ชีวิตจริงยิ่งกว่าละคร ที่วัดก็เป็นชีวิตจริง ที่ต้องมีคุณภาพ

ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในข่าวแต่อย่างใด
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในข่าวแต่อย่างใด

เดี่ยวนี้การประกันคุณภาพลงไปที่วัดวาอารมแล้ว
คุณภาพของวัด ขึ้นอยู่กับศรัทธา ถ้ามีจำนวนศรัทธามาก เงินบริจาคมาก
ศรัทธามีความเลื่อมใส ในหลายปัจจัย ทั้งวัตถุ ทำเล และตัวบุคคล
แสดงว่าวัดนั้นมีคุณภาพ เกณฑ์การวัดคุณภาพของวัดอาจมีหลายตัวบ่งชี้
เรื่องหนึ่ง ๆ มีอะไรให้เรามองเยอะ
บางคนมองเหตุ บางคนมองผล บางคนมองถูกผิด บางคนมองพระธรรม
แต่เรื่องนี้ผมสนใจที่กระบวนการ

จากข่าวที่
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1435994010
“จึงขอให้เจ้าคณะอำเภอตรวจสอบว่าในอำเภอที่ปกครอง มีวัดไหนบ้างที่มีคนมาทำบุญที่วัดประจำไม่ถึง 50 คน
ถ้าเป็นวัดของเจ้าคณะตำบล ให้เจ้าคณะอำเภอออกคำสั่งตำหนิโทษเป็นเวลา 3 เดือน
และถ้าพระสังฆาธิการที่ถูกตำหนิโทษยังไม่ดำเนินการตามมติของมหาเถรสมาคม (มส.) อีก
ให้เจ้าคณะผู้ปกครองทำเรื่องเพื่อเสนอขอปลดพระสังฆาธิการรูปนั้น
และให้เจ้าคณะจังหวัดออกคำสั่งปลดออกจากตำแหน่ง
ด้วยเหตุขัดมติ มส.และไม่สนองงานคณะสงฆ์จังหวัดฯ ในโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5”

อ่านดู เห็นว่ามีตัวบ่งชี้เดียว คือ จำนวนคนมาทำบุญ
เขียนเป็นซูโดโค้ดได้ว่า

if (จำนวนคนทำบุญ < 50) {

if (วัดของเจ้าคณะตำบล == true)
if (ไม่เคยได้รับหนังสือตำหนิ == true)
do(“ออกหนังสือตำหนิ”)
else
if (ได้รับหนังสือ >= 3เดือน) do(“ทำเรื่องขอปลดจากตำแหน่ง”)

} else {
do(“ผ่านเกณฑ์ ได้คุณภาพ”)
}

แสดงว่าตำแหน่งของพระสงฆ์ในวัด เป็นสิ่งที่พระสงฆ์ต้องพึงรักษาไว้
ด้วยคิดเป็นระบบ เป็นกระบวนการ เป็นขั้นตอน เป็นกลไก
ตั้งแต่การวางแผนปฏิบัติการ (action plan) และแผนกลยุทธ์ (strategic plan)
แล้วดำเนินการตามแผนเพื่อตอบเป้าหมายของแผน (do)
แล้วมีการตรวจสอบว่าดำเนินการครบถ้วนตามแผนหรือไม่ (check)
หากมีประเด็นต้องแก้ไขก็ดำเนินการปรับปรุง (action)

ต่อไปวัดต่าง ๆ คงต้องมีการจัดการความเสี่ยง (Risk management)
เพื่อป้องกันการถูกตำหนิในอนาคต
แล้วควรมีการจัดการความรู้ (Knowledge management)
เพื่อให้ทุกคนเข้าใจแผน ตรงตามเป้าหมาย ดำเนินการได้ครบถ้วนสมบูรณ์
ตามประเด็นที่ตั้งไว้ เป็นการเคเอ็มเพื่อต่อยอดการพัฒนวัด

ตำแหน่งดาวน์โหลดเอกสาร [ร่าง] คู่มือประกันคุณภาพ สกอ. และสมศ. 2557

คู่มือประกันคุณภาพ สกอ. และสมศ. 2557″]ตำแหน่งดาวน์โหลดเอกสาร [ร่าง] คู่มือประกันคุณภาพ สกอ. และสมศ. 2557

ปีการศึกษา 2557 มีการจัดทำร่างเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษา
ทั้งของ สกอ. และ สมศ. และในการประชุมเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2557
ผู้ใหญ่ให้แขวนเอกสารฉบับร่างคู่มือประกันคุณภาพการศึกษา
ทั้งภายใน และภายนอกรวม 2 เล่ม ในเว็บไซต์
เพื่อให้ทุกท่านเข้าถึงได้โดยสะดวก

จึงนำคู่มือทั้ง 2 เล่มในแบบ pdf
แขวนไว้ที่ http://www.nation.ac.th/handbooks
เพื่อสามารถ download มาใช้อ้างอิงในการทำงานต่อไป

ตำแหน่งดาวน์โหลดปรากฎตามภาพ หรือดาวน์โหลดโดยตรงผ่านลิงค์
https://www.facebook.com/download/815582165118469/iqa_57.pdf
และ
https://www.facebook.com/download/469687779800252/onesqa_57.pdf
หากทาง สกอ. และสมศ. ปรับเอกสารรุ่นใหม่ ก็จะนำเข้าเว็บเพจและทับแฟ้มเดิมนี้ต่อไป

ข้อมูลเกี่ยวกับการประกันคุณภาพฯ ระดับอุดมศึกษา ปี 2557
http://www.thaiall.com/iqa

คุณภาพ ไม่ใช่การพูดให้ฟัง แต่เป็นการทำให้ดู

คุณภาพ ไม่ใช่การพูดให้ฟัง แต่เป็นการทำให้ดู
คุณภาพ ไม่ใช่การพูดให้ฟัง แต่เป็นการทำให้ดู

ตอนหนึ่งในบทความเรื่อง “พลาดอย่างมีเครดิต”

คุณภาพไม่ได้มาจากสิ่งที่คนนั้นบอกว่าเขาเป็น
แต่อยู่ที่การประพฤติปฏิบัติให้ผู้คนได้เห็นอยู่เป็นประจำ
ถ้าทำงานผิดซ้ำซาก แต่พร่ำบอกว่าได้ทำดีที่สุดแล้ว
แต่เป็นเหตุสุดวิสัยบ้าง เป็นความบกพร่องของคอมพิวเตอร์บ้าง
คนจะพากันบอกว่าทำงานด้อยคุณภาพ
แต่อยากให้คนเชื่อว่างานของฉันมีคุณภาพ

แต่ในความเป็นจริงแล้ว
ไม่มีใครที่ทำงานทุกงานได้คุณภาพ
ทำงานโดยปราศจากความผิดพลาด
ไม่มีปุถุชนคนใดที่ถูกต้องโดยตลอด

ประเด็น คือ
ทำไมบางคนผิดพลาดแล้วคนเชื่อว่าสุดวิสัย
ทำไมบางคนผิดพลาดนิดเดียว
ผู้คนก็ว่าทำงานด้อยคุณภาพเสียแล้ว

(1/3)
จากเรื่อง “พลาดอย่างมีเครดิต” โดย ดร.บวร
http://bit.ly/WtjtXG

ผลงานทางวิชาการ 2555

ผลงานทางวิชาการ 2555
ผลงานทางวิชาการ 2555

น้องบดี จากภาคอีสาน ผู้คร่ำหวอดในแวดวงวิชาการ ได้ส่งประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2555 และประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์  (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2555 มาให้อ่าน พอสรุปได้ว่าฉบับที่ 6 ให้นิยมของผลงานทางวิชาการใหม่ ลักษณะคุณภาพ และทิศทางที่กำหนด ส่วนฉบับที่ 7 แก้ไขประเด็นเรื่องที่สภาฯ รับไว้แล้ว และอยู่ในระหว่างดำเนินการให้ใช้เกณฑ์ปี 2550 [เป็น] ใช้ของปี 2555 แทน

+ http://www.mua.go.th/law.html

+ http://www.personnel.psu.ac.th/per10.html
ประกาศฉบับที่ 6 มี 3 ประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. นิยามของความหมายของ ผลงานวิชาการใหม่ ทดแทนปี 2550
(1) ผลงานแต่ง หรือเรียบเรียง ตำรา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด  หรือ
(2) ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.กำหนด ทั้งนี้ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ
(3) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.กำหนด
2. ผลงานในข้อ 1 ต้องมีลักษณะคุณภาพ 3 องค์ประกอบ
(1) ก่อให้เกิดความรู้ใหม่
(2) มีการวิเคราะห์หรือสังเคราะห์
(3) สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หรือมีผลกระทบต่อการพัฒนาชุมชน สังคม หรือประเทศ
3. ผลงานที่ขอตำแหน่งทางวิชาการต้องมีลักษณะหรือทิศทางต่อไปนี้อย่างน้อยหนึ่งข้อ
(1) สอดคล้องกับศักยภาพหรือทรัพยากรของแต่ละพื้นที่ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์และพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ
(2) เพื่อให้รู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลก
(3) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
(4) พัฒนาและส่งเสริมชุมชนหรือสังคมให้มีความเข้มแข็ง
(5) ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงวิชาการ

วงจรในการจัดกระบวนการประเมินคุณภาพภายใน

คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2554-2556
คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2554-2556

วงจรในการจัดกระบวนการประเมินคุณภาพภายใน
จากหัวข้อแนวทางการจัดกระบวนการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน
หน้า 201
ของ คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2554-2556
(Quality Assurance Manual 2554-2556)

1. สถาบันวางแผนการประเมินคุณภาพประจำปีการศึกษาใหม่ โดยประกาศตัวบ่งชี้ก่อนเริ่มต้นปีการศึกษาใหม่ และแจกคู่มือการจัดทำ SAR (กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงตัวบ่งชี้ วิธีการ และกำหนดการประเมินคุณภาพภายในประจำปี)
2. สถาบันเก็บข้อมูลระยะ 12 เดือนตามตัวบ่งชี้ที่ได้ประกาศใช้บนระบบ CHEQA Online (มีทีมงานให้คำปรึกษากับบุคลากร และหรือหน่วยงานและหรือภาควิชาในการเก็บข้อมูล พร้อมทั้งพิจารณาปรับปรุงการดำเนินงานตามความเหมาะสม)
3. สาขาวิชา ศูนย์นอกที่ตั้ง จัดทำ SAR และเตรียมการประเมินระดับคณะวิชา และศูนย์นอกที่ตั้ง
4. ประเมินระดับคณะวิชา และศูนย์นอกที่ตั้ง
5. คณะวิชาและศูนย์นอกที่ตั้ง นำผลการประเมินมาจัดทำ SAR บนระบบ CHEQA Online และเตรียมการประเมินระดับสถาบัน และแต่งตั้งกรรมการประเมินระดับสถาบัน
6. ประเมินระดับคณะวิชา และศูนย์นอกที่ตั้งบนระบบ CHEQA Online
7. สถาบันนำผลการประเมินระดับคณะวิชา และศูนย์นอกที่ตั้งมาจัดทำ SAR บนระบบ CHEQA Online และเตรียมการประเมินระดับสถาบัน และแต่งตั้งกรรมการประเมินระดับสถาบัน
8. ประเมินระดับสถาบันบนระบบ CHEQA Online และนำผลการประเมินเสนอสภาสถาบันเพื่อพิจารณาวางแผนพัฒนาสถาบันในปีการศึกษาถัดไป
9. ผู้บริหารของสถาบันอุดมศึกษานำผลการประเมินและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน (รวมทั้งข้อเสนอแนะของสภาสถาบัน) มาวางแผนปรับปรุงการดำเนิน หรือปรับแผนกลยุทธ์/แผนปฏิบัติการประจำปีและเสนอตั้งงบประมาณปีถัดไป หรือจัดทำโครงการพัฒนาและเสนอใช้งบประมาณกลางปี
10. ส่งรายงานประจำปีที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายใน (ประกอบด้วย SAR และผลการประเมินคุณภาพภายในระดับคณะวิชา ศูนย์นอกที่ตั้ง และระดับสถาบัน) ให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาผ่านระบบ CHEQA Online และหน่วยงานต้นสังกัด (ภายใน 120 วันนับจากสิ้นปีการศึกษา)

http://www.mua.go.th/users/bhes/bhes2/QA%20MUA_54/ManualQA_MUA_February2554.pdf

http://www.cheqa.mua.go.th/

คุณวุฒิ คุณภาพ คุณธรรม

คุณวุฒิ  คุณภาพ  คุณธรรม : คำทั้ง ๓ คำนี้   เชื่อว่าผู้อ่านคงคุ้นเคยอยู่      และคงเป็นคำที่ทุก ๆ คนปรารถนาจะให้เกิดขึ้นกับตัวเอง   และกับบุคคลข้างเคียง    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง   อยากจะให้เกิดกับคนในองค์กรเดียวกัน   ตั้งแต่ระดับหัวหน้าสูงสุดลงไปเลย  ก็เพราะอานุภาพของความหมายของคำทั้งสามคำนั่นเอง

บทความโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภิเษก  จันทร์เอี่ยม

“คุณวุฒิ” เป็นสิ่งที่คนในแวดวงวิชาการอย่างพวกเราจะแสวงหามาใส่ตัวเสมอ     หากมีมาก ๆ จนเป็นที่เชื่อถือได้   ก็จะได้รับการยกย่องหรือขนานนามให้ว่า  เป็น   “ผู้ทรงคุณวุฒิ”

สิ่งที่เรียกว่า  “คุณวุฒิ” นั้นได้มาจากไหน      หนทางหนึ่งได้มาจากการเป็นผู้ที่ร่ำเรียนในหลักสูตร สาขาวิชาใดวิชาหนึ่งจนถึงขั้นสูงหรือสูงสุดเท่าที่จะมีให้เรียน       เมื่อได้รับ “คุณวุฒิ” ทางการศึกษามา      ก็จะกลายเป็นผู้รอบรู้      เชี่ยวชาญในศาสตร์สาขานั้น  ๆ          อีกทางหนึ่งก็ได้จากการที่บุคคลผู้นั้นได้พยายามคิดสร้างผลงานทางวิชาการจนเป็นที่เชื่อถือได้ว่า             ผลงานนั้นสมควรได้รับการยอมรับ  ได้รับเกียรติ   ได้รับการยกย่องจากผู้ทรงคุณวุฒิกว่านั้น      จึงทำให้ได้รับอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น   อันเป็นผลมาจากการทุ่มเทกำลังกาย  กำลังปัญญา     เพื่อให้ตนเองมีความรู้  มีความเชี่ยวชาญ  ในศาสตร์แขนงนั้น ๆ เช่นกัน

การที่บุคคลมีคุณวุฒิหรือได้รับคุณวุฒิสูงขึ้น    นั่นหมายถึงบุคคลคนนั้นจะสามารถคิด  อ่าน   กระทำการใด ๆ  ได้หลากหลาย  ซับซ้อนมากกว่าคนอื่น    บุคคลรอบข้างก็จะคาดหวังผลงานของผู้ทรงคุณวุฒิไว้ในระดับสูงทีเดียว

ความเป็น “ผู้ทรงคุณวุฒิ”   จึงทำให้บุคคลนั้นกลายเป็นคนที่  จะคิด  จะพูด  จะกระทำการใด ๆ ก็ตาม    ผู้อื่นย่อมหมายเอาว่า  สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นไม่ว่าจะเป็นถ้อยคำวาจา   หรือพฤติกรรม    ย่อมเป็นสิ่งที่เชื่อถือได้   เพราะได้กลั่นกรองมาจากสติปัญญาของผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าว

ดังนั้น   เมื่อบุคคลใดมีคุณวุฒิ     หรือได้รับคุณวุฒิสูงขึ้น           ย่อมต้องพึงระมัดระวังพฤติกรรมที่แสดงออกทั้ง  การคิด  การพูด  การกระทำต้องให้สมกับความเป็นผู้มีคุณวุฒิหรือที่เรียกกันว่า “ผู้ทรงคุณวุฒิ”นั่นเอง

“คุณภาพ” เป็นคำที่เราจะได้ยินได้ฟังบ่อยที่สุดในยุคปัจจุบัน   เพราะเป็นยุคที่โหยหาสิ่งที่เรียกว่า “คุณภาพ”  ในทุก ๆ วงการ         โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการศึกษา   ทั้งในเชิงคุณภาพของบุคลากรในวงการศึกษา    และคุณภาพของการศึกษา    รวมถึงคุณภาพของสถานศึกษาด้วย   จะเห็นว่า  ในปัจจุบันนี้มีองค์กรที่ทำหน้าที่รับประกันคุณภาพหรือรับรองคุณภาพการศึกษาอยู่มากมาย

แท้จริงแล้ว  การประกันคุณภาพหรือการรับรองคุณภาพนั้นเป็นตัวแปรผล    ซึ่งไม่ควรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก    สิ่งที่เราควรใส่ใจให้มากคือตัวแปรเหตุ   ที่จะนำมาซึ่ง   “คุณภาพ” ของสิ่งที่เราต้องการ    นั่นคือ  “การจัดการคุณภาพ”             เพราะหากไม่จัดการให้คุณภาพเกิดขึ้นเสียก่อน    ก็ป่วยการที่จะประกันหรือรับรองคุณภาพ   เพราะคงหาคุณภาพไม่พบ

ดังนั้น   ก่อนดำเนินการเรื่องใด ๆ   ที่หวังว่าจะทำได้อย่างมีคุณภาพ        จึงควรกำหนดวิธีการจัดการงานนั้นให้แสดงถึงความมีคุณภาพก่อน    แล้วกำกับให้งานดำเนินไปตามแผนที่วางไว้  นั่นคือ    ต้องมีการกำหนดเกณฑ์ (criteria)  และมาตรฐาน (standard)   ของงานหรือการดำเนินงานนั้น ๆ ก่อน     อาจจะต้องมีการกำหนดการเทียบเคียงสมรรถนะ  (benchmark) กับผู้อื่น  หรือองค์กรอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกันด้วย            เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพของตนเองให้ใกล้เคียงกับหน่วยงานอื่น ๆ    ในระหว่างการปฏิบัติงาน   บุคลากรที่เกี่ยวข้องต้องคำนึงถึงหลักแห่งคุณภาพเสมอ   และหมั่นตรวจวัดคุณภาพด้วยเครื่องมือต่าง ๆ  ที่เตรียมไว้     และต้องมีการปรับปรุงคุณภาพของการทำงานเป็นระยะ ๆ ตามแผนที่กำหนดด้วย

หากกระทำดั่งนี้แล้ว   เมื่อมีการประกันคุณภาพ  หรือการรับรองคุณภาพ   ไม่ว่าจะด้วยวิธีการของหน่วยงานใด ๆ ก็ตาม    ย่อมประกันหรือรับรองคุณภาพได้อย่างไม่ยากแน่ ๆ

ในด้านคุณภาพของตัวบุคคลก็เช่นเดียวกัน   ควรคำนึงถึงหลักแห่งคุณภาพด้วยเช่นกัน    และสิ่งสำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ  การคำนึงถึงคุณภาพเฉพาะตัวบุคคล      และคุณภาพในการปฏิบัติงานของบุคคลนั้นด้วย    โดยจะมีการกำหนดเกณฑ์  มาตรฐาน   การเทียบเคียงสมรรถนะ        ตลอดจนเครื่องมือวัดคุณภาพต่างกันออกไป

อย่างไรก็ตาม   คำว่า “คุณภาพ”   จะยังคงเป็นคำสำคัญที่ทุก ๆคน  ทุก ๆ องค์กร  หวังจะให้เกิดขึ้นกับตนเอง    และก็หวังว่า  คนอื่น ๆ และองค์กรอื่น ๆ  ก็คำนึงถึงเรื่องนี้เช่นกัน


“คุณธรรม”
เป็นอีกคำหนึ่งที่จะยังคงเรียกร้องและโหยหาเพื่อให้มีอยู่ในตัวคนทุกคน  ทั้งนี้    เพราะเชื่อว่า  “คุณธรรม”  จะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวให้บุคคล   ไม่คิด   ไม่พูด    ไม่แสดงออกในทางที่ไม่พึงประสงค์     เพราะจะนำมาซึ่งความเดือดร้อนทั้งแก่ตัวบุคคลนั้น  และบุคคลข้างเคียงหรือคนในสังคมโดยทั่วไป    ความสงบสุขในสังคมก็จะพลอยสูญเสียไปด้วย

ทั้งนี้เพราะ “คุณธรรม”   หมายถึง ธรรมชาติฝ่ายที่เป็นคุณ          หรือที่เรียกว่า “กุศลธรรม”  ตรงกันข้ามกับ  “อกุศลธรรม”   ซึ่งเป็นธรรมชาติฝ่ายเป็นโทษ     ธรรมชาติทั้งสองส่วนนี้มีอยู่ทั้งในตัวคน  และรอบ ๆ ตัวคน    ถ้าบุคคลใดประพฤติปฏิบัติในส่วนที่เป็น “กุศลธรรม”  ก็จะสร้างสันติสุขให้กับตนเองและคนข้างเคียงได้              และถ้าทุก ๆ คนในสังคมยึดมั่นอยู่ในความมี “คุณธรรม”   สังคมนั้นก็จะมีแต่สันติสุข        เพราะ “คุณธรรม”  จะเป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งไม่ให้คนประพฤติชั่ว   หรือกระทำในสิ่งที่จะนำความเสียหายหรือเดือดร้อนมาสู่ตนเองหรือสังคมรอบข้าง

ธรรมชาติฝ่ายเป็นคุณ  หรือ “คุณธรรม”  ที่พึงประสงค์มีมากมายหลายเรื่องตั้งแต่สิ่งที่เป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตและการอยู่ร่วมกันในสังคม     เช่น  ความขยัน  ความซื่อสัตย์  ความมีเมตตา  กรุณา  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  ความเห็นใจผู้อื่น  ความเสียสละ  ความมานะอดทน   เป็นต้น      หากทุกคนในสังคม  หรือในองค์กรให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว     และประพฤติปฏิบัติ “คุณธรรม”ก็เชื่อว่า   บุคคล   องค์กร  และสังคมจะมีสันติสุขยิ่งขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในทุก ๆ วันนี้

แต่ทั้งนี้   การประพฤติปฏิบัติอย่างมี “คุณธรรม”  นั้น      ไม่มีกฎหมาย  หรือข้อบังคับใด ๆ ที่จะเอาผิดกับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามแนวทางของคุณธรรมได้        จึงเป็นสิ่งที่บุคคลต้องอาศัยความกล้าหาญที่จะประพฤติปฏิบัติคุณธรรมด้วยความสมัครใจ              และกล้าหาญที่จะละเว้นสิ่งที่เป็น “อกุศลธรรม”  แม้ว่าบางครั้งสิ่งเหล่านั้นจะเอื้อประโยชน์ให้ตนมากกว่าก็ตาม          ดังนั้น  เมื่อพูดถึง “คุณธรรม”  แล้ว  จึงมักตามด้วย  “จริยธรรม” เสมอ        เพราะ “จริยะ”  คือการกระทำ  หรือการปฏิบัติ  ในสิ่งที่  เป็น “ธรรม”  นั่นเอง

การปฏิบัติสิ่งที่เป็น “จริยธรรม”    ก็อาศัยความกล้าหาญด้วยเช่นกัน       คือกล้าที่จะประพฤติปฏิบัติ “จริยธรรม”    แม้ไม่มีบทบัญญัติโทษไว้ชัดเจนก็ตาม    แม้จะไม่ได้ผลประโยชน์ตามมาก็ตาม    หากสิ่งนั้นพึงเป็นสิ่งกระทำ  หรือเป็นสิ่งพึงเว้นกระทำ   ก็กล้าที่จะลงมือทำหรือละเว้นการกระทำ   เพื่อให้เกิดสันติสุขขึ้น           ความมี “คุณธรรม” และ “จริยธรรม”  จึงมักจะไปด้วยกันเสมอ

หากในตัวบุคคลใด    มี “คุณ”  ทั้งสามประการนี้   คือ     “คุณวุฒิ      คุณภาพ      และ คุณธรรม”   ย่อมเชื่อได้ว่า   บุคคลนั้นเป็นผู้ทรงอานุภาพแห่งความดี   ความงาม  ที่พร้อมจะบันดาลให้ตนเองประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตและประกอบกิจการงานต่าง ๆ ได้อย่างดี   และสร้างสันติสุข   คือ  “สุขตน”  และ “สุขท่าน”  ได้อย่างสมศักดิ์ศรีของความเป็นคนโดยแท้จริง        และหากองค์กรใด   มีบุคลากรที่เพียบพร้อมด้วย “คุณ”  ทั้งสามประการนี้   องค์กรนั้นก็ย่อมมั่นคงและรุ่งเรือง   เป็นองค์กรที่มีแต่ “สันติสุข”  เช่นกัน

บทความโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.  ภิเษก  จันทร์เอี่ยม
http://www.watjrb.net/index.php?mo=3&art=350276

http://www.kasettak.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=75&Itemid=56

อัตลักษณ์ + เอกลักษณ์

อัตลักษณ์ มาจาก อัต+ลักษณ์ หมายถึง ลักษณะเฉพาะ คำว่า อัตลักษณ์ (อ่านว่า อัด-ตะ-ลัก) ประกอบด้วยคำว่า อัต (อัด-ตะ) ซึ่งหมายถึง ตน หรือ ตัวเอง กับ ลักษณ์ ซึ่งหมายถึง สมบัติเฉพาะตัว.   คำว่า อัตลักษณ์ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า identity (อ่านว่า ไอ-เด็น-ติ-ตี้) หมายถึง ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จักหรือจำได้ เช่น นักร้องกลุ่มนี้มีอัตลักษณ์ทางด้านเสียงที่เด่นมาก ใครได้ยินก็จำได้ทันที สังคมแต่ละสังคมมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนเอง โลกาภิวัตน์ทำให้อัตลักษณ์ของสังคมไทยเปลี่ยนไป

อัตลักษณ์ คือ ลักษณะเฉพาะที่เป็นตัวตนของสถานศึกษา ที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ในการจัดตั้งสถานศึกษา  หรือลักษณะโดดเด่นของสถานศึกษา ควรเน้นที่การกำหนดภาพความสำเร็จในตัวผู้เรียน

ขั้นตอนการกำหนดอัตลักษณ์ ควร วิเคราะห์สภาพแวดล้อม ความเป็นมาของสถานศึกษา และเจตนารมณ์ในการจัดตั้งสถานศึกษา  แล้วกำหนดอัตลักษณ์ที่ผู้สำเร็จการศึกษาจะต้องมีก่อนสำเร็จการศึกษา ที่ผ่านการประชาพิจารณ์ร่วมกันระหว่างผู้เกี่ยวข้อง โดยมีกิจกรรมการส่งเสริม พัฒนา และประเมินอย่างเป็นระบบ

เหตุที่ต้องกำหนดอัตลักษณ์ เพราะ หากสถานศึกษาไม่ตระหนักในเรื่องความเป็นเลิศเฉพาะทางของเยาวชนที่สำเร็จการศึกษาจากสถานศึกษา ก็จะทำให้ความโดดเด่นของเยาวชนสูญหายไป

อัตลักษณ์ (Identity) หมายถึง ผลผลิตของผู้เรียนตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด

เอกลักษณ์ (Uniqueness) หมายถึง ความสำเร็จตามจุดเน้นและจุดเด่นที่สะท้อนให้เห็นเป็นลักษณะโดดเด่นเป็นหนึ่งของสถานศึกษา

ตัวอย่างอัตลักษณ์
– โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย อาจเป็น  “มีภาวะผู้นำและสุภาพบุรุษ”
– โรงเรียนสตรีวิทยา อาจเป็น “ยอดนารี สตรีวิทยา”
– โรงเรียนในลำปาง อาจเป็น “มีจิตสำนึกรักลำปาง รักษ์สิ่งแวดล้อม”
– โรงเรียนในเครือเบญจมะฯ อาจเป็น “ประชาธิไตย เคารพในสิทธิความเป็นมนุษย์”
– โรงเรียนในเครือจุฬาภรฯ อาจเป็น “บุคลิกนักวิทยาศาสตร์”

– โรงเรียนบุญวาทย์ เป็น “รักการทำดี วิชาการมาตรฐานสากล สร้างคนป็นผู้นำ”
– บัณฑิตมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็น “มีความคิดสร้างสรรค์ มีจิตวิญญาณผู้ประกอบการ มีความเป็นสากล”
– บัณฑิตมหาวิทยาลัยมหิดล เป็น  มุ่งผลเพื่อผู้อื่น (ALTRUISM)
* มหาวิทยาลัยมหิดล เป็น Health Science and Social Well-Being (ความผาสุข)
* เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็น สภาพแวดล้อมการจัดการศึกษาที่สร้างสรรค์

เรียบเรียงจากบทความของ ดร.สุพักตร์ พิบูลย์
http://drsuphakedqa.blogspot.com/2010/07/07.html
http://www.gotoknow.org/blog/cityedu/422459
http://qa.bu.ac.th/buqa/index.php/kmqa/60-identity

ติดตั้ง Cheqa3 ทับ Cheqa2

cheqa version 3
cheqa version 3

15 มิ.ย.54 ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาทุกแห่งต้องใช้งานเว็บไซต์ CHEQA เพื่อส่งข้อมูลการประกันคุณภาพการศึกษา ให้กับ สกอ. และระบบ Cheqa ที่พัฒนาขึ้นโดยมหาวิทยาลัยนเรศวร ในปีการศึกษา 2550 – 2552 มีระบบ Cheqa รุ่น 2 ที่เปิดให้มหาวิทยาลัย Download ไปติดตั้ง และใช้งานในมหาวิทยาลัย เพื่อความง่ายในการบริหารจัดการ
ในปีการศึกษา 2553 มี Cheqa รุ่น 3 ที่ต้องนำมาใช้งานตามเกณฑ์ที่ออกมาใหม่ ในกรณีนี้ผมใช้วิธีการติดตั้งทับลงไปใน Cheqa รุ่น 2 เพราะไม่มีข้อมูลเดิมอยู่ โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1) ติดตั้ง .net 4.0 2) กู้คืนฐานข้อมูล Database เข้า SQL Server 3) ติดตั้ง Script ลงไปใน Web Server
เมื่อติดตั้งเสร็จก็ทดสอบ พบปัญหาดังนี้ 1) Error เพราะ Default Server ไม่ได้เปลี่ยนจาก .net จาก 2.0 เป็น 4.0 2) not found เพราะไม่ได้ start web service : .net 4.0 ใน IIS 3) การลงทะเบียนกับ mua.go.th เพื่อรับ web.config กำหนด DB เป็น .\sqlexpress เพื่อให้ทำงานกับ local server
http://www.cheqa.mua.go.th

ตัวชี้วัดกับผลงานการปฏิบัติงาน

18 มี.ค.54 ในการทำข้อตกลงภาระงาน หรือรายงานการปฏิบัติงาน มีช่อง “ผลงานที่เป็นที่ประจักษ์” ซึ่งมีช่องย่อย 2 ช่องที่มักถูกนำมาพูดคุย คือ ตัวชี้วัด และผลงาน ผู้ปฏิบัติงานมักสอบถามว่าจะใส่อะไร  ก็มีตัวอย่างจากการประกันคุณภาพการศึกษาว่า ตัวชี้วัดนั้นต้องนับได้ ส่วนผลงานก็คือผลที่ทำได้ ซึ่งเป็นค่าที่นับได้เช่นกัน
ตัวอย่าง
1. สอนหนังสือ ตัวชี้วัด 3 วิชา ผลงาน 3 วิชา
2. รับนักศึกษา ตัวชี้วัด 20 คน ผลงาน 19 คน
3. โครงการสะเปาบก ตัวชี้วัด 3 ชั่วโมง ผลงาน 5 ชั่วโมง
4. อบรมอบต.บ้านดง ตัวชี้วัด 3000 บาท ผลงาน 2500 บาท
5. จัดทำเอกสารประกอบการสอน ตัวชี้วัด 2 วิชา ผลงาน 1 วิชา
6. ส่งเอกสารให้ผู้ปกครอง ตัวชี้วัด ร้อยละ 100 ผลงาน ร้อยละ 90
7. รับโทรศัพท์ ตัวชี้วัด วันละ 8 ชม. ผลงาน วันละ 8 ชม.
8. ผลประเมินคุณภาพระดับสาขา ตัวชี้วัด 3.51 ผลงาน 3.52
9. ผลประเมินความพึงพอใจระบบฐานข้อมูล ตัวชี้วัด 4.21 ผลงาน 4.30
10. การบริการวิชาการแก่ชุมชน ตัวชี้วัด 2 ครั้ง ผลงาน 3 ครั้ง

ข่าวเผยแพร่จาก สมศ.

ข่าวสมศ
ข่าวสมศ

12 มี.ค.54 สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือสมศ. มีข่าวเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง ติดตามได้จาก http://www.onesqa.or.th มี pdf ให้ download จากหน้าแรกเลยครับ
ข้อมูล 12 มี.ค.54 พบแฟ้มข่าวถึง 363 รายการ .. เยอะมาก แต่ link url ยาวไปหน่อยครับ คัดลอกมาวางใน blog คงไม่สะดวก
อาทิ
+ สมศ.สงสัยรร.ตกประเมินไม่สนใจขอรับประเมินซ้ำ
+ สมศ.ตั้งเกณฑ์ใหม่ประเมินมหา’ลัย
+ สมศ.ย้ำเกณฑ์ประเมินอุดมศึกษา
+ ห่วงการศึกษาไทยรั้งท้ายสากล นายกฯเร่งพัฒนาทักษะการการอ่าน วิทย์ คณิต
+ คุณภาพคุณ สมศ.: มายาภาพ อุปสรรคสำคัญในการเข้าถึงคุณภาพ
+ ประกาศเรื่อง รายชื่อสถานศึกษาได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม 2554
+ ประเมินรอบ3สมศ.เน้นอัตลักษณ์

สกอ.แฉข้อมูลศูนย์นอกที่ตั้งไร้คุณภาพ
รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัย เป็นครั้งแรก โดยตรวจศูนย์จัดการศึกษานอกที่ตั้งในกรุงเทพฯ  4 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยคริสเตียน และมหาวิทยาลัยนครพนม  ซึ่งพบว่าภาพรวมการจัดการศึกษายังไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่ สกอ.กำหนดหลายเรื่อง อาทิ ห้องสมุดไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นที่ศึกษาหาความรู้  เครื่องคอมพิวเตอร์มีไม่เพียงพอ อาจารย์ที่สอนจบไม่ตรงวุฒิการศึกษา  และอาจารย์ที่ปรึกษามีไม่เพียงพอที่จะให้คำปรึกษาแก่นิสิต นักศึกษา เป็นต้น

รศ.นพ.กำจร ตติยกวี กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ยังพบว่า บางหลักสูตรที่เปิดสอนได้ทำการปิดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยที่ตั้ง หรือ มหาวิทยาลัยแม่ไปแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นการจัดการศึกษาที่ไม่เป็นไปตามประกาศเรื่องการจัดการศึกษานอก สถานที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ พ.ศ. 2552 ที่กำหนดไว้ว่าหลักสูตรที่เปิดสอนต้องมีการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยที่ตั้ง ด้วย อย่างไรก็ตามจากการสอบถามนิสิต นักศึกษา กลับพบว่า มีความพึงพอใจที่มหาวิทยาลัยเปิดสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต และหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตมาก เพราะทำให้ได้เรียนในสาขาที่ต้องการ ขณะที่บางคนพอใจในสถานที่ เพราะสะดวกในการเดินทางมาเรียน  ทำเลดี และสถานที่บางแห่งหรูหรา

“ผมขอย้ำว่าการออกตรวจเยี่ยมครั้งนี้ ไม่ใช่ออกไปจับผิดมหาวิทยาลัย หรือ ถ้าพบว่ามหาวิทยาลัยดำเนินการไม่มีมาตรฐานแล้ว สกอ.จะสั่งปิดทันที แต่ต้องการไปดูข้อเท็จจริง พร้อมถ่ายรูปสถานที่ไว้เป็นหลักฐาน และมีข้อเสนอแนะ เพื่อให้มหาวิทยาลัยไปปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรฐานการจัดการศึกษา ขณะเดียวกันในสัปดาห์นี้  สกอ.จะนำข้อมูลที่ได้จากการตรวจเยี่ยมพร้อมรูปถ่าย เผยแพร่ทางเว็บไซต์ของ สกอ. เพื่อเป็นข้อมูลให้สาธารณชนได้รับทราบ โดยเฉพาะผู้ที่กำลังจะไปศึกษาจะได้มีข้อมูลจริงก่อนตัดสินใจว่า จะไปเรียนมหาวิทยาลัยนี้หรือไม่และถ้ามหาวิทยาลัยใดมีการปรับปรุงตามที่ สกอ.แนะนำไปแล้ว สกอ.ก็จะเปลี่ยนข้อมูลให้” รศ.นพ.กำจร กล่าว.

http://qa.swu.ac.th/LinkClick.aspx?fileticket=Az%2F%2B6ELofYU%3D&tabid=3291&mid=12140
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=42&contentID=125533