ประชุมเครือข่ายสหวิทยาการ กลุ่มภาคเหนือตอนบน ที่เชียงใหม่แกรนด์วิว

เครือข่ายสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตสถาน ภาคเหนือตอนบน และเครือข่ายเชิงประเด็น โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (เครือข่าย C - อพ.สธ.) เครือข่ายอุดมศึกษา ภาคเหนือตอนบน
เครือข่ายสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตสถาน ภาคเหนือตอนบน และเครือข่ายเชิงประเด็น โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (เครือข่าย C - อพ.สธ.) เครือข่ายอุดมศึกษา ภาคเหนือตอนบน

22 สิงหาคม 2557 มีโอกาสร่วมประชุมสัมมนาใน
โครงการประชุมสัมมนาพัฒนาและขยายผลประเด็นกลยุทธ์แก้ไขปัญหาชุมชนในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
สำหรับเครือข่ายสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตสถาน ภาคเหนือตอนบน
และเครือข่ายเชิงประเด็น โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (เครือข่าย C – อพ.สธ.)
เครือข่ายอุดมศึกษา ภาคเหนือตอนบน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๗

มีวัตถุประสงค์ 6 ข้อ
1. เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของเครือข่ายฯ และขยายความร่วมมือด้านการวิจัย และวิชาการกับเครือข่ายอื่นในภูมิภาคภาคเหนือตอนบน
2. เพื่อต่อยอดการพัฒนาแนวทางในการประสานงานและทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการระหว่างนักวิจัย นักวิชาการและภาคส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาท้องถิ่นสำคัญ
3. เพื่อพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยแบบสหวิทยาการของเครือข่ายภาคเหนือตอนบนเพื่อพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาท้องถิ่นที่สำคัญ
4. เพื่อนำผลที่ได้จากการประชุมระดมสมอง ไปใช้ประโยชน์จริงตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรวมถึงชุมชนอย่างแท้จริง
5. เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมของเครือข่ายสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตยสถานภาคเหนือ ภาคเหนือตอนบน และโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (เครือข่าย C – อพ.สธ.) เครือข่ายอุดมศึกษา ภาคเหนือตอนบน
6. เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการพัฒนาข้อเสนอโครงการภายใต้ประเด็นปัญหาของภาคเหนือตอนบนและพัฒนาต่อยอดร่วมกันในเครือข่ายต่อไป
กิจกรรมช่วงเช้า เป็นการบรรยาย ประกอบด้วย
1. กล่าวต้อนรับ และกล่าวเปิดประชุม
โดย รศ.ดร.เสริมเกียรติ จอมจันทร์ยอง รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2. กล่าวบรรยายพิเศษ “การดำเนินงานของเครือข่ายอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน”
โดย รศ.ดร.คมกฤต เล็กสกุล ผู้อำนวยการศูนย์บริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3. บรรายายพิเศษ “แนวคิดและทิศทางการดำเนินงานและพัฒนาของเครือข่ายสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตยสถานภาคเหนือตอนบนกับการพัฒนาและแก้ไขปัญหาท้องถิ่น”
โดย ศ.นพ.ยงยุทธ  วัชรดุลย์ ประธานคณะกรรมการสหวิทยาการเพื่อการวิจัยและพัฒนา
4. การบรรยาย เรื่อง
“การดำเนินงาน/แผนงาน/โครงการเครือข่ายสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตยสถานภาคเหนือตอนบน”
โดย รศ.ดร.อาวรณ์  โอภาสพัฒนกิจ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ

กิจกรรมช่วงบ่าย แยกกลุ่มตามประเด็น
ห้องที่ 1 ประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม (หมอกควัน) ห้องประชุมทิพย์พิมาน
ประเด็น “การพัฒนาประเด็นเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม (หมอกควัน) ในส่วนภูมิภาค (ภาคเหนือตอนบน)”
ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.อาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจ
ผลจากการประชุมได้ร่างชื่อชุดโครงการวิจัยว่า
การจัดการที่ดินเพื่อลดปัญหาหมอกควัน
แล้วนัดประชุมอีกครั้งในวันที่ 3 ตุลาคม 2557 ที่จะเกิดขึ้น
หลังแต่ละสถาบันไปเขียนข้อเสนอโครงการย่อยเชิงบูรณาการ
แล้วนำโครงการทั้งหมดมาเชื่อมโยงกัน และพูดคุยกันอีกครั้ง
โดยมี อ.ธวัชชัย แสนชมภู เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยเนชั่นร่วมแลกเปลี่ยน

ห้องที่ 2 ประเด็นปฏิรูปด้านการศึกษาเยาวชน (ม.แม่ฟ้าหลวง) ห้องประชุมย่อยฝูเป่า
ประเด็น “การพัฒนาประเด็นปฏิรูปด้านการศึกษาเยาวชนในส่วนภูมิภาค (ภาคเหนือตอนบน)”
ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.ชยาพร วัฒนศิริ และ ดร.พนม วิญญายอง
ผลจากการประชุมได้ร่างชื่อชุดโครงการวิจัยว่า
กระบวนการพัฒนาทักษะชีวิตของเด็กและเยาวชนตามแนวพระราชดำริ
ซึ่ง ผศ.ดร.เพ็ญพิสุทธิ์ ใจสนิท
เสนอให้ไปค้นข้อมูลเพิ่มเติมที่ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
http://www.cf.mahidol.ac.th/
ส่วน ดร.สมคิด แก้วทิพย์ ได้ฉายภาพปัญหาระบบการศึกษาไทย
เป็นปัญหา 4 ระดับ ที่ทำให้ทีมงานพิจารณาร่วมกัน และเห็นภาพได้ชัดเจน
คือ ฐานคิด โครงสร้าง แผนงาน/กระบวนการ ปรากฎผล
ในกลุ่มตกลงร่วมกันว่าจะสื่อสารกันด้วย e-mail และ line กลุ่ม

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.898656623481803.1073741932.506818005999002

ข้อเสนอแนะทางออกการศึกษาไทย โดย นายอรรถพล จันทร์ชีวะ

need to change in Thailand Education System
need to change in Thailand Education System

ไปอ่านพบเรื่อง ข้อเสนอแนะทางออกการศึกษาไทย
โดย นายอรรถพล จันทร์ชีวะ ผู้จัดการเคมบริดจ์ เอ็ดยูเคชั่น
ที่ http://www.grandassess.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=1&No=1551926

อ่านดูแล้ว ผมว่าคุณอรรถพล สนับสนุนให้ดำเนินการตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาที่มีแผนอยู่แล้ว แต่เราไม่ทำตามแผน ทิศทางการพัฒนาก็เลยรวนอย่างทุกวันนี้ .. เห็นว่าน่าสนใจ จึงคัดลอกเก็บไว้ โดยมีเนื้อหาดังนี้

เรียน ท่านผู้จัดการหน่วยประเมินแกรนด์ แอสเซสเมนท์ ที่เคารพ

ผมนายอรรถพล จันทร์ชีวะ  ผู้จัดการเคมบริดจ์ เอ็ดยูเคชั่น  ขอรบกวนใช้กระดานสนทนาของท่าน ในการแสดงความคิดเห็นด้านการศึกษาไทยสักนิดนะครับ

สืบเนื่องจากผลการจัดอันดับการศึกษาไทยจาก WEF ระบุว่าไทยอยู่ อันดับ 8 (สุดท้าย) แย่กว่าเขมรและเวียดนาม ทำให้ผมมีความเป็นห่วงในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก จึงอยากให้ข้อเสนอแนะไว้สักหน่อย ดังนี้

๑. ผมเคยเสนอแนะในเวปไซต์เคมบริดจ์ฯ ไว้ว่า ถ้าเอาการเมืองออกจากการศึกษาไทยได้ ก็น่าจะทำให้การศึกษาไทยมีความชัดเจน ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่เกิดจากรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาให้สับสนกันบ่อย ๆ ซึ่งในความเป็นจริงผมว่าประเด็นนี้ เป็นไปได้ยากไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้ ฉะนั้นผมจึงไม่อยากให้นักการศึกษาไทย คิดวนไปวนมาเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เสียเวลา แต่ผมพบว่าจริง ๆ แล้ว สมศ. รู้ดีว่า ทางออกของการศึกษาไทยในประเทศนี้ คือ การใช้แนวทางการปฏิรูปการศึกษานั่นเอง  เรียนว่า เรามีการประกาศปฏิรูปการศึกษาไทยมา ๒ ครั้งแล้ว แต่ก็ไม่มีใครให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง ซึ่งนั่นแหล่ะครับ จะมีใครทราบสักกี่ท่าน ว่านี่คือทางออกของความก้าวหน้าในการศึกษาไทยที่ดีขึ้นได้

ด้วยปัจจัยสำคัญที่กว่าจะได้ประเด็นข้อสรุปจากการปฏิรูปการศึกษาไทย จะปฏิรูปต้องใช้ข้อมูลและผลวิจัย รวมทั้งประเด็นที่ได้จากการจัดเวทีระดมความคิดเห็นกันมากกมาย ฉะนั้น ข้อสรุปที่เป็นประเด็นในการปฏิรูป ในรอบที่สองนี้แหล่ะคือ ทางออกที่ส่งผลต่อความก้าวหน้าการศึกษาไทยอย่างถูกทิศทาง

โดยสังเกตกันดี ๆ ว่า สมศ. ชี้ประเด็นให้คนในวงการศึกษาไทยรับรู้ว่า การปฏิรูปการศึกษาไทยสำคัญและมีคุณค่ามาก ๆ โดยบรรจุไว้ในตัวบ่งชี้ที่ 12 ในการประเมินรอบที่สามนี้ใช่ไหมครับ

๒. สิ่งที่เราควรทำในตอนนี้ ไม่ใช่การเรียกร้องให้เปลี่ยนระบบการศึกษาไทย หรือ เปลี่ยนรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ  หากแต่เราควร รณรงค์ให้การปฏิรูปการศึกษามีความศักดิ์สิทธิ์และนำประเด็นทั้ง 4 แนวทางที่ได้จากการสรุปประเด็นการปฏิรูปนี้ กล่าวคือ

1. การพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่
2. การพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่
3. การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่
4. การพัฒนาคุณภาพการบริหารใหม่

ซึ่งมีรายละเอียดเป็นแนวทางเพิ่มเติมในแต่ละข้อนี้ให้ท่านพิจารณาได้ชัดเจนมากขึ้นไปอีก  โดยผมคิดว่า เค้าทำมาดีมีแนวทางที่ดีและอิงผลการวิจัย ใช้งบประมาณมากมายไปแล้ว เราจึงควรเชื่อมั่นและยึดถือ รวมทั้งหากรัฐมนตรีคนใดมารับหน้าที่ ต้องมีหน้าที่หลักคือการผลักดันให้กระบวนการปฏิรูปเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ จะออกกฎ จะเปลี่ยนแปลง หรือ  สร้างนโยบายใด ๆ ใหม่ ๆ ควรจะสอดคล้องหรืออาจเปลี่ยนเเปลงเชิงยุทธวิธีมากกว่า ออกนโยบายมาให้ซ้ำซ้อนหรือสร้างความสับสน หรือ ทำเพียงเพื่อล้มล้างสิ่งต่าง ๆ ที่ได้ทำไว้ ซึ่งผมเห็นด้วยกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาคนล่าสุด ที่เน้นการสร้างนโยบายตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษารอบที่สอง เพียงแต่ผมว่า ท่านควรศึกษารายละเอียดประเด็นการปฏิรูปให้ดีอีกนิด จะได้ไม่เกิดการตกหล่น เป็นต้น

๓. ผมฝากประเด็นสุดท้าย คือ เราควรทบทวนการมีสถานศึกษาจำนวนมาก แต่ครูไม่ครบห้องครบชั้น ซึ่งนั่นเป็นปัจจัยแห่งความล้มเหลวที่สุด ที่ประเทศลาว กัมพูชา เวียดนาม และอื่น ๆ เค้าให้ความสำคัญและกำลังแก้ไข มีกฎเหล็กว่าคุณภาพการจัดการศึกษาต้องเน้นครูครบชั้น นำคนคุณภาพมาเป็นครู  ซึ่งปัญหานี้บ้านเรายังคงเป็นอยู่ ซึ่งบางโรงเรียน มีครู ๑ คนแต่ต้องสอนทั้ง ๓ หรือ ๔ ชั้นเรียน ซึ่งควรเลิกคิดกันได้แล้วว่า สัดส่วนจำนวนครูกับเด็กก็เหมาะสมแล้ว ผมว่าอย่างนี้ก็ไปไม่ถึงไหน ธรรมชาติของคนเป็นครูไม่ได้เก่งหรือรอบรู้ทุกเรื่อง ฉะนั้นเมื่อครูต้องสอนในสิ่งที่ตนไม่รู้ ยังไงก็สู้เขมรไม่ได้ เพราะเค้าเน้นครูต้องตรงวิชาเอก โท ถ้าไม่มีก็ยุบไปเรียนรวมกัน เน้นคุณภาพไม่เน้นปริมาณ เป็นต้น

ผมเรียนว่า ระบบการศึกษาไทยเรามีปัญหาหลายอย่าง แต่เราก็พยายามแก้ไขกันมาหลายอย่างแล้ว ทางที่ดีคือ เราควรทบทวนและพิจารณาจากสิ่งที่เรา  ทำมาแล้วว่าใช้ประโยชน์มันอย่างคุ้มค่าแล้วหรือยัง ไม่ควรมองแต่ว่า เราจะหานวัตกรรมใหม่ ๆ อะไรมาเสริมเพียงเท่านั้น และควรเคารพผู้ทรงคุณวุฒิที่พยายามร่างเเนวทางการปฏิรูปและยึดถือร่วมกัน เมื่อพัฒนาการึกษาไทยให้ก้าวหน้า แก้วิกฤตนี้ให้สำเร็จร่วมกันนะครับ

ผู้ตั้งกระทู้ ผจก.เคมบริดจ์ฯ :: วันที่ลงประกาศ 2013-09-08 14:14:12

ข้อมูลเพิ่มเติม
สมศ. = สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน)
ตัวบ่งชี้ที่ 12 ผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐาน รักษามาตรฐาน และพัฒนาสู่ความเป็นเลิศเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษา

ข้อเสนอแนะการเขียนรายงานการประเมินคุณภาพ

ข้อเสนอแนะการเขียนรายงานการประเมินคุณภาพ
ข้อเสนอแนะการเขียนรายงานการประเมินคุณภาพ

การประเมินว่าสถานศึกษามีคุณภาพหรือไม่ จะมีคนภายนอกเข้าไปมอง หากมองแล้วพบว่าผลการดำเนินงานไม่ตอบเกณฑ์ที่ส่วนกลางตั้งขึ้น ก็จะมองว่า มีจุดแข็ง/จุดอ่อนอะไร ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วสาเหตุที่ทำให้เกิดสิ่งเหล่านั้น แล้วปิดด้วยข้อเสนอแนะทิศทางการพัฒนา ซึ่งมีเอกสารตัวอย่างแนวทางการให้ข้อเสนอแนะการเขียนรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษา

ประกอบด้วย 1) ผลการประเมินทุกระดับคุณภาพ ต้องให้ข้อเสนอแนะ 2) การให้ข้อเสนอแนะกำหนดให้ระบุไว้ใน 2 แห่ง คือตัวบ่งชี้ และแต่ละมาตรฐานทั้ง 4 มาตรฐาน 3) รูปแบบการเขียนข้อเสนอแนะ ในรูป swot ที่มีเพียงจุดแข็งและจุดอ่อน
ที่ http://www.scribd.com/doc/143112144/

สกอ. ประเมินหลักสูตรนิเทศ คณะไอซีที ศิลปากร ที่กสท. ไม่ผ่าน

ict silpakorn press
ict silpakorn press

2 เม.ย.2556 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ลงเผยแพร่เอกสารการประกาศยุติการรับนักศึกษาเข้าเรียนต่อในหลักสูตรนิเทศศาสตร์ประจำปี 2556 โดยชี้แจงว่า สกอ.มีมติพิจารณาการประเมินให้ไม่ผ่านมาตรฐาน โดยมีรายละเอียดชี้แจงดังต่อไปนี้

แถลงการณ์จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มศก.
เรื่องการรับนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2556

28 มีนาคม 2556 มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับเอกสารแจ้งเรื่อง ผลการพิจารณากรณีทักท้วงผลการประเมิน ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตามหนังสือเลขที่ ศธ. 0506(5) / ว 354 ลงวันที่ 22 มีนาคม 2556 กรณีมหาวอทยาลัยศิลปากร ได้ทำหนังสือทักท้วงผลการตรวจประเมินการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง ณ ศูนย์การศึกษา อาคาร กสท. บางรัก ของหลักสูตรนิเทศศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร “ไม่ผ่าน” ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการด้านมาตรฐานอุดมศึกษาในการประชุมครั้งที่ 2/2556 เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2556 ได้พิจารณาวินิจฉัยผลการทักท้วงของมหาวิทยาลัยศิลปากรแล้ว มีมติยืนยันผลการประเมิน “ไม่ผ่าน” นั้น

จากมติของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาดังกล่าว มีผลให้คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ต้องยุติการรับนักศึกษาใหม่ในปีการศึกษา 2556 หากยังคงเปิดรับนักศึกษาใหม่อยู่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะไม่รับทราบหลักสูตรทั้งในและนอกที่ตั้ง นับตั้งแต่วันที่แจ้งให้ทราบและประกาศต่อสาธารณะ รวมทั้งแจ้งสำนักงาน ก.พ. ต่อไป

ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการประชุมวาระด่วนที่สุด เมื่อวันอังคารที่ 2 เมษายน 2556 ได้มีการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว และที่ประชุมมีมติให้คณะฯ ดำเนินการเกี่ยวกับการรับนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ ประจำปี 2556 ดังต่อไปนี้

1. ในปีการศึกษา 2556 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร จะยุติการรับนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ ในระบบกลาง (Admission) นอกสถานที่ตั้ง ณ ศูนย์การศึกษา อาคาร กสท. โทรคมนาคม บางรัก กรุงเทพ ตามมติ สกอ.

2. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จะเปิดรับนักศึกษาใหม่ ประจำปี 2556 ในสถานที่ตั้งหลักที่วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี โดยวิธีรับตรง จำนวน 100 คน ใน 2 สายวิชา ได้แก่ สายวิชาการลูกค้าสัมพันธ์ จำนวน 40 คน และสายวิชาวารสารและหนังสือพิมพ์ จำนวน 60 คน

ทั้งนี้ การคัดเลือกนักศึกษาเข้าเรียนในสายวิชาดังกล่าว คณะฯ จะใช้รูปแบบและเกณฑ์ในหการรับเข้าศึกษา เช่นเดียวกับการคัดเลือกนักศึกษา ในระบบกลาง (Admission) หากนักเรียนสนใจที่จะสมัครเข้าเรียนในสายวิชาดังกล่าวของคณะฯ ขอให้ติดตามข้อมูลต่างๆ จาก เว็บไซต์ www.ict.su.ac.th ต่อไป

ด้าน อาจารย์ศาสวัต บุญศรี  อาจารย์ประจำ
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นและสรุปมติดังกล่าวของสกอ.ว่า

1. หลักสูตรนิเทศ คณะไอซีที โดนประเมินจาก สกอ. ว่าไม่ผ่านเกณฑ์การตั้งนอกที่ตั้ง (สกอ. ทำเพื่อป้องกันผู้บริโภค มาเรียนแล้วโดนหลอก) สกอ. ได้ทำการปิดเพียบ พูดง่าย ๆ คือให้กลับเรียนเพชรบุรี (หรือวิทยาเขตอื่น ๆ)

2. สกอ.สั่งห้ามรับนักศึกษาในปีการศึกษาใหม่ หากยังรับให้ปีหนึ่งเรียนที่บางรัก จะทำการปิดหลักสูตร (ย้ำว่า หลักสูตร ไม่ใช่คณะ) และจะส่งเรื่องให้ กพ. ให้รับรองวุฒิ

3. ปี 2-4 นิเทศยังเรียนเหมือนเดิม ส่วนธุรกิจและออกแบบ ถือว่าการที่ปีสี่มาเรียนที่บางรักไม่มีปัญหา เพราะเรียนในวิทยาเขตที่ตั้งมาแล้วเกิน 50% ของหน่วยกิต

4. ทางอธิการฯและคณะได้หารือด่วน มีหลายทางเลือกมาก สุดท้ายอธิการเสนอให้ปีหนึ่งนิเทศ ปี 56 กลับไปเรียนเพชรบุรี (กลับยังที่ตั้ง) เมื่อได้สำรวจอาคารสถานที่ พบว่าหอในรับเพิ่มได้อีกราว 150 คน โดยเปิดเฉพาะสาขาลูกค้าสัมพันธ์และวารสารฯ เพราะการสร้างสตูดิโอสำหรับเอกที่เหลือยังไม่พร้อม การเรียนการสอนยังเหมือนธุกิจและออกแบบคือ ปีสี่กลับมาเรียนบางรัก

5. ทางสภามหาวิทยาลัยมีนโยบายตั้งแต่เลือกอธิการฯ ว่าใครคนใดได้เป็นต้องทำ city campus แห่งใหม่ให้ลุล่วง โดยท่านอธิการจะเปิดทำ TOR แล้วมีแผนคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณ 4 ปี เมื่อนั้น นิเทศไอซีที ก็สามารถกลับมาเต็มตัวได้ในแคมปัสแห่งใหม่

6. เหตุผลที่ไม่ผ่าน ขอบอกคร่าว ๆ คือ สกอ. ไม่นับตลิ่งชันเป็นอีกหนึ่งวิทยาเขต นอกจากนั้นยังชี้ว่าอัตราส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษามีน้อยเกินไป บวกกับไม่มีตำแหน่งทางวิชาการและจบปริญญาเอก (ในส่วนวุฒิการศึกษาและตำแหน่งวิชาการเป็นเรื่องจริง แต่ประเด็นอาจารย์พิเศษนั้น ท่านคณบดีท่านเก่าได้วางระบบไว้เพื่อเน้นอาจารย์พิเศษ สายนิเทศจำเป็นต้องเรียนกับมืออาชีพโดยมีอาจารย์ประจำสนับสนุนทางวิชาการ ส่งผลให้เด็กได้รับความรู้จากทั้งสองด้าน) รวมไปถึงมาตรฐานการเรียนที่ยังไม่ถึงเกณฑ์ ยิ่งเทียบกับหลักสูตรแบบเดียวกันของมหาลัยอื่น (แต่บัณฑิตจบแล้วมีงานทำประมาณ 90% และได้เสียงตอบรับจากนายจ้างในระดับดี อันนี้ไม่รู้ว่าเชื่อเกณฑ์ที่วัดหรือความพึงพอใจจากนายจ้างที่ทำงานในสายวิชาชีพจริงดี)
ที่มา : 1009news.in.th

http://www.isranews.org/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/item/20386-ict-silpakorn-1.html
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1364925371&grpid=01&catid=&subcatid=
http://men.postjung.com/668575.html
http://www.thairath.co.th/content/edu/336594
http://www.1009news.in.th/2013/04/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%9A/1270

ภารกิจของผู้บริหารด้านการศึกษา

education
education

ได้ follow ข้อมูลข่าวสารของ รมว.กระทรวงศึกษาธิการ
และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ที่
http://www.moe.go.th/moe/th/home/main.php

ซึ่งติดตามตั้งแต่มหาวิทยาลัยอีสานถูกเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปลายปี 2555 พบว่าการเป็นรัฐมนตรีไม่ใช่เรื่องง่ายเลย มีภารกิจรัดตัว คงหาเวลาส่วนตัว หรือทำอะไรสบาย ๆ ได้ยาก อย่างวันศุกร์ที่ 15 มีนาคม 2555 ก็เห็นมีกิจกรรมต่าง ๆ มากมายปรากฎในเว็บไซต์  ต้องพบผู้คนที่หลากหลาย

download รายการอีเมลใน google apps ขององค์กร

download email in google apps for education
download email in google apps for education

มีโอกาสใช้บริการ google apps โดยผูกโดเมนของ thaiabc.com เข้าไป แล้วต้องการรายการของสมาชิกออกมาในรูปของ CSV ก็ต้องเข้าในฐานะ admin แล้วคลิ๊ก setting, Email, Email address ที่มุมล่างสุดสามารถคลิ๊ก Download user list as CSV เหตุที่ต้องการข้อมูล ก็เพราะต้องนำข้อมูลสมาชิกจากระบบอีเมล ไป import ในระบบ e-learning ของ moodle ช่วยให้สมาชิกสามารถเข้าใช้งานระบบได้ทันที แต่ถ้าไม่มีรหัสผ่านออกมาจาก google apps ก็สร้างรหัสผ่านใหม่ แจกนักเรียนในห้อง แล้วให้นักเรียนเข้าไปเปลี่ยนรหัสผ่านในระบบด้วยตนเอง

รายการที่ google apps ส่งออกมาประกอบด้วย
1. EmailAddress
2. FirstName
3. LastName
4. LastLogin
5. FirstLogin
6. Quota

ผลงานทางวิชาการ 2555

ผลงานทางวิชาการ 2555
ผลงานทางวิชาการ 2555

น้องบดี จากภาคอีสาน ผู้คร่ำหวอดในแวดวงวิชาการ ได้ส่งประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2555 และประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์  (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2555 มาให้อ่าน พอสรุปได้ว่าฉบับที่ 6 ให้นิยมของผลงานทางวิชาการใหม่ ลักษณะคุณภาพ และทิศทางที่กำหนด ส่วนฉบับที่ 7 แก้ไขประเด็นเรื่องที่สภาฯ รับไว้แล้ว และอยู่ในระหว่างดำเนินการให้ใช้เกณฑ์ปี 2550 [เป็น] ใช้ของปี 2555 แทน

+ http://www.mua.go.th/law.html

+ http://www.personnel.psu.ac.th/per10.html
ประกาศฉบับที่ 6 มี 3 ประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. นิยามของความหมายของ ผลงานวิชาการใหม่ ทดแทนปี 2550
(1) ผลงานแต่ง หรือเรียบเรียง ตำรา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด  หรือ
(2) ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.กำหนด ทั้งนี้ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ
(3) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.กำหนด
2. ผลงานในข้อ 1 ต้องมีลักษณะคุณภาพ 3 องค์ประกอบ
(1) ก่อให้เกิดความรู้ใหม่
(2) มีการวิเคราะห์หรือสังเคราะห์
(3) สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หรือมีผลกระทบต่อการพัฒนาชุมชน สังคม หรือประเทศ
3. ผลงานที่ขอตำแหน่งทางวิชาการต้องมีลักษณะหรือทิศทางต่อไปนี้อย่างน้อยหนึ่งข้อ
(1) สอดคล้องกับศักยภาพหรือทรัพยากรของแต่ละพื้นที่ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์และพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ
(2) เพื่อให้รู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลก
(3) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
(4) พัฒนาและส่งเสริมชุมชนหรือสังคมให้มีความเข้มแข็ง
(5) ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงวิชาการ

ลดการบ้าน ศธ. ให้โอกาสเด็กไทยได้ใช้อย่างที่ฝันไว้

selection : homework, game, facebook, read book
selection : homework, game, facebook, read book

30 ม.ค.56 คุณตุ้ยให้ดู คลิ๊ปหัตถ์พระเจ้า
ซึ่งเป็นแชมป์โลกยิงหนังสติ๊ก ระหว่างรอประชุมครั้งหนึ่ง
แล้วทำให้นึกถึงโอกาสที่คุณบุญมาได้รับจากพระเจ้า
ว่าเขาจะพิจารณาใช้โอกาสของเขาอย่างไรต่อไป
.. ผมว่าเขาเลือกได้นะครับ

แล้วนึกถึงเรื่องการเลือกใช้โอกาสของเด็กตจว. กับเด็กกทม.
เมื่อศธ.ประกาศลดการบ้านให้ทุกคน
เพื่อให้มีเวลา มีโอกาสได้คิดใหม่ทำใหม่ แล้วก้าวกระโดดต่อไป

นักวิชาการในคลิ๊ป
1. ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
2. นพ.ประเสริฐ  ผลิตผลการพิมพ์

ผมว่ามีคำอธิบายที่ดีในคลิ๊ปด้านล่างนี้

ไปถามนักศึกษาเรื่องภาพประกอบมาแล้ว
พวกเขารู้จัก HON ด้วยครับ (สงสัยมีเน็ตใช้)
จากภาพ พบว่า คุณครูสมัยนี้ นัดนักเรียนตี HON
แถมมีแผน Q นักเรียนทุกคน
พอรู้ความหมายชัดเจน
.. ผมก็ต้องตกอก ตกใจ เป็นธรรมดา

แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11

SWOT แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559)
SWOT แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559)

แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559)

ยุทธศาสตร์ที่ 1 เปลี่ยนระบบการนำองค์กรให้ขับเคลื่อนอุดมศึกษาแบบองค์รวม
กลยุทธ์ 1.1 กำหนดคุณค่าและสร้างวิสัยทัศน์ร่วมของอุดมศึกษาไทย
กลยุทธ์ 1.2 บริหารอุดมศึกษา โดยยึดเป้าหมายอุดมศึกษาตามกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2565) อย่างต่อเนื่อง
กลยุทธ์ 1.3 สร้างระบบการประเมินศักยภาพ และพัฒนาผู้บริหารระดับสูง กรรมการสภาของสถาบันอุดมศึกษา
กลยุทธ์ 1.4 สร้างระบบการปิดและยุบรวม หลักสูตร/ คณะวิชา / มหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 1.5 พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของสารสนเทศอุดมศึกษา
กลยุทธ์ 1.6 ต่อยอดสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำระดับโลก
กลยุทธ์ 1.7 ยกระดับอุดมศึกษาไทยให้มีบทบาทสูงในประชาคมอุดมศึกษาอาเซียนโดยเฉพาะด้าน Higher Education Manpower Mobilization
กลยุทธ์ 1.8 สร้างระบบและกลไกเพื่อรองรับความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งกับหน่วยงาน ภาคการผลิตในด้านการเรียนการสอนและการวิจัย
กลยุทธ์ 1.9 พัฒนาโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาอาจารย์ให้เป็นมืออาชีพ และพัฒนาผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพให้เป็นอาจารย์
กลยุทธ์ 2.1 เพิ่มปริมาณอาจารย์ให้ตรงตามความต้องการในการผลิตบัณฑิต
กลยุทธ์ 2.2 พัฒนาอาจารย์ให้เป็นมืออาชีพอย่างเป็นระบบ
กลยุทธ์ 2.3 พัฒนาคุณภาพอาจารย์ให้มีความแข็งแกร่งในการทำวิจัย
กลยุทธ์ 2.4 ปฏิรูประบบค่าตอบแทนอาจารย์
กลยุทธ์ 2.5 พัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยกระดับคุณภาพบัณฑิตอย่างก้าวกระโดด
กลยุทธ์ 3.1 พัฒนาระบบการเข้าศึกษา การเรียนรู้ และการสำเร็จการศึกษาที่ยืดหยุ่น หลากหลายตอบสนองในทุกกลุ่มวัย
กลยุทธ์ 3.2 ยกระดับคุณภาพของหลักสูตร ให้ได้รับการรับรองในระดับอาเซียนและระดับโลก
กลยุทธ์ 3.3 สร้างระบบและกลไก เพื่อจัดสอบใบรับรองคุณวุฒิเฉพาะสาขาแห่งชาติของทุกหลักสูตร
กลยุทธ์ 3.4 ปรับปรุงระบบติดตาม และประเมินบัณฑิตรวมทั้งพัฒนาบัณฑิตหลังเข้าสู่ตลาดงาน

ยุทธศาสตร์ที่ 4 ปฎิรูปการบริหารการเงินอุดมศึกษา เพื่อขับเคลื่อนสถาบันอุดมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ
กลยุทธ์ 4.1 วิเคราะห์ต้นทุนค่าใช้จ่ายต่อหน่วยคุณภาพ
กลยุทธ์ 4.2 จัดทำแผนกลยุทธ์การเงินให้สอดคล้องกับเป้าหมายของสถาบันอุดมศึกษา และแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559)
กลยุทธ์ 4.3 จัดสรรทุนการศึกษาเพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาโดยคำนึงถึงความต้องการกำลังคนของประเทศ
กลยุทธ์ 4.4 กำกับ ติดตามประเมินผลการใช้งบประมาณอย่างเหมาะสม (utilization management) ตามพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษา

http://www.thaiall.com/swot/planhedu11.htm

http://www.mua.go.th/~bpp/developplan/download/higher_edu_plan/PlanHEdu11_2555-2559.pdf

วิถีสร้างการเรียนรู้ในศตวรรษที่21

Framework for 21st Century Learning
Framework for 21st Century Learning

1. ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
ประธานกรรมการมูลนิธิสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม
http://www.kmi.or.th/
ให้เด็กเป็นผู้เลือกทั้งหมดก็ไม่ได้
เพราะเด็กยังไม่โต ยังคิดกว้างขวางไม่ได้
การศึกษาต้องเข้าไปช่วยเข้าไปจัดการอะไรต่าง ๆ
2. นพ.ประเสริฐ  ผลิตผลการพิมพ์
เลขาธิการมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์
http://www.thaissf.org/
จำนวนความรู้เพิ่มขึ้นมหาศาล
เราไม่ต้องการเด็กที่รู้เยอะ ท่องเก่ง เรียนเก่งแต่เพียงอย่างเดียว
อยากได้เด็กที่ใฝ่รู้ อยากเรียนรู้ของใหม่เรื่อย ๆ รู้วิธีที่จะเรียนรู้
มีทักษะการเรียนรู้ที่เรียกว่า learning skill
แล้วก็มีทักษะการใช้ชีวิต life skill

ศตวรรษที่ 21
http://www.p21.org/

1. สาระวิชาหลัก ได้แก่
ภาษาแม่และภาษาสำคัญของโลก
ศิลปะ คณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์
ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์
รัฐ และความเป็นพลเมืองที่ดี

2. แนวคิดสำคัญที่ควรรู้
– ความรู้เกี่ยวกับโลก
– ความรู้ด้านการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ
– ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี
– ความรู้ด้านสุขภาพ
– ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม

3. ทักษะสำคัญ 3 เรื่อง
3.1 ทักษะชีวิต และการทำงาน
– ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
– การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
– ทักษะด้านสังคมและทักษะข้ามวัฒนธรรม
– การเป็นผู้สร้างหรือผลิตและความรับผิดชอบเชื่อถือได้
– ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ
3.2 ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
– ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
– การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
– การสื่อสารและความร่วมมือ
3.3 ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี
– ใช้และประเมินสารสนเทศได้อย่างเท่าทัน
– วิเคราะห์และเลือกใช้สื่อได้อย่างเหมาะสม
– ใช้เทคโนโลยีใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. โครงสร้างพื้นฐาน 4 ด้านเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้
– มาตรฐานและการประเมินในศตวรรษที่ 21
– หลักสูตรและการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21
– การพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21
– สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้

5. เปลี่ยนเป้าหมายจาก “ความรู้” สู่ “ทักษะ”
เปลี่ยนจากครูเป็นหลัก
เป็นนักเรียนเป็นหลัก
เรียนโดยการปฏิบัติที่เรียกว่า PBL : Problem Based Learning
โดยครูเป็นเพียงโค้ช (Coach) หรือครูฝึก ที่คอยช่วยเหลือ

6. เด็กจะได้ฝึกทักษะต่าง ๆ
– การตีโจทย์
– ค้นคว้าหาข้อมูล
– ตรวจสอบและประเมินข้อมูล
– เลือกสิ่งที่เหมาะสมมาใช้
– ได้ฝึกปฏิบัติจริง
– เพิ่มทักษะในการศึกษา
– การนำเสนออย่างสร้างสรรค์
– ฝึกการทำงานเป็นทีม
– แลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน
– ต่อยอดไปสร้างเป็นองค์ความรู้ของตนเองต่อไป

7. ครูต้องมีทักษะที่สำคัญ คือ สร้างแรงบันดาลใจ
ทำให้เด็กมีพลัง มีไฟ ก็จะมีชีวิตชีวาในการเรียน

8. การเรียนรู้แบบ PBL
ไม่มีกรอบ มีเสรีภาพทางปัญญา เพราะเราไม่สนใจคำตอบ
สนใจกระบวนการหาคำตอบ
โจทย์ข้อหนึ่งมีวิธีตอบเยอะแยะ
เราสนใจการทำงานของกลุ่มและการเรียนรู้จากการทำกระบวนการเรียนรู้
การวัดมิใช่เพื่อประเมินได้ผล
แต่เป็นการวัดเพื่อประเมินความก้าวหน้า
เด็กทุกคนมีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองไปเรื่อย ๆ

9.
การบ้านมีเพื่อให้เด็กมีความรู้
การบ้านสมัยใหม่ เช่น ปลายปีแสดงละครเช็คสเปียร์
แก้ปัญหาเด็กสมาธิสั้น เพราะมุ่งมั่นกับสิ่งที่เป็นระยะยาว และทำงานร่วมกันเป็นทีม
เป็นการเรียนรู้ที่ครูไม่ได้สอนด้วยวิธีการบอกให้ท่องจำแบบเดิม

10. สมัยใหม่ความรู้มหาศาลจนไม่รู้จะสอนอะไรให้เด็ก
จึงไม่แปลกที่ครูสักคนหนึ่งจะไม่รู้ จึงต้องมีเครื่องมือช่วยครู
คือ PLC = Professional Learning Commitee
การรวมตัวของครูที่จะเรียนรู้ “เรียนรู้การทำหน้าที่ครูยุคใหม่”
สิ่งที่สำคัญ คือ ร่วมกันทำ ดีกว่าทำคนเดียว เป็น “ชุมชนการเรียนรู้ครู”
– ช่วยกันออกแบบการเรียนรู้ของเด็ก
– ช่วยพัฒนาเพื่อให้เด็กมีทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21

11. แนวคิดการศึกษาต้องเปลี่ยนจากที่เราคุ้นเคย
เปลี่ยนแบบหน้ามือเป็นหลังมือ เยอะมาก
ถ้าเรียนแบบปัจจุบันส่งผลต่อสังคมอย่างไร
– วัยรุ่นจะเสียคน ไม่สนุก น่าเบื่อ
– ทั้งชาติยุ่ง เพราะเรียนเพื่อได้ความรู้อย่างเดียว ไม่ได้ทักษะ
ไม่มีวิจารณญาณ ไม่ได้ critical thinking
ถ้าทำได้สังคมเราก็จะยกระดับขึ้น

century 21
century 21

http://www.scribd.com/doc/97624333/
http://www.thaiall.com/blog/burin/3296/

ผมเพิ่มเติมว่า
ทักษะ = นำความรู้ + ไปทำและทำได้ + จนคล่องแคล่ว

ทักษะ (Skill) หมายถึง ความสามารถทางกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
ที่ผู้รับการฝึกสามารถทำงานได้อย่างคล่องแคล่ว