โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ

เอกสารประกอบการอบรม
เอกสารประกอบการอบรม

มหาวิทยาลัยเนชั่น  โดย อ.ศรีเพชร สร้อยชื่อ และอ.วราภรณ์ เรือนยศ
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ
เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2557
โดยมี ผศ.ดร.ศิริพร เสริตานนท์ เป็นวิทยากรให้ความรู้
ก่อนบรรยายมีการทดสอบก่อนเรียน (Pre-test)
และหลังบรรยายมีการทดสอบหลังเรียน (Post-test)
โดยมี อ.เกศริน อินเพลา ได้คะแนนสูงสุดร่วมกับ อ.ศรีเพชร สร้อยชื่อ
เนื้อหาเน้นให้เข้าใจเงื่อนไขข้อกำหนดของการขอตำแหน่งทางวิชาการ
และแบ่งปันกระบวนการที่ท่านได้ดำเนินการมาก่อนหน้านี้

การขอตำแหน่งทางวิชาการนอกจากอายุการสอนแล้ว
ยังต้องมีเอกสารประกอบการสอน ตำรา งานวิจัย บทความวิชาการ
ซึ่งรายละเอียดในแต่ละตำแหน่ง ก็จะแตกต่างกันไป
ทั้งศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์
ซึ่งศึกษาได้จากเอกสารที่สำนักวิชาการ

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.584196208261181.142796.506818005999002

ผู้เข้ารับการอบรม
ผู้เข้ารับการอบรม
ผู้เข้ารับการอบรม
ผู้เข้ารับการอบรม

ผลงานทางวิชาการ 2555

ผลงานทางวิชาการ 2555
ผลงานทางวิชาการ 2555

น้องบดี จากภาคอีสาน ผู้คร่ำหวอดในแวดวงวิชาการ ได้ส่งประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2555 และประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์  (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2555 มาให้อ่าน พอสรุปได้ว่าฉบับที่ 6 ให้นิยมของผลงานทางวิชาการใหม่ ลักษณะคุณภาพ และทิศทางที่กำหนด ส่วนฉบับที่ 7 แก้ไขประเด็นเรื่องที่สภาฯ รับไว้แล้ว และอยู่ในระหว่างดำเนินการให้ใช้เกณฑ์ปี 2550 [เป็น] ใช้ของปี 2555 แทน

+ http://www.mua.go.th/law.html

+ http://www.personnel.psu.ac.th/per10.html
ประกาศฉบับที่ 6 มี 3 ประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. นิยามของความหมายของ ผลงานวิชาการใหม่ ทดแทนปี 2550
(1) ผลงานแต่ง หรือเรียบเรียง ตำรา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด  หรือ
(2) ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.กำหนด ทั้งนี้ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ
(3) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.กำหนด
2. ผลงานในข้อ 1 ต้องมีลักษณะคุณภาพ 3 องค์ประกอบ
(1) ก่อให้เกิดความรู้ใหม่
(2) มีการวิเคราะห์หรือสังเคราะห์
(3) สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หรือมีผลกระทบต่อการพัฒนาชุมชน สังคม หรือประเทศ
3. ผลงานที่ขอตำแหน่งทางวิชาการต้องมีลักษณะหรือทิศทางต่อไปนี้อย่างน้อยหนึ่งข้อ
(1) สอดคล้องกับศักยภาพหรือทรัพยากรของแต่ละพื้นที่ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์และพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ
(2) เพื่อให้รู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลก
(3) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
(4) พัฒนาและส่งเสริมชุมชนหรือสังคมให้มีความเข้มแข็ง
(5) ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงวิชาการ

สกอ. แจ้งรายการเอกสารที่ ม.เอกชนต้องส่ง

รายการเอกสาร สกอ
รายการเอกสาร สกอ

25 ม.ค.54 วันนี้ได้รับหนังสือจากคณะวิชาที่ส่งให้กับอาจารย์ทุกคนในคณะให้ได้ทราบทั่วกันว่า สกอ. (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา) ส่งหนังสือถึงมหาวิทยาลัยเอกชนเพื่อแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ มาตรฐานหลักเกณฑ์ และวิธีการแต่งตั้งคณาจารย์ให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2550 ว่าการแจ้งให้กับ กกอ. รับทราบการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการนั้น ต้องส่งเอกสารอะไรบ้าง อาทิ คำสั่งแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะอนุกรรมการประเมินการสอน รายงานการประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และแบบขอรับการพิจารณาอีก 5 รายการ ได้แก่ แบบประวัติส่วนตัว แบบประเมินคุณสมบัติโดยผู้บังคับบัญชา แบบประเมินผลการสอน แบบประเมินผลงานทางวิชาการ และมติสภาสถาบัน .. รายละเอียดเยอะจริง ๆ ครับ จึงเก็บข้อมูลไว้อ้างอิงในอนาคตครับ

การเลื่อนตำแหน่งของภรรยาแบบวาปมิใช่ก้าวกระโดด

21 พ.ย.52 ช่วงนี้มีใครหลายคน แซวและชวนภรรยาของผมไปเลี้ยงฉลองตำแหน่งใหม่ หรืออาจได้รับตำแหน่งใหม่ในเร็ววันนี้ ผมได้แต่ดีใจด้วย ด้วยทัศนคติส่วนตัวคิดว่าเธอ เลื่อนตำแหน่งแบบวาร์ปไป (warp) มิใช่ก้าวกระโดด (jump) มีหลายประเด็นให้ได้พิจารณาคือ 1)ทำงานมา 10 กว่าปี เปลี่ยนหัวหน้ามา 11 คนในองค์กรเดียว  เปลี่ยนหน่วยงานมา 4 หน่วย มีประสบการณ์มากในการเป็นเลขาฯ 2)สำเร็จการศึกษา ป.ตรี ด้านการจัดการ จากราชภัฏ ทำงาน เป็น เจ้าหน้าที่ในสำนักรับนักศึกษา เลขานุการในฝ่ายวิชาการ เลขานุการในสถาบันวิจัย เจ้าหน้าที่รับโทรศัพท์และธุรการในสำนักประชาสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่ในสำนักรับนักศึกษา แล้วกำลังจะวาร์ปไปเป็น หัวหน้างานประชาสัมพันธ์และรับนักศึกษา ซึ่งมีภาระรับผิดชอบงานที่ชี้ชะตาองค์กร ตามผลการวิเคราะห์ risk โดยกลุ่มผู้บริหาร แสดงว่าเธอเป็นตัวเลือกเดียวที่ดีที่สุดเป็นแน่ 3)หลายท่านให้กำลังใจว่าไม่ต้องเป็นกังวลเพราะเราทำงานในรูปคณะกรรมการ บูรณาการ ทุกคนช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ถ้อยทีถ้อยอาศัย มีผู้เชี่ยวชาญทั้ง ด้านการตลาด (marketing) ด้านประชาสัมพันธ์ (public relation) ด้านการออกแบบ (design) ที่พร้อมให้คำแนะนำอยู่ใกล้ชิด อย่างอบอุ่น 4)ใจของเธอในฐานะปุถุชนยังกังวลในการได้รับความไว้วางใจในครั้งนี้ ว่าจะภูมิใจภาระใหม่ที่ไหลมาตามกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง หรือหนักใจที่ได้รับภาระในภาวะวิกฤต ซึ่งเคยปราบทุกเซียนมาแล้ว ก็ดูว่าเธอจะใช้อะไรมาต่อสู้กับสถานการณ์ที่เป็นอีกหนึ่งวิกฤตขององค์กร .. งานนี้มีแต่ต้องเอาใจช่วย เพราะเป็นงานใหม่ที่ท้าทายอีกงานหนึ่ง