คำสั่งตรวจข้อมูลบุคคลอ่านแฟ้มชนิด csv

พบการสุ่มข้อมูล
มาสร้างชุดข้อมูลตัวอย่าง
ที่รวบรวมขึ้น เพื่อฝึกปฏิบัติ
จัดเก็บ
บนแฟ้มชนิด csv
.
ในเอกสารการวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพ
ในระบบสาธารณสุขไทย
โดยใช้โปรแกรมอาร์
พบว่า หน้า 55 เป็นต้นไป
อธิบายเรื่อง การตรวจสอบข้อมูล
.
เอกสารนี้จัดพิมพ์โดย
สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
.
มีคำสั่งที่น่าสนใจ
ซึ่งตัวแปลภาษาสร้างไว้ให้ใช้
มีตัวอย่างการใช้งานกับแฟ้มบุคคล
ในหัวข้อนี้มี 5 คำสั่ง ประกอบด้วย
1. คำสั่ง read.csv
ใช้อ่านแฟ้มข้อมูล ลงใน กรอบข้อมูล
.
2. คำสั่ง head
ใช้แสดงหกแถวแรกของชุดข้อมูล
.
3. คำสั่ง tail
ใช้แสดงหกแถวสุดท้ายของชุดข้อมูล
.
4. คำสั่ง names
ใช้แสดงชื่อตัวแปรของชุดข้อมูล
.
5. คำสั่ง str
ใช้แสดงรายละเอียดของชุดข้อมูล
.
ซึ่งชุดข้อมูลตัวอย่าง
เกี่ยวกับบุคคลที่ใช้บริการโรงพยาบาล
มีข้อมูล 33 ตัวแปร
เช่น รหัสโรงพยาบาล
เพศ วัน เดือน ปีเกิด สัญชาติ
.
เมื่อทดสอบคำสั่งในภาษาอาร์
บนเครื่องคอมพิวเตอร์
ที่ติดตั้งตัวแปลภาษาแล้ว
พบว่า แสดงผลได้ตามปกติ
เช่นเดียวกับที่พบบนคู่มือ
.
สรุปว่า ชวนอ่านหนังสือกันครับ

https://vt.tiktok.com/ZSFUb8CAw/

คำสั่งตรวจข้อมูลบุคคล
อ่านแฟ้ม ด้วยโปรแกรมอาร์
#function
#computing
#psu
#language
#bigdata

ชวนฟัง อ.kirk เล่าประวัติ เคยอยู่วิทยาลัยโยนก ในงาน Some one หนึ่งในหลาย

For A.Kirk at YONOK College (Nation University)

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 มีโอกาสเข้า กลุ่มไลน์เพื่อนโยนก พบว่า เพื่อน ๆ พูดคุยแลกเปลี่ยนกันเสมอ มีเรื่องน่าสนใจมากมาย เช่น เพื่อนบิวแชร์คลิปเมื่อหกปีก่อน ที่ อ. Kirk R. Person,Ph D. พูดเรื่อง MLE ที่ประเทศอินเดีย ส่วนเพื่อนภูเบศร์ ชวนฟัง TEDTalk ของ อ. Kirk ที่พูดในงานประชุมวิชาการวิชาการ หรืองานเปิดตัวสารคดี พบคลิปที่แชร์ผ่านเฟซบุ๊กเป็นเวลาหลายชั่วโมงถ่ายทอด Live จากแฟนเพจ “สารคดี Some one หนึ่งในหลาย” ของ มหาวิทยาลัยมหิดล

MLE = Multilingual Education

ในตอนต้นรายการ ได้ฟัง อ.Kirk เล่าประวัติ ตั้งแต่วัยเด็ก เติบโต มาพบรักที่วิทยาลัยโยนก ไปทำงานบนดอย จนแต่งงาน มีลูกที่น่ารักหลายคน มีลูกสาวได้ร้องเพลงในงานกีฬาสีที่กรุงเทพ ท่านศึกษาเรื่องภาษา พบว่า ประเทศไทยมีมากกว่า 70 ภาษา และในโลกเรามีมากถึง 7151 ภาษา และมีมากถึง 193 ประเทศในสหประชาชาติ ย้ำให้เห็นว่าประเทศไทย หรือคนไทย เราไม่ได้มีเพียงชาติเดียวในโลก

สรุปได้ว่า เราเป็นเพียงหนึ่งในหลายเชื้อชาติ หลายภาษา แตกต่างตามเส้นเขตแดน วัฒนธรรม วิถีชีวิตของชุมชน และครอบครัว

Some one หนึ่งในหลาย

ท่านนำภาพหมู่ของนักศึกษาวิทยาลัยโยนก (มหาวิทยาลัยเนชั่น)
ขึ้นสไลด์ TEDTalk ซึ่งเป็นช่วงชีวิตอีกช่วงหนึ่งที่ท่านประทับใจ

ในช่วงหนึ่งของชีวิต ของ อ.Kirk ตอนที่ได้มาอยู่ประเทศไทยใหม่ ๆ นั้น ท่านได้ฉายภาพหมู่ของนักศึกษาโยนกปี 2 (ประมาณปี พ.ศ.2532) ที่หน้าอาคารเรียนรวมหลังแรก ของ วิทยาลัยโยนก (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยเนชั่น ปีพ.ศ.2554 และย้ายไปวิทยาเขตใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533) ที่วิทยาเขตศรีปงชัย ต.ชมพู ลำปาง ซึ่งในภาพนั้นมีผมและเพื่อน ๆ รุ่นหนึ่ง ที่เพื่อนบิวได้ capture นำไปแชร์ในกลุ่ม เป็นภาพความทรงจำ ที่ อ.Kirk คิดถึงพวกเราเสมอ

คนที่บ้านเคยเจ็บป่วยไหม เจ็บไข้ได้ป่วยเป็น 1 ใน เกิด แก่ เจ็บ ตาย สัจธรรมชีวิต

การทานอาหารของผู้สูงอายุ
การทานอาหารของผู้สูงอายุ

สุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ
ความดัน เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรัง และผู้สูงอายุเป็นกันมาก
พอเป็นแล้วก็อันตราย จะผ่าตัดอะไรก็ยาก เสี่ยงจะไม่ฟื้น
ไม่กินยาควบคุม หรือไม่ดูแลก็เสี่ยงชีวิต เสี่ยงเสียอวัยวะ
http://www.boe.moph.go.th/Annual/AESR2012/main/AESR55_Part1/file11/5855_Hypertention.pdf

สุขภาพคนไทย
สุขภาพคนไทย

ปัญหาสุขภาพของคนไทย
ปี 2555 พบว่า อันดับ 1 คือ โรคความดันโลหิตสูง
รองลงมาคือ โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และโรคหลอดเลือดสมอง
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=18-09-2014&group=7&gblog=183

ปี 2560 จะเข้าสู่ยุคผู้สูงอายุเต็มตัว
เรามีถึง 9.9 ล้านคนคิดเป็นร้อยละ 15 ของประชากร 65.3 ล้านคน
เคยอ่านในมติชนออนไลน์ เมื่อ 27 พ.ย.59
“ปู่สงัด” วัย 81 ปี จ.สมุทรสงคราม เล่าว่า
แม้มีลูก 6 คนก็ไม่ได้เป็นหลักประกันชีวิตบั้นปลายว่าจะอยู่สบาย
http://www.matichon.co.th/news/185411

อ่านเรื่อง “ปู่สงัด” แล้ว ก็มีคำถามขึ้นมาว่า
ถ้าแม่ หรือพ่อ ที่มีลูกคนเดียว และกำลังเจ็บป่วย
เค้าจะมีลูกคนเดียวเป็นที่พึ่งได้หรือไม่
เพราะบางท่านมีลูกหลายคนยังพึ่งพิงไม่ได้เลย
แสดงว่าจำนวนอาจไม่ใช่ปัจจัยเดียว
ที่ทำให้บั้นปลายชีวิตของผู้สูงอายุจะอยู่อย่างสงบสุข
ขอเป็นกำลังใจให้ผู้สูงอายุ และว่าที่ผู้สูงอายุทุกท่าน

22 พ.ย.2559
ฮือฮา! จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดหลักสูตรใหม่ ชื่อวิชา “การตายอย่างมีคุณภาพ”
http://news.mthai.com/hot-news/general-news/534420.html

คำถามถึงผู้สูงอายุ เป็นห่วยโซ่ จากอดีตสู่อนาคต

คำถามถึงผู้สูงอายุ จากอดีตสู่อนาคต
คำถามถึงผู้สูงอายุ จากอดีตสู่อนาคต

เกือบปลายปี 2559 ได้พูดคุยกับทีมคณะกรรมการเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดลำปาง (คค.สจ.ลำปาง) แล้วร่วมเป็นคณะอนุกรรมการวิชาการพัฒนายกร่างประเด็น การจัดการแบบบูรณาการเพื่อสร้างความเข้มแข็งในครอบครัว สู่สุขภาวะเด็ก และเยาวชน แล้วเมื่อ 24 ก.ย.59 ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับ ดร.กาญจนา ภาสุรพันธ์ นักวิชาการอิสระ และ คุณกรพินธุ์ วงศ์เจริญ พมจ. ลำปาง (เจี๊ยบ) ก่อนหน้านั้น 28 พ.ย.58 ได้พูดคุยกับกลุ่มพฤฒพลังลำปาง ที่ขับเคลื่อนโดย อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง และ ดร.สุจิรา หาผล

วันนี้ (25 ก.ย.59) ไปเดินที่ศาลาเอนกประสงค์ หมู่ 13 ต.บ่อแฮ้ว อ.เมือง จ.ลำปาง ผู้ใหญ่เรียกให้ลูกบ้านที่มีของเก่า นำของเก่ามาขาย เห็นระบบและกลไก จึงนึกถึงกลุ่มผู้สูงอายุ หรือพฤฒพลังลำปาง เพราะอีก 1 รอบ ผมก็ต้องเป็นผู้สูงอายุ ที่อาจต้องเป็นภาระให้คนหนุ่มสาวมาดูแลก็เป็นได้ มีคำถามว่า “ถ้า ผู้สูงอายุ รวมตัวกันได้ จะทำอะไร เพื่อ ให้มีความสุข ตราบจนวาระสุดท้าย

ก่อนหน้านี้ อ.ปาล์ม สาขาสาธารณสุข ก็เล่าให้ฟังว่าจะลงพื้นที่ลำปางโมเดล
และเห็นการขับเคลื่อนการพัฒนาผู้สูงอายุ ของทุกตำบล เป็นโรงเรียนผู้สูงอายุ
มีกิจกรรมเดือนละ 1 หรือ 2 ครั้ง .. น่าสนใจมากครับ

ที่มาของคำถามนั้น
เนื่องจากนึกถึงนารวมที่คนนิคมพัฒนา ร่วมแรงร่วมใจกันลงแขก
ผมกับเพื่อนทีมวิจัย และนักศึกษาสาขาสาธารณสุขก็ยังเคยไปร่วมกันเกี่ยวข้าวมาแล้ว
https://www.facebook.com/506818005999002/photos/?tab=album&album_id=761676820513118

การรวมกลุ่มกันเป็นสังคมนี่ดีนะครับ
มีพลังมหาศาล เสกอะไรก็ได้ดั่งใจหลาย แต่คนเราจะยอมรวมกลุ่มกัน ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
เคยเห็นในภาพยนตร์เรื่อง The Mission แล้วก็ถึงกับอึ้งไปเหมือนกัน
การเปลี่ยนแปลงไม่เคยง่ายเลยสักครั้ง

หรือ การเปลี่ยนแปลงประเทศของเหมาเจ๋อตุงก็เหมือนกัน
จะยึดที่นาของคนรวยให้คนจนก็มีคนมากมายไม่เห็นด้วย
ตอนที่ 3/5

ได้เห็นคลิ๊ปนายกศิริพร ปัญญาเสน  ทำโรงเรียนชาวนาพิชัย จ.ลำปาง

นายธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ไปเปิดป้ายโรงเรียนชาวนา
เป็นกิจกรรมพัฒนาเยาวชน เตรียมสร้างทายาทเกษตรกรรุ่นใหม่


วิกฤตคนเกิดน้อย
เห็นกระทบที่เป็นข่าวก็โรงเรียนปิดหรือยุบรวมโรงเรียน แต่การกระทบนี้ใหญ่หลวงนัก
ดูจากพีระมิดจำนวนประชากร ที่จะกระทบขึ้นไปในห่วงโซ่ของสังคม
https://www.facebook.com/thaiall/photos/a.423083752271.195205.350024507271/10154554540217272/?type=3&theater

24 ก.ย.59 ประชุมครั้งที่ 3 ร่างประเด็นฯ
https://www.facebook.com/ajburin/media_set?set=a.10154399859253895.1073741908.814248894&type=3
28 พ.ย.58 พฤฒพลังลำปาง
https://www.facebook.com/ajburin/media_set?set=a.10153659525548895.1073741879.814248894&type=3

ประเทศจีนมีความเสมอภาค
ยุคของเหมาเจ๋อตุง เล่าโดยฝรั่งหลายคน
..จีนเป็นสังคมศักดินา ซึ่งคนรวยจำนวนน้อยอยู่อย่างสุขสบาย..
ตอนที่ 3/5 ประกาศโครงการปฏิรูปที่ดิน ยึดที่ดินจากเจ้าของที่ดินศักดินา
แล้วจัดแบ่งให้กับผู้ทำงานในที่ดินนั้น
เจ้าของที่ดินถูกประจานต่อหน้าสาธารณะชน แต่หลายเมืองก็ไม่พอใจ
ตอนที่ 1/5

ตอนที่ 2/5

ตอนที่ 3/5

ตอนที่ 4/5

ตอนที่ 5/5

หลีกเลี่ยงการตรวจค่า null ตอนที่ 1 (แต่ตัวอย่างที่ยกมานี้ยังไม่หลีกเลี่ยงการตรวจสอบ)

person object
person object

เคยอ่าน blog ของ Somkiat Puisungnoen
เจ้าของโดเมน somkiat.cc ซึ่งคุณตุ้ยแนะนำมา
ชื่อโพสต์ “Java :: หลีกเลี่ยงการตรวจสอบค่า Null กันได้แล้ว
โดยมี code ตอนหนึ่งว่า
1. PersonDAO personDAO = new PersonDAO();
2. Person person = personDAO.getPersonByID(1);
3. if(person != null) {
4. person.setName(“My name”);
5. }

ซึ่งแนะนำการหลีกเลี่ยงการใช้ null ไว้ 2 วิธี
http://www.somkiat.cc/java-avoid-check-null-in-your-code/

1. บรรทัดแรก
สร้าง instace ชื่อ personDAO จากคลาส PersonDAO
คำว่า DAO มาจาก Data Access Object ทำหน้าที่เข้าถึงข้อมูล
ทำให้มี instace ไว้ใช้งานด้านข้อมูล และติดต่อกับฐานข้อมูล
2. บรรทัดที่สอง
สร้าง instace ชื่อ person จากคลาส Person
ซึ่งมีค่าต่าง ๆ ตามที่กำหนด หรือการประมวลผลที่สำคัญกับข้อมูล
3. บรรทัดที่สาม
ตรวจสอบว่ามี person หรือไม่
ถ้าเรียกใช้ทั้ง ๆ ที่เป็น null ก็จะ error
4. บรรทัดที่สี่
ถ้ามีก็จะกำหนดค่าให้กับ object ใน person
ตามหลัก set กับ get

นำแนวคิดของคุณสมเกียรติ มาทำให้โปรแกรมประมวลผลได้
โดยยังไม่หลีกเลี่ยงการตรวจค่า null แต่ใช้ if != null เหมือนตัวอย่างไปก่อน
1. คลาส PersonDAO ทำหน้าที่เข้าถึงฐานข้อมูลในเบื้องต้น
การ return ต้องกำหนดค่าอะไรสักอย่าง จึงต้องกำหนดเป็น null ไว้แต่แรก
ถ้าไม่กำหนดก็จะ compile ไม่ผ่าน เช่น Person person;
public class PersonDAO {
public Person getPersonByID(int personID) {
Person person = null;
if (personID < 10 && personID > 0) {
person = new Person();
person.setID(personID);
}
return person;
}
}

2. คลาส Person ทำหน้าที่โดยตรงในการเพิ่ม ลบ แก้ไขข้อมูล
public class Person {
private int id;
private String name;
public void setName(String s) { name = s; }
public void setID(int i) { id = i; }
public int getID() { return id; }
public String getName() { return name; }
}

3. คลาส Work ทำหน้าที่รับส่งข้อมูล ควบคุม และนำเสนอข้อมูล
public class Work {
public static void main(String args[]){
PersonDAO personDAO = new PersonDAO();
Person person1 = personDAO.getPersonByID(1);
if(person1 != null) {
person1.setName(“burin”);
System.out.println(person1.getID());
System.out.println(person1.getName());
}
Person person2 = personDAO.getPersonByID(11);
if(person2 != null) {
person2.setName(“tui”);
System.out.println(person2.getID());
System.out.println(person2.getName());
}
}
}
http://www.thaiall.com/class/

ตอนที่ 2 การใช้ try catch จับ Exception
http://www.thaiall.com/blog/burin/6560/

world war z and 10th person

tenth man
tenth man

http://pantip.com/topic/30637893

ผมเคยดูภาพยนตร์เรื่อง world war z แล้วก็คนหลายคนพูดถึงเรื่องนี้
ซึ่งประเด็นที่ผมค้นหาคือคำว่า คนที่ 10 หรือทฤษฎีคนที่ 10
เพราะตอนที่ดูรู้ว่าเป็นจุดสำคัญของเรื่องอีกจุดหนึ่ง
เหตุตอนกลางเรื่อง และเกิดที่อิสราเอล (Israel) เป็นเมืองที่มีกำแพงล้อมรอบ
แล้วพบว่าคุณ fairywing ให้นิยามไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้

คิดว่าเรียกว่า ’10th Man’  – บุคคลที่สิบ น่าจะเหมาะกว่า
If nine agree to dismiss it, it is the duty of the tenth person to investigate further, even if it seems foolish
เค้าเล่าว่าทฤษฎีนี้มันถูกอ้างอิงมาจากที่เมื่อก่อนเวลามีลางบอกเหตุที่อาจจะเป็นภัยคุกคามต่อส่วนรวม จะมีผู้มีอำนาจในการตัดสินใจทั้งหมด 10 คนมาประชุมกัน แล้วถ้ามติที่ประชุม 9 คนเห็นว่าลางบอกเหตุนั้นเป็นไปไม่ได้หรือเชื่อถือไม่ได้ คนสุดท้ายที่ยังไม่ได้ลงมติมีตัวเลือกเดียวคือคัดค้านทั้ง 9 ความเห็นนั้น โดยมีสมมติฐานง่ายๆว่าสิ่งที่ 9 คนนั้นคิดมันผิด! (จริงๆในความเข้าใจของเราเอง คนที่สิบอาจจะคิดว่า impossible = possible หรืออาจจะเป็นสุภาษิตคนไทยเรา “ที่ไหนมีควัน ที่นั่นมีไฟ“)

แต่ที่น่าจะหนักหน่อยก็ตรงที่ว่าหัวเดียวกระเทียมลีบนี่แหละค่ะ เพราะค้านคนตั้ง 9 คนเลยทีเดียว เม่าเป็นลม
โดย fairywing 4 กรกฎาคม 2556 เวลา 11:53 น.

ทุนมนุษย์

human resource hub
human resource hub

23 มี.ค.54 ได้รับเอกสารประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ http://www.thaihrhub.com ที่ นร.1012/203 ลงวันที่ 1 มีนาคม 2554 เรื่อง ส่งแผ่นพับประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ และให้ข้อมูลว่าจะเปลี่ยนโดเมนเป็น thaihrhub.ocsc.go.th ข้อมูลในเว็บไซต์เกี่ยวกับการติดตามข่าวสาร แลกเปลี่ยนความรู้ ด้านการจัดการทุนมนุษย์ หัวข้อหรือบริการประกอบด้วย วิกิทุนมนุษย์ สัมนา บล็อก ฟอรั่ม สื่อความรู้ เทคนิคเครื่องมือใหม่ ข่าวสารโครงการ คลังข้อมูล ระบบสมาชิก เป็นต้น เท่าที่ดู Source code เป็นเว็บไซต์ที่ไม่ได้ใช้ระบบ CMS เพราะ code สะอาด ถูกพัฒนาตั้งแต่ 2008
.. ประชาสัมพันธ์ และเล่าสู่กันฟัง

ค้นหาชื่ออาจารย์ creative ใน google.com ได้แล้ว

ข้อมูลบุคลากร กับหลักฐานประกันคุณภาพ

12 มิ.ย.53 ผลจากการอบรมให้บุคลากรนำหลักฐานเอกสาร ที่ดำเนินการในปีการศึกษา 2552 เข้าสู่ระบบฐานข้อมูล เพื่อนำไปสู่การเผยแพร่ผลการประกันคุณภาพ และมุ่งเป็นมหาวิทยาลัย creative ที่มีคุณภาพ โดยประเด็นเริ่มจากการปรับรายงานแสดงเอกสารหลักฐานตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพให้จัดกลุ่มที่เชื่อมโยงกับชื่อบุคลากรเจ้าของหลักฐาน ให้ดูเข้าใจง่าย จนลามไปถึงการเชื่อมโยงชื่อบุคลากร กับฐานข้อมูลบุคลากร และพบว่า google.com เก็บข้อมูลเว็บเพจเก่า ที่เป็นฐานข้อมูลบุคลากรที่ทำไว้หลายปีก่อน จึงได้ ฤกษ์ ปรับให้โปรแกรมตัวเก่าดูดข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลใหม่ โดยลิงค์เดิมที่อยู่ในฐานข้อมูลของ google.com ไม่เสีย วันนี้ค้นชื่อ คนึงสุข นันทชมภู หรือ คงศักดิ์ ตุ้ยสืบ ก็จะพบลิงค์เดิมที่เชื่อมโยงไปยังเว็บเพจใหม่เรียบร้อยแล้วครับ
     ณ วันนี้ข้อมูลมากมายของมหาวิทยาลัย ยังคงสืบค้นได้จาก google.com  โดยตรง ไม่จำเป็นต้องหาลิงค์จากเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย เพราะข้อมูลถูกดูดเข้าสู่ระบบ google.com มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเข้าถึงข้อมูล .. เล่าสู่กันฟัง
+ http://www.yonok.ac.th/sar
+ http://www.yonok.ac.th/person