ไทยรัฐ ทำสกู๊ปออนไลน์ได้ตรงไปตรงมา โดยเฉพาะเรื่อง โชว์เซ็กซ์

ไทยรัฐทำสกู๊ปออนไลน์ เรื่อง ถอดรหัส FB หล่อ สวย โชว์ เซ็กซ์ ทำไมฟีเวอร์
ไทยรัฐทำสกู๊ปออนไลน์ เรื่อง ถอดรหัส FB หล่อ สวย โชว์ เซ็กซ์ ทำไมฟีเวอร์

พบว่า ไทยรัฐทำสกู๊ปออนไลน์ เรื่อง ถอดรหัส FB หล่อ สวย โชว์ เซ็กซ์ ทำไมฟีเวอร์
คำว่า ฟีเวอร์ (Fever) ในที่นี้น่าจะหมายถึงชื่นชอบมาก หรือคลั่งไคล้
การเรียบเรียงสะท้อนพฤติกรรมของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี

แต่ถ้าผู้ทรงศีลมาอ่านเข้าอาจจะบอกว่าไม่จริงนะ ไม่ใช่มนุษย์ทุกคน
เพราะบางคนหลุดพ้นไปแล้ว

มีระบบแสดงความคิดเห็นว่าชอบเรื่องนี้มากกว่า 50%
ลองกดดู เห็นว่าระบบรับการคลิ๊กของผมหลาย ๆ ครั้งติดต่อกันได้
ทำให้ % เปลี่ยนทุกครั้งต่อคลิ๊ก แสดงว่าคนหนึ่งสามารถทำรัวคลิ๊กได้ด้วย

http://www.thairath.co.th/content/427293

ข้อความข้างล่างนี้จากเว็บไซต์ thairath.co.th ทั้งหมด

“เชื่อมั้ยว่าในปัจจุบันเราเปิดเข้าดูเว็บไซต์เพื่อดูภาพโป๊ ภาพอนาจารน้อยลง ดูหนังโป๊น้อยลง มีผลการวิจัยออกมาว่าการเข้าถึงของเว็บไซต์เพื่อดูรูปโป๊น้อยลง แต่จริงๆ แล้วความต้องการเหล่านั้นมันไม่ได้หายไปเลย” นั่นเป็นเพราะอะไร…” ไทยรัฐออนไลน์” จะพาไปถอดรหัสกับเรื่องราวของความฟีเวอร์ของกระแสแฟนเพจในเฟซบุ๊ก

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าโซเชียลมีเดียเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก ยิ่งในสังคมเฟซบุ๊กด้วยแล้ว ช่างยิ่งใหญ่กว้างขวางซะเหลือเกิน ถ้าถามว่าวันนึงไม่มีเฟซบุ๊กขึ้นมาจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ก็ได้คำตอบกันไปแล้วในวันที่ 28 พ.ค. ที่ผ่านมา ชาวโซเชียลทั้งหลายแทบจะชักดิ้นชักงอที่ “เฟซบุ๊ก” ในประเทศไทย ไม่สามารถใช้งานได้เป็นเวลานานถึง 40 นาที และนอกจากนี้ไม่ว่าประเทศไทยจะอยู่ในภาวะไหน สังคมเฟซบุ๊กก็จะมีอะไรมาเป็นสีสันให้ได้ฟีเวอร์กันอยู่เสมอ นั่นเป็นเพราะอะไร เราไปหาคำตอบกันเลย

เฟซบุ๊ก เซลฟ์โปรโมต…?

ธาม เชื้อสถาปนศิริ นักวิชาการด้านสื่อ วิเคราะห์ผ่านไทยรัฐออนไลน์ ถึงเหตุผลที่ทำไมเพจต่างๆ โดยเฉพาะจำพวกขายหน้าตา หนุ่มหล่อ สาวสวย เซ็กซี่ ถึงได้รับความนิยมในเฟซบุ๊ก มีคนไลค์เป็นหมื่นเป็นแสน เหตุผลของมันจริงๆ คือ ปัจจุบันได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมขึ้น เชื่อมั้ยว่าในปัจจุบันเราเปิดเข้าดูเว็บไซต์เพื่อดูภาพโป๊ อนาจารน้อยลง ดูหนังโป๊น้อยลง มีผลการวิจัยออกมาว่าการเข้าถึงของเว็บไซต์เพื่อดูรูปโป๊น้อยลง แต่จริงๆ แล้วความต้องการเหล่านั้นมันไม่ได้หายไปเลย แต่เมื่อเกิดโซเชียลมีเดียขึ้น ยกตัวอย่างให้ได้เห็นกันชัดๆ อย่างเช่นเมื่อเกิดเฟซบุ๊กขึ้น ได้ทำให้ใครๆ ก็มีช่องทางโพสต์รูป ระบายเรื่องของตัวเอง แล้วเมื่อคนเปลี่ยนจากการดูภาพลามกในเว็บไซต์ต่างๆ จึงหันมาให้ความสนใจจากคนด้วยกันเอง

ถ้าเราสังเกตคนที่มีจำนวนฟอลโลเวอร์เป็นหมื่นเป็นแสน ส่วนมากจะเป็นพวกผู้หญิงสวย น่ารักๆ และผู้ชายหล่อๆ หุ่นดี มีซิกซ์แพ็ก มันบ่งบอกถึงพฤติกรรมว่าคนเราเริ่มที่จะขายตัวเอง เรียกว่า เซลฟ์โปรโมต คือการทำยังไงให้เราเป็นที่รู้จัก วิธีการที่ง่ายที่สุดในการโปรโมตตัวเองก็คือการโพสต์รูปในลักษณะเย้ายวนทางเพศ วาบหวิว น่ารัก คิขุ อาโนเนะ เพราะว่ามันง่ายที่จำทำให้คนจะรู้จักมากขึ้น ซึ่งต้องบอกไว้เลยว่าการเสพเรื่องเพศในอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องธรรมชาติ พอเราไม่เสพรูปโป๊แบบฉบับเก่าในอินเทอร์เน็ตแล้ว เราจึงต้องมาเสพความสัมพันธ์ของบุคคลที่เราสามารถเข้าถึงได้ง่ายโดยตรง

เปลี่ยนช่องทาง…เสพเรื่องเพศ !

การเห็นรูปคนสวย คนหล่อ หน้าตาน่ารัก เซ็กซี่ วาบหวิว มันก็เป็นการสื่อสาร หรือการเสพในเรื่องเพศตามเดิม เพียงแต่มันไม่ได้อยู่ในลักษะเก่า มันแค่เปลี่ยนรูปแบบไป และรูปแบบที่มันเปลี่ยนไปคือ เราเสพหน้าตาของเขาด้วย แต่เราไม่ได้ดูแค่ภาพ เรายังได้ติดตามชีวิตส่วนตัวของคนคนนั้นด้วย และสัญชาตญาณของมนุษย์ทุกคนล้วนมีการอยากดู อยากรู้ อยากเห็นเรื่องของคนอื่น ยิ่งหน้าเพจเฟซบุ๊กคุณจะสามารถดูเรื่องราวของเขาได้ตลอดเลย ไม่ว่าจะทำอะไร เราก็สามารถเข้าถึงเขาได้ และมีสิทธิอย่างเต็มที่

ถ้าย้อนไปแต่ก่อน คุณจะทำแบบนี้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นมันยิ่งบ่งบอกว่า ในสังคมปัจจุบันมีคนแบบนี้เยอะ มีคนที่ขายตัวเองและตามคนอื่น ด้วยเหตุนี้ก็อาจจะบอกได้ว่าในปัจจุบันการเข้าถึงเรื่องเพศเป็นในลักษณะที่เป็นการติดตามซึ่งกันและกัน คนที่โพสต์ก็จะรู้สึกมีความมั่นใจมากขึ้น ว่าฉันมีคนที่แอบดูตั้งเยอะแหน่ะ ส่วนใหญ่เท่าที่เห็นก็จะเป็นจำพวกเพจผู้หญิงที่มีคนติดตามเยอะ เพราะในเชิงจิตวิทยา เรื่องเพศหญิงจะมีความรู้สึกที่พึงพอใจเมื่อได้ถูกมอง นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมผู้หญิงถึงต้องแต่งตัวสวย

ในเชิงจิตวิทยาบอกไว้ว่า ผู้หญิงจะรูุ้สึกมีคุณค่ามากขึ้นเมื่อเป็นที่หมายปองในลักษณะทางเพศ ส่วนผู้ชายมีความสุขเมื่อได้จ้องมอง นี่เป็นแนวคิดเรื่องสื่อลามก เป็นการตอบสนองเชิงจิตวิทยาในเรื่องเพศ ซึ่งไม่ใช่เรื่องลามกสัปดนอะไร เพราะว่ามันเป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ตั้งแต่แรกอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นจึงกลายเป็นตอนนี้ บุคคลที่เป็นคนธรรมดาก็สามารถมีเสน่ห์ดึงดูดและมีคนที่ติดตามเราได้ง่ายขึ้น เป็นเรียลลิตี้ขึ้น แล้วก็ลึกมากขึ้น

“เมื่อเทียบกับแต่ก่อน พวกรูปโป๊เป็นเพียงแค่การจินตนาการจากการเห็นในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ แต่ตอนนี้ไม่ใช่เพราะเราเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้นจากเฟซบุ๊ก เราสามารถเห็นได้ว่า อ๋อ! นี่รูปกินข้าว ว่ายน้ำ ไปเที่ยวทะเล เซ็กซี่ วาบหวิว ดังนั้นการจินตนาการของเราเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นเพราะว่าผู้ใช้งานเฟซบุ๊กปัจจุบันได้เผยแพร่ตัวเอง เล่าเรื่องตัวเองแถมรูปอีกด้วย มันทำให้เรารู้สึกเหมือนได้ใกล้ชิดกับคนนั้นๆ โดยที่เราไม่ต้องไปจินตนาการแบบแต่ก่อน”

วัฒนธรรม ‘เน็ตไอดอล’ จากไฮไฟว์ สู่เฟซบุ๊ก

นักวิชาการด้านสื่อ ยังบอกอีกว่า กระแสแฟนเพจสวย หล่อ จริงๆ น่าจะเกิดขึ้นประมาณปี 2008 แต่วัฒนธรรมการเป็นเน็ตไอดอลหรือเรื่องที่คนพูดถึงเรื่องตัวเองมันมีมาตั้งแต่ในยุคของไฮไฟว์ ในยุคนั้นผู้คนสนใจในเรื่องของการปรุงประดิษฐ์เว็บไซต์ของตัวเองในการแต่งรูปโปรไฟล์ แบล็กกราวน์ แต่เมื่อเกิดเฟซบุ๊ก มันมีลูกเล่นมากกว่านั้น ไฮไฟว์เป็นแค่หน้าร้าน แต่เฟซบุ๊กมันเป็นเหมือนสมุดไดอารี่ประจำตัว ที่สามารถอัพเดตเรื่องราวแบบเรียลไทม์ได้

เพราะฉะนั้นคนจึงรู้สึกว่ามันง่ายที่ฉันจะปรุงแต่ง ง่ายต่อการเชื่อมโยงกับคนอื่น และมีสถานะทางสังคม (social status) ได้ดี เพราะฉะนั้นการบูมของเรื่องนี้อาจจะบอกได้ว่าการที่เราโพสต์รูปตัวเอง เรื่องตัวเอง มีการเซลฟี่เกิดขึ้น (Selfie คือการถ่ายรูปตัวเองจากกล้องที่ติดกับกล้องถ่ายรูปมือถือ โทรศัพท์มือถือ หรือกล้องจากคอมพิวเตอร์) เพราะเราอยู่ในยุคการสื่อสารที่ทุกคนพูดเรื่องของตัวเอง (you communication) หรือยุคที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นผู้ผลิตเนื้อหาสารเอง ดังนั้นเนื้อหาสารที่เรารู้ดีที่สุดก็คือเรื่องของเรา

คนปัจจุบันจะพูดเรื่องตัวเองบนเฟซบุ๊ก เพราะว่าเขารู้สึกว่าเป็นพื้นที่ส่วนตัว แต่จริงๆ แล้วเขากำลังใช้พื้นที่ส่วนตัวบนพื้นที่สาธารณะอีกทีหนึ่ง นั่นก็เหมือนการขายตัวเองบนพื้นที่สาธารณะ และเรื่องที่ดีที่สุดที่จะขายก็คือภาพ ทำให้ทุกวันนี้ได้เกิดแฟนเพจหนุ่มหล่อ สาวสวย เซ็กซี่มากมาย

เฟซบุ๊ก ช่องทางอันตราย ขาดความมั่นใจ ขี้เหงา หลงตัวเอง

ธาม เชื้อสถาปนศิริ บอกต่อว่า นอกจากจะมีคนติดตามเราเยอะแล้ว เฟซบุ๊กก็เป็นเหมือนดาบสองคม อาจจะทำให้เกิดผลเสียกับเราได้ เพราะเราจะไม่รู้ตัวว่ามีใครมาหมายปอง ติดตามชีวิตของเรา ในแต่ละวันมีใครเข้ามาบ้าง เพราะฉะนั้นสำหรับคนที่เปิดเผยเรื่องราวชีวิตของตัวเองมากเกินไป เช่น เปิดเผยเรื่องเพศ กิจวัตรประจำวันมากเกินไป คุณอาจจะไม่รู้ตัวว่าคุณเปิดเผยช่องทางอันตรายเหมือนเป็นการเปิดประตูบ้านไว้ตลอดเวลา ยิ่งผู้คนในยุคปัจจุบันมีความกังวลใจน้อยลง เมื่อพูดถึงเรื่องข้อมูลส่วนตัว ที่อยู่ ที่ทำงาน ชีวิตส่วนตัว เพราะว่าทุกคนต้องการเปิดเผยเพื่อให้เป็นที่รู้จัก

จริงๆ มนุษย์ทุกคนต้องการเป็น somebody ในสังคม แต่คุณหารู้ไม่ว่าคุณจะต้องเสี่ยงที่จะสูญเสียตัวเองพอสมควร เพราะว่าการสร้างสถานะถูกสร้างมาจากแรงกดดัน ของคนที่อยู่ในโซเชียลมีเดีย คุณอาจจะมีคนฟอลโลว์เป็นหมื่น แต่ในความเป็นจริงแล้วคุณเป็นคนขี้เหงา ขาดความมั่นใจ และอาจจะเป็นคนหลงตัวเองมากขึ้น เพราะการเล่าเรื่องตัวเองบ่อยๆ เซลฟี่บ่อยๆ ก็จะทำให้คุณเป็นคนที่เอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลางของการสื่อสาร นำมาสู่เรื่องของภาวะซึมเศร้า โรคติดเฟซบุ๊ก เริ่มกระวนกระวายใจเมื่อไม่มีคนมากดไลค์ คอมเมนต์ หรือมีคนมาคอมเมนต์ในทางที่ไม่ดี ความคิดเห็นต่างๆ เหล่านั้นในโซเชียลมีเดียมาคิดปนกับชีวิตจริง เพราะฉะนั้นสถานการณ์ปัจจุบันอยากจะดังมากขึ้น จนต้องยอมที่จะสูญเสียอัตลักษณ์ แต่บางคนก็บอกว่าวิธีการสร้างสถานะให้สังคมยอมรับคือ ต้องสร้างสถานะทางเฟซบุ๊กให้ดีแล้วจะมีคนติดตาม บางครั้งมันก็จะนำมาสู่การสูญเสียความสัมพันธ์ และความสามารถในการที่จะปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างหรือคนในครอบครัว

บางรายมีถึงขั้นโดนหลอกลวงด้วย เนื่องจากมันง่ายมาก เพราะช่องทางในโซเชียลมีเดียเหมือนการคุยกับคนแปลกหน้า อย่าลืมว่าถ้าเราคุยกับคนในชีวิตจริง เราจะเห็นหน้า แต่ในเฟซบุ๊กทุกคนแต่งและประดิษฐ์ได้ คนส่วนมากมักจะโพสต์แต่เรื่องที่ดี ไม่มีใครบอกเรื่องแย่ๆ ของตัวเองมีอะไรบ้าง ทุกคนจะประดิษฐ์ตกแต่งชีวิตตัวเองให้มันดูสวยงาม เพราะเมื่อสวยงามก็ดูเย้ายวนให้น่าติดตาม พอน่าติดตามก็นำไปสู่การที่จะถูกล่อลวง เพราะบางคนเปิดเผยเรื่องตัวเองมากเกินไป มันเป็นช่องทาง 24 ชม. ของอาชญากรที่มุ่งจะจ้องชีวิตเราอยู่ ยิ่งเปิดเผยมากก็อันตรายมาก เพราะฉะนั้นหลายๆ ครั้งสำหรับเด็กที่มีวุฒิภาวะต่ำในการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป เพราะมันนำไปสู่อาชญากรรมทางออนไลน์ คดีที่เกิดขึ้นก็เป็นคดีที่มีแรงจูงใจทางเพศ

นักวิชาการด้านสื่อ ยังกล่าวทิ้งท้ายไว้ให้ได้คิดอีกว่า มีงานวิจัยออกมาว่า ต่อให้มีเพื่อนประมาณห้าพันคนแต่โดยเฉลี่ยแล้วเพื่อนที่คุณรู้จักจริงๆ เคยเห็นหน้าต่ำกว่า 200 คน แล้วสิ่งที่คุณต้องคิดมากขึ้น หน้าฟีดหรือไทม์ไลน์ข่าวสารของคุณ ระบบทำความสะอาดของเฟซบุ๊กมันจะคำนวณให้ว่าคุณเคยมีปฏิสัมพันธ์กับใครบ้าง โดยรวมๆ จะอยู่แค่ 20-30 คนเท่านั้น เพราะฉะนั้นเราต้องเข้าใจว่าความสัมพันธ์ของผู้คนจริงๆ ในโลกออนไลน์มันไม่ใช่ความสัมพันธ์ในชีวิตจริง มันคนละเรื่องกัน ต้องแยกให้ออก เพราะโลกออนไลน์คือโลกเสมือนจริง อีกอย่างก็คือเฟซบุ๊กทำให้ระยะห่างของความเป็นคนแปลกหน้ามันสั้นลง และที่สำคัญคือความไว้วางใจ เราก็รู้สึกที่จะวางใจเพื่อนในเฟซบุ๊กมากขึ้น มีระยะห่างของคนแปลกหน้าน้อยลงและวางใจอะไรได้ง่าย

นักวิชาการด้านสื่อได้วิเคราะห์ถึงเรื่องความฟีเวอร์ในเฟซบุ๊กไปแล้ว ต่อไป “ไทยรัฐออนไลน์” จะเจาะหาสาเหตุ ที่มาที่ไป และกระบวนการขั้นตอนของแฟนเพจพวกนี้ว่าเกิดขึ้นได้ยังไง และทำไมถึงได้ฮอตขนาดนี้!!

แฟนเพจสุดฮอต ยอดไลค์พุ่งกระฉูด !

แอดมินเพจสมาคมนิยมสาวสวยแห่งประเทศไทย (สสสท.) บอกว่า จุดเด่นของเพจนี้อย่างแรกคือชื่อ “สมาคมนิยมสาวสวยแห่งประเทศไทย (สสสท.)” อ่านง่ายจำได้ ติดตาดีด้วย ในส่วนเรื่องรูปผู้หญิงโป๊นั้น ไม่จำเป็นต้องโป๊แต่เซ็กซี่ต้องมีแน่ๆ เพจเรามีหลายแนว มีทั้งแบบ น่ารัก สวย หมวย อึ๋ม สาวมหาลัย มัธยม วัยทำงาน เราสร้างแฟนเพจนี้ขึ้นมาเพราะเห็นคนอื่นทำก็เลยอยากลองทำดูบ้าง ช่วงนั้นว่างๆ อยู่ด้วย ทำไปทำมารู้ตัวอีกทีก็ทำมาเรื่อยๆ แล้ว ยอดไลค์พุ่งกระฉูดสองล้านกว่า ตอนนั้นก็รู้สึกเกินคาดมาก ไม่คิดว่าจะถึงสองล้านเร็วขนาดนี้เท่านั้นเอง

ในส่วนของกระบวนการในการอัพรูปนั้นคือ ในสมัยก่อนจะเว้นเวลาระหว่างรูปละสิบนาทีก็อัพได้เลย แต่สมัยนี้ปรับเปลี่ยนมาเป็น สามสิบนาทีถึงหนึ่งชั่วโมงแทน เนื่องมาจากการปรับเปลี่ยนกฎของเฟซบุ๊ก และกลัวว่าสมาชิกจะเบื่อที่รูปจะเยอะเกินไปในหน้า news feed ของแต่ละบุคคล ซึ่งจะทำให้เกิดการ unlike เพจที่มากเกินไป ส่วนแอดมินมีหลายคน ระบุจำนวนแน่นอนไม่ได้ เดี๋ยวมีเข้ามีออก มีทั้งหญิงชาย แต่จะมีคนดูแลเพจที่ใหญ่ที่สุดอยู่คนนึง ที่จะเป็นคนตัดสินใจขั้นสุดท้ายในเรื่องที่คนอื่นตัดสินใจกันไม่ได้

หนึ่งในแอดมินแฟนเพจ สสสท.
แอดมินเพจ สสสท. เล่าต่ออีกว่า ส่วนเรื่องของการนำรูปมาอัพเราได้มีการขออนุญาตเจ้าตัวด้วย และบางคนก็เสนอตัวขอให้ลงรูปให้ นอกเหนือจากสองอย่างนี้คือหารูปจากที่ต่างๆ ที่หาได้ตามได้อินเทอร์เน็ต บางครั้งก็มีเหตุการณ์ดราม่าเกิดขึ้นบ้าง เป็นเรื่องปกติที่จะมีดราม่าเกิดขึ้นครับ ไม่ว่าจะเป็นตัวปลอมมาฝากอัพรูปจนตัวจริงเห็นและตามมาต่อว่าหรือไม่พอใจที่ไม่ยอมอัพรูปให้ซักที

“เราก็คิดว่าจะทำเพจไปเรื่อยๆ ครับ ตอนนี้มีการคุยเรื่องอนาคตของเพจกันบ้าง ว่าจะต่อยอดไปทางไหนดี สมควรเพิ่มเติมอะไรเข้าไปดีนอกจากรูปสาวๆ ไหม หรือจะไปเปิดเป็นบริษัทแมวมอง จัดหาคู่ ฯลฯ เป็นต้น ก็คิดกันไปเรื่อยๆ แต่นั่นก็เป็นเรื่องของอนาคต แต่ยังไงเราก็ต้องทำวันนี้ให้ดีก่อน เราต้องขอบคุณทุกคนที่กดติดตามและเข้ามาดูรูปของเพจเรา ถ้าไม่มีพวกคุณเพจนี้ก็จะไม่มีใครรู้จัก และเพจเราอาจไม่มีสาระอะไรเลย เพราะมีแค่รูปสาวสวยที่เอาไว้ดูเพลิดเพลินเท่านั้น แต่แค่นี้ก็ทำให้จิตใจที่เหนื่อยล้านั้น กลับมากระชุ่มกระชวยได้ ว่าโลกนี้สาวสวยยังมีอีกเยอะ (หัวเราะ)” แอดมินเพจ สสสท. เล่าอย่างสนุกสนาน

แอดมินแฟนเพจ BTS cuteguys เพจใหม่มาแรง บอกผ่านไทยรัฐออนไลน์ว่า จุดเด่นของเพจนี้ที่ไม่เหมือนใคร คือ มัน Real และทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้ มันเป็น Insight ของผู้หญิงและเกย์หลายๆ คน เวลาเจอผู้ชายน่าสนใจ ถ้ามีโอกาสจะถ่ายรูปให้เพื่อนสาวช่วยพิจารณา/กรี๊ดกร๊าดกันในกรุ๊ปไลน์ เกิดเป็นบทสนทนาฮาๆ ตามมาในกลุ่มเพื่อน เช่น “เค้าคือของฉัน” “ฉันรักเค้า” “เจอแล้วสามีในอนาคต” “ฟินนนนนน” “สิบ สิบ สิบ” etc. ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างเพจ โดยเรามีความเชื่อว่ามันไม่ใช่แค่กลุ่มเราแน่ๆ ที่ทำกัน น่าจะมีผู้หญิงหรือเกย์อีกเยอะที่ทำแบบนี้ในกลุ่มเพื่อน ไหนๆ ก็ไหนๆ สร้างที่ให้มาร่วมกันฟินกันไปเลย ซึ่งตัวแอดมินทั้ง 3 คนเอง ตอนแรกก็แอบถ่ายส่งให้ดูกันในกรุ๊ปไลน์เล่นๆ ขำๆ มีวันนึงแอดมินคนนึงพูดขึ้นมาว่า พี่เปิดเพจเถอะ ก็เลยลองดู ทำเอาฮา
ถ้าถามว่ารู้สึกอย่างไรเมื่อมีคนติดตามเราเยอะ ยอดไลค์พุ่งกระฉูด ภายในเวลาไม่นาน เราก็รู้สึกตกใจเหมือนกันไม่รู้ว่าตัวเพจจะ Viral ได้ขนาดนี้ เพราะว่าตอนเริ่มทำก็เริ่มทำกันเอาฮา คิดว่าคงมีลูกเพจจำนวนนึง แต่ไม่คิดว่าจะมาถึงจุดนี้ ซึ่งทุกวันนี้เราก็ได้รับผลตอบรับจากลูกเพจในหลายๆ รูปแบบที่ส่งเข้ามาใน inbox หลากอารมณ์มาก แต่ส่วนใหญ่จะดีใจที่มีเพจแบบนี้ เราก็มีแอดมินเป็นกลุ่มเพื่อนร่วมงาน 3 คน จริงๆ ก็ไม่ได้แบ่งหน้าที่อะไรกันชัดเจน แรกๆ ก็พยายามช่วยกันถ่ายรูป หลังๆ แทบไม่ต้องเลย เพราะมีส่งมาทาง Inbox เยอะมาก ก็มีพี่ใหญ่หนึ่งคนที่เป็นคนคอยคัดเลือกรูปจาก inbox มาลง
“เราก็อยากจะทำเพจนี้ไปนานๆ จนกว่าจะไม่มีคนส่งภาพมา แต่เราก็อยากให้มองว่าเพจนี้เป็นที่พักสายตา สนุกๆ ขำๆ อย่าซีเรียส อย่าจริงจัง และก็อยากให้มองว่ามันเป็นชุมชนหนึ่งของคนที่มีอุดมการณ์เดียวกัน อยากแบ่งปันความฟินให้กับคนอีกหลายๆ คน แล้วก็ที่สำคัญฝากถึงคุณผู้ชายทุกคนที่รูปปรากฏขึ้นในเพจของเรา ว่าจงภูมิใจเถิด เพราะคุณหล่อ คุณถึงโดนถ่าย แล้วเราก็ไม่ใช่โรคจิตนะค้าาา” แอดมินเพจ BTS cuteguys บอกทิ้งท้าย

นอกจาก 2 เพจนี้ก็ยังมีอีกหลาย ๆ เพจที่เป็นที่นิยม

เช่น
สมาคมนิยมสาวมหาลัยแห่งประเทศไทย (สสมท)
สมาคมนิยมนิสิต นักศึกษาแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (สนพท.)
สมาคมหนุ่มหล่อแห่งประเทศไทย
หนุ่มไฉไล by นายร้อยครับผม
ทหารหล่อบอกด้วย
สมาคมนิยมผู้ชายมีหนวด

ตัวอย่าง sql ใน microsoft access

query
query

เป็น sql ที่ได้จาก query ที่เชื่อมโยง 3 ตาราง คือ sumscoreok53, limitlcn และ course มีการใช้ static text, right join และ left function เพื่อคัดลอกข้อมูล แล้วนำไปใช้ในอีกระบบที่ต้องใช้ผลการประเมินการเรียนการสอน ประกอบการจัดทำรายงานการปฏิบัติงาน ซึ่งใช้แฟ้มประเภท csv หากผมต้องหาวิธีสร้างแฟ้ม eval25541 อีก ก็จะกลับมาค้นใน blog ว่าใช้ sql แบบใด

SELECT 2554 AS Expr1, 1 AS Expr2, sumscoreok53.codes, COURSE.SUBJT, limitlcn.SECLC, COURSE.CREDTT, sumscoreok53.cid, sumscoreok53.cnt, Left([avg],5) AS avg5 FROM (limitlcn RIGHT JOIN sumscoreok53 ON (limitlcn.SECLC = sumscoreok53.s) AND (limitlcn.CODES = sumscoreok53.codes)) LEFT JOIN COURSE ON sumscoreok53.codes = COURSE.CODES;

ถึงเวลาบล็อกเฟซบุ๊คดอทคอม (itinlife314)

facebook age
facebook age

30 ต.ค.54 พบรายงานว่าจากการสำรวจคนทำงานกว่า 600 คนในต่างประเทศเมื่อปีค.ศ.2007 มีผู้ใช้จำนวนมากที่ถูกจำกัดการเข้าถึงเว็บไซต์เครือข่ายสังคม อาทิ เฟซบุ๊ค (Facebook.com) ไฮไฟซ์ (Hi5.com) หรือ ทวิทเตอร์ (Twitter.com) คิดเป็นร้อยละ 43 ของผู้ตอบแบบสำรวจที่ถูกบล็อก แล้วมีบริษัทบางแห่งจำต้องเปิดให้พนักงานเข้าถึงได้ เพราะเกรงการถูกต่อต้าน หรือพฤติกรรมแสดงความไม่พอใจที่รุนแรง เรื่องนี้เป็นข้อพิพาทระหว่างบริษัทกับผู้ใช้ ซึ่งต่างคนต่างก็มีเหตุผลทุกฝ่าย แต่กระแสค่านิยมจะโอนเอียงไปทางฝ่ายผู้ใช้เป็นผู้ชนะ

มีผู้คร่ำหวอดในวงการความปลอดภัย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า มีบริษัทมากมายจำกัดการเข้าถึงเว็บไซต์ลักษณะนี้ ซึ่งพนักงานอาจไม่ชอบ แต่เว็บไซต์เครือข่ายสังคมอาจเป็นแหล่งที่ทำให้องค์กรมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยถ้าใช้อย่างไม่ระวัง เว้นแต่ว่าพนักงานจะเข้าถึงเว็บไซต์ตามวัตถุประสงค์ของงาน มีบริษัทมากมายไม่เห็นเหตุผลที่พนักงานต้องเข้าถึงเว็บไซต์เหล่านี้ในเวลางาน นอกจากมีข้อเสียด้านความปลอดภัย และเสียเวลาในการทำงานแล้ว เว็บไซต์เครือข่ายสังคมก็ยังมีข้อดี คือ การเป็นเครื่องมือในการทำงานร่วมกันของพนักงาน

อีกรายงานหนึ่ง ที่สัมภาษณ์ผู้ดูแลงานด้านไอทีในอเมริการวมกว่า 1400 ตัวอย่าง เมื่อปีค.ศ.2009 พบว่า จำกัดการเข้าถึงเว็บไซต์เครือข่ายสังคมของพนักงานมีร้อยละ 54 อนุญาตให้ใช้ตามวัตถุประสงค์ขององค์กรมีร้อยละ 19  ไม่อนุญาตให้ใช้ในเรื่องส่วนตัวมีร้อยละ 16  และอนุญาตให้ใช้ได้เต็มที่ในเวลางานมีร้อยละ 10 แล้วพบผลข้างเคียงของการใช้เว็บไซต์เครือข่ายสังคมว่าผลผลิตจากงานลดลงกว่าร้อยละ 2 โดยพนักงานส่วนหนึ่งใช้งานเว็บไซต์เครือข่ายสังคมเฉพาะที่ทำงานเท่านั้น แม้ข้อมูลเหล่านี้จะมีรายงานมาอย่างต่อเนื่องในหลายปีที่ผ่านมา แต่พฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์เครือข่ายสังคมก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ประกอบการส่วนหนึ่งไม่ทราบ หรือไม่ตระหนักถึงผลข้างเคียงที่กระทบต่อผลผลิตขององค์กร

http://www.pcworld.com/article/136226/worried_companies_block_facebook.html

http://news.techworld.com/personal-tech/3203460/study-says-most-companies-block-facebook-and-twitter/

ขอบคุณนักศึกษาฝึกงานที่ช่วยทดสอบข้อมูลกับระบบฐานข้อมูล

banner design
banner design

โดยปกติแล้ว .. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลไปได้ระยะหนึ่ง จะต้องมีการทดสอบข้อมูลกับระบบ ซึ่งระบบประเมินบุคลากร 360องศา และระบบที่เกี่ยวข้องมีถึง 6 ส่วนหลัก ที่ต้องเปิดให้ผู้ใช้เข้าดำเนินการในเงื่อนไขที่แตกต่างกัน และแยกรายงาน เพื่อการติดสินใจที่แตกต่างกันอีกหลายรายงานหลัก .. ในส่วนของการทดสอบก็ต้องใช้ปริมาณข้อมูลที่มากขึ้น เพื่อทดสอบในส่วนของการประมวลผลความถี่ และค่าเฉลี่ย ตามลักษณะบุคคลที่แตกต่างกัน 2 ประเภท คือ บุคลากรสายวิชาการ และสายสนับสนุน ซึ่งแต่ละสายก็จะแบ่งเป็นผู้มีตำแหน่งบริหารกับไม่มี

23 พฤษภาคม 2554 เป็นครั้งแรกที่มี คุณกิตติภพ ยอดศิริ (น้องมีน) และคุณณัฐพงษ์ ชมพูงาน (น้องปั้ม) นักศึกษาฝึกงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง เข้ามาช่วยในการทดสอบข้อมูลกับตัวระบบ ทำให้เห็นข้อมูลที่วิ่งเข้ามาในระบบก่อนเปิดใช้จริง และทำการแก้ไขข้อผิดพลาดที่คาดไม่ถึงของระบบได้ทัน
+ http://www.facebook.com/photo.php?fbid=10150190381742272&set=a.423083752271.195205.350024507271

ตัวชี้วัดกับผลงานการปฏิบัติงาน

18 มี.ค.54 ในการทำข้อตกลงภาระงาน หรือรายงานการปฏิบัติงาน มีช่อง “ผลงานที่เป็นที่ประจักษ์” ซึ่งมีช่องย่อย 2 ช่องที่มักถูกนำมาพูดคุย คือ ตัวชี้วัด และผลงาน ผู้ปฏิบัติงานมักสอบถามว่าจะใส่อะไร  ก็มีตัวอย่างจากการประกันคุณภาพการศึกษาว่า ตัวชี้วัดนั้นต้องนับได้ ส่วนผลงานก็คือผลที่ทำได้ ซึ่งเป็นค่าที่นับได้เช่นกัน
ตัวอย่าง
1. สอนหนังสือ ตัวชี้วัด 3 วิชา ผลงาน 3 วิชา
2. รับนักศึกษา ตัวชี้วัด 20 คน ผลงาน 19 คน
3. โครงการสะเปาบก ตัวชี้วัด 3 ชั่วโมง ผลงาน 5 ชั่วโมง
4. อบรมอบต.บ้านดง ตัวชี้วัด 3000 บาท ผลงาน 2500 บาท
5. จัดทำเอกสารประกอบการสอน ตัวชี้วัด 2 วิชา ผลงาน 1 วิชา
6. ส่งเอกสารให้ผู้ปกครอง ตัวชี้วัด ร้อยละ 100 ผลงาน ร้อยละ 90
7. รับโทรศัพท์ ตัวชี้วัด วันละ 8 ชม. ผลงาน วันละ 8 ชม.
8. ผลประเมินคุณภาพระดับสาขา ตัวชี้วัด 3.51 ผลงาน 3.52
9. ผลประเมินความพึงพอใจระบบฐานข้อมูล ตัวชี้วัด 4.21 ผลงาน 4.30
10. การบริการวิชาการแก่ชุมชน ตัวชี้วัด 2 ครั้ง ผลงาน 3 ครั้ง

ความสำคัญของระบบอีดอคคิวเมนท์

5 มี.ค.54 ความสำคัญของระบบอีดอคคิวเมนท์ที่มีต่อการประกันคุณภาพ สนับสนุนการสื่อสารแลกเปลี่ยน ใช้ปฏิบัติงาน และติดตามผลงานของบุคลากร หน่วยงาน คณะวิชา และมหาวิทยาลัย โดยสอดรับกับเกณฑ์คุณภาพการศึกษาภายใน ดังนี้
1. เกณฑ์ที่ 7.3.2 มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจตามพันธกิจของสถาบัน โดยอย่างน้อยต้องครอบคลุมการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริหารจัดการ และการเงิน และสามารถนำไปใช้ในการดำเนินงานประกันคุณภาพ
– ผู้บริหารมอบหมายหน่วยงานฯ พัฒนาระบบและส่งสารสนเทศเข้าสู่ระบบ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ
– ระบบอีดอคคิวเมนท์เป็นเครื่องมือส่งสารสนเทศจากแต่ละบุคคล และเชื่อมโยงกับพันธกิจด้านต่าง ๆ

2. เกณฑ์ที่ 9.1.6 มีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในครบทั้ง 9 องค์ประกอบคุณภาพ
– ระบบอีดอคคิวเมน์เปิดให้กำหนดเอกสารที่ต้องการถูกอ้างอิง เข้าระบบต่าง ๆ
– เจ้าของเอกสารพิจารณาเลือกเชื่อมโยงหลักฐานเข้ากับองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง
– งานประกันฯ คณะวิชา และมหาวิทยาลัย พิจารณาเอกสารไปจัดทำรายงานปลายปี

3. เกณฑ์ที่ 2.4.4 มีระบบการติดตามให้คณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนนำความรู้และทักษะที่ได้จากการพัฒนาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และการวัดผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ตลอดจนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง
– การแบ่งปันไฟล์ให้นักศึกษาเข้าถึงแฟ้มประกอบการสอน หรือส่งงาน
– การส่งหลักฐานเข้าตามภาระงาน และเชื่อมโยงเข้ากับรายงานการปฏิบัติงาน
– การส่งหลักฐานถูกใช้โดยผู้บังคับบัญชาในการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

4. เกณฑ์ที่ 7.3.3 มีการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ
– เริ่มจากการใช้งานระบบอินทราเน็ตที่เชื่อมโยงกับระบบอีดอคคิวเมนท์
– มีการดำเนินการโดยคณะกรรมการเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ

น.ศ.เรียนรู้ผ่านการวิจัย

สรุปผลการพัฒนาโจทย์
สรุปผลการพัฒนาโจทย์

9 พ.ย.53 มีคำสำคัญ 2 คำที่ผมนำเสนอใน เวทีพัฒนาโจทย์วิจัยหรือเหลาโจทย์ หลังยกร่างให้กับทีมแล้ว คือ 1) สร้างตัวคูณ และ 2) วิจัยซ้อนวิจัย โดยผู้ร่วมวิจัยเป็นทั้งผู้ถูกสร้าง และผู้สร้าง ผู้ร่วมวิจัยเป็นผู้วิจัย และทำให้นักศึกษาเป็นนักวิจัยเพื่อการเรียนรู้ ถ้าในทีมวิจัยรู้ว่างานวิจัยนี้เป็นงานของตนเอง โอกาสประสบความสำเร็จเกิดขึ้นแล้ว แต่ถ้าในทีมคิดว่างานนี้เป็นงานของใครคนใดคนหนึ่ง เป้าหมายของความสำเร็จลดลงไปแล้วครึ่งหนึ่ง .. ความยากของการทำงานคือทัศนคติ ที่จะแก้ปัญหาความยาก 4 ข้อที่ผมนำเสนอในเวทีคือ 1) กระบวนการไม่มีรูปแบบชัดเจน 2) ไม่ถูกยอมรับแพร่หลายในแวดวงวิชาการ 3) ทัศนคติทำให้เข้าใจยาก 4) โครงสร้างในสถาบันมักไม่เอื้ออย่างชัดเจน .. ปัจจุบันมีผู้ร่วมทีมแล้ว 8 คน .. เพราะข้อเสนอหนึ่งจากในวางทำให้ผมต้องใช้หลักการเป็นตัวแทน ที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการทิ้งงานของนักวิจัย ซึ่งเป็นหลักที่มีการพูดคุยกันในการวิจัยเพื่อท้องถิ่นบ่อยครั้ง การเพิ่มจำนวนจึงลดความเสี่ยงในการเสียทีมไประหว่างการทำงาน .. ขณะนี้รองหัวหน้าโครงการคือ อ.ธวัชชัย เข้าใจแล้วว่าเขาเป็นเจ้าของโครงการ และอาสาช่วยยกร่าง ส่วนเหรัญญิกผมทาบอ.อ้อมไว้แล้ว .. มีหลักสูตร และชั้นปีที่เข้ามาในชุมชนหลากหลายแล้ว เหลือที่ควรทาบทามอีก 2 – 3 คน

ผมชอบมองหาหลุมทราย และบ่อน้ำในการตีกอล์ฟ เพื่อหาทางหลบให้ไปถึงหลุม .. นี่ผมคิดอย่างคนไม่ตีกอล์ฟครับ
http://www.facebook.com/album.php?aid=252858&id=814248894

ปรับระบบช่วยนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษา วางแผนการเรียน

grade 2010
grade 2010

19 ต.ค.53 มีการปรับ code ให้งานทะเบียนสามารถ update ข้อมูลในระบบรายงานผลการเรียนได้โดยง่าย ทำให้อาจารย์ส่งผลการเรียนมายังงานทะเบียน และตรวจสอบแล้ว สามารถ update กับระบบข้อมูลออนไลน์ได้ทันที นักศึกษาจึงตรวจสอบผลการเรียน และคำนวณผลการเรียนล่วงหน้าสำหรับภาคเรียนต่อไป หรืออาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบผลการเรียนประกอบการให้คำปรึกษาโดยใกล้ชิด ทำให้นักศึกษาสามารถวางแผนการเรียนของตนเองได้อย่างเป็นรูปธรรม
if(!isset($_REQUEST[“yr”])) {
echo “yr=20101”;
exit;
}
$fn = “limitlc” . $_REQUEST[“yr”];

+ http://blog.yonok.ac.th/burin/1394/
+ http://www.yonok.ac.th/grade

ปิดร่างรายงานการวิจัย sar51 แล้ว

หน้าจอโปรแกรม การประเมินตนเอง 2550 - 2551
หน้าจอโปรแกรม การประเมินตนเอง 2550 - 2551

16 ธ.ค.52 วันนี้ผมปิดร่างรายงานการวิจัย “พัฒนาระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง ปีการศึกษา 2551 กรณีศึกษามหาวิทยาลัยโยนก จังหวัดลำปาง” จากการส่งร่างให้ทีมวิจัยทั้ง 8 คนตรวจสอบก็ดำเนินการไปแล้ว ต่อจากนี้จะประสานส่งรายงานตามลำดับ ซึ่งคาดว่าจะมีกลไกดังนี้ 1) ส่งให้คณบดีพิจารณา 2) คณะกรรมการวิจัยในคณะ 3) สถาบันวิจัย 4) คณะกรรมการของสถาบันวิจัย 5) เวทีวิจัยของมหาวิทยาลัย 6) ท่านอธิการ ถ้าผ่านกลไกนี้ก็จะปิดงบถ่ายเอกสารของโครงการ แล้ววางแผนรวมทีมวิจัยโครงการต่อยอดกับข้อมูลปี 2552 เพื่อขยายให้ถึงระดับบุคคล ซึ่งมีความเป็นไปได้ด้วย 2 ปัจจัย คือ ท่านอธิการสนับสนุน และบุคลากรมีความเข้าใจเพิ่มขึ้นจากการอบรมในเดือนที่ผ่านมา โดยบทคัดย่อมีดังนี้
      งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโปรแกรมระบบฐานข้อมูลให้หน่วยงานจัดเก็บข้อมูลการประเมินตนเอง และเพื่อให้ผู้ประเมินตรวจสอบหลักฐานเพื่อการประกันคุณภาพด้วยความพอใจ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยโยนก กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาใช้วิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 2 กลุ่ม รวม 13 คน คือ ผู้ประเมินคุณภาพการศึกษา 7 คน ตัวแทนคณะวิชาและสาขาวิชา 6 คน เครื่องมือที่ใช้พัฒนาระบบคือเครื่องบริการไอไอเอส ตัวแปลภาษาพีเอชพี  เอแจ็กซ์ และระบบฐานข้อมูลไมโครซอฟท์แอคเซส ใช้แบบประเมินความพึอพอใจหลังการอบรมใช้งานโปรแกรม และหลังการประเมินคุณภาพการศึกษาในระดับสถาบันเสร็จสิ้น โดยลักษณะคำตอบเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ งานที่พัฒนาขึ้นสามารถเลือกข้อมูลปีการศึกษา 2550 หรือ 2551 แบ่งเป็นระบบย่อยที่สำคัญ 6 ระบบ ประกอบด้วย 1) ระบบเข้าใช้งานของผู้ใช้  2) ระบบนำแฟ้มข้อมูลเข้าตามเกณฑ์มาตรฐาน  3) ระบบบันทึกรายละเอียดตามตัวบ่งชี้ 4) ระบบจัดการข้อมูลพื้นฐาน 5) ระบบปรับปรุง  และ 6) ระบบรายงานผลประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานโปรแกรมของหน่วยงานโดยรวมอยู่ระดับมาก (X = 3.71 , S.D = 1.16) และผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานโปรแกรมของผู้ประเมินโดยรวมอยู่ระดับปานกลาง (X = 3.24, S.D = 1.11) ซึ่งสรุปได้ว่าระบบที่พัฒนาขึ้นยังไม่ตอบสนองความพึงพอใจต่อผู้ใช้ทั้ง 2 กลุ่มในระดับมาก
     The objective of this operational research was to develop the self assessment system to serve the satisfaction of users and assessors. This system used the case study of YONOK University.  The data sampling is divided into 2 groups consisting of 7 assessors and 6 faculties. The system development tools were Internet Information Server, PHP Interpreter, AJAX and Microsoft Access Database. 5-scale rating questionnaire was collected to evaluate system performance after finishing training and evaluation of the system. This system could be surve to database of 2550 and 2551.  There are 6 sub-systems: user’s login, documents upload, indicator update management, and common data set management, data updating and reporting system. The evaluation result of user’s satisfaction was high (a mean of 3.71 and standard deviation of 1.16). The evaluation result of assessor’s satisfaction was also moderate (a mean of 3.24 and standard deviation of 1.11). It is concluded that the system performance was not satisfy to both group in high level.
+ http://www.thaiall.com/research/sar51/fullpaper_sar51_521216.zip  500 KB
ถ้าท่านใดอ่านแล้วมีข้อเสนอแนะ แจ้งได้ครับ เพราะยังไม่ปิดงบถ่ายเอกสาร เป็นเพียงร่างรายงาน

เตรียม ทบทวน นำเสนอ ติดตามผลการปรับปรุงกับน.ศ.วิจัยท้องถิ่น

4 วันของนักศึกษาโยนกที่รับทุน cbpus
4 วันของนักศึกษาโยนกที่รับทุน cbpus

มี 4 กิจกรรมที่น.ศ. cbpus ทำในช่วงนี้ เพราะนอกจากจะต้องทำงานกับ สกว. แล้ว ยังต้องเตรียมความพร้อมนำเสนองานวิจัยท้องถิ่นกับ อ.วิเชพ ใจบุญ และ อ.เกศริน อินเพลา ในอีก 3 เดือนข้างหน้าไปพร้อมกัน แต่งานสำคัญเร่งด่วนคือรายงานความก้าวหน้ารอบ 3  เดือนที่ผ่านมา ณ มจร.บุญวาทย์ ลำปาง
     22 พ.ย.52 เตรียมเอกสารที่จะนำเสนอในเวทีสกว.ลำปาง กรกับปราง นำฟอร์มที่ต้องส่ง และกิจกรรมทั้งหมดที่เคยทำ มาทบทวน ซึ่งวันนี้ผมสะดวกในทุ่งนา เพราะอยู่ในช่วงเกี่ยวข้าว มีประเด็นพูดคุยคือ 1)ผลการประชุมกับชุมชน และการทำงานที่ผ่านมา 2)จำนวนฟอร์ม การให้รายละเอียดในแต่ละฟอร์มที่สกว. กำหนดมา 3)ขอบเขตข้อมูลที่จะนำเสนอในแต่ละฟอร์ม 4)ทบทวนกิจกรรมวิจัยตามแผน 5)กำหนดตารางเข้าเก็บงานในพื้นที่ไปพร้อมกับทำเอกสารเสนอสกว.
     26 พ.ย.52 ทบทวนเพื่อเตรียมรายงานความก้าวหน้าด้วย powerpoint มีประเด็นพูดคุยคือ 1)ประเด็นปัญหาจากการจัดทำเอกสารอย่างรีบเร่งและต้องส่งให้ผู้วิพากษ์โดยเร็ว จึงไม่ได้ทบทวนอีกครั้งในทีมวิจัยของเรา 2)ทบทวนกิจกรรมทีละประเด็น เพื่อทำความเข้าใจสำหรับนำเสนอในเวทีมจร. 3)กำหนดกรอบ powerpoint ที่จะนำเสนอ ทีละ slide ในแต่ละกลุ่มประเด็น
     28 พ.ย.52 นำเสนอต่อผู้วิพากษ์ ในครั้งนี้มี อ.มหาวิทยาลัยโยนกร่วมเป็นผู้วิพากษ์ 2 คนคือ อ.กฤตภาส เสมอพิทักษ์ และอ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์  ผลการวิพากษ์ผ่านไปด้วยความราบรื่น เพราะเตรียมรายละเอียดของกิจกรรมชัดเจนที่จะทำให้โครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์ แต่สิ่งที่ต้องปรับปรุงคือ 1)เอกสารควรมีรายละเอียดตรงกับกิจกรรมที่ทำจริงมากกว่านี้ การเข้าพบชุมชนมากกว่า 10 ครั้งไม่พบการอธิบายรายละเอียดกิจกรรมย่อยในกิจกรรมหลัก ถ้ามีรายละเอียดก็จะทำให้เข้าใจการทำงาน และสัมพันธ์กับภาพกิจกรรมที่นำเสนอ 2)ข้อความในเอกสารขาดการตรวจสอบอยู่มาก ต้องปรับปรุงเป็นรุ่นต่อ ๆ ไปให้สมบูรณ์ 3)ขาดการอธิบายกระบวนการที่ได้มาซึ่ง 3.1)ทำไมต้องใช้ซีดีสองแผ่น 3.2)story board 3.3)script 3.4)บทวิเคราะห์ script 4)งานที่ทำมี 2 มาตรฐานคือ 4.1)นำเสนอต่อสกว. ตามกิจกรรทั้ง 8 ที่วางแผนไว้ 4.2)แต่ทั้ง 8 กิจกรรมไม่มีส่วนที่ต้องเตรียมนำเสนอต่อกรรมการ ได้แก่ อ.วิเชพ ใจบุญ และอ.เกศริน อินเพลา ที่ต้องแสดงขอบเขต นโยบาย โครงสร้างข้อมูล และตัวอย่างจอภาพ เป็นอย่างน้อย (วันนี้อยู่เป็นผู้วิพากษ์ได้ครึ่งวันเพราะไปร่วมงานรับปริญญาน้องสาวที่เชียงใหม่กับครอบครัว)
     5 ธ.ค.52 ติดตามผลการปรับปรุงและตารางกิจกรรมในหมู่บ้าน 1)จดโดเมนเนมโครงการคือ ldy69.com ซึ่งใช้เงินส่วนตัวของนักศึกษา เพื่อเตรียมนำเสนอต่อกรรมการผู้สอบในมหาวิทยาลัย 2)ถ่ายวีดีโอนักวิจัยเพิ่มเติมที่บ้านอาจารย์นักวิจัย ซึ่งมีปัญหาเรื่องเสียงรบกวน และการจำบท 3)วิพากษ์วีดีโอชุดจริงทั้งหมดที่เก็บมา เพื่อวางแผนเข้าเก็บวีดีโอที่ต้องปรับปรุงหรือเปลี่ยนวิธีการ 4)ทบทวนกิจกรรม และนัดหมายตามงานครั้งต่อไปวันที่ 12 ธ.ค.52
+ http://www.thaiall.com/research/cbpus52/student_report_3m.zip (14 MB รวม doc+ppt)