สร้างเว็บไซต์ด้วยเวิร์ดเพรสในสิบนาที

พบบทความในบล็อก
ของ เอเชียเสิร์ชโซลูชั่น
ดิจิทัล มาเก็ตติ้ง เอเจนซี่
เรื่อง วิธีสร้างเว็บง่าย ๆ
ด้วยตนเอง ด้วยเวิร์ดเพรส
10 นาทีก็มีเว็บไซต์ได้
.
อ่านแล้ว
ทำให้นึกถึงการทำเว็บไซต์ในอดีต
ที่มีขั้นตอนมากมาย
แต่อ่านบทความนี้แล้ว
สามารถมีเว็บไซต์ระดับเทพ
ได้ในเวลาอันสั้น
.
สมัยก่อน
จำได้ว่า ผมเคยมอบหมายงาน
ให้นิสิตเขียนเว็บเพจ ทำเว็บไซต์
ตามโฮสติ้งที่ให้บริการฟรี
และ เวิร์ดเพรสเป็นเว็บไซต์
ที่จัดได้ว่า ได้รับความนิยมสูงสุด
.
ขั้นตอนการมีเว็บไซต์ด้วยตนเอง
ที่พบบน เอเชียเสิร์ชโซลูชั่น มี 9 ขั้นตอน
.
1. ลงทะเบียนและจดโดเมนเนม
2. เลือกผู้ให้บริการโฮสติ้ง
3. จัดการหน้าเว็บไซต์
4. ติดตั้งธีม หรือ ชุดโค้ดเวิร์ดเพรส
5. ติดตั้งปลั๊กอินที่ชอบ
6. กำหนดรายละเอียดการตั้งค่า
7. สร้างเพจ ให้กับเว็บไซต์
8. ตั้งค่าเมนู
9. เขียนบล็อกเนื้อหา
.
สรุปว่า
ไปหาอ่านรายละเอียด
ในบทความจากผู้เผยแพร่ได้
และหากติดขัดประการใด
ทาง เอเชียเสิร์ชโซลูชั่น เค้าก็พร้อม
ช่วยเหลือ และให้คำปรึกษาอย่างเต็มที่
ขอเอาใจช่วยทุกท่านครับ

https://vt.tiktok.com/ZSFaTKL2N/

สร้างเว็บไซต์
ด้วยเวิร์ดเพรส
ในสิบนาที
#tiktokuni
#wordpress
#howto
#website
#blog
#asiasearch
#digitalmarketing

https://asiasearch.co.th/how-to-create-a-website/:)

ภาษาอาร์สำหรับวิเคราะห์ข้อมูล


เรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพ
ในระบบสาธารณสุขไทย
โดยใช้โปรแกรมอาร์

https://www.thaiall.com/r/

https://medipe2.psu.ac.th/2019/content?id=30


พบว่าคู่มือที่เผยแพร่นี้
จัดพิมพ์โดย
สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
.
มีเนื้อหาละเอียด และอธิบายไว้ดีมาก
ในเรื่องการใช้โปรแกรมอาร์
เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพ
ซึ่งเป็นข้อมูลทางสถิติ
.
ในเล่มอีบุ๊ค ที่เปิดให้อ่าน
นอกจากเนื้อหาแล้ว
ยังมีแบบฝึกหัด.ให้ฝึกออกคำสั่ง
และมีแฟ้มตัวอย่างให้.ดาวน์โหลด
ซึ่งแฟ้มข้อมูลตัวอย่างมีหลายแฟ้ม
ทุกแฟ้มอยู่ในรูปของ
ข้อความแบบ C.S.V.
หรือ Comma. Separated. Values.
.
ภาษานี้น่าสนใจอย่างมาก
เพราะผลการสอบถาม เอ.ไอ. ว่า
โปรดแนะนำเครื่องมือ
สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
ที่ได้รับความนิยม
แล้ว เอ.ไอ.
ก็ให้คำแนะนำโปรแกรมนี้
ว่าเป็นหนึ่ง
ในหลายเครื่องมือที่น่าสนใจ
.
นอกจากนี้
เมื่อทดสอบแฟ้มข้อมูลตัวอย่าง
จำนวน 400 รายการที่จำลองขึ้นมา
บนโปรแกรมอาร์
.
เมื่อทดสอบประมวลผลแล้ว
พบว่า สามารถวิเคราะห์ข้อมูล
ได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
.
เช่น
ค่าเลือกคอลัมภ์ ค่าสรุป การนับ
หรือ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย เป็นต้น

https://vt.tiktok.com/ZSFDcfWgc/

ภาษาอาร์สำหรับวิเคราะห์ข้อมูล
#computing
#statistics
#data
#analysis
#psu
#language
#programming

ถามหาสูตรคำนวณจำนวนกลุ่มตัวอย่าง จากเอไอ

การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม
ในสายสังคมศาสตร์
แล้วกำหนดขอบเขตประชากรไว้กว้าง
เช่น ผู้คนทั้งอำเภอ ทั้งจังหวัด ทั้งประเทศ
การเก็บข้อมูลให้ได้ครบทุกคน
ก็จะเป็นเรื่องยาก เปลืองงบประมาณ
และไม่จำเป็น
เนื่องจากใช้กลุ่มตัวอย่างแทนได้
.
จึงมีนักวิชาการเสนอว่า
เก็บข้อมูลเฉพาะกลุ่มตัวอย่างก็ได้
ไม่ต้องเก็บเท่าจำนวนประชากร
เพราะประชากรมีเยอะมาก
พบว่า มีสูตรคำนวณของหลายท่าน
ที่นิยมนำมาอ้างอิงในวิธีการวิจัย
.
เช่น สูตรคำนวณจำนวนกลุ่มตัวอย่าง
ที่ Krejcie and Morgan
เสนอไว้ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1970
ที่สามารถกำหนดข้อมูลเพิ่มในสูตร
ประกอบการคำนวณได้หลายค่า
.
ทั้งขนาดประชากร
ระดับความคลาดเคลื่อน
ของการสุ่มตัวอย่างที่ยอมรับได้
ระดับความเป็นอิสระ
ระดับความเชื่อมั่น
หรือ สัดส่วนของลักษณะที่สนใจ
ในประชากร
.
การคิดสูตรที่ยากแบบนี้ได้
ก็ต้องชื่นชมผู้คิดค้น และเขียนอ้างอิงไว้
เอไอที่เก่ง ย่อมตอบคำถามได้ดี
เมื่อเราขอให้ช่วยเขียนสูตร
อาจมีหลายคำตอบ ก็ต้องเลือกที่เราชอบ
.
เมื่อได้สูตรมาแล้ว
ก็แทนค่าลงไปในสูตรให้ครบ
เริ่มจากกำหนดจำนวนประชากร
ให้เป็นไปตามขอบเขตที่เราสนใจ
หรือ ส่งให้ เอไอ ช่วยคำนวณก็ได้
หรือ ทำทั้งสองทาง
แล้วเปรียบเทียบความเหมือนความต่าง
เพื่อยืนยันความถูกต้องในตอนท้ายสุด
.
ปัจจุบัน มีเอไอให้เลือกใช้อยู่หลายค่าย
ชอบค่ายไหนก็ใช้ค่ายนั้น
หรือใช้ทุกค่ายไปเลย
เพราะบางเรื่องอาจต้องขอ
ความคิดเห็นจากเอไอ
แล้วนำมารวบรวม เรียบเรียงใหม่
ปรับให้เหมาะสมที่สุดกับงานของเรา

https://vt.tiktok.com/ZSFSqMPN8/

https://www.thaiall.com/spss/sam400.htm

#formula
#sampling
#research
#procedure
#knowledgemanagement
#learning
#school
#artificialintelligence

การเรียกใช้คลาสในภาษาจาวา

ภาษาจาวา ถูกจัดเป็นภาษาเริ่มต้น
สำหรับเรียนรู้การเขียนโปรแกรม
โดยเฉพาะการโปรแกรมเชิงวัตถุ
Object oriented programming
.
นอกจากนี้ยังนิยมใช้เป็นเครื่องมือ
ในหลายแพลตฟอร์ม
ทั้งอุปกรณ์เคลื่อนที่ เว็บไซต์
และแอปพลิเคชันอย่างแพร่หลาย
.
สำหรับการโปรแกรมเชิงวัตถุ
ก็ออกแบบมาให้รองรับเทคนิคพื้นฐาน
และยังถูกพัฒนาให้มีโครงสร้าง
ที่เป็นมาตรฐาน ปรับใ้ช้ได้อย่างยืดหยุ่น
.
ช่วงนี้ได้ปรับบทเรียนออนไลน์
จึงเลือกโค้ดที่เกี่ยวกับ
การเรียกใช้ class และ method มาแบ่งปัน
ให้เห็นถึงการเรียกใช้คลาสและซับคลาส
.
จากตัวอย่างจะมี 3 คลาส
แต่ละคลาสมี method
โดยคลาสหลักมี method ชื่อ main
และแสดงผลผ่าน System.out
ปรากฎ output บน console
.
นำโค้ดไปทดสอบ
บน Online java compiler
จะทำให้เห็นการทำงานของ
constructor, super, และ this ได้
ลองเปรียบเทียบผลลัพธ์กับโค้ดกันได้
.
สรุปว่า ท่านใดที่ยังวนเวียน
อยู่ในยุคจาวา ยังสนใจเรื่องนี้อยู่
ลองนำโค้ดไปทดลอง หรือปรับปรุงได้ครับ
สามารถสืบค้นคำว่า
รหัสต้นฉบับเพื่อการศึกษา ก็ได้

j0404

https://fb.watch/qaxiS4cWN-/?mibextid=2JQ9oc

#javalanguage
#computerlanguage
#programming
#coding
#method
#algorithm

เข้ารหัสตัวอักษรในอดีต

ในอดีตคนไทยที่เขียนเว็บเพจ
จะใช้ charset เป็น tis-620
หรือ windows-874 หรือ iso-8859-11
ส่วนแฟ้มเว็บเพจ
มีการเข้ารหัสแบบ ansi
คือ 1 ตัวอักษร = 1 ไบท์

ปัจจุบันการเข้ารหัสตัวอักษร
จะใช้ utf-8 ซึ่งรองรับได้เกือบทุกภาษา
และเครื่องมือต่าง ๆ ก็ใช้ utf-8
แต่ตัวอักษรที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ
จะใช้พื้นที่ในการเขียนเว็บเพจ
หรือการเก็บข้อมูลมากกว่า 1 byte
เช่น ก จะใช้พื้นที่ 3 byte
เปลี่ยนจาก A1 ฐาน 16 ในตาราง ascii
เป็น E0B881 ฐาน 16 ใน UTF-8

เว็บเพจเดิม
ใช้ windows-874 และเข้ารหัสแบบ ansi
แต่เครื่องบริการกำหนด default
ให้ charset เป็น utf-8
ทำให้ต้องกลับไปแก้ไขเว็บเพจทั้งหมด
เนื่องจากพัฒนาเว็บเพจเป็นแบบ static
ทำให้ต้องตามกลับไปแก้ไขทุกแฟ้ม

ถ้าระบบใดพัฒนาเป็นแบบ dynamic
มีการแยก header ให้ include เข้าไป
ก็จะแก้ไขได้โดยง่าย

ซึ่งข้อดีข้อเสียของ
ทั้ง dynamic และ static ก็ต่างกันไป
เช่นเดียวกับระบบรวมศูนย์
และกระจายศูนย์ ที่อยู่ระบบใด
ก็จะเห็นข้อดีของระบบอื่น
และต้องการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

https://thaiall.com/fonts/[:])
Font
ปรับปรุง charset

การเตรียมแฟ้มข้อสอบนั้นมี 9 ขั้นตอน

ก่อนหน้านี้ได้พัฒนาระบบข้อสอบแบบออนไลน์ และเตรียมโค้ดสำหรับเผยแพร่ พร้อมกับอธิบายผ่าน comment ในโค้ด และเผยแพร่เป็นรุ่น 2.0 บน github ตามลิงก์ ซึ่งพบว่าการใช้งานโค้ดในโรงเรียน คุณครูจำเป็นต้องมีแฟ้มข้อสอบของตนเองบนเครื่องบริการ เพื่อให้ถูกเรียกใช้ได้ตรงตามเนื้อหาและแผนการสอน เช่น สอนวิชาภาษาอังกฤษก็จะมีข้อสอบเรื่องกริยา สอนวิชาภาษาไทยก็จะมีข้อสอบเรื่องคำที่มักเขียนผิด เป็นต้น ดังนั้น จึงได้เขียนแนะนำขั้นตอนการเตรียมแฟ้มข้อสอบไว้ ดังนี้

การเตรียมแฟ้มข้อสอบนั้นมี 9 ขั้นตอน สำหรับ แบบทดสอบเตรียมสู่อุดมศึกษา
https://github.com/thaiall/code/blob/main/test3.php
มีดังนี้

1. นำแฟ้มข้อสอบตัวอย่าง ไปเปิดบนโปรแกรม Excel ซึ่งง่ายที่สุดสำหรับการใช้เครื่องมือพื้นฐาน
แล้วเลือก Get External Data: From Text และเลือกประเภทแฟ้มเป็น All Files (.)
2. ข้อสอบ ตัวเลือก และเฉลยแต่ละข้อจะอยู่รวมกันใน 1 บรรทัด ซึ่งแยกด้วย Delimited: Tab
แฟ้มข้อสอบโดยปกติมีการ Encoding แบบ UTF-8 ถ้าอ่านไม่ออกให้เปลี่ยนเป็นแบบ 874 : Thai (Windows)
3. ผลการใช้ Delimited จะทำให้แต่ละคอลัม แยกออกจากกันชัดเจน
สามารถตรวจสอบผลการแบ่งคอลัมในส่วนของ Data preview ได้
4. ผลการนำเข้าแฟ้มข้อสอบตัวอย่าง ลงในโปรแกรม Excel สำเร็จด้วยดี
ต่อจากนี้คือการป้อนข้อสอบชุดใหม่ ทั้งคำถาม เฉลย และตัวเลือกจนแล้วเสร็จ
5. บันทึกแฟ้มข้อสอบด้วย Save as และเปลี่ยนชื่อแฟ้ม และ Extension เป็น .php
แล้วกดปุ่ม Save ซึ่งชื่อแฟ้ม และการเปลี่ยน Extension สามารถทำได้บน Explorer
6. เปิดแฟ้มข้อสอบที่บันทึกแล้ว ด้วยการกด Right click บนชื่อแฟ้มใน Explorer
ในเบื้องต้นสามารถเปิดด้วย Notepad เพื่อสำรวจว่ามีข้อสอบชุดที่ได้ปรับปรุงแล้ว
7. ถ้าแฟ้มข้อสอบมีรหัสตัดบรรทัด คือ 13 และ 10 ก็จะเห็นข้อสอบเรียงข้ออ่านง่าย
แต่ถ้าแฟ้มข้อสอบมีรหัสตัดบรรทัด คือ 10 ก็จะเห็นข้อมูลทั้งหมดอยู่ในบรรทัดเดียวบน notepad
ซึ่งโปรแกรม test3.php สามารถนำแฟ้มข้อสอบมาใช้ได้ทั้ง 2 กรณี
8. ถ้าแฟ้มข้อสอบมีรูปแบบที่ถูกต้อง มีชื่อแฟ้ม และ extension ตามที่กำหนด
และเมื่อทดสอบบนเครื่องบริการร่วมกับ test3.php ก็จะปรากฎตัวเลือกมาให้ฝึกทำ
9. เมื่อได้ทำข้อสอบแล้วเสร็จ ระบบจะเก็บผลสอบจำนวน 100 รายการล่าสุด
และสามารถเปลี่ยน URL จาก top=10 เป็น top=100 เพื่อขยายรายการแสดงผลได้
ระบบนี้ผู้สอบทุกคนสามารถเปิดรายงานได้ ดังนั้นการนำไปใช้ในระบบปิดจะปลอดภัยกว่า

โค้ดชุดนี้ถูกใช้งานที่ http://www.thainame.net/quiz/test3.php

ไดชาร์จเสีย ตายกลางสี่แยกแต่ผมรอด

อาการไดชาร์จของรถยนต์ไฟฟ้าเสีย
คือ ระบบควบคุมพวงมาลัยหยุดทำงาน
ไฟเตือนแจ้งสว่างหลายดวง เลี่ยวตามปกติไม่ได้ ไฟแบตเตอรี่ กับไฟเอบีเอสก็สว่าง ขณะมีอาการพารถเดินหน้า แต่เลี้ยวได้ยากมาก และพาไปรถไปจอดในจุดที่ปลอดภัยได้

เมื่อหยุดรถเข้าในที่ปลอดภัยแล้ว จะสตาร์ทในทันทีไม่ได้ เช็คน้ำและน้ำมันก็พบว่า อยู่ในระดับที่ไม่ขาด การสั่งสตาร์ทมีเสียงดังเหมือนไดชาร์จเสียในรถรุ่นเก่า กรณีของผมพักเครื่องสักครู่แล้วจะสตาร์ทติดขึ้นมาได้ (ซึ่งรถเก่าที่ผมเคยใช้จะสตาร์ทไม่ได้เลยหากมีอาการแบบนี้ ก็จะเป็นที่ไดสตาร์ท) หากโชคดีสตาร์ทติด แล้วขับต่อไปไม่เกิน 100 เมตร พบว่า มีอาการไฟพวงมาลัยติด ๆ ดับ ๆ คุมพวงมาลัยได้บ้าง ฝืดบ้าง อันตรายอย่างมาก

ไปถึงอู่ซ่อมรถในเช้าวันเสาร์ อู่เปิดเวลา  8.00น. นอนรอสักพัก ช่างก็ออกมาเปิดร้าน พอเล่าอาการปุ๊ป ช่างก็บอกว่าเป็นที่ไดชาร์จต้องหามาเปลี่ยน ตรงกับที่ค้นจากเน็ตมาเลย จึงฝากรถไว้ให้ช่างช่วยซ่อมให้หน่อย แล้วผมก็เดิกลับบ้าน ในใจคิดว่าเสียตังอีกล่ะ แต่โชคดีล่ะที่เสียในเวลา และสถานที่ที่สามารถจัดการรถได้ง่าย

– ของแท้ค้นจากเน็ต ทั้งลูก ราคา 11,500 บาท

– ของเชียงกงเชียงใหม่ (รับประกัน) อะไหล่บวกค่าแรง ราคา 2,800 บาท

ไดสตาร์ท หรือมอเตอร์สตาร์ท (Starter Motor) คือ ตัวเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล ซึ่งทำงานด้วยไฟฟ้ากระแสตรงแรงดันต่ำ เชื่อมต่อแบตเตอรี่และสวิตช์กุญแจ มีหน้าที่ฉุดเครื่องยนต์ให้ทำงาน หรือมีหน้าที่สตาร์ทเครื่องยนต์ ดังนั้นเมื่อสตาร์ทติดก็จะหมดหน้าที่ของไดสตาร์ท

ส่วนไดชาร์จ หรือเครื่องปั่นไฟ หรืออัลเทอร์เนเตอร์ (Alternator) คือ อุปกรณ์ผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อไปเลี้ยงระบบในรถยนต์  จะส่งไฟฟ้าไปเก็บในแบตเตอรี่ ซึ่งเป็นแหล่งเก็บไฟฟ้าสำรอง เพื่อใช้ในการสตาร์ทเครื่องยนต์ 

รถเสีย น่ะซ่อมได้
แต่คนเสีย บางทีก็ซ่อมไม่ได้
ป้องกันรถเสีย ด้วยการบำรุงรักษา
คนก็เช่นกัน อยู่ด้วยความไม่ประมาท

@thaiall

ทำให้นึกถึงเพื่อน
ที่เค้าซ่อมเก่งอยู่คนหนึ่ง
เราคุยกันเรื่อง
“น็อตใช้ถูกที่ถูกเวลาตัวละแสน”
เค้ามักมาเล่าประสบการณ์ในกลุ่มไลน์
เรื่องการซ่อมอยู่เสมอ

https://www.thaiall.com/blog/admin/10140/

บรรยากาศ ยามเช้า บนถนนในอำเถอ

PDPA ebook โดย อ.เธียรชัย ณ นคร ใน PDPAthailand.com

PDPA Thailand (Personal Data Protection Act) ได้รับอนุญาตจาก อ.เธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการ คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในการเผยแพร่เอกสาร “หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลในองค์กรภาคเอกชน” สืบเนื่องในโอกาสที่อาจารย์มาบรรยายให้กับวิทยากรและที่ปรึกษาของบริษัท Digital Business Consult ตลอดจนผู้เข้าอบรมหลักสูตร Train the Trainer รุ่นที่ 1-4 ของสถาบันพัฒนาและทดสอบทักษะดิจิทัล DDTI เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2565 ณ สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และได้ส่งมอบเอกสารฉบับนี้ไว้

PDPA Guideline สำหรับองค์กรภาคเอกชน โดย เธียรชัย ณ นคร ครอบคลุมบทสรุปของหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นสากล นำเสนอให้องค์กรได้นำไปพิจารณาและปรับใข้ตามความเหมาะสมสอดคล้องกับบริบทในการประกอบธุรกิจ โดยอ้างอิงถึงบทบัญญัติใน พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ประกอบ เชื่อว่าเอกสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกองค์กร (ไม่เพียงเฉพาะภาคเอกชน) ที่เริ่มต้นหรือกำลังดำเนินการตาม PDPA กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทยที่ “ทุกองค์กรต้องทำตาม” หากมีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลอื่นแม้เพียงเล็กน้อย

http://www.thaiall.com/pdpa/index.html

e-book 31 หน้า : [Full] PDPA Guideline for Private Sector การบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลในองค์กรภาคเอกชน โดย อ.เธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการ คณะกรรมการข้อมูลส่วนบุคคล

การสร้างแบบสอบออนไลน์

15 ขั้นตอน การสร้างแบบสอบออนไลน์อัตนัยเขียนมือ มีคำถามข้อเดียว แล้วให้ upload file
ตัวอย่างนี้เป็นแบบสอบจำนวน 3 ข้อ คือ test100-01 และ test100-02 และ test100-03

  1. เริ่มต้นด้วยการ login เข้าบัญชี gmail.com ซึ่งผู้สร้างข้อสอบ และผู้ทำข้อสอบ ต่างต้องมีบัญชีประจำตัวของตนเอง
  2. เริ่มด้วย ผู้สร้างแบบสอบ เข้าไปที่ google form, คลิ๊ก blank form, เปลี่ยน untitled form เป็น “test100-01” ซึ่งชื่อนี้มีผลต่อชื่อ folder ที่ใช้จัดเก็บแฟ้มข้อสอบใน google drive สามารถเปลี่ยนชื่อได้ตลอดเวลา แม้จะมีผู้ทำข้อสอบไปแล้วก็ไม่ได้รับผลกระทบ เพราะระบบจะเปลี่ยนชื่อ folder ให้ทันทีที่เปลี่ยนชื่อคำถาม หรือชื่อฟอร์ม
  3. แบบสอบชุดนี้ วางแผนให้เป็นแบบ 1 form สำหรับ 1 คำถาม และตอบคำถามด้วยการอัพโหลดภาพเอกสาร ดังนั้นใต้ title form จึงเลือกที่จะพิมพ์โจทย์ยาวที่ละเอียด เช่น “1. จงบอกเล่าถึง วิชาที่ชอบเรียน และให้เหตุผลประกอบ มาพอเข้าใจ ซึ่งไม่ควรต่ำกว่า 3 บรรทัด และตั้งชื่อแฟ้มให้สอดคล้องกับรหัสนิสิต ชื่อวิชา และคำถาม เช่น 64xxx-test100-01.jpg”
  4. พบคำถาม (First default question) ที่มี radio box มารอนั้น ได้เปลี่ยนเป็น File upload แล้วมีคำถามว่า Let respondants upload files to drive ขึ้นมา ให้คลิ๊กตอบว่า Continue
  5. คำถามนั้น กำหนดสั้น ๆ ว่า “คำถามที่ 1” เพราะชื่อคำถามจะถูกใช้เป็นชื่อ sub folder ภายใต้ folder ชื่อ “test100-01”
  6. คลิ๊กตัวเลือกเปิด option : Allow only specific file types แล้วคลิ๊ก Image เพื่อรับเฉพาะแฟ้มภาพที่ผู้ตอบคำถามต้องส่ง ถ้าจะให้รับได้หลายภาพก็เลือก Maximum numbers of files เป็น 2 หรือมากกว่า
  7. ผลงานภาพที่ผ่านการ crop และแต่งให้คมชัดแล้ว ไม่ควรมีขนาดเกิน 10 MB ซึ่งเป็นค่า default หากลดลงมาจะมี 1 MB ให้เลือก
  8. เลือกเปิด Required เพราะต้องการบังคับอัพโหลดแฟ้มก่อน จึงจะกดปุ่ม submit ได้
  9. ชวนมองกล่อง View folder ขณะสร้างคำถามรับการอัพโหลด เพื่อใช้ดูรายการแฟ้มที่ผู้ตอบส่งเข้ามา พบว่า ขณะสร้างนี้ ในห้องนั้นจะว่างเปล่า เปิดเข้าห้อง “คำถามที่ 1 (File responses)” จะไม่พบอะไร
  10. คลิ๊ก settings ที่เป็นสัญลักษณ์ฟันเฟืองที่มุมบนขวา ในแท็บ General ให้คลิ๊ก collect emails กรณีใช้บัญชีองค์กรให้ยกเลิกการเลือก Restrict to users in [your company] and its trusted organizations เพื่อเปิดให้ผู้ใช้บัญชีบุคคลของ @gmail.com สามารถทำแบบฟอร์มได้
  11. พบตัวเลือก Maximum size of all files uploaded: 1GB ซึ่งหมายความว่าผู้ตอบแบบสอบถามอัพโหลดแฟ้มเข้ามาในแบบสอบแฟ้มนี้ รวมกันแล้วต้องมีขนาดไม่เกิน 1GB (เลือกขยายได้ถึง 1TB) เช่น มีสมาชิก 1000 คน ก็ส่งแฟ้มได้ไม่เกินคนละ 1 MB หรือมีสมาชิก 100 คน ก็ส่งแฟ้มได้ไม่เกินคนละ 10 MB เป็นต้น
  12. ในแท็บ Presentation ไม่ได้คลิ๊ก Show progress bar หรือ Suffle question order เนื่องจากสร้างคำถามเพียงข้อเดียว ต่อหนึ่งแบบฟอร์ม แล้วให้ uncheck : Show link to submit another response เพราะไม่จำเป็นต้องทำแบบฟอร์มอีกครั้งหลัง submit ไปแล้ว
  13. คลิ๊ก Send แล้วเลือก Shorten URL ของคำถามที่ 1 เพื่อนำลิงค์ไปส่งให้กลุ่มเป้าหมาย 72AX7TaKp735o6rm9 (ส่งซ้ำได้ เพราะไม่ได้ lock ครั้งเดียว)
  14. ในแบบฟอร์ม คลิ๊ก 3 จุด มีตัวเลือก Make a copy เมื่อได้แล้วก็เปลี่ยนชื่อแฟ้ม และคำถามใหม่ มีปุ่มให้เลือก restore ก็คลิ๊กทุกครั้ง เพื่อสร้าง folder สำหรับคำถามใหม่ ตัวอย่างคำถาม “2. จงบอกเล่าถึง หนังสือที่ชอบอ่าน และให้เหตุผลประกอบ มาพอเข้าใจ ซึ่งไม่ควรต่ำกว่า 3 บรรทัด และตั้งชื่อแฟ้มให้สอดคล้องกับรหัสนิสิต ชื่อวิชา และคำถาม เช่น 64xxx-test100-02.jpg” จากนั้นก็แชร์และรับลิงค์ คือ v13xs3yzjVEcUhHx8 หรือคำถามที่ 3 ที่ NNUN85pckVbXMMCc8
  15. ผู้ออกข้อสอบสามารถแชร์โฟลเดอร์ที่เก็บคำตอบ ของผู้ตอบที่ส่งแฟ้มภาพผ่าน google form จากคำถามที่ 1 แบบ anyone เพื่อใช้ตรวจสอบอีกทางหนึ่งว่ามีแฟ้มเข้ามาอย่างไร แล้ว preview ได้ หรือจะเข้าไปที่ response ของ form ซึ่งตรวจสอบได้สะดวกเช่นกัน drive.google.com/drive/folders
หน้าตาของ google drive ฝั่ง ผู้สร้างแบบสอบ และผู้ตอบแบบสอบ

https://www.thaiall.com/google/form.htm

heroku login เพื่อ push ผ่าน command line

การใช้งาน heroku.com บน command line นั้น เริ่มต้นจากการสมัครสมาชิกบน heroku.com ให้เรียบร้อย ก็จะมี user และ password เป็นของตนเอง แต่เมื่อต้องการใช้งานโปรแกรม heroku บน command line ต้อง download
โปรแกรม https://devcenter.heroku.com/articles/heroku-cli

หากต้องการใช้งาน เช่น ใช้คำสั่งแสดงรายการแอปพลิเคชันของเรา ด้วยคำสั่ง heroku apps ต้องเริ่มต้นด้วยคำสั่ง heroku login ซึ่งมีรายละเอียดการรักษาความปลอดภัยแบบ Two-factor authentication พบว่า ต้องมีการ Verify บัญชีผู้ใช้ และต้องเลือก method ในการยืนยันตัวตน
พบว่า มี 3 ปุ่มปรากฎขึ้นมาให้เลือก 1) Salesforce Authenticator 2) One-Time Password Generator 3) Security Key โดยวิธีที่สาม จะเกี่ยวข้องกับการใช้ usb drive ที่น่าสนใจลดลงสำหรับการใช้งานในปัจจุบันที่บางอุปกรณ์ไม่มีช่อง usb แล้ว จึงเลือก 2 วิธีแรก และการใช้งาน ต้องไปดาวน์โหลด app จาก Google play store ชื่อ Salesforce Authenticator ไปติดตั้งบน mobile device เพื่อให้พร้อมสำหรับการยืนยันตัวตน

ขั้นตอนการยืนยันตัวตน มีดังนี้ 1) บน PC : ติดตั้งโปรแกรม แล้วตรวจสอบรุ่นด้วย heroku -v แล้วสั่ง heroku login พบว่าจะมีการเปิด browser ให้ยืนยันตัวตน ซึ่งมี 3 method ให้เลือกดำเนิน ซึ่งผมเลือก 2 method แรก 2) บน PC : คลิ๊ก One-Time Password Generator จะพบกับ QR code มาให้ถูก scan ผ่าน application เฉพาะ จึงไม่สามารถ scan ด้วยโปรแกรมใด ๆ แล้วนำ code ไปเปิดบน browser เพราะไม่ใช่ web link 3) บน Mobile : ติดตั้ง Application ชื่อ Salesforce Authenticator บน Smart phone เปิดขึ้นมา แล้วเลือก เพิ่มบัญชี และสแกน QR code ที่พบบน PC จนผ่าน แล้วจะพบตัวเลข 6 หลัก สำหรับนำไปกรอกบน PC และจะเปลี่ยนเร็วมาก โปรดจดจำ แล้วไปกรอกในเวลาที่กำหนด 4) บน PC : คลิ๊ก Salesforce Authenticator พบช่องให้กรอกโค้ด ถ้ากรอกเลข 6 หลักในเวลาที่กำหนดแล้ว คลิ๊กปุ่ม Enable Two-factor Authentication 5) บน PC : ถ้ายืนยันตัวตนผ่าน ในหน้า Command line จะพบรายงานว่ายืนยันผ่านเรียบร้อย แล้วปรากฎรหัสผู้ใช้ขึ้นมา จากนั้นสามารถใช้ คำสั่ง heroku auth:whoami ตรวจสอบได้ว่าฉันคือใคร คำสั่ง heroku apps แสดงรายการแอปที่เคยสร้างไว้ คำสั่ง heroku apps:info react640909 แสดงรายละเอียดของแอปพลิเคชัน

http://www.thaiall.com/heroku/

http://www.thaiall.com/react/