ยอดเว็บไซต์ หมวดการศึกษา ปี ค.ศ. 2003

เว็บไซต์ก็เปรียบเสมือน
บ้าน โรงเรียน หรือ มหาวิทยาลัย
บริษัท และ หน่วยงานราชการ
แบ่งเป็นห้อง เป็นชั้น ไว้มากมาย
.
เพื่อนที่อยู่ในแวดวงการศึกษา
ทั้ง ผู้สร้าง และ ผู้สืบค้น
ย่อมคุ้นชิน กับ เว็บไซต์
ที่จัดว่าเป็น เทคโนโลยีทางการศึกษา
.
กิจวัตรของ.ทุกคน คือ เข้าถึงเว็บไซต์
ตามหมวดที่ตนเอง สนใจอยู่เป็นประจำ
.
ตามที่ประเทศไทยมีการรวบรวม
ข้อมูลเว็บไซต์ผ่านบริการ
ของ ศูนย์รวมสถิติเว็บไทย
สารบัญเว็บไทย truehits.net
ที่จำแนกข้อมูลออกเป็นหลายหมวด
.
สำหรับ หมวด .การศึกษา
มีการเสนอเว็บไซต์ 20 อันดับแรก
ที่ได้รับความนิยม
เป็นข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่า
เว็บไซต์ใดที่มีเนื้อหา
ถูกใจคนไทยมากที่สุด
.
ตามข้อมูลในปี ค.ศ. 2003
พบว่า
อันดับแรก คือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
อันดับที่สอง คือ  เอ็ดดูโซน
อันดับที่สาม คือ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
อันดับที่สี่ คือ เน็ตดีไซน์
.
ซึ่งในหมวดการศึกษา
มีจำนวนเว็บไซต์สูงสุด
.
จึงแสดงให้เห็นว่าสมัยนั้น
เว็บไซต์ด้านการศึกษา
เป็น อีกสื่อที่สำคัญ
เพื่อใช้ในการสื่อสาร
.
เมื่อมองย้อนกลับ
ไปในอดีตแล้ว
เราทุกคนมีเรื่องราว
ที่ชวนให้คิดถึงเสมอครับ

#tiktokuni
#website
#homepage
#education
#school
#university
#ranking
#information

https://vt.tiktok.com/ZSFxqUqxV/

https://web.archive.org/web/20041010044640fw_/http://truehits.net/index_index.php

https://web.archive.org/web/20040929025128/http://truehits.net:80/

อันดับเว็บไซต์ด้านการศึกษา ปี ค.ศ. 2003 – 2022

ว็บไซต์อันดับ 1 ด้านการศึกษา ตั้งแต่ปี 2003 ถึงปัจจุบัน มีผลการจัดอันดับในแต่ละปี ดังนี้ 1) ปี 2003 ru.ac.th มี UIP 3,228 ต่อวัน 2) ปี 2004 eduzones.com 3) ปี 2005 eduzones.com 4) ปี 2006 vcharkarn.com 5) ปี 2007 vcharkarn.com 6) ปี 2008 vcharkarn.com 7) ปี 2009 eduzones.com 8) ปี 2010 eduzones.com 9) ปี 2011 eduzones.com 10) ปี 2012 eduzones.com 11) ปี 2013 eduzones.com 12) ปี 2014 gotoknow.org 13) ปี 2015 gotoknow.org 14) ปี 2016 gotoknow.org 15) ปี 2017 gotoknow.org 16) ปี 2018 gotoknow.org 17) ปี 2019 trueplookpanya.com 18) ปี 2020 trueplookpanya.com 19) ปี 2021 trueplookpanya.com 20) ปี 2022 trueplookpanya.com มี UIP 97,965 ต่อวัน

ปัจจุบัน ทรูปลูกปัญญา คือ เว็บไซต์ด้านการศึกษา อันดับ 1 ของประเทศไทย มีกลุ่มเป้าหมาย คือ เยาวชนไทยยุคดิจิทัล เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด มีเนื้อหาที่ประกอบด้วย คลังบทเรียน คลังข้อสอบ สนามสอบเสมือนจริง คลิปการเรียน ระบบอัปสกิล ระบบจัดการห้องเรียนออนไลน์ และ คอร์สเรียนออนไลน์ มีแอปพลิเคชันทรูปลูกปัญญาทั้งบน Play store และ App store หรือชมผ่านทางช่องทรูปลูกปัญญา

https://thaiall.com/truehits/

ปรับสีพื้นเทมเพจรุ่น 9.0 ก่อนส่งเข้า pagespeed หวังได้ 100

เล่าเรื่องกำหนดสีพื้นใน .css ของเว็บไซต์ด้านการศึกษา

ทิสเซิล (Thistle) คือ ชื่อทั่วไปของไม้มีหนาม มีอยู่มากมายหลายสายพันธุ์ โดย มิลค์ ทิสเซิล เป็นพืชสมุนไพรมีฤทธิ์ทางยาที่มีการนำมาสกัดเป็นแคปซูลจำหน่ายเป็นยาบำรุงร่างกาย มีสรรพคุณ เช่น ดีท็อกซ์ ตับ โดยสีของดอกทิสเซิลเป็นสีม่วง ค่าสี RGB ของ thistle คือ #D8BFD8 ในการกำหนดสีบนเว็บเพจสามารถใช้ชื่อสี thistle ได้เช่นเดียวกับ red, green, blue หรือ teal

Thistle is the common name of a group of flowering plants characterised by leaves with sharp prickles on the margins, mostly in the family Asteraceae.

ซึ่งเทมเพจรุ่น 9.0 ของ thaiall.com เปลี่ยนสีพื้นจาก teal สีเขียวนกเป็ดน้ำ เป็น thistle ม่วงอ่อน ก็ด้วยหวังว่าเว็บไซต์จะถูกพัฒนาไปถึงจุดที่มีประโยชน์ต่อการศึกษาของไทย เพราะการพัฒนาการศึกษาไม่ได้ขึ้นกับใครเพียงคนเดียว พบว่า มีผู้พัฒนาเว็บไซต์ด้านการศึกษาจำนวนมากในระบบของทรูฮิต รู้สึกว่ามีเพื่อนที่คิดเหมือนกันอยู่ในประเทศไทยไม่ใช่น้อย  ถ้านักพัฒนาท่านใดโชคดีก็จะมีผู้สนับสนุนที่ทำให้มีแรงกำลังพัฒนางานได้อย่างต่อเนื่อง ไม่หายไปตามกาลเวลา

ขณะนี้กำลังปรับแต่งรุ่นทดสอบของเทมเพจ 9.0 ให้ผ่านเกณฑ์ประเมินตามมาตรฐานของ Pagespeed insight ของ google.com ทั้ง 4 กลุ่มเกณฑ์ เริ่มจาก
ประสิทธิภาพ (Performance) ตามด้วย การช่วยเหลือพิเศษ (Accessibility) แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) และ SEO (Search Engine Optimization) ซึ่งเงื่อนไขการประเมินเปลี่ยนตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เช่น ภาพที่เหมาะสมก็จะแนะนำให้ใช้ .webp เป็นต้น

แต่การปรับให้ได้ 100 ทุกเว็บเพจนั้น น่าจะทำได้ยาก แต่จะพยายามปรับแก้ให้ได้คะแนนสูงขึ้น เพราะเทมเพจหลักจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรภายนอก (External Resources) เฟรมเวิร์ค (Framework) และไลบรารี่ (Library) ที่เราไม่ได้ควบคุมอีกหลายรายการ เช่น Truehits.net, Histats, Bootstrap หรือฝังโค้ดจาก Google drive  หรือ Youtube.com

https://www.thaiall.com/web2/

ทุกความพยายามมีค่าเสมอ

ห้องเรียนแห่งอนาคต

เห็นความพยายามของนักเรียน
เห็นความพยายามของครู
เห็นความพยายามของผอ.
เห็นความพยายามของกระทรวง
ทุกความพยายามมีเหตุมีผล
มีประสบการณ์ที่แตกต่างกัน
ตามฐานสมรรถนะ และบริบทของตนเอง
อาจเป็นผู้ทำ ผู้ถูกกระทำ ผู้สนับสนุน
ผู้รับผลบวกหรือผลลบ ผู้ชม ผู้ไม่เข้าใจ
ผู้ทำอย่างสุจริต และไม่สุจริต
ผู้เจตนาสร้างสรรค์ และไม่สร้างสรรค์
หรือผู้สะท้อนคิดอยู่ห่าง ๆ
บน timeline จุดใดจุดหนึ่ง

นักผจญฝัน

“ถ้าคุณคิดว่า การศึกษามีราคาแพง ก็ลองจ่ายราคา ของความไม่ฉลากดูสิ”
Derek Bok

If you think education is expensive,
try ignorance.

ข้อเสนอแนะ และเพิ่มเติม หลังมอง 17 ข้อ ของ ลอย ชุนพงษ์ทอง

ชำแหละ #แผนการศึกษา #จุดจบความคิดสร้างสรรค์ #ใส่กรอบแบบเดียวกัน

ข้อเสนอแนะ และเพิ่มเติม หลังมอง 17 ข้อ ของ ลอย ชุนพงษ์ทอง
#1 รัฐจัดให้เด็กได้เรียนรู้
– ตามความถนัด จัดให้เรียนที่ถนัด (คณิต อังกฤษ จีน เกาหลี เป็นต้น)
– ตามท้องถิ่น จัดให้เรียนตามภูมิปัญญาท้องถิ่น (ประมง เกษตร เลี้ยงสัตว์ สิ่งทอ เป็นต้น)
– ตามความเชื่อ จัดให้เรียนที่เชื่อ (นวัตกรรม ศาสนา วัฒนธรรม เป็นต้น)
– ตามศักยภาพ จัดให้เรียนตามศักยภาพ (ดนตรี กีฬา วิชาการ ค้าขาย เป็นต้น)
#2 รัฐส่งเสริมสนับสนุน และมีช่องทาง
– ให้ภาคเอกชน มีส่วนร่วมจัดการศึกษา (ฝึกงาน สหกิจศึกษา งานพิเศษ เป็นต้น)
– ให้องค์กรท้องถิ่น มีส่วนร่วมจัดการศึกษา (ครูพี่เลี้ยง จิตอาสา ภูมิปัญญา เป็นต้น)
#3 ภาคประชาชนมีสิทธิตรวจสอบ
– ร่วมตรวจสอบความโปร่งใสการใช้งบการเงิน
– ร่วมกันโหวตให้คะแนนที่นำไปสู่การจัดสรรงบประมาณ
#4 ระบุให้ชัดเจนถึงสิ่งที่ทำได้ และทำไม่ได้
– หน้าที่ของพ่อแม่
– หน้าที่ของผู้ปกครอง
– หน้าที่ของเด็ก
– หน้าที่สถานศึกษา
โดย หน้าที่ คือ ข้อปฏิบัติของบุคคลที่จะต้องกระทำให้เกิดประโยชน์เป็นผลดี
#5 ระบุสิทธิ เสรีภาพ ขอบเขต การแสดงออก
– สิทธิของพ่อแม่
– สิทธิของผู้ปกครอง
– สิทธิของเด็ก
– สิทธิของสถานศึกษา
โดย สิทธิ คือ อำนาจอันชอบธรรม ซึ่งบุคคลทุกคนพึงมีพึงได้ โดยไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น
#6 ระบุสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่
– สิทธิและหน้าที่ของครูในสถานศึกษา
– สิทธิและหน้าที่ของครูนอกสถานศึกษา
#7 สนับสนุน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ
– แก้ไขกฎกระทรวงต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.ฯ
– จัดคนให้เหมาะสมกับงาน และเป็นตัวแบบที่ดีให้เด็ก

https://www.thaiall.com/student/law.htm

Education on 31 March 2022


พบว่า truehits.net เผยแพร่ข้อมูลเว็บไซต์ด้านการศึกษาใน รูปแบบ XML สำหรับ ประเทศไทย มีเว็บไซต์ด้านการศึกษาจำนวนมาก พบว่า เว็บไซต์ truehits.net เผยแพร่ข้อมูลสถิติการเข้าถึงเว็บไซต์ของสมาชิก มีรายการชื่อเว็บไซต์ที่สามารถนำมาใช้ได้ จากลิงค์ http://truehits.net/xml/ สำหรับกลุ่มการศึกษามีลิงค์ที่ http://truehits.net/xml/education.xml ได้ข้อมูล 10 รายการ ส่วน http://truehits.net/xml/education_all.xml จะมีข้อมูลของสมาชิกในกลุ่มทั้งหมด เมื่อดาวน์โหลดแฟ้มนี้ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2565 พบว่า เป็นรายงานสรุปข้อมูลประจำวันที่ 31 มีนาคม 2565 มีข้อมูลทั้งหมด 578 รายการ สำหรับข้อมูลกลุ่มอื่น สามารถใช้ลิงค์เดิม แต่เปลี่ยนคำว่า education เป็น allmember, government, computer, education, travel, health, entertain, art, social, news, science, organize, person, internet, business, sport ก็จะพบข้อมูลตามชื่อกลุ่มที่เป็นข้อมูลล่าสุด ที่สามารถนำข้อมูลในรูปแบบ XML มาใช้ได้ตามต้องการ

ซึ่งแฟ้ม education.xml จะมีรูปแบบตัวอักษรเป็น ANSI เมื่อแปลงเป็น json ที่ใช้ โค้ดภาษา php โดยใช้ json_encode จะได้แฟ้มข้อมูลรูปแบบตัวอักษรเป็น utf-8 แล้วใช้ class easyui-datagrid ของ jquery-easyui แสดงข้อมูลจาก json เป็นตาราง

https://www.thaiall.com/xml/

https://www.thaiall.com/xml/truehits_education_650331.php

การเรียนรู้มีการศึกษานอกกระแส คล้ายกับ การแพทย์นอกกระแสหลัก

เด็กยุคใหม่เลือกได้ ว่าจะ เรียนรู้ตามกระแสหลัก หรือเรียนนอกกระแสหลัก เช่นเดียวกับ การแพทย์นอกกระแสหลัก ที่มีทั้ง การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก เคยฟังแนวคิด “การศึกษาทางเลือกคือทางรอด ที่เหมือนกับ การแพทย์ทางเลือกคือทางรอด” ได้ฟัง อาจารย์ลอย ชุนพงษ์ทอง (Loy Chunpongtong) ผู้เชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตร์ ในช่อง Loy Academy พูดเรื่องผลงานวิจัย ฟ้าทะลายโจรของกลุ่มการแพทย์ทางเลือก เสนอการใช้สมุนไพรต่อสู้กับโรคระบาด และบทความเรื่องการแปลผลค่า P-value 7% ไว้อย่างละเอียด และข่าวมิจฉาชีพทำการปลอมสมุนไพรระบาดอย่างหนัก มีบทความวิชาการ และหลักสูตรเกี่ยวกับการแพทย์นอกกระแสหลัก ที่นิสิต นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ สามารถหาข้อมูลอ้างอิงได้ อาทิ การพัฒนาบริการการแพทย์นอกกระแสหลัก ศาสตร์เพื่อการแสวงหาทางรอด หรือ งานวิจัยฟ้าทะลายโจรการแพทย์ทางเลือก

http://www.thaiall.com/futureclassroom

#เล่าสู่กันฟัง 63-013 แนวคิดการศึกษาในโลกอนาคต

อ่านเรื่อง 9 แนวคิดการศึกษาในโลกอนาคตของแจ็ค หม่า ใน eduzones.com และเขียนบรรยายเพิ่มเติมได้น่าสนใจ มีประเด็นที่ผมสนใจ ว่าประเด็นเหล่านี้จะไปอยู่ในโลกอนาคต หรืออดีต หรือปัจจุบันอย่างไร

แล้วแยกคำออกมาตามหัวข้อในภาพ นึกถึงเรื่องจริยธรรม สอดคล้องข้อ 7 “มีหัวใจ” ที่อยากชวนนิสิตได้วิพากษ์ ในทั้ง 9 ข้อ

1. รายได้เป็น key point
2. ถูกต้อง เพิ่มการวิเคราะห์
3. ทำงานเป็นทีมในหมู่เด็ก
4. เป้าหมายการศึกษา สอบเข้าไม่พอ
5. เรียนรู้ตลอดชีวิต
6. เรียนรู้ให้เร็ว จบให้เร็ว
7. มีหัวใจ
8. โลกไร้พรมแดน
9. สร้างสรรค์และนวัตกรรม

ข้อ 9 นี่นึกถึง coding และ research
แต่ eduzones มองข้อ 9 เช่น ศิลปะ กีฬา เต้นรำ

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10157815247706171&id=284423006170

http://www.thaiall.com/ethics

อุดมศึกษาไทยที่จะอยู่รอดในยุคแข่งขันเดือดและผู้เรียนลดลง อย่างไร

เรื่อง “อุดมศึกษาไทยที่จะอยู่รอดในยุคแข่งขันเดือดและผู้เรียนลดลง อย่างไร
บทความโดย ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์
พบว่า อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง แชร์มาในกลุ่ม จึงนำมาแชร์ต่อ

ทุกวันนี้ สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาไทย (ป.ตรี – เอก) ทั้งของรัฐ และเอกชน ต่างก็มีปัญหา เพื่อความอยู่รอดของกลไกตลาด (Market Mechanism) ที่เกิดขึ้น ซึ่งมีหลัก ๆ คือ

1. สถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน มีมากเกินกว่า “ตลาดผู้เรียน” เรียกว่าเป็น “สภาพการณ์อุปทานล้น (Over Supply Circumstances)” ของ อุปสงค์ (Demand) และ อุปทาน (Supply) เนื่องจากโครงสร้างการเกิดของประชากรที่ลดลง จะเห็นได้ว่ารับกันหลายรอบ ต่างก็ไม่เต็มกันแทบทุกหลักสูตร ทุกสถาบัน

2. นโยบายและการกำกับของรัฐ ที่มีรายละเอียดมาก ทั้งการควบคุม มาตรฐาน การประกันคุณภาพ สารพัดองค์/ตัวบ่งชี้ และ เกณฑ์ในการคัดเลือกเข้าระบบ TCAS (Thai University Center Admission System) ที่ซับซ้อน เปลี่ยนแปลงบ่อย อีกทั้งยังมีหลายมาตรฐานควบคุม ระหว่าง 1) มหาวิทยาลัยรัฐ 2) กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ- ราชมงคล 3) มหาวิทยาลัยของรัฐนอกระบบ / ในกำกับ (Autonomous University) 4) มหาวิทยาลัย-สถาบัน-วิทยาลัย เอกชน ซึ่งในหลายๆมิติ จะเห็นว่าบุคลากรทางการศึกษา ต้องใช้เวลาหลายอย่างมากกว่าเน้นการจัดการสอน
http://www.cheqa.mua.go.th/

3. โอกาสเปิดกว้างกับสถาบันอุดมศึกษาจากต่างประเทศ และ การเรียนผ่านระบบเครือข่าย (Online Degree and Courses) ที่เข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดเรียนในชั้นปกติ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (ในขณะที่มาตรฐานองค์รวมของสถาบันอุดมศึกษาไทยขยับตัวพัฒนาช้า จนทำให้มาตรฐานดูพัฒนาในภาพรวมช้า
https://www.thaicyberu.go.th/

4. ตลาดแรงงานที่เปลี่ยนมุมมองของคน Generation Y และ Generation Z ซึ่งรวมถึงคนวัย 30 ลงมาถึง teenage ที่มีเกือบครึ่งประเทศ ต้องการมีอิสระ และทางเลือกของตนเอง ดังนั้นทั้งต้องการเรียนรู้เอง ต้องการหาประสบการณ์ และ อาชีพเฉพาะตน/ SME มากขึ้น

ทั้งปัญหา ตลาด ระบบ คู่แข่งขันหน้าใหม่ และ วิถีชีวิต ที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น สถาบันการศึกษาไทย จึงต้องปรับตัว ขอตอบด้วยทฤษฎี Ansoff Matrix จากที่ทำได้ง่ายสุด ไปถึงที่ทำยากสุด ดังนี้

1. กลยุทธ์เจาะตลาด (Market Penetration) ลงลึก เน้นหนักตลาดปัจจุบัน ด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ (Present Market + Present Product)

สถาบันนั้นๆต้องปรับตัว เน้นทำตลาดให้ชัด สื่อสารการตลาดครบวงจร (Integrated Marketing Communication:IMC) ปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัย ทันการณ์ สดใส ทั้ง คณาจารย์ สร้างภาพมืออาชีพ เน้นใช้เทคโนโลยีช่วยสอน สร้างภาพลักษณ์ที่ดีเชิงประจักษ์ ทำ CSR (Corporate Social Responsibility) , CRM (Customer Relationship Management), CEM (Customer Experience Management) ให้ตลาดเห็นสถาบันเรามีตัวตน โดดเด่น (Outstanding) ออกมา พร้อมทั้งสร้างจุดเด่นจุดยืน (Brand Positioning) หาจุดยืนให้ชัดไปเลยว่าเราเป็นใครในตลาด เช่น เราคือ สถาบันวิจัย เราคือ สถาบันที่มีมาตรฐานการสอนสูงสุด เราคือผู้นำด้านสื่อสารมวลชน เป็นต้น หาแม่เหล็ก (Magnets) ด้วยตัวแทนสร้างชื่อ (Brand Ambassadorship) เน้นนำเสนอ เหล่าดารา นักกีฬา นักธุรกิจ มาเรียนที่เรา และอย่าลืม ลดต้นทุน ที่ไม่สำคัญออก ส่วนใดตัด Outsourcing ได้ ก็ทำ

2. กลยุทธ์พัฒนาตลาด (Market Development) หาตลาดใหม่ ด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีเดิม (New Market + Present Product)

เป็นวิธีที่เราเชื่อว่าสถาบันมีหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอนที่ดีแล้ว ก็หาตลาดใหม่ เปิดตลาดหาผู้เรียนจากต่างชาติเป็นภาษาไทย หรือปรับหลักสูตรให้เป็นภาษาที่ 2 หรือ 3 นำหลักสูตรไปหาตลาดต่างประเทศ สอนในต่างประเทศ ทั้งนี้ รวมถึงใช้เทคโนโลยีหาตลาดใหม่ด้วยการศึกษา Online ในหลักสูตร/ คณะต่างๆ เพิ่มขึ้น

3. กลยุทธ์พัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Development) หาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่โดนใจตลาดเดิม (Present Market + New Product)

สถาบันที่มีศักยภาพในความพร้อมทั้งบุคลากร เงินทุน เครื่องมือ และระบบสนับสนุนต่าง ๆ สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆออกมา (ต้องตอบโจทย์ที่เป็นที่ต้องการตลาดด้วย) ได้แก่ การเปิดคณะใหม่/ สาขาใหม่ ที่รองรับตาม Trend เช่น สังคมสูงวัย (Aging Society) ดังนั้นให้เปิดคณะ/ สาขา ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์- สุขภาพ ครบวงจร

อีกทั้งพัฒนาบริการที่เกี่ยวเนื่องการศึกษาอื่น ๆ (Subsidiaries) เช่น เป็นศูนย์บริการเชิงพาณิชย์ เช่น วิจัยธุรกิจ ที่ปรึกษาธุรกิจ ฝึกอบรม บริการสอนให้วุฒิบัตรต่าง ๆ (certificate) และยังสามารถมองตลาดแบบพัฒนาถอยหลัง (Backward Integrations) ลงไปเชื่อมธุรกิจกับระดับโรงเรียนมัธยม/ ปวช-ปวส หรือ พัฒนาเดินหน้า (Forward Integrations)เชื่อมเป็น Partner กับภาคธุรกิจ- ภาครัฐ รูปแบบต่าง ๆ

4. กลยุทธ์เข้าธุรกิจใหม่ (Diversification) หาผลิตภัณฑ์และตลาดที่มีศักยภาพใหม่ ที่เราพร้อมลุย
(New Market + New Product)

มองหาธุรกิจใหม่เพิ่มเติม ที่ทีมบริหาร เห็นโอกาส ว่ายอดขาย กำไร และ ส่วนแบ่งตลาด ที่เราทำได้ อาจใกล้ตัวหรือไกลตัว เช่น ธุรกิจหอพัก ศูนย์การค้า บริษัทการค้าต่าง ๆ เป็นต้น

สถาบันต่าง ๆ ควรต้องปรับตัว/ พัฒนา ไปทางใดทางหนึ่ง อย่าหยุดนิ่ง ซึ่งนึกถึงกฎของเมอฟี่ (Murphy’s Law) ที่ว่า “Anything that can go wrong, will go wrong” คือ “อะไรที่มีทิศทางเชิงลบ อย่าปล่อยไป” และ “อย่าปล่อยโอกาสให้มีการผิดพลาด โดยไม่สนใจ” เรารู้อยู่แล้วว่าอุดมศึกษาไทยแข่งเดือด แย่งกัน หลายสถาบันกำลังไปไม่รอด เริ่มมีสัญญาณปิดตัว โดนต่างชาติยึด เริ่มควบรวม เป็นต้น

หมายเหตุ: ทั้งหมดนี้ แค่มุมมองส่วนตัว ในฐานะที่เป็นอาจารย์คนหนึ่งที่ผ่านร้อนผ่านหนาวในวงการอุดมศึกษาไทยมา 21 ปี

ทฤษฎี Ansoff Matrix
ทฤษฎี Ansoff Matrix

https://www.tutor2u.net/business/reference/ansoffs-matrix

ฝ่ายหนึ่งที่ได้ 100 เต็ม แต่อีกฝ่ายก็ทิ้งดิ่ง ก็คงจะมีฐานคิดกันคนละขั้วเป็นธรรมดา

คำถาม
คำถาม

หลังสอบทุกครั้งจะมี 2 ขั้ว
ที่แตกต่างกัน เค้ามีคำถาม คำพูด และความคิด
สอดคล้องกับคะแนน หรือความเชื่อพื้นฐานอยู่แล้ว

กรณีแรก – ขั้ว 100
ไม่มีข้อสงสัยต่อคำถาม ไม่ตั้งแง่ให้เป็นอุปสรรคกับการเรียนรู้
ปัจจุบันมีเด็ก ๆ มากมาย ตั้งใจเรียน อ่านหนังสือ
หาความรู้ หาคำถาม และหาคำตอบ
ทั้งจากโรงเรียนกวดวิชา และคู่มือเตรียมสอบ

มีเด็ก ๆ จำนวนไม่น้อย
เค้ากระหายใครรู้ กระเหี้ยนกระหือรือ
ที่จะหาคำถามมาตอบ แล้วเค้นคำตอบด้วยตนเอง
ไม่ใช่สงสัยในระบบ หรือคำถามที่ยังไม่ได้หาคำตอบ
แล้วก็สรุปว่า ข้อสอบ คือ ปัญหา
http://www.lampang13.com/archives/8936

ขั้นตอนวิธี เป็นเรื่องที่นักเรียนจะได้เรียนรู้
ขั้นตอนวิธี เป็นเรื่องที่นักเรียนจะได้เรียนรู้

กรณีที่สอง – ขั้ว 0
มีข้อสงสัยต่อคำถาม
อันที่จริงแล้ว เมื่อได้คำถามมา
ที่อาจเป็นคำถามที่อยู่ในใจ หรือมีใครเค้าถามมา
บางทีคำตอบก็ไม่ได้สำคัญ
เท่าขั้นตอนการได้มา (Algorithm) ของคำตอบ
เพราะ การเรียนรู้ที่จะตอบคำถาม สำคัญกว่าคำตอบ
บางทีอาจนึกถึงที่มาของการตอบคำถามแบบ 5W1H
สุดท้ายก็ต้องถามว่า จัดการกับคำถามอย่างไร
1) .. 2) .. 3) .. 4) .. 5) ..
เห็น 5 หัวข้อนี้
ทำให้นึกถึงการค้นแล้วค้นอีก ที่เรียกว่า วิจัย (research)
คือ ขั้นตอนการได้คำตอบ อย่างมีขั้นตอน (Algorithm)
ที่ทำให้คำตอบ มีวรรณกรรมอ้างอิง และน่าเชื่อถือ
นี่เป็นกรณีที่คนถามเค้า serious ก็คงต้องตอบ seriously

ผ้าจำนำ กับ ผ้าอาบน้ำฝน
ผ้าจำนำ กับ ผ้าอาบน้ำฝน

ปล. ผมมองเป็น KM นะครับ และอ้างอิงแหล่งที่มาไว้แล้ว
https://www.facebook.com/ajWiriya/

ได้ 100 เต็ม
ได้ 100 เต็ม

อยากชวนฟัง ปาฐกถาของ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
ที่กล้ามองต่าง วิพากษ์การทำงานของผู้มีอำนาจ อย่างมีเหตุผล
เพราะโลกของเรามี 2 ขั้ว จึงทำให้เกิดการพัฒนา และพลวัต