ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดลำปาง

private university
private university

การวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกสถานศึกษาที่ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ในอำเภอเมืองลำปาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักเรียนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปางแยกเป็น โรงเรียนเอกชน จำนวน 1 โรงเรียน ได้แก่โรงเรียนมัธยมวิทยา และโรงเรียนรัฐบาล จำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย โรงเรียนปงแสนทองวิทยา และโรงเรียนกิ่วลมวิทยา จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 287 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีดำเนินการ ประกอบด้วย การเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าสถิติร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ในการอธิบายข้อมูล โดยสรุปผลการวิจัยพบปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกสถานศึกษาที่ถูกเลือกเป็นอันดับแรกใน แต่ละด้าน ประกอบด้วย ความรู้พื้นฐานที่มีของนักเรียน สาขาวิชาที่เปิดสอนที่ตรงกับความต้องการ คำแนะนำของอาจารย์แนะแนวการหาข้อมูลเกี่ยวกับคณะสถาบันหรือวิชาที่เปิดสอนจากอินเทอร์เน็ต การสอบเข้าศึกษาต่อโดยวิธีการสอบตรงหรือสอบโควตา ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย ความพร้อมและความทันสมัยของอุปกรณ์สำหรับการเรียนการสอน ค่าเล่าเรียนในการศึกษาต่อ

This was the research project on “Factors influencing in the choosing private higher-education institution of matayom 6 students in Muang Lampang district, Lampang province”. It was the quantitative research. The objective was to study personal factors and marketing factors that have influence to choose higher-education institution. Data sampling had 287 students of matayom 6in schools of downtown district, Lampang province that had Bunyawat school, Pongsantong school, Matayom school, and Kewlom school. Research tool is questionnaire.
Methodologist composed of the collection of information and data analysis. The statistic using in conclusion was percentage, mean and standard deviation. The research conclusion founded that the factors to choose higher-education institution was the basic skill and knowledge, the requirement curriculum, the suggestion of advisor, the searching of institution information from internet, the examination and quota, the reputation of the university, the preparation and modernization for learning and teaching, the fee for education.

http://it.nation.ac.th/studentresearch/search.php?id=74

#research #kounchanok

กระแสวัตถุนิยมเริ่มเสื่อม เดี๋ยวนี้เป็นกระแสนิยมคนดี เข้ามาแทน

ภาพนี้เชยล่ะ
สมัยนี้ ไม่มีใคร
เห็นแก่ มอเตอร์ไซค์หรอก
เห็นแก่ กีฬา คือ ยาวิเศษ
เห็นแก่ รถยนต์หรู
เห็นแก่ เรือลำโต
ทุกคนชอบคบคนอ่านหนังสือ
ปล. กระแสนิยมวัตถุเริ่มเสื่อมล่ะ

มีตัวอย่างเยอะเลย กับกระแสรักการอ่าน

 
http://www.illumeably.com/2017/07/27/success-vs-failure/

หรือ

ตัวแบบปัจจัยความสำเร็จสหกิจศึกษา

http://sphotos-d.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-prn1/154460_564684576879011_543953131_n.jpg
ตัวแบบปัจจัยความสำเร็จสหกิจศึกษา

จากบทความ เรื่อง การพัฒนาตัวแบบปัจจัยความสำเร็จสหกิจศึกษาแบบมีส่วนร่วม (Key Success Factors Participative Co-op Education Development Model) โดย วันชาติ นภาศรี ธวัชชัย แสนชมภู สิริรัตน์ เลิศมีมงคลชัย
เสนอว่า ตัวแบบ 12 ปัจจัยความสำเร็จสหกิจศึกษาแบบมีส่วนร่วม มีดังนี้
1. การสนับสนุนของผู้บริหารระดับสูง (Top Management Support)
2. การมีความรู้ ความเข้าใจในพันธกิจสหกิจศึกษา (Co-op Mission)
3. การจัดโครงสร้างงาน ระบบ & กลไก (Organization Management)
4. การจัดการความรู้สหกิจศึกษา (Co–op Knowledge Management)
5. การจัดทำแผนกลยุทธ์/คู่มือการปฏิบัติงาน (Co-op Schedule/Strategy Plan)
6. การสร้างการยอมรับ เห็นคุณค่า และประโยชน์ร่วมกัน (Stakeholder Acceptance)
7. การปรึกษาหารือ การให้คำแนะนำ การนิเทศ  (Consultation)
8. การติดต่อสื่อสาร การประสานงาน (Communication)
9. การจัดการทรัพยากร  (Resource Management)
10. เครือข่ายความร่วมมือ (Net Working)
11. การแก้ไขปัญหา และอุปสรรคที่เหนือความคาดหมาย (Troubleshooting)
12. การติดตามประเมินผล และการรับรู้ข้อมูลป้อนกลับ  (Monitoring Evaluation & Feedback)

แล้วมีข้อเสนอแนะ การนำไปประยุกต์ใช้กับสถาบันอุดมศึกษา ว่าควรพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. ดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันของตนเอง วิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis) เพื่อประเมินศักยภาพ ความพร้อมตามองค์ประกอบ เงื่อนไข คุณลักษณะของตัวชี้วัดความสำเร็จสหกิจศึกษาที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมขององค์กรผู้ใช้บัณฑิต และนักศึกษา
2. ดำเนินการจัดการความรู้สหกิจศึกษา ปรัชญา แนวคิดพื้นฐาน หลักเกณฑ์ ขั้นตอน วิธีการดำเนินงาน ระบบและกลไกการประสานงาน จัดทำเป็น “คู่มือการจัดการศึกษาระบบสหกิจศึกษา” และการจัดการความรู้ในระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ (Internet) ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามบริบทของสถาบันอุดมศึกษานั้นๆ
3. จัดอบรม สัมมนาความรู้ ความเข้าใจ เตรียมความพร้อม ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสหกิจศึกษาให้บุคลากร อาจารย์/เจ้าหน้าที่ นักศึกษา องค์กรผู้ใช้บัณฑิต และประชาชนทั่วไปได้รับทราบ
4. ขยายเครือข่ายองค์กรผู้ใช้บัณฑิต การรับรู้เห็นคุณค่า คุณประโยชน์ของคณาจารย์ในทุกหลักสูตร การขยายหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนสหกิจศึกษา เพื่อรองรับนักศึกษาสหกิจศึกษา อย่างต่อเนื่อง
5. การบริหารจัดการตาม “ตัวแบบ 12 ปัจจัยความสำเร็จสหกิจศึกษาแบบมีส่วนร่วม”


http://www.facebook.com/media/set/?set=a.564684180212384.139685.506818005999002

http://www.scribd.com/doc/118643661/

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์

factor computer subject
factor computer subject

ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ของอดิศักดิ์ พงษ์พูลผลศักดิ์ และไพบูลย์ เกียรติโกมล ในส่วนของความสัมพันธ์ของเจตคติที่มีต่อการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีตัวแปรดังนี้ ความสนใจในวิชาชีพ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ทักษะพื้นฐาน ความรับผิดชอบ การปรับตัวของนักเรียนกับเพื่อน การปรับตัวของนักเรียนกับครู (Full Article)
http://www.thaiall.com/research/it/research_factor_computer.pdf

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้อินเตอร์เน็ต

factor behavior internet
factor behavior internet

พบโครงร่างวิทยานิพนท์ เรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลกับพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตของนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ผู้วิจัย นายเทพศิรินทร์ วุฒิยางกูร ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 2550 มีปัจจัยที่น่าสนใจที่หลายปัจจัย อาทิ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกสถานที่ใช้อินเตอร์เน็ต
ปัจจัยที่ส่งผลต่อเหตุผลในการใช้อินเตอร์เน็ต
ปัจจัยของการเลือกวันที่ใช้อินเตอร์เน็ต
ปัจจัยการเลือกช่วงเวลาที่ใช้อินเตอร์เน็ต
ปัจจัยของลักษณะการใช้อินเตอร์เน็ตตามลำพังหรือร่วมกับผู้อื่น
ปัจจัยของลักษณะการเลือกใช้บริการของอินเตอร์เน็ต
ปัจจัยของวัตถุประสงค์ในการใช้อินเตอร์เน็ต
การเข้าเลือกใช้ภาษา
การปฏิบัติหลังการใช้อินเตอร์เน็ต
http://www.thaiall.com/research/it/research_factor_behavior_internet.doc

ประสิทธิผลของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

it efficiently research
it efficiently research

พบเอกสารการทบทวนวรรณกรรม โครงการวิจัย “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ” เขียนได้ดีมีประโยชน์มากครับ เป็นกรณีศึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และมี diagram แสดงตัวแปรต้น กับตัวแปรตามได้ชัดเจน มีเนื้อหา 7 หน้า
อ้างอิง : อนุทิน  จิตตะสิริ.2541  ประสิทธิฟลของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาระบบงานบริหารเอกสาร: ศึกษาเฉพาะกรณีสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.  กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง
http://www.thaiall.com/research/it/research_it_efficiently.doc

ระดับของทักษะในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

http://61.19.244.9/personel/form/framru_taksa/Pakpanouk.doc