นิทานสอนจริยธรรม เรื่อง เรือที่ไม่ได้เรื่อง

เรือ 2 ลำ กับเรือที่ไม่ได้เรื่อง
เรือ 2 ลำ กับเรือที่ไม่ได้เรื่อง

หลังอ่านนิทานของ อ.ชีวิน สุนสะธรรม
เรื่อง “เรือที่ไม่ได้เรื่อง” ทำให้นึกถึง
TQF = กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ที่กำหนดว่าทุกหลักสูตรต้องสอนเรื่องคุณธรรมจริยธรรม

โดยแทรก คุณธรรม จริยธรรม (Morality and Ethics) เข้าไปในทุกรายวิชา (มคอ.3)

1) ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
2) มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
3) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
4) เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
5) เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
6) สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
7) มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ

จากนิทานด้านล่าง ทำให้นึกถึงสุภาษิตคำพังเพยว่า
ถ่มน้ำลายรดฟ้า” และ
ความผิดคนอื่นเท่าภูเขา ความผิดของเราเท่าเส้นผม

เรื่อง เรือที่ไม่ได้เรื่อง โดย ชีวิน สุนสะธรรม
https://www.facebook.com/cheevin.soonsatham

กาลครั้งหนึ่งเมื่อไม่กี่ปีมานี้ มีชายขับเรือคนหนึ่ง
ได้ประกอบเรือขึ้นมา 1 ลำ มันไม่ใหญ่อะไรมาก
แต่หวังว่าจะสามารถส่งผู้โดยสารให้ไปถึงอีกฝั่งหนึ่งได้
และใครที่จะไปขึ้นอีกฝั่งนึงได้
จะต้องมีปลามากมายที่จะต้องตกให้ได้ระหว่างทาง

ชายขับเรือมองเห็นชายหนุ่มผู้หนึ่งที่มีความสามารถในการตกปลา
จึงเดินไปบอกกับเขาว่า
ไอ้หนุ่ม .. มาขึ้นเรือของฉันไหม
ฉันจะให้เธอขึ้นฟรีฟรีเลย
เพราะฉันเห็นว่าเธอจะตกปลาได้มากมาย
และพอไปถึงฝั่งนู้น เรือของฉันจะได้เป็นที่รู้จัก

หนุ่มคนนั้นก็เลยยอมที่จะขึ้นเรือลำเล็ก ๆ
และไปพร้อมกับชายขับเรือ

ระหว่างทาง หนุ่มตกปลาได้รับการสอนเทคนิค
ในการตกปลา เพื่อให้จับปลาให้ได้มากขึ้นจากชายขับเรือ
แต่ยังไงก็ตาม หนุ่มตกปลาก็เฝ้ามองแต่เรือลำใหญ่ที่อยู่ข้าง ๆ
และชื่นชมเรือลำใหญ่นั้นว่าสะดวกสบาย

ชายขับเรือเห็นเช่นนั้น
จึงพยายามทำทุกอย่างที่จะทำได้
ให้เหมือนกับเรือลำใหญ่
ไม่ว่าจะพาชายหนุ่มตกปลาในที่ปลาชุกชุม
เพื่อให้ตกปลาได้มากขึ้น
และพยายามเอาใจใส่ดูแลใกล้ชิดอย่างเต็มกำลัง
ให้ได้มากกว่าบรรดาผู้โดยสารในเรือลำใหญ่จะได้รับเสียด้วยซ้ำ

แต่ถึงพยายามเพียงใดก็ตาม ด้วยความเป็นเรือใหม่
จึงมีข้อบกพร่องต่าง ๆ บ้าง
แต่ชายหนุ่มก็ไม่เห็นถึงความพยายาม
ทำดีที่สุดของคนขับเรือเพื่อให้ชายหนุ่มตกปลา
ได้ปลาเยอะที่สุดก่อนที่จะถึงฝั่ง

ชายหนุ่มตกปลาไม่สนใจว่าตัวเองได้ปลามามากแค่ไหน
และไม่สนใจว่าคนขับเรือจะดูแลเอาใจใส่มากน้อยเพียงใด
แต่ก็ยังรู้สึกหงุดหงิดที่เรือลำนี้มันไม่สบาย “มันไม่ได้เรื่อง

เมื่อถึงฝั่ง ชายหนุ่มตกปลาเดินขึ้นฝั่งพร้อมปลามากมาย
และประกาศให้ทุกคนรับทราบว่า “เรือลำนี้ไม่ได้เรื่อง
แต่ก็มีผู้คนถามมาว่า
ถ้าเรือลำนี้ไม่ได้เรื่องแล้ว เจ้าได้ปลามาจากไหนมากมาย

ชายหนุ่มบอกว่า “มันเป็นความสามารถของข้าเอง แต่เรือมันไม่ได้เรื่อง
และก็มีคนถามว่า “แล้วคนขับเรือล่ะ ดีไหม
ชายหนุ่มก็ตอบว่า “คนขับเรือก็ดี แต่ช่างเถอะ เรือมันไม่ได้เรื่อง

ทุกคนจึงรับทราบและจดจำกันไปว่า
เรือของชายหนุ่มคนนี้นั่งมา “มันไม่ได้เรื่อง
หลังจากนั้น ไม่ว่าชายหนุ่มคนนี้เอาปลาไปขายที่ไหน
ทุกคนก็จะรู้ว่า เป็นชายหนุ่มคนที่นั่งมากับเรือที่ไม่ได้เรื่อง

ในที่สุด
ชายหนุ่มมีเงินมากมายจากการขายปลาที่ตัวเองตกมาได้
และพยายามไม่บอกใคร ว่าตัวเองนั่งเรืออะไรมาจนถึงฝั่ง
เพราะยังไง “เรือมันก็ไม่ได้เรื่อง

คำถามท้ายนิทาน
“นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า .. อะไร”

 

ล่องแพเหนือเขื่อนกิ่วลม 2559 เล่าด้วย 4 ภาพ

 

ความหมายของคำอธิบายรายวิชา และตัวอย่าง

ตัวอย่าง มคอ.2 - 7
ตัวอย่าง มคอ.2 – 7
http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/news/news7.php

คำอธิบายรายวิชา (Course Description)
คือ เนื้อหาสาระที่กำหนดเป็นหลักของแต่ละรายวิชาในหลักสูตร
ซึ่งถูกเขียนไว้ใน มคอ.2 ร่วมกับแผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบ แล้วผู้สอนจะนำเนื้อหาไปเพิ่มรายละเอียดเป็นเค้าโครงการสอนใน มคอ.3 หรือ มคอ.4 เมื่อดำเนินการสอนแล้วเสร็จ ก็จะประเมินผลเป็น มคอ.5 หรือ มคอ.6 และ มคอ.7 ตามลำดับ

มคอ. คือ มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
http://www.thaiall.com/tqf
http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/news/news7.php

TECH 100 สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ
(Media and Information Technology)
2(2-0-4)
ศึกษาความหมายและหลักการของเทคโนโลยีการสื่อสาร ความรู้เบื้องต้นทางเทคโนโลยีสารสนเทศ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการติดต่อสื่อสาร การศึกษาและนำไปใช้เชิงพาณิชย์ ประเภทของระบบสารสนเทศ การสืบค้นข้อมูล ระบบฐานข้อมูลเบื้องต้น ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ความปลอดภัยและจริยธรรมในการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
A study of communication technology meaning and principles, introduction of information technology, technology applications for communication, education and commercial application, types of information system, data retrieval, introduction to database systems, office automation system, security and ethics of information technology using.

BCOM 313 กฎหมายและจริยธรรมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพคอมพิวเตอร์
(Laws and Ethics for Computer Professionals)
3(3-0-6)
แนวคิดเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า กฎหมายว่าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องความเป็นส่วนตัว อาชญากรรมผ่านสื่อทางคอมพิวเตอร์ กรณีศึกษาการใช้เครือข่ายสังคม
Concepts of morality and ethics, act on the offense on the computer, intellectual property law, copyright, patents, trademarks, law on electronic commerce and privacy laws, computer crime, case studies of social network.

CPSC 103 ตรรกะดิจิทัล
(Digital Logic)
3(3-0-6)
ระบบจำนวนและรหัสคอมพิวเตอร์ พีชคณิตบูลีน การวิเคราะห์และการสังเคราะห์ตรรกะคอมบิเนชันนัล ฟังก์ชันสวิทชิง รูปแบบคาโนนิคัล แผนที่คาร์นอฟ เทคนิคการลดรูป วงจรแนนและวงจรนอร์หลายระดับ และภัยในวงจร การวิเคราะห์และสังเคราะห์ตรรกะ ซีเควนเชียล การนำ
ฟลิปฟล็อปมาสร้างตรรกะ ตัวแปรสถานะ แผนภาพแสดง การเปลี่ยนสถานะ ตารางแสดงสถานะ การลดจำนวนสถานะ เทคนิคการกำหนดสถานะ และสภาวะการแข่งขัน
Number systems and computer codes, Boolean algebra, analysis and synthesis of combinational logic, switching function, canonical forms, Karnaugh map, minimization techniques, multilevel NAND and NOR circuits and hazards, analysis and synthesis of sequential logic, logic implementation with flip flop, state variables, state transition diagram, state table, minimization of states, state assignment techniques, and race conditions.

CPSC 205 ระบบปฏิบัติการ
(Operating Systems)
3(2–2–5)
สถาปัตยกรรม เป้าหมายและโครงสร้างของระบบปฏิบัติการ การจัดการการประมวลผล การกำหนดการการประมวลผล ความร่วมมือและการประสานเวลาของการประมวลผล สภาวะติดตาย สาเหตุ เงื่อนไข การป้องกัน การจัดการหน่วยความจำ หน่วยความจำกายภาพ หน่วยความจำเสมือน การจัดการหน่วยเก็บรอง จานบันทึก หน่วยเก็บขั้นสาม หน่วยรับเข้า/ส่งออก แฟ้มข้อมูล สารบบ ระบบปฏิบัติการแบบกระจายเบื้องต้น
Architecture, goals, and structure of operating system, process management, processes scheduling, process coordination and synchronization, deadlock, causes, conditions, prevention, memory management, physical memory, virtual memory, secondary storage management, disk, tertiary storage, Input/Output (I/O), file, directory, introduction to distributed operating systems.

CPSC 332 ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์
(Human-Computer Interaction)
3(3-0-6)
พฤติกรรมมนุษย์ กระบวนวิธีการบันทึกและแปลพฤติกรรมมนุษย์ การวิเคราะห์ การทำงาน เทคนิคการสังเกต การออกแบบสอบถาม เทคนิคการวิเคราะห์และการโมเดลงาน วิธีแสดงส่วนปฏิสัมพันธ์และเครื่องมือสร้างต้นแบบ ขั้นตอนการเรียนรู้ การศึกษาการใช้งานและการวิเคราะห์โพรโทคอลการใช้คำ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ แนวทางการทดลองทำจริง การเรียนรู้ของมนุษย์ การทำนายและการเลียนแบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์และกรณีศึกษา
Human behavior, methodologies for obtaining and interpreting human behavior: work activity analysis, observation techniques, questionnaire, task analysis and modeling techniques, methods for interface representation and prototyping tools, cognitive walkthroughs, usability studies and verbal protocol analysis, the four approaches to human-computer interaction, empirical, cognitive, predictive, and anthropomorphic and case studies.

BCOM 241 โครงสร้างข้อมูลและขั้นตอนวิธี
(Data Structures and Algorithms)
3(2-2-5)
โครงสร้างข้อมูลแบบต่างๆ ลิสต์ สแตก แถวคอย ต้นไม้ กราฟ เซ็ต และ ฮีป การเรียงลำดับข้อมูลด้วยอัลกอริทึมแบบบับเบิล การแทรก เชลล์ ฮีป ควิก การค้นหาด้วยอัลกอริทึมแบบตามลำดับ แบบไบนารี ใช้ตารางแฮช โครงสร้างต้นไม้และการดำเนินการกับข้อมูลในโครงสร้างต้นไม้ โครงสร้างกราฟและการดำเนินการกับข้อมูลในโครงสร้างกราฟ การประยุกต์ใช้โครงสร้างข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาในธุรกิจ ภาคปฏิบัติใช้โปรแกรมภาษาที่กำหนด เขียนโปรแกรมประยุกต์โครงสร้างข้อมูลและขั้นตอนวิธีเพื่อแก้ปัญหาในงานธุรกิจ
Type of Data structures, such as lists, stacks, queues, trees, graphs, sets and heap. Sorting algorithms, such as bubbles, insertions, shells, heaps, quicks. Searching algorithms, such as sequentials, binarys, hashing tables. Tree structures and operation of tree structures. Graph structures and operation of graph structures. Applying data structures, algorithms and writing programming for solve business problems.

CPSC 203 โครงสร้างข้อมูล
(Data Structures)
3(3-0-6)
ประเภทข้อมูลนามธรรมในภาษาชั้นสูง ประเภทข้อมูลแบบตัวชี้และเวกเตอร์ในภาษาชั้นสูง เวลาการรันงานและความซับซ้อน รายการโยง กองซ้อน แถวคอย การวนซ้ำและกรณีศึกษาด้านการคำนวณ ต้นไม้ กราฟ ฮีปทวิภาค ขั้นตอนวิธีของต้นไม้ กรณีศึกษาด้านการเรียงลำดับ ตารางแฮช การบีบอัดข้อมูล การจับคู่สตริง
Abstract data type in high level language, pointer and vector in high level language, running time and complexity, linked-lists, stacks, queues, trees, recursion, numerical case studies, trees, graph, binary heap, tree algorithms, sorting case studies, hash table, data compression, string matching.

BCOM 331 การออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์
(Website Design and Development)
3(2–2–5)
โครงสร้างและการทำงานของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ทั้งแบบสแตติก และ ไดนามิก การออกแบบเว็บเพจ การจัดการเชื่อมต่อ การแทรกข้อความ เสียง ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว เทคนิคการเชื่อมโยงและการจัดการฐานข้อมูลบนเว็บไซต์ เน้นการฝึกหัด และการสร้างเสริมความเข้าใจในการปฏิบัติการเกี่ยวกับการออกแบบ และพัฒนาเว็บไซต์
The structure and operation of electronic documents as static and dynamic, web page design, manage connections, insert text, audio, still and moving images, linking techniques and database management on the website, focus on training and enhance the understanding of operating about design and website development.

CPSC 342 การออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์
(Website Design and Development)
3(2-2-5)
โครงสร้างและการทำงานของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ทั้งแบบ Static และ Dynamic การออกแบบเว็บเพจ การจัดการเชื่อมต่อ การแทรกข้อความ เสียง ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว เทคนิคการเชื่อมโยงและการจัดการฐานข้อมูลบนเว็บไซต์ เน้นการฝึกหัด และการสร้างเสริมความเข้าใจในการปฏิบัติการเกี่ยวกับการออกแบบ และพัฒนาเว็บไซต์
Structure and operation of static and dynamic electronic documents. Webpage design, link management, insertion of text, sound, and animation. Link technique and database management on website. Practice to reinforce the understandings in the design and development of website.

สัมมนา Development Curriculum & TQF สู่สากล

Development Curriculum & TQF สู่สากล
Development Curriculum & TQF สู่สากล

18 ธ.ค.55 เพื่อนหลายคนไปสัมมนา เรื่องกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติกับการพัฒนาคุณภาพหลักสูตรสู่มาตรฐานสากล   แล้วนำมาเล่าให้ฟัง มีประเด็นน่าสนใจ และมีแฟ้มที่เกี่ยวข้องทั้ง pdf และ ppt เมื่อสืบค้นจากเว็บไซต์พบว่า สำนักพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นเจ้าภาพเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2555 ณ ห้องอิมพีเรียล แกรนด์ ฮอลล์ โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง จังหวัดเชียงใหม่
โดยเข้าไปที่ http://www.eqd.cmu.ac.th/
แล้วคลิ๊กคำว่า เอกสารประกอบการสัมมนา พบแฟ้ม .rar ในนั้นมีแฟ้ม 4 แฟ้ม
1. presentation ของ ผศ. ดร. ม.ร.ว. กัลยา ติงศภัทิย์ รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เล่าถึงแนวปฏิบัติที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการ
2. lo (Learning Outcome) ของจุฬาฯ มี 9 ข้อ แต่มหาวิทยาลัยทั่วไปมี 5 ข้อ หากใช้ที่เคยกำหนดออกมา
3. เอกสารหัวข้อ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ กับการพัฒนาคุณภาพหลักสูตรสู่มาตรฐานสากล: โอกาสของมหาวิทยาลัยไทย ของ คุณนิภาพรรณ  แก่นคง ผู้ประสานงานโครงการ TQF: HEd. ระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลออสเตรเลีย
4. เอกสารหัวข้อ พัฒนาบัณฑิตยุคใหม่ บนเส้นทาง Global Citizenship ของ ดร.จิรวัฒน์ จีรังกร
5. เอกสารหัวข้อ มาตรฐานการอุดมศึกษาและเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ของ นางมยุรี  สิงห์ไข่มุกข์ สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

+ http://www.eqd.cmu.ac.th/NewsDetail.asp?strID=802

+ http://www.4shared.com/rar/A6mHrcQ0/cmu_tqf551218.html

อบรม ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารหลักสูตรของจุฬฯ

cu-cas & tqf
cu-cas & tqf

21 ก.ค.54 มีโอกาสเข้ารับฟังการบรรยายเรื่อง “ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารหลักสูตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” หัวข้อเปรียบเทียบ TQF กับ CU-CAS โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับ อัตลักษณ์ คุณลักษณะบัณฑิตพึงประสงค์ (เดินทางกับคุณเรณู ฝ่ายวิชาการของมหาวิทยาลัย ไปประชุมครึ่งวัน) ซึ่งเป็นระบบที่จุฬาฯ พัฒนาขึ้น ใช้เป็นกรอบมาตรฐานของจุฬาฯ ต่อมา สกอ.เปิดช่องให้ทุกมหาวิทยาลัยสามารถพัฒนาระบบของตนเองที่ต่างไปจาก มคอ.1-7 ได้ แต่ถ้ามีการตรวจสอบ ต้องให้ข้อมูลได้ครบถ้วน ซึ่งระบบ cu-cas มีความสมบูรณ์มาก โดยแบบฟอร์ม และระบบถูกพัฒนาควบคู่กันไป มีตัวอย่างฟอร์มดังนี้
– Course Specification (CU-CS)
– Course Specification (CU-CS)
– Program Curriculum Mapping (CU-PCM)
– Department Curriculum Mapping (CU-DCM)
– E-portfolio (CU-EP)
– Faculty Course Evaluation (CU-FCE)
– Faculty Course Evaluation (CU-FCE)
– Student Course Evaluation (CU-SCE)
– Department Report (CU-DR)
– Program Report (CU-PR)
– Subject Report (CU-SR)
– Faculty Report (CU-FR)

หลังกลับจากการประชุมได้เขียนรายงานนำเสนอหัวหน้า 6 ประเด็นใน บันทึก 17/54 และขออนุมัตินำไปจัดเวที KM เรื่องหลักสูตร สอดรับกับตัวบ่งชี้ 7.2

ต่อมา 23 มี.ค.55 มีโอกาสได้ฟัง ผศ.ดร.วีระพันธ์ รังสีวิจิตรประภา อาจารย์จากจุฬาฯ นำเสนอเรื่องนี้ที่เชียงใหม่ ในงาน “อุดมศึกษากับการพัฒนาประเทศไทย” ก็ยิ่งเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น ว่าอัตลักษณ์ และมาตรฐานการเรียนรู้นั้น มีที่มา ที่ไป อย่างไร
http://www.scribd.com/doc/87611391

คุณลักษณะบัณฑิตพึงประสงค์ กับคนไทยพึงประสงค์
http://www.thaiall.com/blog/burin/3842/

ปรับปรุงฟอร์มตามรหัสผู้ใช้ด้วย PHP รุ่น 1

28 มิ.ย.54 มีโอกาสพัฒนาโปรแกรม เรียกว่า โปรแกรมรุ่นหนึ่งสำหรับสร้างฟอร์มปรับข้อมูลตามรหัสผู้ใช้ เขียนด้วย PHP4 บน IIS6 สำหรับระบบ TQF มี 4 โปรแกรม คือ
1. โปรแกรมรับรหัสผู้ใช้ (index.php)
2. โปรแกรมตรวจรหัส และแสดงข้อมูลในฟอร์ม (user.php)
3. โปรแกรมปรับปรุงข้อมูล (update.php)
4. โปรแกรมออกจากระบบ (logout.php)

<form action=”user.php” method=”post”>
<input name=”fuser” value=””>
<input name=”fpasswd” type=password value=””>
<input type=”submit” value=”เข้าใช้ระบบ”>
</form>

<?
session_start();
$mysql_db = “tqf”;
$mysql_user = “root”;
$mysql_password = “yourname”;
if (isset($_REQUEST[‘fuser’]) &&
$_REQUEST[‘fuser’] == “myname” && $_REQUEST[‘fpasswd’] == “mypass”) {
$_SESSION[‘suser’] = $_REQUEST[‘fuser’];
}
if (!isset($_SESSION[‘suser’])) header(“Location: index.php”);
// ====
$query    = “select * from tqf1”;
echo “<form action=update.php method=post>”;
$connect = mysql_connect(“localhost”, $mysql_user , $mysql_password);
mysql_query(“set names tis620”);
$result = mysql_db_query($mysql_db,$query);
if ($result) {
while ($object = mysql_fetch_object($result)) {
echo ‘<textarea name=t101 rows=5 cols=80>’. $object->t101 . “</textarea><br />”;
echo ‘<textarea name=t102 rows=5 cols=80>’. $object->t102 . “</textarea><br />”;
echo ‘<textarea name=t103 rows=5 cols=80>’. $object->t103 . “</textarea><br />”;
echo ‘<textarea name=t104 rows=5 cols=80>’. $object->t104 . “</textarea><br />”;
echo ‘<textarea name=t105 rows=5 cols=80>’. $object->t105 . “</textarea><br />”;
}
echo “<br/><input type=submit value=’ปรับปรุง’></form>”;
}
mysql_close($connect);
?>
<a href=logout.php>logout</a>

<?
session_start();
$mysql_db = “tqf”;
$mysql_user = “root”;
$mysql_password = “yourname”;
if (isset($_SESSION[‘suser’])) {
$query    = “update tqf1 set
t101='”. $_POST[“t101″] .”‘ ,
t102='”. $_POST[“t102″] .”‘ ,
t103='”. $_POST[“t103″] .”‘ ,
t104='”. $_POST[“t104″] .”‘ ,
t105='”. $_POST[“t105″] .”‘
where user ='”. $_SESSION[‘suser’] . “‘”;
$connect = mysql_connect(“localhost”, $mysql_user , $mysql_password);
mysql_query(“set names tis620”);
$result = mysql_db_query($mysql_db,$query);
echo $query;
mysql_close($connect);
header(“Location: user.php”);
}
header(“Location: index.php”);
?>

<?
session_start();
session_destroy();
header(“Location: user.php”);
?>

การสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้

ดร.วิยดา เหล่มตระกูล
ดร.วิยดา เหล่มตระกูล

14 มิ.ย.54 เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา มี อ.ดร.วิยดา เหล่มตระกูล และ อ.พงษ์วัชร ฟองกันทา เป็นวิทยากร มีเนื้อหาในการอบรม 4 เรื่อง ได้แก่
1) หลักการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
2) การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3) การสร้างเครื่องมือวัดด้านคุณลักษณะ
4) การสร้างเครื่องมือวัดภาคปฏิบัติ
สอดรับกับ มคอ : กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education, TQF:HEd)

องค์ประกอบของผลการเรียนรู้ตามแนวคิดและทฤษฎีของบลูม (Benjamin S. Bloom, 1956 อ้างอิงถึงใน ศิริชัย กาญจนวาสี, 2540) มีดังนี้
1) ด้านพุทธพิสัย (Cognitive Domain) เป็นการเรียนรู้ด้านความรู้ความเข้าใจและความคิด เป็นความสามารถทางสถิปัญญา ซึ่งมี 6 ระดับ ดังนี้ (1) ความรู้ความจำ (Knowledge) (2) ความเข้าใจ (Comprehension) (3) การนำไปใช้ (Application) (4) การวิเคราะห์ (Analysis) (5) การสังเคราะห์ (Syntehsis) (6) การประเมินผล (Evaluation)
2) ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) เป็นการเรียนรู้ด้านอารมณ์ ความรู้สึก ซึ่งมี 5 ระดับ ดังนี้ (1) การรับรู้หรือการใส่ใจต่อสิ่งเร้า (Receiving or Attending) (2) การตอบสนอง (Responding) (3) การเห็นคุณค่า (Valuing) (4) การจัดระบบค่านิยม (Organization) (5) การแสดงลักษณะตามค่านิยม (Characterization)
3) ด้านทักษะพิสัย  (Psychomotor domain/skill domain) เป็นการเรียนรู้ด้านความชำนาญ หรือทักษะในการปฏิบัติ ซึ่งมี 7 ระดับ ดังนี้ (1) การรับรู้ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ (Perception) (2) ความพร้อมที่จะปฏิบัติ (Set) (3) การปฏิบัติตามข้อแนะนำ (Guided Response) (4) การปฏิบัติจนเป็นนิสัย (Mechanism) (5) การปฏิบัติที่สลับซับซ้อน (Complex overt response) (6) การปรับเปลี่ยนการปฏิบัติ (Adaption) (7) การสร้างปฏิบัติการใหม่ (Origination)

มีโอกาสฝึกปฏิบัติสร้างเครื่องมือวัด แบ่งเป็น 3 ด้าน
1) ด้านพุทธพิสัย มีประเด็นวัดผล 6 ด้านคือ (1) ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด (2) ความเข้าใจ (Comprehend) (3) การประยุกต์ (Application) (4) การวิเคราะห์ ( Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้ (5) การสังเคราะห์ ( Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่ (6) การประเมินค่า ( Evaluation)
2) ด้านจิตพิสัย จะมีองค์ประกอบที่ใช้วัด 3 ส่วนคือ เป้าหมาย (Target) ทิศทาง (Direction) และความเข้มข้น (Intensity)
3) ด้านทักษะพิสัย จะมีจุดประสงค์ปลายทางได้ 3 แบบ คือ การปฏิบัติ (performance) กระบวนการ (process) ผลผลิต (product) และวัดได้ 2 แบบคือวัดภาพรวม และวัดองค์ประกอบ
หมายเหตุ. มีบทเรียนที่ได้จากการอบรมมากมาย แต่ขอสรุปสั้น ๆ ไว้เพียงเท่านี้ครับ

บทเรียนที่ร่วมวิจัยเครือข่ายมหาวิทยาลัยลำปาง

นิคมพัฒนา
นิคมพัฒนา

9 มิ.ย.54 บทเรียนจากการร่วม “โครงการวิจัย แนวทางการทำงานของเครือข่ายสถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปางเพื่อสร้างการเรียนรู้และเสริมศักยภาพชุมชนพื้นที่ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดลำปา“จากการร่วมโครงการระยะที่ 1 ระหว่าง 1 มกราคม 2554 – 31 พฤษภาคม 2554 จำแนกได้ 2 ประเด็นหลัก
ประเด็นหลักที่ 1 ความรู้ คือ
1. การได้รู้เทคนิค และฝึกฝนการวิเคราะห์ชุมชนผ่านการใช้ SWOT ที่เปรียบเทียบกับการใช้อริยสัจสี่ เพราะทั้งสองแบบสามารถใช้งานได้กับชุมชน โดย SWOT นั้นถูกใช้รวบรวมข้อมูลตามประเด็นหลัก 3 ครั้งได้แก่ การศึกษา เกษตร อาชีพ และอริยสัจสี่ใช้กับสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
2. การได้ฝึกเขียนแผนที่ความคิด (MindMap) และเรียนรู้การเขียนจากคุณภัทรา มาน้อย ผ่านการลงมือปฏิบัติ เปรียบเทียบการเขียน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมทั้งการใช้เป็นเครื่องมือเก็บประเด็นเป้าหมาย และการนำเสนอผลการวิเคราะห์ชุมชนรายกลุ่ม
3. การได้แลกเปลี่ยนเทคนิคการวางแผน การจับประเด็น การคิด การพูด การฟัง ร่วมกับเพื่อนนักวิชาการในสาขาวิชาต่าง ๆ ได้มีโอกาสฟังข้อเสนอแนะของ นักคิดนักบริหารระดับประเทศ คือ ศ.ดร.ปิยวัฒน์ บุญหลง และ ดร.บัญชร แก้วส่อง ต่อโครงการของทีมงาน

ประเด็นหลักที่ 2 ความสุข คือ
1. การได้เห็นรอยยิ้มจากความสุขผู้คนในชุมชน ที่ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มที่มีความเข้าใจ มีฐานคิดคล้ายกัน ได้ระบายปัญหา จุดแข็ง และเป้าหมายที่ต้องการบรรลุ และได้ออกมานำเสนอด้วยตนเอง
2. การได้ใช้เวลาว่างในวันสุดสัปดาห์ทำงานกับชุมชน เพราะการทำงานในกรอบ ใต้กฎเกณฑ์รัดตัว ผู้คนที่มุ่งแต่แข่งขัน ในป่าคอนกรีต ย่อมมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างจากการทำงานกับชาวบ้าน ในพื้นที่ที่แวดล้อมด้วยป่าเขา ลำธาร และบรรยากาศบริสุทธิ์ เป็นสิ่งที่ผู้คนมากมายใฝ่ฝัน แต่มีเพียงไม่กี่คนที่ไปถึงฝั่งฝัน
3. การทำตัวเป็นประโยชน์แก่ชุมชน เพราะการให้ความรู้เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาที่มุ่งเข้าศึกษาในสถาบันนั้นมีกรอบอยู่แต่ในมหาวิทยาลัย แต่การออกให้บริการวิชาการเชิงประยุกต์นั้น มีเรื่องคาดไม่ถึงให้ประหลาดใจอยู่เสมอ  เพราะนอกจากจะเป็นผู้ให้ความรู้แก่ชุมชนแล้ว ก็ยังเป็นผู้รับความรู้ไปพร้อมกัน พร้อมกับการแก้ปัญหาไปตามสถานการณ์เฉพาะหน้า
4. การได้เพื่อนใหม่ต่างวัยต่างสมณะที่มาจากห้าสถาบันการศึกษาหลัก รวมกลุ่มเป็นเครือข่ายมหาวิทยาลัยลำปาง แล้วร่วมกันทำงานวิจัยและบริการวิชาการเพื่อชุมชน เป็นโอกาสที่อาจมีเพียงครั้งเดียวในชีวิต เพราะเพื่อนจากแต่ละสถาบันมีความเป็นกัลยาณมิตรที่หาได้ยากยิ่ง ในทีมทั้ง 29 คนมีเป้าหมายเดียวกันคือ ทำเพื่อชุมชน และมุ่งประโยชน์ของชุมชนเป็นที่ตั้ง

ร่างโครงการ ช่วงพัฒนาโจทย์

11 พ.ย.53 รายงาน ขอเล่าให้เพื่อนผู้อาสาร่วมทีมวิจัยเพื่อท้องถิ่นว่า .. ช่วงเช้าเข้าพบทีมวิจัยหลายท่านล้วนเป็นผู้มีความพร้อมหลายประการ บัดนี้ได้แล้ว 9 ขุนศึก ที่จะร่วมเป็นนักวิจัยในโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่น โดยเลือกพื้นที่เป็นสถาบันระดับอุดมศึกษา จากการหารือในช่วงพัฒนาโจทย์นี้ และได้คำตอบเพิ่มเติมหลายประเด็น เช่น หลักสูตร คณะ และชั้นปี ปรับรายละเอียดกิจกรรม และการใช้งบประมาณเพิ่มเติม ปรับคำถามการวิจัยใหม่โดย อ.เบญ ปรับเพิ่มกิจกรรมโดย อ.หนุ่ย ผู้เป็นขุนศึกษาคนสุดท้ายที่อาสาเข้ามาพัฒนาชุมชนโยนกคนสุดท้าย และ brief ให้ท่านอธิการฟังแล้ว .. บัดนี้ปรับรายละเอียดโครงการรอบ 2 ก่อน อ.ธวัชชัย จะนำไปปรับใหญ่ แล้วจะมีการนำเสนอในเวทีของ 9 ขุนศึกต่อไป เอกสารข้อเสนอโครงการยกร่างรุ่น 2 พร้อมชื่อ อีเมล และ fb ในทีม ที่ http://www.yonok.ac.th/doc/burin/proposal_class_process_v2_531111.doc

อบรม TQF ที่มหาวิทยาลัยโยนก โดย อ.อุาณีย์ คำประกอบ

วิทยากร อาจารย์ และทีมผู้บริหารมหาวิทยาลัย

6 พ.ค.53 ฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยโยนก โดย อ.อติชาต หาญชาญชัย จัดสัมมนาวิชาการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education) ซึ่งมีผู้อำนวยการสำนักประกันคุณภาพจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้เกียรติมาเป็นวิชาการ คือ รศ.อุษณีย์ คำประกอบ สำหรับเนื้อหาประกอบด้วยรายละเอียดเกี่ยวกับแบบฟอร์มที่ต้องจัดทำทั้งหมด 7 แบบ คือ มคอ.1) การพัฒนามาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา มคอ.2) กรอบมาตรฐานคุณวุฒิกับการพัฒนารายละเอียดของหลักสูตร มคอ.3) การพัฒนารายละเอียดของรายวิชา (Course Specification) มคอ.4) การพัฒนารายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (Field Experience Specification) มคอ.5) การรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา (Course Report) มคอ.6) การรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (Field Experience Report) มคอ.7) การรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร (Programme Report)
     เอกสารของ รศ.อุษณีย์ คำประกอบ ฝากให้กับคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย PowerPoint และแฟ้มตัวอย่างของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่ท่านรวบรวมไว้สำหรับเป็นตัวอย่างให้ทุกคนได้เรียนรู้ เพื่อเป็นตัวแบบในการใช้ประกอบพิจารณา และปรับปรุงให้สอดรับกับการจัดทำ TQF ในหลักสูตรของตนเอง
Download : http://www.yonok.ac.th/doc/oit/TQF_530506.zip
Download : http://www.yonok.ac.th/doc/oit/tqf_yonok_530506.ppt
+ http://www.thaiall.com/tqf
+ http://www.qa.rmutk.ac.th/Download/
+ http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/
+ http://www.eqd.cmu.ac.th
+ http://eoffice.pharmacy.cmu.ac.th/mis/person/view_person_detail.asp?id=6246