การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 20

เปิดอ่านนู่นนั่นนี่ แล้วได้พบเรื่อง ปลูกถ่ายแนวคิดการวิจัย สู่การขับเคลื่อนนวัตกรรม เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 20 วันเสาร์ที่ 25 และวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน 2565 ณ อาคารคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตวัชรพล พบว่า เพื่ออาจารย์หลายท่าน นำเสนอผลงานวิชาการในการประชุมครั้งนี้ ผมเข้าไปที่ ตรวจสอบสถานะ แล้วก็ค่อย ๆ เลื่อนดูชื่อ พบ อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ อ.พัชรีภรณ์ หรพร้อม อ.วีระพันธ์ แก้วรัตน์ ส่งผลงานเข้าไปในระบบแล้ว ไปดูหัวข้อกำหนดการ พบว่าหมดเขตส่งผลงาน 31 พฤษภาคม 2565 โดยครั้งนี้มี นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาเป็นปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการ

https://oldweb.western.ac.th/westernnew/wtu-research/

#เล่าสู่กันฟัง 63-021 นิสิตฟังพี่บัณฑิตเล่า ตกเย็นเล่นดนตรีให้พี่ฟัง

1 ก.พ.2563 มีกิจกรรมตลอดทั้งวัน
ที่ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบันรุ่นแรก ๆ
อาจารย์เก่าที่ร่วมก่อตั้งเมื่อ 30 ปีก่อน
และ ดร.นิรันดร์ จิวะสันติการ อธิการบดีผู้ก่อตั้งร่วมทุกกิจกรรม

พบว่า ใน line กลุ่มที่อาจารย์สนับสนุนให้นิสิตเข้าฟังมีการแชร์ภาพต่อ ๆ กันมา และต่อ ๆ กันไป และขอบคุณจาก อ.เกศรินทร์ อินเพลา และ อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ กำกับ กำชับ ให้นิสิตเข้าเก็บเกี่ยวประสบการณ์ พร้อมหน้าพร้อมตา

ภาพโดย @WirapornAsheim
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10215339197423856&id=1553431041

พบว่า นิสิตวงดนตรี ชื่อวง #อิดโรย ที่เข้าร่วมกิจกรรม #คืนสู่เหย้า ก็มีภาพน่ารักไม่แพ้พี่บัณฑิต
จึงเก็บมาแชร์ #กิจกรรมนิสิต

มีนิสิตกลุ่มหนึ่ง หล่อ ๆ
ช่วงบ่ายฟังพี่เล่า ที่ห้อง 4201
พอตกเย็น ไปร้องเพลงให้พี่ฟัง
มีอาจารย์อาวุโส ร่วมสนุกกับศิษย์เก่า
ด้วยการร่วมร้องเพลง สนุกสนาน อบอุ่น
ณ #ริมสระว่ายน้ำ #มหาวิทยาลัยเนชั่น

ภาพศิษย์พี่ แชร์เล่าไว้ที่ https://www.thaiall.com/blog/admin/9867/

ตั้งใจฟังพี่บัณฑิต โพสต์ในกลุ่มโดย อ.นุ้ย
อ.จักรกฤษณ์ ร้องเพลงให้ศิษย์เก่าฟัง
หนุ่ม ๆ นักร้อง นักดนตรี ร่วมกิจกรรมกับพี่บัณฑิต นักดนตรีวงอิดโรย #มหาวิทยาลัยเนชั่น
พ.ศ.2563
สมาชิกวงประกอบด้วยพี่น้องต่างคณะต่างหลักสูตร ได้แก่
น้องนนท์วิทย์คอม น้องอาร์ทสาธา น้องอาร์ทนิเทศ น้องฟาบริหาร พี่กานบริหาร
@NatthapatKummoon
นิสิตตั้งใจฟังพี่ ๆ
บรรยากาศในห้องประชุม จากมุมหนึ่ง

#เล่าสู่กันฟัง 63-020 ศิษย์พี่พบศิษย์น้อง เลี้ยงรุ่น พบอาจารย์เก่าริมสระว่ายน้ำ

เพื่อน ๆ จัดกิจกรรมพบปะกัน
หาเวลา #รียูเนี่ยน กันบ่อย ๆ
วันนี้ 1 ก.พ.2563 ศิษย์พี่พบศิษย์น้อง
ผู้ก่อตั้งพบศิษย์น้อง
เพื่อนเปีย เพื่อนติ เพื่อนเอ เพื่อนนง และศิษย์น้องที่ไม่พบกันเลยกว่า 30 ปีอีกหลายท่าน
พบปะกับน้องนิสิต พูดคุยแลกเปลี่ยน
ห้อง 4201 ช่วงบ่าย วิทยาลัยโยนก
มหาวิทยาลัยโยนก และ มหาวิทยาลัยเนชั่น
ชื่อสถาบันเปลี่ยนไปตามกาลเวลา

รับจาก messenger ของ @NooknickKantamas
ภาพจากกลุ่ม line กลุ่ม โดย อ.นง

อาชีพของเพื่อนก็หลากหลาย มีทั้งผู้ประกอบการ นักการเมือง ครู อาจารย์ เกษียญตนเอง เป็นตัวอย่างกิจกรรมใน #ห้องเรียนแห่งอนาคต เพื่อให้นิสิตเห็นภาพอนาคต ผ่านภาพสะท้อนจากรุ่นพี่ และนำไปสู่การสร้างเครือข่ายต่อไป http://www.thaiall.com/futureclassroom

เลี้ยงรุ่น 1 กุมภาพันธ์ 2563 ใน line กลุ่ม โดย @PrissanaKheourai
ใน line กลุ่ม โดย อ.นง

ช่วงเย็นปี 2563 รุ่น 3, 4
นำจัดกิจกรรมช่วงเย็นริมสระว่ายน้ำ
เหมือนที่รุ่น 1 นำจัดเมื่อปี 2561
อาจารย์อาวุโสที่เคยสอนพวกเรา
จะมาร่วมกิจกรรมนับ 10 ท่าน

ใน line กลุ่ม โดย @PrissanaKheourai ตัวแทนพี่บัณฑิตแต่ละรุ่นมาพูดคุยกัน
ในเฟสบุ๊ค @WaleeratWiphasrinimitLines
รับจาก messenger ของ @NooknickKantamas
ภาพจาก line กลุ่ม โดย @สันติเขียวอุไร

ชีวิตบั้นปลายของผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อย
ก็จะ #reunion กับเพื่อน ๆ เป็นงานเลี้ยงรุ่น
ทั้งประถม มัธยม มหาวิทยาลัย
ที่ทำงานเก่า ที่ทำงานใหม่
การร่วมกิจกรรมในหมู่บ้าน ในชุมชน

ก่อนหน้านี้รุ่น 1 เป็นแม่งานจัดกิจกรรมไปเมื่อ 27 มกราคม 2561 ได้เขียน blog เก็บเรื่องราวไว้ที่ https://www.77kaoded.com/content/36785

เห็นเพื่อนพบปะสังสรรค์กันแล้ว
ก็มีความสุข เพราะเรารู้จัก
มีอะไรให้คิดถึงเสมอ
นึกย้อนไป เห็นเพื่อนอีกกลุ่ม
ที่ไม่ได้ร่วมงานนี้ ด้วยระยะทางและเวลาห่าง
เห็นพบปะที่ร้านอาหาร
ที่สนามกีฬา ที่วัด ที่บ้าน ที่คอนโด
ที่ป่า ที่เขา ที่ทะเล ที่ตลาด

สรุปว่าบันทึกไว้อ่าน
ในยามที่ยังจดจำได้

ค้นคำว่า สันติ เขียวอุไร จะพบผลงานของท่าน

นึกถึงวิชา PSYC 401
ที่มีกิจกรรมเชิญ Guest นิสิตก็จะได้รับงานมอบหมายว่า
ให้ไปฟัง แล้วสรุปมาแบบ 5W1H
– วิทยากรชื่ออะไร ส่องมาด้วย
– กิจกรรมทำอะไรกันบ้าง
– สถานที่ เมื่อไร ทำไม
– ช่วงไหนมีกิจกรรมกับใครบ้าง
– อย่างไร (* นิสิตอาจได้พบรุ่นพี่ แหล่งฝึก และแหล่งงานได้)
เขียนมือมา 1 หน้า ถ่ายภาพเข้า cloud
แล้วแชร์ในกลุ่มใต้โพสต์งานที่มอบหมาย
ถ้าส่งเข้า classstart.org , moodle
หรือ google classroom ก็ให้คะแนนได้

ถ้าให้งานนิสิตไปฟังพี่บัณฑิต สรุปงานมา ก็จะมีคะแนนให้ ใน google classroom รหัสชั้นเรียน คือ 7e96zz
สาว ๆ ศิษย์เก่าโยนก รุ่น 1 2 3 และ 4 ภาพจาก line กลุ่ม โดย @WassanaKiriyaSpa
โต๊ะหมู่ ศิษย์เก่าโยนกรุ่น 1 กับ ดร.นิรันดร์ จิวะสันติการ ภาพจาก line กลุ่ม โดย @WassanaKiriyaSpa
ทีมอาจารย์อาวุโส ในกลุ่มไลน์อาจารย์ โดย @laddawan

รายนามผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น

รายนามผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น
รายนามผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น

รายนามผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น

1. ดร.นิรันดร์ จิวะสันติการ 2531 – 2543
2. ศาสตราจารย์ ดร.สุจินต์ จินายน 2544 – 2545
3. ดร.นิรันดร์ จิวะสันติการ 2546 – 2549
4. อาจารย์สันติ บางอ้อ ต.ค.2549 – ก.ย.2552
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จินดา งามสุทธิ ก.ย.2552 – ก.พ.2553
6. รองศาสตราจารย์อรวรรณ ทิตย์วรรณ ก.พ.2553 – ก.ย.2553
7. อาจารย์ทันฉลอง รุ่งวิทู ต.ค.2553 – พ.ค.2554
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม มิ.ย.2554 – ก.ค.2561
9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ ส.ค.2561 – ปัจจุบัน

Image may contain: 9 people, including Adisak Champathong, Nirund Jivasantikarn, Yaowapa Sangkhasilapin, Pong-in Rakariyatham, Chinda Ngamsutdi and Kritsada Pop Tunpow, text that says "Adisak Champathong 2531 2543 2546 2549 2544 2545 2549 2552 2552 2553 2553 2553- 2554 2554 25611 1 ชม. ถูกใจ ตอบกลับ 2561- 2561-ปัจจุบัน"

ข้อมูล ทำเนียบอธิการบดี
พบใน doc/Academic_regulation

รายนามผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น
รายนามผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น

งานและพิธึประสาทปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัย

ดร.นิรันดร์ จิวะสันติการ ประธานมูลนิธิโยนก
และอธิการบดีผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยโยนก
ไปร่วมแสดงความยินดีกับบัณฑิต มหาบัณฑิต และผู้ปกครอง
ในงานและพิธึประสาทปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัย
ครั้งที่ 23 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2562
สถาบันแห่งนี้มีนักศึกษาสำเร็จไปแล้ว 30 รุ่น
ผลิตบัณฑิตและมหาบัณฑิตไปแล้ว 8000 คน

กว่าเด็กบ่อแฮ้ว ลำปาง ที่จบการตลาด จะสอบติดทหารอากาศ

นายฐิตินันท์ ดำรงสิทธิ์ หรือพี่ฟลุค ของน้องนักศึกษาเนชั่น
บอกเล่าเรื่องราว 9 ข้อ กว่าจะสอบติดทหารอากาศ ไว้ในเฟสบุ๊ค
เค้าเล่าเฉพาะเส้นทางการสอบจนถึงที่หมาย ไม่ได้พูดถึงการเป็นนายกฯ
งานพิธีกรที่มูลนิธิโยนกและมหาวิทยาลัย หรือเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนที่ญี่ปุ่น
เรามาติดตามเส้นทางการสอบเป็นทหารอากาศดีกว่า
ว่า ถึงไหม ท้อไหม ถึงปลายทางฝันตรงไหน มาติดตามกันครับ
พบว่า บรรทัดสุดท้ายของบทความที่ฟลุคเขียนฝากไว้
คือ “อนาคตที่ดี มาจากการกระทำในปัจจุบันที่ดี

เรื่อง “ลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตน
1 .เริ่มต้น
จากการตัดสินใจสมัครสอบแข่งขัน เพื่อเป็นทหารอากาศผ่านทางอินเทอร์เน็ต
ช่วงนั้นมีเวลาเตรียมตัวก่อนสอบ 1 เดือน
ผมซื้อหนังสือเตรียมสอบมาอ่าน และฝึกทำแบบฝึกหัดเป็นประจำทุกวัน
จนผมอ่าน และทำจนครบทุกหน้าภายในเวลา 1 สัปดาห์
หลังจากนั้นผมก็คิดว่าหนังสือที่อ่านเล่มเดียวนั้นคงยังไม่เพียงพอ
ผมจึงสั่งหนังสือแบบไฟล์ PDF มาอ่านผ่านมือถือ
ใช้เวลาประมาณ 2 อาทิตย์
ผมก็อ่านจบ และทำความเข้าใจเนื้อหาทั้งหมด
ตลอดระยะเวลาที่อ่านหนังสือ
ผมก็รู้สึกท้อและขี้เกียจมาก
แต่ก็คิดว่า ถ้าเราไม่อ่านแล้วจะสมัครสอบเพื่ออะไร
อย่าเสียเวลาไปสอบเลย แล้วบอกกับตัวเองว่า “อย่ายอมแพ้”

2. ถึงวันสอบ
ผมเดินทางไปสอบที่ธรรมศาสตร์ รังสิตด้วยตัวเอง
ผมเดินทางจากลำปางถึงกรุงเทพ เวลา 6.30น.
ผมไปนั่งรอที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 5 ชั่วโมง
เพราะผมสอบตอนเที่ยง
ระหว่างรอทุกคนที่มาสอบล้วนมีความหวัง และมีความมุ่งมั่น
ว่าตัวเองจะสอบผ่าน ผมเองก็เป็นหนึ่งในนั้น
แต่ระหว่างรอผมก็เอาไฟล์หนังสือมาอ่าน
เพื่อไม่ให้เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์
วันนั้นคนสอบเยอะมาก เยอะมากจนเราคิดว่าเราจะสอบผ่านรอบแรกมั้ย
ซึ่งเวลานั้น ผมก็ตั้งใจทำให้ดีที่สุด โดยจะไม่เสียใจ
เพราะผมตั้งใจทำมันดีที่สุดแล้ว

3. วันประกาศผลสอบรอบแรก
ผมสอบติด 1 ใน 18 คน จากตำแหน่งที่ผมสมัครสอบ
มีผู้เข้าสอบประมาณ 40,000 กว่าคน ผ่านรอบแรก3,000 กว่าคน
ซึ่งผมผ่านรอบแรกมาได้ก็รู้สึกภูมิใจ และตั้งเป้าหมายครั้งต่อไป
ว่าเราจะต้องสอบผ่านการทดสอบร่างกาย และการสัมภาษณ์

4. ก่อนการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย
ผมมีเวลาเตรียมตัว 2 – 3 อาทิตย์ ผมซ้อมวิ่งระยะทาง 2.5 กม.
ดันพื้น ซิทอัพ เป็นประจำจนถึงทุกวันนี้
พอถึงวันสอบผมเดินทางไปสอบที่ สนามกีฬาจันทรุเบกษา กองทัพอากาศ
ผมไปรอตั้งแต่ตี 4 ได้คิวสอบที่ 43 ตอน 7 โมงเช้า
วันนั้นรู้สึกกลัวว่าตัวเองจะทำไม่ได้
แต่สิ่งที่ทำให้ผมมีกำลังใจสู้ในตอนนั้นก็คือ พ่อแม่
และได้กำลังใจที่ดีจากคนที่ผมรักนั่นก็คือ “ออม”
สุดท้ายผลการทดสอบก็น่าพึงพอใจในระดับหนึ่ง
ผมจะต้องสามารถผ่านการทดสอบสมรรถภาพร่างกายได้
ผมเชื่อมั่นแบบนั้น
ผลการทดสอบ การวิ่ง 2.5 กม. เวลา 10.35 นาที
ดันพื้น 49 ครั้งต่อนาที ซิทอัพ 39 ครั้งต่อนาที
ผมทำดีที่สุดแล้ว ณ เวลานั้น

5. วันสัมภาษณ์
ผมเดินทางไปที่โรงเรียนนายทหารชั้นประทวน กองทัพอากาศ
เวลา 8.00 น. ผมเป็นคนสุดท้ายที่ได้สัมภาษณ์เวลา 16.00 น.
ในวันนั้นผมได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับนายทหารที่เคยสอบผ่านเมื่อปีที่แล้ว
นายทหารคนนั้นแนะนำ และชี้แนวทางการตอบคำถามสำหรับผม
ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมาก และทำให้ผมอาจจะได้เปรียบกว่าคนอื่น
แต่สุดท้ายแล้ว คำแนะนำก็เป็นเพียงแค่คำแนะนำ
ไม่ได้ใช้ในห้องสัมภาษณ์เลย ผมต้องมีสติแล้วตอบคำถามอย่างชัดเจน
ตอบได้ คือ ได้ ตอบไม่ได้ คือ ไม่ได้
ในห้องมีกรรมการทั้งหมด 3 ท่าน คำถามมีดังนี้

5.1 แนะนำตัวเอง
5.2 แนะนำเป็นภาษาอังกฤษ
5.3 คุณมีความสามารถพิเศษอะไร
5.4 โปรไฟล์ดีมาก เรายอมรับว่าคุณเก่งเกินไปสำหรับตำแหน่งที่คุณสมัคร
5.5 คุณจะอยู่อย่างไรคนเดียวในช่วงแรกที่ประจำการ
5.6 ทำไมคุณไม่สมัครตำแหน่งอื่น
5.7 ทำไมคุณถึงเลือกจังหวัดบรรจุ
ถ้าไปสามจังหวัดชายแดนใต้คุณจะทำอย่างไร
5.8 เงินเดือนน้อยทำอย่างไร
5.9 คุณจะใช้ความรู้ของคุณกับตำแหน่งอย่างไร
5.10 ข้อมูลของกองทัพอากาศ
5.11 คุณมีอะไรจะพูดใน 30 วินาทีสุดท้ายไหม
5.12 ครอบครัวของคุณทำงานอะไร
5.13 ทำไมคุณไม่ช่วยครอบครัวสานต่อธุรกิจ
5.14 ถ้าคุณสอบไม่ติดปีนี้คุณจะผิดหวังหรือไม่ แล้วจะทำอย่างไร
5.15 ถ้าคุณมีโอกาสสอบอีก คุณยังจะเลือกสอบตำแหน่งเดิมหรือไม่
5.16 ถ้าผู้บังคับบัญชา การศึกษาน้อยกว่าคุณ คุณจะยอมรับหรือไม่
5.17 ถ้าเพื่อนร่วมงานชวนคุณดื่ม จะทำอย่างไร
5.18 คุณเรียน รด มาไหม เป็นอย่างไรบ้าง มีผลงานมั้ย
5.18 คุณมีเชื้อสายจีนใช่มั้ย
คุณเดินทางมายังไง
5.19 ทำตามคำสั่ง ดันพื้น ยกเก้าอี้ลุกนั่ง ระเบียบแถว
เสียงดังฟังชัด การทวนคำสั่ง ถอดเสื้อ หันหน้า หันหลัง

*คนเก่งแบบคุณ เข้ามาทำงานตำแหน่งนี้แค่แปปเดียว
ก็ย้ายไปทำงานตำแหน่งที่อื่นที่ดีกว่า
นั่นก็หมายความว่ากองทัพจะต้องเปิดรับสมัครตำแหน่งนี้ เพื่อมาแทนที่คุณ
ซึ่งมันเสียงบประมาณ คุณจะทำให้เรามั่นใจได้อย่างไร
ว่าคุณจะไม่เป็นเช่นนั้น
พวกเรายอมรับความเก่งของคุณนะ แต่ทุกอย่างก็ต้องรวบรวมจากผลคะแนนทั้งหมด

6. การประกาศผลสอบรอบสอง
ประกาศผมการสอบสมรรถภาพร่างกายและการสัมภาษณ์
ปรากฎว่าผมสอบผ่าน ติด 1 ใน 4 คนสุดท้าย
และเป็น 1 ใน 665 คน ที่ทางกองทัพอากาศเปิดรับ ผมดีใจมาก
แต่ก็ยังไม่ดีใจถึงที่สุด เพราะเรายังต้องไปทดสอบความถนัดบุคคล และตรวจร่างกาย

7. วันทดสอบความถนัดบุคคลและวิภาววิสัย
ผมเดินทางจากลำปางไปกรุงเทพ สอบที่ มธ. รังสิต สอบ 7.30 น.
การสอบประเภทนี้ไม่ต้องอ่านหนังสือ
เพราะเป็นการสอบประเภทความจำ การรับรู้ เชิงเหตุผล การใช้ภาษา
และพฤติกรรม วันนั้นการสอบก็ผ่านไปด้วยดี

8. การตรวจร่างกาย
ผมได้ตรวจร่างกายที่กองเวชศาสตร์ป้องกัน
กรมแพทย์ทหารอากาศ ผมเดินทางถึงกรุงเทพตี 4
วันนั้นเกิดเหตุสุดวิสัยผมเกือบไปตรวจร่างกายไม่ทันเวลา
ผมนั่งแท็กซี่จากดอนเมืองไปกรมแพทย์ทหารอากาศ 7.00 น.
แต่เกิดอุบัติเหตุรถชนกัน
ทำให้ผมต้องลงจากรถแท็กซี่
แล้ววิ่งจากบริเวณหอประชุมกานตรัตน์ไปยังกรมแพทย์ทหารอากาศ
สุดท้ายผมก็วิ่งไปทันการตรวจร่างกายในวันนั้น
ผมได้คิวตรวจที่ 119 จากการตรวจทั้งหมด 123
ระยะทางที่วิ่งก็ประมาณเกือบ 1 กม.

9. วันประกาศผมสอบรอบสุดท้าย
ผมสอบติดเป็นทหารอากาศอย่างเป็นทางการ

ตลอดระยะเวลาที่ผมสอบนั้น
ผ่านเรื่องราวหลายอย่าง ทั้งเจออุปสรรคมากมาย ต้องมีความตรงต่อเวลา
ต้องมีความอดทน ต้องมีความพยายาม
แต่อย่างไรแล้วเราก็ต้องสู้จนถึงที่สุด “อย่ายอมแพ้”
และที่สำคัญมากไปกว่านั้นก็คือ พ่อแม่ ที่คอยสนับสนุนผม
และคือคนที่ผมกลัวทำให้ผิดหวังที่สุด
คนที่คอยเคียงข้างและให้กำลังใจผมตลอดในเวลาที่ผมท้อนั่นก็คือ ออม
ครูบาอาจารย์มหาวิทยาลัยเนชั่นทุกท่านที่ให้วิชาความรู้
ประสบการณ์หลาย ๆ อย่าง
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ผมได้เอาไปใช้ได้จริง และทำให้ผมประสบความสำเร็จ
เพื่อน ๆ ที่คอยช่วยเหลืออย่างที่พักอาศัย
ช่วยในการเดินทางและให้กำลังใจผม

สุดท้ายนี้
ไม่มีอะไรได้มาอย่างงายดาย ทุกอย่างต้องแลกมาด้วยแรงกายแรงใจ
นี่เป็นเพียงการเริ่มต้นการเข้ารับราชการทหารอากาศ
ผมจะไม่มีวันยอมแพ้อีกต่อไป
อนาคตที่ดี มาจากการกระทำในปัจจุบันที่ดี

คลิ๊กศิษย์เก่า ในกิจกรรม “one click รวมรุ่น” @YONOK

หากมีคำถามว่า
ไม่พบเพื่อนร่วมรุ่น มากว่า 20 ปี จะตามหากันได้อย่างไร
เสนอกิจกรรม One click รวมรุ่นที่ใช้ poll ในเฟสบุ๊คเป็นเครื่องมือ
และเป็นกิจกรรมในภาคสมัครใจ ทั้งการ join group และ click poll
สำหรับศิษย์เก่า คลิ๊กที่นี่

ภาพศิษย์เก่ากับกิจกรรม one click รวมรุ่น
ภาพศิษย์เก่ากับกิจกรรม one click รวมรุ่น

เหตุเริ่มจากว่า มีอยู่วันหนึ่ง ปลายฤดูหนาว
มีรุ่นน้องผู้หญิง เค้าชื่อ เปรมฤทัย รุ่น 45
โทรเข้ามาสอบถามว่ามีรูปเก่าของเพื่อนร่วมรุ่นไหม
มีโอกาสได้ซักไซร้ไล่เรียงกันอยู่พักหนึ่ง เพราะผมรุ่น 31
ห่างจากเค้าไป 15 ปี ก็คงไม่สะสมภาพเพื่อนของเค้าเป็นพิเศษ
และอยู่ต่างสาขาวิชาด้วย ยิ่งยากเลย
แล้วนึกถึง หอจดหมายเหตุ ของ มูลนิธิโยนก ก็น่าจะมีคำตอบ
แต่ต้องไปค้น facebook.com/yonokfoundation

เป้าหมายของศิษย์เก่า
1. เพื่อตามหาเพื่อนร่วมรุ่นที่ห่างหายไปมากกว่า 10 ปี
2. เพื่อตามอยากได้ภาพเก่าของเพื่อนและตนเอง

นั่นจึงเป็นการเริ่มต้น ที่จะตามหารุ่นน้องในแต่ละรุ่น
แล้วก็พบว่ามีกลุ่มศิษย์เก่าในเฟสชื่อ We are yonok
ที่รวบรวมศิษย์เก่าไว้มากที่สุด
เพราะเป็นกลุ่มเฟสที่ไม่ได้แยกรุ่นเหมือนกลุ่มอื่น
และในกลุ่มนี้มีคำอธิบายกลุ่ม ว่า ..

ผมสร้างกลุ่ม YONOK ขึ้นมา
เพื่อให้เกิดการรวมตัวกันของพวกเราชาว YONOK
และสามารถรู้เรื่องราว สารทุกข์ ของแต่ละท่าน
ช่วยกันตามเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ
ให้มาเข้ากลุ่มกันเยอะๆ นะครับ
คิดถึงชาว YONOK ทุกคนครับ
ผู้สร้างกลุ่มเป็นศิษย์เก่ารุ่น 3 ชื่อ Tommy

จึงได้สร้าง poll ให้ศิษย์เก่าได้มาคลิ๊ก
https://www.facebook.com/groups/iamyonok/
ข้อมูลแบ่งเป็น รหัส 2 ตัวหน้า ของรหัสนักศึกษา 7 หลักหรือ 13 หลัก
ที่เหมาะกับการใช้แยกรุ่น
ไม่ต้องกรอกข้อมูลอะไรเลย
เพียง คลิ๊กเดียว ก็พบเพื่อน ๆ ในรุ่นแล้ว
กิจกรรมนี้ชื่อ One click รวมรุ่น
จากนั้นก็เชิญชวนรุ่นต่าง ๆ เข้าไปแสดงตัว
ตามความสมัครใจ 

ตัวอย่างผลของกิจกรรม one click รวมรุ่น
ตัวอย่างผลของกิจกรรม one click รวมรุ่น

โดยข้อความที่เชิญชวนไปมีดังนี้
ใครรหัส 2 ตัวอะไร รายงานตัวกันหน่อย
เพื่อน ๆ ที่เข้ามาใหม่ ตามหากันจะได้เจอ
1. ตอบ poll
2. ส่งภาพกลุ่มเพื่อน ๆ จ๊าบ ๆ ใต้โพสต์ แล้วบอกรหัสกันด้วย
3. แท็กเพื่อนในภาพด้วย เวลาเปลี่ยน ทรงผมก็เปลี่ยน

ภาพเชิญชวนร่วมกิจกรรม
ภาพเชิญชวนร่วมกิจกรรม

ภาพประกอบโพสต์นี้ .. มาจากกิจกรรม Reunion
งานรวมรุ่น เมื่อ 27 มกราคม 2561
ที่สระว่ายน้ำของมหาวิทยาลัย
“ในฐานะเพื่อนคนหนึ่ง ให้มิตรภาพของคำว่า  เพื่อนแล้ว .. หมดทั้งใจที่มีอยู่”
.. เพื่อนรุ่น 1 คุณสันติ เขียวอุไร
มีข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://77kaoded.com/

ภาพเชิญชวนร่วมกิจกรรม
ภาพเชิญชวนร่วมกิจกรรม

ศิษย์เก่า (YONOK Alumni) ที่จะร่วมกิจกรรม คลิ๊กที่นี่
https://www.facebook.com/groups/iamyonok/

อัลบั้ม Freshy night 2560

อัลบั้ม Freshy night 2560 ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น
ในชื่องาน NTU 60’s Millennium freshy night
ในวันศุกร์ที่ 29 กันยายน 2560 เวลา 16.00-24.00น.
ณ บริเวณโถงเสานัก และห้องประชุมใหญ่
อาคารคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น

กำหนดการ freshy night
กำหนดการ freshy night

มีแฟนเพจที่
https://www.facebook.com/NTUstarcontest/

และมี VTR Present ดาว-เดือน 2017

https://www.facebook.com/groups/nationu/permalink/1616276658438198/

มี 3 อัลบั้มที่น่าสนใจ ดังนี้
1. น้องนัด กาซีล็อต – 297 ภาพ
https://www.facebook.com/groups/nationu/permalink/1619380301461167/

2. Rungpet Arunchitti – 143 ภาพ
https://www.facebook.com/groups/nationu/permalink/1619337274798803/

3. NTU Star Contest 2017 – 77 ภาพ
https://www.facebook.com/NTUstarcontest/posts/557102311348309

ภาพชุดนักศึกษารักการอ่าน ประจำปีการศึกษา 2560 ภาคเรียนที่ 1

ภาพชุดนักศึกษารักการอ่าน คือ กิจกรรมหนึ่งในวิชาสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ให้นักศึกษาไปสืบค้นหนังสือที่ชอบในห้องสมุด นำมาอ่าน สรุปใจความสำคัญลงกระดาษ แล้วก็ถ่ายภาพกระดาษที่ได้สรุปเนื้อหาเหล่านั้น พร้อมกับถ่ายภาพตนเองระหว่างการอ่านหนังสือท่ามกลางกองหนังสือ จากนั้นก็ zip ผลงานทั้งหมดเป็นแฟ้มเดียว ส่งเข้าระบบอีเลินนิ่ง เมื่อเห็นภาพนักศึกษาตั้งใจถ่ายระหว่างอ่านหนังสือ ก็นำมาแชร์ต่อ เพราะเห็นเป็นเรื่องน่าชื่นชม

รักการอ่าน : http://www.thaiall.com/readbookt

แชร์ผ่าน photos google
ที่ https://photos.app.goo.gl/uJjXqkKvoZalZkim2

แชร์ผ่าน fan page
ที่ https://www.facebook.com/pg/ajarnburin/

 

รักการอ่าน
รักการอ่าน

การใช้บริการ Photos ของ Google.com เพื่อ Share Album สำหรับผู้มีบัญชีของ gmail.com สามารถ install app เพื่อเก็บ photos หรือ Video ใน cloud storage หรือ share ทั้งแบบ photo หรือ album แล้วยังสั่งเปิดแบบ slide show ได้

คำแนะนำการใช้งาน ดังนี้ 1) Sign in : http://photos.google.com 2) แล้วอัพโหลด 78 ภาพ ผ่าน Web browser 3) แล้วเลือก Add to Album, New album, พิมพ์ชื่ออัลบั้มแล้ว click เครื่องหมายถูกที่มุมบนซ้าย มีตัวอย่าง Album ที่ share เช่น “Love to read a book (2560-1)” , “โครงการ อพ.สธ-ม.เนชั่น” , “Miss Grand 2016” หรือ “Miss Grand 2017 (PWA)” “Fanpage สวนนายบู” สำหรับ Android : download

 


หลังอ่านหนังสือสักเล่ม ก็ต้องทบทวน ว่าในหนังสือมีอะไรดี สรุปออกมาอย่างน้อยสักหน้าให้รู้เรื่องราวความเป็นมาเป็นไป ก็น่าจะดี เป็นความคิดรวบยอดจากการอ่าน 
การเลือกหนังสือก็สำคัญ นักศึกษามักเลือกหนังสือที่สัมพันธ์กับสายของตนเอง (Major)
อาทิ
สาขารัฐประศาสนศาสตร์
สาขาสาธารณสุขศาสตร์
สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
สาขาบัญชี
สาขาบริหาร
สาขานิเทศศาสตร์

อบรมการจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา 2559 ณ ม.เนชั่น

อบรมการจัดการความรู้
อบรมการจัดการความรู้

มหาวิทยาลัยเนชั่น จัดโครงการอบรมการจัดการความรู้ ให้แก่บุคลากร และนักศึกษาของมหาวิทยาลัย หัวข้อ การจัดการความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กร (Knowledge Management to improve organization performance) เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง และให้มีศักยภาพในการทำงานบรรลุตามเป้าประสงค์ขององค์กร วิทยากรคือ อาจารย์ ดร.อติชาต หาญชาญชัย จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันพุธที่ 1 มีนาคม 2560 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้อง 4201 อาคารนิเทศศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมี อ.ศรีเพชร สร้อยชื่อ เป็นผู้ขับเคลื่อน KM และ คุณมณธิชา แสนชมภู งานบริหารทรัพยากรบุคคล ขับเคลื่อนหน่วยงาน มีอาจารย์จากคณะต่าง ๆ นำนักศึกษาเข้าร่วมเรียนรู้จำนวนมาก

เอกสารประกอบการบรรยาย
https://www.facebook.com/groups/thaiebook/777949739022513/

ภาพกิจกรรม
https://www.facebook.com/ajburin/media_set?set=a.10155023525023895.1073741928.814248894&type=3

ผมสนใจเรื่อง การจัดการความรู้
และทำงานประกันในประเด็นนี้มาก่อน
จึงทำโฮมเพจเล่าเรื่องนี้ไว้ที่
http://www.thaiall.com/km

และทำ Story Telling เล่าเรื่อง การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์
จากประสบการณ์ของตนเอง ที่ต้องออกไปดูแลคุณแม่
ในชื่อบล็อกว่า “แม่ล้ม ผมก็ล้ม”
ที่ http://article-thaiall.blogspot.com

ฟังมามีเยอะ ผม lecture ไว้ใน facebook.com ครับ

How KM Works?
1. People
2. Process
3. Technology
ฟังทีไรก็เห็นภาพชัดเจนทุกที ว่าทำอย่างไรให้ KM ทำงานได้

ประเด็นที่ท่านยกมามีมากมาย
อาทิ
– ดาวอังคาร กับ Trappist-1 System
– Duck Family off campus
– คุณเก่งงาน คือ ชะตากรรมของคนเก่ง
– มูลนิธิขวัญข้าว การทำนาข้าวในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน
– CPALL โครงการ KM เพื่อนวตกรรม
– SCG โครงการแบ่งปัน แลกเปลี่ยน จัดเก็บ เผยแพร่ และพัฒนา
– สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาภรณ์ฯ กิจกรรม อาศรม วิทยบริการ
– Siriraj KM : ที่โรงพยาบาลนี้เป็นต้นแบบ ทำมาตั้งแต่ 2548

ฟังไป ก็จดไปครับ ทบทวนไปด้วย
ฟังไป ก็จดไปครับ ทบทวนไปด้วย