thaiall logomy background
การรักษาพยาบาลโรค thairheumatology78
my town
โรคภัยไข้เจ็บ | การปฐมพยาบาล | อาหารที่ต้องพึงระวัง | ผู้สูงอายุ
?>
♥ อาการปวดหลัง
หลังเป็นส่วนสำคัญของร่างกายที่ทำหน้าที่รับน้ำหนักตัวส่วนบน กระดูกสันหลังประกอบไปด้วยกระดูก 24 ชิ้น แต่ที่เป็นส่วนสำคัญของอาการปวดหลังที่พบบ่อยคือกระดูกสันหลังส่วนล่าง 5 ชิ้น ซึ่งต่อกับกระดูกกระเบนเหน็บ กระดูกสันหลังส่วนล่างนี้เชื่อมกันด้วยข้อต่อ และมีช่องระหว่างข้อให้ปลายประสาทผ่านออกมาเลี้ยงกล้ามเนื้อของเรา อาการปวดหลังอาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ
1. อาการปวดแบบเฉียบพลัน ซึ่งเป็นมาภายในไม่กี่วัน ถึง 1 - 2 สัปดาห์ โดยมากมักจะเกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ
2. อาการปวดเรื้อรังซึ่งมักเป็นนานกว่า 3 เดือน และมีสาเหตุมากมาย
สาเหตุของอาการปวดหลังที่พบบ่อย
1. อริยาบทหรือท่าทางที่ไม่ถูกต้องหรือกลังเคล็ด เป็นภาวะที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังได้บ่อย เช่น นั่งทำงานในท่าก้มหลังเป็นเวลานาน การก้มตัวยกของหนัก หลังถูกกระแทก เป็นต้น
2. ภาวะเสื่อมของกระดูกสันหลัง พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ กระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกสันหลังมีการเสื่อม ทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง ในบางรายอาจมีกระดูกงอกไปกดปลายประสาททำให้เกิดอาการชาหรืออ่อนแรงของขาได้
3. หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน มักเกิดอาการปวดหลังแบบเฉียบพลัน เกิดจากการที่ยกของหนักหรือล้มก้นกระแทกพื้น เกิดแรงดันทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังไปกดเส้นประสาทที่ออกมาจากไขสันหลัง เกิดอาการปวดร้าวไปด้านหลังของขา ร่วมกับอาการชาและอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขา ภาวะนี้จำเป็นต้องการการผ่าตัดแก้ไข
4. ภาวะเครียด อาจส่งผลให้มีการเกร็งของกล้ามเนื้อหลังตลอดเวลา ทำให้ปวดหลังได้
5. กระดูกสันหลังอักเสบ เป็นภาวะที่มีการอักเสบของกระดูกสันหลัง พบได้บ่อยในเพศชายวัยกลางคน มีอาการปวดหลังเรื้อรัง อาจมีข้ออักเสบอื่น ๆ ร่วมด้วย ผู้ป่วยจะมีอาการหลังแข็ง ถ้าได้รับการวินิจฉัยไม่ถูกต้อง กระดูกสันหลังอาจยึดติดกันไปหมด ก่อให้เกิดความพิการตามมาได้
6. สาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ โรคของอวัยวะบางอย่างที่ทำให้เกิดอาการปวดร้าวมาบริเวณหลังได้ ได้แก่ โรคไต โรคเกี่ยวกับรังไข่และมดลูก หรือโรคที่เกี่ยวกับต่อมลูกหมาก หรือการกระจายของมะเร็งมาที่บริเวณกระดูกสันหลัง เป็นต้น
อาการ
เมื่อมีอาการปวดหลังร่วมกับอาการต่อไปนี้ ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์
1. อาการปวดหลังเป็นติดต่อกันนานกว่า 2 สัปดาห์
2. มีอาการชาหรืออ่อนแรงของ ขา
3. มีอาการปวดร้าวจากหลังลงไปที่ขาหรือเท้า
4. มีอาการปวดหลังภายหลังได้รับอุบัติเหตุ
5. มีอาการอื่น ๆ ร่วม เช่น ไข้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด เป็นต้น

การวินิจฉัย
แพทย์จะอาศัยการซักประวัติและการตรวจร่างกายเป็นสำคัญ ในบางครั้งแพทย์อาจจำเป็นต้องทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การถ่ายภาพรังสี และการตรวจเลือดเพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการรักษา
การรักษา
1. ควรระวังและหลีกเลี่ยงการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการยกของหนัก การที่ต้องทำงานก้ม ๆ เงย ๆ เป็นต้น
2. ปรับปรุงอริยาบทต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดการปวดหลัง เช่น ที่นอนควรเป็นที่นอนราบเรียบและแข็ง เก้าอี้นั่งควรเป็นเก้าอี้ที่มีพนักพิงหลังและนั่งตัวตรง เวลาขับรถควรปรับพนักเก้าอี้ให้อยู่ในท่าตรง เวลาก้มหยิบของควรใช้วิธีย่อเข่าลงเก็บของ เป็นต้น
3. อาจใช้ยาแก้ปวด เช่น ยาพาราเซตามอล หรือแอสไพริน รับประทานแก้ปวดได้ทุก 4 - 6 ชั่วโมง ในกรณีที่รับประทานยามาแล้ว 5 - 7 วัน และอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ ในรายที่เป็นเรื้อรัง หรือมีอาการปวดอย่างมาก การทำกายภาพบำบัดจะช่วยลดอาการเจ็บปวดได้ การใช้กายอุปกรณ์ก็สามารถช่วยลดอาการเจ็บปวดได้เช่นกัน
4. การบริหารกล้ามเนื้อหลัง เป็นส่วนสำคัญที่สุดในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลัง เพราะจะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อหลัง และลดการเกร็งของกล้ามเนื้อหลัง การบริหารควรทำทุกวัน
5. หาทางออกกำลังกายเป็นการผ่อนคลายความเครียด
ข้อมูลจาก : http://www.thairheumatology.org/people01.php?id=78
ข้อมูลนี้เป็นเพียงคำแนะนำเบื้องต้น
ควรพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและรักษาต่อไป
ก่อนหน้า : อาการปวดไหล่
tools
ความหมายของสุขภาพ
Health Meaning
สุขภาพ เป็นการกล่าวถึงลักษณะของการไม่เป็นโรค สุขภาพเป็นความสมบูรณ์ของคนใน 4 มิติ คือ 1) ร่างกาย 2) จิตใจ 3) สังคม และ 4) วิญญาณ (ปัญญา) หากสมบูรณ์อย่างสมดุลแล้ว ก็เรียกว่า สุขภาวะ ตามนิยามขององค์การอนามัยโลก
สุขภาพ หมายถึง สุขภาวะทางร่างกาย จิตใจ และสังคม รวมทั้งการปราศจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งทางกายและทางใจ สุขภาพที่ดีมีส่วนทำให้ชีวิตของเรามีความสุข
สุขภาพ หมายถึง ระดับของประสิทธิภาพเชิงการทำงาน หรือเชิงเมตาบอลิกของสิ่งมีชีวิต และตามนิยามขององค์การอนามัยโลก หมายถึง สภาวะอันสมบูรณ์ของภาวะทางกาย จิต จิตวิญญาณ และสังคมของบุคคล อันมิได้หมายถึง ความปราศจากโรคหรือความบกพร่องเพียงอย่างเดียว (wiki)
Thaiall Products :: HTML Validity :: CSS Validity :: CheckLink :: DeadLink :: PageSpeed :: Keyword Position :: Google :: Truehits
Thaiall.com