thaiall logomy background
วิจัยเพื่อท้องถิ่น
my town
spss | apa | peer review | TCI-1140 | TCI-1243 | TCI-1338 | research | NCCIT | ประชุมวิชาการ | อักขราวิสุทธิ์ | อ้างอิงแบบ IEEE | SJR + SIR + SCOPUS |
เป้าหมายของโฮมเพจ : ส่งเสริมให้มีการทำวิจัยเพิ่มขึ้น ด้วยการแบ่งปันประสบการณ์ของผู้วิจัย
หัวข้อในการเขียนรายงานการวิจัย (Sections of the Research Report)
1. ปัญหา ที่มา ที่ไป วัตถุประสงค์ (Introduction)
2. ทบทวนวรรณกรรม และทฤษฎี (Literature Review)
3. ออกแบบวิธีการ (Method Design)
4. ผลการทดลอง (Results)
5. อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ (Conclusion)
thaiall.com/research/
ความหมายของวิจัย
2มิ.ย.56 มีโอกาสได้มอบหมายงานนักศึกษาผู้ใหญ่ที่มีความพร้อม กับการวิเคราะห์เรื่องราวอย่างเป็นระบบหรือขั้นตอน จึงมีโจทย์งานกลุ่มและให้เวลาดำเนินการ แล้วนำเสนอ "วิธีการทำให้มีคนกดไลค์แฟนเพจขององค์กรเป็นล้าน" ซึ่งมีเป้าหมายของงาน เพื่อให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมดังนี้ การทำงานเป็นทีม การระดมสมอง การมอบหมายงาน การทบทวนวรรณกรรม การเลือกใช้วิธีการ การดำเนินการในแต่ละวิธี การเก็บข้อมูลและผลของแต่ละวิธี การอภิปรายผล การให้ข้อเสนอแนะ การจัดทำสื่อมัลติมีเดีย การนำเสนอผ่านสไลด์ และการนำเสนอหน้าชั้น
โครงการวิจัย แนวทางการทำงานของเครือข่ายสถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปาง
เพื่อสร้างการเรียนรู้และเสริมศักยภาพชุมชนพื้นที่ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
งบโดย .. สถาบันคลังสมองของชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ( สกว. ) ฝ่ายวิจัยท้องถิ่น
1 ม.ค.54 - 30 มิ.ย.54 ตารางสถิติการเข้าร่วมของชุมชน
ข้อเสนอ และรายงานวิจัย
เอกสารสำคัญ เครือข่ายม.ลำปาง
FB Group
ข้อเสนอโครงการ (ใหม่)
ประชุมเตรียมความพร้อม
สรุปประเด็น การศึกษา
สรุปประเด็น การเกษตร
สรุปประเด็น อาชีพ
สรุปประเด็น สุขภาพ&สวล.
ประชุม ซักซ้อมข้อเสนอ p2
ประชุม นำเสนอหัวข้อ p2
ประชุม ปิด p1
สรุปกลุ่มผู้เข้าร่วม p1
เอกสารสำคัญ CBPUS52
บทความส่ง วารสาร (รอพิจารณา)
รายงานวิจัย (ร่วมกร+ปราง)
ข้อเสนอโครงการ CBPUS (กร+ปราง)
Story Board วีดีทัศน์ฯ
โครงวีดีโองานศพ
สรุปผลกระทบ
เอกสารสำคัญ CBR51
Power Point
รายงานวิจัย (ร่วมชุมชน)
ข้อเสนอโครงการวิจัยงานศพฯ
โบว์ชัวร์ (Brochure) รุ่น 2
ประกาศสภาวัฒนธรรมฯ
หนังสือเล่มเล็ก โดย ทรงศักดิ์ แก้วมูล
วิธีเขียนข้อเสนอ+รายงานวิจัย
วิธีเขียนรายงานการวิจัย ***
หัวข้อในบทคัดย่อ (Abstract guide)
สอนเขียนโครงการวิจัยภาษาอังกฤษ
ทีมวิจัยไปรับรางวัล 3 ธ.ค.51
ผลวิจัยเด่น ประจำปี 2551
กลุ่มงานวิจัยท้องถิ่น จาก สกว.
สารบัญ
+ วิจัยคืออะไร (New)
+ whatisresearch2562.docx
+ งานรับรางวัลวิจัยเด่น (Brochure)
+ บทความนำเสนอ ภาคเหนือตอนบน
+ รวมบทความ ของ ภัทรา มาน้อย
+ slide เขียนรายงานส่ง cbpus จิ๊บ
+ ข้อมูล ต.ไหล่หิน + วัดไหล่หิน
+ ประวัติทุ่งพระเมรุ
+ การฌาปนกิจศพ (ดวงจันทร์ ครุขยัน)
+ วีดีโอและเสียงเผยแพร่งานวิจัย
+ งานวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
+ วิจัยด้านไอที โดย ดร.มนชัย
+ เกณฑ์มาตรฐาน สกอ.+แบบประเมิน
+ ฌาปนกิจสงเคราะห์
+ ประกาศสภาวัฒนธรรม วัดประตูป่า
+ researchs.in.th
+ แนะนำเว็บ (Web Guides)
แบบฟอร์ม การเขียนรายงานวิจัย
แผนที่ความคิดกับงานวิจัย
+ MindMap ด้วย FreeMind (png)
+ ความเชื่อมโยงความคิดงานวิจัย #

รวมเอกสาร "รูปแบบงานศพฯ"
เอกสารสำคัญในการทำงาน
+ ลำดับเหตุการณ์สำคัญในชุมชน
+ รายการใช้จ่ายที่ผ่านมา (Budget)
+ เอกสารเตรียมประชุมระดับหมวดบ้าน
+ สรุปมติของระดับหมวดต่อชุมชน
+ รูปแบบ หรือประเด็นข้อตกลง
    - ร่างข้อตกลงรวม 4 หมู่บ้าน #9
    - 16 ประเด็น หลัง 2 ระยะ #8
    - ฟอร์มเตรียมประเด็นสำหรับ 4 หมู่
เอกสารโครงการวิจัยที่ผ่านมา
+ เชิญปิด และเปิดโครงการใหม่
+ เสนอสภาฯ ออกประกาศ
+ เข้าสรุปผลแต่ละหมู่บ้าน
+ เชิญนักวิจัยไป 4 หมู่บ้าน#1
+ เชิญคนในบ้านมะกอก-นาบัว
+ เชิญ 4 หมู่เตรียมเข้าประชาคม
+ เชิญ 4 หมู่และศึกษาดูงาน
+ เชิญเป็นนักวิจัยเตรียมระยะ 3
+ เชิญเป็นนักวิจัย4 หมู่ร่วม 36 คน
+ เชิญนักวิจัยสรุป 2 และวางแผน 3
+ เชิญนักวิจัยร่วมสรุปประเด็น
+ เชิญหัวหน้าครอบครัวสรุปประเด็น
+ เชิญนักวิจัยทบทวนมติจากเวทีหมวด#
+ เชิญหัวหน้าครอบครัวเข้าประชาคม
+ เชิญนักวิจัย ทบทวนเตรียมเข้าหมวด
+ เชิญนักวิจัยร่วม ทบทวนเตรียมเข้าหมวด
+ เชิญนักวิจัยประชุมร่วมผู้สูงอายุ
+ เชิญผู้สูงอายุคุยวันเสีย
+ เชิญเยาวชนเก็บข้อมูลระยะที่ 2
+ เชิญทบทวนหลังดูงาน
+ ส่งรายงานให้นายก อบต.
+ เชิญไปดูงานการลดวันดีวันเสีย
+ รูปแบบเตรียมเข้าเวทีระยะที่ 2
+ เชิญทบทวนและวางแผนระยะที่ 2 #
+ เชิญสรุปทบทวนกับผู้ประสานงาน
+ เชิญไปดูงานสามขา บ้านดง
+ เชิญนักวิจัยสรุปประเด็น วางแผน 2
+ ขอตัวนักวิจัยจาก รร.ไหล่หินวิทยา
+ เอกสารแจกในประชาคมครั้งที่ 2
+ เชิญ นักวิจัยเข้าประชาคมครั้งที่ 2(3)
+ เชิญ ประชุม หมู่2 หมู่6 #2
+ ขอผู้ใหญ่บ้าน หมู่2 หมู่6 #2
+ เชิญ เตรียมประชาคมครั้งที่ 2
+ เก็บข้อมูล รูปแบบงานศพปัจจุบัน
+ รายงานความก้าวหน้า 5012
+ เชิญ เตรียมประชาคมครั้งที่ 2(ยกเลิก)
+ เตรียมเข้าประชาคมครั้งที่ 2
+ ยืนยัน ร่วมประชุมเชียงใหม่
+ ผลลงคะแนนหมู่ 2
+ เล่าด้วยภาพ ตอนที่ 1
+ ใบรับรอง ให้เยาวชน
+ เชิญ ผลสัมภาษณ์
+ ขอเผยแพร่ 72 ภาพ
+ เชิญ ประชุม หมู่2 หมู่6 #1
+ ขอผู้ใหญ่บ้าน หมู่2 หมู่6 #1
+ เชิญ รับแบบสัมภาษณ์
+ เชิญ เยาวชนเก็บข้อมูล
+ เอกสารประชาสัมพันธ์
+ เชิญ เตรียมเก็บแบบสอบถาม
+ เชิญ สัมมนาราชมงคล
+ รูปแบบใบเสร็จ
+ เชิญ ทำสัญญา
+ ผลสำรวจ โดยเยาวชน ***
+ แบบสอบถาม ระยะที่ 2
+ แบบสอบถาม ระยะที่ 1
รวมบันทึกการทำงาน
+ บันทึก เตรียมการแบบสอบถาม
+ บันทึก วันอธิบายสัญญา
+ บันทึก การประชุมที่วัด #1
+ บันทึก ดูงานบ้านนาหมื่น
+ บันทึก การประชุมเตรียมระยะ 2
การรายงานสู่สาธารณะ
+ เผยแพร่ข่าวสาร #1
+ รายงานใน ม.โยนก #2
+ วารสารเสียงลำปาง #3
+ รายงานใน ม.โยนก #4
+ บทความลงวารสารโยนก #5
+ วิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ #6
+ รายงานใน ม.โยนก #7
+ บทบาทอาจารย์คอมพิวเตอร์ #8
ที่ปรากฎในสื่อ
+ นิตยสารเนชั่นแนล
+ โต๊ะข่าวอิสรา
+ วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่
+ แถลงข่าว 10 เม.ย.52
+ งานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์
+ สัมภาษณ์นักวิจัย สถาบันอิศรา
ทีมวิจัย CBR51
+ รายชื่อนักวิจัย+นักวิจัยร่วม (ระยะที่ 3/3)


map.google.com

อักขราวิสุทธิ์ ระบบตรวจสอบ
การลอกเลียนวรรณกรรมทางวิชาการ
โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศูนย์ประสานงาน สกว.ลำปาง
+ ภัทรา มาน้อย
+ Social Mapping

+ กำหนดการสัมมนา 10 ปีที่ กทม.

+ โครงการใน vijai2lampang.htm


นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.2563 - 2570 และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.2563 - 2565 โดย สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สิงหาคม 2562
PR01_03122562.pdf
แผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี พ.ศ.2561 - 2580 มี 154 หน้าตามแฟ้ม PDF
plan20yrs.pdf
ตัวอย่างโปสเตอร์

med_role_boss63
รหัสโครงการ : PDG52N0013 (ข้อเสนอโครงการ)
โครงการวิจัย "แนวทางการผลิตสื่อวีดีทัศน์เพื่อขยายผลองค์ความรู้เรื่องการจัดการงานศพ บ้านไหล่หิน ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง"
+ ระยะ : 1 ก.ย.52 ถึง 28 ก.พ.53 งบประมาณ 23,000 บาท


บทความเผยแพร่
บทคัดย่อ
งานศพกับวิจัยเพื่อท้องถิ่น
เชื่อมชุมชน อาจารย์ นักศึกษา
รายงานสรุปสมบูรณ์
สรุปผลกระทบ
บทความในวารสารวิจัยฯ
รหัสโครงการ : RDG50N0032 (ข้อเสนอโครงการ)
โครงการวิจัย "รูปแบบการจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง บ้านไหล่หิน ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง"
Sufficiency Economy Funeral of Ban Laihin, Laihin Sub-District, Koh Kha, Lampang
ระยะที่ 1 : 1 สิงหาคม 2550 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2551 (หารูปแบบ) (zip) ใช้ไป 65,565 บาท
ระยะที่ 2 : 1 มีนาคม 2551 ถึง 30 กันยายน 2551 (ทดลองปฏิบัติ) (zip) รับอนุมัติ 88,400 บาท
ระยะที่ 3 : 1 ตุลาคม 2551 ถึง 30 เมษายน 2552 (ขยายผล) ( ) 52,020.93 บาท
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มี 3 คุณลักษณะ ได้แก่ "ความพอประมาณ" หมายถึงความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น "ความมีเหตุผล" หมายถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุ ปัจจัยและข้อมูลที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ และ "การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว" หมายถึงการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
อ้างอิงจาก สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2549 หน้า 13
2552-06-29 - 30 นำเสนอโครงการวิจัยฯ ในเวที กศน. กทม.

ภาพเป็นข่าวส่งลง นสพ.ฅนเมืองเหนือ : ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยโยนก นำเสนอโครงการวิจัย “รูปแบบการจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง บ้านไหล่หิน ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง” ในงานการประชุมสัมนางานวิจัย “โครงการวิจัยพัฒนาคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ปีงบประมาณ 2552” ณ โรงแรมแกรนด์ เดอ วิลล์ กรุงเทพฯ โดยมี ดร.ยิ่ง กีรติบูรณะ และ ดร.สุชิน เพ็ชรักษ์ เป็นผู้วิพากษ์การนำเสนอโครงการวิจัย ระหว่าง 29-30 มิ.ย.52 ที่ผ่านมา
ภาพ ผอ.อวิรุทธิ์ ภักดีสุวรรณ (มุมล่างซ้าย) จากจังหวัดมหาสารคาม ท่านเป็นผู้นำเสนอโครงการ "รูปแบบการพัฒนาหมู่บ้านอยู่ดีมีสุข บ้านเหล่าน้อย หมู่ที่ 10 ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม" ท่านกรุณาสลับกับผมถ่ายภาพในฐานะผู้นำเสนอ และผมได้รับความอนุเคราะห์แฟ้มรายงานโครงการจากท่าน มาเผยแพร่ต่อ เพราะน่าจะเป็นต้นแบบที่ดีในการพัฒนาชุมชนอื่นต่อไป
2552-05-23 ประชุมยุทธศาสตร์การศึกษากับการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ที่บ้านเสานัก
รอง.ผอ.ราตรี ดวงไชย โรงเรียนไหล่หินวิทยา เป็นตัวแทนโครงการวิจัยฯ ในบทบาทของครูในพื้นที่ เข้าร่วมเวทีที่ ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดลำปาง จัดขึ้นเพื่อวางกรอบแนวทางการวิจัยภายใต้ยุทธศาสตร์การศึกษา โดยประกอบด้วยตัวแทนโครงการวิจัยจากหลายโครงการ ผู้แทนจากองค์กรทางการศึกษา แม้หัวหน้าโครงการไม่ได้เข้าร่วม แต่ก็ได้ยินเสียงชื่นชมจาก ดร.สุชิน เพ็ชรักษ์ กศน.ภาคเหนือ ว่านักวิจัยของโครงการเล่าได้อย่างมีความสุข ทำให้เห็นภาพชัดเจนว่าโครงการประสบความสำเร็จ เพราะคนทำงานสามารถนำเสนอได้อย่างเข้าใจ และมั่นใจในสิ่งที่ได้ทำลงไปได้อย่างมีความสุข .. ผู้เขียนขอตีความอย่างที่ได้รับฟังมา
เหตุที่หัวหน้าโครงการไปร่วมครั้งนี้ไม่ได้ เพราะติดงานนำเสนอโครงการวิจัยอีกโครงการหนึ่ง คือโครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองฯ ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งได้นำเพื่อนร่วมงานไปร่วมประชุมวิชาการครั้งนี้หลายท่าน
2552-04-10 แถลงข่าวประกาศใช้ข้อตกลงในการจัดการงานศพฯ

เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2552 นายทรงศักดิ์ แก้วมูล ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลไหล่หิน ร่วมกับผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ หัวหน้าโครงการวิจัยรูปแบบการจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในบทบาทอาจารย์มหาวิทยาลัยโยนกร่วมกับนักวิจัยในพื้นที่ทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จัดงานแถลงข่าวการประกาศใช้รูปแบบการจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงตำบลไหล่หิน โดยได้รับเกียตรติจากนายชนะเกียรติ เจริญหล้า นายอำเภอเกาะคา เป็นประธานในพิธีมอบป้ายไวนิล ป้ายประชาสัมพันธ์ประเด็นข้อตกลง และเอกสารประกาศข้อตกลง แก่ตัวแทนผู้นำทั้ง 6 หมู่บ้านที่ทำงานร่วมกันมากว่า 2 ปี ณ ศาลาเอนกประสงค์วัดไหล่หินหลวง โดยมีผู้สูงอายุ นักวิจัยในตำบล หัวหน้าส่วนราชการ และนักวิจัยที่สังกัดศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดลำปาง เข้าไปร่วมเป็นเกียรติ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงวิธีวิทยาของโครงการวิจัยครั้งนี้ หลังเสร็จพิธีนางสาวภัทรา มาน้อย พี่เลี้ยงโครงการวิจัยพื้นที่จังหวัดลำปาง ร่วมกับสภาวัฒนธรรมตำบลไหล่หินจัดพิธีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในตำบล นักวิจัยอวุโส ปลัดอาวุโส และนายอำเภอเกาะคา (รวมรูปใหญ่ซ่อนใน news_announce.zip 15 MB)
ส่วนหนึ่งของงานแถลงข่าวได้ทำวีดีโอที่ผู้ใหญ่บ้านแต่ละท่าน นำเสนอประเด็น และภาพกิจกรรม ระหว่างดำเนินการวิจัย ซึ่งวีดีโอทั้งหมดเผยแพร่ใน youtube.com ดังนี้ ผู้ใหญ่ประจญ ภักตรา 0871818936 ผู้ใหญ่อุดม จำปา 0898530539 ผู้ใหญ่ประจวบ ตาวี 0857052689 ผู้ใหญ่อนัน ขันทา 0813667799(map)
ข่าวใน thaiall.com mthai.com oknation.net http://radio.mcot.net
2552-04-02 ประสานเตรียมงานแถลงข่าว
ประสานกับคุณทรงศักดิ์ แก้วมูลเตรียมจัดเวทีแถลงข่าว เรื่องการประกาศใช้ข้อตกลงในการจัดการงานศพฯ มีประเด็น 1) เชิญนักข่าว 3 สำนักพิมพ์ 2) เชิญนักวิจัยร่วมในพื้นที่ 14 + 9 + 9 + 9 + 9 = 50 3) เชิญกำนัน 9 ตำบล และหัวหน้าส่วนราชการ และนายอำเภอ 4) เตรียม break สำหรับ 100 คน 5) คุณสองเชิญผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ทั้งหมด ประสานจัด break เตรียมอุปกรณ์ 6) จิ๋มเชิญนักวิจัยนอกพื้นที่ 7) อ.บุรินทร์ เตรียม บทความ ไวนิล ป้าย future board ประกาศสภาฯ และ วีดีทัศน์ จัดงานที่ศาลาอเนกประสงค์วัดไหล่หินหลวง ศุกร์ที่ 10 เมษายน 2552 โดยมี หนังสือเชิญ และ กำหนดการ ส่งให้สกว. เพื่อพิจารณาเข้าร่วมประชุม
2552-03-20 - 21 ประชุมที่ Grand Diamon Ballroom
ทีมวิจัย 3 คน ร่วมขบวนไปกับศูนย์ประสานงาน ร่วมงานมหกรรม 10 ปีวิจัยเพื่อท้องถิ่น แล้วหัวหน้าโครงการมีโอกาสขึ้นเวทีเสวนาวันเสาร์ที่ 21 มี.ค.52 ช่วง 9.00- 9.40 เป็น session แรกของช่วงเช้าในห้องย่อย 1 หัวข้อ งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นกับสถาบันการศึกษา บนเวทีมี คุณประพจน์ ภู่ทองคำ ดร.มยุรี ถาวรพัฒน์ อ.ไพจิตร ศรีธนานุวัฒน์ ผศ.เยี่ยมลักษณ์ อุดาการ และผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์
2552-03-20 คุณราชศักดิ์ นิลศิริ นักเขียนประจำกองบรรณาธิการ National Geographic ฉบับภาษาไทย Tel.0851650435 rachasak@amarin.co.th ขอสนทนาเก็บข้อมูลเรื่องงานศพ กับนักวิจัย 3 คนคือ ประธานทรงศักดิ์ พ่อกำนันกิจชนะชัย และผม นานกว่า 2 ชม. ก็ดีใจที่ข้อมูลนี้จะถูกนำไปแลกเปลี่ยนในเวทีอื่นต่อไป
ภาพ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15
2552-02-21 - 03-02 เวทีสรุปผลแต่ละหมู่บ้าน
จากการสรุปผลในแต่ละหมู่บ้าน โดยสรุปประเด็นโดยผู้ใหญ่แต่ละหมู่บ้าน สรุปความสัมพันธ์ของหลักปรัชญาฯกับงานศพโดยพ่อกำนัน สรุปการดำเนินงานโดยผู้ใหญ่เพิ่มศักดิ์ และสรุปบทเรียนความสำเร็จโดยประธานสภาฯ และขอรายชื่อชาวบ้าน ทำให้การยื่นหนังสือถึงสภาวัฒนธรรมตำบลไหล่หินมีความสมบูรณ์ และปรับแก้ไขร่างประกาศจนได้ ร่างประกาศรุ่น 3 เป็นที่เรียบร้อย
1)หมู่ 1 บ้านเข้าซ้อน 2 มีค. 52 มี 17 ประเด็น
2)หมู่ 3 บ้านแม่ฮวก 22 กพ. 52 มี 14 ประเด็น
3)หมู่ 4 บ้านมะกอก-นาบัว 21 กพ. 52 มี 15 ประเด็น
4)หมู่ 5 บ้านกิ่ว 23 กพ. 52 มี 15 ประเด็น
บ้านไหล่หิน และบ้านไหล่หินตะวันตก เหลือ 15 ประเด็น
2552-02-9 - 12 วิเคราะห์ผลประชามติและข้อเสนอแนะ
หลังได้ประชามติจากแต่ละหมู่บ้าน จึงนำผลประชามติ และข้อเสนอแนะไปวิเคราะห์ สังเคราะห์ และวางแผนการทำงานช่วงต่อไป โดยกิจกรรมต่อไปคือ ประชุมสรุปผลลงแต่ละหมู่บ้าน นำผลการประชามติเสนอให้สภาวัฒนธรรมประกาศของตำบลรับรอง เสนอให้สภาฯอำเภอรับรอง มอบเครื่องมือ 3 ชิ้นให้แต่ละหมู่บ้านใช้เป็นเครื่องมือ คือ 1)Future Board ติดที่วัด 2)ประกาศสภาวัฒนธรรมใช้เป็นคู่มือ 3)ป้ายไวนิวติดในงานศพ ซึ่งเป็นเครื่องมือเสริม การทำงานของนักวิจัยร่วมในแต่ละหมู่บ้านที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนข้อตกลงที่ตั้งอยู่บนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนำไปสู่การเป็นชุมชนอยู่ดีมีสุข สรุปได้ว่าทั้งตำบลมีประเด็นในภาพรวมทั้งหมด 18 ประเด็น
1)หมู่ 1 บ้านเข้าซ้อน 9 กพ. 52 เดิม 16 ประเด็น เพิ่ม 1 ประเด็น เป็น 17
2)หมู่ 3 บ้านแม่ฮวก 10 กพ. 52 เดิม 13 ประเด็น เพิ่ม 1 ประเด็น เป็น 14
3)หมู่ 4 บ้านมะกอก-นาบัว 11 กพ. 52 มี 15 ประเด็นเท่าเดิม
4)หมู่ 5 บ้านกิ่ว 12 กพ. 52 มี 15 ประเด็นเท่าเดิม
บ้านไหล่หิน และบ้านไหล่หินตะวันตก เดิม 16 ประเด็นลดเหลือ 15 ประเด็น
+ ผลการประเมินการลดค่าใช้จ่ายลงได้ -19,675 บาท
+ ผลปรับร่าง ประกาศสภาวัฒนธรรมฯ รุ่น 2
2552-01-24 - 26 ประชุมคมหาประชามติแต่ละหมู่บ้าน
ได้ภาพและวีดีโอมาเยอะครับ ภาพที่ดีที่สุดเป็นของบ้านเข้าซ้อน เพราะทำงานกลางวัน อีก 4 หมู่ทำงานกลางคืนเป็นเวลาที่ไม่มีแสงมากนัก ทำให้ภาพถ่าย และวีดีโอมือไปหมด
1)หมู่ 1 มี 4 กลุ่ม 27/27 24/24 23/25ปราสาท 15/27ปราสาท = 103
2)หมู่ 3 มี 4 กลุ่ม 23/23 23/23 19/20สุรา 24/24 = 90
3)หมู่ 4 มี 2 กลุ่ม 18/18 23/23 = 41
4)หมู่ 5 มี 2 กลุ่ม 16/20ปราสาท 16/20ปราสาท = 40
+ ป้ายนำเสนอประเด็นต้นแบบจากบ้านไหล่หิน | คะแนนและประเด็นหลังลงมติ | ร่างประกาศสภาวัฒนธรรมฯ
+ ฟอร์มลงชื่อเพื่อเสนอสภาวัฒนธรรม ตำบลไหล่หิน | ประเมินการลดค่าใช้จ่ายลงได้ -21675 บาท
2552-01-18 ประชุมทีมวิจัยร่วมซักซ้อมรอบสุดท้ายก่อนเข้าหมวดหามติในหมู่บ้านทั้ง 4
จัดทำ เอกสารเตรียมเข้าประชุมที่นำเข้าทบทวนและแก้ไขรุ่น 11 ซึ่งนัดหมายทั้ง 4 หมู่บ้าน สำหรับ 1)หมู่ 1 บ้านเข้าซ้อนคือ 25 มกราคม 2552 เวลา 9.00 - 12.00 น. 2)หมู่ 3 บ้านแม่ฮวกคือ 24 มกราคม 2552 เวลา 20.00 เป็นต้นไป 3)หมู่ 4 บ้านมะกอก-นาบัวคือ 25 มกราคม 2552 เวลา 20.00 เป็นต้นไป 4)หมู่ 5 บ้านกิ่วคือ 26 มกราคม 2552 เวลา 20.00 เป็นต้นไป
สิ่งที่แตกต่างกันในแต่ละเวทีคือ มี 3 หมู่บ้านจะใช้เสียงตามสายเชิญชาวบ้านมาประชุม คาดว่ามากกว่าในแผนคือ 40 คนหลายเท่าตัว ยกเว้นบ้านมะกอก-นาบัวใช้หนังสือเชิญรายบุคคลจำนวน 50 แผ่น ส่วนบ้านเข้าซ้อนเลือกประชุมกลางวัน และทุกหมู่บ้านใช้วัดเป็นที่ประชุม
2551-12-22 และ 23 ประชุมทีมวิจัยร่วม และดูงานที่บ้านดง ต.นายาง
ประชุมกับนักวิจัยร่วมจาก 4 หมู่บ้าน และไปดูงานบ้านดงในวันรุ่งขึ้น ลดดีกรีความไม่เห็นด้วยในหลายประเด็น โดยเฉพาะเรื่องเหล้า และเรื่องวันเสีย ได้ประเด็นจาก 4 หมู่บ้าน ก่อนประชุมวันที่ 18 มกราคม 2551 ได้นัดประชุมนอกรอบกับแต่ละหมู่บ้าน ระหว่าง 11 - 14 มค.52 เพื่อเตรียมการณ์ พิจารณาเอกสารที่จะใช้ในการประชาคม และทบทวนประเด็นอีกครั้งหลังไปศึกษาดูงาน
+ ประชุมนักวิจัยร่วม 1, 2, 3, 4, 5
+ ดูงานที่บ้านดง 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10
วิทยากร คือ นายอิ่นแก้ว เรือนปานันท์ และ นางวิลัยวรรณ เทพอุด
2551-12-07 ถึง 10 เข้าพบทีมวิจัยร่วมใน 4 หมู่บ้าน (#3)
พบวันละหมู่บ้าน เริ่มบ้านกิ่วที่บ้านผู้ใหญ่ บ้านมะกอกนาบัวที่วัดมะกอกนาบัว บ้านเข้าซ้อนที่ศูนย์เด็กเล็ก และบ้านแม่ฮวกที่ในโบสถ์ ประเด็นที่เข้าไปครั้งนี้ คือ ทบทวนชื่อนักวิจัยร่วม นำเสนอที่มาโครงการ กำหนดการ ยกร่างประเด็นร่วมกับนักวิจัยร่วม และนัดหมายการทำงาน ได้รับการตอบรับดีมาก เพราะทุกคนเข้าใจเป้าหมายของโครงการ และการทำงานอย่างชัดเจน มีพ่อกำนัน กับอ้ายเทียนไปด้วยทุกครั้ง ทำให้ทำงานง่ายขึ้นมาก จากการพูดคุยกับนักวิจัยร่วมทีละหมู่บ้าน จึงปรับ ข้อมูลประวัติ เพื่อใช้อธิบายความเป็นมาในเวทีแต่ละหมู่บ้าน
ภาพถ่าย : 7 บ้านกิ่ว, 8 บ้านมะกอกนาบัว, 9 บ้านเข้าซ้อน, บ้านแม่ฮวกลืมเอากล้องไปครับ
2551-12-03 รับรางวัลผลงานวิจัยเด่นปี 2551
โครงการของเราได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 8 "ผลงานวิจัยเด่น ประจำปี 2551" จากกลุ่มงานวิจัยท้องถิ่น ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) รับโล่และเกียรติบัตรจาก ศ.ดร.ปิยวัติ บุญ-หลง ความสำเร็จเกิดจากการหนุนนำของ ดร.สมคิด แก้วทิพย์ และผศ.ดร.อาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจ ผู้ประสานงานฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น และแรงหนุ่นสำคัญใกล้ทีมงานแบบถึงลูกถึงคน ถึงพริกถึงขิง คือ คุณภัทรา มาน้อย ผู้ประสานงาน ศูนย์ลำปาง ยังมีน้องโบว์ น้องบอย และน้องจิ๊บ ที่ทำงานกันเต็ม 100 ทุกเวลาคอยหนุนเสริมทีมวิจัยบ้านไหล่หินอย่างต่อเนื่อง
ถ้านี่เป็นความสำเร็จก็ต้องบอกว่ามีปัจจัยมากมายที่ขับเคลื่อนกระบวนการทั้งหมดมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากทีมวิจัยที่เป็นส่วนสำคัญแล้ว ก็ต้องบอกว่า คุณภัทรา มาน้อย คือฟันเฟืองซี่เล็กที่สำคัญที่สุดอีกตัวหนึ่ง ที่ทำให้กลไกการเริ่มต้น การประสาน และการสนับสนุนจากส่วนกลางเป็นไปอย่างที่เป็นอยู่ .. และนี่คงเป็นหน้าที่ของผู้ประสานงานดีเด่นอย่างแน่นอน
ความเด่นของโครงการโดยสรุปในมุมของผู้ประสานงาน 1)ใช้เทคนิค และกระบวนการเก็บข้อมูลอย่างมีส่วนร่วม 2)ใช้การสื่อสารให้เข้าใจกิจกรรมได้ง่ายด้วยวีดีโอ 3)ออกแบบกิจกรรมให้มีส่วนร่วมทั่วถึง 4)มีเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมทำงานและเรียนรู้ 5)ทัศนคติของการเกื้อหนุน
24 งานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551

คัดภาพ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31
Brochure ที่นำไปแจกในงานนี้ ตอนจัดนิทรรศการ
2551-11-29 ร่วมงานศพ อ.สุคณิต พาทีทิน ที่ กทม.
ผม และเพื่อนอาจารย์มหาวิทยาลัยโยนก ไปร่วมงานศพ อ.สุคณิต พาทีทิน ท่านเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งหลังทราบอาการประมาณ 4 เดือน ตั้งศพที่วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน ศาลา 9/1 การจัดงานศพที่ผมไปรวมใช้เวลาเพียง 25 นาที (18.30 - 18.55) นับจากพระสงฆ์นั่งจนออกจากศาลา มีการเลี้ยงข้าวต้ม และน้ำเปล่าตั้งแต่ก่อนสวดประมาณ 18.00น. (เห็นแขกในงานบอกว่าวัดชลประทานรังสฤษฎ์ ก็นิยมแจกของว่างก่อนสวดเช่นกัน) พิธีทางศาสนาเริ่มจากอาราธนาศีล ๕ แล้วสวดไปสักพักก็หยุดครึ่งนาที ประมาณ 4 รอบ ก่อนถวายจตุปัจจัย(สังฆทาน) ผ้าบังสุกุล และช่อดอกไม้ 4 ชุด ที่กรุงเทพฯ เห็นพวงหรีดเป็นดอกไม้สดทั้งหมด ชุดละประมาณ 500 บาท ถ้ามี 20 ชุดก็ประมาณ 10000 บาทแล้ว ถ้าเก็บศพไว้นาน พวกหรีดที่นำไปวางก่อนก็จะเหี่ยวเฉา ไม่เหมือนที่ลำปางที่ใช้ดอกไม้แห้ง ผ้าขนหนู หรือนาฬิกาแทน
2551-11-22 เตรียมไปจัดนิทรรศการ และร่วมแถลงข่าว
วันนี้มีนักวิจัยประชุมเตรียมพร้อม พี่เพ็ญ กำนัน ลุงล้วน พ่ออ้าย อ.ผดุง คุณสอง แพทย์ ป้ากิม แต่มีนักวิจัยที่สะดวกไปได้เพียง 6 คน อีก 4 คนที่เพิ่มเข้ามาเป็นนักวิจัยร่วมคือ นางสมพร คำอ้าย นางอรปรีญา วรรณมณี อ.สนั่น วรรณมณี และนางผ่องศรี ชำนาญการ คุยกันเรื่องเตรียมนิทรรศการ ขอที่เตรียมไปมี 6 อย่างคือ เมี่ยง ดอกไม้แห้ง แกงฮังเล สุราพื้นบ้าน สำรับ ผ้าสุกุล สำหรับเอกสารเตรียมแจกทำเป็น brochure 200 ชุด
2551-10-31 เตรียมความพร้อมระยะที่ 3
นัดหมาย 20 และ 21 ธันวาคม 51 เตรียมไปดูงานบ้านดง สบปราบ และนัดเข้าพื้นที่เริ่มเดือนมกราคม 52 และทำป้ายแต่ละหมู่บ้าน : หมู่บ้านนี้ยึดหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภาพถ่าย1
2551-10-19 เข้าพบผู้ใหญ่บ้านทั้ง 4 (#2)
เข้าไปเก็บข้อมูลเรื่องประชากร และทบทวนประเด็น โดยใช้ฐานจากรูปแบบที่ได้จากบ้านไหล่หินหมู่ 2 และหมู่ 6 พบว่าแต่ละหมู่บ้านมีความแตกต่างกันในบางประเด็น ครั้งนี้พบทั้ง 4 ผู้ใหญ่บ้านสำเร็จในวันเดียว ใช้เวลาแต่ละหมู่บ้านประมาณ 1 ชั่วโมง - 1 ชั่วโมงครึ่ง โดยเฉพาะบ้านกิ่วที่พบนักวิจัยร่วมรวม 6 ท่าน มีการซักถามมากจึงใช้เวลามากที่สุด ส่วนบ้านแม่ฮวกได้พบกับ อ.ธงชัย ผอ.โรงเรียนบ้านแม่ฮวก ได้แลกเปลี่ยนประเด็นจึงใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมง ผู้ใหญ่ประจวบเล่าความคืบหน้า และการตอบรับในชุมชน ส่วนผู้ใหญ่ผจญก็ยินดีประสานกับอาจารย์สุวรรณ ในการบรรยายเศรษฐกิจพอเพียงในหมู่บ้านหากมีการประชุมในเดือนถัดไป
ภาพถ่าย : 1, 2, 3, 4
2551-10-05ร่วมงานศพพ่อท่น จินะการ 65 ปี
ได้รับแจ้งข่าวเศร้าจากอ.สุวรรณ เกษณา เกี่ยวกับญาติของพ่อหลวงเพิ่มศักดิ์ จินะการ ซึ่งเป็นทีมวิจัยหลักของโครงการ ว่าท่านได้เสียพี่ชายชื่อ พ่อท่น จินะการ กระผมจึงเข้าเยี่ยมเคารพศพประมาณบ่าย 3 ของวันดา กำลังจะเริ่มพิธีทาน ก่อนนำโลงเข้าปราสาท งานนี้เป็นไปตามข้อตกลงในหมู่บ้านหลายประการ เช่น การเก็บศพ 3 วัน การลดสุรา การใช้โลงศพราคาไม่สูงนัก การใช้ดอกไม้แห้ง การจัดหาผ้าบังสุกุล คาดว่าจะมีประมาณ 40 ผืนเท่านั้น ส่วนการวางซองแทนพวงหรีดมี โรงเรียนไหล่หินวิทยา กับโรงเรียนบ้านไหล่หิน และทีมวิจัย เป็นผู้นำร่องจัดทำป้ายตามที่เราได้ดำเนินการ
ภาพถ่าย : 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9
2551-09-27 นำเสนอโครงการต่อ 4 ผู้ใหญ่ หมู่ 1,3,4,5 (#1)
เข้าพบผู้ใหญ่บ้านทั้ง 4 หมู่บ้าน โดยมีลุงล้วนในฐานะสารวัตรกำนันช่วยประสาน ทำให้การเล่าเรื่องงานวิจัย นำเสนอวัตถุประสงค์ แผนงาน และกิจกรรม ทำได้อย่างราบรื่น โดยพบผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 เป็นท่านสุดท้าย เพราะท่านไปขอสาวให้ลูกบ้าน เป็นการเตรียมความพร้อมเรื่องนักวิจัยร่วม และการให้ข้อมูลในเบื้องต้น
- หมู่ 1 บ้านเข้าซ้อน ผู้ใหญ่ประจญ ภักตรา 0871818936
- หมู่ 3 บ้านแม่ฮวก ผู้ใหญ่อุดม จำปา 0898530539
- หมู่ 4 บ้านมะกอกนาบัว ผู้ใหญ่ประจวบ ตาวี 0857052689
- หมู่ 5 บ้านกิ่ว ผู้ใหญ่อนัน ขันทา 0813667799
2551-09-18 เล่าเรื่องโครงการ ที่คลื่น 94.5
ทุกวันพฤหัสบดี 9.00 - 10.00 ศูนย์ประสานงาน ลำปาง จะจัดรายการวิทยุที่โรงเรียนผดุงวิทย์ วันที่ 18 กย.51 ได้รับเชิญจาก นางสาวอัญมณี แสงแก้ว เจ้าหน้าที่การเงินของ สกว.ลำปาง การออกอากาศผ่านรายการวิทยุครั้งนี้ นำเสนอ 3 ช่วง คือ ที่มาโครงการ ประเด็นที่น่าสนใจ สรุปโดยน้องโบว์ ซึ่งทั้ง 3 ช่วงได้บันทึกวีดีโอเข้า youtube.com เป็นบทเรียนในการทำงาน
2551-08-23 แจ้งมติจากการประชาคมทั้ง 8 ให้ 2 หมู่ทราบ
สรุปประเด็นต่าง ๆ ให้กับในชุมชน โดยชี้ลงไปในประเด็นที่ยังมีข้อสงสัย โดย อ.สุวรรณ เกษณา ชี้ไปที่ประเด็นที่อาจมีข้อถกเถียง โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนคุณทรงศักดิ์ แก้วมูล ให้ภาพที่ผ่านมา ปัจจุบันเราเป็นอย่างไร และที่เราจะทำต่อไปได้อย่างชัดเจน ส่วน กำนันกิจชนะชัย ปะละ สรุป และย้ำในกิจกรรมที่จะเกิดขึ้น
1 2 3 4 เอกสารสรุปผล
2551-07-25 งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในบทบาทการศึกษา
วันนี้ผมมีโอการนำเสนอกระบวนการ และสิ่งที่ได้รับจากโครงการวิจัยในบทบาทของอาจารย์ และชุมชน แต่เวลาที่มีให้น้อยมาก จนนำเสนอได้เฉพาะกรอกของกระบวนการ ถ้านำเสนอรายละเอียดอื่น ๆ ก็จะทำให้เหลือเวลาน้อยไป สำหรับนักวิจัยอีก 5 โครงการได้แก่ เด็กท้อง เจ้าพ่อขุนตาล โคม ฐานข้อมูล ผ้าย้อม
1 2 3 4 5
2551-06-20,21,28,29 เวทีหมวด 1 และ 2
หมู่ 2 หมวด 1,2,3 ( 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10)
หมู่ 6 หมวด 1,2,3 ( 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13)
หมู่ 2 หมวด 4,5,6,7 ( 1 2 3 4 5 6 7 8)
หมู่ 6 หมวด 4,5,6,7 ( 1 2 3 4 5 6)
หมู่ 2 หมวด 8,9,10,11 ( 1 2 3 4 5 6 7 8 9)
หมู่ 6 หมวด 8,9,10,11 ( 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12)
หมู่ 2 หมวด 12,13,14,15 ( 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12)
หมู่ 6 หมวด 12,13 และหมู่ 2 หมวด 16 ( 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10)
+ ข้อมูลจากการประชุมระดับหมวดทั้ง 8 ครั้ง
+ วีดีโอ รุ่น 9

1 2 3 4
2551-06-13 เตรียมความพร้อมเข้าระดับหมวด
คุณทรงศักดิ์ แก้วมูล ประธานสภาองค์การ บริหารส่วนตำบลไหล่หิน ด.ต.กิจชนะชัย ปะละ กำนันตำบลไหลหิน อ.สุดา แผ่นคำ คุณ ภัทรา มาน้อย ผู้ประสานงาน สกว. และนักวิจัยในโครงการวิจัย "รูปแบบการจัดการ งานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง บ้านไหล่หิน ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง" ร่วม กับนักวิจัยร่วม ประชุมเตรียมความพร้อมในการทำประชาคมครั้งละ 3 หมวดบ้าน ทั้งหมด 10 ครั้ง เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะ และหามติร่วมกันในการจัดการงานศพโดยยึด หลักเศรษฐกิจพอเพียง
2551-06-06 เวทีสางความเชื่อเรื่องวันเสีย
ผอ.สุวรรณ เกษณา โรงเรียนบ้านไหล่หิน ด.ต.กิจชนะชัย ปะละ กำนันตำบลไหล่หิน และนักวิจัยใน โครงการวิจัย "รูปแบบการจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง บ้านไหล่หิน ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง" ร่วมกับผู้สูงอายุในบ้านไหล่หินกว่า 30 ท่าน หาข้อสรุปเกี่ยวกับวันเสียบนความสมเหตุสมผล อย่างพอประมาณ ให้เหลือวันที่เชื่อว่าไม่สมควรทำพิธีฌาปนกิจศพน้อยที่สุด โดยอาศัยข้อมูลแวดล้อมอ้างอิง นำสู่ชีวิตพอเพียงในการจัดการงานศพของท้องถิ่น
+ การฌาปนกิจศพ (ดวงจันทร์ ครุขยัน)
+ วันไชยฤกษ์ โดยพ่อหลวงหนานตา อุรา
+ เอกสารนำเข้าเวที รุ่น 7
+ เอกสารข้อมูลแจกในเวทีหมวด
+ วาระเข้าหมวด
ภาพถ่าย : 1 2 3 4 5 6 7 8

ได้มติของผู้สูงอายุว่าจะเชื่อ 2 วัน
+ ศุกร์ที่ตรงกับ 15 ค่ำ (ในพรหมชาติหน้า 482)
+ วัน 9 ค่ำ (ในธรรมที่พระพุทธเจ้าเทศนา)
2551-06-01 เก็บข้อมูลโดยเยาวชน
อาจารย์ราตรี ดวงไชย โรงเรียนไหล่หินวิทยา อาจารย์สุดา แผ่นคำ โรงเรียนบ้านไหล่หิน ร่วมกับ อาจารย์บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ มหาวิทยาลัยโยนก อบรมการเก็บข้อมูลให้กับนักเรียนทั้ง 2 โรงเรียนจำนวน 20 คน เพื่อลงพื้นที่เก็บข้อมูลในโครงการวิจัย "รูปแบบการจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง บ้านไหล่หิน ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง" เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2551 เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการทำประชาคมระดับหมวดบ้าน และเวทีผู้สูงอายุ ในโครงการระยะที่ 2 ต่อไป
สรุปในเบื้องต้นได้ว่าเก็บแบบสอบถามได้ 283 ชุด เห็นด้วยทั้ง 16 ข้อ 163 ชุดคิดเป็น 57% ส่วนไม่เห็นด้วยเป็นบางข้อ 120 ชุดคิดเป็น 43% และไม่มีทั้ง 16 ข้อคิดเป็น 0%

1 2 3 4 5
ผลสรุปในรูป excel อย่างง่าย
พบประเด็นที่ต้องอธิบาย
2551-05-25 ประชุมนักวิจัยที่วัด
ประชุมที่วัดร่วมกับเจ้าอาวาสนักวิจัย จึงสรุปการพิจารณายกร่างเอกสารว่ามีการแก้ไขดังนี้ แบบสอบถามที่ให้เยาวชนลงพื้นที่ครั้งที่ 2 และแบบสอบถามที่ใช้เก็บข้อมูลในงานศพ ไม่มีการแก้ไข แต่ปรับวาระเรื่องเวลาเข้าหมวดอีกครั้ง + การจัดกลุ่ม 16 หัวข้อตามความเชื่อ การจัดการ และความสัมพันธ์กับเศรษฐกิจพอเพียง มีแก้ไขในส่วนเศรษฐกิจพอเพียงใหม่ + ปรับแก้ลำดับเหตุการณ์สำคัญ + แก้ไขข้อมูลสำคัญเตรียมเข้าเวทีระดับหมวด + แต่ร่างประกาศสภาวัฒนธรรม ตำบลไหล่หิน ยังต้องรอ คุณทรงศักดิ์มายกร่าง + ภาพกลุ่มประดิษฐ์ดอกไม้
2551-05-18 สัมภาษณ์ปราชญ์ชาวบ้านหลายท่าน
นอกจากร่วมงานศพของคุณกล้าหาญ เทพหินลัพ ก็ได้บันทึกวีดีโอของ พ่อหลวงหนานตา อุรา พ่อหนานดวงจันทร์ ครุขยัน พ่ออาจารย์สนั่น วรรณมณี และมีรูปถ่ายอีก 6 ใบ 1 2 3 4 5 6
2551-05-09 เข้าเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เพิ่มเติม
ปรับรายละเอียดใน ลำดับเหตุการณ์สำคัญ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และทบทวนประเด็นกับทีมวิจัย ได้แก่ กำนัน แพทย์ สารวัตร อ.สุวรรณ อบต.ทรงศักดิ์ และอาจารย์ส่ง ในรายละเอียดยิ่งขึ้น เช่น ปราสาทเงินปราสาททอง การลดพวงหรีด เปลี่ยนกันสวดเป็นเงิน แนวการเขียน บทความจากโครงการวิจัย ลงในสื่อท้องถิ่น การร่วมกิจกรรมของพระสงฆ์และอาจารย์วัด และสรุปได้อย่างชัดเจนว่ารูปแบบงานศพในบ้านไหล่หินแยกได้ 3 เรื่องคือ ความเชื่อ การจัดการ และพิธีกรรม สำหรับพิธีกรรมเราวางแผนว่าจะทำงานประเด็นนี้อย่างจริงจังในระยะที่ 3 ส่วน ความเชื่อ และการจัดการ แยกไว้ใน เอกสารที่จะนำเข้าเวทีระดับหมวด version 6 และร่วมวิเคราห์ความสัมพันธ์ของหัวข้อกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ข้อมูลสำคัญเตรียมเข้าเวทีระดับหมวด และ ร่างประกาศ สภาวัฒนธรรมตำบลไหล่หิน เรื่อง แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการงานศพ ตำบลไหล่หิน)
2551-05-03 ดูงานบ้านนาหมื่น
ดูงานโครงการวิจัย "รูปแบบพิธีกรรมทางพุทธศาสนา ที่เอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้ธรรมะของชุมชน" หัวหน้าโครงการคือ พระปลัด อภินันท์ อภิปุญโญ ได้นำนักวิจัย 12 คน นักวิจัยร่วม 10 คน และหัวหน้าหมวด 29 คน รวม 51 คน ไปศึกษาดูงานที่อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน ซึ่งทำโครงการวิจัย "รูปแบบพิธีกรรมทางพุทธศาสนาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของชุมชน โดยองค์กรสงฆ์และประชาชน อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน" โดยมีวิทยากรหลัก 2 ท่านคือ พระปลัดอภินันท์อภิปุญโญ เป็นหัวหน้าโครงการ และหนานเช (คุณเชติพนธ์ ตาน้อย 0875775672) เป็นนักวิจัย (บันทึกจากการดูงาน)
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17
2551-04-20 ประชุมทบทวนแผน และเตรียมการระยะที่ 2
มีประเด็นคุยกันมาก เช่น การไปดูงาน อ.นาหมื่น ทบทวนรูปแบบที่ผ่านมา เตรียมเยาวชน และแบบสอบถาม วางแผนเก็บข้อมูลในงานศพจาก ผู้ร่วม เจ้าภาพ แม่บ้าน และสารวัตร เริ่มเก็บข้อมูลเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องว่าเกิดปีใด โดยใคร อย่างไร ทบทวนวีดีโอที่จะเข้าระดับหมวด และเผยแพร่วีดีโอใน youtube.com โดยบันทึกเป็นรายงานแล้ว 1 2 3
ได้ ข้อมูลการมรณะของคนในบ้านไหล่หิน 2533 - 2551 ที่บันทึกโดยพ่อหลวงสนั่น วรรณมณี .
2551-04-12 รับอนุมัติระยะที่ 2 อย่างเป็นทางการเมื่อวาน
ประสานรถทัวร์เพชรจินดา 054-221161 คุณเชตุพลคือผู้ประสานงานบ้านนาหมื่นมีเจ้าอาวาสวัดนาหวายเป็นหัวหน้าโครงการ 08-75775672 ได้ประสานงานเบื้องต้นว่าจะเดินทางไปน่านวันที่ 3 พฤษภาคม 2551 และประกันอุบัติเหตุให้ทุกคน และโครงการระยะที่ 2 ได้รับอนุมัติงบ 88,400 บาท
2551-04-03 ส่ง VCD รุ่นทดสอบ 1 ให้นักวิจัยตรวจสอบ
บันทึกวีดีโอคลิ๊ปของนักวิจัยและผู้เกี่ยวข้องรวม 14 คน โดยนำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นงานศพ ที่ได้ทำมาตลอด 6 เดือน ซึ่งเป็นระยะที่ 1 ของโครงการ และคาดว่าจะเผยแพร่ VCD นี้ให้กับทุกหลังคาเรือนใน 2 หมู่บ้าน เพื่อสร้างความเข้าใจ และนำเสนอข้อมูลเข้าไปในระดับครัวเรือน .. หลังตรวจสอบได้ถ่าย อ.สุวรรณ อ.สุดา เพิ่ม และถ่าย อ.ราตรี และแพทย์มนู ใหม่
2551-03-10 รายงานความก้าวหน้าที่ศูนย์ประสานงาน
มีผู้ประสานงานจากศูนย์ต่าง ๆ มาร่วมฟังหลายคน เช่น คุณต๋อง หรือพระสงฆ์จากแจ้ห่ม ก็ได้ข้อเสนอแนะหลายข้อ เช่น การใช้พระวินัย การนำไปสู่การยอมรับในชุมชน เป็นต้น จากนี้ก็ต้องรอให้การอนุมัติงบประมาณสำหรับระยะที่สองก่อน จึงจะดำเนินการตามแผนที่เสนอไปได้ ระหว่างนี้จึงบันทึกวีดีโอคลิ๊ปของนักวิจัย เพื่อจัดทำ VCD และเผยแพร่ใน youtube.com ต่อไป
+ ติดต่อ รถบัสเพชรจินดา 0-5422-1161 ไปน่าน แบบพัดลม 67 ที่นั่งคิด 13000 บาท ส่วน VIP51 ที่นั่งคิด 17000 บาท
2551-02-11 สรุปโครงการกับศูนย์ประสานงานที่ศาลาหมู่ 2
มีการทบทวนกิจกรรมในระยะที่ 1 และแผนการทำงานในระยะที่ 2 ซึ่งรายงานสรุปโครงการต้องการข้อมูลที่มาจากชุมชน จึงทบทวนกิจกรรมและขอให้นักวิจัยแบ่งกันไปเขียนในเรื่องที่ตนถนัด เช่น กำนันเขียนประวัติ แพทย์เขียนวันดีวันเสีย แม่บ้านเขียนเรื่องไปดูงาน เป็นต้น ส่วนเอกสารที่ศูนย์ต้องการ ผมได้รวมเป็น vijai_ph1doc.zip ให้ download ได้ง่ายสำหรับระยะที่ 1 นี้แล้ว
ได้มีแบ่งานกันเขียนรายงานความก้าวหน้า โดย กำนันเขียนประวัติ แพทย์มนูเขียนวันดีวันเสีย แม่บ้านและผู้สูงอายุเขียนเรื่องไปดูงาน ที่สามขากับบ้านดง ผอ.สุวรรณเขียนเรื่องเปลี่ยนกันสวดเป็นเงิน ประธานทรงศักดิ์เขียนเรื่องพวงหรีด และลุงล้วนประสานงานเรื่องรวมเอกสารส่งให้ศูนย์ประสานงาน
1 2 3 4 5 6 7 8 9
2551-02-09 หารือประเด็นท่องเที่ยวกับสมุนไพร
อ้ายประสงค์ วรรณมณี และอ้ายอุดม เกษณา ซึ่งเป็นนักวิจัยร่วมหารือว่าศึกษาเรื่องสมุนไพรมานาน และเป็นตัวแทนของชุมชนเรื่องสมุนไพร ต้องการนำความรู้มาพัฒนาชุมชน ว่าถ้าขยายผลไปเป็นการนวดแผนโบราณที่วัด และส่งเสริมการท่องเที่ยวเข้าชุมชน จะช่วยพัฒนาชุมชนได้อีกทางหนึ่ง จึงวางแผนว่าจะไปเสนอโครงการที่ศูนย์ประสานงานหน้าวัดพระแก้ว ก่อนเข้าไปเสนอ 1 สัปดาห์ได้มีการทบทวนประเด็นกันใหม่ พบว่าอ้ายทั้ง 2 ได้หารือกับผู้นำในหมู่บ้าน ทางอบต. และผู้สูงอายุ ซึ่งทุกฝ่ายให้การตอบรับด้วยดี จึงสรุปว่าในระยะที่ยังไม่มีคำถามหรือข้อสงสัย ก็ให้ดำเนินการไปตามที่พูดคุยกันในชุมชนไปก่อน ถ้าเมื่อใดต้องการใช้งานวิจัยเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา หรือหาคำตอบ ก็สามารถชวนกันแลกเปลี่ยนในชุมชนได้ทันที
2551-01-25 สรุปประเด็นหลังประชาคม
วันนี้ทบทวน สรุป และปรับ 16 ประเด็น เตรียมเข้าระยะที่ 2 ที่ศาลาหมู่ 2
2551-01-27 ศึกษาดูงานการวิจัยที่ประสบความสำเร็จบ้านสามขา และดูงานลดเหล้าบ้านดง
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15
2551-01-08 ประชาคม หมู่ 2 และหมู่ 6
เตรียมการ 1 2 3 4
หมู่ 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 g1 g2 g3 g4 g5 g6 g7
หมู่ 2 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 g1 g2 g3 g4 g5 g6 g7
จะนัดประชุมวางแผนในระยะที่ 2 เร็ว ๆ นี้หลังร่างสรุปโครงการระยะที่ 1 เสร็จ
มีแผนดูงานวันที่ 27 มค.51 เพราะวันที่ 20 ติดแต่งงานในชุมชน แล้วนัดคุณภัทราทบทวนในพื้นที่
เอกสารหลังการประชุมประชาคมครั้งที่ 2
2550-12-27 สรุปผลการประชุมประชาคมครั้งที่ 1
คุณภัทรา เข้าร่วมทบทวนเหตุการณ์ทั้งหมด และทบทวนประเด็นจากการประชุมประชาคม มีการปรับแก้เอกสารที่จะนำเข้าประชุม และนัดหมายกันเป็นวันที่ 6,7,8 มกราคม 2551 เพื่อทำประชาคมครั้งที่ 2 โครงการของเรากำหนดแล้วเสร็จ phase 1 สำหรับ 6 เดือนแรก ในเดือนมกราคม 2551 ซึ่งไม่น่ามีปัญหาเรื่องการทำงาน และผลการประชุมที่สำคัญคือพิจารณาปรับเอกสารเตรียมเข้าประชุมจาก เอกสารเดิม เป็น เอกสารใหม่ ให้เหมาะสมขึ้น
ติดต่อดูงาน : รองนายกวิลาวัล บ้านดง 08-9952-8799 พ่อหลวงจำนง บ้านสามขา 08-7978-6279 ป๊อป เจ้าหน้าที่สกว. 08-9192-0846

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
+ แผนภาพ 3 ห่วง

+ เศรษฐกิจพอเพียง ปรียานุช พิบูลสราวุธ
+ ภาพป้ายเผยแพร่ในชุมชน 1 2 3 4
2550-11-28 เขียนเรื่องงานศพของคุณยายพรรณี
วันนี้เป็นวันแรกที่เริ่มเขียนบันทึก การจัดการงานศพ ในปัจจุบัน หลังจากเผาศพคุณยายพรรณี เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2550 เพราะเคยเขียนคำกล่าวหน้างานศพ และรู้ตัวตอนนั้นว่ายังทำใจไม่ได้กับการสูญเสียครั้งนี้ โดยอาจารย์สุวรรณ เกษณา ช่วยขัดเกลาข้อความ แต่ก็มีเหตุให้ไม่ได้อ่านในเวลาสุดท้าย การทำใจไม่ได้ของผมเป็นผลให้ต้องยกเลิกการประชุมวิจัยในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2550 เพื่อทบทวนผลการประชุมในครั้งที่ 1 หลังงานศพก็เข้าฤดูเกี่ยวข้าว ซึ่งนักวิจัยหลายท่านติดภารกิจนี้ .. แต่งานต้องเดินต่อไป ตัวเรายังมีชีวิต จะให้ทุกอย่างหยุดลงเท่านี้ไม่ได้ ผมเองก็ต้องพยายามทำใจ และหาโอกาสนัดประชุมอีกครั้ง .. ก็ตั้งใจว่าจะนัดประชุมให้ได้ในเดือนธันวาคม แต่วันนี้ยังทำใจไม่ได้เท่านั้น
2550-10-26 มหกรรมงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นภาคเหนือ ปี 2550 (ภาพ 1 2 3)
เหมาจ่ายรถตู้ไปงานมหกรรมงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นภาคเหนือ ปี 2550 ในชื่อ ก้าว กล้า พลังผะหญาชุมชน จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานภาค ทีมของเราไป 10 คนคือ ลุงประมวล พี่เบญจพร แพทย์มนู แม่กิม อ.ผดุง อ.บุรินทร์ อามิรา ลุงบุญเทียน ลุงวิสิทธิ์ อาจันทร์เพ็ญ วิทยากรช่วงแรกมานำเสนอ 6 แจ่งคือ คุณชาญ อุทธิยะ ตามด้วยเสวนา วิถีชุมชนท่ามกลางวิกฤตโลก ประเทศไทย และชุมชนภาคเหนือ โดยพระครูพิพิธสุทตาทร คุณชัชวาลย์ ทองดีเลิศ รศ.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ คุณนิวัฒน์ ร้อยแก้ว และคุณทรงพล เจตนาวณิชย์ ช่วงบ่ายฟังปาฐกถาพิเศษ ก้าวกล้า พลังผะหญาชุมชน โดย ศ.เสน่ห์ จามริก
มีคำมากมายที่ได้เรียนรู้จากครั้งนี้ อาทิ เติมเต็มหลายชั้นหลายระดับ เชื่อมร้อยเชื่อมโยง รากเหง้า กระบวนการ ฐานคิด ยึดโยงอดีต เข้าใจปัจจุบัน มองอนาคต ปลาหายไปไหน ปราชญ์หายไปไหน กระแสโลก กระแสเรา กระแสชาวบ้าน แรงระเบิดกับน้ำพริกละลายแม่น้ำ ชาวนาข้าวหวิด ปัจเจกนิยม บริโภคนิยม แฟชั่นนิยม ครอบงำ พืชเงินสด กองทัพแรงงานนอกภาคเกษตร ชุมชนพึ่งตนเอง สิทธิชุมชน สมบัติชุมชน ความแปลกแยกระหว่างชนบทกับเมือง รอยปริร้าว ข้างนอกเข้ามากระทุ้งกระแทก อีกหน่อยชาวนาจะหายไป เพราะการศึกษาไม่ส่งเสริมให้คนทำการเกษตร รู้ตัวว่าทำอะไรให้บ้านของตน ทรัพยากรท้องถิ่นเป็นต้นทุนของโลก วิกฤตทรัพยากร สิทธิบัตร ตำรับยา ทุนนิยมครอบงำชีวิตและหยุดพัมนาไม่ได้
2550-10-13 งานศพแม่หลวงเขียว
แล้วจะมาเพิ่มรายละเอียด
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13
2550-10-12 ประชาคม 100 คน หมู่ 6
แล้วจะมาเพิ่มรายละเอียด
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28
1 s 2 s 3 4 5 6 s
2550-10-07 ประชาคม 100 คน หมู่ 2
แล้วจะมาเพิ่มรายละเอียด
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24
1 2 s 3 4 s 5 6 s 7
2550-10-05 นำเสนอกับนักวิจัยร่วม 10 ท่าน
ประชุมวันนี้สนุก ได้ทบทวนเรื่องราวที่ผ่านมาร่วมกับคุณภัทรา มาน้อย และนักวิจัยร่วม เพื่อเตรียมเข้าเวทีครั้งแรก ทบทวนเสร็จก็ปาเข้าไปเกือบ 5 ทุ่ม นักวิจัยร่วมในพื้นที่ที่เข้ามาเพิ่มอีก 10 ท่าน จะเป็นกำลังสำคัญในการจัดการกลุ่มย่อยในเวทีใหญ่ ประกอบด้วย นางจันทร์เพ็ญ พวงสายใจ + นางอรปรียา วรรณมณี + นางสมพร คำอ้าย + นายวิสิทธิ์ ปะละ + นายณรงค์ บุญเรือง + นายบุญเทียน บุญเรือง + นายดวงเดช อินต๊ะ + นางจันทร์หอม ปินตา + นางนิรา นิวาโต + นางเพ็ญศรี สารสินธา [ 1 2 3 4 5 6 7 ]
2550-10-03ร่วมสรุปจากแบบสัมภาษณ์ โดยนักวิจัย
ทบทวน และค้นหาประเด็นใหม่ จากการไปสัมภาษณ์กลุ่มชุมชน โดยนักวิจัย ได้มา 4 ประเด็น คือ ซื้อดอกไม้ในหมู่บ้าน จัดตั้งทีมแม่ครัวของหมู่บ้าน เก็บศพเพียง 3 วัน และลดเมี่ยง
2550-09-28,29,30เก็บแบบสอบถามโดยเยาวชน
แล้วจะมาเพิ่มรายละเอียด
1 2 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13
2550-09-27 ขอเผยแพร่ภาพงานศพแม่จันทร์ศรี เทพหินลัพ
วันนี้เข้าไปขออนุญาตพ่อตา เทพหินลัพ เผยแพร่ภาพจากงานศพแม่จันทร์ศรี เทพหินลัพ เป็นภาพเล็กจำนวน 72 ภาพอยู่ใน 4*6 นิ้ว จำนวน 18 ใบได้ลุงล้วนไปช่วยประสาน ทุกอย่างจึงเป็นไปด้วยดี ก่อนหน้านั้นก็ไปประสานงานกับพ่อหลวงเพิ่มศักดิ์ จินะการ ของหมู่ 2 เกี่ยวกับการประชุมชาวบ้าน 100 คน ในวันที่ 7 กันยายน 2550
แม่จันทร์ศรี เทพหินลัพ เสียวันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน 2550 และเสียศพวันเสาร์ที่ 22 กันยายน 2550 ภาพถ่ายส่วนใหญ่มาจากวันเสีย และขออนุญาตพ่อตา เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2550 เพื่อนำข้อมูลเชิงประจักษ์ไปคุยกันในเวทีวิจัย (มี 18 ภาพใหญ่ หรือ 72 ภาพเล็ก)

ข้อมูลที่ได้จากการสอบถาม สังเกต และเอกสาร
ทำให้ทราบว่ามีการเก็บเงินช่วยเหลือ หรือเงินสงเคราะห์หลางกอง เช่น กองของหมู่บ้าน กองของตำบล กองของผู้สูงอายุ และก้อนใหญ่ได้จากธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำหรับบ้านที่เป็นลูกค้าธกส. เงินช่วยเหลือนิยมมาฮอมกันในช่วงเช้าของวันเสีย ซึ่งแยกโต๊ะสำหรับเก็บเป็นแต่ละกองอย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังมีตู้สำหรับรับซองพิเศษ ซึ่งมีสมุดบันทึกแยกเป็นสมุดฮอมพิเศษในหมู่บ้าน และต่างบ้าน เพื่อจะได้เปิดดูในภายหลังกรณีเพื่อนบ้านที่เคยมาฮอมมีคนในครอบครัวจากไป ผ้าบังสุกุลที่วางเรียงรายอาจมีจำนวนมากเท่าอายุ หรือตามจำนวนผู้นำในหมู่บ้านที่ถูกเชิญออกไปวางผ้าบังสุกุลที่ป่าช้า งานนี้เลี้ยงข้าวเจ้า ผัดผัก น้ำพริกกะปิ และใช้ไข่พะโล้ ซึ่งถูกใจผู้สูงอายุเพราะรับประทานง่ายกว่าแกงฮังเล ซึ่งจัดเตรียมขันข้าวแยกชัดเจน และมีเพื่อนบ้านช่วยกันยกเดินไปวางตามโต๊ะอย่างทั่วถึง ที่หมู่บ้านนี้นิยมการรับประทานเมี่ยงอยู่มาก ทำให้ทุกวันทุกคืนต้องจัดเตรียมเมี่ยงไว้อย่างเพียงพอ จัดไว้เป็นจาน ๆ ละประมาณ 10 อม
ที่ป่าช้าส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุ และผู้นำในชุมชนที่ร่วมเดินทางไปร่วมพิธี สำหรับเด็กและคนหนุ่มสาวไม่นิยมไปที่ป่าช้านัก ส่วนแม่บ้านก็จะช่วยเก็บของทันที หรือเก็บจนเกือบหมดหลังจากทานอาหารเสร็จ และร่วมเดินทางไปที่ป่าช้าด้วยกัน พิธีใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง ความแตกต่างของเวลามักขึ้นอยู่กับอาจารย์พิธี และจำนวนผ้าบังสุกุลที่จัดให้กับผู้นำชุมชน
2550-09-18 ประชุมเตรียมความพร้อมเรื่องเยาวชนกับแบบสอบถาม
การประชุมครั้งนี้ ได้ข้อสรุปหลายเรื่อง เช่น เยาวชนสามสิบคนจากโรงเรียน 2 โรงเรียน การทำป้ายประชาสัมพันธ์เศรษฐกิจพอเพียง สรุปเรื่องวันที่ 10 และ 11 กันยายน การหานักวิจัยร่วมจากหมู่บ้านละ 5 คน แผนเดินทางไปเชียงใหม่วันที่ 25 ตุลาคม การแก้ไขแบบสอบถาม กำหนดการวันที่ 28,29,30 กันยายน 2,5 และ 7 ตุลาคม โดย สรุปประเด็นจากการประชุม ไว้แล้ว
สรุปประเด็น
2550-09-11 สัมมนากระบวนการวิจัย ที่ ม.เทคโนโลยีราชมงคล ลำปาง
ฟังรุ่นนักวิจัยจากโครงการ รวบรวมและพัฒนาศักยภาพผักพื้นบ้าน และการศึกษาประวัติศาสตร์เจ้าพ่อขุนตาลเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน ช่วงบ่ายฟังบรรยายเครื่องการวิเคราะห์ โดยคุณอังคณา ท้าวชัย(อ้อม) ซึ่งใช้สถานที่ของราชมงคล ซึ่งดูแลโดย อ.ธิติวัฒณ์ ตาคำ
2550-09-10 เวที 10 ก.ย.50 ที่ศูนย์ฯ ร่วมคิดกับโครงการใหม่
มีโครงการใหม่เข้ามา 4 โครงการ ที่ผม และทีมงานได้ร่วมรับฟังในครั้งนี้คือ เยาวชนบ้านสา น้ำดื่มบ้านสา พฤติกรรม/สวล ต.นิคมใหม่พัฒนา และผู้สูงอายุ อ.วังเหนือ ครั้งนี้เลิกประชุม 3 โมงเศษ
2550-08-26 สรุปสัญญา ในพื้นที่ และทบทวนแผนอย่างเป็นทางการ
ประชุมครั้งแรกในพื้นที่อย่างเป็นทางการ เพื่อสรุปสัญญา ชี้แจงวิธีการเบิกจ่ายทางบัญชี และหารือประเด็นมากมาย อาทิ วางตัวนักวิจัยเข้าประชุมวันที่สิบ นัดไปอบรมการทำงานวิจัยที่ราชมงคล นัดหมายการไปสัมมนาที่เชียงใหม่เดือนตุลาคม หารือเรื่องเยาวชนและการเก็บแบบครั้งแรก การจัดการเรื่องจ้างทำอาหาร แก้ไขตัวอย่างแบบสอบถาม หารือเรื่องผู้ใหญ่กับผู้ช่วย การถอนเงินเจ็ดพันมาใช้จ่าย เก็บภาพถ่ายนักวิจัย เป็นต้น ซึ่งผมได้จัดทำ สรุปประเด็นจากการประชุม เป็นหลักฐานไว้ทบทวนภายหลัง
2550-08-05 ได้รับอนุมัติทุนวิจัย จึงนัดประชุมนักวิจัยทั้ง 14 กับผู้ประสานงานฯ
ดำเนินการเปิดบัญชี เรื่องเซ็นสัญญา และนัดทีมกับผู้ประสานงานเข้าไปชี้แจงเรื่องการเบิกจ่าย โดยนัดวันจันทร์ที่ 6 ส.ค. แต่ทราบภายหลังว่ามีการลงเสียงรับร่างรัฐธรรมนูญวันที่ 19 ส.ค. ส่วนราชการห้ามนัดประชุมผู้นำ ทำให้โครงการวิจัยนี้ ที่ส่วนใหญ่เป็นผู้นำชุมชนร่วมเป็นนักวิจัย จึงต้องเลื่อนไปหลังวันที่ 20 .. สำหรับผมคิดว่าไม่เป็นไร เพราะโครงการนี้เขียน proposal 6 เดือน รออีก 20 วัน ไม่เห็นจะเป็นไร
วันเสาร์ที่ผ่านมาเข้าไปทบทวนโครงการกับเพื่อนนักวิจัยหลายคน และได้ภาพมาส่วนหนึ่ง .. ก็ถือว่า ok แล้ว

หนังสือเชิญประชุม และ แบบสอบถาม

วิจัยเกี่ยวกับผู้สูงอายุ
+ ข้อมูลเกี่ยวกับผู้สูงอายุ
+ เริ่มรวมข้อมูล
+ ข้อมูลประชากรไทย
+ สำนักงานสถิติแห่งชาติ
+ สถิติผู้สูงอายุ ลำปาง
+ แผนงานด้านผู้สูงอายุ
เกี่ยวกับตำแหน่งทางวิชาการ
+ หลักเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการ
+ ประกาศหลักเกณฑ์ ก.พ.อ.
+ คำจำกัดความ ผลงานทางวิชาการ
+ แผนการสอน หรือแผนการจัดการเรียนรู้
+ ภาระงานของผู้ดำรงตำแหน่ง
หลักเกณฑ์ และคำแนะนำ
สำหรับผู้นิพนธ์บทความ บทวิจัย
+ med.cmu.ac.th
+ grad.ku.ac.th
+ sau.ac.th
+ ubu.ac.th
+ vet.kku.ac.th
+ วิธีเขียนเอกสารอ้างอิง หรือบรรณานุกรม
เว็บไซต์วิชาการ (ระดับสุดยอด)
+ ทำเนียบโครงการวิจัย
+ คู่มือทำวิจัย มน. ? 432 KB
+ คู่มือวิทยานิพนธ์+IS มช. ? 892 KB
+ ผลสำรวจ ดุสิตโพล
+ ผลสำรวจ เอแบคโพล #
+ midnightuniv.org
+ ค้นคำสั่ง สำนักปลัดนายก.
+ สกว.สำนักงานภาค
+ ศูนย์ประสานงาน ลำปาง
+ โต๊ะข่าวเพื่อชุมชน สถาบันอิศรา
+ ตายอย่างสงบ
สวทช.ภาคเหนือ
+ เปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัย
+ http://www.nn.nstda.or.th
ตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง
1. ตอบความต้องการของชุมชน
2. เป็นปัญหาของท้องถิ่นในปัจจุบัน
3. วางรากฐานการแก้ไขปัญหาในอนาคต
4. ให้จดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา
5. ทำร่วมสวทช.กับหน่วยงานหรือชุมชน

ตย.เอกสารเชิงหลักการ
+ แบบฟอร์ม Concept Paper
+ แบบฟอร์ม Concept Paper
+ Concept Paper Writing
+ ข้อเสนอโครงการวิจัยงานศพฯ
+ ตัวอย่างหัวข้อ งบประมาณ ขอทุนวิจัย
เอกสาร หรืองานวิจัยที่น่าสนใจ
บทความวิจัย
+ ความต้องการไอที จาริก ชื่นสมบัติ #
แบบสอบถาม
+ แบบสอบถาม กชช2ค 50 - 54
National Conference on CIT #
+ เชิญร่วมนำเสนอบทความวิจัย
+ รูปแบบการเขียนบทความ
+ ระบบส่งบทความ
เอกสารของนักวิจัย
+ รวมงานของผม (วิจัย,บทความ,พัฒนา)
+ รวมงานของภัทรา (สกว.โหนดลำปาง)
2550-06-28 ประชุมแก้เอกสารข้อเสนอตาม สกว.ภาค แนะนำอีกครั้ง
คุณภัทรา และผม นำเอกสารข้อเสนอเข้าไปทบทวนที่ศาลาหมู่ 2 ในส่วนรายละเอียดกิจกรรมร่วมกับชาวบ้าน ว่าควรปรับแก้อย่างไรให้เหมาะสม ตามข้อเสนอแนะ เพื่อให้กิจกรรมมีความชัดเจน และถูกต้องยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นทั้งโครงการนี้ และโครงการโคมม่าน เป็นอีกครั้งที่รู้สึกดีว่าก้าวมาได้ไกลแล้ว [ เอกสารข้อเสนอโครงการฉบับสมบูรณ์ อีกครั้ง 2550-06-28 ]
2550-05-11 ประชุมพบปะกับผู้ประสานงานจาก สนง.ภาค เพื่อชี้แจง
ผศ.ดร.อาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจ จาก ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อชุมชน คณะเกษตรศาสตร์ ม.เชียงใหม่ เข้ารับฟังโครงการใหม่ที่ขอรับทุน 2 โครงการคือ การศึกษาภูมิปัญญาการทำโคมเพื่อการอนุรักษ์ ของชุมชนบ้านวังหม้อ อ.เมือง จ.ลำปาง (โครงการม่านแปดเหลี่ยม) ที่นำโดย ดร.ยุพเยาว์ ดรุณ และ อ.ธิติวัฒน์ ตาคำ และโครงการรูปแบบการจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง บ.ไหล่หิน ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง นำโดย ผอ.สุวรรณ เกษณา อบต.ทรงศักดิ์ แก้วมูล และผม [ เอกสารข้อเสนอโครงการฉบับสมบูรณ์ 2550-05-17 ]
2550-04-28 ประชุมทบทวน ณ ศูนย์ประสานงาน หลังเสนอโครงการไปที่สนง.ภาค
คุณภัทรา เชิญนักวิจัยในโครงการโคมม่าน 8 เหลี่ยม กับการจัดการงานศพ เข้าทบทวนปัญหา และคำถาม จากที่ได้แบบเสนอโครงกา และรอการอนุมัติจากสำนักงานภาคที่เชียงใหม่ สรุปว่ามีการเชิญนักวิจัยเข้าชี้แจง และนำเสนอ กับตัวแทนของสำนักงานภาคที่จะเข้ามารับฟังข้อมูลเพิ่มเติม จากนักวิจัยในพื้นที่ วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม 2550
2550-04-01 ประชุมชุมชนบ้านไหล่หิน ทบทวนปัญหา ครั้งที่ 6 (proposal)
นำโครงการที่จะนำเสนอต่อ สกว.ภาค เข้าไปทบทวนที่วัดไหล่หินหลวง และขอข้อมูลประวัตินักวิจัย เพื่อแนบโครงการ การประชุมครั้งนี้ทบทวนตัวโครงการ โดยเฉพาะเรื่องค่าใช้จ่ายในภาพรวม และกิจกรรมที่ต้องพิจารณาใน 3 ปัญหาโดยละเอียดว่าขาดตก หรือเพิ่มเติม รวมถึงการแก้ไขข้อมูลที่ผิดพลาดจากข้อมูลงบประมาณ
+ proposal5003_laihin_death_3jim.doc แก้ไขแล้วส่งให้ศูนย์ภาคพิจารณา 2550-04-02
+ proposal5003_laihin_death_3.doc แก้ไขตามความเห็นของชุมชน จากการประชุมที่วัด
+ proposal5003_laihin_death_2jim.doc ที่คุณภัทรา ปรับแก้ไขหลังหารือ และจะนำเข้าเวทีอีกครั้ง
+ proposal5003_laihin_death_2.doc ที่ผมแก้ไขครั้งแรก (วันนี้มีเวลา รับแล้วแก้ และส่งกลับทันที)
+ proposal5003_laihin_death_1jim.doc ที่มี comment ของคุณภัทรา
2550-03-10 นำเสนอหัวข้อร่วมกับคนในชุมชน ณ ศูนย์ฯ
นำเสนอแผนของโครงการที่ศูนย์ฯ ได้รับข้อเสนอแนะจากนักวิจัยในโครงการเก่า เช่น ห้างฉัตรชี้ให้ระวังเรื่องความขัดแย้ง และ เมืองปานชี้ให้เห็นว่าการรวมผู้เกี่ยวข้องต้องหาจุดร่วมที่ชัดเจน ทางอำเภอแม่เมาะมี อบต กับครูโรงเรียนมาร่วมครั้งแรก ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องงานศพ และโรงศพที่ สามารถนำไปทบทวน ส่วนอาจารย์จากกัลยาณีนำเด็กมาร่วมเรียนรู้ให้คติดี ๆ หลายเรื่อง และเสนอโครงการให้ศูนย์ฯ พิจารณาเป็นครั้งแรก
2550-03-06 ประชุมชุมชนบ้านไหล่หิน ทบทวนปัญหา ครั้งที่ 5
เริ่มประชุม 20.00 เพื่อนำยกร่างแผนดำเนินการที่ได้จากการประชุมครั้งก่อน มาหารือกับทีมวิจัยหลักทั้ง 14 ท่าน ในโครงการ การจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ครั้งนี้มีความชัดเจน เพราะทราบว่าเรากำลังคิดอะไร จะทำอะไร ถ้าก้าวต่อไปจะพบกับอะไร และเห็นตัวอย่างจากบ้านดง และบ้านนาหมื่นใน CD จึงตอกย้ำให้ทุกคนรู้ และศรัทธาว่าเราน่าจะทำได้ แต่งานที่ต้องทำขณะนี้คือ กลับไปทบทวนปัญหาด้วยตนเอง ก่อนผมจะนำแผนที่ยกร่างชุดสมบูรณ์มาหารือ ถึงความเหมาะสม ทั้งหมอมนู และอ.สุวรรณ และคุณสอง พูดตรงกันว่า เราทั้งทีม ต้องคิด และพูด ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ก่อนออกไปทำเวทีย่อยในอนาคตอันใกล้ และทุกคนมีความสุขที่ได้ทำงานวิจัยภายใต้กรอบของเศรษฐกิจพอเพียง [ความเป็นมา]



2550-03-05 ประชุมชุมชนบ้านไหล่หิน ทบทวนปัญหา ครั้งที่ 4
มีตัวแทนแม่บ้านเข้าประชุมมากว่าทุกครั้ง ทำให้ครั้งนี้เห็นปัญหาชัดเจนจากงานศพ และแยกได้ 3 ประเด็น คือ อาหาร ปราสาทกับโรงศพ และงานพิธีกรรม อ.สุวรรณ เสนอหัวข้อโครงการวิจัย การบริหารจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง หลังจากได้พูดคุย และเก็บข้อมูลก็ได้ แผน และรายชื่อนักวิจัยหลัก นำไปทบทวนร่วมกันในเย็นวันที่ 6 เพราะหลังจากนี้แกนนำหลายฝ่ายไม่สะดวกเรื่องเวลา จึงต้องรีบนำแผนไปทบทวน ระหว่างแกนนำวิจัยด้วยกัน [แผนอย่างสั้น]
2550-02-25 ประชุมชุมชนบ้านไหล่หิน ทบทวนปัญหา ครั้งที่ 3
เปลี่ยนสถานที่เป็นโรงเรียนบ้านไหล่หิน ทำเวทีเฉพาะแกนนำ เริ่มต้นด้วยการเปิด VCD ของพื้นที่อื่นที่ประสบความสำเร็จ ทำให้ทีมงานเข้าใจงานวิจัยมากขึ้น และเสนอว่าน่าจะเปลี่ยนหัวข้อจากเยาวชนไป เพราะไม่มีเยาวชนในทีมนี้ จึงหันไปให้ความสำคัญกับสิ่งที่สำคัญคือ การลดค่าใช้จ่ายงานศพ ปัจจุบันมีความพยายามอยู่ในระดับหนึ่ง จึงมีมติร่วมกันที่จะเปลี่ยน เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนนำกระบวนการวิจัยมาเรียนรู้ร่วมกันในชุมชน
2550-02-10 นำเสนอหัวข้อร่วมกับคนในชุมชน ณ ศูนย์ฯ
อ.สุวรรณ และประธานสอง เข้าศูนย์ฯ นำเสนอโครงการใหม่ มีหลายท่านให้ความสนใจ และคุ้นเคยกับ ต.ไหล่หินหลายท่าน ครั้งนี้มีงานวิจัยของโคมศรีล้านนา จากทีมอาจารย์ราชมงคล และโรงเรียนในแจ้ห่ม ทำให้เห็นอะไรกว้างขึ้น
2550-02-04 ประชุมชุมชนบ้านไหล่หิน ทบทวนปัญหา ครั้งที่ 2
เข้าชุมชนครั้งนี้ เห็นปัญหาชัดขึ้น หลังจากทบทวนมาหลายครั้ง แต่ครั้งนี้ เราให้ความสำคัญกับความเข้มแข็งในชุมชน และชี้ไปที่เยาวชน เพราะเกี่ยวข้องกับปัญหาต่าง ๆ ทำให้การประชุมครั้งต่อไป เข้าถึงระดับการดำเนินการ แต่ก่อนวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ทางชุมชนจะเข้าไปนำเสนอหัวข้อที่ศูนย์ประสานงานฯ .. ดีใจครับที่ก้าวไปอีกขั้น
2550-01-30 ไปพบคุณทรงศักดิ์ และติดต่อเรื่องอาหาร
ไปร่วมทบทวนปัญหากับคุณสอง เกี่ยวกับสิ่งที่ผ่านมา และสิ่งที่จะเกิดขึ้น จากนั้นได้ติดต่อเรื่องข้าวกล่อง สำหรับผู้เข้าร่วมประชุม 30 คน กับ อ.สุดา แผ่นคำ ซึ่งมีประสบการณ์ในการทำวิจัยร่วมกับ อาจารย์ชุติมา ซึ่งเคยศึกษาเรื่องวัดไหล่หิน
2550-01-24 ไปพบผู้ประสานงาน ทบทวนกิจกรรม และทำความเข้าใจเพิ่มเติม

ทำให้รู้ว่า การประชุมที่ผ่านมา สรุปอะไรได้บ้าง ร่วมแลกเปลี่ยนกับพระ เกี่ยวกับการจัดการความรู้ และชื่อหลักสูตรที่คุณภัทรา กำลังศึกษาในระดับปริญญาโท รวมทั้งกิจกรรม และความมุ่งหวังที่จะเกิดในการประชุมครั้งต่อไป
2550-01-21 ประชุมชุมชนบ้านไหล่หิน ทบทวนปัญหา ครั้งที่ 1
ผลการประชุมครั้งนี้ประสบความสำเร็จเกิดที่ผมคาดหวัง เพราะคิดว่าจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับ สกว.ภาค และรับรู้ข้อมูลจากผู้นำส่วนต่าง ๆ คุณทรงศักดิ์ แก้วมูล ผู้มีประสบการณ์ในการทำวิจัยเชิญผู้นำจากบ้านไหล่หิน คือหมู่ 2 และหมู่ 6 ที่ทำงานกันอย่างคุ้นเคยก่อนแยกหมู่บ้านออก และเชิญให้ผู้เกี่ยวข้องหลายท่าน แสดงความคิดเห็นหลังจากทราบบทบาทที่ผมนำสกว.ภาค เข้ามาในครั้งนี้
ผอ.สุวรรณ เกษณา อ.สุดา แผ่นคำ พ่อกำนันกฤษณะชัย ปาละ ผู้ใหญ่เพิ่มศักดิ์ จินะการ และ ผู้นำกลุ่มน้ำเต้าหู้ กลุ่มทอผ้า กลุ่มมิยาซาวา กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มดอกไม้ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มสงเคราะห์ กลุ่มเยาวชน กลุ่มอสม เป็นต้น ให้ข้อมูลมากมายที่สามารถนำมาเป็นหัวข้อวิจัยได้
คุณจิ๋ม ผู้ประสานงานที่มีประสบการณ์ ขมวดปัญหาได้หลายเรื่อง เช่น คนในชุมชนขาดระเบียบวินัย ขาดการจัดระเบียบชุมชน เพื่อนำไปสู่การเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง จนทำให้เห็นโครงร่างของปัญหาได้ชัดเจนขึ้น จึงเสนอคำถามวิจัยว่า "ทำอย่างไรให้ชุมชนบ้านไหล่หินมีระเบียบวินัย" หรือ "การจัดระเบียบสังคมชุมชนบ้านไหล่หิน"
ผลการประชุมจำเป็นต้องมีการพูดคุยกันอีกหลายครั้ง เพื่อกำหนดผู้วิจัย กำหนดประเด็นปัญหาให้แคบลง ผมจึงนัดประชุมร่วมกันอีกครั้งในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 50
2550-01-07 ร่วมเวทีของอาจารย์ยุพเยาว์ ที่บ้านวังหม้อ และประชุมที่บ้านไหล่หินหมู่ 2
9.00-12.30 ประชุมที่บ้านวังหม้อ
19.30-20.30 ประชุมที่บ้านไหล่หิน
2550-01-03 เข้า ศูนย์ประสานงานฯ และรู้ว่ามีปัญหา
พบคุณภัทรา มาน้อย อีกครั้ง พาอ.นุ้ย และอ.แดน ไปด้วย พร้อม เอกสารเชิงหลักการ แต่ให้ดูนิดเดียว เพราะเฉพาะการเขียนเอกสารนี้ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน แต่ผมลงวันเดียว แสดงว่าที่เขียนไปผมยกเมฆทั้งหมด จะต้องไปเริ่มต้นใหม่ แล้วใช้เวลากว่า 3 เดือน
มีคำถามมากมายที่ต้องตอบให้ได้ก่อนเขียน เอกสารเชิงหลักการ หรือ proposal
1. ปัญหาต้องถูกตั้งขึ้นโดยชุมชน เพื่อชุมชน และแก้ปัญหาโดยชุมชน
2. ปัญหานี้สำคัญมาก ถ้าไม่แก้ไขจะมีผลเสียอย่างไร .. ทุกคนคิดอย่างนั้นหรือไม่
3. ชาวบ้านคิดว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไร .. ต้องคิดโดยผู้เกี่ยวข้อง อย่างมีส่วนร่วม
4. ผู้เกี่ยวข้องยอมรับปัญหา และวิธีแก้ปัญหาร่วมกันหรือไม่ .. ยกร่างได้ แต่ไม่ยกเมฆ
5. การดำเนินการ หรือการแก้ปัญหา มีใครเข้าร่วม และมีค่าใช้จ่ายอย่างไร .. นำไปเขียนเอกสารเชิงหลักการ
2550-01-01ณ ต.ไหล่หิน ในฐานะนักวิจัยครั้งแรก
ค้นข้อมูล และศึกษา proposal จาก vijai.org ก่อนเข้าพบผู้นำ
เสมือนโยนหินถามทาง ผมเข้าพบผู้นำชุมชนทีละคน เพื่อเล่าให้ฟังเกี่ยวกับ สกว.ภาค ที่ผมก็เข้าใจแบบไม่ถ่องแท้นั่นหละ โน้มน้าวว่า หน่วยงานนี้มีทุนวิจัยให้ชาวบ้านเป็นนักวิจัย แต่ต้องเริ่มที่ปัญหา แล้วผมก็ได้ปัญหามา 1 เรื่องคือ จริยธรรมในเยาวชน .. ในใจก็นึกว่าไปได้ไกลแล้วครับ เพราะไปพบ ประธานสภา คุณทรงศักดิ์ แก้วมูล เจ้าหน้าที่อบต กำนัน ครู ประธานอสม เป็นต้น แล้วทุกคนก็สนใจ
2549-12-26 ณ ศูนย์ประสานงานเพื่อท้องถิ่น (NODE) 0-5423-0254
ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นจังหวัดลำปาง โดยคุณภัทรา มาน้อย ให้การต้อนรับ ผม อ.เยาวลักษณ์ อ.เกศริน ไปขอข้อมูลเกี่ยวกับการทำวิจัยเพื่อท้องถิ่น ทำให้ทราบเรื่องราวมากมาย สำหรับการเป็นมือใหม่เรื่องวิจัย และทราบว่าที่นี่นัดประชุมกลุ่มทุกเรื่องสำหรับนักวิจัยท้องถิ่น ทำให้ผมสนใจเป็น visitor ซึ่งมีทุกวันที่ 10 ของเดือน ณ สำนักงาน 9.00 เป็นต้นไป สนง.ตั้งอยู่หน้าวัดพระแก้ว
# ผมมีแผนไปพบคนรู้จัก และถามถึงปัญหา เพื่อนำไปสู่หัวข้อวิจัย .. แล้วจะมาเล่าให้ฟัง
2549-12-25 สัมมนา งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ณ ม.โยนก ทำให้ผมได้รู้จักคำว่า วิจัยเพื่อท้องถิ่น เพราะเป็นการวิจัย ที่โจทย์วิจัยเกิดจากคนในชุมชน ทำโดยคนในชุมชน เพื่อชุมชนโดยตรง มิใช่งานวิจัยแบบที่นักวิจัยนั่งคิดและทำอยู่กับโต๊ะ และเกิดผลแต่นักวิจัย ส่วนผลงานก็ขึ้นหิ้ง .. ประกอบกับการสนับสนุนของท่านอธิการสันติ บางอ้อ บอกว่าต่อไปอาจารย์ต้องเข้าชุมชน เพื่อชุมชน และนั่นเป็นครั้งแรกที่ผมได้รู้จักผู้ประสานงาน คือคุณภัทรา มาน้อย (คุณจิ๋ม คนขวาสุดของภาพนี้)

บทคัดย่อ และรายงานฉบับสมบูรณ์
สนง.กองทุนสนับสนุนการวิจัย
ฐานข้อมูลงานวิจัย
+ DB: ThaiLIS (Full text)
+ DB: TRF - e-Library
+ DB: NRCT - วช.
+ DB: สวทช.
+ DB: NTU e-Thesis
? DB: CMU e-Thesis (Full text)
? DB: KKU e-Thesis (Full text)
? DB: Chula e-Thesis
? DB: RU e-Thesis
? รวมรายงานการวิจัย (ที่น่าสนใจ)

keyword: จริยธรรม
บทความใน หนังสือเล่มเล็ก (โดย อ.สุวรรณ เกษณา และ โดย อ.ราตรี ดวงไชย) โดย ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การปกครอง ศาสนา และวัฒนธรรมเกิดขึ้นตลอดเวลาในทุกชุมชน ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมานี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงมากกว่าช่วง 1,000 ปีก่อนในทุกด้าน ค่านิยมและความเชื่อถูกแลกเปลี่ยนระหว่างชุมชนมีผลจากการย้ายถิ่นและการรับรู้ข้อมูลจากสื่อภายนอกที่ถูกพัฒนาตลอดเวลา เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ และอินเทอร์เน็ต ความเจริญทางวัตถุพัฒนาเร็วกว่าการพัฒนาทางจิตใจ ทำให้เกิดการแข่งขันโดยใช้ฐานะและยศตำแหน่งทางสังคมเป็นตัวชี้วัดคุณค่าของมนุษย์
งานศพในชุมชนมิใช่ภาระของเจ้าภาพเพียงบ้านเดียวเหมือนในเมืองหลวง แต่เป็นภาระร่วมกันของญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านที่ผูกพันกันทางสายเลือดมายาวนาน งานศพจึงเป็นงานใหญ่ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของผู้คนมากมาย อาทิ แม่บ้าน พ่อบ้าน ผู้สูงอายุ ผู้นำและพระสงฆ์ กระบวนการจัดการงานศพมีความเกี่ยวข้องใน 3 กลุ่มประเด็นคือ ความเชื่อ การจัดการ และพิธีกรรม มีประเด็นเกี่ยวกับงานศพเกิดขึ้นใหม่มากมายที่เป็นผลจากความเจริญทางเศรษฐกิจ สิ่งเหล่านั้นถูกยึดถือเป็นแนวปฏิบัติกันต่อไป และมีหลายเรื่องที่ไม่ตั้งอยู่บนความสมเหตุสมผล กลายเป็นวิวัฒนาการการจัดการงานศพที่แฝงด้วยการแข่งขันด้านความมีฐานะทางสังคม กลายเป็นงานที่แสดงถึงหน้าตาของเจ้าภาพงานศพและนับจะทวีความรุนแรง เป็นปัญหาร่วมที่รอการแก้ไขและปรับเปลี่ยนให้ถูกต้องบนทางสายกลาง
การให้ความรู้เรื่องหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอันประกอบด้วย 3 ห่วง คือ ความพอประมาณ ความสมเหตุสมผล และความมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี เมื่อเริ่มต้นเวทีประชาคมเพื่อหาประชามติ ทำให้คนในชุมชนได้เข้าใจแนวทางการใช้ชีวิตบนทางสายกลาง ครั้งนี้คนในชุมชนได้ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐานคิดเพื่อพิจารณาเลือกรูปแบบหรือแนวทางการดำเนินชีวิตของชุมชน ซึ่งหลักปรัชญานี้จะกลายเป็นฐานคิดของทุกคนสำหรับเรื่องอื่นที่ต้องตัดสินในใจในอนาคต
หากชุมชนใดที่เห็นว่ากิจกรรมใดเป็นปัญหาร่วมที่ต้องการแก้ไขด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ควรยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐานคิดในกระบวนการแก้ปัญหา เสนอให้เริ่มต้นจากการเลือกผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาเป็นทีมงาน แล้วยกร่างกระบวนการแก้ปัญหา เก็บข้อมูลที่จำเป็นต่อการทำงาน หาแนวร่วมมาร่วมวิเคราะห์สถานการณ์และข้อมูลแวดล้อม ทำการประชาคมเพื่อหาประชามติและข้อเสนอแนะ นำผลมาพิจารณาและประเมิน แล้วสรุปผลในชุมชนให้ทุกคนได้ทราบทั่วกัน และสร้างแนวร่วมจากองค์กรในชุมชนเป็นการตอกย้ำความสำเร็จให้ยั่งยืนก็จะเป็นกระบวนการที่สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาได้ตรงประเด็นอีกกระบวนการหนึ่ง
บทความวิจัยตีพิมพ์ใน วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่

ปีที่ 1 ฉบับที่ 4 เดือน มีนาคม - เมษายน พ.ศ. 2552 (FJRN-1000000007.zip)
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ cross tab ใน excel ด้วย pivot table
# แหล่งสืบค้นผลงานวิชาการ
- รายชื่อวารสารในฐานข้อมูล TCI https://tci-thailand.org/list%20journal.php
- Thai Journal ค้นตามชื่อเจ้าของผลงานได้ https://www.tci-thaijo.org/
- Thai Digital Collection เป็นโครงการหนึ่งของ ThaiLIS https://tdc.thailis.or.th/tdc/basic.php
- แหล่งรวมข้อมูลงานประชุมวิชาการ http://www.conferenceinthai.com/
- รวมเล่มบทความจากการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ [WTU] https://www.western.ac.th/index.php/th/bruero-research-jd/
- Proceeding book ม.ธุรกิจบัณฑิต https://www.dpu.ac.th/conference/pastconference.html
- Proceeding มรภ.เลย http://www.research.lru.ac.th/th/?page_id=6384
- ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Theses) มช. http://library.cmu.ac.th/digital_collection/etheses/
- ค้นจาก google พบอีกจำนวนมาก https://www.google.com/search?q=ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์
- ระบบตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมทางวิชาการ http://plag.grad.chula.ac.th/
รวมบทความจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ม.ธุรกิจบัณฑิต


http://www.vijai.org/Tool_vijai/05/01.asp

ความหมายของ วิธีการ (Method) และวิธีวิทยา (Methodology)
ทุกคนต่างไม่ผิด แต่ความคิดเราต่างกัน
การบริหารคุณภาพและจริยธรรมการวิจัย

อ่านบทที่ 9 บทเรียนจากอดีต
เพื่อศึกษาเรื่อง จริยธรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์
พบ 9 กรณีศึกษา อ่านเพลิน ๆ
+ 1932 - 1972 The Tuskegee Spyhilis Study
+ 1956 Willowbrook Hepatitis Study
+ 1961 The Milgram Obedience Experiments
+ 1960s TEAROOM TRADE
+ 1963 Jewish Chronic Ddisease Hospital Study
+ 1999 The Jesse Gelsinger Gene Therapy
+ 2001 The Asthma Study
+ 2006 The TGN1412 Study
+ 2010 The Havasupai Indian Tribe Case
[chapter 9.pdf]
ข้อมูลจากโฮมเพจ จริยธรรมการวิจัย Research Integrity
เรื่อง การบริหารคุณภาพและจริยธรรมการวิจัย
1. กำหนดโจทย์วิจัย และคำนึงถึงการนำไปใช้
2. ไม่ผิดกฎหมาย และหลักความปลอดภัยทางชีวภาพ
3. คำนึงถึงมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
4. มีบุคลากรที่เชี่ยวชาญการวิจัยและการวิเคราะห์ทางสถิติ
5. มีเครื่องมือที่ได้มาตรฐาน
6. รับรองโครงการด้านการใช้สัตว์ทดลองและการวิจัยในมนุษย์
7. มีความตระหนักและปฏิบัติตามจริยธรรมและจรรยาบรรณการวิจัย
8. มั่นใจว่าวัตถุดิบวิจัยมีลักษณะที่ต้องการ
9. บันทึกข้อมูลอย่างถูกต้อง
10. มีระบบบริหารข้อมูล Data Management
11. มั่นใจว่างานวิจัยสามารถทำซ้ำได้
12. มีระบบ Mentoring แก้ไขปัญหาพัฒนาความสามารถ
Mentor = ที่ปรึกษา
13. มีการรีวิวผลงานวิจัยที่เหมาะสม
และตรวจสอบการคัดลอกผลงานวิจัย (Plagiarism)
14. มีการพิจารณา Authorship เหมาะสม
Author = ผู้เขียนบทความวิชาการ
15. ส่งมอบข้อมูลครบถ้วนให้กับผู้ใช้
16. มีการสื่อสารต่อมวลชนและผู้รับประโยชน์อย่างรับผิดชอบ
17. มีหลักฐานแสดงการดำเนินงาน
กรณีมีข้อร้องเรียนการประพฤติมิชอบในการวิจัย
18. มีระบบพัฒนา ประเมิน และตรวจสอบคุณภาพและจริยธรรมการวิจัย

สามารถศึกษาเพิ่มเติม
หลักสูตรหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ สำหรับนักศึกษา/นักวิจัย
ที่ http://www.ohrs.nrct.go.th/e-learning
มีบทเรียนออนไลน์ 3 ส่วน
คือ บทเรียน เอกสาร และแบบทดสอบหลังเรียน ดังนี้
บทที่ 1 วิวัฒนาการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
บทที่ 2 การวิจัยและหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
บทที่ 3 ความยินยอม (Informed consent)
บทที่ 4 ความเสี่ยงและประโยชน์
บทที่ 5 ความยุติธรรม
บทที่ 6 กลุ่มเปราะบาง (Vulnerable group)
บทที่ 8 แนวทางการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับการพิจารณา
บทที่ 9 บทเรียนจากอดีต
บทที่ 10 ผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest)
ถ้าทำแบบสอบถามท้ายบทครบทุกบท และได้ไม่ต่ำกว่า 80% ทุกบท ก็จะขอใบรับรองออนไลน์ได้
พวงกุญแจ ทุ่งกว๋าว ทุ่งกว๋าว อ.เมืองปาน จ.ลำปาง เป็นอีกพื้นที่ที่เพื่อน ๆ มหาวิทยาลัยเนชั่น แทกทีมทุกคณะวิชาลงไปทำงาน ผมร่วมเดินทางกับ อ.แม็ค พร้อมเพื่อนคณะต่าง ๆ หลายครั้ง รอบนี้ อ.นุช (6 พ.ค.64) ลงไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ ก็จะกลับมาเล่า มาขีดเขียนงาน ไปเขียนเรื่องราวเรื่องเล่า ถึงกระบวนการและผลที่ได้เรียนรู้ ได้ผ้า ได้ผลิตภัณฑ์ ที่หลากหลายที่พัฒนาไปทุกปี รอบนี้ได้พวงกุญแจของคุณยาย ผมสนับสนุนไป 1 พวง 70 บาท หากเพื่อน ๆ สนใจแจ้งมาได้ เป็นสินค้าทำมือ เก็บสะสมไว้รู้สึกดีต่อใจ ใช้งานจริงได้ ชวนกันสนับสนุนชุมชนครับ
ลงพื้นที่กับ ดร.สุจิรา หาผล - 8 ส.ค.61
rspsocial
Thaiall.com