ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่จริง ๆ นะ ไม่ใช่เกณฑ์ 70%

เคยอ่านเม้นสเตตัสของคุณครูท่านหนึ่งในไต้หล้า
ท่านพบว่า นักเรียน หลายคนเข้าใจผิด
เรื่องเกณฑ์การให้คะแนน 70%
ถ้าถามว่า “มีด้วยเหรอ” ก็คงตอบว่า “มีนะ”

อ่านงานวิจัยของ นางฐานิตา ลอยวิรัตน์ แลเพื่อน ๆ เรื่อง การศึกษาสาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อการพ้นสภาพการเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ม.สงขลา พบว่า ข้อมูล 14 คณะ ที่ ม.สงขลา ระหว่างปีการศึกษา 2554 – 2556 ได้ยื่นคำร้องขอลาออกทั้งหมด 600 คน คณะวิทยาศาสตร์ ยื่นคำร้องมากถึงร้อยละ 27.67 ตามมาด้วยคณะวิทศวกรรมศาสตร์ ร้อยละ 19.50 และนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ยื่นคำร้องมากถึงร้อยละ 73.00 นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ร้อยละ 21.67 โดยไปสถาบันอื่นมี 57.12 และ ไม่ถนัดในสาขาวิชาที่เรียนมีร้อยละ 28.79
http://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/
+ https://www.facebook.com/groups/thaiebook/

เข้าห้อง 70%
เข้าห้อง 70%

นักศึกษาที่ออกจากสถาบัน
มีทั้งย้ายที่เรียน ไม่ถนัด และผลการเรียนไม่ดี แล้วก็ชวนคิดในหลายกรณี ดังนี้

กรณี 1 ถ้าคิดว่าเข้าห้อง 70%
แสดงว่า เข้าเรียนทุกครั้ง เกรดคงเป็น C ลอยมาเห็น ๆ
ส่งงานอีกนิดหน่อย A ลอยมาที่หน้าตัก

กรณี 2 เคยอ่านเม้นของอาจารย์ที่กำแพงแสน
แสดงว่า นักเรียนไม่รู้ว่าทำไม F และไม่เข้าใจว่าทำไม
อาจารย์ไม่บวกคะแนนตนไม่ติด F
https://www.facebook.com/ajarnpiyapong.ku/

มีกรณีอีกมากมายเลยครับ
สงสัยต้อง ชวนคิดด้วยการสวมหมวก 6 ใบ
และมีประเด็นน่าสนใจชวนคิด ดังนี้
1. ครูเคยบอกไหมว่า เกณฑ์เท่าไรได้ A เท่าไรได้ F

2. ครูเคยบอกไหมว่า คะแนนเต็ม 100 จะเก็บอะไรบ้าง

3. ครูเคยบอกไหมว่า คะแนนแต่ละช่องได้เท่าไรกันบ้าง

4. ครูเคยบอกไหมว่า ตั้งใจเรียนนะ ไม่ถึง 50% ได้ F นะ
ครูบางคนเค้าก็คงไม่เคยบอกครับ ฟันธงได้เลย เพราะต้องรู้
บางสถาบัน นักเรียนเค้าถามแต่เกียรตินิยม
เพราะ A คือ ผ่าน B คือ ตกใจล่ะ ตามไม่ทันเพื่อน
https://www.thairath.co.th/content/527289

5. ครูเคยบอกไหมว่า สอบตก แล้วติด P ไม่ต้อง F
แก้ไขจนกว่าจะผ่าน เคยเห็นในหนังเรื่อง Swing girl

https://www.youtube.com/watch?v=0yMCg7Hk8iA

เป็นกลุ่มเด็กที่ตกคณิต ได้เลือกว่าจะเรียน หรือ ดนตรี
เป็นเด็ก หันไปเอาดีทางดนตรี สมองซีกขวาดนตรี
ส่วนครูสอนคณิต กลับสอบตกทางดนตรี สมองซีกซ้ายคณิต
แต่ในระดับที่สูงขึ้น เกณฑ์บอกว่าสอบตก ต้องเรียนใหม่

swing girls ตกคณิต ไปซ้อมดนตรีแทนล่ะกัน
swing girls ตกคณิต ไปซ้อมดนตรีแทนล่ะกัน

https://www.youtube.com/watch?v=QYKY9q_BfY4

 

เกณฑ์ระดับหลักสูตร องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา ให้มหาวิทยาลัยคัดเด็กเข้าเรียน

การคัดเลือกนักศึกษาเข้าศึกษาในหลักสูตร
การคัดเลือกนักศึกษาเข้าศึกษาในหลักสูตร

รู้สึกสกอ. ใช้ยาแรง ที่ว่า “อยากเรียนย่อมได้เรียน” คงเป็นอดีตซะแล้ว
เพราะมีโอกาสอ่านร่างคู่มือการประกันคุณภาพภายใน ระดับอุดมศึกษา
ฉบับปีการศึกษา 2557 ฉบับ 3 ธันวาคม 2557
หน้า 23 of 45 องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา ในบรรทัดที่ 2
ต้องให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษาเข้าศึกษาในหลักสูตร
ซึ่งต้องเป็นระบบที่สามารถคัดเลือกนักศึกษาที่มีคุณสมบัติและความพร้อม
ในการเรียนในหลักสูตรจนสำเร็จการศึกษา

แสดงว่าคนเขียนต้องนึกถึงปัญหาของ กยศ.
ที่เด็กกู้แล้วตกงาน ไม่มีเงินจ่ายคืนกองทุน หรือกู้แล้วเรียนไม่จบแน่เลย
เพราะมหาวิทยาลัยที่คัดเด็กเก่งเข้าเรียน ถ้าเด็กเก่งก็จะไม่สอบตก หรือตกงาน
หากมหาวิทยาลัยใดไม่กรองเด็ก รับหมดก็คงตกประกันคุณภาพ เด็กจบไปก็ตกงาน
หากเด็กสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ ก็คงเบนเข็มไปอาชีวะ เรียนแล้วได้งานแน่

เพราะตลาดขาดแคลน ดูเหมือนทุกคนจะได้ประโยชนนะครับ

เกณฑ์ที่ว่าก็
เหมือนสอบแพทย์ ต้องมีข้อสอบวัดความถนัดทางการแพทย์
เหมือนสอบวิศวะ ต้องมีข้อสอบวัดความถนัดทางวิศวะ
ต่อไปจะสมัครอะไร ก็ต้องมีข้อสอบที่สอดคล้องกับหลักสูตร เป็นต้น


ข่าว กยศ. ปรับเกณฑ์ ปี 58 เกรดเฉลี่ยต้องไม่ต่ำกว่า 2.00 เมื่อเลื่อนชั้นปี ไม่งั้นกู้ต่อไม่ได้
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1409650395

ข่าว บัณฑิตเบี้ยวหนี้เยอะ น่าจะเพราะเกรดไม่ดี หางานดี ๆ ไม่ได้
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1410518204

ผลงานทางวิชาการ 2555

ผลงานทางวิชาการ 2555
ผลงานทางวิชาการ 2555

น้องบดี จากภาคอีสาน ผู้คร่ำหวอดในแวดวงวิชาการ ได้ส่งประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2555 และประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์  (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2555 มาให้อ่าน พอสรุปได้ว่าฉบับที่ 6 ให้นิยมของผลงานทางวิชาการใหม่ ลักษณะคุณภาพ และทิศทางที่กำหนด ส่วนฉบับที่ 7 แก้ไขประเด็นเรื่องที่สภาฯ รับไว้แล้ว และอยู่ในระหว่างดำเนินการให้ใช้เกณฑ์ปี 2550 [เป็น] ใช้ของปี 2555 แทน

+ http://www.mua.go.th/law.html

+ http://www.personnel.psu.ac.th/per10.html
ประกาศฉบับที่ 6 มี 3 ประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. นิยามของความหมายของ ผลงานวิชาการใหม่ ทดแทนปี 2550
(1) ผลงานแต่ง หรือเรียบเรียง ตำรา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด  หรือ
(2) ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.กำหนด ทั้งนี้ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ
(3) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.กำหนด
2. ผลงานในข้อ 1 ต้องมีลักษณะคุณภาพ 3 องค์ประกอบ
(1) ก่อให้เกิดความรู้ใหม่
(2) มีการวิเคราะห์หรือสังเคราะห์
(3) สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หรือมีผลกระทบต่อการพัฒนาชุมชน สังคม หรือประเทศ
3. ผลงานที่ขอตำแหน่งทางวิชาการต้องมีลักษณะหรือทิศทางต่อไปนี้อย่างน้อยหนึ่งข้อ
(1) สอดคล้องกับศักยภาพหรือทรัพยากรของแต่ละพื้นที่ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์และพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ
(2) เพื่อให้รู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลก
(3) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
(4) พัฒนาและส่งเสริมชุมชนหรือสังคมให้มีความเข้มแข็ง
(5) ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงวิชาการ

ตัวอย่างกราฟประเมินวิดีโอ

graph of evaluation
graph of evaluation

เป็นการใช้ MS Excel 2010 กรอกข้อมูล แล้วใช้ฟังก์ชัน sum และ averagea หาค่าผลรวม และค่าเฉลี่ย เปรียบเทียบเกณฑ์ที่ใช้ประเมินจำนวน 5 เกณฑ์ ซึ่งผลของผลรวม กับค่าเฉลี่ยต่างกัน เนื่องจากมีผู้ประเมินคนหนึ่งไม่ประสงค์ จะแสดงความเห็นเรื่องนักแสดง การหาค่าเฉลี่ยจึงใช้ averagea ที่สามารถเลือกเฉพาะค่าที่มีตัวเลขมาหาค่าเฉลี่ย กราฟของรวม และเฉลี่ยจึงมีความหมายต่างกัน

แต่ในเกณฑ์ที่ผมเสนอให้นักศึกษาใช้มี
1. เนื้อหา
2. ตัวละคร
3. ภาพ
4. เสียง
5. เทคนิค
6. ความคิดสร้างสรรค์
7. ความสมบูรณ์ในภาพรวม
เพื่อให้นักศึกษาพึงระวังในระหว่างการจัดทำ ว่ามีประเด็นได้ต้องให้ความสำคัญ และต้องนำไปใส่ใน MS Powerpoint ในการนำเสนอคลิ๊ปวีดีโอ .. กรณีนี้ใช้สำหรับ BCOM 500 มีนักศึกษา 46 คน

ปรับนิยามเกณฑ์การประเมินบุคลากรนิดหน่อย

21 เม.ย.53 มีโอกาสประเมินเพื่อนร่วมงาน (evaluation) โดยฝ่ายทรัพยากรบุคคลส่งแบบประเมิน ที่ใช้คะแนน 5 ระดับ แบ่งคำถามเป็น 3 กลุ่ม 1) เกี่ยวกับงาน 2 ) เกี่ยวกับลักษณะบุคคล 3 ) ด้านอื่น ผมใช้วิธีส่งเกณฑ์ประเมินให้เพื่อนร่วมงานประเมินตนเองแบบปากเปล่า แล้วส่งผลที่ผมประเมินให้เขาพิจารณาก่อนเซ็นให้ความเห็นชอบ พบว่าเพื่อนร่วมงานทุกคนประเมินตนเองต่ำกว่าที่ผมประเมิน .. วิธีนี้ทำให้ทุกคนยอมรับผลประเมินของผมมากกว่าให้เขารับผลประเมินจากผมด้านเดียว
     ซึ่งสรุปได้ว่ามีคำถามทั้งหมด 20 ข้อรวมเต็ม 100 คะแนน ประกอบด้วย 1) ความรู้พื้นฐาน หมายถึง ความรู้ในงานตามหน้าที่อย่างครบถ้วน มีความเข้าใจ และทราบขั้นตอนการปฏิบัติงานลุล่วงสำเร็จตามภารกิจ 2) ความรอบรู้ในภารกิจ หมายถึง ความสามารถในการที่จะทำงานให้สำเร็จ และได้ผลดีที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ 3) การเรียนรู้งาน หมายถึง ความสามารถในการเรียนรู้ที่จะปฏิบัติงานได้ตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง 4) ความตั้งใจ ใส่ใจในการทำงาน หมายถึง การอุทิศตนเอง และทำงานเต็มความสามารถ 5) ความรับผิดชอบ หมายถึง ความใส่ใจในรายละเอียดให้งานบรรลุตามเป้าหมายและกรอบเวลา 6) มีการมาทำงาน สาย หรือขาดงาน ไม่เกิน 10% ของวันทำการ หรือไม่เกิน 3 วัน  7) การเข้าร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัยจะอนุโลมตามหลักการให้คะแนนของข้อ 6 8 ) การประสานงาน หมายถึง ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น สื่อสาร ให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ 9) ความคิดริเริ่ม หมายถึง ความสามารถให้ข้อเสนอแนะ คิดงานใหม่ให้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม 10) ความไว้วางใจ หมายถึง มีความละเอียด รอบคอบ ตั้งใจ ติดตามงา โดยไม่ต้องถูกควบคุมใกล้ชิดตลอดเวลา 11) การใช้ทรัพยากร หมายถึง ประหยัด มีหลักในการใช้จ่าย และใช้อุปกรณ์สำนักงานเสมือนเป็นของตน 12) การวางแผนจัดระบบงาน หมายถึง ความสามารถวางแผน คาดการณ์ กำหนดวัตถุประสงค์ ตัวบ่งชี้ และเป้าหมายได้ชัดเจน 13) การตัดสินใจแก้ปัญหา หมายถึง ความสามารถแก้ปัญหาในหน้าที่ที่รับผิดชอบให้ลุล่วง 14) ทักษะการสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการพูด เขียน หรือสื่อสารได้ถูกต้องชัดเจน 15) ความเป็นผู้นำ หมายถึง ความสามารถและมีทักษะนำหน่วยงานให้ปฏิบัติภารกิจได้สำเร็จ 16) การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา หมายถึง  ความสนใจแนะนำ พัฒนาศักยภาพของเพื่อนร่วมงานอยู่เสมอ 17) การมีมนุษยสัมพันธ์ หมายถึง มีความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงาน มีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น 18) นวัตกรรม หมายถึง ความสามารถประยุกต์หรือพัฒนางานแนวใหม่อย่างมีคุณภาพ 19) คุณภาพของงาน หมายถึง ความถูกต้อง ความประณีต ความเรียบร้อย ของการทำงานทันเวลาตามเป้าหมายที่กำหนด 20) ปริมาณงาน หมายถึง ผลงานที่สามารถจะทำได้สำเร็จตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย หรือในเวลาที่ควรจะต้องทำ

เกณฑ์สำหรับประเมินความพึงพอใจ

เกณฑ์การให้คะแนน และ เกณฑ์ประเมิน

18 ก.พ.53 มีกลุ่มเพื่อนจัดทำโครงการอบรม แล้วใช้แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจโดยใช้ scale 5 ระดับ หรือที่เรียกว่าวัดเจตคติตามเทคนิคของของลิเคิร์ท (Likert technique) หรือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับของลิเคิร์ทสเกล สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ซึ่งมีเกณฑ์กำหนดไว้ 2 แบบคือ เกณฑ์การให้คะแนน และเกณฑ์การประเมิน (โดยนำระดับสูงสุดลบระดับต่ำสุดแล้วหารด้วยจำนวนช่วงที่ตั้งไว้) ซึ่งผลการใช้เกณฑ์ทั้งสองมีตัวอย่างการเขียน (อันที่จริงผมพบปัญหาในตัวอย่างนี้ แต่ไม่ได้แก้ไข .. ท่านมองเห็นหรือไม่ .. ผมเพียงแต่ถามนะครับ) ดังนี้ มีการจัดทำแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละครั้ง โดยใช้คำถามที่แบ่งระดับความพึงพอใจ ๕ ระดับ มีคำถามจำนวน ๘ คำถาม ดังนี้ ๑) ความเข้าใจก่อนเข้ารับการอบรม  ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง (X = ๓.๑๖ , S.D = ๑.๑๗)   ๒) ห้องอบรม ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (X = ๔.๐๔ , S.D = ๐.๖๕) ๓) วิทยากร ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (X = ๔.๒๔ , S.D = ๐.๖๕)  ๔) หัวข้อการบรรยาย  ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (X = ๔.๒๑ , S.D = ๐.๖๐)  ๕) ช่วงเวลาในการจัดกิจกรรม ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (X = ๓.๘๘ , S.D = ๐.๗๗)  ๖) สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์  ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (X = ๔.๓๓, S.D =๐.๖๕)  ๗) ความเข้าใจหลังรับการอบรม ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (X =๔.๓๑, S.D =๐.๖๙) ๘) ภาพรวมของโครงการ ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (X = ๔.๓๓, S.D =๐.๖๑) โดยสรุปผลประเมินทั้งหมดมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (X = ๔.๐๖ , S.D = ๐.๕๒)
+ http://sunee5.multiply.com/journal/item/2 รวมบทความวิจัย
+ http://en.wikipedia.org/wiki/Likert_scale
+ http://tulip.bu.ac.th/~wathna.s/reliability.htm วิเคราะห์ข้อสอบ

ความกว้างของอันตรภาคชั้น = คะแนนสูงสุด – ต่ำสุด หารด้วย จำนวนชั้น
Class Interval (ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์, 2543,หน้า 30)
ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. (2543). สถิติพื้นฐานพร้อมตัวอย่างการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม Minitab SPSS และ SAS. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. (2539). สถิติพื้นฐาน . ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
http://digi.library.tu.ac.th/thesis/sw/2680/13REFERENCES.pdf
http://pru3.pnru.ac.th/offi/graduate/upload-files/pictures/63/H_711_7586.pdf
http://prezi.com/p9x1rkhj_cej/presentation/

ลิเคิร์ทสเกล (Likert Scale) 5 ระดับ โดย เร็นสิส เอ. ลิเคิร์ท (Rensis A. Likert)
Likert, Rensis A. (1961). New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill Book Company Inc.

สมการกำหนดกลุ่มตัวอย่าง
Yamane, Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis.(2 ed.). New York: Harper and Row.