#เล่าสู่กันฟัง 63-070 สื่อสอนสอบ ใน สอนออนไลน์

Google classroom

Google meet

Google form

จุดเด่นของ google meet
1. ใช้งานผ่านบราวเซอร์ ไม่ต้องติดตั้งอะไรเลย ถ้าใช้บนโทรศัพท์มีแอพชื่อ meet
2. ผู้ร่วมประชุม ไม่ต้อง sign in ได้ลิงค์ หรือรหัสห้องก็เข้าร่วมได้ (ควรระบุ ชื่อและรหัสนิสิตที่ปรากฎ)
3. ใช้ได้ทันทีด้วยอีเมลของมหาวิทยาลัย/องค์กรที่สมัคร G Suite
4. จุดเด่นอื่น คล้าย zoom, webex, ms teams, discord ที่แชร์จอได้ บันทึกวีดีโอ แปลเป็นแคปชั่นอัตโนมัติ หรือจัดการผู้ร่วมประชุม


ขั้นตอนการใช้งาน google meet
1. เปิดบราวเซอร์ เช่น  chrome, edge, firefox
2. เปิด http://meet.google.com
3. เข้าระบบด้วยอีเมลของมหาวิทยาลัย/องค์กร เพราะสมัคร G Suite แล้ว
4. คลิ๊ก Join หรือใส่ Meeting code
5. ส่งลิงค์ให้ลูกศิษย์/ผู้สนใจเข้าประชุม
6. กดรับเข้า (Admit) เมื่อแต่ละคนขอเข้าห้องประชม
7. เริ่มแชทคุย หรือประชุมผ่าน video
หรือให้ฝ่ายขาย/ผู้ร่วมประชุมวิชาการ/นิสิตนำเสนอโครงงานแบบที่พบว่า อ.แม็ค กับ อ.แป๋ม เล่าเรื่องในเฟส
http://thaiall.com/google/meet.htm

#เล่าสู่กันฟัง 63-060 หุ่นยนต์จะมาทดแทนแรงงานที่ขาดหาย

ต่อไป อาจไม่พบครูกับนักเรียน
นั่งสอนในห้องเรียนที่มีนักเรียนสุมกัน
เป็น 10 เป็น 100
เรากำลังเข้าสู่ยุค #สอนออนไลน์ #ทำงานจากบ้าน
ด้วยแรงขับทรงพลังเหนือคณานับ
นั่นคือ #covid-19 ชื่อโรคเมื่อปีที่แล้ว
แต่ส่ง และทรงอิทธิพลอาจยาวไปชั่วกาล
หากเชื้อพัฒนาต่อไป จนเป็นโรคประจำถิ่นแบบไข้หวัดใหญ่
หรือไข้เลือดออก ก็อาจลดจำนวนและอายุเฉลี่ยของประชากรได้
หายกลายพันธุ์ตามข่าวต่อเนื่อง
ทางรอดต้องคงยึดคาถา #อยู่บ้านเพื่อตนเอง
รักษา social distancing เพื่อวันพรุ่งนี้
แล้วจะเกิด #ห้องเรียนแห่งอนาคต ขึ้นจริงจัง
เพียงชั่วข้ามปี ไม่ได้วิวัฒน์กันข้ามชีวิตอีกแล้ว
เพราะ “ไวรัสทำให้แรงงานมนุษย์ต้องเก็บตัวอยู่ในบ้าน”

คุยกับนิสิต เรื่องการสอนแบบ #ใส่ใจ กับ #ใส่แมส ให้เข้าใจ เตรียมใจ

เพราะในห้องเรียนก็จะมีหลายกลุ่ม
บางกลุ่มผู้สอนใส่ใจไป ผู้เรียนให้ใจกลับ
บางกลุ่มรอเรียยแบบใส่แมส เต็มรูปแบบ
คือ ฟังอย่าเดียว หรือ ฟังทางเดียว
ไม่มีโกรธที่ถูก feedback สีหน้าอารมณ์เดียวก็มี
ไม่ใช่ถามมาตอบไป ยิ้มหัวเรา โต้ตอบกัน
ก็ด้วยเงื่อนไขเรื่องจำนวน
วิธีใหม่อาจเรียกว่า write once, run anywhere

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2819753108101576&id=1125767017500202

ชวนอ่าน
COVID-19 เร่งให้ยุค “แรงงานหุ่นยนต์” มาถึงเร็วกว่าที่คาด
.
สถานการณ์ไวรัสโคโรนา 2019 ที่ระบาดหนักในจีน ทำให้อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เติบโตขึ้นเร็วอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เพราะไวรัสทำให้แรงงานมนุษย์ต้องเก็บตัวอยู่ในบ้าน รวมถึงกฎระเบียบที่ห้ามคนสัมผัสติดต่อกัน หุ่นยนต์เลยเข้ามารับบทบาทแทนในแทบจะทุกอุตสาหกรรม
.
กลุ่มนักลงทุนคาดการณ์ว่าปีนี้จะเป็นปีที่ธุรกิจหุ่นยนต์จะแจ้งเกิดแบบเต็มตัว ประเมินว่าจะมียอดสั่งซื้อจำนวนมหาศาลในประเทศจีน โดยเฉพาะหุ่นยนต์ที่ทำงานบริการ เช่น หุ่นยนต์เสิร์ฟอาหาร หุ่นยนต์ส่งของในโรงแรม หุ่นยนต์วิ่งส่งอุปกรณ์ในโรงพยาบาล ส่งสินค้าตามบ้าน ไปจนถึงหุ่นยนต์ที่ใช้ภาคการผลิตสินค้า ทำงานในโรงงาน ปรุงอาหาร ชงเครื่องดื่ม ฯลฯ เพราะในช่วงที่มีโรคระบาดอยู่อย่างนี้ มันสามารถตอบโจทย์เรื่องสุขอนามัยได้ดีกว่าคนมาก ไม่ผิดข้อกำหนดของรัฐ ผู้ประกอบการไม่ต้องหยุดกิจการ ผู้บริโภคก็มีตัวเลือกมากขึ้น
.
ทางบริษัทผู้ผลิตหุ่นยนต์เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมที่หุ่นยนต์ขายดิบขายดีที่สุดคือโรงพยาบาล โรงพยาบาลหลายแห่งที่ไม่เคยใช้หุ่นยนต์มาก่อนก็ถึงเวลาต้องสั่งซื้อกันขนานใหญ่ โดยเฉพาะหุ่นยนต์ที่คอยเดินฆ่าเชื้อตามพื้นที่ต่าง ๆ ด้วยรังสี UV และหุ่นยนต์ที่ส่งอาหารตามห้องผู้ป่วย ช่วยให้เจ้าหน้าที่ไม่ต้องเสี่ยง ไม่ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ป้องกันบ่อย ๆ แก้ปัญหาขาดแคลนอุปกรณ์ได้ในทางหนึ่ง
.
ขณะเดียวกัน ร้านอาหารขนาดใหญ่ในจีนหลายแห่งก็เริ่มเอาหุ่นยนต์เข้ามาแทนพนักงานเสิร์ฟอย่างจริงจังแล้ว แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน แถมยังเรียกความเชื่อมั่นให้ลูกค้าได้เป็นอย่างดี ซึ่งทางผู้บริหารเปิดเผยว่าก่อนหน้านี้พวกเขาก็มีแผนจะค่อย ๆ เอาหุ่นยนต์มาใช้ในร้านอยู่แล้ว แต่โควิด-19 ทำให้ต้องรีบลงมือเร็วกว่าที่คิด
.
ณ ตอนนี้ถือว่าหุ่นยนต์มีส่วนช่วยจีนอยู่มาก ในเรื่องการยับยั้งโรคระบาดพร้อมกับขับเคลื่อนเศรษฐกิจไม่ให้ชะงัก แต่ก็น่าเป็นห่วงว่าเทรนด์นี้อาจจะเปลี่ยนตลาดแรงงานจีนไปตลอด เมื่อนายจ้างลงทุนก้อนใหญ่เพื่อซื้อหุ่นยนต์มาแล้ว คุ้นเคยกับลูกจ้างหุ่นยนต์แล้ว รวมถึงลูกค้าที่ยังจะระแวงเรื่องไวรัสไปอีกพักใหญ่ ๆ หลังจากวิกฤตผ่านไป จะยังเหลือพื้นที่ให้กับแรงงานมนุษย์แค่ไหน?
.
หากนี่คือการแข่งขันระหว่าง “แรงงานคน” กับ “แรงงานหุ่นยนต์” รอบนี้ก็ต้องยอมรับว่าทีมมนุษย์เสียคะแนนไปมากทีเดียว
.
ขอบคุณข้อมูลจาก Reuters, TheStar

เล่าสู่กันฟัง 63-029 ห้องเรียนกลับด้าน
ในห้องเรียนแห่งอนาคต

ในอนาคตนิสิต นักศึกษา นักเรียน
จะได้พบ #ห้องเรียนแห่งอนาคต
ซึ่งในอนาคตจะไม่มีการบ้านจากโรงเรียน
เพราะผู้เรียนจะตั้งโจทย์ด้วยตนเอง
และเรียนรู้ในสิ่งที่สนใจ
จนกระทั่งสำเร็จในที่สุด
โดยไม่มีกรอบเวลา มาขวางเป้าหมายที่ใฝ่ฝัน

บางคนสำเร็จหัวข้อที่อยากรู้เพียงข้ามคืน
บางคนแสวงหาหัวข้อ project
เช่น page rank, micro blogging, ai หรือ iot
หากติดขัดก็จะเข้าหา ค้นหาที่ปรึกษา
ที่มีมากมาย ทั้งไกลไกล ในโลกเสมือน
อ่าน ฟัง ดู สื่อสาร และเรียนผ่าน mooc

การเรียนผ่าน #ห้องเรียนกลับด้าน
คือ การเรียนรู้ อ่าน ค้น วิจัยที่บ้านตามชอบ
แล้วมาทำการบ้านที่โรงเรียนกับหลักสูตร
เพราะที่บ้าน 18 ชั่วโมงเป็นโลกเปิด
ที่ไม่ควรถูกจำกัดด้วยกรอบเล็ก ๆ ของหลักสูตร

ถอดบทเรียนเขียนเป็นบทความ
ถูก cited นับไม่ถ้วน
ให้เพื่อน ผู้ทรง ผู้ประกอบการ
ชุมชน นักลงทุน หรือชาวต่างชาติ
เข้ามาทำ learning exchange หรือ KM
แล้วทิ้ง suggestion ที่ทำให้ผู้เรียน
ได้พัฒนาเป็นเทคโนโลยี ต่อยอดเป็นนวัตกรรม
หรือเรียนรู้ข้ามสายข้ามศาสตร์
ไปเรื่อย ๆ จนสำเร็จแล้ว สำเร็จอีก
ตามเป้าหมายที่วางไว้วันแล้ววันเล่า

#สยบฟ้าพิชิตปฐพี
http://www.thaiall.com/futureclassroom

#เล่าสู่กันฟัง 63-015 ห้องเรียนผ่าน google

มีโอกาสโหลดแอพ มาสร้างห้องเรียน
ผ่าน google classroom
แล้วก็สร้างหัวข้อ ข้อสอบ กิจกรรม
ให้นิสิตเข้าชั้นเรียน ได้ทำอะไรร่วมกัน
อาจารย์ก็ให้คะแนน feedback กลับไป
มีรหัสชั้นเรียนคือ 7e96zz
ในเบื้องต้นก็เริ่มจากละลายน้ำแข็งในใจ
ให้นิสิตคุ้นเคยกับห้องเรียนใน google
ซึ่งบริการต่าง ๆ ก็จะพัฒนาเพิ่มขึ้น
ในอนาคตอาจสมบูรณ์กว่า Classstart หรือ moodle
ซึ่งเป็น #ห้องเรียนแห่งอนาคต อันใกล้ได้เลย
http://www.thaiall.com/futureclassroom/

วันนี้ จึงใช้ app และ browser เข้าชั้นเรียน
บัญชีหนึ่งเป็นครู อีกบัญชีเป็นนักเรียน
แล้วพบว่าฟลุ๊คน่าน ปี 3 แชร์ข่าวพัฒนา classroom
มาทาง fb profile ก็แอบชื่นชมไม่บอกใคร
เป็นการเรียนรู้ และแบ่งปันทางสื่อสังคม

http://www.thaiall.com/ethics

กรณีศึกษา วิชาจริยธรรม ภาพยนตร์
นำแสดงโดย Anthony Hopkins

l3nr.org เป็นห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom) ที่ไม่เปิดรับสมาชิกใหม่ไปซะแล้ว

ชอบเว็บไซต์ l3nr.org และแนะนำให้นักศึกษาเข้าใช้บริการเป็นเวทีปล่อยของบ่อยครั้ง เพราะเว็บไซต์นี้เป็นแหล่งปล่อยของสำหรับนักเรียนนักศึกษา ดังคำสำคัญ หรือนิยาม ที่พบในเว็บไซต์ว่า L3nr คือ “เกมส์การเรียนรู้” หรือ “เกมส์กลับหัว เพื่อห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom)” และ “การจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับทางนั้น ผู้สอนจะจัดกิจกรรมหลากรูปแบบโดยใช้เครื่องมือหลายอย่างทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดเวลา ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน แบบกลุ่มและแบบรายบุคคล

แล้วปี 2017 จะให้นักศึกษาไปปล่อยของกันที่นี่เหมือนเดิม ก็มีนักศึกษาเข้าไปสมัครสมาชิก แล้วพบข้อความว่า “ระบบ L3nr ในขณะนี้ไม่เปิดรับสมาชิกใหม่แล้วค่ะ กรุณาใช้งานระบบ ClassStart ซึ่งเป็นระบบจัดการการเรียนการสอนออนไลน์ที่สมบูรณ์ที่สุดของไทยในปัจจุบัน” สำหรับเหตุการณ์ที่ไม่รับสมาชิกใหม่ของเว็บไซต์นั้น เคยเกิดขึ้นกับหลายเว็บไซต์มาแล้ว อาทิ geocities.com หรือ thai.net เป็นต้น ซึ่งแต่ละเว็บไซต์ก็มีเหตุผลที่ต้องปรับนโยบายไปเช่นนั้น ซึ่งผู้ดูแล L3nr.org มีอีก 2 เว็บไซต์หลักที่ต้องดูแล และดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป ได้แก่ GotoKnow.org คือ เว็บไซต์สำหรับคนทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บันทึกประวัติศาสตร์ชีวิตและการทำงาน ครู อาจารย์ คนทำงานภาครัฐและภาคสังคม และ ClassStart.org คือ ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต จัดการการเรียนการสอนได้ง่าย ไม่ต้องติดตั้งระบบเอง เข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา

อ่านนิยามของเว็บไซต์ L3nr.org เสร็จ .. ทำให้นึกถึงน้อง Kittichai Mala-in FramyFollow (ป.6) ที่ใช้ medium.com เป็นเวทีแชร์ประสบการณ์ใน โรงเรียนบ้านง่อนหนองพะเนาว์มิตรภาพที่ 126 ตั้งแต่สมัย ป.3 ที่ทำ root Smartphone ของ True ผ่าน King Root พอขึ้น ป.4 กับ ป.5 สร้างเกมด้วย RPG Maker VX เดี๋ยวนี้ ป.6 สนใจ Dream Weaver CS5 กับ CSS ได้ความรู้เยอะเลยจาก thaicreate.com เขียนได้ดี น่านำไปแชร์ต่ออย่างมาก

แล้วนึกถึงหนังสือ ห้องเรียนแห่งอนาคต เปลี่ยนครูเป็นโค้ช ของ อ.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ มี quote ที่หน้าปกว่า “ฉีกกฎการเรียนการสอนแบบเดิม ๆ เพิ่มหลังการเรียนรู้ให้เด็กไทย
ด้วยห้องเรียนที่สร้างสรรค์อย่างแท้จริง
” แล้วห้องเรียนกลับทางก็เป็นห้องเรียนที่สร้างสรรค์อีกรูปแบบหนึ่ง

สรุปว่า .. มีเวทีมากมายที่เป็นห้องเรียนกลับหัว ที่ให้นักเรียนนักศึกษาใช้เป็นเวทีปล่อยของ จะปล่อยกันเองตามอำเภอใจ ปล่อยตามประเด็นที่ครูอาจารย์มอบหมาย หรือปล่อยเพื่อประกวดแข่งขัน ก็ทำได้ตามสะดวก อย่าใช้แต่เฟสบุ๊กโปรไฟร์หรือแฟนเพจอย่างเดียว ก็แนะนำให้ไปใช้ในหลายแหล่ง มีเวทีมากมายที่เปิดรับเป็น public อย่างแท้จริง อาทิ  1) blogger.ccom, 2) wordpress.com, 3) oknation.net=oknation.nationtv.tv, 4) medium.com, 5) dek-d.com, 6) gotoknow.org, 7) github.com, 8) FreeWebHosting อีกมากมาย และนี่ยังไม่นับรวมเวทีมัลติมีเดียทั้ง คลิ๊ปวีดีโอ เสียง ภาพ ซอฟต์แวร์ หรืออีบุ๊ค เป็นต้น

ใน 7 sites แรกที่แนะนำไปด้านบน
มี WordPress.com ที่ชอบมากเป็นพิเศษ เพราะ export post ที่เลือกแบบ published ไปให้เพื่อนที่ลง WP ไว้ในระบบ แล้ว import แฟ้ม XML ได้เลย เรียกว่า ปล่อยของไว้ที่ WP วันดี คืนดี อยากเปลี่ยนเวที ก็ Export ไปที่อื่นได้เลย

นี่ผมก็ export จากไซต์ของ wordpress.com ได้แฟ้ม xml ไปฝากไว้กับ github.com
ที่ https://github.com/thaiall/programming-page/tree/master/wordpress

 

ก่อนหน้านี้ก็มีเว็บไซต์ดี ๆ อย่าง Wonkdy.org
เขียนโดย ดร. จันทวรรณ ปิยะวัฒน์ ร่วมเขียนโดย ดร. ธวัชชัย ปิยะวัฒน์
http://www.usablelabs.org
ข้อมูลจาก https://web.archive.org/web/20150908071932/https://www.wonkdy.org/pages/101

ในวันที่เจ้าต้นไม้เข้าเรียนประถมหนึ่ง แม่ถามพ่อว่า “รู้ไหม ลูกเราจะต้องเรียนอะไรบ้าง?”

แน่นอนว่าพ่อตอบไม่ได้และนั่นคือจุดเริ่มต้นของ Wonkdy Academy (หวังดี อคาเดมี)

หวังดี อคาเดมี เป็นพื้นที่รวบรวมโน้ตของพ่อและแม่เพื่อจะได้รู้และช่วยสอนลูกได้ เพราะพ่อกับแม่เชื่อว่าการเรียนรู้ที่ดีเพื่อพัฒนาเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตต้องเริ่มต้นที่บ้าน

หวังดี อคาเดมี เป็นพื้นที่ออนไลน์ที่พ่อและแม่จะได้แบ่งปันเนื้อหาเหล่านี้ให้พ่อและแม่ของคนอื่นๆ ต่อไปเพราะเราอยู่ในสังคมเดียวกัน การเกื้อกูลกันโดยแบ่งปันความรู้คือของขวัญที่ดีที่สุดที่จะมอบให้แก่สังคม

นอกจากนี้พ่อและแม่ยังชักชวนพี่น้องเพื่อนฝูง ทั้งในวงการการศึกษาที่พ่อและแม่ทำงานอยู่และคนอื่นๆ ที่มีความตั้งใจเดียวกัน เพื่อร่วมกันแบ่งปันเนื้อหาดีๆ ให้ทุกคนสามารถตอบคำถามเดียวกันที่แม่ถามพ่อได้ว่า “เรารู้ว่าลูกเราเรียนอะไร”

หวังดี อคาเดมี เป็นระบบเพื่อสนับสนุนการเขียนร่วมกันในลักษณะเดียวกันกับ Wikipedia โดย หวังดี อคาเดมี พยายามพัฒนาให้ใช้งานได้ง่ายที่สุด สอดคล้องกับการใช้งานของคนไทย และเหมาะกับเนื้อหาด้านการศึกษามากที่สุด

โครงการ หวังดี อคาเดมี ให้บริการโดย ศูนย์พัฒนานวัตกรรมเพื่อการจัดการความรู้และการเรียนรู้ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ส่วนคำว่า “หวังดี” นั้นมาจากคำแปลของคำว่า “ปิยะวิชญ์” (Piyawish) ที่เป็นชื่อจริงของเจ้าต้นไม้ ที่พ่อและแม่พยายามคิดโดยเอาบาลีบวกสันสกฤตบวกอังกฤษเพื่อเป็นชื่อของ “ดช.หวังดี” คนดีของพ่อและแม่นั่นเอง

ปล. เรารู้ความหมายของคำว่า wonk, wonky, (และ wank) ในภาษาอังกฤษดีจึงตั้งชื่อเว็บนี้ว่า “wonkdy” เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงระบบการศึกษาของโลกนี้ที่พ่อกับแม่ได้เจอมา และด้วยความหวังว่าลูกคงได้เจอสิ่งที่ดีกว่า

 

รักคือฝันไป – ในห้องเรียน

love in classroom
love in classroom

วันนี้ youtube ติดต่อมา เหมือนหลาย ๆ ครั้ง
แจ้งให้ผมทราบว่า คลิ๊ปหนึ่ง ที่ผมเคยอัพโหลด
มีลิขสิทธิ์เพลง “รักคือฝันไป” เป็นของ Believe music
เค้าบอกว่าไม่ต้องกังวล ไม่มีปัญหาในการแชร์เพลงนี้
แต่รายได้จากการแชร์เพลงนี้ จะเป็นของ copyright owner
ถ้าไม่มีปัญหาอะไร ก็ไม่ต้องทำอะไร ปล่อยให้เค้าจัดการเอง
แล้วไม่ต้องไปลบวีดีโอทิ้งนะ

ปล. เกี่ยวกับลิขสิทธิ์เพลงที่ผมเคยผิดนโยบายของ youtube
การดำเนินการหลังการละเมิดลิขสิทธิ์ครั้งนี้ ถือว่านุ่มนวลที่สุดล่ะ

งานวิจัยเกี่ยวกับการศึกษา แล้วบันทึกไว้ เชื่อมโยงผ่าน goo.gl

goo.gl
goo.gl

1. จันทรจิรา เมธาจิโนทัย. (2549). เจตคติและความสนใจของนักเรียนระดับชวงชั้นที่ 2 ที่มีตอการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์. ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2556.
แหล่งที่มา
2. จุฑารัตน์  ศราวณะวงศ์ (2543). ผลของการเรียนบนเครือข่ายต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การใช้เครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2557.
แหล่งที่มา
3. ชุติมา เมฆวัน. (2555). การวิจัยในชั้นเรียน. ค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2557.
แหล่งที่มา
4. ทอม มาร์คาม. (2554). พีบีแอล (PBL = Project-Based Learning). ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2556.
แหล่งที่มา
5. บุรินทร์ รุจจนพันธุ์. (2557). ศึกษาความพึงพอใจต่อการมอบหมายงานจัดทำคลิ๊ปวีดีโอแนวสร้างแรงบันดาลใจ
ในวิชาสื่อและเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน. 1-6. การประชุมวิชาการ อุดมศึกษาไทยกับการพัฒนาประเทศ ประจำปีการศึกษา 2556.
6. ประพัฒน์พงศ์ เสนาฤทธิ์. (2545). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2556.
แหล่งที่มา
7. มัณฑรา  ธรรมบุศย์. (2552). ลีลาการเรียนรู้ (Learning style). ค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2557.
แหล่งที่มา
8. วินทฎา วิเศษศิริกุล. (2546). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ระดับ ปวส. สาขาวิชาคอมพิวเตอรธุรกิจวิทยาลัยเทคนิคนครนายก โดยการจับคูดูแลกัน. ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2556.
แหล่งที่มา
9. สุจินต์ เพิ่มพิทักษ์ และทัศนีย์นารถ ลิ้มสุทธิวันภูมิ. (2553). แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วารสาร BU Academic Review. ปีที่ 9 ฉบับพิเศษ 1 พฤษภาคม 2553. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
10. สันติ วิจักขณาลัญฉ์ รศ.ดร.สุลัดดา ลอยฟ้า ผศ.ดร.ทัศนี บุญเติม และรศ.ยืน ภู่วรวรรณ (2544)การพัฒนาระบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐานสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. ค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2557.
แหล่งที่มา