กองเชียร์ กับ กองค้าน สุดท้ายขึ้นอยู่กับกฎที่บัญญัติไว้

กฎหมายบอกว่าไม่ผิด
กฎหมายบอกว่าไม่ผิด

มีปัญหามากมายในสังคม
ที่เกิดปัญหาจากการไม่ยึดกฎ
บางคนก็บอกว่าเป็นปัญหา หรือไม่เป็น
บางคนก็บอกว่าทำดี ไถ่โทษ
บางคนก็บอกว่าทำดีส่วนดี ทำชั่วก็ส่วนชั่ว
บางคนก็ใช้กำลังเป็นเครื่องชี้ถูกชี้ผิด
เอาหละ .. ในความเห็นของผม
มนุษย์ตั้งกฎขึ้นมา และในกฎนั้นก็บอกว่า
มนุษย์ทำสิ่งใดที่เรียกว่า ถูก สิ่งใดเรียกว่า ผิด

มาแล้ว! กองเชียร์บิ๊กป้อม โผล่ชุมนุมหน้ากห. ชี้โดนการเมืองเล่นงาน วอนให้อยู่ต่อ (คลิป)

ถ้ามนุษย์ผู้นั้นออกกฎ และบอกว่าสิ่งที่ตนทำนั้นถูกแล้ว
แม้คนอื่นจะบอกว่าผิด แต่ในกฎ บอกว่าคุณไม่ผิด
ผล คือ “ไม่ผิด วันยันค่ำ
เช่น
1. กินสุนัขตุ่นยาจีน เคยมีคนกินสุนัข ให้ตนเองมีชีวิตอยู่
แต่อยู่มาวันหนึ่ง กฎใหม่ก็บอกว่ากินสุนัขติดคุก
2. ตัดไม้ขายทำบ้าน เคยมีคนตั้งบริษัทตัดไม้ขายจนรวย
แต่อยู่มาวันหนึ่ง กฎใหม่ก็บอกว่าตัดไม้ไม่ได้ติดคุก
3. เผาหญ้าในบ้าน เคยมีคนทำไร่ ทำสวน หญ้าเยอะ
แต่อยู่มาวันหนึ่ง กฎใหม่ก็บอกว่าเผาหญ้านี่เค้าจับนะ
4. กินเหล้าเมาสุรา เคยนั่งกินเหล้า จนเมามาย แล้วขับรถกลับบ้าน
แต่อยู่มาวันหนึ่ง กฎใหม่ก็บอกว่ากินเหล้าขับรถ ติดคุกเชียว

ปัญหาที่เห็นเหมือนกัน แต่เห็นไม่เหมือนกัน
https://www.facebook.com/ajburin/posts/10156052934733895

คำถามถึงผู้สูงอายุ เป็นห่วยโซ่ จากอดีตสู่อนาคต

คำถามถึงผู้สูงอายุ จากอดีตสู่อนาคต
คำถามถึงผู้สูงอายุ จากอดีตสู่อนาคต

เกือบปลายปี 2559 ได้พูดคุยกับทีมคณะกรรมการเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดลำปาง (คค.สจ.ลำปาง) แล้วร่วมเป็นคณะอนุกรรมการวิชาการพัฒนายกร่างประเด็น การจัดการแบบบูรณาการเพื่อสร้างความเข้มแข็งในครอบครัว สู่สุขภาวะเด็ก และเยาวชน แล้วเมื่อ 24 ก.ย.59 ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับ ดร.กาญจนา ภาสุรพันธ์ นักวิชาการอิสระ และ คุณกรพินธุ์ วงศ์เจริญ พมจ. ลำปาง (เจี๊ยบ) ก่อนหน้านั้น 28 พ.ย.58 ได้พูดคุยกับกลุ่มพฤฒพลังลำปาง ที่ขับเคลื่อนโดย อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง และ ดร.สุจิรา หาผล

วันนี้ (25 ก.ย.59) ไปเดินที่ศาลาเอนกประสงค์ หมู่ 13 ต.บ่อแฮ้ว อ.เมือง จ.ลำปาง ผู้ใหญ่เรียกให้ลูกบ้านที่มีของเก่า นำของเก่ามาขาย เห็นระบบและกลไก จึงนึกถึงกลุ่มผู้สูงอายุ หรือพฤฒพลังลำปาง เพราะอีก 1 รอบ ผมก็ต้องเป็นผู้สูงอายุ ที่อาจต้องเป็นภาระให้คนหนุ่มสาวมาดูแลก็เป็นได้ มีคำถามว่า “ถ้า ผู้สูงอายุ รวมตัวกันได้ จะทำอะไร เพื่อ ให้มีความสุข ตราบจนวาระสุดท้าย

ก่อนหน้านี้ อ.ปาล์ม สาขาสาธารณสุข ก็เล่าให้ฟังว่าจะลงพื้นที่ลำปางโมเดล
และเห็นการขับเคลื่อนการพัฒนาผู้สูงอายุ ของทุกตำบล เป็นโรงเรียนผู้สูงอายุ
มีกิจกรรมเดือนละ 1 หรือ 2 ครั้ง .. น่าสนใจมากครับ

ที่มาของคำถามนั้น
เนื่องจากนึกถึงนารวมที่คนนิคมพัฒนา ร่วมแรงร่วมใจกันลงแขก
ผมกับเพื่อนทีมวิจัย และนักศึกษาสาขาสาธารณสุขก็ยังเคยไปร่วมกันเกี่ยวข้าวมาแล้ว
https://www.facebook.com/506818005999002/photos/?tab=album&album_id=761676820513118

การรวมกลุ่มกันเป็นสังคมนี่ดีนะครับ
มีพลังมหาศาล เสกอะไรก็ได้ดั่งใจหลาย แต่คนเราจะยอมรวมกลุ่มกัน ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
เคยเห็นในภาพยนตร์เรื่อง The Mission แล้วก็ถึงกับอึ้งไปเหมือนกัน
การเปลี่ยนแปลงไม่เคยง่ายเลยสักครั้ง

หรือ การเปลี่ยนแปลงประเทศของเหมาเจ๋อตุงก็เหมือนกัน
จะยึดที่นาของคนรวยให้คนจนก็มีคนมากมายไม่เห็นด้วย
ตอนที่ 3/5

ได้เห็นคลิ๊ปนายกศิริพร ปัญญาเสน  ทำโรงเรียนชาวนาพิชัย จ.ลำปาง

นายธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ไปเปิดป้ายโรงเรียนชาวนา
เป็นกิจกรรมพัฒนาเยาวชน เตรียมสร้างทายาทเกษตรกรรุ่นใหม่


วิกฤตคนเกิดน้อย
เห็นกระทบที่เป็นข่าวก็โรงเรียนปิดหรือยุบรวมโรงเรียน แต่การกระทบนี้ใหญ่หลวงนัก
ดูจากพีระมิดจำนวนประชากร ที่จะกระทบขึ้นไปในห่วงโซ่ของสังคม
https://www.facebook.com/thaiall/photos/a.423083752271.195205.350024507271/10154554540217272/?type=3&theater

24 ก.ย.59 ประชุมครั้งที่ 3 ร่างประเด็นฯ
https://www.facebook.com/ajburin/media_set?set=a.10154399859253895.1073741908.814248894&type=3
28 พ.ย.58 พฤฒพลังลำปาง
https://www.facebook.com/ajburin/media_set?set=a.10153659525548895.1073741879.814248894&type=3

ประเทศจีนมีความเสมอภาค
ยุคของเหมาเจ๋อตุง เล่าโดยฝรั่งหลายคน
..จีนเป็นสังคมศักดินา ซึ่งคนรวยจำนวนน้อยอยู่อย่างสุขสบาย..
ตอนที่ 3/5 ประกาศโครงการปฏิรูปที่ดิน ยึดที่ดินจากเจ้าของที่ดินศักดินา
แล้วจัดแบ่งให้กับผู้ทำงานในที่ดินนั้น
เจ้าของที่ดินถูกประจานต่อหน้าสาธารณะชน แต่หลายเมืองก็ไม่พอใจ
ตอนที่ 1/5

ตอนที่ 2/5

ตอนที่ 3/5

ตอนที่ 4/5

ตอนที่ 5/5

บทความวิชาการ การถอดบทเรียนการเรียนรู้สุขภาพชุมชน ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี

การจัดการความรู้
การจัดการความรู้

บทความวิชาการ การถอดบทเรียนการเรียนรู้สุขภาพชุมชน ตำบลหนองสาหร่าย
อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
(LESSON LEARNED FROM LEARNING COMMUNITY HEALTH CARE OF NONGSARAI DISTRICT, PHANOMTHUAN, KHANCHANABURI)
วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2553)
พัณณ์ชิตา โยคะนิตย์ และ นรินทร์ สังข์รักษา
https://www.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/download/7215/6237
เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)
ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้นำชุมชน ประชาชน อสม และบุคลากรสาธารณสุข
ใช้แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และการบันทึกภาคสนาม
ใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview)
การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participation Obervation)
การสนทนากลุ่ม  (Focus Group Discussion)
และการวิเคราะห์หลังปฏิบัติ (After Action Review : AAR)
รวมถึงการวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Analysis)
สำหรับการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม
ใช้วิธีการเทคนิคลูกโซ่ (Snow ball) กลุ่มละ 5 คน รวมทั้งสิ้น 20 คน)
ผลการศึกษา พบว่าชุมชนมีทุนทางสังคม
มีการสร้างการเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชน
ปัจจัยสู่ความสำเร็จคือจัดทำเป็นยุทธศาสตร์ของชุมชนอยู่ดีมีสุข
จัดกิจกรรมด้านสุขภาพ
การจัดการความรู้และใช้ความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลมาใช้ในการพัฒนา
https://www.facebook.com/groups/thaiebook/687657798051708/

การเรียนรู้ในระบบเปิดสำหรับมหาชน (itinlife567)

thai mooc
thai mooc

มีโอกาสฟังบรรยายเรื่อง ไทยมุก หรือ โครงการพัฒนาระบบการเรียนการสอนออนไลน์ ระบบเปิดสำหรับมหาชน (Thai MOOC = Massive Open Online Course) ที่ รศ.ดร.ฐาปนีย์ ธรรมเมธา ผอ.มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย และสอนแบบ Live ไปยังผู้เรียนวิชาไอทีเพื่อการศึกษาผ่านระบบไทยมุกที่สอนโดย รศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ซึ่งระบบนี้สามารถสอนนักเรียนได้จำนวนมากนับพันพร้อมกัน และการพัฒนาการศึกษาด้วยไทยมุกปรากฎในแผนดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีนิยามว่า ไทยมุก คือ บริการการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ที่ผู้เรียนจำนวนมาก สามารถเรียนได้แบบทุกที่ ทุกเวลา (และส่วนใหญ่ไม่มีค่าใช้จ่าย) โดยมีทั้งสื่อวิดิโอ หนังสือ แบบฝึกหัด พื้นที่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถือเป็นการปฏิวัติการศึกษาของโลก โดยต่อยอดจากระบบอีเลินนิ่งที่มักเป็นการเรียนแบบกลุ่มจำกัด ไปสู่การเรียนรู้ของมหาชนไม่จำกัด อายุ หรือขอบเขตทางกายภาพ หลักสูตรของ MOOC นี้ อาจเน้นการเรียนในระบบ หรือนอกระบบ หรือตามความสนใจของผู้เรียนได้ทั้งสิ้น

เมื่อค้นคำว่า mooc list ใน google จะพบหลักสูตรมากมายที่เปิดให้เข้าไปเรียนได้ฟรี หรือจะมีค่าใช้จ่ายก็ขึ้นกับนโยบายของแต่ละวิชาที่มาจากแหล่ง MOOC อาทิ edx, coursera, novoEd, Kadenze, Futurelearn จุดเด่นของ MOOC คือ ผู้เรียนเข้าไปเรียนผ่านคลิ๊ปวีดีโอมากกว่า 90% ทำให้แต่ละวิชาสามารถรองรับจำนวนนักเรียนได้มาก สอดรับกับกระแสการใช้โซเชียลมีเดียในไทยที่มียอดเข้า youtube.com เป็นอันดับหนึ่ง การเรียนแบบ MOOC ต่างกับ Blended Learning ที่เป็นการเรียนแบบผสมผสานระหว่างในชั้นเรียนกับเรียนด้วยตนเอง แต่แบบ MOOC นักเรียนเข้าเรียนด้วยตนเองได้นับหมื่นคนพร้อมกัน

มีแนวโน้มว่าประเทศไทยกำลังพัฒนาคลังข้อสอบ ควบคู่ไปกับธนาคารเครดิต ที่รองรับการเรียนผ่าน MOOC ตามแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หากนักเรียนนักศึกษาลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ การวิจัย เศรษฐศาสตร์ สังคม ภาษาไทย เทคโนโลยีสารสนเทศ กฎหมาย จริยธรรม บัญชี ธุรกิจ การปฐมพยาบาล การเกษตร ดนตรี แล้วเข้าระบบวัดและประเมินที่น่าเชื่อถือจากคลังข้อสอบ แล้วเก็บหน่วยกิตเพื่อการเทียบโอนไปเรียนต่อในแต่ละสถาบัน ก็จะทำให้เยาวชนไทยลดเวลาที่ต้องใช้ชีวิตในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย แต่มีเวลาเรียนรู้ชีวิตนอกห้องเรียนมากขึ้น แนวทางการพัฒนาจะเป็นอย่างไรต้องติดตามนโยบายทางการศึกษาของภาครัฐต่อไป

https://www.facebook.com/ajburin/media_set?set=a.10154391011453895.1073741907.814248894&type=3

อบรมหลักสูตร ผู้จัดการศูนย์ดิจิตอลชุมชน (ผู้ดูแลศูนย์) และ ผู้อำนวยการศูนย์ดิจิตอลชุมชน

ผู้อำนวยการศูนย์ดิจิตอลชุมชน (ผู้บริหารศูนย์)
ผู้อำนวยการศูนย์ดิจิตอลชุมชน (ผู้บริหารศูนย์)

พบกิจกรรมดี ๆ ที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้การสนับสนุน
โดย อาจารย์ว่าที่ร้อยตรีหญิงเพ็ญนภา ปาละปิน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
เป็นแม่งานจัดอบรม 2 หลักสูตร ในภาคเหนือ
1. หลักสูตร ผู้จัดการศูนย์ดิจิตอลชุมชน (ผู้ดูแลศูนย์) วันที่ 22-26 ส.ค. 59
2. หลักสูตร ผู้อำนวยการศูนย์ดิจิตอลชุมชน (ผู้บริหารศูนย์) วันที่ 22-23 ส.ค. 59
ณ โรงแรมรีเจนท์ ลอด์จ Regent Hotel & Apartments ต.หัวเวียง อ.เมือง จ.ลำปาง
โดย ดร.สมเกียรติ อัญชนา รองนายกเทศมนตรีนครลำปาง
ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดงานในหลักสูตรผู้จัดการศูนย์ดิจิตอลชุมชน
แล้วผมก็ทำหน้าที่วิทยาการหัวข้อ “การตลาดในยุคดิจิทัล และการตลาดผ่านสื่อโซเชียล” เป็นเวลา 3 ชั่วโมง
โครงการนี้หลายหลักสูตร ใช้เวลาอบรม 5 วัน มีหัวข้อน่าสนใจ ดังนี้

– แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และการขับเคลื่อนแผนฯ
– แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (Digital Government)
– การจัดตั้งศูนย์ดิจิทัลชุมชน
– การตลาดในยุคดิจิทัล
– การตลาดผ่านสื่อโซเชียล
– แนวทางขับเคลื่อนนโยบายดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมระดับชุมชน
– การซื้อขายทางอินเตอร์เน็ตและสื่อดิจิทัล (E-Commerce, E-Market) และ Digital Money
– เนื้อหาดิจิทัล (Digital Content) สร้างสรรค์เนื้อหาบนเว็บไซต์และสื่อต่าง ๆ ให้น่าสนใจ
– การจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลในชุมชน
– การผลิตสื่อดิจิทัล : การผลิต Video Clip
– การผลิตสื่อดิจิทัล : การถ่ายภาพสินค้าและสถานที่ท่องเที่ยว
– การเล่าเรื่องด้วยสื่อดิจิทัล (Digital Storytelling)
– ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับสื่อสังคม และการขายสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต

ผู้จัดการศูนย์ดิจิตอลชุมชน (ผู้ดูแลศูนย์)
ผู้จัดการศูนย์ดิจิตอลชุมชน (ผู้ดูแลศูนย์)

เอกสารอบรม
– สไลด์เปิดงานของ วิไลลักษณ์ ชุลีวัฒนกุล http://www.totacademy.com/ict/download/doc_train2_3.pdf
– สไลด์ที่ผมใช้เรื่องตลาดดิจิทัลเบื้องต้น https://www.facebook.com/groups/thaiebook/669305873220234/
– เว็บไซต์ที่ใช้เตรียมเนื้อหา http://www.thaiall.com/digitalcommunity/
– เฟสบุ๊คเพจที่ใช้ฝึกอบรม https://www.facebook.com/digitalcommunitycenter/
– แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม http://www.mict.go.th/assets/portals/1/files/590613_4Digital_Economy_Plan-Book.pdf
– แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ระยะ 3 ปี พ.ศ. 2559 – 2561 http://cloudfile.mict.go.th/public.php?service=files&t=b1e88505be0a561af887d3dc1e0363df&download
– แนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนารายยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการดิจิทัลของหน่วยงาน
โดย รทก.มาลี วงศาโรจน์ http://www.mict.go.th/assets/portals/1/files/590613_3DE_27-5-59-Dr.Malee.pdf
* งานดิจิทัลไทยแลนด์ 2016 http://www.mict.go.th/view/1/Digital%20Economy

ลิงค์แบบฟอร์มสำหรับลงทะเบียนออนไลน์ และรายชื่อศูนย์ในภาคเหนือ 140 ศูนย์
ที่ https://sites.google.com/site/link2mydrive/home/xeksar-kar-khea-xbrm-suny-dicithal-chumchn

วิทยากร
วิทยากร

รายละเอียด และการแลกเปลี่ยนที่
https://www.facebook.com/digitalcommunitycenter/

โครงการศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน
http://www.thaitelecentre.org/

รู้ล่ะ ป่าเมืองน่านหายไปไหน ที่แท้มีไอ้ตัวร้ายทำลายป่าเมืองน่านอยู่นี่เอง

รู้ล่ะ ใครคือไอ้ตัวร้าย ทำลายป่าเมืองน่าน
รู้ล่ะ ใครคือไอ้ตัวร้าย ทำลายป่าเมืองน่าน

ดูสารคดี ThaiPBS รายการสามัญชนไทย ของ มาโนช พุฒตาล
เค้าชวนคิด เผื่อว่าจะทำให้เมืองไทยดีขึ้น กับปัญหาทำลายป่าต้นน้ำ
มีคำถามว่าป่าเมืองน่าน หายไปไหน
ขึ้นไปที่ความสูง 9500 ฟุต น่านฟ้า จังหวัดน่าน
นาทีที่ 2.23 เค้าบอกว่า “มีการลุกล้ำเปลี่ยนป่าต้นน้ำ เป็นภูเขาแห่งทุ่งข้าวโพด”
ซึ่งเป็นอาหารของไก่ แล้วเราก็ได้ปีกไก่บนมาเข้าไมโครเวฟในนาทีที่ 2.41
เค้าว่าคนไทยทุกคนกลายเป็นห่วงโซ่แห่งการทำลายล้าง
คุณมาโนช พุฒตาลบอกว่า “คนไทยกินป่าเป็นอาหาร”

การฟื้นฟูสภาพป่ามีหลายวิธี
คนกลุ่มหนึ่งใช้วิธีสร้างจิตสำนึก ตั้งวงดนตรี แต่งเพลง เล่นเพลง
ชื่อเพลง “รักป่านาน”
เห็นภาพภูเขาแล้ว เหมือนภูเขาหัวโล้นกำลังร้องไห้ ยามฝนตก
สิ่งที่เค้าต้องการจากการถางป่าคือข้าวโพด ปลูกได้ปีละ 4 เดือน
ตอนนี้เห็นหัวโล้น อีก 2 เดือนเค้ามาปลูกก็จะเขียว
ที่นี่คือป่าสงวนแห่งชาติ ไม่มีสิทธิตัดไม้ปลูกข้าวโพด
แต่พื้นที่นี้ยังบังคับใช้กฎหมายไม่ได้ ชาวบ้านและชาวเขายังบุกรุกผืนป่ากันทุกปี
นาที 7.39 “ชาวบ้านก็บอกว่า อยากจับก็จับนายทุนสิ นายทุนจ้างเรามาทำ”
เราไม่สามารถสาวไปถึงนายทุน แต่ท่านปลัดรู้ และรู้กันทุกคน ทั้งประเทศ
นาที 8.44 “ข้าวโพดบุกรุกป่ารึเปล่านี่ ไม่ใช่นะ คนบุกรุก โทษข้าวโพดไม่ได้หรอก”
ข้าวโพดรุกคืบเข้ามาเรื่อย ๆ ด้วยเทคนิควางยาสลบต้นไม้
นาที 11.37 พื้นที่บุกรุกมีทั่วทั้งจังหวัด พื้นที่ป่าลดลง 7หมื่น – แสนไร่ต่อไป
นาที 12.55 ผืนป่าที่ลดลง สัมพันธ์กับ พื้นที่ปลูกข้าวโพด
ผลการศึกษา ทำวิจัยพบว่าพื้นที่ข้าวโพด 60% เคยเป็นพื้นที่ป่า
และเข้าไปทำไร่ข้าวโพดในพื้นที่ป่ามากขึ้น
นาที 14.05 พื้นที่ปลูกข้าวโพดของน่าน มาเป็นอันดับ 5 ของประเทศ
รวมข้าวโพดที่ได้กว่า 4 แสนตันต่อไป
นาที 14.13 พื้นที่ปลูกข้าวโพด
อันดับ 1 เพชรบูรณ์ 1,075,536 ไร่
อันดับ 2 นครราชสีมา 816,805 ไร่
อันดับ 3 จังหวัดเลย 825,735 ไร่
อันดับ 4 จังหวัดตาก 686,013 ไร่
อันดับ 5 น่าน
รวมพื้นที่ทั้งหมด 7,366,996 ไร่
ที่มา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2555
นาที 14.30 การวิจัยพบว่า 90% ของข้าวโพด นำไปทำเป็นอาหารสัตว์ทั้งนั้นเลย
ไปให้สัตว์ในฟาร์มกิน ทั้งไก่ ทั้งไข่ ก็เลี้ยงไว้ให้พวกคนไทยนั่นหละครับกิน
นาที 14.50 มาดูความคุ้มค่า ความยั่งยืน ถ้าเราเอาข้าวโพด ไปแลกกับผืนป่า
แสดงว่ากำลังเอาอาหารและความมั่นคงของมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ
ไปแลกกับการปลูกข้าวโพดเท่านั้น
นาที 15.44 ผลสำรวจ คนไทยกินไก่ เฉลี่ย 15 กิโลกรัมต่อปี
คิดเป็นไก่ประมาณ 10 ตัว คนไทย 70 ล้านก็กินไก่ประมาณ 700 ล้านตัว
จำเป็นต้องมีอาหารมาป้อนไก่ ใช้ข้าวโพดประมาณ 53% เป็นวัตถุดิบ
ทำให้เราต้องผลิตข้าวโพดถึง 6.2 ล้านตัน ก็ต้องปลูกบนผืนดิน
นาที 16.43 คนไทยกินไก่ ไก่กินข้าวโพด ไปกระทบผืนป่าภาคเหนือ
เรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะเมืองไทย เช่น อเมริกา เขาไปจ้างบราซิลถางป่าอเมซอล
เพื่อปลูกข้าวโพดมาให้วัวอเมริกากิน
นาที 17.31 พูดถึงเพลง “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” ของวงเฉลียง
เค้าว่า กินแฮมเบอเกอร์ 1 ชิ้น สะเทือนถึงผืนป่าอเมซอลในบราซิล
เช่นเดียวกับการกินไส้กรอก 1 ชิ้น สะเทือนถึงผืนป่าจังหวัดน่าน
นาที 18.30 อยากจะกินไก่ กลายเป็นทำร้ายป่า
นาที 30.40 ชาวบ้านยิ่งทำงานหนัก ยิ่งรายได้น้อย ยิ่งขาดทุน ชีวิตลำบากกว่าเดิม
นายทุนที่เอาข้าวโพดไปทำอาหารสัตว์ กลับรวยขึ้น
นาที 35.01 มี 5 พลังร่วมแห่งการทำลาย
1. กลุ่มชาวบ้าน
2. กลุ่มนายทุน/แปรรูป
3. กลุ่มเงินกู้/กองทุนทุกประเภท
4. กระบวนการส่งเสริม/นักส่งเสริมการเกษตร/นักวิจัย
5. นโยบายส่งเสริมจำนำ/ประกันราคา
นาที 38.43 นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย บอกว่า ส่งเสริมให้ปลูกข้าวโพด
แต่ไม่ส่งเสริมให้ทำลายป่า ไม่มีใครทำอย่างนั้น
เราต้องไปแก้ที่การจัดการ มีมูลค่าทั้งระบบอย่างน้อย 1 ล้านล้าน
นาที 40.01 พูดอีกล่ะ คนไทยกินป่าน่านเป็นอาหาร
นาที 40.45 โรงเรียนมีแนวคิดอนุรักษ์ป่าด้วยการทำโครงการ 1 คน 1 ต้น 1 ปี รวมครูด้วย
นาที 41.58 ถ้าอยากได้ป่าตรงที่โล้นคืน ชาวบ้านก็ยอมคืน แล้วคุณต้องมีที่นาคืนให้เขาทำกิน
มีคนยอมร่วมโครงการป่าแลกนา คือได้นา 1 ไร่ แลกพื้นที่ป่า 3 ไร่
ปัญหานี้ไม่ได้เกิดจากใครคนใดคนหนึ่ง เกิดจากทุกภาพส่วน
โดยเฉพาะ “ตัวเรา สามัญชนคนไทย ที่ต้องกินต้องอยู่”
นาที 45.30 เซ็งเป็ด หรือเซ็งไก่ดี จะไปซื้อไก่กิน เราเป็นไอ้ตัวร้ายทำลายป่าเมืองน่าน
เราต้องกิน ต้องใช้ ต้องบริโภค แต่ไม่มีวิธีกินให้ยั่งยืนหรือ ต้องรู้ต้นกำเนิด ไม่กินทิ้งกินขว้าง

ปาร์ตี้กาแฟ ปาร์ตี้น้ำชา ปาร์ตี้ขนม หรือปาร์ตี้บลา ๆๆๆ

3d people holding pieces of a jigsaw puzzle with the word teamwork.
3d people holding pieces of a jigsaw puzzle with the word teamwork.

1. กาลครั้งหนึ่ง ราว 7 ปีล่วงมาแล้ว
มีกิจกรรมเกี่ยวกับการประชุมที่เลี้ยงกาแฟ
ตอนนั้นผมยังไม่เรียกว่า KM (การจัดการความรู้)
เห็นทำกันทั้งภายในองค์กร และนอกองค์กร
หัวหน้าจะชวนลูกน้อง มาดื่มกาแฟกับปลาท่องโก๋ช่วงเช้า ๆ
มากันก่อน 8.00น. เลยหละครับ
ทุกครั้ง เพราะนัดหมายคือก่อนเข้าทำงาน มีขนม นมเนยเลี้ยง
ทำให้นึกถึงสภากาแฟของจังหวัด ที่จัดกันเป็นประเพณีก็ว่าได้
ที่จะเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่าง ๆ ออกมาพูดคุยแลกเปลี่ยน
หัวหน้าท่านบอกว่า informal meeting
2. ก่อนหน้านี้
หน่วยเหนือ ก็จะส่ง ผบ. มาชวนกันพูดคุยแลกเปลี่ยน
แบ่งเป็นกลุ่ม white collar และ blue collar
จัดให้มีการเปิดอกเปิดใจ ถึงขนาดน้องบางท่านระบายความในใจทั้งน้ำตา
แบ่งปันทุกข์ที่อัดอั้นอยู่ แบ่งปันสุขก็มีบ้าง การได้ระบายก็ช่วยให้ผ่อนคลายได้
เป็นเทคนิคที่ทำกันในหลายองค์กร (เคยเรียนมาว่าที่ญี่ปุ่นเขาทำกัน)
แล้วเราก็มีมาตรการหลายอย่างออกมาทำร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม
สืบเนื่องจากการหนุนใจของ ผบ. และเปิดทางของทุกฝ่าย
https://www.pinterest.com/pin/430304939367070195/
3. กรณีศึกษา (อ่านยากหน่อยครับ)
การทำ KM เป็นเรื่องปกติ และควรต้องปกติ เพราะเป็นกิจกรรมหนึ่ง
ในการประกันคุณภาพการศึกษา คือ องค์ประกอบหนึ่งของคณะและสถาบัน
เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนองค์กรอย่างไม่เป็นทางการ
อาจมีชื่อ เช่น ปาร์ตี้กาแฟ ปาร์ตี้น้ำชา ปาร์ตี้ขนม ก็แล้วแต่จะเรียก
แล้วผู้ที่เชี่ยวชาญชีวิต หรือ ชช. เพราะเดี๋ยวนี้ สว. ดูจะไม่น่ารักอีกแล้ว
ท่าน ๆ ก็จะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยน และแบ่งปันประสบการณ์มากมาย
1) งานแบบนี้ สาว ๆ ชช. มักใช้เป็นเวทีเปิดใจ (local share)
แล้วออกมาแบ่งปันประสบการณ์ชีวิตก่อนหน้านี้
หวังว่าเด็ก ๆ ในเวทีจะได้เรียนรู้ และเตือนสติ
ว่า “ทำให้ ไม่ได้ทำเอา” อย่ายึดติด “ทำเอา ไม่ได้ทำให้”
บางท่านก็เรียกร้องระบบ
บางท่านก็ไม่ชอบระบบที่ยืดหยุ่น เปลี่ยนเร็ว
บางกรณีก็เปลี่ยนเร็วดุจพลิกฝ่ามือ นั่นก็เร็วไป
2) ชช. บางท่าน อาจมาจากองค์กรระดับชาติ (inter. share)
อาจให้ข้อคิดดี ๆ เช่นหลัก  4 M
ว่าประกอบด้วยผู้ชาย ทรัพยากร จัดการและตัง
เห็นการเชื่อมโยง M&M ได้ชัดเจน
3) หลังจาก ชช. แบ่งปันแล้ว (response)
ดด. (เด็ก ๆ) ก็แลกเปลี่ยนด้วยว่า ระบบ ระเบียบต้องรักษา
กฎเกณฑ์ ข้อบังคับนั้น ยืดหยุ่นได้เสมอ อย่างห่วงเรื่องกฏ
ถ้าจริงใจ ขึ้นกับเหตุผล ทุกอย่างก็จะผ่านไปด้วยดี
4) ทุกเวที มีทั้งบวก และลบคละเคล้า (positive & negative)
เวลาทำงาน บางท่านก็ทำด้วยความภาคภูมิใจ
ชวนกันภูมิใจในงานที่ทำ หนุนใจ ฟังแล้วก็ชื่นใจ
งานมากมายอาศัยทั้งกำลังภายใน และกำลังภายนอก
อาศัยเครือข่าย อาศัยจิตสาธารณะ และบูรณาการ
แล้วเราก็ชื่นชมความสำเร็จร่วมกัน
5) กฎกติกามีเสมอในทุกเวที (rule)
ผู้ใหญ่ใจดีท่านมักจะสร้างความมั่นใจได้ชัดเจน
ฉายภาพให้เห็นความก้าวหน้า ความมั่นคง แสงที่ปลายอุโมง
ระบบและกลไกที่จะนำไปสู่ความสำเร็จก็ชัดเจน
ทำให้เกิดความเชื่อมั่นที่มากอยู่แล้วให้มากยิ่งขึ้น
6) มีคำถามที่ท้าทายคนทำงานอยู่เสมอ ๆ (challenge question)
ถ้ามีโอกาสได้งานใหม่ที่น่าสนใจ และถูกชักชวนไป จะไปไหม
ก็เชื่อได้ว่า จะมีอะไรอะไรคอยฉุดรั้งไว้ไม่ให้เลือกงานใหม่ที่น่าสนใจได้
เช่น เพื่อนร่วมงานที่น่ารัก ลักษณะงานที่เห็นความก้าวหน้า
ทำงานใกล้บ้าน รายได้ที่เลี้ยงตัวเองได้ เจ้านายที่รัก
หรือสวย สนุก อบอุ่น สำเร็จ ก้าวหน้า อะไรทำนองนี้

AAR หลังประชุมกับ ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ลำปาง

AAR หลังประชุมกับ ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ลำปาง

AAR หลังประชุมกับ ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ลำปาง
AAR หลังประชุมกับ ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ลำปาง

17 ม.ค.57 ได้ประชุมร่วมกับเพื่อนในสถาบันต่าง ๆ
ที่มีประสบการณ์ทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
ณ ห้องประชุมอาคาร ดร.เทียม โชควัฒนา 9.00 – 14.30น.
เพื่อจัดประชุม 6 ปีวิชาการเพื่อท้องถิ่น นำทีมโดยคุณภัทรา มาน้อย
มีประเด็นพอที่จะประมวล ในส่วนของหน้าที่ที่ต้องไปทำต่อ ดังนี้
1. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักวิชาการในมหาวิทยาลัย เข้าร่วมประชุม
2. ทาบทามท่านอธิการกล่าวต้อนรับ และร่วมเสวนาเชิงนโยบาย
3. ประสานหานักศึกษา 6 คน ทำงานลงทะเบียน ช่วยงานหน้าเวที (สวย)
4. ประสาน อ.อัศนีย์ ณ น่าน ทำหน้าที่พิธีกรในงาน
5. ปรับแก้ poster และ อ.เชพ แก้ไวนิล ตามมติที่ประชุม
6. ประสานการบันทึกคลิ๊ปวีดีโอ เพื่อประชาสัมพันธ์
7. ประสานคณะต่าง ๆ นำเสนอผลงานที่เกี่ยวกับท้องถิ่น
– สาขาการจัดการ : ซางข้าวโพด
– สาขาวิชาภาษาอังกฤษ : อบรมภาษา
– สาขาวิชาสาธารณสุข : ทำงานในชุมชน
8. ประสานฝ่ายประชาสัมพันธ์จัดบูทนำเสนอหลักสูตร
9. ประสานคุณแอน จัดบูทจำหน่ายหนังสือ
10. ประสานผู้รับผิดชอบอาคาร เตรียมความพร้อมใช้สถานที่
11. สรุปกิจกรรมที่มหาวิทยาลัยจะทำภายในงาน ส่ง สกว.
12. รอประสานทำคลิ๊ป กับทีมของศูนย์ฯ
เรื่องบริการวิชาการรูปแบบใหม่ ว่าใหม่อย่างไร

กลุ่มเป้าหมาย คือ นักวิชาการ ผู้เกี่ยวข้อง และตัวแทนชุมชนที่สนใจ
ในการพัฒนาท้องถิ่นโดยใช้การวิจัย จากบทเรียน 6 ปี
ของการวิจัยเพื่อท้องถิ่นในบทบาทของ ศูนย์ฯ ลำปาง
งานมีขึ้นในวันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557

AAR = After Action Review

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.724680400879427.1073741872.506818005999002

การจัดการความรู้ (หลักการเขียนโครงการวิจัยเพื่อชุมชนท้องถิ่น)

หลักการเขียนโครงการวิจัยเพื่อชุมชนท้องถิ่น
หลักการเขียนโครงการวิจัยเพื่อชุมชนท้องถิ่น

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.584196208261181.142796.506818005999002

โครงการการจัดการความรู้ (Knowledge Management)
เรื่อง หลักการเขียนโครงการวิจัยเพื่อชุมชนท้องถิ่น
เพื่อการรับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก
ณ ห้อง 1203 อาคารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น
วันที่ 25 มกราคม 2556 เวลา 9.00-11.00น

ดร.สุจิรา หาผล
กล่าวเปิดงาน ชี้แจงที่มาที่ไป กระบวนการ และวิธีการในการจัดการความรู้ครั้งนี้
อ.วราภรณ์ เรืองยศ
เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ตาม Powerpoint
ในหัวข้อ “หลักการเขียนโครงร่างงานวิจัย”
ซึ่งส่วนประกอบของโครงร่างงานวิจัย ประกอบด้วย

1. ชื่อเรื่อง
2. บทคัดย่อ
3. ความสำคัญและที่มาของปัญหาวิจัย
4. วัตถุประสงค์
5. แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
6. กรอบแนวคิดการวิจัย
7. คำนิยามศัพท์เฉพาะ
8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
9. สมมติฐาน
10. ขอบเขตการวิจัย
11. ระเบียบวิธีวิจัย
12. ข้อตกลงเบื้องต้น
13. เอกสารอ้างอิง

เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรื่อง – “ชื่อเรื่อง”
อ.วราภรณ์ เล่าว่า มีประกาศทุนวิจัย 2 เรื่องมานำเสนอ
– ศูนย์ประสานการศึกษานโยบายที่ดิน ปี 2556
– การแก้ไขปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิของชุมชนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๗ วรรคสอง

อ.วราภรณ์ เรืองยศ
– เปรียบเทียบเรื่องทุนสร้างบ้าน กับทุนวิจัย ที่ต้องสมเหตุ สมผล
– เล่าเรื่องทุนวิจัยเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ที่ขอไป 10 กว่าล้าน แต่ถูกตัดเหลือ 3 ล้านเศษ

อ.วิเชพ ใจบุญ

เล่าว่าชื่อที่เคยตั้งมามีกระบวนการอย่างไร
การใช้ต้นไม้ชุมชนในการเก็บข้อมูล
ต้องลงไปคลุกคลีกับชาวบ้าน ทั้งแจ้ห่ม แม่ทะ และนิคมพัฒนา

อ.ดร.สุจิรา หาผล
บอกว่ากว่าจะได้หัวข้อมา ต้องใช้เวลามาก
หัวข้อต้องตรงกับผู้ให้ทุน และความต้องการของชุมชน

อ.ดร.อติชาต หาญชาญชัย
การเขียนบทนำ และวรรณกรรม
ต้องให้ความสำคัญกับที่มาที่ไป
แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้งานวิจัยมีความน่าเชื่อถือ และตั้งอยู่บนหลักการที่เกี่ยวข้อง
ต้องค้นมาก ต้องอ่านมาก และอ้างอิงให้ตรง

อ.ปวินท์รัตน์ แซ่ตั้ง
http://www.prawinrat.com/
ได้ทุนจากเครือข่ายภาคเหนือตอนบน
เกี่ยวกับผ้าทอน้ำแร่ เมืองปาน
แลกเปลี่ยนว่างานวิจัยต้องใช้เวลา ทำให้ครบทุกเรื่องที่สามารถทำได้
ต้องลงมือจริง ทุ่มเท และทำให้ครบวงจร
มีทั้งภาพ คลิ๊ป เว็บไซต์ ที่เกิดในพื้นที่จริง ได้ผลงาน และนำไปขายได้จริง

อ.ดร.สุจิรา  หาผล
เล่าว่าการศึกษาตำนาน เรื่องเล่าของอำเภอต่าง ๆ มีกระบวนการมากมาย
ทั้งเชิงคุณภาพ วิพากษ์โดยนักวิชาการ ใช้แบบสำรวจ และวิพากษ์ผลโดยชุมชน
การเลือกคน เลือกปราชญ์ชาวบ้านเป็นเรื่องสำคัญ และต้องเขียนเรื่องของแต่ละอำเภอถึง 13 เล่ม
หลังได้รับทุนก็จะมีการติดตามจากผู้ให้ทุน และมีข้อเสนอแนะที่ทำให้แผนอาจต้องถูกปรับเปลี่ยน

อ.โอปอล์ รังสิมันตุชาติ
เล่าว่าการขอทุนวิจัยสำหรับงานวิจัยระดับปริญญาโท
มีแหล่งทุนสนับสนุนจาก สกว.อย่างต่อเนื่อง ซึ่งตนได้รับจากเชียงใหม่
และมีกระบวนการคล้ายกับทุนวิจัยทั่วไป

อาจารย์ 3 ท่าน 3 บทบาทกับมหกรรม 10 ปีวิจัยเพื่อท้องถิ่น (2)

20 – 21 มีนาคม 2552 ท่านอธิการสันติ บางอ้อ ได้มอบหมายให้อาจารย์
ของมหาวิทยาลัยโยนก 3 คนไปร่วมงานมหกรรม 10 ปีวิจัยเพื่อท้องถิ่น
ห้อง Grand Diamon Ballroom เมืองทองธานี
ได้แก่ อ.ศิรดาไชยบุตร อ.อัศณีย์ ณ น่าน และผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์
ทั้ง 3 ท่านไปในบทบาทที่แตกต่างกัน 1) อ.ศิรดาไชยบุตรไปจัดนิทรรศการนำเสนอผลการวิจัย จากโครงการวิจัยกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาฐานข้อมูล
ต.ป่าสัก อ.เมือง จ.ลำพูน 2) อ.อัศนีย์ ณ น่าน นำทีมวิจัยโครงการวิจัยการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของวิสาหกิจชุมชน น้ำดื่ม อสม. ต.บ้านสา อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง ไปร่วมสัมมนา
3) ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ ขึ้นเวทีร่วมเสวนาวันที่ 21 มี.ค.52 ช่วง 9.00- 9.40
เป็น session แรกของช่วงเช้าในห้องย่อย1 หัวข้อ งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นกับสถาบันการศึกษา
ในฐานะตัวแทนสาขาวิทย์คอม แล้วทำวิจัยเพื่อท้องถิ่น และนำทีมวิจัย
โครงการวิจัยรูปแบบการจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงบ้านไหล่หิน ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง ไปร่วมเสวนาในครั้งนี้นักวิจัยเพื่อท้องถิ่น