การตรวจสอบเครื่องมือ

นิสิตมหาบัณฑิตสายสังคมศาสตร์ ที่ต้องการหาคำตอบด้วยกระบวนการวิจัย เมื่อออกแบบเครื่องมือแล้ว มักจะต้องนำเครื่องมือไปทดสอบความเที่ยงตรง (Validity) และความน่าเชื่อถือ (Reliability) ของเครื่องมือ ก่อนที่จะนำไปใช้สอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกไว้ ซึ่งความเที่ยงตรงนั้นจะต้องทดสอบโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ส่วนความน่าเชื่อถือนั้นจะทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างไม่ต่ำกว่า 30 ชุด
1. การตรวจสอบหรือทดสอบคุณภาพของเครื่องมือ
ความตรงของเนื้อหา (Content Validity) คือ การทดสอบนำแบบสอบถามที่สร้างขึ้น ให้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความเชี่ยวชาญด้านที่เกี่ยวข้อง ช่วยตรวจสอบประเมินความถูกต้อง ความชัดเจน ความสอดคล้องของเนื้อหาที่ต้องการศึกษา จากนั้นนำมาปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมในส่วนของเนื้อหา โดยหาค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้อง (Index of Item-Objective Congruence, IOC) มาจาก ผลรวมคะแนนจากผู้เชี่ยชาญทั้งหมด หารด้วย จำนวนผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเกณฑ์การให้คะแนนเป็น 3 ระดับ โดย 1+ คือเนื้อหาสอดคล้อง แล้ว -1 คือ เนื้อหาไม่สอดคล้อง และ 0 เมื่อไม่แน่ใจ สรุปคือค่า IOC ในระดับดี ที่สามารถนำไปวัดผลได้ จะต้องมีค่า IOC เกินกว่า 0.5 ขึ้นไป จึงจะถือว่าสอดคล้อง
2. การตรวจสอบหรือทดสอบความน่าเชื่อถือของเครื่องมือ
ความน่าเชื่อถือของเนื้อหา (Content Reliability) คือ การทดลองนำแบบสอบถามจำนวน 30 ชุด ไปใช้กับกลุ่มที่แยกออกมาจากกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ซึ่งค่าหนึ่งที่น่าสนใจ คือ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แอลฟาของครอนบัค (Cronbach’s alpha coefficient) สามารถใช้วัดความสอดคล้องภายใน (internal consistency) ที่สามารถหาความสอดคล้องและบ่งบอกมิติไปในทิศทางเดียวกันของข้อคำถามในชุดนั้น หากได้ค่าความเชื่อมั่นโดยรวมมีค่ามากกว่า 0.7 (ยิ่งเข้าใกล้ 1.0 ยิ่งมีความเชื่อมั่นสูง) นั่นหมายถึงสามารถนำแบบสอบถามมาใช้ในการเก็บข้อมูลจริงได้
การตรวจสอบคุณภาพด้านความเชื่อมั่น

  1. การสอบซ้ำ (Test-Retest Reliability)
  2. ความคงเส้นคงวาภายใน (Internal Consistency)
    2.1 การหาความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรของคูเดอร์และริชาร์ดสัน (Kuder and Richardson)
    2.2 การหาความเชื่อมั่นใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของ ครอนบัค (Coefficient Alpha or Cronbach’s Alpha)
  3. การตรวจสอบคุณภาพด้านความเชื่อมั่นโดยอาศัยหลักของความเท่าเทียมกัน (Equivalence)
    (อ่านจาก บทที่ 7 : การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือการวิจัย ของ อ.พัชราภัณฑ์ ไชยสังข์ 503 402 Nursing Research และเอกสารของ ดร. ดนัย ปัตตพงศ์ เรื่อง การทดสอบความเชื่อมั่นด้วย Cronbach’s alpha)

ชวนอ่าน 2 บทความ
เรื่องแรก : การทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นของแบบประเมินกลยุทธ์ในการรับมือกับความเครียดแบบสั้นฉบับภาษาไทย โดย ธนานันต์ นุ่มแสง และ ธนิตา ตันตระรุ่งโรจน์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ใน วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2561; 63(2): 189-198
เรื่องที่สอง : การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย Validation of the Tests โดย อารยา องค์เอี่ยม และพงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพ 10700 ประเทศไทย ใน วิสัญญีสาร 2561; 44(1): 36-42

มหาบัณฑิต MBA NATION ตอน… เรียนต่อปริญญาโทไปทำไม ?

ดร.ฑัตษภร ศรีสุข
ดร.ฑัตษภร ศรีสุข

การเข้าสู่ AEC ในยุคที่ภาวะเศรษฐกิจอยู่บนพื้นฐานความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ ทุนมนุษย์ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดของการพัฒนาเศรษฐกิจชาติ “การศึกษา” จึงเป็นเครื่องมือหลักที่จะสามารถพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๙: สำนักงานคณะกรรมการแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) ที่ต้องการเร่งสร้างภูมิคุ้มกันในประเทศโดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนและสังคมไทยให้มีคุณภาพ เพื่อเตรียมความพร้อมคน สังคม และระบบเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากร และได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นธรรม สามารถสร้างโอกาสให้ตนเองด้วยฐานความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อประโยชน์สุขอย่างยั่งยืนในสังคมไทย
หลักสูตรการศึกษาต่อในระดับปริญญาโทในสาขาต่าง ๆ จึงได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีโอกาสสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ตนเองทั้งด้านการงานและชีวิตส่วนตัว มีความคาดหวังให้บัณฑิตเรียนจบออกไปพร้อมกับความสามารถหลักในการทำงาน และขณะเดียวกันก็รู้แนวทางการพัฒนาชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม อาจาร์ยผู้สอนมุ่งศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาเนื้อสาระของโปรแกรมการศึกษาให้ตามทันความก้าวหน้าของสภาพแวดล้อมทางสังคมและเศรษฐกิจ รูปแบบการถ่ายทอดองค์ความรู้ในวิชาที่สอนมีความสอดคล้องกับความต้องการและการนำไปใช้ประโยชน์ของผู้เรียน

มหาวิทยาลัยเนชั่น ในฐานะสถาบันการศึกษาที่มุ่งพัฒนาบัณฑิตและมหาบัณฑิตให้มีคุณภาพ ได้ยึดหลักการบริหารการศึกษาที่มีรูปแบบเป็นปัจจุบัน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการพัฒนาตนเองของผู้เรียนและการนำไปใช้ประโยชน์ภายในองค์กร ทิศทางการพัฒนาบัณฑิตจึงสอดคล้องกับความต้องการขององค์กรต่างๆ โดยสร้างคุณค่าแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกคน อันประกอบด้วย ผู้สอน ผู้เรียน สังคมรอบข้าง และนายจ้าง
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) มหาวิทยาลัยเนชั่น ซึ่งเป็นหน่วยการศึกษาที่มุ่งพัฒนามหาบัณฑิตด้วยการประยุกต์แนวความคิดทางธุรกิจเข้าผสมผสานกับการจัดการศึกษา ได้จัดกระบวนการเรียนการสอนและการทดสอบในลักษณะกระตุ้นให้รู้จักคิดและพัฒนาทักษะการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking) เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกสร้างทักษะและความสามารถให้ตนเองจากการเรียนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รู้จักเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ ด้านการศึกษาให้สามารถเข้าถึงสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) มหาวิทยาลัยเนชั่น จึงเป็นทางเลือกสำคัญแห่งหนึ่งที่เปิดประตูให้คนหนุ่มสาวยุคใหม่เข้ามาไขว่คว้าหาโอกาสเพื่อสร้างและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างมั่นคงให้ตนเอง.

ผลการค้นงานประชุมวิชาการระดับชาติในภาคเหนือ

เล่าสู่กันฟัง เรื่องหัวหน้าให้ค้นข้อมูล
ว่ามีงานประชุมวิชาการระดับชาติ ในช่วง พฤษภาคม-กรกฎาคม 2558
เฉพาะเขตภาคเหนือ สายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ผมตรวจสอบจาก
+ http://www.conferenceinthai.com/
+ http://www.grad.mahidol.ac.th/grad/event/conference2558_th.php
+ http://www.conferencealerts.com/country-listing?country=Thailand
+ http://www.google.com
ที่จะรองรับทั้ง M.P.A. และ M.ED. มีเบื้องต้นดังนี้

14 มกราคม 2558
การประชุมสังคมศาสตร์วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11
https://social.crru.ac.th/symposium/

13 กุมภาพันธ์ 2558
งานประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัย มหาวิทยาลัยพายัพ 2015
มีกลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
http://www.payap.ac.th/symposium2015/

20-21 กุมภาพันธ์ 2558 ?
การประชุมวิชาการระดับชาติ “วิทยาการจัดการวิชาการ” 2015
เครือข่ายความร่วมมือคณะวิทยาการจัดการ กลุ่มภาคเหนือ 8 แห่ง
http://www.management.cmru.ac.th/conferences2015/

23 – 24 มีนาคม 2558
การประชุมทางวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย
มีกลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
http://www.rccon2015.org/

23 พฤษภาคม 2557 ?
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาการและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
มีกลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
http://conference.northcm.ac.th/

22-24 กรกฎาคม 2015
การประชุมวิชาการนเรศวรวิจัยครั้งที่ 11 เป็นการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ
มีการศึกษา และสังคม และรัฐประศาสนศาสตร์
http://dra.research.nu.ac.th/nurc11/index.aspx
http://dra.research.nu.ac.th/nurc10/bregist.aspx

17-18 กันยายน 2015
The 1st International Conference on Interdisciplinary Development Research (IDR2015)
http://www.conferencealerts.com/country-listing?country=Thailand

8-9 ธันวาคม 2558 ?
การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
http://www.conference.mju.ac.th/