ประสิทธิผลของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

it efficiently research
it efficiently research

พบเอกสารการทบทวนวรรณกรรม โครงการวิจัย “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ” เขียนได้ดีมีประโยชน์มากครับ เป็นกรณีศึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และมี diagram แสดงตัวแปรต้น กับตัวแปรตามได้ชัดเจน มีเนื้อหา 7 หน้า
อ้างอิง : อนุทิน  จิตตะสิริ.2541  ประสิทธิฟลของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาระบบงานบริหารเอกสาร: ศึกษาเฉพาะกรณีสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.  กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง
http://www.thaiall.com/research/it/research_it_efficiently.doc

ระดับของทักษะในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

http://61.19.244.9/personel/form/framru_taksa/Pakpanouk.doc

บทเรียนที่ร่วมวิจัยเครือข่ายมหาวิทยาลัยลำปาง

นิคมพัฒนา
นิคมพัฒนา

9 มิ.ย.54 บทเรียนจากการร่วม “โครงการวิจัย แนวทางการทำงานของเครือข่ายสถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปางเพื่อสร้างการเรียนรู้และเสริมศักยภาพชุมชนพื้นที่ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดลำปา“จากการร่วมโครงการระยะที่ 1 ระหว่าง 1 มกราคม 2554 – 31 พฤษภาคม 2554 จำแนกได้ 2 ประเด็นหลัก
ประเด็นหลักที่ 1 ความรู้ คือ
1. การได้รู้เทคนิค และฝึกฝนการวิเคราะห์ชุมชนผ่านการใช้ SWOT ที่เปรียบเทียบกับการใช้อริยสัจสี่ เพราะทั้งสองแบบสามารถใช้งานได้กับชุมชน โดย SWOT นั้นถูกใช้รวบรวมข้อมูลตามประเด็นหลัก 3 ครั้งได้แก่ การศึกษา เกษตร อาชีพ และอริยสัจสี่ใช้กับสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
2. การได้ฝึกเขียนแผนที่ความคิด (MindMap) และเรียนรู้การเขียนจากคุณภัทรา มาน้อย ผ่านการลงมือปฏิบัติ เปรียบเทียบการเขียน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมทั้งการใช้เป็นเครื่องมือเก็บประเด็นเป้าหมาย และการนำเสนอผลการวิเคราะห์ชุมชนรายกลุ่ม
3. การได้แลกเปลี่ยนเทคนิคการวางแผน การจับประเด็น การคิด การพูด การฟัง ร่วมกับเพื่อนนักวิชาการในสาขาวิชาต่าง ๆ ได้มีโอกาสฟังข้อเสนอแนะของ นักคิดนักบริหารระดับประเทศ คือ ศ.ดร.ปิยวัฒน์ บุญหลง และ ดร.บัญชร แก้วส่อง ต่อโครงการของทีมงาน

ประเด็นหลักที่ 2 ความสุข คือ
1. การได้เห็นรอยยิ้มจากความสุขผู้คนในชุมชน ที่ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มที่มีความเข้าใจ มีฐานคิดคล้ายกัน ได้ระบายปัญหา จุดแข็ง และเป้าหมายที่ต้องการบรรลุ และได้ออกมานำเสนอด้วยตนเอง
2. การได้ใช้เวลาว่างในวันสุดสัปดาห์ทำงานกับชุมชน เพราะการทำงานในกรอบ ใต้กฎเกณฑ์รัดตัว ผู้คนที่มุ่งแต่แข่งขัน ในป่าคอนกรีต ย่อมมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างจากการทำงานกับชาวบ้าน ในพื้นที่ที่แวดล้อมด้วยป่าเขา ลำธาร และบรรยากาศบริสุทธิ์ เป็นสิ่งที่ผู้คนมากมายใฝ่ฝัน แต่มีเพียงไม่กี่คนที่ไปถึงฝั่งฝัน
3. การทำตัวเป็นประโยชน์แก่ชุมชน เพราะการให้ความรู้เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาที่มุ่งเข้าศึกษาในสถาบันนั้นมีกรอบอยู่แต่ในมหาวิทยาลัย แต่การออกให้บริการวิชาการเชิงประยุกต์นั้น มีเรื่องคาดไม่ถึงให้ประหลาดใจอยู่เสมอ  เพราะนอกจากจะเป็นผู้ให้ความรู้แก่ชุมชนแล้ว ก็ยังเป็นผู้รับความรู้ไปพร้อมกัน พร้อมกับการแก้ปัญหาไปตามสถานการณ์เฉพาะหน้า
4. การได้เพื่อนใหม่ต่างวัยต่างสมณะที่มาจากห้าสถาบันการศึกษาหลัก รวมกลุ่มเป็นเครือข่ายมหาวิทยาลัยลำปาง แล้วร่วมกันทำงานวิจัยและบริการวิชาการเพื่อชุมชน เป็นโอกาสที่อาจมีเพียงครั้งเดียวในชีวิต เพราะเพื่อนจากแต่ละสถาบันมีความเป็นกัลยาณมิตรที่หาได้ยากยิ่ง ในทีมทั้ง 29 คนมีเป้าหมายเดียวกันคือ ทำเพื่อชุมชน และมุ่งประโยชน์ของชุมชนเป็นที่ตั้ง

โครงการร่ม บูรณาการสถาบัน

umbrella research
umbrella research

แผนภาพแสดง ความสัมพันธ์ของประเด็นในโครงการวิจัยร่มใหญ่ที่บูรณาการความชำนาญจากแต่ละสถาบัน ที่ได้ประเด็นจากชุมชนที่ผ่านการวิเคราะห์ชุมชนอย่างมีส่วนร่วม เป็นการยกร่างภาพที่มองเห็นจากกระดาษในเวทีแรก แล้วแปลงเป็น PPT เพื่อนำเสนอในเวทีที่สอง ต่อกรรมการผู้พิจารณาให้ทุน และติดตามผล
http://www.thaiall.com/research/nikompattana/nation_mcu_umbrella.ppt

กลุ่มเฉพาะที่นิคมใหม่พัฒนากับประเด็นการศึกษา

แผนที่ความคิด
แผนที่ความคิด

19ก.พ.54 จัดกลุ่มเฉพาะ (focus group) ที่ศาลาอเนกประสงค์ อบต.นิคมใหม่พัฒนา ลำปาง เป็นกิจกรรมที่ 3 ตามรายละเอียดในโครงการ แนวทางการทำงานร่วมกันของเครือข่ายสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยลำปาง เพื่อเรียนรู้และเสริมศักยภาพชุมชน ครั้งนี้หารือประเด็นการศึกษา เปิดให้คนในชุมชนได้กำหนดเป้าหมาย และวิเคราะห์ swot ข้อสรุปตามที่คาดหวังคือแนวทางการแก้ไข หรือชื่อกิจกรรมที่เสนอโดยคนในชุมชน แต่สรุปกันช่วงบ่ายว่าต้องพิจารณาร่วมกับประเด็นที่จะเก็บจากเวทีต่อไปอีกหลายครั้ง จึงจะจัดทำโครงการที่เป็นร่มใหญ่ สำหรับยุทธศาสตร์การศึกษา และมีประเด็นที่เกี่ยวข้องในร่มนี้ ทั้ง การศึกษา เกษตร อาชีพ และสุขภาพ ซึ่งทุกมหาวิทยาลัยต้องร่วมกันทำงานกันต่อไปอย่างใกล้ชิด .. ผู้ช่วยนักวิจัยของโครงการสรุปว่ามี 2 ท่านคือ น้องดุล และน้องปาล์ม
+ http://www.thaiall.com/freemind/
+ http://www.facebook.com/album.php?aid=252644&id=814248894

ตรวจสอบความเที่ยงตรง (Validity) ของงานวิจัย

validity step
validity step

4 ก.พ.54 สรุปย่อเกี่ยวกับความเที่ยงตรง (validity) จากการฟัง อ.ทันฉลอง รุ่งวิทู บรรยายเรื่อง งานวิจัย โดยนำเสนอผ่านกรณีศึกษาที่เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม
1. face Validity ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านประเด็น construct ด้วยการพบหน้าโดยตรง
2. convergent validity ตรวจว่าประเด็นคำถามใช้กับกลุ่มคำถามกลุ่มนั้น เพราะแบบสอบถามมีหลายกลุ่มคำถาม ไม่ใช่ถามนอกกลุ่ม หรือนอกเรื่อง
3. discriminant validity ตรวจว่าประเด็นคำถามถูกใช้นอกกลุ่มคำถามไม่ได้ ถ้าย้ายกลุ่มได้ หรือใช้มากกว่าหนึ่งกลุ่ม แสดงว่าเป็นคำถามที่ไม่ดี
4. content validity ตรวจว่ามีวรรณกรรมอ้างอิง อธิบายประเด็นรายละเอียดที่จะนำมาใช้ในแบบสอบถามอย่างชัดเจน
5. construct validity
ตรวจว่ามีวรรณกรรมอ้างอิง อธิบายประเด็นในวัตถุประสงค์ครบถ้วน
6. internal validity ตรวจว่ามีวรรณกรรมอ้างอิง อธิบายการเชื่อมโยงระหว่างประเด็น หรือความสัมพันธ์ที่ชัดเจน เช่น วัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษาความสัมพันธ์ ก็ต้องมีวรรณกรรมที่กล่าวถึงความสัมพันธ์นั้นอย่างชัดเจน
7. external validity ตรวจว่าสามารถใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างเฉพาะกลุ่ม นอกกลุ่ม หรือทั่วไป แล้วผลไม่เปลี่ยนแปลง เช่น ถามพฤติกรรมรักในวัยเรียนของนักเรียนในโรงเรียนกวดวิชากรุงเทพ ย่อมต่างกับนักเรียนในชนบท ถ้าใช้กลุ่มอื่นได้แสดงว่ามีความเชื่อมั่นแบบนี้

http://changingminds.org/explanations/research/design/types_validity.htm
http://linguistics.byu.edu/faculty/henrichsenl/researchmethods/RM_2_18.html
http://www.activecampaign.com/blog/validity-in-research-design/
http://www.socialresearchmethods.net/kb/introval.php

การเขียนรายงานการวิจัยขั้นเหนือมนุษย์

การเขียนรายงานการวิจัย
การเขียนรายงานการวิจัย

4 ก.พ.54 วันนี้เสียเวลาไป 2 ชม. หาเอกสารวิจัยจาก google.com ของคุณอรุณ ทำส่งสถาบันหนึ่ง ที่ อ.ทันฉลอง ใช้เป็น case ประกอบการสอนเกี่ยวกับเขียนรายงานการวิจัย 5 บท ซึ่งตัวอย่างรายงานนี้มีความสมบูรณ์ขั้นเหนือมาตรฐาน สรุปว่าผมก็หาไม่พบจากเน็ต .. แล้วไปดำเนินการนอกเน็ต จนสุดท้ายเจ้าหน้าที่ก็มีแฟ้มนี้ และพบคำสำคัญ คือ เอกสารวิชาการส่วนบุคคล จึงเข้าใจว่าเอกสารนี้จะสืบค้นไม่พบใน google.com เมื่อผมได้มาจึงไม่เผยแพร่ต่อ .. สรุปว่าผมประทับใจรายงานการวิจัยนี้ เพราะรู้สึกว่ามนุษย์ทั่วไปไม่น่าเขียนได้
http://www.kpi.ac.th

หนึ่งกิจกรรมตอบเกณฑ์ในตัวบ่งชี้คุณภาพการศึกษา

วิจัยในชั้นเรียน
วิจัยในชั้นเรียน

31 ม.ค.54 คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง ให้ความสำคัญกับการประกันคุณภาพการศึกษา จัดเวทีแลกเปลี่ยนเครือข่ายการวิจัยในชั้นเรียนด้านวิทยาศาสตร์ ในกิจกรรมนี้ อ.เบญ ได้รับอนุมัติให้นำทีมอาจารย์ของมหาวิทยาลัย เข้าร่วมเวทีในวันที่ 25 มีนาคม 2554 ซึ่งกิจกรรมนี้สอดคล้องกับ ตัวชี้วัดที่ 2.8 ระบบกลไกสนับสนุนให้อาจารย์ประจำทำการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน มี เกณฑ์ข้อที่ 5 คือ มีการสร้างเครือข่ายวิจัยด้านนวัตกรรมการเรียนการสอนทั้งภายในและภายนอก ซึ่งโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้มีการผลิตผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน และ/หรือ ผลงานวิจัยในชั้นเรียนโดยการจัดเวทีให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ของผู้สอนในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั้งที่มีผลงานวิจัยและยังไม่มีผลงานวิจัย ได้ทำความรู้จัก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน .. เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

งานวิจัยของเครือข่ายสถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปาง

research lampang
research lampang

สกว. และสถาบันคลังสมองของชาติ ให้ทุนอาจารย์มหาวิทยาลัยในจังหวัดลำปาง และมีอาจารย์ในลำปางหลายท่านรับทุน อาทิ อาจารย์อัศนี  ณ น่าน อาจารย์วิเชพ  ใจบุญ อาจารย์เบญจวรรณ นันทชัย และผม ร่วมเป็นนักวิจัย รับทุนรวม 3 ระยะ โดยหัวหน้าโครงการคือ ผศ.ดร.ดวงจันทร์ เดี่ยววิไล รับทุนรวม  490,250 บาท สำหรับ 1 ปี 6 เดือน หลังประชุมใหญ่ร่วมกับชุมชนครั้งแรก พบประเด็นทั้งหมด 6 ประเด็น คือ การศึกษา การเกษตร กลุ่มอาชีพ สุขภาพ เยาวชน และสิ่งแวดล้อม

ผลการประชุมทีมวิจัย และนัดหมายใน 6 เดือนแรกเบื้องต้น (เข้าชุมชนตามลำดับ 4 ประเด็นแรกข้างต้น) ดังนี้ 1) 19 ก.พ.54 2) 12 มี.ค.54 3) 8 เม.ย.54 และ 4) 23 เม.ย.54 (สำหรับวันที่ 23 เม.ย.54 มหาวิทยาลัยโยนกเป็นเจ้าภาพ กำกับการประชุมกับชุมชน ประเด็นสุขภาพ) ถ้าเข้าพื้นที่ตามแผนในแต่ละประเด็นแล้ว แต่ละกลุ่มวิชาการ หรือกลุ่มมหาวิทยาลัย สามารถเขียนข้อเสนอประมาณ 5 โครงการ เพื่อใช้ทำงานในระยะที่ 2 โครงการละ 20,000 บาท ทำให้การเข้าชุมชนตามประเด็นข้างต้น นำไปสู่การเขียนข้อเสนอโครงการ และทำงานต่อในระยะที่ 2 ร่วมกันของนักวิชาการในจังหวัดลำปาง สำหรับระยะที่สามเป็นบทบาทของคลังสมองจะมาสังเคราะห์บทเรียน

ยอดผู้เข้าร่วมประชุมจาก ทีมมทร. 2 ท่าน โยนก 2 ท่าน นศ. 10 คน กศน. 1 ท่าน มรภ. 3 และอาจารย์ที่สนใจอีก 2 ท่าน ทีมสกว.ฝ่ายท้องถิ่น และสกว.ลำปาง นอกจากนี้ยังมีทีมพื้นที่ที่เป็นตัวแทนของทั้ง 14 หมู่บ้าน ประมาณ 3-5 คน ค่ะ

หมายเหตุ
โครงการวิจัย “แนวทางการทำงานของเครือข่ายสถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปางเพื่อสร้างการเรียนรู้และเสริมศักยภาพชุมชนพื้นที่ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

มีข้อเสนอโครงการ
ที่ http://www.thaiall.com/research/lampangnet/proposal_lpnet_5401.zip

น.ศ.เรียนรู้ผ่านการวิจัย

สรุปผลการพัฒนาโจทย์
สรุปผลการพัฒนาโจทย์

9 พ.ย.53 มีคำสำคัญ 2 คำที่ผมนำเสนอใน เวทีพัฒนาโจทย์วิจัยหรือเหลาโจทย์ หลังยกร่างให้กับทีมแล้ว คือ 1) สร้างตัวคูณ และ 2) วิจัยซ้อนวิจัย โดยผู้ร่วมวิจัยเป็นทั้งผู้ถูกสร้าง และผู้สร้าง ผู้ร่วมวิจัยเป็นผู้วิจัย และทำให้นักศึกษาเป็นนักวิจัยเพื่อการเรียนรู้ ถ้าในทีมวิจัยรู้ว่างานวิจัยนี้เป็นงานของตนเอง โอกาสประสบความสำเร็จเกิดขึ้นแล้ว แต่ถ้าในทีมคิดว่างานนี้เป็นงานของใครคนใดคนหนึ่ง เป้าหมายของความสำเร็จลดลงไปแล้วครึ่งหนึ่ง .. ความยากของการทำงานคือทัศนคติ ที่จะแก้ปัญหาความยาก 4 ข้อที่ผมนำเสนอในเวทีคือ 1) กระบวนการไม่มีรูปแบบชัดเจน 2) ไม่ถูกยอมรับแพร่หลายในแวดวงวิชาการ 3) ทัศนคติทำให้เข้าใจยาก 4) โครงสร้างในสถาบันมักไม่เอื้ออย่างชัดเจน .. ปัจจุบันมีผู้ร่วมทีมแล้ว 8 คน .. เพราะข้อเสนอหนึ่งจากในวางทำให้ผมต้องใช้หลักการเป็นตัวแทน ที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการทิ้งงานของนักวิจัย ซึ่งเป็นหลักที่มีการพูดคุยกันในการวิจัยเพื่อท้องถิ่นบ่อยครั้ง การเพิ่มจำนวนจึงลดความเสี่ยงในการเสียทีมไประหว่างการทำงาน .. ขณะนี้รองหัวหน้าโครงการคือ อ.ธวัชชัย เข้าใจแล้วว่าเขาเป็นเจ้าของโครงการ และอาสาช่วยยกร่าง ส่วนเหรัญญิกผมทาบอ.อ้อมไว้แล้ว .. มีหลักสูตร และชั้นปีที่เข้ามาในชุมชนหลากหลายแล้ว เหลือที่ควรทาบทามอีก 2 – 3 คน

ผมชอบมองหาหลุมทราย และบ่อน้ำในการตีกอล์ฟ เพื่อหาทางหลบให้ไปถึงหลุม .. นี่ผมคิดอย่างคนไม่ตีกอล์ฟครับ
http://www.facebook.com/album.php?aid=252858&id=814248894

บันได 5 ขั้นของงานวิจัยท้องถิ่น

10 ต.ค.53 ได้ฟัง รศ.ดร.ชูเกียรติ  ลีสุวรรณ วิพากษ์งานวิจัย “โครงการการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตน้ำดื่ม ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน ต.บ้านสา อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง” โดยมี อ.แมว กับ อ.แหม่ม เป็นแกนนำของผู้นำเสนอ โดยเกณฑ์ที่ใช้ในการวิพากษ์ท่านใช้ บันได 5 ขั้นของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ซึ่งผมจับประเด็นได้ดังนี้ 1) เป็นความรู้เกี่ยวกับท้องถิ่น 2) ความรู้ที่ได้ย้อนกลับให้ท้องถิ่น 3) ท้องถิ่นเป็นเจ้าของ 4) ทำโดยคนในท้องถิ่น 5) ใช้กรอบความคิดของท้องถิ่นเป็นหลัก