สร้างเว็บไซต์ด้วยเวิร์ดเพรสในสิบนาที

พบบทความในบล็อก
ของ เอเชียเสิร์ชโซลูชั่น
ดิจิทัล มาเก็ตติ้ง เอเจนซี่
เรื่อง วิธีสร้างเว็บง่าย ๆ
ด้วยตนเอง ด้วยเวิร์ดเพรส
10 นาทีก็มีเว็บไซต์ได้
.
อ่านแล้ว
ทำให้นึกถึงการทำเว็บไซต์ในอดีต
ที่มีขั้นตอนมากมาย
แต่อ่านบทความนี้แล้ว
สามารถมีเว็บไซต์ระดับเทพ
ได้ในเวลาอันสั้น
.
สมัยก่อน
จำได้ว่า ผมเคยมอบหมายงาน
ให้นิสิตเขียนเว็บเพจ ทำเว็บไซต์
ตามโฮสติ้งที่ให้บริการฟรี
และ เวิร์ดเพรสเป็นเว็บไซต์
ที่จัดได้ว่า ได้รับความนิยมสูงสุด
.
ขั้นตอนการมีเว็บไซต์ด้วยตนเอง
ที่พบบน เอเชียเสิร์ชโซลูชั่น มี 9 ขั้นตอน
.
1. ลงทะเบียนและจดโดเมนเนม
2. เลือกผู้ให้บริการโฮสติ้ง
3. จัดการหน้าเว็บไซต์
4. ติดตั้งธีม หรือ ชุดโค้ดเวิร์ดเพรส
5. ติดตั้งปลั๊กอินที่ชอบ
6. กำหนดรายละเอียดการตั้งค่า
7. สร้างเพจ ให้กับเว็บไซต์
8. ตั้งค่าเมนู
9. เขียนบล็อกเนื้อหา
.
สรุปว่า
ไปหาอ่านรายละเอียด
ในบทความจากผู้เผยแพร่ได้
และหากติดขัดประการใด
ทาง เอเชียเสิร์ชโซลูชั่น เค้าก็พร้อม
ช่วยเหลือ และให้คำปรึกษาอย่างเต็มที่
ขอเอาใจช่วยทุกท่านครับ

https://vt.tiktok.com/ZSFaTKL2N/

สร้างเว็บไซต์
ด้วยเวิร์ดเพรส
ในสิบนาที
#tiktokuni
#wordpress
#howto
#website
#blog
#asiasearch
#digitalmarketing

https://asiasearch.co.th/how-to-create-a-website/:)

ค้นหาเพื่อแก้ไขใน wordpress

วันนี้เพื่อนเก่าคนหนึ่ง
ทักมาให้ช่วยหาสิ่งหนึ่ง
ใน wordpress ว่าแก้ไขตรงไหน
ปัจจุบันองค์การมากมายใช้งาน
ระบบ content management system
เพราะรองรับความต้องการได้ครบ
และถูกพัฒนาอยู่ตลอดเวลา
สรุปว่าเพื่อนเค้าก็เลือกใช้ระบบนี้ครับ
และมีสิ่งหนึ่งที่หาวิธีแก้ไขไม่พบ
.
เป็นงานฟื้นฝอยหาตะเข็บ
ว่าสิ่งที่จะแก้ไขนั้น
อยู่ตรงไหนในเมนูหลักหลังบ้าน
เพราะคลิกหาแล้วไม่พบ
มีตัวเลือกมากมาย และอยู่ลึก
เข้าไปแก้ไขข้อมูลไม่บ่อย
นานทีมีหน ถึงจะเข้าระบบหลังบ้าน
.
พอทราบความต้องการ
และสิ่งที่จะแก้ไข
ผมก็ใช้ browser เปิดดู
แล้วเปิด developer tools
จากนั้นก็ใช้ mouse ชี้ไปตำแหน่งนั้น
.
มองหาชื่อ class
พบว่าคุ้นเคยชื่อนี้มาก
แต่ก็ยังนึกไม่ออก
เพราะเป็นระบบของเพื่อน
ที่ผมก็ไม่เคยใช้งานสิ่งนี้
.
จึงนำชื่อ class
ส่งไปค้นหาในอินเทอร์เน็ต
จนพบว่านี่เป็นชื่อ plug in ตัวหนึ่ง
จึงกลับไปดูรายชื่อ plug in
ในระบบ administrator ที่อยู่หลังบ้าน
ก็พบว่าสามารถแก้ไขข้อมูลได้
ตามโจทย์ที่เพื่อนต้องการ
.
สรุปว่า ส่งข้อความไปบอกเพื่อนแล้ว
ว่าจะเข้าไปแก้ไขจากตรงไหน
มีเพื่อนก็ช่วยเพื่อน พอช่วยได้ก็ช่วยกัน
ไม่เหลือบ่ากว่าแรงก็ช่วยกันไป
ตามประสาน้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่าครับ

#searching
#wordpress
#cms
#backend
#school
#coding

https://vt.tiktok.com/ZSFjMjqGK/

https://fb.watch/qeuTQsj9Xw/

การดำเนินการอัพเดทเป็นรุ่น 6.3.1

30 ส.ค.66 ร่างกายเราอัพเกรดทุกวัน ผมยาวขึ้น เล็บยาวขึ้น เลือดลมไหวเวียนตลอดเวลา หายใจเข้านาทีหนึ่งก็หลายสิบครั้ง ระบบบล็อกก็เช่นกัน มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาที่ไหนสักแห่ง เมื่อพัฒนาจนได้ที่ เข้าที่เข้าทาง ก็จะเปิดให้มีการปรับปรุงรุ่นครั้งใหญ่ ซึ่งผมเองก็เลือกอัพเดทในวันที่สะดวก คือ วันนี้

สรุปว่าได้ทำการปรับรุ่นของระบบบล็อก (Blog) ทุกตัวที่ดูแลอยู่ให้ทันสมัยขึ้น โดยคลิก Update to version 6.3.1 บน Dashboard ของ wordpress ในรุ่นนี้ปรับเรื่องสำคัญจึงพบข้อความแจ้งว่า Database Update Required ที่เกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล แล้วก็ต้องคลิก Update WordPress Database

การสำรองข้อมูล ดำเนินการแตกต่างกันไปในแต่ละระบบ

ก่อนดำเนินการอัพเดท มีคำเตือนให้สำรองข้อมูลก่อน
หากมีกรณีผิดพลาดก็จะได้กู้คืนได้โดยง่าย

1) บน thaiall.com/blog ไม่พบปัญหาใด ๆ และอัพเดท Theme: Twenty Sixteen ก็ไม่พบปัญหา
2) บน thaiall.com/blogacla ใช้ Theme: Twenty Sixteen อัพเดทแล้วก็ไม่พบปัญหาเช่นกัน
3) บน thainame.net/edu เป็น 6.2.2 เมื่อคลิก Update to version 6.3.1 ก็ไม่พบปัญหา ใช้ Theme: Astra อัพเดทแล้วก็ไม่พบปัญหา
4) บน thaiabc.com/lampangnet เป็น 6.2.2 เมื่อคลิก Update to version 6.3.1 พบปัญหา There has been a critical error on this website “The authenticity of wordpress-6.3.1-no-content.zip could not be verified as no signature was found.” ไม่มีการ update จึงต้องดำเนินการผ่าน File manager ทั้งหมด

การอัพเดทผ่าน File manager มีขั้นตอน ดังนี้
1. เปิด File manager บน Plesk (ของผมใช้ตัวนี้)
2. import file via url : https://wordpress.org/latest.zip ไปไว้ใน /wp631 ซึ่งเร็วมาก
3. Archive, Extract Files, latest.zip เป็นบริการของ File manager
4. ลบหรือเปลี่ยนชื่อ wp-admin และ wp-includes ในห้องเดิม แต่ wp-content ปล่อยไว้คงเดิม
5. ย้ายแฟ้มทั้งหมดใน lastest.zip ไปไว้ในห้อง wordpress ยกเว้น wp-content และ wp-config.php อย่าไปแตะ
6. เปิด thaiabc.com/lampangnet/wp-admin/ แล้วคลิก Update WordPress Database + Continue
7. เสร็จสิ้นการ update จาก 6.2.2 เป็น 6.3.1 เปิดใช้งานสร้าง post ได้ตามปกติ

การดำเนินการอัพเดทเป็นรุ่น 6.3.1

Backup ไว้เพื่อความอุ่นใจ
Backup ไว้ เพื่อความอุ่นใจ

เวิร์ดเพรสจอดำ แก้ไขอย่างไร

ความเป็นมา .. มีอยู่วันหนึ่ง ในระหว่างเสนอผลการสำรวจคนไทยให้นิสิตของผมได้รู้ถึงสถานการณ์ ว่าทักษะที่แรงงานไทยขาดแคลนมากที่สุดคืออะไร จากข้อมูลที่เคยอ่านพบจากเอกสารในหัวข้อ Productivity and investment climate survey ซึ่ง Boonlert Theeratrakul บอกว่า คนทำงานไทยขาดทักษะสำคัญ 3 เรื่องคือ 1) ภาษาอังกฤษ 2) ทักษะด้านไอที และ 3) ทักษะเชิงตัวเลข จึงจะเปิดเอกสารที่เคยโพสต์ไว้ในบล็อก “IT Blog เทคโนโลยีสารสนเทศ” ซึ่งใช้ระบบ wordpress ให้บริการ Blog เมื่อคลิกเปิด post ตามลิงค์ที่แชร์ไว้ พบว่า จอดำ (Black Screen) บนทั้ง 2 Blog sites ที่เปิดให้บริการไว้

3 เรื่องที่คนไทยขาดแคลน

หลังการสืบค้น .. เข้าไปดูในระบบ administrator พบ fatal error จากโค้ด /legacy /class-jetpack-signature . php on line 218 และแจ้งว่า Call to undefined function ctype_digit() ซึ่งปัญหานี้เกิดขึ้นกับ Blog site ทั้ง 2 ระบบบน server ตัวนี้ เมื่อนึกย้อนไปว่าก่อนหน้านี้เกิดอะไรขึ้นบ้าง พบว่า ผมได้ทำการ upgrade จากรุ่นของ php 7.3 เป็น 7.4 นั่นคือ 7.4 บนเครื่องบริการนี้ ไม่สนับสนุน ctype_digit จึงต้องหาวิธีแก้ไขต่อไป

วิธีแก้ปัญหาที่ 1
พบคำแนะนำให้ลบ folder jetpack ออกจาก plugins แล้วใช้ ftp upload เข้ามาใหม่ ซึ่งคำแนะนำนี้ใช้ได้กับ jetpack ที่หยุดการทำงาน แล้วไม่สามารถสั่ง Activate ขึ้นมาได้ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับ shared server ที่เป็น windows ตัวหนึ่งของผม ที่แก้ไขได้ด้วยการอัพโหลดผ่าน FTP แทนการติดตั้งผ่านระบบ admin ของ wordpress โดยตรง แต่กรณี ctype_digit นี้ ไม่สามารถแก้ไขด้วยการเปลี่ยนแฟ้มบนเครื่องบริการ

วิธีแก้ปัญหาที่ 2
พบคำแนะนำให้แก้ไข php.ini โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. เพิ่ม extension=ctype.so เข้า php.ini
  2. สั่ง Activate : jetpack ที่ติดตั้งอยู่ ถ้ามีปัญหา ให้ลบ folder แล้วอัพโหลดใหม่ หรือเปลี่ยนชื่อเป็นชื่ออื่น ซึ่งผมเลือกการเปลี่ยนชื่อ ทำให้เกิดการตรวจสอบในรายการ plugins ใหม่
  3. เมื่อใช้งาน jetpack ได้แล้ว อาจต้อง setup ใหม่ โดยเชื่อมกับ wordpress.com แล้วคลิก Approve
  4. บริการเบื้องต้น คือ Jetpack Stats ซึ่งยังไม่มีค่าใช้จ่าย

ปัญหานี้ เกิดจาก server ที่ให้บริการ webhosting ได้กำหนดค่า default ของ php 7.4 ว่า disabled ctype เป็นแบบ default ส่วนรุ่น 7.3 ไม่พบปัญหา เพราะ enabled เป็น default จึงต้องแก้ไขด้วยการเข้าไปแก้ไข php.ini เพื่อสั่งเรียก extension ที่ชื่อ ctype

ctype_digit function in php 7.4

site icon ของบล็อกนี้ ปรับ ก.พ.65

WordPress มี Site icon ในหัวข้อ Site Identity ให้เลือก upload ภาพประจำไซต์ฺได้ ซึ่งบล็อกนี้เลือกใช้ Twenty Sixteen สามารถกำหนดภาพได้
ประกอบกับช่วงนี้เตรียมตัวอย่างชุดภาพที่วาดด้วย Vector โดยเลือกวาดตัวเองอย่างง่าย สวมเสื้อหลากสี ด้วย Powerpoint แล้วส่งออกเป็น png เพื่อนำไปช้งาน ซึ่งภาพใน Powerpoint กำหนด slide ไว้ 6 ซม * 6 ซม จะุได้ภาพส่งออกเป็น 227px * 227 px โดย 37.83 = 1 ซม. ดังนั้นภาพ 10 ซม. * 10 ซม. ก็จะได้ขนาด 378px * 387px ภาพนี้ชื่อ face_01 เป็น vector ถือเป็นเซตแรกที่ได้วาดภาพคน ไม่ได้สวยใส่ หล่อเหล่า จมูกโด่ง คางแหลม ๆ แต่ผมก็ชอบในแบบของผม จึงเลือกมาเป็น site icon ของบล็อกนี้ ขนาดต้นฉบับที่ส่งออกจาก powerpoint มีขนาด 227px แต่ wordpress ต้องการ 512px จึงใช้ irfanview ทำการ resize เป็น 512 px แล้วจึงอัพโหลดเข้าไปในบล็อก

face_01

เปลี่ยน php version ใน apache handlers

apache handlers

20220202 วันนี้มีเรื่องเล่า กรณีปัญหาจาก thainame . net ที่เกิดขึ้นเมื่อหลายวันก่อน คือ wordpress บน hosting ของผมตัวหนึ่ง down ไปพักหนึ่ง เพราะมีการย้ายเครื่องบริการ ตามแผน Maintainance ของผู้ให้บริการที่ผมไปเช่าเค้าอยู่ ซึ่งเข้าใจในสิ่งที่เค้าต้องทำ ต่อมามีโอกาสเข้าไปตรวจสอบเพื่อแก้ไข ได้ควานหาปัญหาจาก code ของ wordpress ว่าปัญหาเกิดจากจุดใดอยู่พักหนึ่ง หาว่าทำไมเปิด blog ขึ้นมาแล้ว ถึง redirect ไป url ที่มีชื่อ host ที่ผมไม่ได้กำหนดขึ้นมาแทนที่ ปัญหาอยู่ตรงที่ ระบบบล็อกรีไดเร็คไปยังที่อยู่ใหม่ที่ผิดพลาด ต่อมา พบตำแหน่งใน code จึงรู้ต้นเหตุว่าในระบบฐานข้อมูล ในตาราง options พบระเบียนที่เก็บข้อมูล WordPress Address (URL) และ Site Address (URL) มีค่าเปลี่ยนไป จึงใช้ phpmyadmin เข้าไปเปลี่ยนกลับให้ถูกต้อง ก็พบว่า blog กลับมาใช้งานได้ปกติ

แล้วตัวผมเองก็มีความต้องการใหม่ขึ้นมา คือ อยากอัพเกรด theme ใหม่ แต่ระบบเตือนว่ารุ่นของ php เป็น 5.6 ซึ่งเก่าแล้ว เมื่อเข้าไปเปลี่ยนเป็น php 7.4 ผ่าน php selector ใน cpanel ซึ่งเป็นตัวเลือกสูงสุดที่มีให้ใช้งานได้ แต่ถ้าจะใช้ php 8.1 ต้องเข้า upgrade แบบเสียค่าใช้จ่าย ผลการเปลี่ยนแปลงใน cpanel ไม่พบปัญหา และใน control panel แสดงเป็น 7.4 ตามที่เปลี่ยนไป แต่ปัญหาอยู่ตรงที่ เปลี่ยนเป็น 7.4 แล้วแต่ phpinfo ยังแสดง php 5.6 อยู่ นั่นหมายความว่า ผมเขียน code ด้วย php และทำงานได้ แต่ตัวแปลภาษายังเป็นรุ่น 5.6 เช่นเดิม นั่งทำใจค้นข้อมูลอยู่เกือบสัปดาห์หนึ่ง มีคนบ่นใน community ของผู้ให้บริการเหมือนผม แต่ไม่มีคำตอบที่น่าพึงพอใจ แล้ววันหนึ่งตอนที่สมองโล่งหน่อย ก็เข้าไปตรวจใน apache handlers เพียงไม่นาน พบว่า เรากำหนดได้ว่าสกุล php จะใช้ application ใด แล้วผมก็เปลี่ยนจาก 5.6 เป็น 7.4 ณ ตำแหน่งนี้ สรุปว่า ตรวจสอบด้วย phpinfo และเขียน code php พบว่าทำงานด้วย 7.4 ตามที่ต้องการแล้ว

site address

การสร้าง plugin สำหรับ wordpress

3 ต.ค.64 มีโอกาสค้นข้อมูลเรื่อง การสร้าง plugin สำหรับ wordpress พบรายละเอียดเขียนดีมาก ทำตามได้เลย ที่ borntodev.com จึงได้ทำตามขั้นตอน แล้วผมก็ได้ plugin มาใช้งาน ซึ่งโปรแกรม plugin ตัวนี้มีชื่อว่า BMI Calculator เพื่อคำนวณดัชนีมวลกายจากน้ำหนัก และส่วนสูง มีขั้นตอน 13 ขั้นที่ได้บันทึกไว้ ดังนี้ 1) ติดตั้ง xampp บน localhost 2) ติดตั้ง wordpress 3) ทดสอบใช้งาน http://localhost/wordpress 4) สร้าง folder ชื่อ test-plugin ใน htdocs/wordpress/wp-content/plugins 5) สร้างแฟ้ม test-plugin.php ใน folder ที่สร้างขึ้น โดยกำหนดให้เป็น utf8 6) เข้า http://localhost/wordpress/wp-admin เพื่อจัดการ 7) เข้า Plugins จาก left menu พบ BMI Calculator ตามแฟ้มและโฟรเดอร์ที่สร้างขึ้น 8) คลิ๊ก Activate 9) เรียกใช้ด้วยการสร้าง Post ใหม่ 10) สร้าง Block และ Search หา Object ที่จะใช้ ให้พิมพ์ Shortcut [/] 11) ในช่อง Write shortcode here… ให้พิมพ์ [GenBmiCal] 12) คลิ๊ก Preview หรือ Publish 13) พบ textbox ตามที่กำหนดใน php code และประมวลผลได้ปกติ

https://www.borntodev.com/2020/04/19/%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99-plug-in-%E0%B8%9A%E0%B8%99-wordpress/

/**
* Plugin Name: BMI Calculator
* Description: BMI Calculator To Content
*/
function BmiCalculator() { return ‘BMI Calculator’; }
add_shortcode(‘GenBmiCal’, ‘BmiCalculator’);
// https://www.thaiall.com/perlphpasp/source.pl?key=9152

#เล่าสู่กันฟัง 62-290 การเพิ่ม sharethis ใน footer.php ของ wp

30 ธ.ค.62 พบว่า sharethis.com พัฒนาบริการให้สมบูรณ์ขึ้น ประกอบกับ 1 ส.ค.61 บริการ facebook ไม่บริการ api ให้ tweet ส่งโพสต์อัตโนมัติไป facebook ส่วน facebook เองก็สนับสนุนส่งโพสต์อัตโนมัติไปสื่อสังคมอื่นที่เป็นคู่แข่งก็อาจลดลงในอนาคต ยกเว้น instagram ที่มีเจ้าของเดียวกัน เพื่อเพิ่มบริการ share post ให้ wordpress จึงเข้าไปขอใช้บริการจาก sharethis.com เลือกปุ่มสำหรับ share page จำนวน 5 ปุ่ม (ตามชอบ) แล้วนำ code จากทั้ง 2 ส่วนไปวางใน footer.php ก่อนบรรทัดเรียก function wp_footer(); ของ wordpress ผ่าน menu, appearance, theme editor พบว่าเมื่อเปิดการแก้ไข theme editor มีการแจ้งเตือนว่า ถ้าแก้ไขโค้ดอาจทำให้ผลการเปลี่ยนแปลงหายไปในอนาคต หากมีการอัพเดทรุ่น wordpress หรือเปลี่ยน theme ใหม่

ขั้นตอนการเพิ่ม sharethis.com เข้า footer.php ดังนี้

  1. เริ่มจากใช้บัญชี facebook หรือ google หรือ email เข้าระบบ
  2. สามารถเลือก inline share buttons
    เพื่อนำไปวางใน right menu ของ wordpress
  3. คัดลอก div จากหน้า inline share buttons
  4. คัดลอก script จากหน้า settings
  5. รวม code จากข้อ 3 และ 4 ไปวางใน webpage footer.php

Facebook API Changes Mean You Can No Longer Auto Post Tweets to Facebook

App wordpress ช่วยเขียน blog

เล่าสู่กันฟัง 62-289

แอพ wordpress คือ โปรแกรมสำหรับเชื่อมต่อกับบัญชีระบบ wordpress หากมีหลายไซต์ หรือมีหลายบัญชีในหลายไซต์ ดังนั้นการเขียน blog ผ่าน wordpress ผ่านแอพ จะช่วยให้เขียนบันทึกได้ง่ายขึ้น เพราะแอพเดียวเข้าได้ทุกไซต์ ออกแบบมาให้ทำงานได้ดีบนสมาร์ทโฟน ที่มีขนาดหน้าจอจำกัด เหมือนเฟสบุ๊คที่มีแอพ ช่วยให้ทำงานได้เร็วกว่า แต่หากมีฟังก์ชันใดที่ไม่มีบริการในแอพ ก็เข้าผ่าน browser ในโหมด desktop แทน
https://wordpress.org/support/topic/403-error-after-changing-a-setting-with-xmlrpc/

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10158028917172272&id=350024507271

ปรับ header.php ของ wordpress

หลายวันมานี้

สำหรับผู้ที่ติดตาม thaiall.com จะรู้ว่าเว็บไซต์ล้มไปราว 3 วันครึ่ง (9 พ.ย. 2019 22:33 จน 13 พ.ย.2019 06.00) เพราะระบบ WordPress ที่เปิดไว้ 2 ระบบถูกสแปม เข้าไปที่โพสต์หนึ่งอย่างต่อเนื่อง ผลการถูกโพสต์ comment แบบรัว ๆ เข้าไปประมาณ 3000 โพสต์ สิ่งที่เกิดขึ้นตามมา คือ โฮสแขวนเว็บไซต์ และแจ้งให้ผู้ดูแลลบ code ที่ก่อปัญหา พบว่า เป็นระบบ wordpress ซึ่งตัวโค้ดเองไม่ได้มีปัญหา แต่ปัญหาเกิดจาก 1) ไม่ upgrade และ 2) ไม่ดูแลระบบเลย ในที่สุดก็ต้องลบ wordpress ออกจากระบบ แม้จะเข้าไปคุยแบบ chat กับ support ทั้งหมด 3 รอบ แต่ไม่เป็นผล หากดื้อดึงต่อไป ไม่ลบ wordpress เค้าคงไม่เปิดระบบให้อีก ในที่สุดโฮสก็เลิกแขวน เพราะเข้าไปลบ code ของ wordpress ออก เพื่อเตรียมลงใหม่ทั้งชุด

เมื่อระบบตื่นขึ้นจนเห็นหน้าตามเว็บไซต์แล้ว

เข้าไปเปลี่ยนรุ่นของ php เป็น 7.3.2 จาก 5.3.29 และติดตั้ง wordpress 5.3 ตัวใหม่ที่ดาวน์โหลดแบบ .zip มา แล้วหลังติดตั้ง พบว่า มีการยิงเข้าไปที่โพสต์หนึ่งอย่างต่อเนื่องเช่นเดิมไม่เปลี่ยนแปลง จึงต้องไปเปลี่ยนนโยบายของการส่ง comment ว่า ถ้าไม่ใช่สมาชิกก็โพสต์ไม่ได้ การส่งสแปมจึงยุติลง

หลังใช้ wordpress ได้แล้ว

ก็ใช้ theme : Twenty Sixteen เลือก header image สวยแบบเดิม และพบว่าพื้นที่ส่วนของ header image น่าเปลี่ยนเป็น a d s e n s e จึงทำการลบ code ของ header image และเปลี่ยนใช้ code ของ a d s e n s e แทน

สรุปว่า

วันนี้ขอเล่าเพียงแต่ว่าได้เปลี่ยน header image ด้วยการแก้ไข header.php ส่วน truehits.net นั้นแก้ไขใน footer.php ก็ใช้ div เพิ่มก่อนปิด body

ภาพในอีเมล