การตรวจเยี่ยม (Peer visit) คืออะไร

peer visit
peer visit

การตรวจเยี่ยม (Peer visit) หมายถึง การที่มหาวิทยาลัยจัดให้มีกรรมการขึ้นชุดหนึ่ง ทำหน้าที่เหมือนคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษา เพื่อเข้าตรวจเยี่ยมก่อนถูกประเมินจริงระยะหนึ่ง และผู้ตรวจเยี่ยมจะพิจารณาร่างรายงานการประเมินตนเองของคณะวิชา รวมถึงการเรียกเอกสารเพิ่มเติม ตรวจสถานที่จริง หรือเรียกสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ข้อเสนอแนะได้ตรงกับสภาพจริง เมื่อคณะวิชาทราบผลการตรวจเยี่ยมก็จะนำข้อมูลไปพิจารณาปรับปรุงร่วมกันในคณะ แล้วจัดทำรายงานการประเมินตนเองที่สมบูรณ์ขึ้นมาใหม่ และเสนอต่อคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาที่จะมาพิจารณารายงานอย่างเป็นทางการ

โดยจำแนกข้อเสนอแนะของผู้ตรวจเยี่ยมได้เป็น 4 หัวข้อใหญ่ ดังนี้
1. ข้อค้นพบศูนย์ฯ/คณะฯ
2. จุดเด่น และข้อเสนอแนะทิศทางการพัฒนา
3. จุดควรพัฒนา และ ปัจจัยที่เอื้อให้เกิดจุดควรพัฒนา และ สาเหตุมาจาก และ ข้อมูลสนับสนุน และ ข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไข
4. วิธีการปฏิบัติที่ดี/นวัตกรรม

+ http://www.thaiall.com/blog/burin/5422/
+ http://www.scribd.com/doc/143112144/

ข้อเสนอแนะการเขียนรายงานการประเมินคุณภาพ

ข้อเสนอแนะการเขียนรายงานการประเมินคุณภาพ
ข้อเสนอแนะการเขียนรายงานการประเมินคุณภาพ

การประเมินว่าสถานศึกษามีคุณภาพหรือไม่ จะมีคนภายนอกเข้าไปมอง หากมองแล้วพบว่าผลการดำเนินงานไม่ตอบเกณฑ์ที่ส่วนกลางตั้งขึ้น ก็จะมองว่า มีจุดแข็ง/จุดอ่อนอะไร ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วสาเหตุที่ทำให้เกิดสิ่งเหล่านั้น แล้วปิดด้วยข้อเสนอแนะทิศทางการพัฒนา ซึ่งมีเอกสารตัวอย่างแนวทางการให้ข้อเสนอแนะการเขียนรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษา

ประกอบด้วย 1) ผลการประเมินทุกระดับคุณภาพ ต้องให้ข้อเสนอแนะ 2) การให้ข้อเสนอแนะกำหนดให้ระบุไว้ใน 2 แห่ง คือตัวบ่งชี้ และแต่ละมาตรฐานทั้ง 4 มาตรฐาน 3) รูปแบบการเขียนข้อเสนอแนะ ในรูป swot ที่มีเพียงจุดแข็งและจุดอ่อน
ที่ http://www.scribd.com/doc/143112144/

ประเมินคุณภาพการศึกษารอบสาม ประจำปี 2554

เพลง สอบตก ของ ดิอินโนเซ็นท์

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
เผยผลประเมินภายนอกสถานศึกษาในรอบ 3 ประจำปี 2554
พบสถานศึกษาไม่ผ่านการประเมินจำนวนมาก เตรียมสรุปผล หาจุดอ่อน-แข็งการศึกษาไทย

28 มิ.ย.2555 ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์
ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)

เปิดเผยว่า หลังจากที่ สมศ.
ได้จัดทำการประเมินภายนอกสถานศึกษาในรอบ 3 ประจำปี 2554
ขณะนี้ได้ทำการสรุปรวมผลการประเมินเบื้องต้นแล้ว พบว่า

ผลการประเมินสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1. รับการประเมินจำนวน 7,985 แห่ง
2. ได้รับการรับรองจาก สมศ. จำนวน 5,690 แห่ง
3. ไม่ผ่านการรับรอง จำนวน 2,295 แห่ง

ผลการประเมินสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา
1. เข้ารับการประเมินทั้งหมด จำนวน 179 แห่ง
2. ผ่านการรับรอง จำนวน 106 แห่ง
3. รับรองแบบมีเงื่อนไขอีก จำนวน 53 แห่ง
4. ไม่ผ่านการรับรอง จำนวน 20 แห่ง

ผลการประเมินสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษา
1. เข้ารับการประเมินจำนวนทั้งหมด 72 แห่ง
2. เสนอกรรมการพิจารณาแล้ว จำนวน 47 แห่ง
3. ผ่านการรับรอง จำนวน 45 แห่ง
4. รับรองแบบมีเงื่อนไขอีก จำนวน 2 แห่ง
ได้แก่ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ และวิทยาลัยลุ่มน้ำปิง
ระดับดีมากคือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ระดับดีมากที่สุดของกลุ่มราชภัฎคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

http://www.manager.co.th/QOL/viewnews.aspx?NewsID=9550000085777
http://edunews.eduzones.com/socialdome/94390
http://www.thairath.co.th/content/edu/271862
http://www.cheqa.mua.go.th/

ติดตั้ง Cheqa3 ทับ Cheqa2

cheqa version 3
cheqa version 3

15 มิ.ย.54 ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาทุกแห่งต้องใช้งานเว็บไซต์ CHEQA เพื่อส่งข้อมูลการประกันคุณภาพการศึกษา ให้กับ สกอ. และระบบ Cheqa ที่พัฒนาขึ้นโดยมหาวิทยาลัยนเรศวร ในปีการศึกษา 2550 – 2552 มีระบบ Cheqa รุ่น 2 ที่เปิดให้มหาวิทยาลัย Download ไปติดตั้ง และใช้งานในมหาวิทยาลัย เพื่อความง่ายในการบริหารจัดการ
ในปีการศึกษา 2553 มี Cheqa รุ่น 3 ที่ต้องนำมาใช้งานตามเกณฑ์ที่ออกมาใหม่ ในกรณีนี้ผมใช้วิธีการติดตั้งทับลงไปใน Cheqa รุ่น 2 เพราะไม่มีข้อมูลเดิมอยู่ โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1) ติดตั้ง .net 4.0 2) กู้คืนฐานข้อมูล Database เข้า SQL Server 3) ติดตั้ง Script ลงไปใน Web Server
เมื่อติดตั้งเสร็จก็ทดสอบ พบปัญหาดังนี้ 1) Error เพราะ Default Server ไม่ได้เปลี่ยนจาก .net จาก 2.0 เป็น 4.0 2) not found เพราะไม่ได้ start web service : .net 4.0 ใน IIS 3) การลงทะเบียนกับ mua.go.th เพื่อรับ web.config กำหนด DB เป็น .\sqlexpress เพื่อให้ทำงานกับ local server
http://www.cheqa.mua.go.th

การสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้

ดร.วิยดา เหล่มตระกูล
ดร.วิยดา เหล่มตระกูล

14 มิ.ย.54 เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา มี อ.ดร.วิยดา เหล่มตระกูล และ อ.พงษ์วัชร ฟองกันทา เป็นวิทยากร มีเนื้อหาในการอบรม 4 เรื่อง ได้แก่
1) หลักการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
2) การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3) การสร้างเครื่องมือวัดด้านคุณลักษณะ
4) การสร้างเครื่องมือวัดภาคปฏิบัติ
สอดรับกับ มคอ : กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education, TQF:HEd)

องค์ประกอบของผลการเรียนรู้ตามแนวคิดและทฤษฎีของบลูม (Benjamin S. Bloom, 1956 อ้างอิงถึงใน ศิริชัย กาญจนวาสี, 2540) มีดังนี้
1) ด้านพุทธพิสัย (Cognitive Domain) เป็นการเรียนรู้ด้านความรู้ความเข้าใจและความคิด เป็นความสามารถทางสถิปัญญา ซึ่งมี 6 ระดับ ดังนี้ (1) ความรู้ความจำ (Knowledge) (2) ความเข้าใจ (Comprehension) (3) การนำไปใช้ (Application) (4) การวิเคราะห์ (Analysis) (5) การสังเคราะห์ (Syntehsis) (6) การประเมินผล (Evaluation)
2) ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) เป็นการเรียนรู้ด้านอารมณ์ ความรู้สึก ซึ่งมี 5 ระดับ ดังนี้ (1) การรับรู้หรือการใส่ใจต่อสิ่งเร้า (Receiving or Attending) (2) การตอบสนอง (Responding) (3) การเห็นคุณค่า (Valuing) (4) การจัดระบบค่านิยม (Organization) (5) การแสดงลักษณะตามค่านิยม (Characterization)
3) ด้านทักษะพิสัย  (Psychomotor domain/skill domain) เป็นการเรียนรู้ด้านความชำนาญ หรือทักษะในการปฏิบัติ ซึ่งมี 7 ระดับ ดังนี้ (1) การรับรู้ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ (Perception) (2) ความพร้อมที่จะปฏิบัติ (Set) (3) การปฏิบัติตามข้อแนะนำ (Guided Response) (4) การปฏิบัติจนเป็นนิสัย (Mechanism) (5) การปฏิบัติที่สลับซับซ้อน (Complex overt response) (6) การปรับเปลี่ยนการปฏิบัติ (Adaption) (7) การสร้างปฏิบัติการใหม่ (Origination)

มีโอกาสฝึกปฏิบัติสร้างเครื่องมือวัด แบ่งเป็น 3 ด้าน
1) ด้านพุทธพิสัย มีประเด็นวัดผล 6 ด้านคือ (1) ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด (2) ความเข้าใจ (Comprehend) (3) การประยุกต์ (Application) (4) การวิเคราะห์ ( Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้ (5) การสังเคราะห์ ( Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่ (6) การประเมินค่า ( Evaluation)
2) ด้านจิตพิสัย จะมีองค์ประกอบที่ใช้วัด 3 ส่วนคือ เป้าหมาย (Target) ทิศทาง (Direction) และความเข้มข้น (Intensity)
3) ด้านทักษะพิสัย จะมีจุดประสงค์ปลายทางได้ 3 แบบ คือ การปฏิบัติ (performance) กระบวนการ (process) ผลผลิต (product) และวัดได้ 2 แบบคือวัดภาพรวม และวัดองค์ประกอบ
หมายเหตุ. มีบทเรียนที่ได้จากการอบรมมากมาย แต่ขอสรุปสั้น ๆ ไว้เพียงเท่านี้ครับ

ความสำคัญของระบบอีดอคคิวเมนท์

5 มี.ค.54 ความสำคัญของระบบอีดอคคิวเมนท์ที่มีต่อการประกันคุณภาพ สนับสนุนการสื่อสารแลกเปลี่ยน ใช้ปฏิบัติงาน และติดตามผลงานของบุคลากร หน่วยงาน คณะวิชา และมหาวิทยาลัย โดยสอดรับกับเกณฑ์คุณภาพการศึกษาภายใน ดังนี้
1. เกณฑ์ที่ 7.3.2 มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจตามพันธกิจของสถาบัน โดยอย่างน้อยต้องครอบคลุมการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริหารจัดการ และการเงิน และสามารถนำไปใช้ในการดำเนินงานประกันคุณภาพ
– ผู้บริหารมอบหมายหน่วยงานฯ พัฒนาระบบและส่งสารสนเทศเข้าสู่ระบบ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ
– ระบบอีดอคคิวเมนท์เป็นเครื่องมือส่งสารสนเทศจากแต่ละบุคคล และเชื่อมโยงกับพันธกิจด้านต่าง ๆ

2. เกณฑ์ที่ 9.1.6 มีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในครบทั้ง 9 องค์ประกอบคุณภาพ
– ระบบอีดอคคิวเมน์เปิดให้กำหนดเอกสารที่ต้องการถูกอ้างอิง เข้าระบบต่าง ๆ
– เจ้าของเอกสารพิจารณาเลือกเชื่อมโยงหลักฐานเข้ากับองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง
– งานประกันฯ คณะวิชา และมหาวิทยาลัย พิจารณาเอกสารไปจัดทำรายงานปลายปี

3. เกณฑ์ที่ 2.4.4 มีระบบการติดตามให้คณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนนำความรู้และทักษะที่ได้จากการพัฒนาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และการวัดผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ตลอดจนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง
– การแบ่งปันไฟล์ให้นักศึกษาเข้าถึงแฟ้มประกอบการสอน หรือส่งงาน
– การส่งหลักฐานเข้าตามภาระงาน และเชื่อมโยงเข้ากับรายงานการปฏิบัติงาน
– การส่งหลักฐานถูกใช้โดยผู้บังคับบัญชาในการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

4. เกณฑ์ที่ 7.3.3 มีการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ
– เริ่มจากการใช้งานระบบอินทราเน็ตที่เชื่อมโยงกับระบบอีดอคคิวเมนท์
– มีการดำเนินการโดยคณะกรรมการเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ

ใช้ ppt นำเสนอผลการเปรียบเทียบ

job evaluation
job evaluation

1 มี.ค.54 ภาพนี้ทำขึ้นมาด้วย Powerpoint ว่าจะใช้เป็นตัวอย่างให้นักศึกษาเห็นการประยุกต์ใช้ Powerpoint นำเสนอแทนตัวอักษร เพราะแผนภาพจะทำให้เข้าใจได้ง่าย และรวดเร็ว .. ดังโบราณว่าไว้ 10 ปากว่าไม่เท่าหนึ่งตาเห็น และสิบตาเห็นไม่เท่าหนึ่งมือคลำ และสิบมือคลำไม่เท่าพบสัจธรรมด้วยหนึ่งใจ
http://www.thaiall.com/office
ผมเพิ่มคุณธรรม เพราะเห็นเอกสารข้างล่างนี้ครับ
http://www.edupolice.org/edu_P/indicate/criterion/doc/3.1.21%283%29.pdf

ความหมายของระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศ หมายถึง …
ระบบที่ทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลเข้ามาทำการประมวลผล
รวมทั้งการวิเคราะห์เพื่อจัดทำเป็นสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ
และนำส่งไปยังผู้ที่มีสิทธิได้รับสารสนเทศ
เพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน การบริหาร หรือการตัดสินใจ
โดยมีคอมพิวเตอร์ รวมทั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ
เป็นเครื่องมือสนับสนุนการทำงานของระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศในองค์การมีหลายประเภทในแต่ละประเภทมีได้หลายระบบ
ทั้งนี้ เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์เฉพาะด้านในการทำงานที่แตกต่างกันออกไป
จากคู่มือประกันคุณภาพ พ.ย.53 หน้า 36

ดังนั้น ระบบสารสนเทศระบบหนึ่ง คือ ระบบสารสนเทศด้านประกันคุณภาพ
ทำหน้าที่รวบรวมสารสนเทศที่ผ่านระบบชี้เฉพาะบุคคล
เชื่อมโยงกับเอกสาร สารสนเทศ รายงาน และข้อมูลจากแต่ละคน
แล้วนำมาประมวลผลด้วยการจัดกลุ่ม จัดเรียง และ
แยกนำเสนอแบบต่าง ๆ ตามเกณฑ์มาตรฐาน ตามสิทธิ์การเข้าถึงสารสนเทศระดับบุคคล
เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาวางแผนการดำเนินงาน ประเมินบุคคล และประเมินตนเอง
โดยมีระบบอินทราเน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญในการสนับสนุน

ซึ่งระบบสารสนเทศ ยังมีอีกหลายระบบ ที่เปิดใช้งาน
อาทิ ด้านยอดรับสมัครนักศึกษา ด้านการเรียนการสอน
ด้านการวิจัย ด้านบริหารจัดการ และด้านการเงิน

ผลประเมินโครงการวิพากษ์ระบบฐานข้อมูล

26 ต.ค.52 โครงการนี้มีตัวบ่งชี้ 2 ตัว คือ จำนวนคน กับ ความพึงพอใจ พบว่าผลประเมินความพึงพอใจตกครับ อันที่จริงมีประเด็นให้วิเคราะห์กันต่อได้ และมีวิธีปรับแบบสอบถามที่สมเหตุสมผลกว่านี้ได้ แต่ตั้งตัวบ่งชี้ไว้ 3.5 ของภาพรวม แล้วผลได้เพียง 3.04 ส่วนจำนวนคนไม่มีปัญหา เพราะตั้งไว้ 30 คนแต่เข้ามา 40 กว่าครับ โดยสรุปคือตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ มี 2 ข้อ ได้แก่ 1)มีผู้เข้าร่วมอบรมอย่างน้อย 80% ของเป้าหมาย 2) ความพึงพอใจโดยรวมไม่ต่ำกว่า 3.5 จากคะแนน 5 ระดับ ซึ่งโครงการบรรลุตามตัวบ่งชี้ของโครงการเพียง 1 ตัวบ่งชี้
     ประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม พบว่า ห้องอบรมมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง (X=2.64, S.D=0.93) วิทยากร มีความพึงพอใจในระดับมาก (X= 3.2, S.D= 0.63) หัวข้อที่บรรยาย มีความพึงพอใจในระดับมาก (X= 3, S.D= 0.69) ช่วงเวลาในการจัดกิจกรรม มีความพึงพอใจในระดับมาก(X= 3.08, S.D= 0.79) สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ มีความพึงพอใจในระดับมาก (X= 3.2, S.D= 0.8) ภาพรวมของโครงการ มีความพึงพอใจในระดับมาก (X= 3.04, S.D= 0.66)
     ส่วนประเมินความเข้าใจ พบว่า ความเข้าใจหลังวิพากษ์สูงกว่าก่อนเข้าโครงการมีร้อยละ 64 มีความเข้าใจเท่าเดิมร้อยละ 32 และมีความเข้าใจลดลงร้อยละ 4