ตรวจสอบความเที่ยงตรง (Validity) ของงานวิจัย

validity step
validity step

4 ก.พ.54 สรุปย่อเกี่ยวกับความเที่ยงตรง (validity) จากการฟัง อ.ทันฉลอง รุ่งวิทู บรรยายเรื่อง งานวิจัย โดยนำเสนอผ่านกรณีศึกษาที่เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม
1. face Validity ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านประเด็น construct ด้วยการพบหน้าโดยตรง
2. convergent validity ตรวจว่าประเด็นคำถามใช้กับกลุ่มคำถามกลุ่มนั้น เพราะแบบสอบถามมีหลายกลุ่มคำถาม ไม่ใช่ถามนอกกลุ่ม หรือนอกเรื่อง
3. discriminant validity ตรวจว่าประเด็นคำถามถูกใช้นอกกลุ่มคำถามไม่ได้ ถ้าย้ายกลุ่มได้ หรือใช้มากกว่าหนึ่งกลุ่ม แสดงว่าเป็นคำถามที่ไม่ดี
4. content validity ตรวจว่ามีวรรณกรรมอ้างอิง อธิบายประเด็นรายละเอียดที่จะนำมาใช้ในแบบสอบถามอย่างชัดเจน
5. construct validity
ตรวจว่ามีวรรณกรรมอ้างอิง อธิบายประเด็นในวัตถุประสงค์ครบถ้วน
6. internal validity ตรวจว่ามีวรรณกรรมอ้างอิง อธิบายการเชื่อมโยงระหว่างประเด็น หรือความสัมพันธ์ที่ชัดเจน เช่น วัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษาความสัมพันธ์ ก็ต้องมีวรรณกรรมที่กล่าวถึงความสัมพันธ์นั้นอย่างชัดเจน
7. external validity ตรวจว่าสามารถใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างเฉพาะกลุ่ม นอกกลุ่ม หรือทั่วไป แล้วผลไม่เปลี่ยนแปลง เช่น ถามพฤติกรรมรักในวัยเรียนของนักเรียนในโรงเรียนกวดวิชากรุงเทพ ย่อมต่างกับนักเรียนในชนบท ถ้าใช้กลุ่มอื่นได้แสดงว่ามีความเชื่อมั่นแบบนี้

http://changingminds.org/explanations/research/design/types_validity.htm
http://linguistics.byu.edu/faculty/henrichsenl/researchmethods/RM_2_18.html
http://www.activecampaign.com/blog/validity-in-research-design/
http://www.socialresearchmethods.net/kb/introval.php

Author: บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

I am Lecturer, Developer, Researcher, Columnist, Writer, Photographer, and Webmaster - L@mpang man

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.