การกระตุ้นความสนใจ วิธีหนึ่งคือมีรุ่นพี่ศิษย์เก่าดีเด่นผู้เป็นแรงบันดาลใจ มาเป็นวิทยากรที่เป็นการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน

พบงานวิจัยของ กนิษฐา พูลลาภ, ทรงศักดิ์ สองสนิท, และ ขจรพงษ์ ร่วมแก้ว ศึกษาเรื่อง การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ร่วมกับการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ในผลการวิจัย พบว่า ได้เสนอกิจกรรมทั้งหมด 5 ขั้น โดย ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ ในกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ตามด้วย ขั้นที่ 2 ตั้งปัญหาและแบ่งกลุ่มตามความสนใจ ขั้นที่ 3 ค้นคว้าและคิด ขั้นที่ 4 นำเสนอ ขั้นที่ 5 ประเมินผล ถูกนำเสนอใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 21 วันที่ 27 มีนาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ซึ่งสถาบันการศึกษาทั้งระดับอุดมศึกษา มัธยมศึกษา และประถมศึกษา ต่างมีศิษย์เก่าเข้าไปสนับสนุนส่งเสริมการทำกิจกรรมในแต่ละสถาบัน เช่น โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง มีการประกาศรายชื่อ ศิษย์เก่าดีเด่น และ ศิษย์เก่าทรงคุณค่า เพื่อให้นักเรียนได้มีตัวอย่างบุคคลที่จะเป็นแรงบันดาลใจ และคุณครูสามารถนำไปใช้ในการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ด้วยการนำเสนอกรณีศึกษาความสำเร็จของศิษย์เก่าดีเด่น หรือเชิญมาเป็นวิทยากรเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นให้ตั้งใจเรียน และเรียนอย่างมีเป้าหมาย

เช่น กิจกรรม “พี่เล่า น้องเรียน” เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 ณ ลานกิจกรรม La Providence โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง ที่ฝ่ายวิชาการ ร่วมกับสภานักเรียน ฝ่ายกิจการนักเรียน โดยมีศิษย์เก่าทรงคุณค่า ได้แก่ 1) คุณณรงค์ ปัทมะเสวี ประธานกรรมการมูลนิธินิยม ปัทมะเสวี 2) พลเอกกฤษณ์ดนัย อิทธิมณฑล ประธานชมรมศิษย์เก่าอัสสัมชัญลำปาง (กรุงเทพมหานคร) 3) คุณชัยวัฒน์ ทองคำคูณ อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม และ 4) คุณนิรุฒน์ ตันอนุชิตติกุล ประธานบริษัท Major Advertising จำกัด มาเป็นผู้บอกเล่า ถ่ายทอดประสบการณ์ หนทางสู่ความสำเร็จในแวดวงต่าง ๆ แบ่งปันประสบการณ์และแนวคิดในการทำงาน เพื่อเปิดวิสัยทัศน์ สร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นความสนใจอยากเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย ให้รุ่นน้องได้เข้าถึงประสบการณ์จริงของรุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จแล้ว เพื่อให้รุ่นน้องได้นำบทเรียนไปปรับใช้เป็นแบบอย่างสำหรับวางแผนชีวิตต่อไป

พี่เล่าน้องเรียน

https://web.facebook.com/ACL2501/posts/pfbid0dJeW3FXNaWTWy28qrbFEDY4k3AszDaa9oAiqvE7sGGnYxs4JZUXNdetzSEHfnJrhl

https://www.thaiall.com/education/indexo.html

หรือ ค้นจากกูเกิ้ลด้วยคำว่า “ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี 2564” พบประวัติการทำงานของศิษย์เก่า 2 ท่าน ในสาขาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่สะท้อนการบรรยายประวัติ Profile แบบ Who am i? แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติและการปฏิบัติตน
ที่สมควรแก่การได้รับการยกย่องให้เป็นศิษย์เก่าดีเด่น ด้วยผลงานที่โด่ดเด่นเป็นประจักษ์ ที่ส่งผลกระทบต่อสังคมที่เป็นรูปธรรม ที่มีเอกสารอธิบายตัวตนของศิษย์เก่าดีเด่นได้อย่างชัดเจนในแบบเอกสารแสดงผลงาน จำนวน 2 ท่าน ดังนี้ 1) ท่านแรก ดร.พิทยากร ลิ่มทอง มีผลงานวิจัยดีเด่นหลายเรื่องที่ได้รับจากกรมพัฒนาที่ดินถึง 3 ปี และเป็นผู้เผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านปฐพีวิทยาอย่างเป็นระบบและเด่นชัด 2) ท่านที่สอง คุณรนัท ทรงเมรากฤตย์ เป็นผู้ปรับใช้องค์ความรู้ทางปฐพีวิทยามาผสมผสานกับการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ จนเป็นที่ยอมรับในวงการการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทที่เป็นที่ปรึกษาเทคโนโลยีและเทคนิคการเกษตรในองค์กรต่าง ๆ แล้วยังเข้ามาช่วยบรรยายให้กับนิสิตรุ่นน้อง และเข้าร่วมงานวิจัยกับคณาจารย์ในภาควิชา

ซึ่งทุกสถาบันการศึกษาย่อมมีศิษย์เก่าดีเด่น และตัวอย่างทั้งสองท่านนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งที่สมควรที่ครูอาจารย์จะนำประวัติและผลงานไปปรับใช้เป็นบทเรียนหนึ่งสำหรับการเล่าเรื่องให้นิสิตฟัง เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ให้เห็นแนวทางการใช้ชีวิตของศิษย์รุ่นพี่ หรือส่งเอกสารอธิบายตัวตนของศิษย์เก่าดีเด่นให้รุ่นน้องได้เรียนรู้ แล้วได้นำไปปรับใช้เป็นแรงบันดาลใจหรือเป้าหมายชีวิตของตนต่อไป ที่สำคัญนักเรียนจะจำได้ว่าศิษย์เก่าดีเด่นที่เขาประทับใจคือใคร

ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี 2564
ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี 2564

https://dss.agr.ku.ac.th/news/%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%88%E0%B8%99-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%9B%E0%B8%B5-2564-30

หนึ่งสมอง สองมือกับหนึ่งใจ ในแต่ละบุคคล

หนึ่งสมอง สองมือกับหนึ่งใจ อยู่ในบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไป สอดคล้องกับ ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้สำเร็จการศึกษาทุกระดับมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ที่ Learning Outcome ต้องสะท้อนมาเป็นผลลัพธ์ 4 องค์ประกอบได้แก่ 1) ด้านความรู้ 2) ด้านทักษะ 3) ด้านจริยธรรม 4) ด้านลักษณะบุคคล

มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565

มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 ได้กำหนด ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้สำเร็จการศึกษาทุกระดับมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา เมื่ออ่านแล้ว พบว่า สิ่งแรกที่ได้จากการศึกษา คือ การพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีปัญญาแก้ปัญหาได้

เมื่อมีความรู้ ความเข้าใจ ได้นำไปใช้ประโยชน์ และลงมือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ก็จะได้ทักษะ ความชำนาญ นั่นคือเมื่อใดที่ลงมือปฏิบัติก็จะได้ผลลัพธ์เช่นเดิม เป็นมาตรฐานที่เชื่อถือได้ เช่น ทำอาหารก็จะได้รสชาติเดิม ฉีดยาก็จะเข้าถูกเส้นเลือด ถอนฟันก็จะนำออกถูกซี่ ผสมปูนก็จะได้สัดส่วนที่พอดี ก่ออิฐกำแพงบ้านก็จะเป็นเส้นตรง

เมื่อปฏิบัติการงานใดก็ต้องยึดมั่นในความสุจริต เคารพในสิทธิ มีศักดิ์ศรี รู้หน้าที่ของตนเอง ตั้งอยู่บนคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ เป็นสมาชิกที่มีคุณภาพของสังคม

การเรียนรู้ต้องสอดคล้องกับตัวตนของผู้เรียน ที่เรียกว่า ลักษณะบุคคล ซึ่งบุคคลย่อมมีความเชื่อ ความสนใจ ฐานคิด และสมรรถนะที่แตกต่างกัน ส่งผลให้การใช้ความรู้ การประกอบอาชีพ การศึกษาเรียนรู้มีความยืดหยุ่นตามลักษณะบุคคล

เรียกชื่อให้ตอบ

การเรียนการสอนแบบ Active Learning คือ กระบวนการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก ที่เน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ ผ่านการลงมือทำที่ต้องปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อให้ได้ผลการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น 1) รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning) 2) รูปแบบการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experiential Learning) 3) รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) 4) รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) 5) รูปแบบการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีวิจัย (Research-Based Learning)

การจัดการเรียนรู้เชิงรุก มีประโยชน์ ดังนี้ 1) พัฒนาการมีส่วนร่วม ความคิด และทักษะ 2) มีการให้ข้อมูลย้อนกลับ เพื่อใช้พัฒนาผู้เรียน 3) ให้ความสำคัญกับความแตกต่างของผู้เรียน 4) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิด และนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้และปฏิบัติจริง 5) สร้างเครือข่ายระหว่างบุคคล และสื่อการเรียนรู้ 6) พัฒนาทักษะที่สำคัญให้กับผู้เรียน 7) ผู้เรียนมีความมั่นใจในการทำผลงานของตน 8) สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ระหว่างครูกับนักเรียน และนักเรียนได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

อ่าน บทความปริทัศน์ เรื่อง การจัดการเรียนรู้ สู่ Thailand 4.0 : Active Learning โดย กาญจนา บุญภักดิ์ และ สุวรรณา อินทร์น้อย ในวารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 พบ กลวิธีหนึ่ง ที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ อาจต้องทำอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาที่ทำการสอน คือ “การแสดงความคิดเห็นเป็นรายบุคคล โดยการเรียกชื่อให้ตอบ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียน คิดคำตอบไว้ล่วงหน้าตลอดเวลา เพราะคิดว่าผู้สอนอาจถามตนเองเป็นคนต่อไป”

https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/download/146253/107851/

http://www.thaiall.com/education/indexo.html

เกมสนุกและสร้างสรรค์ #puzzle #1

โค้ดเกมหากุญแจ ที่เขียนด้วย javascript ใน homepage นี้ มีวัตถุประสงค์ในการสุ่ม กุญแจ (key) และสร้างคำแนะนำ (hint) ทั้ง 5 ข้อ ให้กับผู้เล่นเกมได้ทายตัวเลข 3 ตัวที่ไม่ซ้ำกัน กรอกลงในช่อง 3 ช่องแบบไม่ซ้ำ แล้วกดปุ่ม check ถ้าทายถูกก็จะพบคำว่า “You Crack it.” แต่ถ้าทายผิดก็จะพบคำว่า “Try once again.”

ซึ่งการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน มีขั้นตอนที่ 1 คือ การกระตุ้นความสนใจ ดังนั้นการเริ่มต้นด้วยการคำนวณชวนคิดอย่างมีจินตนาการ เพื่อตามหาตัวเลข 3 ตัว หรือตามหากุญแจที่หายไป จากลายแทงที่เตรียมให้ทั้งหมด 5 ลายแทงดังตัวอย่าง เชื่อว่าจะช่วยกระตุ้นความสนใจ ก่อนเข้าสู่บทเรียนได้เป็นอย่างดี สำหรับ การเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL = Creative-Based Learning)

What is the key?


ซึ่ง CBL ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 กระตุ้นความสนใจ (Interested) ขั้นตอนที่ 2 ตั้งปัญหารายบุคคลและกลุ่มตามความสนใจ (Problem) ขั้นตอนที่ 3 ค้นคว้าและทดลอง (Search and Test) ขั้นตอนที่ 4 นำเสนอผลงาน (Result) ขั้นตอนที่ 5 สรุปและประเมินผล (Conclusion) พบว่า เวทิสา ตุ้ยเขียว สกนธ์ชัย ชะนูนันท์ และ อัญชลี สิริกุลขจร (2563) ศึกษาเรื่อง แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานที่ส่งเสริมสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี ซึ่งผลการวิจัยมีแนวทาง 5 ขั้นตอน อ้างอิงจาก Luachaiphanit, W. (2015). Creativity-Based Learning (CBL). Journal of Learning Innovations Walailak University,1(2), 23-37. [in Thai]

https://www.thaiall.com/php/whatisthekey.htm

ถ้าเกิดการคิดเชิงสร้างสรรค์ จึงมีการสอนแบบสร้างสรรค์

จากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การคิดเชิงสร้างสรรค์
ของสำนักงาน ก.พ. เมื่อปี 2016

หน้า 6 ได้ให้ความหมายของนักวิชาการหลายท่านดังนี้
1) บารอน และเมย์ (Baron and May. 1960) ได้ให้ความหมาย ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถของมนุษย์ที่จะนำไปสู่สิ่งใหม่ ๆ เกิดผลผลิตใหม่ ๆ รวมทั้งความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งแปลกใหม่ เช่น เอดิสันค้นพบหลอดไฟฟ้าและเครื่องไฟฟ้านานาชนิด ยังประโยชน์อย่างมหาศาลต่อชาวโลก
2) กิลฟอร์ด (Guilford. 1950) ได้ให้ความหมาย ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ความคิดอเนกนัย (Divergent Thinking) คือ ความคิดหลายทิศทาง หลายแง่หลายมุม คิดได้กว้างไกลนำไปสู่การคิดประดิษฐ์สิ่งแปลกใหม่ รวมถึงการคิดค้นพบวิธีการแก้ปัญหาได้
3) เวสคอตต์ และสมิท (Wescott and Smith. 1963) ได้ให้ความหมาย ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง กระบวนการทางสมองที่รวมการนำประสบการณ์เดิม จัดให้อยู่ในรูปใหม่ เดรฟดาล (Dredahl. 1960) ให้ความหมายว่า เป็นความสามารถของบุคคล ในการคิดสร้างผลผลิตหรือสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ ที่เกิดจากการรวบรวมเอาความรู้ต่าง ๆ สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ ออกมาในรูปของผลิตผลทางศิลปะ วรรณคดี วิทยาศาสตร์หรือเป็นเพียงกระบวนการหรือวิธีการก็ได้
4) วอลลาซและโคแกน (Wallach and Kogan. 1957) ได้ให้ความหมาย ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถ
5) สเปียร์แมน (Spearman. 1963) ได้ให้ความหมาย ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง อำนาจจินตนาการของมนุษย์ สามารถสร้างผลผลิตใหม่ ๆ
6) ออสบอร์น (Osborn. 1957) ได้ให้ความหมาย ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง จินตนาการประยุกต์ (Applied Imagination) ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหายุ่งยากที่ประสบ

ซึ่งในบทที่ 5 หัวข้อ 5.1 เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
นำเสนอไว้ 7 เทคนิค
[1] เทคนิคความกล้าที่จะริเริ่ม
[2] เทคนิคการสร้างสรรค์ความคิดใหม่
[3] เทคนิคแผ่นตรวจของออสบอร์น
[4] เทคนิค CAI (Cognitive Affective for Implementing)
[5] เทคนิคอุปไมยความเหมือน (Synectices)
[6] เทคนิคการคิดอย่างมีประสิทธิภาพ
[7] เทคนิคการคิดหมวก 6 ใบ (Six Thinking Hats Technique)

https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/ocsc-2017-eb13.pdf

#เล่าสู่กันฟัง 63-022 ปลุกชีพมูเดิ้ล

ระบบอีเลินนิ่ง (e-learning) ที่ใช้กันแพร่หลาย ในฝั่งของ #ผู้เปิดบริการอีเลินนิ่ง คงหนีไม่พ้น moodle ที่พัฒนามาต่อเนื่องยาวนาน ระบบนี้ก็ต้องมีเครื่อง มีภาษา มีฐาน และมีโค้ด ผู้พัฒนามูเดิ้ลเค้าอัพโค้ด ให้เข้ากับภาษาใหม่ และฐานใหม่ แต่ถ้ามีเครื่องบริการที่ลงภาษาใหม่ แต่ฐานเก่า เช่น php7 กับ mysql5 ตัวโค้ดก็จะไม่ทำงานตามปกติ ผู้พัฒนาโค้ดก็ไม่ได้ทำให้รองรับส่วนนี้ เครื่องบริการเก่าหลายไซต์เค้าไม่อัพ ถ้าอัพจะกระทบระบบเดิมของคนเป็นร้อยเป็นพัน

http://www.thaiall.com/moodle

เครื่องของผมที่เช่าไว้ก็เข้าปัญหาข้างต้น จึงต้องปรับโค้ดเก่าเป็น code ใหม่ เพราะ code เก่าเคยทำงานได้ปกติ แต่ยังใช้ฐานเดิม งม deprecate กันนานหน่อย เยอะด้วยครับกับรุ่นคำสั่งที่ไม่เข้ากัน

สุดท้าย เห็นหน้าแรกโผ่มาแล้วก็ชื่นใจ

http://www.thaiall.com/e-learning/moodle.htm

ค้นฟังก์ชัน get_fast_modinfo พบใน course/lib.php สำหรับ moodle 1.9

https://github.com/conel/moodle-1.9/tree/master/lib

ช่วงท้ายของการแก้ไข code (6 ก.พ.63)
ได้การสืบค้นจาก https://github.com/conel/moodle-1.9/
แล้วเทียบว่า function ที่มีปัญหาอยู่แห่งหนตำบลใด
ทำให้ไม่ต้อง download code จาก server ค้นเพื่อแก้ไข
ปัญหาที่พบหลัก คือ function รับ และส่งตัวแปรไม่เท่ากัน
ปัญหาการใช้ object ที่ต้องเปลี่ยนไปเป็น stdclass
และ deprecate เช่น eregi_replace ที่ต้องใช้ preg_replace แทน

ถ้าสังคมอยู่ยาก อะไรจะช่วยพัฒนาทักษะการเอาตัวรอด

เค้าว่า สังคมอยู่ยาก
หรือปัจจุบันการใช้ชีวิตยากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก
มีคำถามว่าจะทำอย่างไรให้อยู่กันได้ง่ายขึ้น
เดี๋ยวนี้เกมเข้ามามีบทบาทในการศึกษา และกีฬา
น่าจะลองถามเหล่าเกมเมอร์ว่า
เกมช่วยพัฒนาให้รู้จักการเอาตัวรอด หรืออยู่รอด ได้ระดับใด

ส่งคำถามเข้า 2 กลุ่มเฟส
1. rov : garena thailand
2. rov thailand ( พูดคุย / หาทีม / ลงแข่ง ) by gamer – private

ทำให้พัฒนาทักษะการเอาตัวรอด
ทำให้พัฒนาทักษะการเอาตัวรอด

มีคำถาม

แบบว่า เกมเดี๋ยวนี้ พัฒนาผู้เล่นได้เยอะ
ทำให้รู้หลบเป็นปีก รู้หลีกเป็นหาง
เล่นพรรคเล่นพวก รู้จักใช้ชีวิตผ่านเกมเยอะเลย
เรียกว่าเล่นเป็น เลือกเป็น ว่าเข้าเลน เข้าป่า สู้ กลับเติมเลือด
รู้ว่าอะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ เพื่อยืนให้นานที่สุด
ต้องรู้อะไรเยอะมากมาย แน่นอนเลย ว่าต้อง
ทำให้พัฒนาทักษะการเอาตัวรอด
เพื่อน ๆ ได้พัฒนาไปถึงระดับใด รึเปล่า อยากรู้น่ะ

 

RoV : Garena Thailand ทำให้พัฒนาทักษะการเอาตัวรอด ณ 4 มกราคม 2561
RoV : Garena Thailand
ทำให้พัฒนาทักษะการเอาตัวรอด
ณ 4 มกราคม 2561

RoV Thailand ( พูดคุย / หาทีม / ลงแข่ง ) by GAMER – Private ทำให้พัฒนาทักษะการเอาตัวรอด ณ 4 มกราคม 2561
RoV Thailand ( พูดคุย / หาทีม / ลงแข่ง ) by GAMER – Private
ทำให้พัฒนาทักษะการเอาตัวรอด
ณ 4 มกราคม 2561

เกม ทำให้พัฒนาทักษะการเรียนรู้

มีความเชื่อว่า เกมเป็นเครื่องมือหนึ่ง
ที่นำมาใช้จัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้
และมีความเชื่อว่า เล่นเกม จะช่วยพัฒนาทักษะการเรียนรู้
ทำให้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้ดีขึ้น กว่าไม่ทำอะไรเลย
จึงส่งคำถามเข้าไปถามในกลุ่มเฟสบุ๊ค 2 กลุ่ม
กลุ่ม RoV Thailand ( พูดคุย / หาทีม / ลงแข่ง ) by GAMER
กลุ่ม RoV : Garena Thailand

ว่า

เพื่อน ๆ ถามหน่อย
ว่าเล่นเกม ไต่แรงค์ ให้ประสบความสำเร็จเนี่ย
ต้องเรียนรู้มากมาย พร้อมปรับตัวตามสถานการณ์ใช่เป่า
ถามว่า เล่นเกม “ทำให้พัฒนาทักษะการเรียนรู้
ไปถึงระดับใด รึเปล่า
ปล. ก็อยากรู้อ่ะน่ะ

เกมทำให้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ จริงรึเปล่า
เกมทำให้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ จริงรึเปล่า

ถ้าสนใจคำตอบแบบ real time
สามารถเข้าไปตามลิงค์ข้างต้นได้

 

Top 5 Heroes ที่เก่ง  
ใช้เป็น Avatar ของเราแล้ว มีโอกาสชนะสูง
http://www.metalbridges.com

RoV Thailand ( พูดคุย / หาทีม / ลงแข่ง ) by GAMER - Private ทำให้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ ณ 28 ธันวาคม 2560
RoV Thailand ( พูดคุย / หาทีม / ลงแข่ง ) by GAMER – Private
ทำให้พัฒนาทักษะการเรียนรู้
ณ 28 ธันวาคม 2560

RoV : Garena Thailand ทำให้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ ณ 28 ธันวาคม 2560
RoV : Garena Thailand
ทำให้พัฒนาทักษะการเรียนรู้
ณ 28 ธันวาคม 2560

บทความวิชาการ การถอดบทเรียนการเรียนรู้สุขภาพชุมชน ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี

การจัดการความรู้
การจัดการความรู้

บทความวิชาการ การถอดบทเรียนการเรียนรู้สุขภาพชุมชน ตำบลหนองสาหร่าย
อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
(LESSON LEARNED FROM LEARNING COMMUNITY HEALTH CARE OF NONGSARAI DISTRICT, PHANOMTHUAN, KHANCHANABURI)
วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2553)
พัณณ์ชิตา โยคะนิตย์ และ นรินทร์ สังข์รักษา
https://www.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/download/7215/6237
เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)
ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้นำชุมชน ประชาชน อสม และบุคลากรสาธารณสุข
ใช้แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และการบันทึกภาคสนาม
ใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview)
การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participation Obervation)
การสนทนากลุ่ม  (Focus Group Discussion)
และการวิเคราะห์หลังปฏิบัติ (After Action Review : AAR)
รวมถึงการวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Analysis)
สำหรับการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม
ใช้วิธีการเทคนิคลูกโซ่ (Snow ball) กลุ่มละ 5 คน รวมทั้งสิ้น 20 คน)
ผลการศึกษา พบว่าชุมชนมีทุนทางสังคม
มีการสร้างการเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชน
ปัจจัยสู่ความสำเร็จคือจัดทำเป็นยุทธศาสตร์ของชุมชนอยู่ดีมีสุข
จัดกิจกรรมด้านสุขภาพ
การจัดการความรู้และใช้ความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลมาใช้ในการพัฒนา
https://www.facebook.com/groups/thaiebook/687657798051708/

Review แอพสอนเขียนโปรแกรม .. ลองแล้วจะติดใจ

ถ้า (if) ต้องการเรียนรู้การเขียนโปรแกรม และมี Smartphone อยู่ในอุ้งมือ
และมีเวลานั่งเฉย ๆ ระหว่างรอรถเมย์ รอดูหนัง รอเพื่อนทานข้าว รอเข้างาน รอเรียน
รอลูกเรียนพิเศษ รอแฟนเลิกงาน รอแฟนเข้าร้านเสริมสวย
แล้วอยากหาอะไรอ่าน .. “อ่าน

programming language
programming language

ในสายคอมพิวเตอร์ทั้ง นักศึกษา หรือคนทำงาน
ก็คง “สนใจเรื่องการเขียนโปรแกรมไม่มากก็น้อย
คนใน play store พบแอพพลิเคชั่นเพียบเลย ที่สอนเขียนโปรแกรมต่าง ๆ
แต่มี app หนึ่งที่สอนหลายภาษา และในหลายรูปแบบ
แล้วเค้าก็พัฒนาต่อเนื่อง ปรับทั้งแอพ และเนื้อหาตลอด
คือ Programming Hub ดาวน์โหลดที่ http://www.programminghub.io
ผมนั่งอ่านดูก็สนุกดี
ถ้าเทียบเนื้อหาระหว่าง version บน smartphone กับ web
จะพบว่าบน smartphone ดีกว่าเยอะ ลองแล้วจะติดใจ .. เหมือนผม

programminghub แอพพลิเคชั่นที่สอนเขียนโปรแกรม
programminghub แอพพลิเคชั่นที่สอนเขียนโปรแกรม

Programming hub คือ แอพพลิเคชั่นที่สอนเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ ที่มีทั้งบนแอนดรอย (Android) และไอโอเอส (iOS) และสามารถเรียนผ่านเว็บไซต์ (Learn on Web) ได้ที่ programminghub.io โดยแบ่งเนื้อหาเป็นตัวอย่างโค้ด (Program) และเนื้อหาอ้างอิง (Reference) สำหรับแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนจะมีบางภาษาที่สามารถทำการทดสอบเขียนโค้ด และประมวลผลได้ทันที (Playground) ปัจจุบันมีภาษาโปรแกรมให้ศึกษา ดังนี้ Python, Assembly, HTML, VB.NET, C, C++, C# (C Sharp), JavaScript, PHP, Ruby, R Programming, CSS, Java programming เป็นต้น

c language
c language