.00 : 8) มานพ เด่นซอ
- อายุ 81 ยังเป็นหัวหน้าทัวร์
- ยังมีไฟอยู่ ไฟมันยังไม่หมด
สิ่งที่ดีที่สุด (The grand age final)
1. สายกินเที่ยว
เลือกใช้ชีวิตอย่างมีอิสระเสรี กินอะไรก็ได้ ไปที่ไหนก็ได้ ทั่วไทย ทั่วโลก ทั่วทุกอำเภอ ทั่วทุกห้างสรรพสินค้า ไปเที่ยวกัน
2. สายไตรกีฬา
เลือกเป็นซุปเปอร์แมน ทำทุกอย่าง แข่งกับตนเอง เป็นนักปั่นน่องเหล็ก นักว่ายน้ำปอดเหล็ก นักวิ่งมาราธอน
3. สายวิ่ง
เลือกที่จะวิ่ง วิ่งทุกสนาม วิ่งจนได้โล่ วิ่งล่าถ้วย วิ่งเพื่อสุขภาพ วิ่งกับเพื่อน วิ่งแล้วสนุก วิ่งมาราธาน ชีวิตมีอะไรอีกเยอะ
4. สายป่า
เลือกเข้าป่า ออกทริป ตั้งแคมป์ ลุยทุกป่า มีกลุ่ม มีแก๊งเพื่อนเดินป่า หนีคอนกรีต กลับสู่ธรรมชาติ ถ่ายรูป อัพเฟส
5. สายกีต้า
เลือกอยู่บ้าน ไม่หยุดนิ่ง เล่นดนตรีกีต้า ร้องเพลง ช้อปปิ้งออนไลน์ จับจ่ายใช้สอยสะดวกด้วยปลายนิ้วสัมผัส
6. สายมีทติ้ง
เลือกใช้ชีวิตสนุกสนาน แต่งตัว เที่ยวเล่น เมาท์กับกลุ่มเพื่อน สังสรรค์เฮฮา ปาร์ตี้ ตามประสาเพื่อนเป็นประจำ
7. สายเรียนร้องเล่นรำ
เลือกคิดว่ายังไม่เกษียณ ชีวิตยังมีอะไรให้ต้องเรียนรู้อีกมาก เรียนวาดรูป ร้องคอลัส ฝึกโยคะ ออกกำลังกาย
8. สายจัดทัวร์
เลือกทำงานจนกว่าจะหมดแรง จัดทัวร์ ออกท่องเที่ยวกับลูกทัวร์ มีอาชีพอีกมากที่ต้อนรับผู้เกษียณที่ยังมีไฟ
9. สายเดฟ
เรียนรู้การพัฒนาด้านซอฟต์แวร์ เพื่อใช้งาน หรือให้บริการ เช่น แอปพลิเคชัน เว็บไซต์ ไลบรารี่ เครื่องมือ
10. สายมุก
มุ่งเรียนรู้หลักสูตรออนไลน์ตลอดชีวิต ที่เปิดให้เรียนรู้วิชาต่าง ๆ จำนวนมาก ได้พร้อมกัน และมีใบรับรองให้
อ่านเพิ่มเติม
ชีวิตยืนยาว - หลับจำศีลยาว ๆ ทำให้พลังงานถูกใช้จนหมดระหว่างจำศีลได้
ามที่ ทีมนักวิทยาศาสตร์ 3 คน คือ Roberto F. Nespolo, Carlos Mejias และ Francisco Bozinovic จากมหาวิทยาลัยปอนติฟิคัลคาทอลิก (PUC) และสถาบันสหัสวรรษเพื่อชีววิทยาบูรณาการ (iBio) ของประเทศชิลี เผยผลการศึกษา "Why bears hibernate? Redefining the scaling energetics of hibernation" Published: 27 เมษายน 2022 ว่า สัตว์ที่มีร่างกายใหญ่จะใช้พลังงานมากกว่าสัตว์ที่มีขนาดเล็กในระหว่างจำศีล เช่น หมีก็จะใช้พลังงานมากระหว่างจำศีล ส่วนสุนัขหรือหนูขนาดเล็กก็จะใช้พลังงานน้อยลงไปตามขนาดร่างกาย จาก ผลคำนวณทางคณิตศาสตร์และชีววิทยา ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Proceedings of the Royal Society B ทำให้เชื่อได้ว่ามนุษย์จะต้องใช้พลังงานในระหว่างจำศีล และประหยัดพลังงานได้ไม่มากพอ จนทำให้เสี่ยงที่พลังงานจะหมดระหว่างจำศีลแล้วเสียชีวิต เนื่องจากพลังงานถูกใช้ไปจนหมด โดยเฉพาะถ้าต้องเดินทางในห้วงอวกาศที่ยาวนานนับสิบนับร้อยปี
ารมีชีวิตของมนุษย์หรือสัตว์นั้น ร่างกายประกอบขึ้นด้วยเซลล์ พบว่า ร่างกายมนุษย์เราสร้าง 3.8 ล้านเซลล์ใหม่ทุกหนึ่งวินาที ผลัดเซลล์ 80 กรัมต่อวัน ข้อมูลจาก รายงานการวิจัยที่ตีพิมพ์ใน วารสาร Nature Medicine โดย Ron Sender และ Ron Milo พบว่า ในร่างกายของเรามีเซลล์หลายชนิด เซลล์บางชนิดอยู่ได้ไม่กี่วัน แต่ประสาทในสมองส่วนซีรีเบลลัมและเซลล์ไขมันในเลนส์ตา ไม่มีการผลัดเปลี่ยนใหม่ ซึ่งอัตราการสร้างและผลัดเปลี่ยนเซลล์ใหม่ของมนุษย์ พบว่า เซลล์เม็ดเลือดใหม่ผลัดเปลี่ยนได้สูงสุด ซึ่งมากกว่าเซลล์บุผนังลำไส้ใหม่ เซลล์ผิวหนัง และเซลล์ไขมัน นั่นหมายความว่า มนุษย์เราต้องใช้พลังงาน และร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยเฉพาะการสร้างและผลัดเปลี่ยนเซลใหม่ในร่างกายของเรา
bbc.com/thai/features-61284070
soscollemaggio.com/esa-studies-human-hibernation
doi.org/10.1098/rspb.2022.0456
bbc.com/thai/features-55786664
ภาพยนตร์ : ผู้สูงอายุที่ป่วยอัลไซเมอร์
นังปี 2020 : เมื่ออายุมนุษย์เราเพิ่มขึ้น แล้วอายุไต่ไปถึง 60 ปีก็จะเกษียณ เมื่อเป็นผู้สูงอายุ ก็จะมีขั้นของผู้สูงอายุ คือ ตอนต้น ตอนกลาง และตอนปลาย หากใครเป็นผู้สูงอายุตอนปลายก็จะต้องมีผู้ดูแล เพราะช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ที่อเมริกามีกฎหมายดูแลผู้สูงอายุ โดยมีหน่วยงานมาทำหน้าที่ดูแลผู้ที่คุณหมอวินิจฉัยว่าต้องมีผู้ดูแล บางคนแม้จะมีลูกหลาน แต่ก็ดูแลพ่อแม่ไม่ได้ จนต้องมีหน่วยงาน หรือมูลนิธิอาสายื่นมือช่วยเหลือ อาหาร หาที่พัก และความเป็นอยู่ เป็นชุมชนที่ ผู้สูงอายุได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข แม้จะป่วยเป็นพาร์กินสัน อัลไซเมอร์ ติดเตียง ซึ่งค่าใช้จ่ายเป็นของผู้สูงอายุ ที่องค์กรมาดูแลทรัพย์สิน ซึ่งได้รับอำนาจตามศาลสั่ง
ปัญหา คือ หน่วยงานเอกชน และแพทย์ที่อาศัยช่องโหว่ของกฎหมาย และดูแลผู้สูงอายุอย่างไม่เป็นธรรม หวังแต่จะกอบโกยทรัพย์สินของผู้สูงอายุตอนปลาย ที่ไม่มีผู้ดูแล หรือประสบปัญหาทำให้ลูกหลาน ญาติพี่น้องไม่พอใจ เป็นบั้นปลายชีวิตที่มนุษย์ทุกคนอาจได้พบเจอ อีกปัญหาอาจมาจากญาติพี่น้องลูกหลานที่ไม่พร้อมดูแล เนื่องจากติดภารกิจทำงาน หรือไม่ใช่ญาติสนิท หรือ ตัวผู้สูงอายุเองไม่ไว้ใจใคร เลือกปล่อยตนไว้ลำพังในบ้านที่ปิดตาย ซึ่งมีอยู่มากมาย พบได้ในข่าวหัวข้อ ตายอย่างเดียวดาย
รีวิวหนัง ฉันแคร์คุณมาก
ปอดอักเสบ ทำให้หมดสติได้ อด คือ มีลักษณะคล้ายฟองน้ำ น้ำหนักเบา ขยายตัวและหดตัวได้ มีหน้าที่หายใจ แลกเปลี่ยนก๊าซ นำก๊าซออกซิเจนเข้าและหายใจเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออก สมองที่ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ ก็จะมีสติ แต่ถ้าไม่เพียงพอก็อาจหมดสติได้ ปี 2564 ฟังข่าวความน่ากลัวของโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสสายพันธ์ต่าง ๆ ที่แพร่ตามคลัสเตอร์ต่าง ๆ เช่น 1) สถานบันเทิง 2) โรงเรียน 3) บ้าน 4) ตลาด 5) ที่ทำงาน 6) รถโดยสาร และ 7) เพื่อน ข่าวนี้ทำให้ผมนึกถึงคุณแม่ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ ติดเตียง เมื่อหลายปีก่อน
จำได้ว่า พาคุณแม่ไป xray ปอด พบพังผืดขึ้นในปอด เป็นจุดขาว ๆ บนแผ่นฟิล์ม พอคุณหมอดูประวัติแล้วก็บอกว่า คุณแม่เคยป่วยเป็นปอดอักเสบ ซึ่งผู้สูงอายุจำนวนมากที่ควบคุมการกลืน หรือการหายใจไม่ดี จนทำให้มีเสมหะจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ หรือสำลักอาหารส่งผลถึงปอดได้ เมื่อหลายปีก่อน ร่องรอยจุดขาวที่พบในปอดนั้น เกิดขึ้นมาหลายปีแล้ว และไม่ได้เพิ่มขึ้น อาการครั้งนั้นของคุณแม่ที่ไปตรวจ จึงไม่เกี่ยวกับปอดอักเสบ แต่ที่น่าสนใจ คือ ปอดของคนเรา เมื่ออักเสบ และมีพังผืดขึ้นมาแล้ว จะไม่สามารถกลับสู่ปกติ เหมือนกับตอนที่ไม่ได้ติดเชื้อ การหมดสติของมนุษย์ หรือเสียชีวิตที่ปรากฎในข่าว คือ ปอดอักเสบ จนกระทั่งทำงานได้ลดลง จนออกซิเจนไปเลี้ยงสมองลดลง หากออกซิเจนลดมาก ๆ ก็อาจหมดสติ หรือเสียชีวิตได้ในที่สุด
แม่ล้ม ผมก็ล้ม
เปิดกรุ + มุมมองชีวิตของ เผ่าทอง ทองเจือ
ากการติดตามข่าวสารในไลน์ พบข่าวสารของ อ.เผ่าทอง ทองเจือ ที่ เพื่อนผู้สูงอายุของผม แชร์ในกลุ่มที่ทำงาน แล้วในเย็นวันนั้นได้ฟังคุณมดดำเล่าข่าวในช่อง 3 จึงรู้ว่าเรื่องจริง ไม่ใช่ข่าวปลอมเหมือนที่เคยพบอยู่เสมอ เมื่อสืบค้นต่อไปพบ บัญชี : เปิดตำนานกับเผ่าทอง ทองเจือ ที่ live สดขายของ ที่ คลิปไลฟ์สด (Facebook live) ซึ่งคลิปนี้มีจำนวนผู้แชร์มากกว่า 3000 มีการแสดงความเห็น 16 KB และมียอดกดไลค์มากกว่า 33 K ส่วนรายละเอียด และภาพประกอบนั้นหาอ่านจาก คมชัดลึก 10 มิ.ย.64 หัวข้อ "อ.เผ่าทอง ทองเจือ" เปิดกรุ-ขายสมบัติเก่า ซึ้งสัจธรรม เก็บไว้รังแต่จะเป็นภาระ
มบัติผลัดกันชม ประโยคนี้ทำให้นักสะสมของเก่าหูผึ่งกันถ้วนหน้า เมื่อ "อาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ" ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าโบราณ นักโบราณคดี อดีตนายแบบ พิธีกร นักแสดงชื่อดัง อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ออกมาประกาศผ่านเพจเฟซบุ๊ก "เปิดตำนานกับเผ่าทอง ทองเจือ" ว่าจะไลฟ์สดขายสมบัติทั้งหลาย ที่เป็นของรักของหวงและเก็บสะสมมานาน ในวันศุกร์ที่ 11 มิ.ย.ตั้งแต่เวลา 18.00 น.เป็นต้นไป
ร้อมกันนี้ ยังได้ลงรูปของตัวเองที่นอนอยู่กับพื้นบ้าน พร้อมระบุข้อความว่า "ยังปวดหลังไม่หาย แม้จะค่อยๆดีขึ้นก็ตาม จึงยังคงนอนกับพื้นไม้กระดาน เอาหมอนรองใต้ข้อพับเข่า เพื่อให้หลังแนบลงกับพื้น ก็รู้สึกสบายขึ้น คลายปวดไปได้มาก ระหว่างที่นอนปวดหลังบนไม้กระดาน ก็คิดได้มาโดยตลอด ว่าสมบัติพัสถานต่างๆ เป็นของที่ถ่วงจิตถ่วงใจเราเอาไว้เป็นภาระที่ต้องดูแลรักษาอย่างยิ่ง ในยามเจ็บไข้ได้ป่วย หรือในยามเข้าสู่วัยชรา ของเหล่านี้ ไม่ได้ช่วยให้เราแข็งแรงหรือมีความสุขได้เลย จึงตัดสินใจที่จะไลฟ์สด ทยอยขายสมบัติเหล่านั้น ไปเรื่อยๆ จะเริ่มตั้งแต่วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายนนี้ เวลา 18.00 น. เชิญรับชมและร่วมอุดหนุนได้ครับ"
3 ภาพในมุมมองต่างกัน เรื่อง วิธีการ (how to)
ารพัฒนาบุคคล หรือชุมชน ทั้งกลุ่มเยาวชน คนทำงาน หรือผู้สูงอายุ ล้วนให้ความสำคัญกับ เป้าหมาย และวิธีการ ซึ่งภาพชวนคิด 3 ภาพนี้ แสดงเรื่องราวแตกต่างกัน แต่ร้อยเรียงเป็นเรื่องเดียวกันได้ คือ วิธีการ (how to) **ภาพ อ.ปุ้ม** กำลังบรรยายให้กลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่ ได้มีความรู้ความสามารถด้วยกลไกด้านการศึกษา **ภาพ พระพุทธเจ้า** คุยกับพระมหากัสสปะอยู่ริมแม่น้ำ เรื่องวิธีข้ามไปอีกฟากของแม่น้ำ เป็นการอุปมาอุปมัย อุปมา คือ สิ่งที่ยกมาเปรียบเทียบ เช่น วิธีการข้ามฟาก อุปไมย คือ สิ่งที่ถูกเปรียบเทียบ เช่น ถวายเครื่องเซ่น เช่น "จมูกไว้เหมือนมด" **ภาพ การใช้บันได** เป็นเครื่องมือที่แม้จะมีจำนวนมาก แต่ไม่สำคัญเท่าการใช้เป็น แม้จำนวนไม่สำคัญ แต่ต้องมากพอที่จะเลือกใช้ได้
ปัญหาและแนวทางแก้ไข เกี่ยวกับ ความรุนแรง บว่า การแสดงออกทางอารมณ์ในสังคมไทย มีสาเหตุ และมีแนวทางการแก้ไข ทำให้นึกถึง Loy Academy ที่พูดถึงการแสดงออกของคนไทยกับคดีน้องแตงโม คลิป สรุปเกิดอะไรขึ้นกับแตงโม และสะท้อนอะไรในสังคมไทย มีคนดูไป 387 Views มีข้อความที่วิเคราะห์หัวข้อ "คนไทยเสพข่าวบ้าเกินเหตุ" ไว้ว่า "สื่อเต็มไปด้วย สื่อโหนกระแสข่าว ขายข่าว เสี้ยมให้คนทะเลาะกันเพิ่มเรทติ่ง เอาใจสปอนเซอร์"
เรียน online เรื่องโรคภัยในผู้สูงอายุ
Thaimooc ได้รับความร่วมมือจาก 𝐂𝐡𝐚𝐧𝐠𝐡𝐮𝐚 𝐂𝐡𝐫𝐢𝐬𝐭𝐢𝐚𝐧 𝐇𝐨𝐬𝐩𝐢𝐭𝐚𝐥, 𝐓𝐚𝐢𝐰𝐚𝐧 กับการร่วมเผยแพร่ 2 รายวิชา ที่เปิดให้คนไทยทุกคนสามารถสมัครเรียนออนไลน์ได้ฟรี ในรายวิชามีการนำเสนอบทเรียนเป็นวิดีโอ พากษ์เสียงภาษาไทย และมีบทบรรยายภาษาไทยกำกับไว้ด้วย
cch001 : การเสริมสร้างศักยภาพสำหรับผู้ให้การดูแลระยะยาวแก่ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม
cch002 : การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ซื้อขนมให้ผู้สูงอายุ เพราะทานข้าวน้อยลง ทานขนมมากขึ้น
ช้าวันหนึ่ง ผู้สูงอายุที่บ้าน บอกว่า สันติแบ่งขนมมาให้ชิมครึ่งกล่อง คุ๊กกี้บราวนี่ช็อกโกแลต ทานกับกาแฟ หรือโกโก้ก็อร่อย ผ่านไปสักพัก พบว่า เหลือขนมชิ้นสุดท้าย จึงสั่งซื้อผ่านออนไลน์จาก maew_suratda ใน shopee ในราคา 3 กล่องร้อย ที่แฟนคุณสันติได้ทำการ live สดผ่าน shopee อยู่เป็นประจำ แต่รอบนี้ ผมสั่งผ่าน inbox แล้วอีกไม่ถึงชั่วโมง คุณสันติที่อยู่บ้านตรงข้ามก็เดินถือคุ๊กกี้มาส่ง แล้วผมก็ชำระค่าสินค้าผ่าน mobile banking ไป
ดูแลผู้สูงอายุอยู่หลายท่าน ใกล้ชิดบ้าง ดูห่าง ๆ แบบห่วง ๆ บ้าง ค่อย ๆ เห็นการเปลี่ยนแปลงการทานอาหารอย่างค่อยเป็นค่อยไปของแต่ละท่าน อาจทานควบคู่กันไปเป็นการเสริมกัน บางท่านก็หยุดทานข้าวปลาที่รสจัดหรือแข็งไป หันไปดื่มนม ขนมปัง ผลไม้ หรือผลิตภัณฑ์ทดแทนอาหาร ซึ่งอายุที่มากขึ้น ความแข็งแรงของฟัน หรือการย่อยอาหารก็จะปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกาย สิ่งสำคัญที่สุดคือ ต้องหาอะไรทานอย่างน้อยก็วันละมื้อ เพื่อให้ร่างกายมีอาหารเข้าไปเปลี่ยนเป็นพลังงานที่ต้องใช้ขับเคลื่อนร่างกายให้ดำรงอยู่ได้
/e-commerce
แฟนเพจ รวมเพื่อนฯ
/blogacla/burin/6416/
Line voom
Twitter
Tumblr
Instagram
รายงานจำนวนการฆ่าตัวตายของประเทศไทย
ายงานจำนวนการฆ่าตัวตายของประเทศไทย โดย กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข พบว่า รายงานแยกตามเพศ แยกตามช่วงอายุ ปี 2563 พบว่า มีชาย 12.27 คน และมีหญิง 2.68 คน ต่อประชากรแสนคน ปี 2562 พบว่า สูงสุดคือช่วงอายุ 30 -39 ปี มี 959 คน รองลงมาคือช่วงอายุ 40 - 49 ปี มี 937 คน ส่วนช่วงอายุ 50 - 59 ปี มี 817 คน ส่วนช่วงอายุ 20 - 29 ปี มี 667 คน ส่วนน้อยที่สุดคือ 10 - 19 ปี มี 111 คน และช่วง 0 -9 ปี มี 0 คน ใน 3 ปีหลังคือ 2560 - 2562 สถิติเพิ่มขึ้นทุกปี เริ่มจาก 3934, 4137 และ 4418 ในปี 2562
เพื่อน #เพื่อน
"ไม่ใช่คนที่ทำให้ปัญหาของคุณหายไป พวกเขา คือ คนที่จะไม่หายไป เมื่อคุณเผชิญปัญหา"
จำได้ว่า
ตอนที่คุณแม่ของผมเสีย
เพื่อนของคุณแม่ ของผม ของคุณน้า คุณอา ของคนในครอบครัว มาร่วมส่งคุณแม่เยอะมาก แม้จัดงานเพียง 2 คืน 3 วัน ช่วง 2 มกราคม 2564 - 4 มกราคม 2564 เป็นช่วงที่ โ ค-วิ ด-ระ-บ า ด หนัก แต่เพื่อน ๆ ก็มาร่วมทำบุญ ร่วมแสดงน้ำใจ
#คิดถึงเพื่อนคุณแม่ เพื่อนของผม และ ญาติทุกท่านเสมอ
แมว ท่ามกลางสายฝน
Who said cats hate water ?
"Life is not about waiting
for the storm to pass,
it’s about learning
how to dance in the rain.
"
โดย Julie Mellan Illustration
22 January 2021
ระแวกบ้านของผม
จะมีน้องแมว ใช้ชีวิต
วิ่งผ่านไปผ่านมา
มาเดิน มานอน มาล่าอาหาร
ไปมาไร้ร่องรอย สบตากันนาน ๆ ครั้ง
แต่ไม่ค่อยสนิท เพราะไม่ชอบ
ที่เค้ามาทิ้งกลิ่น ทิ้งก้อนเหม็น ๆ
แต่เห็นมีตัวมีตนมาเดินแถวนี้
ก็รู้สึกอุ่นใจ ว่าแถวนี้คงไม่มีหนูล่ะ
สรุปว่า
.. ก็อยู่ร่วมกันได้ ถ้อยทีถ้อยอาศัย
หนังสือ : กาลครั้งหนึ่งแค่คิดถึงอยู่ในใจ
สุดท้ายแล้ว ...
ไม่ว่า “ โลกจะสวยงาม ” หรือ.. “ โหดร้าย ”
เราก็ต้องใช้ชีวิตต่อไปอยู่ดี
บางวันเบื่อๆ เหนื่อยๆ
อาจจะมีความคิดที่ว่า ...
อยากหายไป..อยากหนีไป
อยู่ไหนสักที่,ที่ “ สบายใจ ”
แต่..“ ความเป็นจริง ”..
มันไม่ง่ายขนาดนั้น
“ ชีวิตจริง ” ไม่ใช่นิทาน
ไม่มีเวทมนต์ ...
เสกคนให้หายไป
ไม่มีประตูวิเศษ ...
ของโดเรม่อนให้หลบภัย
มีแต่ “ จิตใจที่เข้มแข็ง ” เท่านั้น
ที่..จะผ่านวันแย่ๆ ไปได้
ไม่ว่าวันนี้ ...
จะหัวเราะ..หรือร้องไห้
เราก็ต้องอดทน..และสู้ใหม่นะ
“ โลก ” มันหมุนตลอดเวลา
วันนี้เราอาจจะ ...
“ อยู่ด้านแย่ของโลก ”
แต่... เดี๋ยวสักวันนึง
หรือ... อีกไม่นาน
มัน, จะหมุนเรา ...
ให้ไปเจอกับด้านดีๆ เอง
#650723 = 38,752 Likes
บทความวิจัย และเรื่องราว สำหรับผู้สูงอายุ การเตรียมตัวเป็นผู้สูงอายุ
สังคมผู้สูงอายุ (อย่างสมบูรณ์) : ภาวะสูงวัยอย่างมีคุณภาพ. วารสารรูสมิแล
พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพัง ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา
รายการเจาะใจ : น.พ.บุญชัย อิศราพิสิษฐ์ - กินอย่างไรให้ไกลโรค [ 24 ก.พ 61 ]
งานมุทิตาจิต ผู้เกษียณอายุราชการ บว่า ศิษย์เก่าของ #มหาวิทยาลัยเนชั่น ได้แชร์กิจกรรมงานเกษียณที่จัดขึ้นในมหาวิทยาลัย หนึ่งในผู้เกษียณเป็นศิษย์เก่าของมนช. ปัจจุบันเกษียณที่ มรภ.ลำปาง เรื่องนี้ถูกแชร์ในกลุ่มไลน์ #สังคมคนรักอ่าน เมื่อคลิกตามไป พบพี่ ๆ ที่เกษียณที่คุ้นเคยยืนเด่นอยู่บนเวที และในสื่อสังคมเฟสบุ๊คก็พบเพื่อน ๆ ได้แชร์กิจกรรมนี้หลายท่าน ทำให้นึกถึงเรื่องราวมากมายในอดีต เรื่องผู้สูงอายุ และเรื่องของที่ระลึกงานเกษียณ ขอแสดงความยินดีกับพี่ ๆ ผู้เกษียณทุกท่าน
นช่วงนี้ของทุกปีจะมีงานเกษียณ เพื่อแสดงมุทิตาจิตต่อบุคลากรที่ทำงานกับองค์กรมานานมาก หลายท่านมีของที่ระลึกงานเกษียณแจกให้กับน้อง ๆ ที่มาร่วมงาน บอกเป็นนัยว่า "อย่าลืมฉัน (Forget Me Not)" ตัวอย่างของที่ระลึก เช่น ผ้าขาวม้ามัดด้วยป้ายกระดาษ สวยขึ้นมาก็เป็นผ้าฝ้ายทอมือใส่ซองแก้ว ดูดียิ่งขึ้นจะใส่กล่องกระดาษ หรือให้ผู้บริหารก็จะเลือกกล่องกระดาษสาแพ็คคู่ใส่ผ้าลายสวย ๆ ซึ่งเป็นของที่ระลึกที่สนับสนุนการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชุมชน และนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย
Cr. sasathorn14
แพลตฟอร์ม Retro ok (ต.ย. 9) รโทร โอเค (Retro OK) คือ พื้นที่บนโลกออนไลน์ที่เป็นตัวช่วยให้ผู้สูงวัย โอเค กับเรื่องเทคโนโลยี โดยมีเฟซบุ๊กกรุ๊ป ‘เรโทร โอเค’ เป็นกลุ่มของผู้สูงวัย ที่เกิดจากการมีคนวัยลูกหลานตั้งขึ้นด้วยจุดประสงค์ให้พื้นที่นี้เป็นสเปซ สำหรับผู้สูงอายุที่ต้องการอัปเดตความรู้ด้านดิจิทัลและการใช้โซเชียลมีเดียต่าง ๆ โดยเป็นงานส่วนหนึ่งของ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ที่เน้นการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีคนทุกวัย ลุ่มเฟซบุ๊ก "เรโทร โอเค Retro OK" คือ พื้นที่สำหรับวัยเก๋า ที่สนใจอัปเดตความรู้เรื่องดิจิทัล การใช้โซเชียลมีเดียต่าง ๆ ซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนมาแชร์ความรู้ แชร์ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้จากการใช้เครื่องมือสื่อสาร Depa อยากเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยแบ่งปัน และเป็นสื่อกลางให้กับวัยเก๋าให้มีความรู้ด้านดิจิทัล และหวังว่าทุกท่านจะสามารถเข้าใจเทคโนโลยีและมีความสุขไปกับการใช้งานอย่างสร้างสรรค์
“งานของเราเป็นงานใน ฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความมั่นคง ซึ่งความมั่นคงในที่นี้คือความมั่นคงของชีวิต ความมั่นคงในแง่ที่ว่า ทำอย่างไรชีวิตเราจะสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน เพราะฉะนั้นมันจะเป็นเรื่องการพัฒนาทักษะของคนที่เรียกว่ากลุ่มเปราะบาง ซึ่งคนกลุ่มเปราะบางในที่นี้หมายรวมถึงคนสูงอายุที่มีความต้องการพิเศษกว่าคนวัยอื่นด้วยดร.มาลียา โชติสกุลรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความมั่นคง เล่าถึงแนวคิดในการทำงานที่มานำสู่การสร้างพื้นที่ออนไลน์สำหรับผู้สูงอายุ

อ่านจาก manoottangwai.com พบกิจกรรมน่าสนใจมากมาย
ใช้เทคโนโลยีได้อย่างสร้างสรรค์
ใช้แอปพลิเคชันเป็นเครื่องมือในการสร้างสรรค์อะไรใหม่ ๆ
ใช้กล้องถ่ายภาพสินค้าให้สวย
ใช้สร้างอาชีพ เช่น ขายผ่าน Lazada หรือ Shopee
ใช้ Wordpress และทำ SEO
ใช้ Facebook - profile, group, page และ e-commerce
ใช้ Instagram
ใช้ Line
ใช้ Tiktok
ใช้ Google
manoottangwai.com .. /retro-ok/
เรโทร โอเค Retro OK
Retro คำอ่าน เรท-โระ แปลว่า ถอยหลัง, ย้อนหลัง, โบราณ
เรียนออนไลน์ ได้ใบรับรอง (ต.ย. 10) าจารย์ Aun ได้เแนะนำให้ไปเรียนรู้หลักสูตรออนไลน์ในยามว่าง ที่ส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ยั่งยืนในสังคม ดำเนินการโดย วิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่เหมาะกับทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีเวลา และมีความสนใจใฝ่เรียนรู้ มีเรื่องราวมากมายที่เป็นเรื่องใกล้ตัว มีหลักสูตรในโครงการ Skills4life, หลักสูตรในโครงการ เกษียณมีดี และอีกมากมาย เช่น 1) การสอนทักษะอาชีพ ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการ แบบออนไลน์ 2) งานยุคใหม่ของผู้สูงวัย และแรงบันดาลใจธุรกิจบริการ 3) งานยุคใหม่ของผู้สูงวัย และแรงบันดาลใจธุรกิจผลิตภัณฑ์สินค้า 4) กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด และการตลาดแบบรู้ใจ หรือ 5) การเรียนออนไลน์แบบเปิดมหาชน (MOOC) โดยจะได้รับประกาศนียบัตรรับรองการเข้าเรียนในหลักสูตร
ทำให้นึกถึงหลักสูตรของ thaicyberu.go.th ที่มีหลักสูตรเปิดสอนออนไลน์จำนวนมาก จากข้อมูลเมื่อ 25 พ.ย.2565 มีนักเรียนในระบบนี้ 1,559,079 คน มีหลักสูตรออนไลน์ 629 วิชา และออกใบรับรองไปแล้ว 1,509,622 ใบ และพบว่าในกลุ่มเฟซบุ๊กชื่อ Thai-MOOC มีผู้เรียนท่านหนึ่งที่เป็นสุดยอดของผู้ใฝ่เรียนรู้ และได้แชร์ประสบการณ์ ท่านชื่อ อรุณวัชร์ กร่ำธาดา ซึ่งได้แชร์ใบรับรอง และรายชื่อวิชาที่ได้เรียนสำเร็จไปแล้ว มีมากถึง 423 วิชา จากข้อมูลเมื่อ วันที่ 20 กรกฎาคม 2565 เช่น 1) เตรียมเกษียณเพื่อเสริมสร้างพฤตพลัง - NU036 2) การวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ - CMRU001 3) สุขภาพจิตกับกิจกรรมการดำเนินชีวิต เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรภาครัฐ - CMU043 4) ทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลในการทำงาน - CMU040 5) การจัดการห่วงโซ่คุณค่าภาครัฐ - CMU037 419) ฉลาดด้วยข้อมูล ใครๆก็ทำได้ : คลังข้อมูลและการทำเหมืองข้อมูล - RSU001 420) การออกแบบการนำเสนองานอย่างสร้างสรรค์และทันสมัย - PSU008 421) การเขียนโปรแกรม R สำหรับวิทยาการข้อมูล - CMU033 422) ศาสตร์และศิลป์ในการสร้างความสุข - CMU004 423) ปัญญาประดิษฐ์เพื่องานธุรกิจ - RBAC002 หรือ วิชิต ทองประเสริฐ ที่เรียนสำเร็จไปแล้ว 80 รายวิชา เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2563 เพื่อการเพิ่มพูนองค์ความรู้ และการศึกษาตลอดชีวิต
ฟังธรรมเรื่อง 4ธ. - ร่วมส่งเพื่อนในงานขาวดำ พื่อนมหาวิทยาลัยเนชั่น เพื่อนมหาวิทยาลัยโยนก เพื่อนวิทยาลัยโยนก ร่วมส่ง พี่หล้า เมื่อวันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565 เพื่อนจากทุกสารทิศมาร่วมส่งพี่หล้าที่ บ้านบ่อแฮ้ว ซอย 12 ในคืนนั้น พระอ๊อด - พระครูสังฆรักษ์ศุภณัฐ ภูริวฑฺฒโน, ผศ. รับมาเป็น ประธานสวดพระอภิธรรมศพ ในงานของพี่หล้า พระอ๊อดกับพี่หล้า เคยร่วมงานกันมาเมื่อ 19 ปีก่อน ภายในงานมีเพื่อน ๆ ทั้งเพื่อนเก่าเพื่อนแก่ นั่งล้อมวงตั้งกลุ่มคุยกัน ในภาพยังมีอีกนับสิบคน ไม่มาเข้ากล้องนี้ อยู่นอกเฟรมกันหลายคน เพื่อนเก่าแต่ละคน มีเส้นทางเดินแตกต่างกันไป ไปตามสถาบันการศึกษา บริษัท ราชการ การเมือง หรือธุรกิจส่วนตัว ครั้งนี้ ทุกคนกลับมาพบกัน ด้วยความอาลัยรักต่อเพื่อนเก่า
ห็นภาพแล้ว ก็พาให้ใจหายนะครับ ฟัง พระอ๊อด บรรยายธรรม เรื่อง 4ธ. คือ #ธรรมดา #ธรรมชาติ #ธรรมเนียม #ธรรมะ บอกว่า ตายก่อนก็ไปเป็น #ผีรุ่นพี่ ตายทีหลังก็ตามไปเป็น #ผีรุ่นน้อง สรุปว่า ธรรมชาติสักวันเราคงได้ไปเป็นผีรุ่นน้องแน่เลย
ปล. กำหนด ฌาปนกิจ ศุกร์ที่ 2 ธันวาคม 2565
14 เม.ย. ของทุกปี เป็น วันครอบครัว
ทุกปีในช่วงเทศกาลสงกรานต์ หรือปีใหม่ไทย ชาวไทยพลัดถิ่นจะกลับบ้าน ไปหาครอบครัวที่มีปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา พ่อ แม่ พี่น้องรออยู่เป็นครอบครัวใหญ่ มีกิจกรรมสร้างความสามัคคีในครอบครัวมากมาย ทั้งร่วมกันทำอาหารเตรียมไปตักบาตรทำบุญที่วัด ขนทรายเข้าวัด สรงน้ำพระ ทานอาหารร่วมกัน รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในบ้าน ญาติผู้สูงวัย ผู้สูงอายุในหมู่บ้านที่เคารพ ตลอดจนครูอาจารย์ ผู้มีอุปการคุณที่เคารพนับถือ หรือผู้บริหารในองค์กร เป็นประเพณีแห่งความสุขที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน
13 เมษายน - วันมหาสงกรานต์ (วันผู้สูงอายุ)
14 เมษายน - วันเนา (วันครอบครัว)
15 เมษายน - วันเถลิงศก
ไทยมีบ้านว่าง ญี่ปุ่นมีบ้านร้าง 1. ประเทศไทยเข้าสู่ภาวะ “ผู้สูงวัย” แล้ว ขณะนี้จำนวนบ้านเกิดเพิ่มขึ้นตลอด แต่จำนวนประชากรกลับเพิ่มขึ้นน้อยมาก ทำให้เกิดปัญหา “บ้านว่าง” ถึงขณะนี้ประมาณ 1.3 ล้านหน่วย รวมมูลค่า 2.6 ล้านล้านบาท เราจะแก้ไขปัญหาอย่างไรดี
thansettakij.com/real-estate/518026
2. ญี่ปุ่นบ้านร้างล้นประเทศ ไร้ผู้อาศัยมากกว่า 10 ล้านหลัง ในปี 2023
mgronline.com/japan/detail/9650000090235
ผู้สูงอายุ ที่ญี่ปุ่น ซึ่งไทยติดตาม และตามไปอย่างใกล้ชิด ร้านหนังสือ 15 ก.ค.2019 ผู้สูงอายุ ที่ญี่ปุ่น ซึ่งไทยติดตาม และตามไปอย่างใกล้ชิด ญี่ปุ่นเป็นที่สองที่มีจำนวนผู้สูงอายุสูงที่สุด ส่วนที่หนึ่งคือประเทศโมนาโก
1. ไม่มีคนคุยด้วย อยู่คุกแล้วไม่เหงา
2. ทำผิดซ้ำ เพื่อเข้าคุกซ้ำ
3. เงินบำนาญ ไม่พอกับค่าครองชีพ
4. ผู้ดูแลในคุก ไม่เพียงพอ
5. ค่าทำศพ มีค่าใช้จ่ายสูง
6. ฌาปนกิจ ต้องรอคิวนาน
7. เสียชีวิต ในบ้านคนเดียว
8. บ้านร้างมีมาก จนต้องแจกฟรี
9. ผู้สูงอายุไม่มีทายาท หรือติดต่อไม่ได้
ส่องมุมมืด สังคมผู้สูงอายุ 18 นาที
สรุปงานวิจัยที่น่าสนใจ
ฎาพร คงเพ็ชร์, อารีย์ ยมกกุล, และ เรณู อาจสาลี (2564) ได้ศึกษาเรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพเพื่อเป็นผู้สูงวัยสุขภาพดี แล้วได้สรุปว่า ผู้สูงวัยมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทางร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ ความสามารถเสื่อมถอยไปตามอายุ ดังนั้นการสร้างเสริมสุขภาพให้ครอบคลุมทั้งร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณจึงจำเป็นสำหรับผู้สูงวัย การสร้างเสริมสุขภาพเพื่อเป็นผู้สูงวัยสุขภาพดี ประกอบด้วย 1) โภชนาการที่เหมาะสม 2) การออกกำลังกายที่ช่วยป้องกันโรค 3) การนอนหลับที่เพียงพอ 4) การตรวจร่างกายประจำปี การได้รับวัคซีน และการหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่จำเป็น 5) การป้องกันอุบัติเหตุ สิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย และการป้องกันการหกล้ม 6) การจัดการความเครียดที่เหมาะสม และ 7) การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม
วรัตน์ ไวชมภู, รัตติภรณ์ บุญทัศน์, และ นภชา สิงห์วีรธรรม (2562) ได้ศึกษาเรื่อง การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามหลัก 3 อ. แล้วได้สรุปว่า ประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์แบบ ซึ่งวัยสูงอายุจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ โดยส่วนใหญ่เป็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่เสื่อมถอยตามอายุแม้ว่าจะไม่มีโรคประจำตัวต่าง ๆ ดังนั้นเพื่อเป็นการรองรับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์แบบที่กำลังจะมาถึง การส่งเสริมสุขภาพให้ครอบคลุมด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณเพื่อชะลอการเสื่อมถอยนั้น จึงเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้สูงอายุในการตอบโจทย์ปัญหาหรือความต้องการด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณของผู้สูงอายุ บทความนี้พิจารณาการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามหลัก 3 อ ประกอบด้วย อ: อาหาร อ: ออกกำลังกาย และ อ: อารมณ์เพื่อเป็นแนวทางการสร้างสุขภาพโดยประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมสุขภาพให้กับผู้สูงอายุ มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอแนวทางการส่งเสริมสุขภำพผู้สูงอายุตามหลัก 3 อ เนื้อหาประกอบด้วย 1) แนวคิดการส่งเสริมสุขภาพ และ 2) แนวทางการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามหลัก 3 อ ที่เกิดจากกระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อใช้เป็นแนวทางการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามหลัก 3 อ อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพต่อไป
นุชา ลาวงค์, ชุติภา บุตรดีวงษ์, เสฐียรพงษ์ ศิวินา, จุไรรัตน์ แก้วพิลา, และ บุญชนะ ยี่สารพัฒน์ (2564) ได้ศึกษาเรื่อง รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนท้องถิ่น จังหวัดร้อยเอ็ด มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาและความต้องการจำเป็นในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนท้องถิ่น จังหวัดร้อยเอ็ด และ 3) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนท้องถิ่น จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุจำนวน 5 คน ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้พัฒนาเป็นรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนท้องถิ่น จังหวัดร้อยเอ็ด และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง แบบประเมินปัญหาและความต้องการด้านสุขภาพของผู้สูงอายุแบบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ แบบประเมินการปฏิบัติงานของผู้ดูแลผู้สูงอายุประเมินระดับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันพื้นฐานของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย 5 ขั้น ได้แก่ 1) ศึกษาและการประเมินสถานการณ์ปัญหาความต้องการของผู้สูงอายุ 2) การประเมินศักยภาพการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลผู้สูงอายุและคืนข้อมูล 3) พัฒนาทักษะผู้ดูแลผู้สูงอายุ 4) ดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียงในชุมชน และ 5) ประเมินผลการดำเนินงาน และเผยแพร่ข้อมูล หรือ NATIE Model มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงที่มีภาวะพึ่งพิง โดยรวมคิดเป็นร้อยละ 40.0 มีปัญหาด้านสุขภาพร่างกายมาก และมีความต้องการด้านสุขภาพโดยรวมด้านร่างกายมากที่สุด และ 3. ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก ก่อนการพัฒนา พบว่า ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงกลุ่มที่ 2 จำนวน 12 คน หลังการพัฒนา พบว่า มีผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง กลุ่มที่ 1 เพิ่มขึ้น จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 25.0 และมีผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงกลุ่มที่ 2 ลดลงเหลือ จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 75.0 และผู้สูงอายุมีความพึงพอใจต่อรูปแบบฯ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
ปิยรัตน์ ยาประดิษฐ์ และ อรสา กงตาล (2563) ได้ศึกษาเรื่อง การพัฒนาการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตำบลหนองสิม อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ความต้องการและพัฒนาการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตำบลหนองสิม อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม ประยุกต์แนวคิดการดูแลโรคเรื้อรัง และการดูแลระยะยาว ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ วางแผน ปฏิบัติตามแผน สังเกต และการสะท้อนการปฏิบัติ ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 53 คน คัดเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ผู้ดูแลหลัก ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ แกนนำ ชุมชน ผู้นำ ท้องถิ่น ทีมสหวิชาชีพ ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ เภสัชกร นักกายภาพบำ บัด และผู้จัดการผู้สูงอายุ จำนวน 53 คน เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตและการบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลลัพธ์การพัฒนาบริการดูแลระยะยาว พบว่า ผู้สูงอายุ ร้อยละ 77.70 มีความสามารถการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาชุดบริการ ดังนี้ 1) ชุดดูแลสุขภาพทั่วไป 2) ชุดฟื้นฟูสภาพ 3) ชุดดูแลระยะท้าย 4) ชุดดูแลแผลและป้องกันแผลกดทับ 5) ชุดอุปกรณ์การแพทย์ 6) ชุดดูแลสมองเสื่อม แนวทางการดูแลระยะยาวสำ หรับเครือข่าย และแผนการดูแลผู้สูงอายุสำ หรับผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ ข้อเสนอแนะ ควรพัฒนาชุดบริการดูแลระยะยาวและมีการนำ ชุดบริการและแนวปฏิบัติขยายผลในพื้นที่อื่น และควรมีการประสานงานและจัดทำ ข้อสรุปเสนอต่อผู้บริหารระดับท้องถิ่น เพื่อขับเคลื่อนการสมัครเข้าร่วมกองทุนดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
รวงสุดา เจริญวงศ์, พรทิวา คงคุณ, นิภารัตน์ จันทร์แสงรัตน์, และ เพียงตะวัน สีหวาน (2561) ได้ศึกษาเรื่อง สถานการณ์การดูแลและความต้องการการดูแลระยะยาว สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในชุมชนมุสลิมเขตชนบทภาคใต้ของไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การดูแล และความต้องการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงแบ่งการศึกษาเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วยการศึกษาเชิงปริมาณ ใช้แบบประเมินภาพสุขภาพของผู้สูงอายุที่ผู้วิจัยปรับปรุงขึ้น ประกอบด้วย 6 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลทั่วไป 2) ข้อมูลสุขภาพกาย 3) แบบประเมินดัชนีบาร์เธลเอดีแอล 4) แบบประเมินภาวะซึมเศร้า 5) ข้อมูลสุขภาพสังคม และ 6) ข้อเสนอแนะในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในชุมชน จำนวน 100 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ส่วนการศึกษาเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสังเกตการสนทนาธรรมชาติการสัมภาษณ์เชิงลึกการสนทนากลุ่ม และการบันทึกภาคสนาม ผู้ให้ข้อมูลรวมทั้งสิ้น 30คน ประกอบด้วยผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ผู้ดูแลหลักและภาคีที่เกี่ยวข้องกับการดูแลระยะยาวในชุมชน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนที่ศึกษามีสัดส่วนของผู้สูงอายุภาวะติดบ้าน ติดเตียง และติดสังคมเป็น 2:3:95 โรคความดันโลหิตสูง และอุบัติเหตุเป็นจุดเปลี่ยนที่นำสู่ภาวะพึ่งพิง วิถีการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงอยู่ภายใต้วิถีมุสลิม และศักยภาพชุมชนในการพัฒนาการดูแลระยะยาว ได้แก่ ทุนทางวัฒนธรรม และทุนระดับบุคคล โดยคนในชุมชนยึดมั่นในคำสอนของศาสนาอิสลามและมีจิตสาธารณะ ส่วนความต้องการการดูแลของผู้สูงอายุ ได้แก่ เพื่อนคุยคลายความเหงา การสนับสนุนข้อมูลการดูแล อุปกรณ์เครื่องช่วยเหลือ และการช่วยเหลือดูแลบางเวลา
ชิ้นส่วนที่หายไป (The Missing piece) "แสวงหา สิ่งที่หายไป มองผ่าน สิ่งที่มีอยู่" #Themissingpiece
ตุลาคม 2566 อยากเล่าว่า
1. กลุ่มไลน์ที่เข้าวันละสามเวลาหายไป เพราะนโยบายเปิดกว้างรับสมาชิก
สุดท้ายก็มี unknown เข้ามาปิดกลุ่ม แต่ดีใจนะ กลุ่ม 90 คน มีทักถามมาถึง 3 คน
2. เพจของพี่เค้า ตามที่เคยรับดูแลเพจ กลุ่มของพี่เค้ามามากกว่าสิบปี
เมื่อเวลาผ่านไป สมาชิกก็เพิ่มมากขึ้น อาจเกิดจากเป็นเพจที่ซ้ำซ้อน
ทำให้เพจหายไป เหลืออีกเพจที่เป็นทางการ อาจสมควรแล้วก็ได้ที่หายไป
เพราะไม่มีใครรู้ถึงการหายไป หรือสมาชิกพันแปดอาจไม่รู้ถึงการมีอยู่ก็ได้
สำหรับสิ่งที่หายไป
บางทีก็ต้องปล่อยไป ปล่อยวางบ้าง เศร้าใจ กับ เบาใจ ห่างกันแค่เส้นยาแดง
ยังมีอีกมากที่ต้องหายไป ยื้อไว้ก็สุดยื้อ ต้องปล่อยไป
ไม่เว้นแม้แต่หน้าที่การงาน หรือ ดวงดาวบนฟากฟ้า
แปลกนะ หรือ สุดธรรมดา
บางคนเป็นราชการวันแรก อยากลาออก
บางคนลาออกราชการวันแรก อยากหางาน
ส่งข้อมูลออกเป็น ส่งออก: image ส่งออก: pdf
บทความในฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย
เอกสารอ้างอิงที่น่าสนใจ เกี่ยวกับผู้สูงอายุ

ชฎาพร คงเพ็ชร์, อารีย์ ยมกกุล, และ เรณู อาจสาลี. (2564).  การสร้างเสริมสุขภาพเพื่อเป็นผู้สูงวัยสุขภาพดีวารสารพยาบาล, 70(4), 44-51.

นวรัตน์ ไวชมภู, รัตติภรณ์ บุญทัศน์, และ นภชา สิงห์วีรธรรม. (2562).  การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามหลัก 3 อวารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 6(2). 262-269.

อนุชา ลาวงค์, ชุติภา บุตรดีวงษ์, เสฐียรพงษ์ ศิวินา, จุไรรัตน์ แก้วพิลา, และ บุญชนะ ยี่สารพัฒน์. (2564).  รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนท้องถิ่น จังหวัดร้อยเอ็ดJournal of Modern Learning Development, 6(2), 268-277.

ปิยรัตน์ ยาประดิษฐ์ และ อรสา กงตาล. (2563).  การพัฒนาการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตำบลหนองสิม อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคามวารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 40(3), 48-65.

สรวงสุดา เจริญวงศ์, พรทิวา คงคุณ, นิภารัตน์ จันทร์แสงรัตน์, และ เพียงตะวัน สีหวาน. (2561).  สถานการณ์การดูแลและความต้องการการดูแลระยะยาว สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในชุมชนมุสลิมเขตชนบทภาคใต้ของไทยวารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(2), 231-246.

บุญทัน ดอกไธสง, บุษกร วัฒนบุตร, พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ, และ พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร. (2562).  กลไกการขับเคลื่อนศักยภาพขีดความสามารถของผู้สูงอายุโดยบูรณาการหลักพุทธธรรมวารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 8(1), 26-32.

อัญญา ปลดเปลื้อง, อัญชลี ศรีจันทร์, และ สัญญา แก้วประพาฬ (2560)  การศึกษาวิถีชีวิตของผู้สูงอายุ: การศึกษาแบบเรื่องเล่าวารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 91-104.

อัจฉริยา ปัญญาแก้ว, สุจิตรพร เลอศิลป์, และ สุภาวดี พุฒิหน่อย. (2564).  ระดับพฤฒพลังและรูปแบบการใช้เวลาในกิจกรรมการมีส่วนร่วมทางสังคมของผู้สูงอายุที่มีภาวะพฤฒพลังวารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 31(1), 177-188.

Thaiall.com