วิธีการ 7 ขั้นตอน
ทำรีวิวงานของเพื่อน
เขียนบล็อก และ ทำคลิปสั้น
แล้วส่งไปแปดแวดวง

ตั้งแต่ต้นเมษายน เป็นต้นมา
ผมเริ่มรีวิวงานเขียนของเพื่อน
ที่เค้าเน้นแบ่งปันความรู้ผ่านบทความ
เป็นเนื้อหาที่มีประโยชน์
เลือกมาครั้งละหนึ่งเรื่อง
ในสายผลิตภัณฑ์ที่เพื่อนเค้าถนัด
ที่สะท้อน
ความเป็นมืออาชีพของเพื่อน
.
ผมสรุปเป็นบล็อก และทำคลิปให้เพื่อน
เพราะเราคิด และเชื่อเหมือนกัน
คือ เราให้ความสำคัญ
กับการแบ่งปันเนื้อหาให้เป็นสาธารณะ
ให้ไปถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ
.
วิธีดำเนินการในแต่ละครั้ง ที่สรุปไว้นี้
เพื่อนที่สนใจลองนำไปปรับใช้กันได้
มีขั้นตอน ดังนี้
1. เลือกเนื้อหา มาเขียนสรุปให้สั้น
เพราะ แหล่งเผยแพร่
คือ สื่อที่รองรับคลิปสั้น
2. ใช้บริการแปลงข้อความเป็นเสียง
ให้มีเวลาประมาณหนึ่งนาที
ถ้าเกินกว่านี้ก็เร่งความเร็ว
3. รวบรวมแฟ้มเสียง คลิป และภาพ
ให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่เลือกมา
ที่สำคัญคือภาพปกต้องเรียกแขกได้
4. นำไปตัดต่อในแคปคัท
ซึ่งเป็นที่นิยม และใช้งานง่ายมาก
5. อัพโหลดไปยังแปดแวดวง ได้แก่

TikTok, Line, Instagram, YouTube,

Twitter, WordPress, Facebook page and profile

6. แต่ละแวดวง กำหนดเสียงประกอบ
ที่เหมาะสม และ แตกต่างกันไป
7. ถ้าเป็นไปได้ ควรมีแผนเรื่องผู้ติดตาม
โดยเชิญชวน เพื่อนร่วมงาน
ให้มาช่วยกันเป็นผู้ติดตามที่ดี
ด้วยการกดไลก์ กดแชร์ ตามความชอบ
.
ดังคำโบราณที่ว่า
อยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดาย
ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่น
เพราะถ้าหน่วยงานของเราเข้มแข็ง
อาชีพการงานของเราก็จะมั่นคง

https://vt.tiktok.com/ZSFg1oM1F/

เจ็ดขั้นตอน การทำรีวิวงานของเพื่อน
เขียนบล็อก และ ทำคลิปสั้น
แล้วส่งไปแปดแวดวง
#friend
#network
#relationship
#ttpcargo
#premiumperfect
#review
#wordpress
#engagemment
#seo
#csr

ชวนคิด : ถูกจับขึ้นเว็บ

ชวนคิด : ถูกจับขึ้นเว็บ (#Caughtintheweb)

ถูกนำเรื่องไปเล่าสู่กันฟังในสื่อจนทัวร์ลง เราได้ยินได้เห็นเรื่องชาวบ้านจากทุกมุมของสังคมในสื่อ ซึ่งเรื่องในหนังก็สะท้อนสังคมมา คือ หญิงสาวนั่งรถประจำทาง ในที่นั่งผู้สูงอายุ คนทั้งรถก็เห็น หญิงสาวก็ตอบไปอย่างไม่มีอารมณ์ แล้วถูกเผยแพร่คลิป ออกสื่อ จนทัวร์ลง และจบด้วยคำว่าเรื่องพลิก ดังคำว่า คำพูดสามารถทำให้คนมีความสุข แต่ก็สามารถฆ่าคนได้เช่นกัน
นึกถึง ความสัมพันธ์ของคนหลายกลุ่ม 1) บางคนพลาดไปชั่วขณะ แล้วถูกขึงขึ้นเว็บ เหมือนลัทธิล่าแม่มด 2) ตัวเอกที่จับแม่มดได้ ก็เหมือนนักข่าว ยูทูปเปอร์ ที่จะเลือกเล่า เพื่อขึงแม่มดลงทัณฑ์ 3) ผู้คนที่มุงดู เอาหินปา โห่ร้อง แล้วรู้สึกโล่ง ผ่อนคลาย มีความสุข เป็นเรื่อง #สุจริตยุคล่าแม่มด ที่แม่มดมักไม่รอด ในชีวิตจริง พบว่า ผู้คนกล้าเล่ามากขึ้น แต่คดีพลิกก็เยอะ อาทิ รองเท้าแอบถ่าย มะพร้าวสามลูก ครูจอมทรัพย์ ไม่อยากเป็นป้าแต๋น

หรือ คิดสร้างสรรค์ ด้วยการ จับเรื่องดีดีมาเล่า ซึ่งเราทำกันเป็นอาชีพ ทุกคนต่างได้ประโยชน์ อาทิ ผลประกวด รับตำแหน่งใหม่ ขึ้นป้ายร้อยเต็ม เพื่อนเปิดร้าน หรืออบรมสัมมนา เรียกว่า #ถูกจับขึ้นเว็บ แบบ win&win

IMDB Rating : 6.5 / 10

https://www.thaiall.com/handbill/getapart.php?k=top-44

#เล่าสู่กันฟัง 63-060 หุ่นยนต์จะมาทดแทนแรงงานที่ขาดหาย

ต่อไป อาจไม่พบครูกับนักเรียน
นั่งสอนในห้องเรียนที่มีนักเรียนสุมกัน
เป็น 10 เป็น 100
เรากำลังเข้าสู่ยุค #สอนออนไลน์ #ทำงานจากบ้าน
ด้วยแรงขับทรงพลังเหนือคณานับ
นั่นคือ #covid-19 ชื่อโรคเมื่อปีที่แล้ว
แต่ส่ง และทรงอิทธิพลอาจยาวไปชั่วกาล
หากเชื้อพัฒนาต่อไป จนเป็นโรคประจำถิ่นแบบไข้หวัดใหญ่
หรือไข้เลือดออก ก็อาจลดจำนวนและอายุเฉลี่ยของประชากรได้
หายกลายพันธุ์ตามข่าวต่อเนื่อง
ทางรอดต้องคงยึดคาถา #อยู่บ้านเพื่อตนเอง
รักษา social distancing เพื่อวันพรุ่งนี้
แล้วจะเกิด #ห้องเรียนแห่งอนาคต ขึ้นจริงจัง
เพียงชั่วข้ามปี ไม่ได้วิวัฒน์กันข้ามชีวิตอีกแล้ว
เพราะ “ไวรัสทำให้แรงงานมนุษย์ต้องเก็บตัวอยู่ในบ้าน”

คุยกับนิสิต เรื่องการสอนแบบ #ใส่ใจ กับ #ใส่แมส ให้เข้าใจ เตรียมใจ

เพราะในห้องเรียนก็จะมีหลายกลุ่ม
บางกลุ่มผู้สอนใส่ใจไป ผู้เรียนให้ใจกลับ
บางกลุ่มรอเรียยแบบใส่แมส เต็มรูปแบบ
คือ ฟังอย่าเดียว หรือ ฟังทางเดียว
ไม่มีโกรธที่ถูก feedback สีหน้าอารมณ์เดียวก็มี
ไม่ใช่ถามมาตอบไป ยิ้มหัวเรา โต้ตอบกัน
ก็ด้วยเงื่อนไขเรื่องจำนวน
วิธีใหม่อาจเรียกว่า write once, run anywhere

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2819753108101576&id=1125767017500202

ชวนอ่าน
COVID-19 เร่งให้ยุค “แรงงานหุ่นยนต์” มาถึงเร็วกว่าที่คาด
.
สถานการณ์ไวรัสโคโรนา 2019 ที่ระบาดหนักในจีน ทำให้อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เติบโตขึ้นเร็วอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เพราะไวรัสทำให้แรงงานมนุษย์ต้องเก็บตัวอยู่ในบ้าน รวมถึงกฎระเบียบที่ห้ามคนสัมผัสติดต่อกัน หุ่นยนต์เลยเข้ามารับบทบาทแทนในแทบจะทุกอุตสาหกรรม
.
กลุ่มนักลงทุนคาดการณ์ว่าปีนี้จะเป็นปีที่ธุรกิจหุ่นยนต์จะแจ้งเกิดแบบเต็มตัว ประเมินว่าจะมียอดสั่งซื้อจำนวนมหาศาลในประเทศจีน โดยเฉพาะหุ่นยนต์ที่ทำงานบริการ เช่น หุ่นยนต์เสิร์ฟอาหาร หุ่นยนต์ส่งของในโรงแรม หุ่นยนต์วิ่งส่งอุปกรณ์ในโรงพยาบาล ส่งสินค้าตามบ้าน ไปจนถึงหุ่นยนต์ที่ใช้ภาคการผลิตสินค้า ทำงานในโรงงาน ปรุงอาหาร ชงเครื่องดื่ม ฯลฯ เพราะในช่วงที่มีโรคระบาดอยู่อย่างนี้ มันสามารถตอบโจทย์เรื่องสุขอนามัยได้ดีกว่าคนมาก ไม่ผิดข้อกำหนดของรัฐ ผู้ประกอบการไม่ต้องหยุดกิจการ ผู้บริโภคก็มีตัวเลือกมากขึ้น
.
ทางบริษัทผู้ผลิตหุ่นยนต์เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมที่หุ่นยนต์ขายดิบขายดีที่สุดคือโรงพยาบาล โรงพยาบาลหลายแห่งที่ไม่เคยใช้หุ่นยนต์มาก่อนก็ถึงเวลาต้องสั่งซื้อกันขนานใหญ่ โดยเฉพาะหุ่นยนต์ที่คอยเดินฆ่าเชื้อตามพื้นที่ต่าง ๆ ด้วยรังสี UV และหุ่นยนต์ที่ส่งอาหารตามห้องผู้ป่วย ช่วยให้เจ้าหน้าที่ไม่ต้องเสี่ยง ไม่ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ป้องกันบ่อย ๆ แก้ปัญหาขาดแคลนอุปกรณ์ได้ในทางหนึ่ง
.
ขณะเดียวกัน ร้านอาหารขนาดใหญ่ในจีนหลายแห่งก็เริ่มเอาหุ่นยนต์เข้ามาแทนพนักงานเสิร์ฟอย่างจริงจังแล้ว แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน แถมยังเรียกความเชื่อมั่นให้ลูกค้าได้เป็นอย่างดี ซึ่งทางผู้บริหารเปิดเผยว่าก่อนหน้านี้พวกเขาก็มีแผนจะค่อย ๆ เอาหุ่นยนต์มาใช้ในร้านอยู่แล้ว แต่โควิด-19 ทำให้ต้องรีบลงมือเร็วกว่าที่คิด
.
ณ ตอนนี้ถือว่าหุ่นยนต์มีส่วนช่วยจีนอยู่มาก ในเรื่องการยับยั้งโรคระบาดพร้อมกับขับเคลื่อนเศรษฐกิจไม่ให้ชะงัก แต่ก็น่าเป็นห่วงว่าเทรนด์นี้อาจจะเปลี่ยนตลาดแรงงานจีนไปตลอด เมื่อนายจ้างลงทุนก้อนใหญ่เพื่อซื้อหุ่นยนต์มาแล้ว คุ้นเคยกับลูกจ้างหุ่นยนต์แล้ว รวมถึงลูกค้าที่ยังจะระแวงเรื่องไวรัสไปอีกพักใหญ่ ๆ หลังจากวิกฤตผ่านไป จะยังเหลือพื้นที่ให้กับแรงงานมนุษย์แค่ไหน?
.
หากนี่คือการแข่งขันระหว่าง “แรงงานคน” กับ “แรงงานหุ่นยนต์” รอบนี้ก็ต้องยอมรับว่าทีมมนุษย์เสียคะแนนไปมากทีเดียว
.
ขอบคุณข้อมูลจาก Reuters, TheStar

#เล่าสู่กันฟัง 63-034 เสียงจากสื่อสังคมอาจไม่ใช่เสียงส่วนใหญ่เสมอไป

ในสื่อสังคม กับ ในชีวิตจริง
ความเชื่อ กับ ความจริง
อาจคลาดเคลื่อนกัน
ไปส่อง tag twitter
นึกถึงคำ ๆ หนึ่งกลางดึก พบว่า โผ่มาจริง ๆ
ส่วนประเทศที่มีประชากรจำนวนมาก
ก็ทำให้นึกถึงหลัก 20/80
คน 20 ออกมาพูด
คน 80 ตัดสินใจ
บางทีก็รู้สึกเหมือน คน 20
พูดแทนความคิดของคน 80
แต่ความจริง คน 80 เค้าอาจคิดต่าง
บางคนในกลุ่ม คน 20 อาจประหลาดใจได้
#630224

พบภาพจาก twitter

คำถามถึงผู้สูงอายุ เป็นห่วยโซ่ จากอดีตสู่อนาคต

คำถามถึงผู้สูงอายุ จากอดีตสู่อนาคต
คำถามถึงผู้สูงอายุ จากอดีตสู่อนาคต

เกือบปลายปี 2559 ได้พูดคุยกับทีมคณะกรรมการเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดลำปาง (คค.สจ.ลำปาง) แล้วร่วมเป็นคณะอนุกรรมการวิชาการพัฒนายกร่างประเด็น การจัดการแบบบูรณาการเพื่อสร้างความเข้มแข็งในครอบครัว สู่สุขภาวะเด็ก และเยาวชน แล้วเมื่อ 24 ก.ย.59 ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับ ดร.กาญจนา ภาสุรพันธ์ นักวิชาการอิสระ และ คุณกรพินธุ์ วงศ์เจริญ พมจ. ลำปาง (เจี๊ยบ) ก่อนหน้านั้น 28 พ.ย.58 ได้พูดคุยกับกลุ่มพฤฒพลังลำปาง ที่ขับเคลื่อนโดย อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง และ ดร.สุจิรา หาผล

วันนี้ (25 ก.ย.59) ไปเดินที่ศาลาเอนกประสงค์ หมู่ 13 ต.บ่อแฮ้ว อ.เมือง จ.ลำปาง ผู้ใหญ่เรียกให้ลูกบ้านที่มีของเก่า นำของเก่ามาขาย เห็นระบบและกลไก จึงนึกถึงกลุ่มผู้สูงอายุ หรือพฤฒพลังลำปาง เพราะอีก 1 รอบ ผมก็ต้องเป็นผู้สูงอายุ ที่อาจต้องเป็นภาระให้คนหนุ่มสาวมาดูแลก็เป็นได้ มีคำถามว่า “ถ้า ผู้สูงอายุ รวมตัวกันได้ จะทำอะไร เพื่อ ให้มีความสุข ตราบจนวาระสุดท้าย

ก่อนหน้านี้ อ.ปาล์ม สาขาสาธารณสุข ก็เล่าให้ฟังว่าจะลงพื้นที่ลำปางโมเดล
และเห็นการขับเคลื่อนการพัฒนาผู้สูงอายุ ของทุกตำบล เป็นโรงเรียนผู้สูงอายุ
มีกิจกรรมเดือนละ 1 หรือ 2 ครั้ง .. น่าสนใจมากครับ

ที่มาของคำถามนั้น
เนื่องจากนึกถึงนารวมที่คนนิคมพัฒนา ร่วมแรงร่วมใจกันลงแขก
ผมกับเพื่อนทีมวิจัย และนักศึกษาสาขาสาธารณสุขก็ยังเคยไปร่วมกันเกี่ยวข้าวมาแล้ว
https://www.facebook.com/506818005999002/photos/?tab=album&album_id=761676820513118

การรวมกลุ่มกันเป็นสังคมนี่ดีนะครับ
มีพลังมหาศาล เสกอะไรก็ได้ดั่งใจหลาย แต่คนเราจะยอมรวมกลุ่มกัน ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
เคยเห็นในภาพยนตร์เรื่อง The Mission แล้วก็ถึงกับอึ้งไปเหมือนกัน
การเปลี่ยนแปลงไม่เคยง่ายเลยสักครั้ง

หรือ การเปลี่ยนแปลงประเทศของเหมาเจ๋อตุงก็เหมือนกัน
จะยึดที่นาของคนรวยให้คนจนก็มีคนมากมายไม่เห็นด้วย
ตอนที่ 3/5

ได้เห็นคลิ๊ปนายกศิริพร ปัญญาเสน  ทำโรงเรียนชาวนาพิชัย จ.ลำปาง

นายธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ไปเปิดป้ายโรงเรียนชาวนา
เป็นกิจกรรมพัฒนาเยาวชน เตรียมสร้างทายาทเกษตรกรรุ่นใหม่


วิกฤตคนเกิดน้อย
เห็นกระทบที่เป็นข่าวก็โรงเรียนปิดหรือยุบรวมโรงเรียน แต่การกระทบนี้ใหญ่หลวงนัก
ดูจากพีระมิดจำนวนประชากร ที่จะกระทบขึ้นไปในห่วงโซ่ของสังคม
https://www.facebook.com/thaiall/photos/a.423083752271.195205.350024507271/10154554540217272/?type=3&theater

24 ก.ย.59 ประชุมครั้งที่ 3 ร่างประเด็นฯ
https://www.facebook.com/ajburin/media_set?set=a.10154399859253895.1073741908.814248894&type=3
28 พ.ย.58 พฤฒพลังลำปาง
https://www.facebook.com/ajburin/media_set?set=a.10153659525548895.1073741879.814248894&type=3

ประเทศจีนมีความเสมอภาค
ยุคของเหมาเจ๋อตุง เล่าโดยฝรั่งหลายคน
..จีนเป็นสังคมศักดินา ซึ่งคนรวยจำนวนน้อยอยู่อย่างสุขสบาย..
ตอนที่ 3/5 ประกาศโครงการปฏิรูปที่ดิน ยึดที่ดินจากเจ้าของที่ดินศักดินา
แล้วจัดแบ่งให้กับผู้ทำงานในที่ดินนั้น
เจ้าของที่ดินถูกประจานต่อหน้าสาธารณะชน แต่หลายเมืองก็ไม่พอใจ
ตอนที่ 1/5

ตอนที่ 2/5

ตอนที่ 3/5

ตอนที่ 4/5

ตอนที่ 5/5

วิชาที่ใช้สำหรับการสอบเข้ามหาวิทยาลัยทั้งสอบตรงและแอดมิชชั่น

เรียนอะไร จะได้มีอาชีพใน asean
เรียนอะไร จะได้มีอาชีพใน asean

การสอบเข้ามหาวิทยาลัย นักเรียนทุกคน
ต้องสอบวิชาสามัญ และวิชาเฉพาะสาย
สัดส่วนของสองกลุ่มนี้จะต่างกันไปในแต่ละหลักสูตร
หลายมหาวิทยาลัยจัดรับตรง คือใช้ข้อสอบของตนเอง
ก็จะกำหนดวิชาที่สอบแตกต่างไปบ้างกับสอบแอดมิชชั่น

1. วิชาสำหรับสอบเข้าเรียนแพทย์โดยทั่วไป
ต้องสอบ 7 วิชา 1)ฟิสิกส์ 2)เคมี 3)ชีวะ 4)คณิต1 5)ไทย 6)อังกฤษ 7)สังคม
และวิชาเฉพาะ (ความถนัดทางวิทยาศาสตร์)

2. การสอบตรงนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์
ต้องสอบวิชาของธรรมศาสตร์ ใน 100% มีดังนี้
1) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย  10%
2) ความสามารถในการใช้กฎหมาย  30%
3) เรียงความ  10%
4) ย่อความ  10%
5) ภาษาอังกฤษ  20%
6) ความถนัดเชิงวิชาการ (SAT)  20%

3. สัดส่วนที่ใช้คำนวณคะแนน
GAT (General Aptitude Test) ความถนัดทั่วไป
PAT (Professional Aptitude Test) ความถนัดทางด้านวิชาชีพและวิชาการ
– ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX)
– ผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
– ผลการทดสอบความถนัดทั่วไป (GAT)
– ผลการทดสอบความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ (PAT)

4. GAT กับ PAT ต่างกันชัดเจน
GAT = ความถนัดทั่วไป
PAT1 = ความถนัดทางคณิตศาสตร์
PAT2 = ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
PAT3 = ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
PAT4 = ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
PAT5 = ความถนัดทางวิชาชีพครู
PAT6 = ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
PAT7.1 = ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส
PAT7.2 = ความถนัดทางภาษาเยอรมัน
PAT7.3 = ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น
PAT7.4 = ความถนัดทางภาษาจีน
PAT7.5 = ความถนัดทางภาษาอาหรับ
PAT7.6 = ความถนัดทางภาษาบาลี

5. สัดส่วนการใช้คะแนน GAT PAT ของคณะต่าง ๆ
http://www.tlcthai.com/education/gat-pat/48432.html
http://www.dek-d.com/admission/33015/
กลุ่มที่ 1 คณะสัตวแพทยฯ , คณะสหเวชศาสตร์ , คณะพยาบาลศาสตร์
คณะสาธารณสุขฯ, คณะเทคนิคการแพทย์ , คณะวิทยาศาสตร์กีฬา
GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 20% และ PAT 2 30%

กลุ่มที่ 2 คณะทันตแพทยศาสตร์
GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 20%, PAT 1 10% และ PAT 2 20%

กลุ่มที่ 3 คณะเภสัชศาสตร์
GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 10% และ PAT 2 40%

กลุ่มที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์ , คณะทรัพยากรธรรมชาติ
GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 10% , PAT 1 10% และ PAT 2 30%

กลุ่มที่ 5 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 10% , PAT 1 20% และ PAT 2 20%

กลุ่มที่ 6 คณะวิศวกรรมศาสตร์
GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 15% , PAT 2 15% และ PAT 3 20%
* รับตรงคณะกลุ่มนี้บางมหาวิทยาลัย กำหนดให้สอบ PAT1
เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ ม.เกษตรศาสตร์

กลุ่มที่ 7 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 10% และ PAT 4 40%

กลุ่มที่ 8 คณะเกษตรศาสตร์ , คณะวนศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร
GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 10% , PAT 1 10% และ PAT 2 30%

กลุ่มที่ 9 คณะบริหารธุรกิจ , คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี , คณะเศรษฐศาสตร์
GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 30% และ PAT 1 20%
* รับตรงคณะกลุ่มนี้บางมหาวิทยาลัย กำหนดให้สอบ PAT2
เช่น คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ

กลุ่มที่ 10 คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม
รูปแบบที่ 1 GPAX 20% , O-NET 30% และ GAT 50%
รูปแบบที่ 2 GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 40%
และ PAT 7 (เลือก 1 วิชา) 10%

กลุ่มที่ 11 คณะครุศาสตร์ , คณะศึกษาศาสตร์
รูปแบบที่ 1 GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 20% และ PAT 5 30%
รูปแบบที่ 2 GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 10% , PAT 5 20%
และ PAT 1/2/3/4/6/7 (เลือก 1 วิชา) 20%

กลุ่มที่ 12 คณะศิลปกรรมศาสตร์ , คณะวิจิตรศิลป์ , คณะดุริยางฯ , คณะศิลปการออกแบบ
GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 10% และ PAT 4/6 (เลือก 1 วิชา) 40%

กลุ่มที่ 13 คณะนิเทศศาสตร์, คณะอักษรศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์, คณะมนุษยศาสตร์
คณะรัฐศาสตร์ , คณะนิติศาสตร์ , คณะสังคมวิทยา , คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
รูปแบบที่ 1 GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 30% และ PAT 1 20%
รูปแบบที่ 2 GPAX 20% , O-NET 30% และ GAT 50%
รูปแบบที่ 3 GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 30% และ PAT 7 20%

มีข่าวว่า
อันดับหนึ่งของประเทศสอบได้วารสารศาสตร์

ปี 2559 และ 2558 ผลสอบแอดมิชชั่น 6 อันดับแรกเลือกสายสังคมศาสตร์ทั้งหมด

ปี 2559 และ 2558 ผลสอบแอดมิชชั่น 6 อันดับแรกเลือกสายสังคมศาสตร์ทั้งหมด

นั่งดูข้อมูลเด็ก ๆ ทั้ง 12 คน พบว่า
ปี 2559 จุฬา 4 ธรรมศาสตร์ 2 ปี 2558 จุฬา 4 ธรรมศาสตร์ 1 เชียงใหม่ 1
แสดงว่า เด็กในประเทศไทยที่เก่งเลือกเรียนจุฬากับธรรมศาสตร์เป็นส่วนใหญ่
เด็กทั้ง 12 คน เป็นเด็กต่างจังหวัด 6 คน กรุงเทพฯ 6 คน
แสดงว่า เด็กเก่งทั้ง 76 จังหวัดมีจำนวนเท่ากับเด็กเก่งที่กรุงเทพฯ จังหวัดเดียว
เด็กทั้ง 12 คน มาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา 3 คน ปรินส์ 2 คน สาธิตปทุมวัน 2
แสดงว่า โรงเรียนที่มีเด็กเก่งเข้าเรียนคงหนีไม่พ้น 3 โรงเรียนนี้ และโรงเรียนที่เหลือ

ศึกษานารี สายวิทย์ สอบติดยกห้อง
ศึกษานารี สายวิทย์ สอบติดยกห้อง

ก็อยากสรุปเหมือนกันนะครับ ว่า เดี๋ยวนี้เด็กเก่งเลือกเรียนสายสังคมมากกว่าสายวิทย์
แต่หลังผลสอบออก ข่าวโรงเรียนศึกษานารี ห้อง 6/3 จะดังกลบข่าวอื่นซะหมด
เด็กห้องนี้ 29 สายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สอบติดยกห้อง
ส่วนห้องอื่นก็สอบได้มหาวิทยาลัยของรัฐทั้งสอบตรง และแอดมิชชั่น เฉลี่ย 95%
http://www.thairath.co.th/content/633720

จากข้อมูลที่มีการเผยแพร่โดย ทปอ. ปี 2559
ถึงผลสอบนักเรียน ม.6 เข้ามหาวิทยาลัย มีผู้สมัครแอดมิชชั่นส์ทั้งสิ้น 105,046 คน
มีผู้ผ่านการคัดเลือกมีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย จำนวน 85,834 คน
จากจำนวนรับทั้งสิ้น 156,216 คน
พบว่าคนที่สอบได้คะแนนสูง 6 อันดับแรก เลือกสายสังคมศาสตร์ มีดังนี้
ที่หนึ่ง เลือก คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ธรรมศาสตร์
จาก เตรียมอุดมศึกษา (สมัครรอบ 2)
ที่สอง เลือก คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จาก ปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เชียงใหม่
ที่สาม เลือก คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ธรรมศาสตร์
จาก สุรนารีวิทยา นครราชสีมา
ที่สี่ เลือก คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จาก สาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ที่ห้า เลือก คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จาก เตรียมอุดมศึกษา
ที่หก เลือก คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จาก อัสสัมชัญสมุทรปราการ
http://www.komchadluek.net/news/detail/229003
http://www.tlcthai.com/education/admission/111928.html
http://www.thairath.co.th/content/632708

สอดคล้องกับ ปี 2558 ที่ผลสอบแอดมิชชั่นได้คะแนนสูง
ที่หนึ่ง เลือก คณะนิเทศศาสตร์ สาขาภาพยนตร์-โฆษณา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จาก สาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน กรุงเทพฯ
http://www.thairath.co.th/content/504739
ที่สอง เลือก คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จาก โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เชียงใหม่
ที่สาม เลือก คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จาก สาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน กรุงเทพฯ
ที่สี่ เลือก คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ธรรมศาสตร์
จาก โรงเรียนสตรีวิทยา กรุงเทพฯ
ที่ห้า เลือก คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จาก โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพฯ
ที่หก เลือก คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จาก โรงเรียนผดุงปัญญา ตาก
http://teen.mthai.com/education/94484.html

รู้ล่ะ ป่าเมืองน่านหายไปไหน ที่แท้มีไอ้ตัวร้ายทำลายป่าเมืองน่านอยู่นี่เอง

รู้ล่ะ ใครคือไอ้ตัวร้าย ทำลายป่าเมืองน่าน
รู้ล่ะ ใครคือไอ้ตัวร้าย ทำลายป่าเมืองน่าน

ดูสารคดี ThaiPBS รายการสามัญชนไทย ของ มาโนช พุฒตาล
เค้าชวนคิด เผื่อว่าจะทำให้เมืองไทยดีขึ้น กับปัญหาทำลายป่าต้นน้ำ
มีคำถามว่าป่าเมืองน่าน หายไปไหน
ขึ้นไปที่ความสูง 9500 ฟุต น่านฟ้า จังหวัดน่าน
นาทีที่ 2.23 เค้าบอกว่า “มีการลุกล้ำเปลี่ยนป่าต้นน้ำ เป็นภูเขาแห่งทุ่งข้าวโพด”
ซึ่งเป็นอาหารของไก่ แล้วเราก็ได้ปีกไก่บนมาเข้าไมโครเวฟในนาทีที่ 2.41
เค้าว่าคนไทยทุกคนกลายเป็นห่วงโซ่แห่งการทำลายล้าง
คุณมาโนช พุฒตาลบอกว่า “คนไทยกินป่าเป็นอาหาร”

การฟื้นฟูสภาพป่ามีหลายวิธี
คนกลุ่มหนึ่งใช้วิธีสร้างจิตสำนึก ตั้งวงดนตรี แต่งเพลง เล่นเพลง
ชื่อเพลง “รักป่านาน”
เห็นภาพภูเขาแล้ว เหมือนภูเขาหัวโล้นกำลังร้องไห้ ยามฝนตก
สิ่งที่เค้าต้องการจากการถางป่าคือข้าวโพด ปลูกได้ปีละ 4 เดือน
ตอนนี้เห็นหัวโล้น อีก 2 เดือนเค้ามาปลูกก็จะเขียว
ที่นี่คือป่าสงวนแห่งชาติ ไม่มีสิทธิตัดไม้ปลูกข้าวโพด
แต่พื้นที่นี้ยังบังคับใช้กฎหมายไม่ได้ ชาวบ้านและชาวเขายังบุกรุกผืนป่ากันทุกปี
นาที 7.39 “ชาวบ้านก็บอกว่า อยากจับก็จับนายทุนสิ นายทุนจ้างเรามาทำ”
เราไม่สามารถสาวไปถึงนายทุน แต่ท่านปลัดรู้ และรู้กันทุกคน ทั้งประเทศ
นาที 8.44 “ข้าวโพดบุกรุกป่ารึเปล่านี่ ไม่ใช่นะ คนบุกรุก โทษข้าวโพดไม่ได้หรอก”
ข้าวโพดรุกคืบเข้ามาเรื่อย ๆ ด้วยเทคนิควางยาสลบต้นไม้
นาที 11.37 พื้นที่บุกรุกมีทั่วทั้งจังหวัด พื้นที่ป่าลดลง 7หมื่น – แสนไร่ต่อไป
นาที 12.55 ผืนป่าที่ลดลง สัมพันธ์กับ พื้นที่ปลูกข้าวโพด
ผลการศึกษา ทำวิจัยพบว่าพื้นที่ข้าวโพด 60% เคยเป็นพื้นที่ป่า
และเข้าไปทำไร่ข้าวโพดในพื้นที่ป่ามากขึ้น
นาที 14.05 พื้นที่ปลูกข้าวโพดของน่าน มาเป็นอันดับ 5 ของประเทศ
รวมข้าวโพดที่ได้กว่า 4 แสนตันต่อไป
นาที 14.13 พื้นที่ปลูกข้าวโพด
อันดับ 1 เพชรบูรณ์ 1,075,536 ไร่
อันดับ 2 นครราชสีมา 816,805 ไร่
อันดับ 3 จังหวัดเลย 825,735 ไร่
อันดับ 4 จังหวัดตาก 686,013 ไร่
อันดับ 5 น่าน
รวมพื้นที่ทั้งหมด 7,366,996 ไร่
ที่มา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2555
นาที 14.30 การวิจัยพบว่า 90% ของข้าวโพด นำไปทำเป็นอาหารสัตว์ทั้งนั้นเลย
ไปให้สัตว์ในฟาร์มกิน ทั้งไก่ ทั้งไข่ ก็เลี้ยงไว้ให้พวกคนไทยนั่นหละครับกิน
นาที 14.50 มาดูความคุ้มค่า ความยั่งยืน ถ้าเราเอาข้าวโพด ไปแลกกับผืนป่า
แสดงว่ากำลังเอาอาหารและความมั่นคงของมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ
ไปแลกกับการปลูกข้าวโพดเท่านั้น
นาที 15.44 ผลสำรวจ คนไทยกินไก่ เฉลี่ย 15 กิโลกรัมต่อปี
คิดเป็นไก่ประมาณ 10 ตัว คนไทย 70 ล้านก็กินไก่ประมาณ 700 ล้านตัว
จำเป็นต้องมีอาหารมาป้อนไก่ ใช้ข้าวโพดประมาณ 53% เป็นวัตถุดิบ
ทำให้เราต้องผลิตข้าวโพดถึง 6.2 ล้านตัน ก็ต้องปลูกบนผืนดิน
นาที 16.43 คนไทยกินไก่ ไก่กินข้าวโพด ไปกระทบผืนป่าภาคเหนือ
เรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะเมืองไทย เช่น อเมริกา เขาไปจ้างบราซิลถางป่าอเมซอล
เพื่อปลูกข้าวโพดมาให้วัวอเมริกากิน
นาที 17.31 พูดถึงเพลง “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” ของวงเฉลียง
เค้าว่า กินแฮมเบอเกอร์ 1 ชิ้น สะเทือนถึงผืนป่าอเมซอลในบราซิล
เช่นเดียวกับการกินไส้กรอก 1 ชิ้น สะเทือนถึงผืนป่าจังหวัดน่าน
นาที 18.30 อยากจะกินไก่ กลายเป็นทำร้ายป่า
นาที 30.40 ชาวบ้านยิ่งทำงานหนัก ยิ่งรายได้น้อย ยิ่งขาดทุน ชีวิตลำบากกว่าเดิม
นายทุนที่เอาข้าวโพดไปทำอาหารสัตว์ กลับรวยขึ้น
นาที 35.01 มี 5 พลังร่วมแห่งการทำลาย
1. กลุ่มชาวบ้าน
2. กลุ่มนายทุน/แปรรูป
3. กลุ่มเงินกู้/กองทุนทุกประเภท
4. กระบวนการส่งเสริม/นักส่งเสริมการเกษตร/นักวิจัย
5. นโยบายส่งเสริมจำนำ/ประกันราคา
นาที 38.43 นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย บอกว่า ส่งเสริมให้ปลูกข้าวโพด
แต่ไม่ส่งเสริมให้ทำลายป่า ไม่มีใครทำอย่างนั้น
เราต้องไปแก้ที่การจัดการ มีมูลค่าทั้งระบบอย่างน้อย 1 ล้านล้าน
นาที 40.01 พูดอีกล่ะ คนไทยกินป่าน่านเป็นอาหาร
นาที 40.45 โรงเรียนมีแนวคิดอนุรักษ์ป่าด้วยการทำโครงการ 1 คน 1 ต้น 1 ปี รวมครูด้วย
นาที 41.58 ถ้าอยากได้ป่าตรงที่โล้นคืน ชาวบ้านก็ยอมคืน แล้วคุณต้องมีที่นาคืนให้เขาทำกิน
มีคนยอมร่วมโครงการป่าแลกนา คือได้นา 1 ไร่ แลกพื้นที่ป่า 3 ไร่
ปัญหานี้ไม่ได้เกิดจากใครคนใดคนหนึ่ง เกิดจากทุกภาพส่วน
โดยเฉพาะ “ตัวเรา สามัญชนคนไทย ที่ต้องกินต้องอยู่”
นาที 45.30 เซ็งเป็ด หรือเซ็งไก่ดี จะไปซื้อไก่กิน เราเป็นไอ้ตัวร้ายทำลายป่าเมืองน่าน
เราต้องกิน ต้องใช้ ต้องบริโภค แต่ไม่มีวิธีกินให้ยั่งยืนหรือ ต้องรู้ต้นกำเนิด ไม่กินทิ้งกินขว้าง

ผลการค้นงานประชุมวิชาการระดับชาติในภาคเหนือ

เล่าสู่กันฟัง เรื่องหัวหน้าให้ค้นข้อมูล
ว่ามีงานประชุมวิชาการระดับชาติ ในช่วง พฤษภาคม-กรกฎาคม 2558
เฉพาะเขตภาคเหนือ สายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ผมตรวจสอบจาก
+ http://www.conferenceinthai.com/
+ http://www.grad.mahidol.ac.th/grad/event/conference2558_th.php
+ http://www.conferencealerts.com/country-listing?country=Thailand
+ http://www.google.com
ที่จะรองรับทั้ง M.P.A. และ M.ED. มีเบื้องต้นดังนี้

14 มกราคม 2558
การประชุมสังคมศาสตร์วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11
https://social.crru.ac.th/symposium/

13 กุมภาพันธ์ 2558
งานประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัย มหาวิทยาลัยพายัพ 2015
มีกลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
http://www.payap.ac.th/symposium2015/

20-21 กุมภาพันธ์ 2558 ?
การประชุมวิชาการระดับชาติ “วิทยาการจัดการวิชาการ” 2015
เครือข่ายความร่วมมือคณะวิทยาการจัดการ กลุ่มภาคเหนือ 8 แห่ง
http://www.management.cmru.ac.th/conferences2015/

23 – 24 มีนาคม 2558
การประชุมทางวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย
มีกลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
http://www.rccon2015.org/

23 พฤษภาคม 2557 ?
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาการและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
มีกลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
http://conference.northcm.ac.th/

22-24 กรกฎาคม 2015
การประชุมวิชาการนเรศวรวิจัยครั้งที่ 11 เป็นการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ
มีการศึกษา และสังคม และรัฐประศาสนศาสตร์
http://dra.research.nu.ac.th/nurc11/index.aspx
http://dra.research.nu.ac.th/nurc10/bregist.aspx

17-18 กันยายน 2015
The 1st International Conference on Interdisciplinary Development Research (IDR2015)
http://www.conferencealerts.com/country-listing?country=Thailand

8-9 ธันวาคม 2558 ?
การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
http://www.conference.mju.ac.th/

ผลงานทางวิชาการ 2555

ผลงานทางวิชาการ 2555
ผลงานทางวิชาการ 2555

น้องบดี จากภาคอีสาน ผู้คร่ำหวอดในแวดวงวิชาการ ได้ส่งประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2555 และประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์  (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2555 มาให้อ่าน พอสรุปได้ว่าฉบับที่ 6 ให้นิยมของผลงานทางวิชาการใหม่ ลักษณะคุณภาพ และทิศทางที่กำหนด ส่วนฉบับที่ 7 แก้ไขประเด็นเรื่องที่สภาฯ รับไว้แล้ว และอยู่ในระหว่างดำเนินการให้ใช้เกณฑ์ปี 2550 [เป็น] ใช้ของปี 2555 แทน

+ http://www.mua.go.th/law.html

+ http://www.personnel.psu.ac.th/per10.html
ประกาศฉบับที่ 6 มี 3 ประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. นิยามของความหมายของ ผลงานวิชาการใหม่ ทดแทนปี 2550
(1) ผลงานแต่ง หรือเรียบเรียง ตำรา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด  หรือ
(2) ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.กำหนด ทั้งนี้ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ
(3) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.กำหนด
2. ผลงานในข้อ 1 ต้องมีลักษณะคุณภาพ 3 องค์ประกอบ
(1) ก่อให้เกิดความรู้ใหม่
(2) มีการวิเคราะห์หรือสังเคราะห์
(3) สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หรือมีผลกระทบต่อการพัฒนาชุมชน สังคม หรือประเทศ
3. ผลงานที่ขอตำแหน่งทางวิชาการต้องมีลักษณะหรือทิศทางต่อไปนี้อย่างน้อยหนึ่งข้อ
(1) สอดคล้องกับศักยภาพหรือทรัพยากรของแต่ละพื้นที่ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์และพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ
(2) เพื่อให้รู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลก
(3) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
(4) พัฒนาและส่งเสริมชุมชนหรือสังคมให้มีความเข้มแข็ง
(5) ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงวิชาการ