มุมมองของคนอ่านตาราง เมื่อต่างกลุ่มก็ต่างความพึงพอใจ

group compare
group compare

เล่าเรื่องการอ่านตาราง แล้วนำมาเขียนอภิปรายผล
เมื่อพิจารณาจากภาพรวมพบว่า ความพึงพอใจในแต่ละด้านไม่ต่างกันมาก
โดยพบว่า การแลกเปลี่ยน และแบ่งปันความรู้ด้านประกันคุณภาพนั้น มีความพึงพอใจต่ำสุด สอดคล้องกับกลุ่มอื่น
และการไหลของข้อมูลด้านวิสัยทัศน์จากระดับบริหารสู่ระดับปฏิบัติการนั้นมีความพึงพอใจต่ำรองลงมา
ซึ่งสอดคล้องกับกลุ่มอื่นที่มีความพึงพอใจต่อประเด็นนี้ต่ำ

อีกมุมหนึ่งพิจารณาประเด็นที่มีความพึงพอใจในระดับที่สูง
ก็จะพบว่าแต่ละกลุ่มมีความพึงพอใจแตกต่างกันไป
กลุ่มผู้บริหารก็จะมองว่าระบบการจัดการความรู้ฯ และการกำหนดทิศทางนั้นดีอยู่แล้ว

ส่วนกลุ่มอาจารย์พอใจการสะสมความรู้ และนำมาสนับสนุนการประกันคุณภาพ
และการกำหนดทิศทางนั้นกลุ่มอาจารย์กับกับผู้บริหารคิดตรงกัน

ส่วนกลุ่มเจ้าหน้าที่พอใจการไหลของข้อมูลในระบบสารสนเทศถูกนำไปใช้ในระดับบริหารชัดเจน
และการสะสมความรู้และนำมาสนับสนุนการประกันนั้นกลุ่มเจ้าหน้าที่คิดตรงกับกลุ่มอาจารย์

สกอ. ประเมินหลักสูตรนิเทศ คณะไอซีที ศิลปากร ที่กสท. ไม่ผ่าน

ict silpakorn press
ict silpakorn press

2 เม.ย.2556 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ลงเผยแพร่เอกสารการประกาศยุติการรับนักศึกษาเข้าเรียนต่อในหลักสูตรนิเทศศาสตร์ประจำปี 2556 โดยชี้แจงว่า สกอ.มีมติพิจารณาการประเมินให้ไม่ผ่านมาตรฐาน โดยมีรายละเอียดชี้แจงดังต่อไปนี้

แถลงการณ์จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มศก.
เรื่องการรับนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2556

28 มีนาคม 2556 มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับเอกสารแจ้งเรื่อง ผลการพิจารณากรณีทักท้วงผลการประเมิน ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตามหนังสือเลขที่ ศธ. 0506(5) / ว 354 ลงวันที่ 22 มีนาคม 2556 กรณีมหาวอทยาลัยศิลปากร ได้ทำหนังสือทักท้วงผลการตรวจประเมินการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง ณ ศูนย์การศึกษา อาคาร กสท. บางรัก ของหลักสูตรนิเทศศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร “ไม่ผ่าน” ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการด้านมาตรฐานอุดมศึกษาในการประชุมครั้งที่ 2/2556 เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2556 ได้พิจารณาวินิจฉัยผลการทักท้วงของมหาวิทยาลัยศิลปากรแล้ว มีมติยืนยันผลการประเมิน “ไม่ผ่าน” นั้น

จากมติของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาดังกล่าว มีผลให้คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ต้องยุติการรับนักศึกษาใหม่ในปีการศึกษา 2556 หากยังคงเปิดรับนักศึกษาใหม่อยู่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะไม่รับทราบหลักสูตรทั้งในและนอกที่ตั้ง นับตั้งแต่วันที่แจ้งให้ทราบและประกาศต่อสาธารณะ รวมทั้งแจ้งสำนักงาน ก.พ. ต่อไป

ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการประชุมวาระด่วนที่สุด เมื่อวันอังคารที่ 2 เมษายน 2556 ได้มีการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว และที่ประชุมมีมติให้คณะฯ ดำเนินการเกี่ยวกับการรับนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ ประจำปี 2556 ดังต่อไปนี้

1. ในปีการศึกษา 2556 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร จะยุติการรับนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ ในระบบกลาง (Admission) นอกสถานที่ตั้ง ณ ศูนย์การศึกษา อาคาร กสท. โทรคมนาคม บางรัก กรุงเทพ ตามมติ สกอ.

2. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จะเปิดรับนักศึกษาใหม่ ประจำปี 2556 ในสถานที่ตั้งหลักที่วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี โดยวิธีรับตรง จำนวน 100 คน ใน 2 สายวิชา ได้แก่ สายวิชาการลูกค้าสัมพันธ์ จำนวน 40 คน และสายวิชาวารสารและหนังสือพิมพ์ จำนวน 60 คน

ทั้งนี้ การคัดเลือกนักศึกษาเข้าเรียนในสายวิชาดังกล่าว คณะฯ จะใช้รูปแบบและเกณฑ์ในหการรับเข้าศึกษา เช่นเดียวกับการคัดเลือกนักศึกษา ในระบบกลาง (Admission) หากนักเรียนสนใจที่จะสมัครเข้าเรียนในสายวิชาดังกล่าวของคณะฯ ขอให้ติดตามข้อมูลต่างๆ จาก เว็บไซต์ www.ict.su.ac.th ต่อไป

ด้าน อาจารย์ศาสวัต บุญศรี  อาจารย์ประจำ
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นและสรุปมติดังกล่าวของสกอ.ว่า

1. หลักสูตรนิเทศ คณะไอซีที โดนประเมินจาก สกอ. ว่าไม่ผ่านเกณฑ์การตั้งนอกที่ตั้ง (สกอ. ทำเพื่อป้องกันผู้บริโภค มาเรียนแล้วโดนหลอก) สกอ. ได้ทำการปิดเพียบ พูดง่าย ๆ คือให้กลับเรียนเพชรบุรี (หรือวิทยาเขตอื่น ๆ)

2. สกอ.สั่งห้ามรับนักศึกษาในปีการศึกษาใหม่ หากยังรับให้ปีหนึ่งเรียนที่บางรัก จะทำการปิดหลักสูตร (ย้ำว่า หลักสูตร ไม่ใช่คณะ) และจะส่งเรื่องให้ กพ. ให้รับรองวุฒิ

3. ปี 2-4 นิเทศยังเรียนเหมือนเดิม ส่วนธุรกิจและออกแบบ ถือว่าการที่ปีสี่มาเรียนที่บางรักไม่มีปัญหา เพราะเรียนในวิทยาเขตที่ตั้งมาแล้วเกิน 50% ของหน่วยกิต

4. ทางอธิการฯและคณะได้หารือด่วน มีหลายทางเลือกมาก สุดท้ายอธิการเสนอให้ปีหนึ่งนิเทศ ปี 56 กลับไปเรียนเพชรบุรี (กลับยังที่ตั้ง) เมื่อได้สำรวจอาคารสถานที่ พบว่าหอในรับเพิ่มได้อีกราว 150 คน โดยเปิดเฉพาะสาขาลูกค้าสัมพันธ์และวารสารฯ เพราะการสร้างสตูดิโอสำหรับเอกที่เหลือยังไม่พร้อม การเรียนการสอนยังเหมือนธุกิจและออกแบบคือ ปีสี่กลับมาเรียนบางรัก

5. ทางสภามหาวิทยาลัยมีนโยบายตั้งแต่เลือกอธิการฯ ว่าใครคนใดได้เป็นต้องทำ city campus แห่งใหม่ให้ลุล่วง โดยท่านอธิการจะเปิดทำ TOR แล้วมีแผนคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณ 4 ปี เมื่อนั้น นิเทศไอซีที ก็สามารถกลับมาเต็มตัวได้ในแคมปัสแห่งใหม่

6. เหตุผลที่ไม่ผ่าน ขอบอกคร่าว ๆ คือ สกอ. ไม่นับตลิ่งชันเป็นอีกหนึ่งวิทยาเขต นอกจากนั้นยังชี้ว่าอัตราส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษามีน้อยเกินไป บวกกับไม่มีตำแหน่งทางวิชาการและจบปริญญาเอก (ในส่วนวุฒิการศึกษาและตำแหน่งวิชาการเป็นเรื่องจริง แต่ประเด็นอาจารย์พิเศษนั้น ท่านคณบดีท่านเก่าได้วางระบบไว้เพื่อเน้นอาจารย์พิเศษ สายนิเทศจำเป็นต้องเรียนกับมืออาชีพโดยมีอาจารย์ประจำสนับสนุนทางวิชาการ ส่งผลให้เด็กได้รับความรู้จากทั้งสองด้าน) รวมไปถึงมาตรฐานการเรียนที่ยังไม่ถึงเกณฑ์ ยิ่งเทียบกับหลักสูตรแบบเดียวกันของมหาลัยอื่น (แต่บัณฑิตจบแล้วมีงานทำประมาณ 90% และได้เสียงตอบรับจากนายจ้างในระดับดี อันนี้ไม่รู้ว่าเชื่อเกณฑ์ที่วัดหรือความพึงพอใจจากนายจ้างที่ทำงานในสายวิชาชีพจริงดี)
ที่มา : 1009news.in.th

http://www.isranews.org/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/item/20386-ict-silpakorn-1.html
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1364925371&grpid=01&catid=&subcatid=
http://men.postjung.com/668575.html
http://www.thairath.co.th/content/edu/336594
http://www.1009news.in.th/2013/04/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%9A/1270

กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี : 2551 – 2565

กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี : 2551 - 2565
กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี : 2551 - 2565

จากในคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2554 – 2556 (Quality Assurance Manual) ที่จัดทำโดยสำนักงานมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยเนชั่น หน้า 43 ระบุเกณฑ์คุณภาพ ตัวที่ 1.1.1 ว่า การจัดแผนกลยุทธ์ให้มีความสอดคล้องกับ กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบัยที่ 2 (พ.ศ.2551 – 2565) โดยกรอบแผนนี้ลงวันที่ 30 กันยายน 2550 มี 72 หน้า เนื้อหาตั้งแต่หน้า 12 – 63 แบ่งออกเป็นข้อได้ถึง 178 ข้อ .. ผมยังอ่านไม่จบเลย แล้วข้อไหนก็เขียนดี รู้สึกดีกับประเทศของเราทุกข้อ
รายละเอียด ที่ http://www.thaiall.com/pdf/he_frame_2_2551_2556.pdf

เปิดศูนย์นอกที่ตั้ง ต้องมีผลประเมิน สมศ. ระดับดีมาก

ระบบวงเวียนแทนสัญญาณไฟจราจร บริเวณห้าแยกหอนาฬิกาลำปาง
ระบบวงเวียนแทนสัญญาณไฟจราจร บริเวณห้าแยกหอนาฬิกาลำปาง
มีเพื่อนเล่าให้ฟังว่า กกอ. จะเข้มงวดกับศูนย์นอกที่ตั้ง ว่าต้องผ่านการประเมินจาก สมศ. ระดับดีมาก
ขอแค่ระดับดี หรือ พอใช้ไม่ได้แล้ว พอไปค้นดูก็พบจาก 2 สื่อ คือ ไทยโพสต์ กับเดลินิวส์ เมื่อกลางสิงหาคม 2555
แล้วได้ยินนักวิชาการพูดเรื่องนี้ว่าต่อไปจะเหมือนออก license เป็นใบเขียว ใบเหลือง และใบแดง ผมฟังแล้วเหมือนสัญญาณไฟตามแยกของถนนเลยครับ ที่มีสัญญาณ 3 ประเภท
1) ออกกฎเหล็กการเปิดศูนย์นอกที่ตั้ง ต้องให้รมว.ศธ.เซ็น/หลังผลตรวจล่าสุดน่าระอาไม่ผ่านประเมินอื้อ (ไทยโพสต์)
สกอ.เตรียมประกาศ เพิ่มขั้นตอนการเปิด และคงหลักสูตรการเรียนศูนย์นอกที่ตั้งมหาวิทยาลัย เบื้องต้นเพิ่มความเข้มงวดมหา’ลัยที่เปิดได้ต้องให้ รมว.ศธ.เห็นชอบ และต้องมีผลประเมิน สมศ. ระดับดีมาก โดยจะเสนอให้ที่ประชุม ครม.พิจารณาเร็วๆ นี้ “กำจร” เผยผลตรวจศูนย์นอกที่ตั้งประจำปี 2555 พบหลักสูตรไม่ผ่านการประเมินอื้อ ส่วนใหญ่เป็นระดับ ป.ตรี สั่งออกมาตรการแล้ว หลักสูตรใดไม่ผ่านการประเมินต้องหยุดรับนักศึกษาปี 56 ทันที
รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เมื่อเร็วๆนี้ ได้รับทราบผลการตรวจประเมินการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง ประจำปี 2555 ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ระหว่างวันที่ 10 มี.ค.-30 มิ.ย.นี้ ซึ่งผลสรุปการตรวจประเมินจำนวน 14 สถาบัน 18 ศูนย์ 50 หลักสูตร พบว่า มีหลักสูตรผ่านการประเมิน 2 หลักสูตร 2 สถาบัน 2 ศูนย์ ไม่ผ่านการประเมิน 41 หลักสูตร 8 สถาบัน 11 ศูนย์ และต้องปรับปรุง 7 หลักสูตร 5 สถาบัน 5 ศูนย์ ทั้งนี้ หลักสูตรที่ไม่ผ่านส่วนใหญ่จะเป็นระดับปริญญาตรี อาทิ หลักสูตรบริหารธุรกิจ รัฐประศาสนศาสตร์ และครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ สกอ.ไปตรวจประเมินยังพบว่ามีศูนย์นอกที่ตั้ง ซึ่งยังไม่ถึงคิวประเมินได้ปิดตัวเองไปแล้วจำนวน 57 ศูนย์ ดังนั้นจะมีศูนย์นอกที่ตั้งที่ต้องไปตรวจประเมินในปี 2555 อีกจำนวน 162 ศูนย์ ประมาณ 300 กว่าหลักสูตร
รองเลขาฯ กกอ.กล่าวต่อว่า ผลการตรวจประเมินดังกล่าวทำให้ กกอ.มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน แต่ให้ปรับเพิ่มเล็กน้อย ก่อนที่จะเสนอนายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ ลงนาม จากนั้นจะต้องเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อประกาศใช้ต่อไปหากมีร่างดังกล่าวเชื่อว่าจะทำให้สถาบันอุดมศึกษาทั้งรัฐและเอกชนจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งมีคุณภาพมากขึ้น ขณะที่สถาบันไหนจัดการศึกษาไม่มีคุณภาพจะต้องปิดตัวไป และที่สำคัญการเปิดสอนนอกที่ตั้งไม่สามารถดำเนินการได้ง่ายเหมือนที่ผ่านมาจนเกิดปัญหาเหมือนปัจจุบันนี้
ส่วนสาระสำคัญของร่างดังกล่าว หากสถาบันอุดมศึกษาใดจะเปิดสอนนอกสถานที่ตั้งจะต้องขออนุญาตจาก รมว.ศึกษาธิการ ก่อนที่จะไปเปิดการเรียนการสอน ขณะที่หลักสูตรที่จะเปิดจะต้องเป็นความต้องการของสังคมและชุมชน รวมทั้งเปิดสอนในหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยมีความเชี่ยวชาญเฉพาะ อีกทั้งหลักสูตรที่จะเปิดสอนนั้นจะต้องรับการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ในระดับดีมาก และสถาบันอุดมศึกษาจะต้องมีการกำหนดระยะเวลาที่จะสิ้นสุดการดำเนินการ จำนวนอาจารย์ที่มีอยู่และจำนวนนิสิตนักศึกษาที่จะรับด้วย ซึ่งถ้าทำได้ตามนี้จะทำให้การศึกษานอกสถานที่ตั้งมีคุณภาพแน่นอน
สำหรับผลการตรวจประเมินศูนย์นอกที่ตั้ง ทาง สกอ.จะแจ้งผลให้สถาบันอุดมศึกษาที่เข้ารับการประเมินรับทราบ และหากสถาบันใดต้องการจะทักทวงผลการตรวจประเมินต้องดำเนินการภายใน 30 วัน ตั้งแต่ได้รับทราบผลจาก สกอ. สำหรับหลักสูตรที่ไม่ผ่านการประเมินนั้นจะต้องไม่เปิดรับนิสิตนักศึกษาในหลักสูตรนั้นในปีการศึกษา 2556 แต่จะไม่มีผลกระทบกับนิสิตนักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่.
2) สกอ.มั่นใจจัดระเบียบสอนนอกที่ตั้งได้ผล (เดลินิวส์)
รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา  (กกอ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่ประชุมได้รับทราบผลการตรวจประเมินการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง ประจำปี 2555 ระหว่างวันที่ 10 มี.ค.- 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการตรวจประเมินใน 14 สถาบัน 18 ศูนย์ 50 หลักสูตร โดยพบว่า มีที่ผ่านการประเมิน 2 หลักสูตร 2 สถาบัน 2 ศูนย์ ไม่ผ่านการประเมิน 41 หลักสูตร 8 สถาบัน 11 ศูนย์ และต้องปรับปรุง 7 หลักสูตร 5 สถาบัน 5 ศูนย์  ซึ่งหลักสูตรที่ไม่ผ่านส่วนใหญ่จะเป็นระดับปริญญาตรีบริหารธุรกิจ รัฐประศาสนศาสตร์ และครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ และจากการตรวจประเมินยังพบว่ามีศูนย์นอกที่ตั้งได้ปิดตัวเองไปแล้วจำนวน 57 ศูนย์ ทำให้เหลือศูนย์นอกที่ตั้งที่ต้องไปตรวจประเมินในปี 2555 อีกจำนวน 162 ศูนย์ ประมาณ 300 กว่าหลักสูตร

อย่างไรก็ตามหลังจากนี้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จะสรุปผลการตรวจประเมินแจ้งให้สถาบันอุดมศึกษารับทราบ เพื่อให้สถาบันทักท้วงผลการตรวจประเมินภายใน 30 วันนับจากได้รับทราบผล ทั้งนี้หลักสูตรที่ไม่ผ่านการประเมินนั้นมีผลทำให้สถาบันไม่สามารถเปิดรับนิสิตนักศึกษาในหลักสูตรนั้นในปีการศึกษา 2556 แต่จะไม่มีผลกระทบกับนิสิตนักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่แล้ว
รองเลขาธิการ กกอ.กล่าวต่อไปว่า กกอ.ยังได้เห็นชอบ ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน แต่ให้ปรับปรุงเล็กน้อยก่อนที่จะเสนอ รมว.ศึกษาธิการลงนาม และนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป ทั้งนี้เชื่อว่าเมื่อกฎกระทรวงดังกล่าวมีผลใช้บังคับจะทำให้สถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งมีคุณภาพมากขึ้น ส่วนสถาบันที่จัดไม่มีคุณภาพจะต้องปิดตัวไป ที่สำคัญการเปิดสอนนอกที่ตั้งจะไม่สามารถดำเนินการได้ง่ายเหมือนที่ผ่านมาอีกแล้ว
“สำหรับสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง คือ หากสถาบันอุดมศึกษาใดจะเปิดสอนนอกสถานที่ตั้งจะต้องขออนุญาตจาก รมว.ศึกษาธิการก่อนที่จะไปเปิดการเรียนการสอน หลักสูตรที่เปิดจะต้องเป็นความต้องการของสังคมและชุมชน รวมทั้งต้องเป็นหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยมีความเชี่ยวชาญเฉพาะ และต้องรับการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ในระดับดีมาก และสถาบันจะต้องมีการกำหนดระยะเวลาที่จะสิ้นสุดการดำเนินการ จำนวนอาจารย์ที่มีอยู่และจำนวนนิสิตนักศึกษาที่จะรับด้วย ซึ่งถ้าทำได้ตามนี้จะทำให้การศึกษานอกสถานที่ตั้งมีคุณภาพแน่นอน” รศ.นพ.กำจร กล่าว.
ระบบวงเวียนแทนสัญญาณไฟจราจร บริเวณห้าแยกหอนาฬิกาลำปาง

บทเรียนที่พบในอดีตเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษา

ผศ.ปรานี พรรณวิเชียร
ผศ.ปรานี พรรณวิเชียร

1 มี.ค.55 มีโอกาสฟัง อาจารย์ปรานี  พรรณวิเชียร  บรรยายเรื่อง ประเด็นในบางตัวบ่งชี้ และ share&learn  ที่ The Empress จังหวัดเชียงใหม่  .. ท่านเล่ากรณีปัญหาที่ได้พบจากการเป็นผู้ประเมินในมหาวิทยาลัยต่าง  ๆ ในอดีต .. ท่านเล่าให้ฟังเพื่อเป็นบทเรียนว่าไม่ควรเกิดขึ้น อาทิ
1. การตรวจเยี่ยมนอกที่ตั้งพบว่าไม่มีอาจารย์ประจำหลักสูตรทำงานอยู่
2. กรรมการสภาอยากเป็น ง แต่คณะวิชาและอธิการอยากเป็น ข (เหมือนแม่ปูเลยครับ)
3. บวกเลขผิด ๆ ถูก ๆ แล้วในมหาวิทยาลัยใครจะรับผิดชอบ (ใครควรรับรู้)
4. บางคณะอยากให้งานประกันเขียนรายงาน (ไว้อาลัย)
5. แค่วิทยากรมาบรรยายก็เรียก KM แล้ว ไม่มี share & learn กันเลย
6. บางที่ก็มี blog มีคนเขียน 1 คน จะเรียกว่ามหาวิทยาลัยมี km ได้อย่างไร
7. best practice ของ QA วัดจากการแลกเปลี่ยนดูงานระหว่างสถาบัน ไม่ได้
8. QA ต้องลงไปช่วยทำความเข้าใจ กำกับ ไปตรวจสอบให้ทุกอย่างถูกต้อง
9. บางคณะทำแค่ 2.1 กับ 2.6 เพราะ QA บอกว่าตามใจ (แล้วพันธกิจไปไหน)
10. ประเมินความสำเร็จต้องทำหลังโครงการแล้วเสร็จ มิใช่ประเมินโครงการ
11. MIS ช่วยผู้บริหารตัดสินใจ ส่วน QA ช่วยให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งผู้บริหารต้องใช้
12. ไม่ต้องส่งชื่อผู้ประเมินเข้าไปมาก ปัจจุบันมี 6000 คน บางคนยังไม่รู้จักแผนกลยุทธ์เลย
13. ภาษาที่ 2 ภาษาที่ 3 ผู้ประกอบการบอกว่าบางคนภาษาคนยังคุยไม่รู้เรื่องเลย
http://www.mua.go.th/users/bhes/bhes2/QA_Training/qa_training.htm

อบรมใช้ excel ทำ qa อย่างมืออาชีพ

cheqa excel
cheqa excel

พบโครงการอบรมการใช้ excel เพื่องานประกันคุณภาพของ ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ ในชื่อโครงการ “โครงการอบรม การจัดเก็บข้อมูลและเขียนรายงานประกันคุณภาพอย่างมืออาชีพ (54/1)

มีหลักการและเหตุผล ดังนี้ ส่วนสำคัญของระบบประกันคุณภาพการศึกษาคือข้อมูลผลการดำเนินงานตามพันธกิจ ถึงแม้ว่าบางสถาบันการศึกษาจะมีระบบสารสนเทศในการบริหารจัดการ (Enterprise Resource Planning) แต่การจัดทำข้อมูลเพื่อตอบสนองความต้องการของระบบประกันคุณภาพยังมีความจำเป็นในการเชื่อมโยงข้อมูลในระบบงาน และมีความจำเป็นในการเก็บข้อมูลเพิ่มเติม โปรแกรมเอ๊กเชลล์ยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดเก็บข้อมูลดิบ หรือช่วยในการเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบงานต่างๆ และผู้มีส่วนรวมในการจัดเก็บข้อมูลคือบุคลากรของสถาบันนั่นเอง จากการเปิดอบรมหลักสูตรการจัดเก็บข้อมูลประกันคุณภาพด้วยเอ๊กเชลล์ที่ผ่านมา 10 รุ่น มีข้อมูลจากการประเมินผลการอบรมแสดงว่าสถาบันการศึกษายังมีความต้องการอย่างมากในการพัฒนาบุคคลากรให้สามารถใช้เครื่องมือโดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการทำงานของบุคคลกร เพื่อให้สามารถใช้เครื่องมือในการลดระยะเวลาในการทำงาน และมีข้อมูลที่สามารถตอบสนองความต้องการของระบบประกันคุณภาพต่าง ๆ แม้ตัวบ่งชี้ประกันคุณภาพภายใน (สกอ. ปี 2554) และตัวบ่งชี้ สมศ รอบ 3 จำนวนตัวบ่งชี้ลง แต่มีความต้องการรายละเอียดข้อมูลเชิงลึกมากขึ้นส่งผลการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อความพร้อมในการรับตรวจใช้เวลาเพิ่มมากขึ้น ถ้าระบบบริหารจัดการข้อมูลไม่ดี

โครงการอบรมการจัดเก็บข้อมูลประกันคุณภาพอย่างมืออาชีพด้วยเอ๊กเชลล์ เป็นโครงการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถาบันการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถในการใช้ไมโครซอฟต์ออฟฟิศอย่างมืออาชีพ และสามารถทำงานอย่างบูรณาการ เชื่อมโยงการออกแบบจัดเก็บข้อมูลดิบ การออกรายงานสำหรับผู้บริหาร มีข้อมูลพร้อมในการการจัดทำรายงานประจำปี รายการการประเมินตนเอง และจัดเตรียมข้อมูลพร้อมโหลดเข้าสู่ฐานข้อมูล CHEQA แม้หน่วยงานที่มีฐานข้อมูลในการจัดเก็บข้อมูลประกันคุณภาพ ยังมีความต้องการในการพัฒนาบุคลากร ให้สามารถนำข้อมูลจากฐานข้อมูลมาจัดทำรายงานตามความต้องการข้อมูลที่พลวัต

http://pirun.ku.ac.th/~fscichj/qa/Train/
http://pirun.ku.ac.th/~fscichj/qa/Train/v54-1/qa-project.pdf
http://pirun.ku.ac.th/~fscichj/course/52/qa2/qa-project2.htm
http://www.thaiall.com/pdf/qa_excel_pro.pdf