อุดมศึกษาไทยที่จะอยู่รอดในยุคแข่งขันเดือดและผู้เรียนลดลง อย่างไร

เรื่อง “อุดมศึกษาไทยที่จะอยู่รอดในยุคแข่งขันเดือดและผู้เรียนลดลง อย่างไร
บทความโดย ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์
พบว่า อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง แชร์มาในกลุ่ม จึงนำมาแชร์ต่อ

ทุกวันนี้ สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาไทย (ป.ตรี – เอก) ทั้งของรัฐ และเอกชน ต่างก็มีปัญหา เพื่อความอยู่รอดของกลไกตลาด (Market Mechanism) ที่เกิดขึ้น ซึ่งมีหลัก ๆ คือ

1. สถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน มีมากเกินกว่า “ตลาดผู้เรียน” เรียกว่าเป็น “สภาพการณ์อุปทานล้น (Over Supply Circumstances)” ของ อุปสงค์ (Demand) และ อุปทาน (Supply) เนื่องจากโครงสร้างการเกิดของประชากรที่ลดลง จะเห็นได้ว่ารับกันหลายรอบ ต่างก็ไม่เต็มกันแทบทุกหลักสูตร ทุกสถาบัน

2. นโยบายและการกำกับของรัฐ ที่มีรายละเอียดมาก ทั้งการควบคุม มาตรฐาน การประกันคุณภาพ สารพัดองค์/ตัวบ่งชี้ และ เกณฑ์ในการคัดเลือกเข้าระบบ TCAS (Thai University Center Admission System) ที่ซับซ้อน เปลี่ยนแปลงบ่อย อีกทั้งยังมีหลายมาตรฐานควบคุม ระหว่าง 1) มหาวิทยาลัยรัฐ 2) กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ- ราชมงคล 3) มหาวิทยาลัยของรัฐนอกระบบ / ในกำกับ (Autonomous University) 4) มหาวิทยาลัย-สถาบัน-วิทยาลัย เอกชน ซึ่งในหลายๆมิติ จะเห็นว่าบุคลากรทางการศึกษา ต้องใช้เวลาหลายอย่างมากกว่าเน้นการจัดการสอน
http://www.cheqa.mua.go.th/

3. โอกาสเปิดกว้างกับสถาบันอุดมศึกษาจากต่างประเทศ และ การเรียนผ่านระบบเครือข่าย (Online Degree and Courses) ที่เข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดเรียนในชั้นปกติ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (ในขณะที่มาตรฐานองค์รวมของสถาบันอุดมศึกษาไทยขยับตัวพัฒนาช้า จนทำให้มาตรฐานดูพัฒนาในภาพรวมช้า
https://www.thaicyberu.go.th/

4. ตลาดแรงงานที่เปลี่ยนมุมมองของคน Generation Y และ Generation Z ซึ่งรวมถึงคนวัย 30 ลงมาถึง teenage ที่มีเกือบครึ่งประเทศ ต้องการมีอิสระ และทางเลือกของตนเอง ดังนั้นทั้งต้องการเรียนรู้เอง ต้องการหาประสบการณ์ และ อาชีพเฉพาะตน/ SME มากขึ้น

ทั้งปัญหา ตลาด ระบบ คู่แข่งขันหน้าใหม่ และ วิถีชีวิต ที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น สถาบันการศึกษาไทย จึงต้องปรับตัว ขอตอบด้วยทฤษฎี Ansoff Matrix จากที่ทำได้ง่ายสุด ไปถึงที่ทำยากสุด ดังนี้

1. กลยุทธ์เจาะตลาด (Market Penetration) ลงลึก เน้นหนักตลาดปัจจุบัน ด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ (Present Market + Present Product)

สถาบันนั้นๆต้องปรับตัว เน้นทำตลาดให้ชัด สื่อสารการตลาดครบวงจร (Integrated Marketing Communication:IMC) ปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัย ทันการณ์ สดใส ทั้ง คณาจารย์ สร้างภาพมืออาชีพ เน้นใช้เทคโนโลยีช่วยสอน สร้างภาพลักษณ์ที่ดีเชิงประจักษ์ ทำ CSR (Corporate Social Responsibility) , CRM (Customer Relationship Management), CEM (Customer Experience Management) ให้ตลาดเห็นสถาบันเรามีตัวตน โดดเด่น (Outstanding) ออกมา พร้อมทั้งสร้างจุดเด่นจุดยืน (Brand Positioning) หาจุดยืนให้ชัดไปเลยว่าเราเป็นใครในตลาด เช่น เราคือ สถาบันวิจัย เราคือ สถาบันที่มีมาตรฐานการสอนสูงสุด เราคือผู้นำด้านสื่อสารมวลชน เป็นต้น หาแม่เหล็ก (Magnets) ด้วยตัวแทนสร้างชื่อ (Brand Ambassadorship) เน้นนำเสนอ เหล่าดารา นักกีฬา นักธุรกิจ มาเรียนที่เรา และอย่าลืม ลดต้นทุน ที่ไม่สำคัญออก ส่วนใดตัด Outsourcing ได้ ก็ทำ

2. กลยุทธ์พัฒนาตลาด (Market Development) หาตลาดใหม่ ด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีเดิม (New Market + Present Product)

เป็นวิธีที่เราเชื่อว่าสถาบันมีหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอนที่ดีแล้ว ก็หาตลาดใหม่ เปิดตลาดหาผู้เรียนจากต่างชาติเป็นภาษาไทย หรือปรับหลักสูตรให้เป็นภาษาที่ 2 หรือ 3 นำหลักสูตรไปหาตลาดต่างประเทศ สอนในต่างประเทศ ทั้งนี้ รวมถึงใช้เทคโนโลยีหาตลาดใหม่ด้วยการศึกษา Online ในหลักสูตร/ คณะต่างๆ เพิ่มขึ้น

3. กลยุทธ์พัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Development) หาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่โดนใจตลาดเดิม (Present Market + New Product)

สถาบันที่มีศักยภาพในความพร้อมทั้งบุคลากร เงินทุน เครื่องมือ และระบบสนับสนุนต่าง ๆ สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆออกมา (ต้องตอบโจทย์ที่เป็นที่ต้องการตลาดด้วย) ได้แก่ การเปิดคณะใหม่/ สาขาใหม่ ที่รองรับตาม Trend เช่น สังคมสูงวัย (Aging Society) ดังนั้นให้เปิดคณะ/ สาขา ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์- สุขภาพ ครบวงจร

อีกทั้งพัฒนาบริการที่เกี่ยวเนื่องการศึกษาอื่น ๆ (Subsidiaries) เช่น เป็นศูนย์บริการเชิงพาณิชย์ เช่น วิจัยธุรกิจ ที่ปรึกษาธุรกิจ ฝึกอบรม บริการสอนให้วุฒิบัตรต่าง ๆ (certificate) และยังสามารถมองตลาดแบบพัฒนาถอยหลัง (Backward Integrations) ลงไปเชื่อมธุรกิจกับระดับโรงเรียนมัธยม/ ปวช-ปวส หรือ พัฒนาเดินหน้า (Forward Integrations)เชื่อมเป็น Partner กับภาคธุรกิจ- ภาครัฐ รูปแบบต่าง ๆ

4. กลยุทธ์เข้าธุรกิจใหม่ (Diversification) หาผลิตภัณฑ์และตลาดที่มีศักยภาพใหม่ ที่เราพร้อมลุย
(New Market + New Product)

มองหาธุรกิจใหม่เพิ่มเติม ที่ทีมบริหาร เห็นโอกาส ว่ายอดขาย กำไร และ ส่วนแบ่งตลาด ที่เราทำได้ อาจใกล้ตัวหรือไกลตัว เช่น ธุรกิจหอพัก ศูนย์การค้า บริษัทการค้าต่าง ๆ เป็นต้น

สถาบันต่าง ๆ ควรต้องปรับตัว/ พัฒนา ไปทางใดทางหนึ่ง อย่าหยุดนิ่ง ซึ่งนึกถึงกฎของเมอฟี่ (Murphy’s Law) ที่ว่า “Anything that can go wrong, will go wrong” คือ “อะไรที่มีทิศทางเชิงลบ อย่าปล่อยไป” และ “อย่าปล่อยโอกาสให้มีการผิดพลาด โดยไม่สนใจ” เรารู้อยู่แล้วว่าอุดมศึกษาไทยแข่งเดือด แย่งกัน หลายสถาบันกำลังไปไม่รอด เริ่มมีสัญญาณปิดตัว โดนต่างชาติยึด เริ่มควบรวม เป็นต้น

หมายเหตุ: ทั้งหมดนี้ แค่มุมมองส่วนตัว ในฐานะที่เป็นอาจารย์คนหนึ่งที่ผ่านร้อนผ่านหนาวในวงการอุดมศึกษาไทยมา 21 ปี

ทฤษฎี Ansoff Matrix
ทฤษฎี Ansoff Matrix

https://www.tutor2u.net/business/reference/ansoffs-matrix

แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11

SWOT แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559)
SWOT แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559)

แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559)

ยุทธศาสตร์ที่ 1 เปลี่ยนระบบการนำองค์กรให้ขับเคลื่อนอุดมศึกษาแบบองค์รวม
กลยุทธ์ 1.1 กำหนดคุณค่าและสร้างวิสัยทัศน์ร่วมของอุดมศึกษาไทย
กลยุทธ์ 1.2 บริหารอุดมศึกษา โดยยึดเป้าหมายอุดมศึกษาตามกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2565) อย่างต่อเนื่อง
กลยุทธ์ 1.3 สร้างระบบการประเมินศักยภาพ และพัฒนาผู้บริหารระดับสูง กรรมการสภาของสถาบันอุดมศึกษา
กลยุทธ์ 1.4 สร้างระบบการปิดและยุบรวม หลักสูตร/ คณะวิชา / มหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 1.5 พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของสารสนเทศอุดมศึกษา
กลยุทธ์ 1.6 ต่อยอดสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำระดับโลก
กลยุทธ์ 1.7 ยกระดับอุดมศึกษาไทยให้มีบทบาทสูงในประชาคมอุดมศึกษาอาเซียนโดยเฉพาะด้าน Higher Education Manpower Mobilization
กลยุทธ์ 1.8 สร้างระบบและกลไกเพื่อรองรับความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งกับหน่วยงาน ภาคการผลิตในด้านการเรียนการสอนและการวิจัย
กลยุทธ์ 1.9 พัฒนาโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาอาจารย์ให้เป็นมืออาชีพ และพัฒนาผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพให้เป็นอาจารย์
กลยุทธ์ 2.1 เพิ่มปริมาณอาจารย์ให้ตรงตามความต้องการในการผลิตบัณฑิต
กลยุทธ์ 2.2 พัฒนาอาจารย์ให้เป็นมืออาชีพอย่างเป็นระบบ
กลยุทธ์ 2.3 พัฒนาคุณภาพอาจารย์ให้มีความแข็งแกร่งในการทำวิจัย
กลยุทธ์ 2.4 ปฏิรูประบบค่าตอบแทนอาจารย์
กลยุทธ์ 2.5 พัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยกระดับคุณภาพบัณฑิตอย่างก้าวกระโดด
กลยุทธ์ 3.1 พัฒนาระบบการเข้าศึกษา การเรียนรู้ และการสำเร็จการศึกษาที่ยืดหยุ่น หลากหลายตอบสนองในทุกกลุ่มวัย
กลยุทธ์ 3.2 ยกระดับคุณภาพของหลักสูตร ให้ได้รับการรับรองในระดับอาเซียนและระดับโลก
กลยุทธ์ 3.3 สร้างระบบและกลไก เพื่อจัดสอบใบรับรองคุณวุฒิเฉพาะสาขาแห่งชาติของทุกหลักสูตร
กลยุทธ์ 3.4 ปรับปรุงระบบติดตาม และประเมินบัณฑิตรวมทั้งพัฒนาบัณฑิตหลังเข้าสู่ตลาดงาน

ยุทธศาสตร์ที่ 4 ปฎิรูปการบริหารการเงินอุดมศึกษา เพื่อขับเคลื่อนสถาบันอุดมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ
กลยุทธ์ 4.1 วิเคราะห์ต้นทุนค่าใช้จ่ายต่อหน่วยคุณภาพ
กลยุทธ์ 4.2 จัดทำแผนกลยุทธ์การเงินให้สอดคล้องกับเป้าหมายของสถาบันอุดมศึกษา และแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559)
กลยุทธ์ 4.3 จัดสรรทุนการศึกษาเพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาโดยคำนึงถึงความต้องการกำลังคนของประเทศ
กลยุทธ์ 4.4 กำกับ ติดตามประเมินผลการใช้งบประมาณอย่างเหมาะสม (utilization management) ตามพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษา

http://www.thaiall.com/swot/planhedu11.htm

http://www.mua.go.th/~bpp/developplan/download/higher_edu_plan/PlanHEdu11_2555-2559.pdf

อุดมศึกษากับการพัฒนาประเทศไทย ที่เชียงใหม่

นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย (70 ปี)
นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย (70 ปี)

23 มี.ค.55 ไปร่วมงานประชุมสัมมนา “อุดมศึกษากับการพัฒนาประเทศไทย
ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ เชียงใหม่ แกรนด์วิว โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จ.เชียงใหม่
โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย กล่าวเปิดงาน และบรรยายหัวข้อ บทบาทสถาบันอุดมศึกษากับการพัฒนาชาติ
แล้วท่านฝากให้ระวังปีศาจ 2 ตัวคือ 1. วัตถุนิยม 2. บริโภคนิยม
แล้ว ศาสตราจารย์ ดร.พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บรรยายพิเศษเรื่อง เป้าหมายของการศึกษาคือการสร้างอุปนิสัย
แล้ว อาจารย์จุฑารัตน์ บวรสิน โรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ บรรยายพิเศษเรื่อง เทคนิคการสอนสอดแทรกเพื่อพัฒนาบัณฑิตที่พึงประสงค์

ช่วงบ่ายก็แยกกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มแรก : เทคนิควิธีการจัดการเรียนการสอนในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
ดำเนินรายการโดย อาจารย์ นายแพทย์ ศิวัฒม์ ภู่ริยะพันธ์
กลุ่มสอง : กลยุทธ์การจัดกระบวนการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมความสำคัญของทุกหลักสูตร
ดำเนินรายการโดย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ รณภพ เอื้อพันธเศรษฐ

กลุ่มที่สองมีอาจารย์นำเสนอ 3 ท่านคือ
1. อ.อุบล พิรุณสาร ภาควิชากายภาพบำกัด คณะเทคนิคการแพทย์ ม.เชียงใหม่
เล่าถึงโครงการ ส่งเสริมเมล็ดพันธุ์แห่งความดี และการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีของนักศึกษากายภาพบำบัดเชียงใหม่
2. ผศ.อัศวินีย์ หวานจริง คณะวิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่
เล่าถึงกระบวนวิชา การเรียนรู้ผ่านกิจกรรม
3. ดร.วิติยา ปิดตังนาโพธิ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.นเรศวร
เล่าเรื่อง กลยุทธ์การจัดกระบวนการเรียนรู้ ผ่าน 5 รูปแบบกิจกรรม 5 กรณีศึกษา
1) play 2) Post it together 3) Role Plays 4) Community classroom 5) Fieldwork study

แล้วกลับมารวมกันที่ห้องรวม ฟังผลงานวิจัย 4 เรื่อง

1. ผศ.ดร.วีระพันธ์ รังสีวิจิตรประภา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลงานเรื่อง บทบาทของการศึกษาทั่วไปในการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. ผศ.กิตติภูมิ มีประดิษฐ์ ม.ศรีปทุม
ผลงานเรื่อง การบูรณาการแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงผ่านรายวิชาศึกษาทั่วไป
กรณีศึกษารายวิชา “เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”
3. อ.อาพัทธ์ เตียวตระกูล ม.นเรศวร
ผลของการใช้การจัดการเรียนการสอนแนวจิตตปัญญาศึกษา ในรายวิชา 001161 บาสเกตบอล ที่มีผลสัมฤทธิ์ในเชิงจิตตปัญญา
4. ผศ.ดร.อัญชลี วงศ์หล้า อ.เมทินี ทนงกิจ ม.นอร์ท-เชียงใหม่
ผลงานเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนวิชาการศึกษาในระดับอุดมศึกษา กับ อัตราการออกกลางคันของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
http://www.eqd.cmu.ac.th/HETDSeminar/default.asp
http://www.facebook.com/media/set/?set=a.10150678325012272.411159.350024507271

บิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย

king of higher education
king of higher education

รศ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีหนังสือ ศธ 0575/ว1528 ถึงสถาบันอุดมศึกษาไทยทุกแห่ง เรื่อง “ขอความอนุเคราะห์ประชาสัมพันธ์การเข้าใช้งานหน้าจอเว็บไซต์ ก่อนเข้าสู่หน้าจอปกติในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย เนื่องในวโรกาสการเฉลิมฉลองครบรอบ 120 ปี แห่งวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชนก” เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระสมัญญาแด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชนก ว่า “บิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย” โดยขึ้นมาก่อนหน้าจอปกติตั้งแต่ 1 – 31 มกราคม 2555 ซึ่งมีหลายมหาวิทยาลัยให้ความร่วมมือแล้ว อาทิ nation-u.com ku.ac.th ru.ac.th