ระบบและกลไก การกินป่าของคนไทย คนหนึ่งปีหนึ่งเฉลี่ยกินพื้นที่ปลูก 20 ตารางเมตร

ระบบข้าวโพด
ระบบข้าวโพด

เคยดูรายการ สามัญชนคนไทย
ตอน คนไทยกินป่าเป็นอาหาร

แล้วสนใจระบบและกลไกการกินป่าของคนไทย
ในรายการแจงไว้ชัดเจนว่ากลไกการสนับสนุนให้คนไทยกินป่ามี 5 กลุ่ม
1. กลุ่มชาวบ้าน
2. กลุ่มนายทุน/แปรรูป
3. กลุ่มเงินกู้/กองทุนทุกประเภท
4. กระบวนการส่งเสริม/นักส่งเสริมการเกษตร/นักวิจัย
5. นโยบายส่งเสริมจำนำ/ประกันราคา

หลังมีข่าว ก็มีการออกมาเคลื่อนไหวด้วยวิธีต่าง ๆ
ตามความสามารถของแต่ละบุคคล ผู้ว่าก็ทำอย่าง
นายกก็ทำอย่าง ทหารก็ทำอย่าง กรมป่าไม้ก็ทำอย่าง
ดาราก็ทำอย่าง โรงเรียนก็ทำอย่าง นักเลงคีย์บอร์ดก็ทำอย่าง
มีผลในแต่ละอย่างก็เพื่อช่วยป่า ช่วยเขา ไม่ให้โล้นไปกว่านี้

http://www.thaiall.com/blog/burin/7482/

หากมองระบบที่ทำให้เขาหัวโล้น ลองมามองภาพดู
ว่ามีขั้นตอนอย่างไร จะมองจากปัญหาไปต้นเหตุ หรือต้นเหตุไปปัญหาก็ได้
1. คนไทย ซื้อสัตว์มากินเป็นอาหาร
2. ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ซื้ออาหารสัตว์สำเร็จรูป
3. โรงงานอาหารสัตว์ ซื้อข้าวโพดและถั่วเหลือง
4. คนปลูกข้าวโพด ซื้อที่ดินไว้ปลูก โค่นต้นไม้ใหญ่
5. ที่ดินไม่พอ ต้องไปบุกรุกพื้นที่ป่า

คนกินป่าเป็นอาหาร
คนกินป่าเป็นอาหาร

ต.ย.โครงการนาแลกป่า
เพื่อให้ได้พื้นที่ป่าคืนมา หลังได้มาแล้วก็ต้องดูแลให้ต้นไม้เติบโตเป็นป่า
ข้อมูลในปี 2556 พบว่าพื้นที่ป่าสงวนถูกนำไปปลูกพืชไร่สูงถึง 1.5 ล้านไร่ หรือคิดเป็น 24% ของพื้นที่ป่าทั้งหมดในจังหวัดน่าน
โครงการนาแลกป่า ในปี 2558 สามารถคืนผืนป่ามาสู่การจัดการอย่างยั่งยืนได้ถึง 315.25 ไร่
1. กลยุทธ์นาแลกป่า เมื่อเกษตรกรคืนพื้นที่ป่า 4 ไร่ โครงการจะขุดนาให้ 1 ไร่
โดยขุดร่องน้ำ ปรับหน้าดิน เตรียมการจัดการน้ำ เพื่อให้ชาวบ้านปลูกข้าวหรือทำเกษตรแบบประณีต
2. กลยุทธ์ระบบน้ำแลกป่า เน้นการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำ
เพื่อการเกษตรให้กับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อแลกกับพื้นที่ที่นำไปปลูกข้าวโพด
เนื่องจากมีน้ำไม่เพียงพอต่อการปลูกข้าวหรือพืชอื่นๆ
ซึ่งการมีน้ำพอใช้สำหรับการเกษตรก็ทำให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้นด้วยพื้นที่ที่น้อยลง
ปี 2558  โครงการขอคืนผืนป่าได้ทั้งหมด 108 ไร่
3. กลยุทธ์อาชีพทางเลือกแลกป่า เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดส่วนใหญ่ก็อยากจะเลิกปลูกข้าวโพด
และมีอาชีพใหม่ทดแทน ทางโครงการจึงได้จัดหาอาชีพทางเลือก
ได้แก่ อาชีพปลูกพืชหลังนา เกษตรผสมผสาน
และการชดเชยเป็นค่าตอบแทนสำหรับเกษตรกรสูงอายุที่ไม่สามารถทำอาชีพทางเลือกอื่น ๆ ได้
ปี 2558  โครงการได้สร้างอาชีพทางเลือกและขอคืนผืนป่าได้ทั้งหมด 108 ไร่
http://www.schoolofchangemakers.com/home/knowledge?knowledge_id=389

ต.ย. ดารา ยอมควักเงินส่วนตัว ร่วมปลูกป่าน่าน
เฉพาะพื้นที่ที่เคยเป็นไร่ข้าวโพด เป็นจิตอาสาที่อยากรักษาป่าต้นน้ำ
http://www.nationtv.tv/main/content/social/378498989/

ต.ย. กิจกรรมพิทักษ์ป่า
Nation TV – เว็บไซต์สถานีข่าวอันดับ 1 ของเมืองไทย
“ร่วมโพสต์ท่าต้นไม้ ติด hashtag ‪#‎ปลูกเลย‬ แสดงพลัง!”ฟื้นฟูป่าให้ลูกหลาน
http://www.nationtv.tv/main/content/social/378503463/
https://www.facebook.com/cartooneggcat/photos/a.136226233446771.1073741828.136187606783967/173673336368727/

ต.ย. อธิบายเรื่องข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่ทำให้ผืนป่าที่หายไป ใครควรต้องรับผิดชอบบ้าง
สรุปว่า “คนไทย ที่บริโภคเนื้อไก่ขาวจากฟาร์มในระบบปิด
ซึ่งเลี้ยงด้วยอาหารที่มีส่วนผสมของข้าวโพด มีส่วนสนับสนุนการทำลายป่าจากการบริโภคเนื้อไก่ เฉลี่ยคนละประมาณ 20 ตารางเมตร
http://landjustice4thai.org/news.php?id=252

ต.ย. ลอยแพชาวบ้าน เมื่อทุนใหญ่ต้องการภาพลักษณ์ที่งามสง่า
มีหนังสือว่าต่อไปบริษัทจะรับซื้อข้าวโพดมีเงื่อนไขคือ
ต้องปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อย่างในพื้นที่ที่มีเอกสิทธิ์ถูกต้อง
หรือพื้นที่ที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานราชการ
http://www.landjustice4thai.org/news.php?id=278

รู้ล่ะ ป่าเมืองน่านหายไปไหน ที่แท้มีไอ้ตัวร้ายทำลายป่าเมืองน่านอยู่นี่เอง

รู้ล่ะ ใครคือไอ้ตัวร้าย ทำลายป่าเมืองน่าน
รู้ล่ะ ใครคือไอ้ตัวร้าย ทำลายป่าเมืองน่าน

ดูสารคดี ThaiPBS รายการสามัญชนไทย ของ มาโนช พุฒตาล
เค้าชวนคิด เผื่อว่าจะทำให้เมืองไทยดีขึ้น กับปัญหาทำลายป่าต้นน้ำ
มีคำถามว่าป่าเมืองน่าน หายไปไหน
ขึ้นไปที่ความสูง 9500 ฟุต น่านฟ้า จังหวัดน่าน
นาทีที่ 2.23 เค้าบอกว่า “มีการลุกล้ำเปลี่ยนป่าต้นน้ำ เป็นภูเขาแห่งทุ่งข้าวโพด”
ซึ่งเป็นอาหารของไก่ แล้วเราก็ได้ปีกไก่บนมาเข้าไมโครเวฟในนาทีที่ 2.41
เค้าว่าคนไทยทุกคนกลายเป็นห่วงโซ่แห่งการทำลายล้าง
คุณมาโนช พุฒตาลบอกว่า “คนไทยกินป่าเป็นอาหาร”

การฟื้นฟูสภาพป่ามีหลายวิธี
คนกลุ่มหนึ่งใช้วิธีสร้างจิตสำนึก ตั้งวงดนตรี แต่งเพลง เล่นเพลง
ชื่อเพลง “รักป่านาน”
เห็นภาพภูเขาแล้ว เหมือนภูเขาหัวโล้นกำลังร้องไห้ ยามฝนตก
สิ่งที่เค้าต้องการจากการถางป่าคือข้าวโพด ปลูกได้ปีละ 4 เดือน
ตอนนี้เห็นหัวโล้น อีก 2 เดือนเค้ามาปลูกก็จะเขียว
ที่นี่คือป่าสงวนแห่งชาติ ไม่มีสิทธิตัดไม้ปลูกข้าวโพด
แต่พื้นที่นี้ยังบังคับใช้กฎหมายไม่ได้ ชาวบ้านและชาวเขายังบุกรุกผืนป่ากันทุกปี
นาที 7.39 “ชาวบ้านก็บอกว่า อยากจับก็จับนายทุนสิ นายทุนจ้างเรามาทำ”
เราไม่สามารถสาวไปถึงนายทุน แต่ท่านปลัดรู้ และรู้กันทุกคน ทั้งประเทศ
นาที 8.44 “ข้าวโพดบุกรุกป่ารึเปล่านี่ ไม่ใช่นะ คนบุกรุก โทษข้าวโพดไม่ได้หรอก”
ข้าวโพดรุกคืบเข้ามาเรื่อย ๆ ด้วยเทคนิควางยาสลบต้นไม้
นาที 11.37 พื้นที่บุกรุกมีทั่วทั้งจังหวัด พื้นที่ป่าลดลง 7หมื่น – แสนไร่ต่อไป
นาที 12.55 ผืนป่าที่ลดลง สัมพันธ์กับ พื้นที่ปลูกข้าวโพด
ผลการศึกษา ทำวิจัยพบว่าพื้นที่ข้าวโพด 60% เคยเป็นพื้นที่ป่า
และเข้าไปทำไร่ข้าวโพดในพื้นที่ป่ามากขึ้น
นาที 14.05 พื้นที่ปลูกข้าวโพดของน่าน มาเป็นอันดับ 5 ของประเทศ
รวมข้าวโพดที่ได้กว่า 4 แสนตันต่อไป
นาที 14.13 พื้นที่ปลูกข้าวโพด
อันดับ 1 เพชรบูรณ์ 1,075,536 ไร่
อันดับ 2 นครราชสีมา 816,805 ไร่
อันดับ 3 จังหวัดเลย 825,735 ไร่
อันดับ 4 จังหวัดตาก 686,013 ไร่
อันดับ 5 น่าน
รวมพื้นที่ทั้งหมด 7,366,996 ไร่
ที่มา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2555
นาที 14.30 การวิจัยพบว่า 90% ของข้าวโพด นำไปทำเป็นอาหารสัตว์ทั้งนั้นเลย
ไปให้สัตว์ในฟาร์มกิน ทั้งไก่ ทั้งไข่ ก็เลี้ยงไว้ให้พวกคนไทยนั่นหละครับกิน
นาที 14.50 มาดูความคุ้มค่า ความยั่งยืน ถ้าเราเอาข้าวโพด ไปแลกกับผืนป่า
แสดงว่ากำลังเอาอาหารและความมั่นคงของมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ
ไปแลกกับการปลูกข้าวโพดเท่านั้น
นาที 15.44 ผลสำรวจ คนไทยกินไก่ เฉลี่ย 15 กิโลกรัมต่อปี
คิดเป็นไก่ประมาณ 10 ตัว คนไทย 70 ล้านก็กินไก่ประมาณ 700 ล้านตัว
จำเป็นต้องมีอาหารมาป้อนไก่ ใช้ข้าวโพดประมาณ 53% เป็นวัตถุดิบ
ทำให้เราต้องผลิตข้าวโพดถึง 6.2 ล้านตัน ก็ต้องปลูกบนผืนดิน
นาที 16.43 คนไทยกินไก่ ไก่กินข้าวโพด ไปกระทบผืนป่าภาคเหนือ
เรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะเมืองไทย เช่น อเมริกา เขาไปจ้างบราซิลถางป่าอเมซอล
เพื่อปลูกข้าวโพดมาให้วัวอเมริกากิน
นาที 17.31 พูดถึงเพลง “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” ของวงเฉลียง
เค้าว่า กินแฮมเบอเกอร์ 1 ชิ้น สะเทือนถึงผืนป่าอเมซอลในบราซิล
เช่นเดียวกับการกินไส้กรอก 1 ชิ้น สะเทือนถึงผืนป่าจังหวัดน่าน
นาที 18.30 อยากจะกินไก่ กลายเป็นทำร้ายป่า
นาที 30.40 ชาวบ้านยิ่งทำงานหนัก ยิ่งรายได้น้อย ยิ่งขาดทุน ชีวิตลำบากกว่าเดิม
นายทุนที่เอาข้าวโพดไปทำอาหารสัตว์ กลับรวยขึ้น
นาที 35.01 มี 5 พลังร่วมแห่งการทำลาย
1. กลุ่มชาวบ้าน
2. กลุ่มนายทุน/แปรรูป
3. กลุ่มเงินกู้/กองทุนทุกประเภท
4. กระบวนการส่งเสริม/นักส่งเสริมการเกษตร/นักวิจัย
5. นโยบายส่งเสริมจำนำ/ประกันราคา
นาที 38.43 นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย บอกว่า ส่งเสริมให้ปลูกข้าวโพด
แต่ไม่ส่งเสริมให้ทำลายป่า ไม่มีใครทำอย่างนั้น
เราต้องไปแก้ที่การจัดการ มีมูลค่าทั้งระบบอย่างน้อย 1 ล้านล้าน
นาที 40.01 พูดอีกล่ะ คนไทยกินป่าน่านเป็นอาหาร
นาที 40.45 โรงเรียนมีแนวคิดอนุรักษ์ป่าด้วยการทำโครงการ 1 คน 1 ต้น 1 ปี รวมครูด้วย
นาที 41.58 ถ้าอยากได้ป่าตรงที่โล้นคืน ชาวบ้านก็ยอมคืน แล้วคุณต้องมีที่นาคืนให้เขาทำกิน
มีคนยอมร่วมโครงการป่าแลกนา คือได้นา 1 ไร่ แลกพื้นที่ป่า 3 ไร่
ปัญหานี้ไม่ได้เกิดจากใครคนใดคนหนึ่ง เกิดจากทุกภาพส่วน
โดยเฉพาะ “ตัวเรา สามัญชนคนไทย ที่ต้องกินต้องอยู่”
นาที 45.30 เซ็งเป็ด หรือเซ็งไก่ดี จะไปซื้อไก่กิน เราเป็นไอ้ตัวร้ายทำลายป่าเมืองน่าน
เราต้องกิน ต้องใช้ ต้องบริโภค แต่ไม่มีวิธีกินให้ยั่งยืนหรือ ต้องรู้ต้นกำเนิด ไม่กินทิ้งกินขว้าง