ชีวิตจริงยิ่งกว่าละคร ที่วัดก็เป็นชีวิตจริง ที่ต้องมีคุณภาพ

ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในข่าวแต่อย่างใด
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในข่าวแต่อย่างใด

เดี่ยวนี้การประกันคุณภาพลงไปที่วัดวาอารมแล้ว
คุณภาพของวัด ขึ้นอยู่กับศรัทธา ถ้ามีจำนวนศรัทธามาก เงินบริจาคมาก
ศรัทธามีความเลื่อมใส ในหลายปัจจัย ทั้งวัตถุ ทำเล และตัวบุคคล
แสดงว่าวัดนั้นมีคุณภาพ เกณฑ์การวัดคุณภาพของวัดอาจมีหลายตัวบ่งชี้
เรื่องหนึ่ง ๆ มีอะไรให้เรามองเยอะ
บางคนมองเหตุ บางคนมองผล บางคนมองถูกผิด บางคนมองพระธรรม
แต่เรื่องนี้ผมสนใจที่กระบวนการ

จากข่าวที่
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1435994010
“จึงขอให้เจ้าคณะอำเภอตรวจสอบว่าในอำเภอที่ปกครอง มีวัดไหนบ้างที่มีคนมาทำบุญที่วัดประจำไม่ถึง 50 คน
ถ้าเป็นวัดของเจ้าคณะตำบล ให้เจ้าคณะอำเภอออกคำสั่งตำหนิโทษเป็นเวลา 3 เดือน
และถ้าพระสังฆาธิการที่ถูกตำหนิโทษยังไม่ดำเนินการตามมติของมหาเถรสมาคม (มส.) อีก
ให้เจ้าคณะผู้ปกครองทำเรื่องเพื่อเสนอขอปลดพระสังฆาธิการรูปนั้น
และให้เจ้าคณะจังหวัดออกคำสั่งปลดออกจากตำแหน่ง
ด้วยเหตุขัดมติ มส.และไม่สนองงานคณะสงฆ์จังหวัดฯ ในโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5”

อ่านดู เห็นว่ามีตัวบ่งชี้เดียว คือ จำนวนคนมาทำบุญ
เขียนเป็นซูโดโค้ดได้ว่า

if (จำนวนคนทำบุญ < 50) {

if (วัดของเจ้าคณะตำบล == true)
if (ไม่เคยได้รับหนังสือตำหนิ == true)
do(“ออกหนังสือตำหนิ”)
else
if (ได้รับหนังสือ >= 3เดือน) do(“ทำเรื่องขอปลดจากตำแหน่ง”)

} else {
do(“ผ่านเกณฑ์ ได้คุณภาพ”)
}

แสดงว่าตำแหน่งของพระสงฆ์ในวัด เป็นสิ่งที่พระสงฆ์ต้องพึงรักษาไว้
ด้วยคิดเป็นระบบ เป็นกระบวนการ เป็นขั้นตอน เป็นกลไก
ตั้งแต่การวางแผนปฏิบัติการ (action plan) และแผนกลยุทธ์ (strategic plan)
แล้วดำเนินการตามแผนเพื่อตอบเป้าหมายของแผน (do)
แล้วมีการตรวจสอบว่าดำเนินการครบถ้วนตามแผนหรือไม่ (check)
หากมีประเด็นต้องแก้ไขก็ดำเนินการปรับปรุง (action)

ต่อไปวัดต่าง ๆ คงต้องมีการจัดการความเสี่ยง (Risk management)
เพื่อป้องกันการถูกตำหนิในอนาคต
แล้วควรมีการจัดการความรู้ (Knowledge management)
เพื่อให้ทุกคนเข้าใจแผน ตรงตามเป้าหมาย ดำเนินการได้ครบถ้วนสมบูรณ์
ตามประเด็นที่ตั้งไว้ เป็นการเคเอ็มเพื่อต่อยอดการพัฒนวัด

แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11

SWOT แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559)
SWOT แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559)

แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559)

ยุทธศาสตร์ที่ 1 เปลี่ยนระบบการนำองค์กรให้ขับเคลื่อนอุดมศึกษาแบบองค์รวม
กลยุทธ์ 1.1 กำหนดคุณค่าและสร้างวิสัยทัศน์ร่วมของอุดมศึกษาไทย
กลยุทธ์ 1.2 บริหารอุดมศึกษา โดยยึดเป้าหมายอุดมศึกษาตามกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2565) อย่างต่อเนื่อง
กลยุทธ์ 1.3 สร้างระบบการประเมินศักยภาพ และพัฒนาผู้บริหารระดับสูง กรรมการสภาของสถาบันอุดมศึกษา
กลยุทธ์ 1.4 สร้างระบบการปิดและยุบรวม หลักสูตร/ คณะวิชา / มหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 1.5 พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของสารสนเทศอุดมศึกษา
กลยุทธ์ 1.6 ต่อยอดสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำระดับโลก
กลยุทธ์ 1.7 ยกระดับอุดมศึกษาไทยให้มีบทบาทสูงในประชาคมอุดมศึกษาอาเซียนโดยเฉพาะด้าน Higher Education Manpower Mobilization
กลยุทธ์ 1.8 สร้างระบบและกลไกเพื่อรองรับความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งกับหน่วยงาน ภาคการผลิตในด้านการเรียนการสอนและการวิจัย
กลยุทธ์ 1.9 พัฒนาโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาอาจารย์ให้เป็นมืออาชีพ และพัฒนาผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพให้เป็นอาจารย์
กลยุทธ์ 2.1 เพิ่มปริมาณอาจารย์ให้ตรงตามความต้องการในการผลิตบัณฑิต
กลยุทธ์ 2.2 พัฒนาอาจารย์ให้เป็นมืออาชีพอย่างเป็นระบบ
กลยุทธ์ 2.3 พัฒนาคุณภาพอาจารย์ให้มีความแข็งแกร่งในการทำวิจัย
กลยุทธ์ 2.4 ปฏิรูประบบค่าตอบแทนอาจารย์
กลยุทธ์ 2.5 พัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยกระดับคุณภาพบัณฑิตอย่างก้าวกระโดด
กลยุทธ์ 3.1 พัฒนาระบบการเข้าศึกษา การเรียนรู้ และการสำเร็จการศึกษาที่ยืดหยุ่น หลากหลายตอบสนองในทุกกลุ่มวัย
กลยุทธ์ 3.2 ยกระดับคุณภาพของหลักสูตร ให้ได้รับการรับรองในระดับอาเซียนและระดับโลก
กลยุทธ์ 3.3 สร้างระบบและกลไก เพื่อจัดสอบใบรับรองคุณวุฒิเฉพาะสาขาแห่งชาติของทุกหลักสูตร
กลยุทธ์ 3.4 ปรับปรุงระบบติดตาม และประเมินบัณฑิตรวมทั้งพัฒนาบัณฑิตหลังเข้าสู่ตลาดงาน

ยุทธศาสตร์ที่ 4 ปฎิรูปการบริหารการเงินอุดมศึกษา เพื่อขับเคลื่อนสถาบันอุดมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ
กลยุทธ์ 4.1 วิเคราะห์ต้นทุนค่าใช้จ่ายต่อหน่วยคุณภาพ
กลยุทธ์ 4.2 จัดทำแผนกลยุทธ์การเงินให้สอดคล้องกับเป้าหมายของสถาบันอุดมศึกษา และแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559)
กลยุทธ์ 4.3 จัดสรรทุนการศึกษาเพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาโดยคำนึงถึงความต้องการกำลังคนของประเทศ
กลยุทธ์ 4.4 กำกับ ติดตามประเมินผลการใช้งบประมาณอย่างเหมาะสม (utilization management) ตามพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษา

http://www.thaiall.com/swot/planhedu11.htm

http://www.mua.go.th/~bpp/developplan/download/higher_edu_plan/PlanHEdu11_2555-2559.pdf

แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา 4 ปี : 2551 – 2554

จำนวนประชากร 18 - 24 ปี
จำนวนประชากร 18 - 24 ปี

มีโอกาสอ่านคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ปี 2554 – 2556 โดยสำนักงานมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา ม.เนชั่น หน้า 43 ระบุในเกณฑ์ที่ 1.1.1 ว่า การจัดแผนกลยุทธ์ให้มีความสอดคล้องกับ แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2551-2554) ซึ่งแผนนี้จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มี 49 หน้า แบ่งได้ 5 บท

บทที่ 1 ภาพอนาคตที่จะมีผลกระทบต่ออุดมศึกษาไทย
บทที่  2 ผลการดำาเนินงานในช่วงแผนพัฒนาการศึกษา
บทที่  3 วิสัยทัศน์ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์
บทท  4 สรุปเป้าหมายการรับนกศกษาเข้าใหม่ นักศึกษารวมทั้งหมด
บทท  5 การแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผล

ในบทที่ 3 มี วิสัยทัศน์ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์ โดยวิสัยทัศน์มี 2 วงเล็บ ส่วนเป้าหมายมี 2 แบบ คือ แบบแรกมี 4 วงเล็บ แบบสองมี 11 วงเล็บ ส่วนยุทธศาสตร์มี 5 ข้อ แต่ละข้อแบ่งเป็นเป้าหมาย และมาตรการ อย่างชัดเจน ในบทที่ 4 จะมุ่งประเด็นที่เป้าหมายรับนักศึกษา ซึ่งจำแนกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีเป้าหมายการรับนักศึกษาลดลง แต่อีก 2 กลุ่มที่เหลือมีเพิ่มขึ้น

กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีเป้าหมายการรับนักศึกษาลดลง
กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีเป้าหมายการรับนักศึกษาลดลง

รายละเอียด ที่ http://www.thaiall.com/pdf/he_plan_10_2551_2554.pdf

กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี : 2551 – 2565

กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี : 2551 - 2565
กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี : 2551 - 2565

จากในคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2554 – 2556 (Quality Assurance Manual) ที่จัดทำโดยสำนักงานมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยเนชั่น หน้า 43 ระบุเกณฑ์คุณภาพ ตัวที่ 1.1.1 ว่า การจัดแผนกลยุทธ์ให้มีความสอดคล้องกับ กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบัยที่ 2 (พ.ศ.2551 – 2565) โดยกรอบแผนนี้ลงวันที่ 30 กันยายน 2550 มี 72 หน้า เนื้อหาตั้งแต่หน้า 12 – 63 แบ่งออกเป็นข้อได้ถึง 178 ข้อ .. ผมยังอ่านไม่จบเลย แล้วข้อไหนก็เขียนดี รู้สึกดีกับประเทศของเราทุกข้อ
รายละเอียด ที่ http://www.thaiall.com/pdf/he_frame_2_2551_2556.pdf

พลังจ่ายภาครัฐกับภาคเอกชน

11 มิ.ย.54 มีโอกาสคุยกับผู้รับเหมาเดินสายระบบเครือข่าย ที่ช่ำชองในการรับงาน เล่าสู่กันฟังว่า การรับงานจากหน่วยงานภาครัฐกับภาคเอกชนแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะภาครัฐมีงบประมาณใช้จ่ายตามที่ขอ เมื่อใกล้สิ้นปีงบประมาณก็ต้องรีบใช้จ่ายให้หมด อาจเรียกได้ว่าเหลือกินเหลือใช้ เมื่อขึ้นปีใหม่ก็ของบประมาณกันใหม่ เริ่มต้นนับหนึ่งกันทุกปี ส่วนภาคเอกชนจะใช้จ่ายกันแต่ละทีคิดแล้วคิดอีก ต่อรองกันหลายรอบ บางทีตกลงได้งานมาแล้วก็ยังมาแก้รายละเอียด บางกรณีถูกขอเพิ่มงานในภายหลังแต่ไม่เพิ่มงบประมาณ จนบางครั้งต้องขอถอนตัว เพราะประเมินแล้วอาจไม่คุ้ม แต่ทำงานกับภาครัฐไม่ค่อยมีปัญหา ถ้ามีปัญหาก็รื้อทิ้งแล้วทำใหม่ในปีต่อไป

พลังจ่ายของภาครัฐนั้นมีมาก เพราะแหล่งงบประมาณมาจากเงินภาษีของประชาชน บางองค์กรมีการจัดทำกลยุทธ์ทางการเงิน เพื่อกำหนดว่างบประมาณเข้ามาทางใดบ้าง และจะออกไปทางใดบ้าง ทำให้คนสนิทของเจ้านายมักเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่เสมอ แม้งานที่ทำจะเป็นเพียงการพิมพ์รายงานการประชุมก็ตาม บางทีความเหมาะสม หรือความคุ้มค่าของแต่ละคนอาจไม่เท่ากัน บางโครงการใช้งบประมาณมหาศาล แล้วไม่ประสบความสำเร็จ เพราะไม่ใช่ความต้องการของชุมชนที่แท้จริง หรือวิเคราะห์ความต้องการที่ไม่สมบูรณ์ แต่เกิดจากความต้องการของผู้ให้ เช่น ศูนย์คอมพิวเตอร์ ศูนย์สินค้าชุมชน ห้องสมุดหมู่บ้าน ในหลายพื้นที่ไม่ถูกใช้ประโยชน์เท่าที่ควร เนื่องจากขาดการดูแลบำรุงรักษาโดยคนในพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานผู้ให้งบประมาณ

พลังจ่ายของภาคเอกชนส่วนใหญ่ มักไม่สูงนัก งบประมาณคือการลงทุน ที่ต้องประเมินว่าจะได้ผลตอบแทนกลับมาอย่างคุ้มค่าตามแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการ จึงต้องวิเคราะห์ความเป็นไปได้โดยละเอียด ก่อนอนุมัติโครงการ/งบประมาณตามแผนการลงทุน ถ้าตัดสินใจลงทุนแบบไม่ระมัดระวังก็จะเสียงบประมาณอย่างไม่คุ้มค่า และเป็นต้นเหตุสำคัญทำให้บริษัท/ห้างร้านมากมายต้องปิดตัวลง ดังนั้นการวางแผนซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ไอทีของภาคเอกชน จึงมักให้ความสำคัญกับการใช้ประโยชน์ ความต้องการของผู้ใช้ ความคุ้มค่าในการใช้จ่ายและผลตอบแทนที่จะคืนกลับมาเป็นสำคัญ

การเขียนโครงการ (Project Writing)

project
project

22 พ.ค.54 โครงการ คือ กลุ่มของกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อตอบวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ดำเนินการตามกรอบเวลาที่กำหนด
สิ่งที่ควรทราบก่อนเขียนโครงการ
1. ปัญหา หรือความต้องการ
2. ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
3. วิเคราะห์ปัญหา
4. จัดลำดับความสำคัญของปัญหา
5. วิเคราะห์หาสาเหตุ และแนวทางแก้ไข
6. กำหนดวัตถุประสงค์
7. กำหนดกิจกรรม เวลา และทรัพยากร
8. ร้อยเรียงข้อมูลทั้งหมด เป็นโครงการ

องค์ประกอบในโครงการ
1. ชื่อโครงการ
2. ความเป็นมา หลักการและเหตุผล
3. วัตถุประสงค์
4. กลุ่มเป้าหมาย
5. วิธีดำเนินการ
6. ระยะเวลา
7. สถานที่
8. งบประมาณ และแหล่งสนับสนุนทุน
9. ผู้รับผิดชอบ
10. วิธีการประเมินผล
11. ตัวชี้วัดความสำเร็จ
12. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
http://library.uru.ac.th/article/htmlfile/technic_project.pdf

ได้คำถามมาว่าทำอย่างไรให้องค์กรอยู่รอด

business plan
business plan

คำถามที่ธนาคารมักใช้ถามผู้ลงทุนหน้าใหม่ คือ ทำอย่างไรให้องค์กรอยู่รอด แล้วคำตอบก็ออกมา เป็นได้หลายมุมมอง ขึ้นกับบริบทขององค์กรในปัจจุบัน
1. จัดทำ Biz plan ซึ่งมีรายละเอียดอ้างอิงมาจาก คู่มือเขียนแผนธุรกิจอย่างง่ายสำหรับผู้ประกอบการ หัวข้อสำคัญที่ต้องหาคำตอบ คือ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เขียนแผนการตลาด แผนการผลิตและดำเนินงาน แผนการบริหารทรัพยากรบุคคล แผนการเงิน เป็นต้น
2. เพื่อแก้ปัญหา กำหนดเป้าหมายที่จะตอบว่าองค์กรจะอยู่รอดได้อย่างไร  แล้วจัดทำแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการระยะยาว และระยะสั้น ที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย
3. เพื่อพัฒนา จัดทำวิสัยทัศน์ แผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ แผนพัฒนาที่สมเหตุสมผล และประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ถ้าไม่มีวิสัยทัศน์ ทุกคนก็จะไม่มีจุดร่วมให้เริ่มต้น และทำงานอย่างไร้ทิศทาง
http://www.1loveshopping.net/books-store/product/?p=174

การทำแผนของวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง

mcu lampang
mcu lampang

10 ก.พ.54  ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2554 มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยสงฆ์นคร ลำปาง ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ที่นำไปสู่การทำแผนปฏิบัติ แล้วดำเนินการตามแผนงาน/โครงการ เมื่อโครงการแล้วเสร็จก็จะประเมินผล และนำผลมาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องสอดรับกับการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งภายใน และภายนอก โดยการจัดทำแผนครั้งนี้อยู่ในขั้นตอนของการจัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง ซึ่งปัจจุบันสถาบันมีฐานะเป็นห้องเรียนบุญวาทย์วิหาร ขึ้นตรงต่อมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ มีปรัชญาของสถาบันคือ จัดการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม
การระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholder) ของมหาวิทยาลัยทั้งบุคลากรภายใน คณาจารย์ อาจารย์พิเศษ เจ้าหน้าที่ พระนิสิต และคนในชุมชน ซึ่งข้อมูลที่ต้องการจากเวทีนี้ คือ ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก (SWOT : Strength Weakness Opportunity Threat) เพื่อนำไปสังเคราะห์อย่างเป็นระบบจนกระทั่งได้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง ระยะ 5 ปี ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีการบรรยายพิเศษให้ความรู้เรื่องเกณฑ์การประกัน คุณภาพการศึกษาตามองค์ประกอบที่เกี่ยวกับแผนยุทธศาสตร์ของสำนักงานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) โดย พระครูพิพิธสุตาทร,ดร. และบรรยายในหัวข้อหลักการ แนวคิด และวิธีการจัดทำแผน โดย ดร.วันชาติ นภาศรี อาจารย์มหาวิทยาลัยโยนก ซึ่งองค์ประกอบหลักของการวางแผนกลยุทธ์มี 4 ขั้นตอน คือ 1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก 2) กำหนดทิศทางพัฒนาองค์กรด้านวิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์หลัก 3) กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา 4) กำหนดยุทธวิธีการดำเนินงาน
ประเด็นสำคัญที่ถูกกล่าวถึงเพื่อนำไปสู่การพัฒนาวิทยาลัยสงฆ์มี หลากหลาย อาธิ วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ e-library database information hardware software ผู้ทำหน้าที่ให้ความรู้ คนในท้องถิ่น การระดมทุน ความเสี่ยง การจัดการความรู้ ตัวบ่งชี้คุณภาพ และเป้าหมาย ซึ่งการจัดทำแผนยุทธศาสตร์หรือแผนกลยุทธ์จำเป็นต้องใช้เวลาในแต่ละขั้นตอน เพื่อกลั่นกรองให้ได้มาซึ่งแผนยุทธศาสตร์ที่สมบูรณ์ เมื่อดำเนินการไปแล้วก็ทบทวนความทันสมัยของแผนยุทธศาสตร์ทุกปี เพื่อให้สอดรับกับวิสัยทัศน์ และสภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคม และองค์กรอย่างต่อเนื่องต่อไป

การทำแผนของวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง ()

ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2554 มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยสงฆ์นคร ลำปาง ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ที่นำไปสู่การทำแผนปฏิบัติ แล้วดำเนินการตามแผนงาน/โครงการ เมื่อโครงการแล้วเสร็จก็จะประเมินผล และนำผลมาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องสอดรับกับการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งภายใน และภายนอก โดยการจัดทำแผนครั้งนี้อยู่ในขั้นตอนของการจัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง ซึ่งปัจจุบันสถาบันมีฐานะเป็นห้องเรียนบุญวาทย์วิหาร ขึ้นตรงต่อมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ มีปรัชญาของสถาบันคือ จัดการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม
การระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholder) ของมหาวิทยาลัยทั้งบุคลากรภายใน คณาจารย์ อาจารย์พิเศษ เจ้าหน้าที่ พระนิสิต และคนในชุมชน ซึ่งข้อมูลที่ต้องการจากเวทีนี้ คือ ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก (SWOT : Strength Weakness Opportunity Threat) เพื่อนำไปสังเคราะห์อย่างเป็นระบบจนกระทั่งได้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง ระยะ 5 ปี ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีการบรรยายพิเศษให้ความรู้เรื่องเกณฑ์การประกัน คุณภาพการศึกษาตามองค์ประกอบที่เกี่ยวกับแผนยุทธศาสตร์ของสำนักงานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) โดย พระครูพิพิธสุตาทร,ดร. และบรรยายในหัวข้อหลักการ แนวคิด และวิธีการจัดทำแผน โดย ดร.วันชาติ นภาศรี อาจารย์มหาวิทยาลัยโยนก ซึ่งองค์ประกอบหลักของการวางแผนกลยุทธ์มี 4 ขั้นตอน คือ 1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก 2) กำหนดทิศทางพัฒนาองค์กรด้านวิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์หลัก 3) กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา 4) กำหนดยุทธวิธีการดำเนินงาน
ประเด็นสำคัญที่ถูกกล่าวถึงเพื่อนำไปสู่การพัฒนาวิทยาลัยสงฆ์มี หลากหลาย อาธิ วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ e-library database information hardware software ผู้ทำหน้าที่ให้ความรู้ คนในท้องถิ่น การระดมทุน ความเสี่ยง การจัดการความรู้ ตัวบ่งชี้คุณภาพ และเป้าหมาย ซึ่งการจัดทำแผนยุทธศาสตร์หรือแผนกลยุทธ์จำเป็นต้องใช้เวลาในแต่ละขั้นตอน เพื่อกลั่นกรองให้ได้มาซึ่งแผนยุทธศาสตร์ที่สมบูรณ์ เมื่อดำเนินการไปแล้วก็ทบทวนความทันสมัยของแผนยุทธศาสตร์ทุกปี เพื่อให้สอดรับกับวิสัยทัศน์ และสภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคม และองค์กรอย่างต่อเนื่องต่อไป

การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ของ MCU

plan strategy
plan strategy

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ ห้องเรียนวัดบุญวาทย์วิหาร จัดทำโครงการจัดสัมมนาทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง ระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (stakeholder) ร่วมวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก (SWOT) เพื่อให้ได้มาซึ่งแผนยุทธศาสตรืการพัฒนาของสถาบัน ระยะ 5 ปี ซึ่งสอดรับการพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นระบบ และกลไกเชิงบูรณาการ ในวันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ 2554

เล่าเรื่องเสนอแผน KM ที่เกือบถูกล้ม

25 พ.ย.52 ในการประชุมวันนี้ อ.บุ๋มและผม ได้ร่วมกันยกร่างแผน KM ของคณะ มีการกำหนดเป้าหมาย และหน่วยที่วัดผลได้เป็นรูปธรรม ซึ่งใช้เป็นต้นแบบประกอบการประชุม ประกอบด้วย 1)แผนการจัดการความรู้ 2)แบบฟอร์มกรอกประเด็นความรู้ในหัวข้อต่าง ๆ สำหรับการบ่งชี้ความรู้ เช่น หลักธรรม วิธีการ เครื่องมือ และประสบการณ์ 3)ความหมายของการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในคู่มือประกันคุณภาพ 4)รายงานการประชุมที่มีการดำเนินการตามกิจกรรมที่ 1 มาแล้ว
     หลังจากเริ่มประชุมเพียง 5 นาทีแรก ผมก็เกือบล้มแผน KM ตามแนวทางในแผนซึ่ง ก.พ.ร. และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ กำหนดแนวทางไว้ นี่นับเป็นอีกครั้งที่ผมเกือบจะยอมแพ้ต่อโชคชะตา ซึ่งมติที่ประชุมจะหันไปมุมการทำแผนแก้ปัญหา หรือแผนปรับการเรียนการสอน เฉพาะวิชาหนึ่งของคณะ ในเป้าหมายเรื่อง “การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ” ซึ่งไม่ใช่แผนการจัดการความรู้ในแบบที่มีการปฏิบัติกันทั่วไป แต่งานนี้ อ.บุ๋ม ท่านไม่ยอมให้แผนถูกล้มหรือผลิกเป็นแผนอะไรก็ไม่รู้ เพราะท่านเข้าใจอย่างถ่องแท้ และรู้ว่าถ้าพลิกแผนจะตอบคำถาม อย่างที่เคยถูก อ.ทัน เคยเคี่ยวในเวทีประเมินมาแล้วได้ลำบากขึ้น ท่านจึงเปิดเวทีแลกเปลี่ยนใช้เวลาทำความเข้าใจมากกว่าหนึ่งชั่วโมงให้ทุกคนได้เข้าใจ ว่าขั้นตอนเหล่านี้มีรายละเอียดอย่างไร จะพลิกแผนเป็นแผนอื่นก็จะผิดไปจากที่ควร .. สรุปว่าแผนครั้งนี้ไม่ถูกล้ม ยังคงเป็นแผนตามมาตรฐานการจัดการความรู้เช่นเดิม .. แต่ผมขู่ อ.บุ๋ม ไปว่า ถ้าครั้งต่อไปอาจารย์ไม่ร่วมประชุมล่ะก็มีหวังผมล้มแผน KM ในที่ประชุมเป็นแน่ .. ขอเอาใจช่วยให้แผน KM ยังคงเป็นแผน KM ไม่ถูกปรับแก้ไปตามความเข้าใจเดิมเดิม
     งานนี้สรุปได้อย่างหนึ่งว่า ถ้าแผน KM ไม่มีชื่อผมก็คงจะไม่มีการเสนอล้มแผน KM เป็นแผนอื่น  เพราะผมเป็นพวกเคยชินกับความล้มเหลว ใครกำหนดอะไรมาแปลกผมเป็นต้องร้องทักไปแต่ถ้าการทำตัวเป็นจิ้งจกร้องทักของผมทำแล้วไม่เกิดผล ผมก็จะทำใจยอมรับกับชะตานั้น คงเพราะผมเคยชินกับการเขียนโปรแกรมแล้ว compile ไม่ผ่านมามาก เคยชินกับการเขียนโปรแกรมแล้วไม่มีคนใช้ ก็เลยชินครับ .. สรุปว่าผมเขียนเล่าเรื่องวิบากกรรมที่ผมกับอ.บุ๋ม พบในวันนี้ ก็เท่านั้นเอง
+ http://www.thaiall.com/km/indexo.html
+ http://www.thaiall.com/km/handbook_2549.doc