ศูนย์ไลก์ Zero like กับ ล้านไลก์ Million likes

โดยปกติ เรามักสนใจผู้คนรอบตัวเรา เพราะเราเป็นสัตว์สังคม และมักใช้เครือข่ายสังคม เพื่อสื่อสารพูดคุยกับเพื่อน หรือคนรู้จัก มีอยู่วันหนึ่งเข้าไป ส่อง ดูเฟซบุ๊กของคนที่ไม่ใช่เพื่อน เพราะสถานะบนเฟซบุ๊กบอกว่าเรายังไม่ใช่เพื่อนกัน พบว่า มีหลายโพสต์ของเพื่อนคนที่ไม่ใช่เพื่อน มียอด like เป็น 0 และมีจำนวนโพสต์แบบ zero like นี้มากกว่าโพสต์ของผมอย่างชัดเจน เพื่อนคนนี้เป็นคนแรก ที่พบสถิติ zero like สูงขนาดนี้ รู้สึกว่าตัวเลขเราจะใกล้เคียงกัน คือ เข้าใกล้ 0 แต่ของผมจะยอด like สูงกว่าหน่อย

แต่สำหรับผมแล้ว การมีโพสต์ที่มี zero like ถือว่าเป็นปกติ โดยเฉพาะในแฟนเพจ รวมเพื่อนไทยออล หรือ สวนนายบู เพราะผมไม่ตั้งใจโพสต์เพื่อให้ได้ like จากกลุ่มเป้าหมาย เช่นเดียวกับเพื่อนที่ผมเข้าไปพบโพสต์เหล่านั้น ซึ่งพฤติกรรมที่เห็นได้ชัดของคนที่มี zero like คือ
1) ไม่พยายามสร้างปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนเฟส
2) เรื่องที่แชร์ไม่อยู่ในความสนใจของเพื่อนเฟส
3) มีวัตถุประสงค์ที่ไม่ใช่ของตนเอง

อยากถามว่า ท่านเคยพบคนที่มีพฤติกรรม 3 ลักษณะนี้หรือไม่

https://www.thaiall.com/socialmedia/

ในสื่อสังคม ยอดติดตาม ยอดเข้าถึงโพสต์ ยอดการมีส่วนร่วมกับโพสต์ ยอดไลก์ ยอดแชร์ ยอดแสดงความคิดเห็น สะท้อนถึงจำนวนสมาชิกที่เกี่ยวข้องในมุมมองที่หลากหลาย จากภาพในโพสต์ของ Wiriyah Eduzones เมื่อ 12 ก.พ.2566 พบว่า เกิดการมีส่วนร่วมกับโพสต์ในระดับหลักล้าน เท่ากับมีข้อมูลเข้าจำนวนมาก เมื่อท่านได้ สรุปเอาความคิดและข้อมูล นั่นหมายถึง เสียงของประชาชนกลุ่มนี้ ว่าสรุปไปในทิศทางใด ที่จะเสนอต่อไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ทางด้านการศึกษา

ผมชอบติดตามเรื่องราวในเพจของ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ ชอบอ่านความคิดเห็นของคุณครู แล้วเก็บเรื่องราวไปเล่าให้นิสิต คุณครู เพื่อนได้รับทราบ เพราะเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ บางเรื่องสื่อส่วนกลางก็นำไปแชร์ต่ออย่างกว้างขวาง เช่น “จรรยาบรรณวิชาชีพครู กับคำถามครูสวมชุดว่ายน้ำ” เมื่อหันไปมองเทียบกับโพสต์ศูนย์ไลก์ ที่อยู่บนเพจของผม หรือในโปรไฟร์ของผม ก็ทำให้คิดถึง Input, Process, Output, Outcome หรือ Feedback ที่มีต่อเป้าหมายของแต่ละโพสต์ รวมถึง SEO, Promotion และ Ranking ว่าจะถูกพัฒนาต่อยอดไปอย่างไร

Wiriyah Eduzones

นโยบายของเฟซบุ๊ก

ฎ กติกา มารยาทของเฟซบุ๊ก มุ่งกำหนดขึ้นเพื่อให้ผู้คนอยู่ร่วมกันเป็นชุมชนได้อย่างสงบสุข มีเงื่อนไขเยอะมาก ซึ่งมากจนผมไม่ค่อยกล้าโพสต์อะไร ยกเว้นเรื่องที่กลั่นกรองมาพอประมาณว่าปลอดภัยแล้ว เช่น ขนม อาหาร ออกกำลังกาย ต้นไม้ ท้องฟ้า เข้าวัดทำบุญ อบรม ภาพหมู่ ผลงานนิสิต บ่นเรื่องชีวิตนิดนึง แชร์บันทึกบ้าง เล่าเรื่องน้ำใจที่ได้รับจากลูกศิษย์ หัวหน้า หรือเพื่อน ทุกวันนี้มักแชร์ข่าวไอที การศึกษา และข่าวสังคมทั่วไปเฉพาะในแฟนเพจ

May be an image of 1 person, sitting and indoor
ชวนกันบริจาคโลหิตครับ

ที่ผ่านมาเคยโดนเฟซบุ๊กเตือนแรงก็หลายครั้ง เพราะเคยแชร์ข่าวไอทีของน้องพร อัพเอกสารแล้วโดนเตือน คุยกับลูกศิษย์ก็ยังโดนระงับเลย เรียกว่าจะกดอะไรก็ยังรู้สึกหนาวอยู่ ล่าสุดมีเพื่อนในกลุ่มผู้บริจาคฯ ที่เป็นผู้ดูแลกลุ่มร่วมกับผม กลุ่มนั้นเป็นกลุ่มสาธารณะ มีไว้เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนที่เรียกว่า สุนทรียสนทนา เฉพาะเรื่องจิตอาสาล้วน ๆ แต่เค้าหลุดออกจากกลุ่มโดยไม่ทราบสาเหตุ แล้วเค้าน่าจะเข้าใจว่า ถูกกระทำโดยผู้ดูแล ซึ่งอีกความเป็นไปได้ คือ มีผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ากลุ่มอยู่เสมอ เห็นเค้าโพสต์เตือนนู่นนั่นนี่ จนถูกรายงานเท็จได้ ทำให้เค้าหลุดออกจากกลุ่มก็เป็นได้ นี่ก็รอเค้าเข้ามาร่วมกันดูแลกลุ่มต่อ เพราะไม่มีใครแล้ว ที่น่าไว้ใจ นอกจากเค้า .. เล่าสู่กันฟัง

วนอ่าน เรื่อง Everything You Should Know About Facebook Group Rules In 2022 เขียนโดย Simran Grover พบหัวข้อ Group rules from the admins 1) กรุณาและสุภาพ (Be kind and courteous) 2) ไม่ทำร้ายผู้อื่นทั้งกายวาจาใจ (No Hate Speech or Bullying) 3) ไม่โฆษณาเกินควร (No Promotions or Spam) 4) ให้เกียรติความเป็นส่วนตัว (Respect Everyone’s Privacy)

https://www.thaiall.com/facebook/

ระบบ comment ที่บริการโดย facebook สำหรับ developer

facebook comment plugin

เฟสบุ๊กพัฒนาระบบแสดงความคิดเห็น (comment) ให้นักพัฒนานำไปใช้ ซึ่งระบบนี้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เปิดบริการ script มาให้ใช้งานแล้วหลายรุ่น นั่นหมายความว่าเปิดรุ่นเก่าให้ใช้ รุ่นใหม่ก็จะใช้ไม่ได้ ถ้านักพัฒนาที่ไม่ได้ตามข่าว เมื่อเคยนำ script ไปใช้แล้ว ต่อมาพบว่าระบบ comment ทำงานผิดพลาดไป ก็จะต้องเปลี่ยนไปใช้ script ชุดใหม่ ถ้านักพัฒนาที่ติดตามข่าว และรู้เท่าทัน ก็จะแก้ไข script ก่อนวันที่โค้ดชุดเก่าจะหมดอายุ ทำให้ระบบ comment ให้บริการลื่นไหลต่อเนื่อง ซึ่ง script บริการะบบ comment ในปัจจุบันจะต้องกำหนด url ของเว็บเพจที่ใช้ comment นั้น ให้กำหนดค่าให้กับตัวแปร data-href แล้วถ้า url ของเพจไม่ตรงกับค่าในตัวแปร data-href ระบบการแสดง comment ก็จะไม่ทำงาน นั่นคือไม่ปรากฎอะไรออกมาให้เห็น

http://www.thaiall.com/facebook/fb_comments.htm

บันทึกคลิปวิดีโอ สลับ scene บน fb live

การบันทึกคลิปวิดีโอด้วย Facebook live แล้ว Download มาเป็น .mp4 แล้ว Upload ไปยัง youtube.com โดยใช้เนื้อหาเรื่อง หมอพร้อม และ 7 ข้อเตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีน ซึ่งการสลับ scene ใช้การกด alt-tab ส่วนกล้องวิดีโอใช้ Extension / Apps บน Chrome ชื่อ Camera เลือกใช้ได้ทั้ง 2 apps คือ 1) turn camera on 2) chromeos-cameraapp ใน Facebook live จะแชร์แบบ Share : Your Entire Screen และเตรียม Scene ให้เลือกใช้สลับไปมาตามเนื้อหา ดังนี้ 1) Webpage 2) Camera 3) Image บนโปรแกรม Irfan View ซึ่งการบันทึกครั้งนี้ ผลลัพธ์ดูลื่นไหล และเป็นธรรมชาติระหว่างสลับ Scene ในระดับหนึ่ง ซึ่งข้อดี คือ ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมสำหรับถ่ายทอดที่ควบคุมซีน หรือตัดต่อแยกออกมาจากการบันทึกอีกครั้ง

พฤติกรรมการใช้เฟสบุ๊ค

อ่านบทความของ บุญอยู่ ขอพรประเสริฐ เรื่อง พฤติกรรมการใช้เฟสบุ๊ค ของนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ในวารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2557 หน้า 1 – 24 งานนี้มีวัตถุประสงค์มี 3 ข้อ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้เฟสบุ๊ค ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากการใช้เฟสบุ๊คของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาผลกระทบจากการใช้เฟสบุ๊คของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับมี 3 ข้อ 1) ทำให้ทราบถึงพฤติกรรมการใช้ประโยชน์ และผลกระทบจากการใช้เฟสบุ๊คนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่กำลังได้รับความนิยม 2) สามารถนำผลการวิจัยที่ได้ไปวางแผนพัฒนาและส่งเสริมให้นักศึกษา ซึ่งเป็นเยาวชนสำคัญของชาติสามารถใช้เทคโนโลยีทางการสื่อสารได้อย่างรู้เท่าทันและสร้างสรรค์ต่อไป โดยไม่ตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมหรือกลุ่มมิจฉาชีพที่อาศัยเฟสบุ๊คเป็นช่องทางในการกระทำความผิด 3) สามารถนำผลงานวิจัยนำไปใช้ประโยชน์ในเรื่อง การตลาด การโฆษณา หรือเรื่องที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการวางแผนพัฒนากลยุทธ์ทางการสื่อสารผ่านเฟสบุ๊คให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสารการตลาดผ่านเฟสบุ๊คกับกลุ่มนักศึกษา ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่มากที่มีการใช้เฟสบุ๊คเป็นประจำ

https://so05.tci-thaijo.org/index.php/romphruekj/article/download/62926/51703/

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เล่นเฟสบุ๊คทุกวันจำนวน 491 คน คิดเป็นร้อยละ 70.1 รองลงมาเล่นเฟสบุ๊ค 4-6 วันต่อสัปดาห์ มี 89 คนคิดเป็นร้อยละ 12.7 โดยเล่นมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อครั้ง ซึ่งมีร้อยละ 33.3 ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เล่นเฟสบุ๊คในช่วงเวลา 18.01-21.00 น. มีร้อยละ 39.1 รองลงมาเล่นเฟสบุ๊คช่วงเวลา 21.01-24.00 น. มีร้อยละ 33.7 และมักเล่นเฟสบุ๊คที่บ้านหรือที่พัก ร้อยละ 86.7 ส่วนใหญ่เล่นผ่านอุปกรณ์มือถือร้อยละ 67.6 จำนวน และเล่นผ่านโน๊ตบุ๊ค ร้อยละ 43.9 นอกจากนี้พบว่า การเล่นเฟสบุ๊คส่วนใหญ่จะเล่นเมื่อมีเวลาว่างร้อยละ 59.4 และเล่นเฉพาะนอกเวลาเรียน ร้อยละ 17.7

พบลักษณะการใช้เฟสบุ๊ค 20 พฤติกรรม เฉลี่ยรวม 2.37
1) ใช้ chat กับเพื่อน (x=3.51)
16) เขียนแสดงความยินดีในโอกาสต่าง ๆ ของเพื่อน (x=3.36)
2) กด like เอาใจเพื่อน (x=3.18)
11) ติดตามข่าวประจำวัน (x=3.18)
14) ได้ติดต่อสื่อสารกับเพื่อนเก่า (x=3.09)
9) เขียน Post ข้อความเล่าเรื่องต่าง ๆ (x=2.71)
15) แสดงความคิดเห็นต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ (x=2.68)
17) สร้างอัลบั้มรูปต่าง ๆ (x=2.60)
8) Upload ภาพในชีวิตประจำวัน (x=2.52)
12) ติดตามข่าววงการบันเทิง (ดารา/นักร้อง) (x=2.50)
10) ติดต่อผู้คุยกับบุคคลในครอบครัว (x=2.34)
20) ติดต่อสอบถามเรื่องการเรียนหรือส่งการบ้านครู/อาจารย์ (x=2.34)
13) เล่นเกม (x=2.16)
4) ดู Facebook ดารา/นักร้องที่ชื่นชอบ (x=2.15)
6) สืบประวัติแฟนใหม่หรือเพื่อนต่างเพศ (x=2.11)
7) ติดตามพฤติกรรมของคนที่เราไม่ชื่นชอบ (x=1.71)
5) ดูพฤติกรรมแฟนเก่า (x=1.66)
3) สร้าง Fan page ส่วนตัว (x=1.42)
18) ซื้อสินค้าและบริการ (x=1.33)
19) ขายสินค้าและบริการ (x=0.94)

ประโยชน์ที่ได้รับ เฉลี่ยรวม 3.80
1) ได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นปัจจุบัน (x=4.16)
2) ได้รับข้อมูลเพิ่มขึ้น (x=4.03)
3) ได้พบเพื่อนที่ขาดการติดต่อกันมานาน (x=4.03)
4) ได้ผ่อนคลาย / คลายเครียด (x=3.98)
5) ได้มีเพื่อนใหม่เพิ่มขึ้น (x=3.80)
7) ทําให้ไม่ตกเทรนด์ / ทันกระแสสังคม (x=3.80)
8) ได้ข้อมูลมาใช้ในการเรียนหรือพัฒนาตนเอง (x=3.55)
6) ได้รับประโยชน์ด้านเพิ่มช่องทางทําธุรกิจของตนเองมากขึ้น (x=3.07)

#เล่าสู่กันฟัง 63-049 อิสตาแกรมยังฝังลิงค์ไม่ได้

อินสตาแกรม (instagram)
เป็นอีกหนึ่งบริการสื่อสังคมที่ได้รับความนิยม
เรียกอีกชื่อว่าไอจี (ig)
บริการโพสต์ภาพ สำหรับคนที่ชอบถ่าย selfie
อัพภาพกิจกรรม กิน เที่ยว และไลฟ์สไตล์
แล้วแบ่งปันก็จะใช้บริการกันมาก
ไม่เน้นบทความ ไม่ลิงค์ ไม่แต่งข้อความที่โพสต์มากนัก
เจ้าของเดิมที่ก่อตั้งคือ Kevin Systrom และ Mike Krieger
เปิดให้ผู้ใช้ iOS โหลดแอพเดือน ตุลาคม 2010
ต่อมาถูกซื้อโดยคุณมาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก หรือ เฟสบุ๊ค
ในราคาประมาณหนึ่งพันล้านเหรียญ
เมื่อ เมษายน 2012
เรื่องนี้ถูกโพสต์โดย MENLO PARK, CALIF.—April 9, 2012
https://about.fb.com/news/2012/04/facebook-to-acquire-instagram/

สถิติน่าสนใจ

แล้วพบว่า Joe Jitnarin
ชวนทำ ad เพราะมี interaction สูงกว่า
ค่ายอื่นหลายเท่าตัว ลองอ่านบล็อกได้ครับ
https://www.zozav.com/blog/instagram-ad-guide/

การเป็นผู้สนับสนุน จะแชร์โพสต์และพาผู้สนใจเข้า โปรไฟร์ และในโปรไฟล์มีลิงค์ที่พาออกไปข้างนอกได้ แต่โพสต์ทั่วไปวางลิงค์ไม่ได้

สร้างกลุ่ม เพื่อพูดคุย สื่อสารกันตามวัตถุประสงค์ของกลุ่ม

17 ธ.ค.62 มีโอกาสสร้างกลุ่มอีก 3 กลุ่ม เป็นกลุ่มส่วนตัวไว้พูดคุยกับสมาชิกแบบส่วนตัว พบว่า นโยบายของ facebook เริ่มเปิดให้สร้างกลุ่มโดยไม่ต้องมีสมาชิกมากกว่า 1 คนแล้ว (ในอดีตต้องมีมากกว่า 1 คน) ทำให้สามารถสร้างกลุ่มรองรับการเพิ่มสมาชิกเข้ากลุ่มในภายหลังได้ เช่น CPSC241_621 (Private Group)

เมื่อพูดถึงการสร้างกลุ่ม (Group creating) ก็ต้องเลือกว่าจะเป็น Public หรือ Private ก็มักพูดถึงวัตถุประสงค์ของกลุ่ม ทุกครั้งที่สร้างกลุ่มก็จะต้องมองไปที่ description ที่จะเพิ่มรายละเอียดให้รู้ว่ากลุ่มนี้พูดเรื่องอะไร มีเงื่อนไข ข้อตกลงอย่างไร วัตถุประสงค์คืออะไร ไม่มากก็น้อย เพื่อให้การอยู่รวมกลุ่มกัน ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน บางทีแค่ชื่อกลุ่มก็รู้แล้วว่าจะพูดคุยเรื่องอะไร กลุ่มสาธารณะเหล่านี้ ที่มีชื่อกลุ่มชัดเจน เช่น กลุ่มผู้บริจาคโลหิต อวัยวะ และร่างกายกลุ่มผู้สูงอายุ (Older Person) / กลุ่ม KM+Ebook / กลุ่มสังคมคนรักอ่าน / กลุ่ม Lampang City (250K)

การรวมตัวกันของเพื่อนเก่า เทียบเฟสกับไลน์

เที่ยววัด
เที่ยววัด

ครั้งหนึ่ง ผมได้พูดคุยกับ น้องจ๋า
เรื่องการรวมตัวของเพื่อนเก่า หรือศิษย์เก่า
แล้วผมก็แบ่งปันกับ น้องจ๋า ว่า
ในรุ่นผมเค้าก็รวมตัวกัน แข็งแรงด้วย
และผมก็แชร์ว่าปัจจัยที่ทำให้แต่ละรุ่นแข็งแรงคืออะไร

พอรวมตัวกันได้ก็ทำกิจกรรม
– เยี่ยมเพื่อน
– เยี่ยมคาราวะครูอาจารย์เก่า
– ทิปต่างจังหวัด
– ทิปตามเทศกาล
– นัดพบปะทานข้าวที่ร้านอาหาร
– ทำอาหารทานที่บ้านเพื่อน
– ไปเที่ยววัด หรือแหล่งท่องเที่ยว

เที่ยววัด
เที่ยววัด

วันนี้ เพื่อนบิวแชร์ภาพ ผมก็คัดลอกเก็บไว้
เพราะชอบ (like)
แล้วแชร์ในเฟส และกลุ่มผู้สูงอายุไปว่า

ผมมีเพื่อนกลุ่มหนึ่ง
เค้ามารวมตัวกันได้ใกล้ชิด
โดยใช้ line เป็นเครื่องมือ
เมื่อรวมตัวกันก็พบปะ
พากันจัดกิจกรรมมากมาย
ตามการหาลือในกลุ่มไลน์
อันที่จริงเพื่อนผม
ทั้ง ประถม (Ton ching-chai) มัธยม (ปอ) และ ป.ตรี (สท.ติ)
มีกลุ่ม line ที่เข้มแข็งทุกกลุ่ม
ตามภาพนี้ที่เพื่อน ๆ ไปเที่ยววัด เป็นกลุ่ม ป.ตรี
จุดเด่น คือ รวมกันได้มากกว่าครึ่ง
จากสมาชิกในชั้นปีทั้งหมด ทำกิจกรรมพบปะตลอด
แต่กิจกรรมก็จะกระจายกันไป
ตามกลุ่มจังหวัดซะมาก
จัดทิปออกเที่ยวหาเพื่อนต่างจังหวัดก็บ่อย

ปล. ภาพนี้เพื่อนบิวอัพเข้ากลุ่มเฟส
เพราะเพื่อน ป.ตรี เป็นกลุ่มเดียว
ที่มีกลุ่มเฟสเป็นรองกลุ่มไลน์
คำว่า “กลุ่มเฟสเป็นรองกลุ่มไลน์
แปลว่า ยังสามารถจัดให้เป็นที่สองได้
เพราะกลุ่มอื่นในไลน์อีกเยอะ
ที่มีกลุ่มไลน์เพียงอย่างเดียว
อาจเพราะกลุ่มที่ว่านั้น มีสมาชิกเป็นผู้สูงอายุ
จึงไม่สามารถชวนมาเข้ากลุ่มเฟส
ผู้มีอายุจะถนัดใช้ไลน์มากกว่าเฟส
ทำให้หลายกลุ่ม
ไม่สามารถสร้างกลุ่มเฟสได้
จึงไม่อาจนับได้ว่ามีกลุ่มเฟสเป็นรอง

ปกติแล้วผมจะโพสต์เข้าเฟส แล้วนำมาเขียนบล็อก
ภาพเที่ยววัดนี้ โพสต์ไว้ที่ https://www.facebook.com/ajburin/

เพื่อนประถม
เพื่อนประถม

เพื่อนป.ตรี
เพื่อนป.ตรี

คลิ๊กศิษย์เก่า ในกิจกรรม “one click รวมรุ่น” @YONOK

หากมีคำถามว่า
ไม่พบเพื่อนร่วมรุ่น มากว่า 20 ปี จะตามหากันได้อย่างไร
เสนอกิจกรรม One click รวมรุ่นที่ใช้ poll ในเฟสบุ๊คเป็นเครื่องมือ
และเป็นกิจกรรมในภาคสมัครใจ ทั้งการ join group และ click poll
สำหรับศิษย์เก่า คลิ๊กที่นี่

ภาพศิษย์เก่ากับกิจกรรม one click รวมรุ่น
ภาพศิษย์เก่ากับกิจกรรม one click รวมรุ่น

เหตุเริ่มจากว่า มีอยู่วันหนึ่ง ปลายฤดูหนาว
มีรุ่นน้องผู้หญิง เค้าชื่อ เปรมฤทัย รุ่น 45
โทรเข้ามาสอบถามว่ามีรูปเก่าของเพื่อนร่วมรุ่นไหม
มีโอกาสได้ซักไซร้ไล่เรียงกันอยู่พักหนึ่ง เพราะผมรุ่น 31
ห่างจากเค้าไป 15 ปี ก็คงไม่สะสมภาพเพื่อนของเค้าเป็นพิเศษ
และอยู่ต่างสาขาวิชาด้วย ยิ่งยากเลย
แล้วนึกถึง หอจดหมายเหตุ ของ มูลนิธิโยนก ก็น่าจะมีคำตอบ
แต่ต้องไปค้น facebook.com/yonokfoundation

เป้าหมายของศิษย์เก่า
1. เพื่อตามหาเพื่อนร่วมรุ่นที่ห่างหายไปมากกว่า 10 ปี
2. เพื่อตามอยากได้ภาพเก่าของเพื่อนและตนเอง

นั่นจึงเป็นการเริ่มต้น ที่จะตามหารุ่นน้องในแต่ละรุ่น
แล้วก็พบว่ามีกลุ่มศิษย์เก่าในเฟสชื่อ We are yonok
ที่รวบรวมศิษย์เก่าไว้มากที่สุด
เพราะเป็นกลุ่มเฟสที่ไม่ได้แยกรุ่นเหมือนกลุ่มอื่น
และในกลุ่มนี้มีคำอธิบายกลุ่ม ว่า ..

ผมสร้างกลุ่ม YONOK ขึ้นมา
เพื่อให้เกิดการรวมตัวกันของพวกเราชาว YONOK
และสามารถรู้เรื่องราว สารทุกข์ ของแต่ละท่าน
ช่วยกันตามเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ
ให้มาเข้ากลุ่มกันเยอะๆ นะครับ
คิดถึงชาว YONOK ทุกคนครับ
ผู้สร้างกลุ่มเป็นศิษย์เก่ารุ่น 3 ชื่อ Tommy

จึงได้สร้าง poll ให้ศิษย์เก่าได้มาคลิ๊ก
https://www.facebook.com/groups/iamyonok/
ข้อมูลแบ่งเป็น รหัส 2 ตัวหน้า ของรหัสนักศึกษา 7 หลักหรือ 13 หลัก
ที่เหมาะกับการใช้แยกรุ่น
ไม่ต้องกรอกข้อมูลอะไรเลย
เพียง คลิ๊กเดียว ก็พบเพื่อน ๆ ในรุ่นแล้ว
กิจกรรมนี้ชื่อ One click รวมรุ่น
จากนั้นก็เชิญชวนรุ่นต่าง ๆ เข้าไปแสดงตัว
ตามความสมัครใจ 

ตัวอย่างผลของกิจกรรม one click รวมรุ่น
ตัวอย่างผลของกิจกรรม one click รวมรุ่น

โดยข้อความที่เชิญชวนไปมีดังนี้
ใครรหัส 2 ตัวอะไร รายงานตัวกันหน่อย
เพื่อน ๆ ที่เข้ามาใหม่ ตามหากันจะได้เจอ
1. ตอบ poll
2. ส่งภาพกลุ่มเพื่อน ๆ จ๊าบ ๆ ใต้โพสต์ แล้วบอกรหัสกันด้วย
3. แท็กเพื่อนในภาพด้วย เวลาเปลี่ยน ทรงผมก็เปลี่ยน

ภาพเชิญชวนร่วมกิจกรรม
ภาพเชิญชวนร่วมกิจกรรม

ภาพประกอบโพสต์นี้ .. มาจากกิจกรรม Reunion
งานรวมรุ่น เมื่อ 27 มกราคม 2561
ที่สระว่ายน้ำของมหาวิทยาลัย
“ในฐานะเพื่อนคนหนึ่ง ให้มิตรภาพของคำว่า  เพื่อนแล้ว .. หมดทั้งใจที่มีอยู่”
.. เพื่อนรุ่น 1 คุณสันติ เขียวอุไร
มีข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://77kaoded.com/

ภาพเชิญชวนร่วมกิจกรรม
ภาพเชิญชวนร่วมกิจกรรม

ศิษย์เก่า (YONOK Alumni) ที่จะร่วมกิจกรรม คลิ๊กที่นี่
https://www.facebook.com/groups/iamyonok/

วิธีดูมิตรภาพระหว่างเรากับเพื่อน ใน facebook.com ว่าหนิดหนมกันแค่ไหน

Case study of friendship

เพื่อนของเรา หมายถึง คนที่เรารู้จักเค้า และเค้าก็รู้จักเรา สนิทสนมกันในระดับหนึ่ง
เพื่อนของเพื่อน หมายถึง คนที่เพื่อนของเรารู้จักมักคุ้น หรือเป็นเพื่อนของเพื่อนเรา
แล้วต่อไป อาจเปลี่ยนความสัมพันธ์มาเป็นเพื่อนของเราอย่างจริงจังในอนาคตก็ได้

หนิดหนมกันแค่ไหน ทาง facebook.com มีคำตอบมาทั้งตัวเลข และภาพ และโพสต์

ถ้ามีเพื่อนประมาณ 3600 คน ก็จะได้รับแจ้งวันเกิดเพื่อนประมาณวันละ 10 คน
เป็นการเอา [จำนวนเพื่อน] หารด้วย [จำนวนวันใน 1 ปี] = [จำนวนเพื่อนต่อวัน]

วันนี้มีวันคลัายวันเกิดของเพื่อนหลายคน
และ facebook.com มีบริการดูมิตรภาพของเรากับเพื่อน
อาทิ ajburin กับ harncharnchai
ก็จะเปิดได้ผ่าน link : facebook.com / friendship / [me] [friend]
ลองตรวจสอบดูพบว่า
เราเข้าไปส่งดูมิตรภาพของเพื่อนของเราคนหนึ่งกับของเพื่อนอีกคนหนึ่งได้

อาทิ
บุรินทร์ กับ อติชาต มีเพื่อนร่วมกัน 290 คน
https://www.facebook.com/friendship/ajburin/harncharnchai/

หรือ
บุรินทร์ กับ ปู่เก๋ มีเพื่อนร่วมกัน 6 คน
https://www.facebook.com/friendship/ajburin/gthaiall/

หรือ
บุรินทร์ กับ ขวัญชนก มีเพื่อนร่วมกัน 394 คน
https://www.facebook.com/friendship/ajburin/100000864060918/

หรือ
นสพ.แมงมุม กับ นิเวศน์ มีเพื่อนร่วมกัน 572 คน
https://www.facebook.com/friendship/mangmumnewspaper/nivate2012/