ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

impact factor 2555
impact factor 2555

12 มิถุนายน 2557 เพื่อนของผม อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง และ อ.จิรศักดิ์ ประทุมรัตน์
ส่งอีเมลพร้อม attach file เป็น excel
ว่ามีการอัพเดทค่า impact factor ของวารสารแต่ละฉบับ
ในแฟ้ม excel สามารถคลิ๊กลิงค์เข้าไปดูรายละเอียดในเว็บไซต์ของ TCI
จึงนำแฟ้มนี้ไปแขวนไว้ในระบบฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยเนชั่น
เพื่อสะดวกในด้านการบริหารจัดการ และสนับสนุนข้อมูลด้านการวิจัยต่อไป
ที่ http://it.nation.ac.th/studentresearch
แล้วนำชื่อวารสารในกลุ่มมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ส่วนหนึ่งมาแบ่งปัน ดังนี้
ที่    ชื่อวารสาร    Journal Title
1    วารสารพฤติกรรมศาสตร์    Journal of Behavioral Science
2    The Journal of Risk Management and Insurance
3    วารสารวิทยาการจัดการ    Journal of Management Sciences
4    วารสารศิลปศาสตร์    Journal of Liberal Arts
5    วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น    UMT-Poly Journal
6    วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง    Journal of Architectural/Planning Research and Studies
7    วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์    Journal of Commerce-Burapha Review
8    หน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย    NAJUA history of architecture Thai architecture
9    วารสารวิธีวิทยาการวิจัย    Journal of Research Methodology
10    วารสารสถาบันพระปกเกล้า    King Prajadhipoks Institute Journal
11    วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา    Journal of Behavioral Science for Development
12    International Journal of Behavioral Science
13    วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์    Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal
14    อินฟอร์เมชั่น    Information
15    วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์    Songklanakarin Journal of Social Sciences and Humanities
16    วารสารวิจัย มสด. สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์    SDU Research Journal Social Science and Humanities
17    The Journal : Journal of the Faculty of Arts
18    วารสารพัฒนบริหารศาสตร์    NIDA Development Journal
19    วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย    University of the Thai Chamber of Commerce Journal
20    วารสารร่มพฤกษ์    Krirk University Journal
21    วารสารนิด้าภาษาและการสื่อสาร    NIDA Journal of Language and Communication
22    วารสารบริหารธุรกิจ    Journal of Business Administration
23    วารสารอารยธรรมศึกษาโขง-สาละวิน    Mekong-Salween Civilization Studies Journal
24    วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม    Journal of Education Mahasarakham University
25    วิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์    Kasetsart Journal (Social Sciences)
26    วารสารรัฐประศาสนศาสตร์    Thai Journal of Public Administration
27    Journal of Supply Chain Management Research and Practice
28    วารสารบริหารธุรกิจ นิด้า    NIDA Business Journal
29    วารสารประชากรศาสตร์    Journal of Demography
30    วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์    Journal of Social Sciences and Humanities
31    วารสารบรรณศาสตร์ มศว    Journal of Library and Information Science Srinakharinwirot University
32    จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์    Chulalongkorn Business Review
33    วารสารวิจัยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ    TLA Research Journal (Thai Library Association)
34    วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี    Journal of Education Prince of Songkla University
35    วารสารวิชาการศาลปกครอง    Administrative Courts Journal
36    วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง    Journal of Mekong Societies
37    Mon-Khmer Studies: A Journal of Southeast Asian Languages and Cultures
38    วารสารนักบริหาร    Executive Journal
39    ศิลปากร    Silpakorn Journal
40    BU Academic Review    BU Academic Review
41    บทบัณฑิตย์
42    วารสารยุโรปศึกษา    Journal of European Studies
43    วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย    Journal of politics, administration and law
44    วารสารกฎหมายปกครอง    Administrative Law Journal
45    วารสารศาลรัฐธรรมนูญ    Constitutional Tribunal Journal
46    วารสารเทคโนโลยีสุรนารี    Suranaree Journal of Social Science
47    วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ    Journal of Social Sciences Srinakharinwirot University
48    Journal of Population and Social Studies
49    กระแสวัฒนธรรม    Cultural Approach
50    จุลนิติ
51    วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย    Quality of Life and Law Journal
52    กระแสอาคเนย์    Southeast current
53    มนุษยศาสตร์สาร    Journal of Human Sciences
54    วารสารสมาคมนักวิจัย    Journal of the Association of Researchers
55    Veridian E-Journal, Silpakorn University
56    วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา    Journal of Yala Rajabhat university
57    วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร    Journal of Education Naresuan University
58    วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร    Silpakorn University Journal
59    วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ    Economics and Public Policy Journal
60    ABAC Journal
61    วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา    Journal of Public Relations and Advertising
62    วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร    MUT Journal of Business Administration
63    วารสารรูสมิแล    RUSAMELAE JOURNAL
64    วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์
65    วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)    Journal of Srinakharinwirot Research and Development
66    วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
67    วารสารวิจัยทางการศึกษา    Journal of Educational Research
68    วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร    Journal of Humanities Naresuan University
69    สักทอง : วารสารสังคมศาสตร์    The Golden Teak : social science journal
70    ดำรงวิชาการ    Damrong : Journal of the Faculty of Archaeology
71    วารสารวิชาชีพบัญชี    Journal of Accounting Professions
72    วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์    Sripatum Review of humanities and social sciences
73    วารสารสุทธิปริทัศน์    Suthiparithat Journal
74    ดุลพาห
75    นิเทศศาสตร์ปริทัศน์
76    วารสารกระบวนการยุติธรรม    Journal of Thai Justice System
77    วารสารการบริหารและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม    Journal of Administration and Development Mahasarakham University
78    วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์    Kasetsart Educational Review
79    วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม    Journal of Educational Measurement Mahasarakham University
80    วารสารศึกษาศาสตร์    Journal of Education
81    วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี    Sripatum Chonburi journal
82    ศิลปวัฒนธรรม    Art and Culture Magazine
83    สารคดี    Sarakadee Magazine

รายชื่อวารสารในฐานข้อมูล TCI 538 รายการ
http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/list%20journal.php
รายชื่อวารสารสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 260 รายการ
http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/list%20journal.php?branch=S
รายชื่อวารสารสาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ 278 รายการ
http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/list%20journal.php?branch=H

ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยเนชั่น
ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยเนชั่น

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ

เอกสารประกอบการอบรม
เอกสารประกอบการอบรม

มหาวิทยาลัยเนชั่น  โดย อ.ศรีเพชร สร้อยชื่อ และอ.วราภรณ์ เรือนยศ
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ
เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2557
โดยมี ผศ.ดร.ศิริพร เสริตานนท์ เป็นวิทยากรให้ความรู้
ก่อนบรรยายมีการทดสอบก่อนเรียน (Pre-test)
และหลังบรรยายมีการทดสอบหลังเรียน (Post-test)
โดยมี อ.เกศริน อินเพลา ได้คะแนนสูงสุดร่วมกับ อ.ศรีเพชร สร้อยชื่อ
เนื้อหาเน้นให้เข้าใจเงื่อนไขข้อกำหนดของการขอตำแหน่งทางวิชาการ
และแบ่งปันกระบวนการที่ท่านได้ดำเนินการมาก่อนหน้านี้

การขอตำแหน่งทางวิชาการนอกจากอายุการสอนแล้ว
ยังต้องมีเอกสารประกอบการสอน ตำรา งานวิจัย บทความวิชาการ
ซึ่งรายละเอียดในแต่ละตำแหน่ง ก็จะแตกต่างกันไป
ทั้งศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์
ซึ่งศึกษาได้จากเอกสารที่สำนักวิชาการ

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.584196208261181.142796.506818005999002

ผู้เข้ารับการอบรม
ผู้เข้ารับการอบรม
ผู้เข้ารับการอบรม
ผู้เข้ารับการอบรม

พบนักวิชาการเรื่องการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ปาย

burin @cmu
burin @cmu

2 ก.พ.57 ได้รับโอกาสพบนักวิชาการ 3 ท่านคือ
ผศ.ดร.สาวิตร มีจุ้ย อ.รณวีร์ สุวรรณทะมาลี
และ รศ.ดร.ศักดิ์ดา  จงแก้ววัฒนา
ณ ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แล้วได้พูดเรื่องการใช้งานวิจัยพัฒนาชุมชน
ประเด็นการท่องเที่ยว และระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
มีพื้นที่คือ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
โดยการทำงานจะแบ่งเป็น 4 ช่วง
คือ ศึกษา สำรวจ วิเคราะห์และสังเคราะห์ และจัดกิจกรรม
ซึ่งการท่องเที่ยวนั้นมีเส้นทางแบ่งได้เป็น ธรรมชาติ เกษตร และวัฒนธรรม

ระบบที่พัฒนาขึ้น ส่วนหนึ่งจะช่วยสนับสนุนนักท่องเที่ยวในการตัดสินใจ
เลือกเส้นทางการท่องเที่ยวภายใต้ งบประมาณ เวลา และความสนใจ
ด้วยการนำเสนอเส้นทาง ข้อมูล และแผนการเดินทางผ่านเว็บไซต์

ซึ่งมี template ที่ผมเสนอระหว่างการพูดคุยเรื่อง proposal ตามภาพนี้

googlemap in talking
googlemap in talking

AAR หลังประชุมกับ ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ลำปาง

AAR หลังประชุมกับ ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ลำปาง

AAR หลังประชุมกับ ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ลำปาง
AAR หลังประชุมกับ ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ลำปาง

17 ม.ค.57 ได้ประชุมร่วมกับเพื่อนในสถาบันต่าง ๆ
ที่มีประสบการณ์ทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
ณ ห้องประชุมอาคาร ดร.เทียม โชควัฒนา 9.00 – 14.30น.
เพื่อจัดประชุม 6 ปีวิชาการเพื่อท้องถิ่น นำทีมโดยคุณภัทรา มาน้อย
มีประเด็นพอที่จะประมวล ในส่วนของหน้าที่ที่ต้องไปทำต่อ ดังนี้
1. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักวิชาการในมหาวิทยาลัย เข้าร่วมประชุม
2. ทาบทามท่านอธิการกล่าวต้อนรับ และร่วมเสวนาเชิงนโยบาย
3. ประสานหานักศึกษา 6 คน ทำงานลงทะเบียน ช่วยงานหน้าเวที (สวย)
4. ประสาน อ.อัศนีย์ ณ น่าน ทำหน้าที่พิธีกรในงาน
5. ปรับแก้ poster และ อ.เชพ แก้ไวนิล ตามมติที่ประชุม
6. ประสานการบันทึกคลิ๊ปวีดีโอ เพื่อประชาสัมพันธ์
7. ประสานคณะต่าง ๆ นำเสนอผลงานที่เกี่ยวกับท้องถิ่น
– สาขาการจัดการ : ซางข้าวโพด
– สาขาวิชาภาษาอังกฤษ : อบรมภาษา
– สาขาวิชาสาธารณสุข : ทำงานในชุมชน
8. ประสานฝ่ายประชาสัมพันธ์จัดบูทนำเสนอหลักสูตร
9. ประสานคุณแอน จัดบูทจำหน่ายหนังสือ
10. ประสานผู้รับผิดชอบอาคาร เตรียมความพร้อมใช้สถานที่
11. สรุปกิจกรรมที่มหาวิทยาลัยจะทำภายในงาน ส่ง สกว.
12. รอประสานทำคลิ๊ป กับทีมของศูนย์ฯ
เรื่องบริการวิชาการรูปแบบใหม่ ว่าใหม่อย่างไร

กลุ่มเป้าหมาย คือ นักวิชาการ ผู้เกี่ยวข้อง และตัวแทนชุมชนที่สนใจ
ในการพัฒนาท้องถิ่นโดยใช้การวิจัย จากบทเรียน 6 ปี
ของการวิจัยเพื่อท้องถิ่นในบทบาทของ ศูนย์ฯ ลำปาง
งานมีขึ้นในวันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557

AAR = After Action Review

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.724680400879427.1073741872.506818005999002

โคมยี่เป็ง กับสามคำ “ไม่เลิก ไม่รอ ไม่รับ”

27 พ.ย.56 หลังเทศกาลปล่อยโคมช่วงงานลอยกระทง หรือล่องสะเปา
ตามประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อของชาวล้านนา
ก็มีประเด็นเรื่องการปล่อยโคมในภาพยนตร์
ซึ่งชาวล้านนาไม่สบายใจนัก ที่เห็นการปล่อยโคมแบบพิศดาล
ที่คาดไม่ถึงในเรื่อง “โอ้! มายโกส ต์คุณผีช่วย”

โคมยี่เป็งกับ 4 คูหา
โคมยี่เป็งกับ 4 คูหา

สำนักข่าวนอร์ทพับบลิคนิวส์
14 พ.ย.2556 รองปลัดเทศบาลนครเชียงใหม่ กล่าวด้วยว่า ประเพณียี่เป็งเชียงใหม่ ปี 2556
กำหนดแนวคิดว่า แอ่วยี่เป็งเจียงใหม่ ปลอดประทัดยักษ์ ไร้แอลกอฮอล์
นอกจากนี้ ยังรณรงค์ให้งดปล่อยโคม ทั้งโคมควันและโคมไฟ
หรือหากต้องการปล่อย ต้องใช้โคมที่ได้มาตรฐานและปล่อยตามเวลา
ที่ไม่กระทบต่อระบบการบินและอากาศยาน
คือ หลังเวลา 21.00น. เป็นต้นไป
http://www.northpublicnews.com/?p=3854

ลดปล่อยโคม
ลดปล่อยโคม

โคมลอย ลอยทำไม ลอยเพื่อใคร
ที่มาของการจุด “โคมลอย” หรือที่คนล้านนาโบราณเรียกว่า “ว่าวไฟ” “ว่าวควัน” หรือ “ว่าวลม” (ว่าวฮม) นั้น
จุดประสงค์ดั้งเดิมที่แท้จริงหาใช่เพื่อความรื่นเริงบันเทิงไม่
หากแต่จุดเพื่อเป็นพุทธบูชาถวายแด่พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่ประดิษฐานอยู่ในพระเจดีย์จุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ตามพุทธประวัติกล่าวว่าภายหลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงปลงพระเกศาด้วยพระขรรค์เพื่อดำรงสมณเพศ ณ ริมฝั่งอโนมานทีนั้น
พระอินทร์ได้นำพระเกศธาตุหรือมวยผมของพระองค์ก่อนจะบรรลุธรรมมาเก็บรักษาไว้ให้ห่างไกลจากมนุษยโลก
เนื่องจากเป็นของสูงของศักดิ์สิทธิ์ บรรจุไว้ในพระเจดีย์องค์หนึ่งมีชื่อว่า “จุฬามณี” หรือ “จุฑาศรี”
และเชื่อว่าเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว พระบรมสารีริกธาตุทั้งหมดจะมารวมตัวกันอยู่ในพระเจดีย์จุฬามณีเป็นหนึ่งเดียว

โคมลอยฟ้านั้น ชาวสยามในราชสำนักเริ่มรู้จักมาแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๑๖
เพราะเป็นคำที่ปรากฏอยู่ในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ (หมายเหตุไม่ได้พิมพ์ผิด หนังสือเล่มนี้ใช้ “ศรับท์” แทน “ศัพท์”) หรือนิยมเรียกกันง่าย ๆ ว่า พจนานุกรมภาษาสยาม ที่ ดร.แดน บีช แบรดเลย์ จัดพิมพ์ขึ้น
(Dictionary of the Siamese Language by Dr.Dan Beach Bradley
, Bangkok 1873) โดย “หมอบรัดเล” เรียกโคมลอยว่า Balloon
และอธิบายว่า โคมลอย คือ ประทีปเครื่องสำหรับจุดไฟในนั้นให้สว่าง แล้วควันไฟก็กลุ้มอบอยู่ในนั้น ภาโคมให้ลอยขึ้นไปได้บนอากาษ (หน้า ๑๐๕)

ความนิยมจุด “โคมลอย” ทุกวันนี้ มีกันจนเฝือ แทบจะทุกงานประเพณีบุญ แพร่ลามมาถึงทุกงานเลี้ยงขันโตก
มีอยู่ช่วงหนึ่ง กระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือเวียนถึงผู้ว่าราชการแปดจังหวัดภาคเหนือตอนบน สั่งเตือนชาวให้ล้านนาเพลา ๆ
เรื่องการจุดโคมลอยให้น้อยลงหน่อย หรือหากงดจุดไปเลยได้ก็จะยิ่งดี
ข้ออ้าง คือ หาว่ามารบกวนวิถีการบินทำให้เครื่องบินเกิดอันตราย อันเป็นที่มาของการลุกฮือขึ้นประท้วงโดยชาวล้านนา
พร้อมกับคำถามแทงใจดำที่ว่า “ระหว่างเครื่องบินกับประเพณีการจุดโคมลอยของชาวล้านนาที่มีมาหลายร้อยปีแล้ว
ใครที่ควรเป็นฝ่ายถอย หากจะห้ามไม่ให้พวกเราจุดโคมลอย ควรไปห้ามไม่ให้มีเที่ยวบินน่าจะง่ายกว่า”
เหตุการณ์ขัดแย้งนั้นค่อนข้างรุนแรงอยู่หลายปี นำมาซึ่งกฎระเบียบมากมายในช่วงเทศกาลสำคัญ ๆ
เช่น การกำหนดระยะเวลาการจุดโคมลอยว่าให้สามารถกระทำได้ในระหว่างช่วงเวลาใดและสถานที่ไหนบ้าง
เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ตรงกับช่วงที่เครื่องบินจะเหินฟ้าออกจากท่าอากาศยาน เป็นที่ทราบกันดีว่า
ช่วงหัวค่ำระหว่างหนึ่งทุ่มถึงสามทุ่มนั้นเป็นช่วงที่สายการบินชุกที่สุด แถมยังเป็นช่วงที่คนนิยมจุดโคมลอยมากที่สุดอีกเช่นกัน
แล้วใครควรเป็นฝ่ายถอย
วุ่นวายถึงคณะวิศวกรรมศาสตร์ของสถาบันการศึกษาหลายสำนัก ทั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และแม่โจ้
ต่างก็ใช้วิกฤติที่กำลังขัดแย้งอยู่นั้นให้เป็นโอกาส ด้วยการแข่งขันกันออกแบบโคมลอยชนิดที่เวิร์คที่สุด
อาทิ สามารถเผาไหม้ในตัวเองภายในระยะเวลาไม่เกินกี่นาที หรือเมื่อลอยไปปะทะกับเครื่องบินแล้ว
จะไม่รบกวนสมาธิของกัปตัน เป็นต้น

อย่างไรเสีย ชาวล้านนายังคงยืนกรานแน่นหนักว่า “ไม่เลิก ไม่รอ ไม่รับ”
(ไม่เลิกจุดโคมลอย ไม่รอเวลาว่ากี่ทุ่มถึงกี่ทุ่ม และไม่รับรูปแบบโคมประยุกต์ที่ทางการกำหนดให้จุดได้เท่านั้น)
http://goo.gl/F1uNDP
จาก note ของ https://www.facebook.com/pensupa.sukkatajaiinn/notes

การจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน

8 พ.ย.56 อ่านงานของ คุณปิยรัตน์ วงศ์จุมมะลิ

เป็นงานชุด CBMAG โครงการ ชื่อ การวิจัยสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนา:
กรณีการจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนบ้านนาบอน

หมู่ที่ ๒ ตำบลทุ่งงาม อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง (RDG50N0037)

อ่านแล้วต้องไปตอบคำถามที่ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ลำปาง
ที่ทิ้งโจทย์ไว้ให้ผม 9 ข้อ เป็นงานแรกที่รู้สึกว่าตอบได้ง่าย
คงเพราะคุณปิยรัตน์ วงศ์จุมมะลิ สรุปประเด็นไว้ได้ค่อนข้างดี
สะท้อนคำว่างานวิจัยเพื่อท้องถิ่นได้ชัดเจน

จึงลองมองออกมาเป็นวิธีวิทยา ดังนี้
1. ศึกษาปัญหา และกำหนดวัตถุประสงค์
2. สร้างการมีส่วนร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง
3. วางแผน และทำความเข้าใจร่วม
4. การประชุมระดมความคิด
5. การให้ความรู้ความเข้าใจเพื่อการปฏิบัติ
6. ลงมือปฏิบัติ และพัฒนา
7. ประเมินผล
8. สรุปผล
9. เผยแพร่บทเรียน และขยายผล

การจัดการขยะบ้านนาบอน
การจัดการขยะบ้านนาบอน


https://www.facebook.com/download/1374270969485598/frame_of_reading.docx

การแบ่งปันในเครือข่ายสังคมมีแรงขับจากอัตตา (ego)

New research highlights that social sharing is driven by ego
Summary: ทำไมเราแบ่งปันลิงค์ไปบนเว็บสังคมที่เพื่อนของเราไม่เห็นจะสนใจ แล้วทำไมเรื่องแฟชั่นถึงมีการคลิ๊กกว่าเรื่องธุรกิจนะWhy do we share links on social sites that our friends are not particularly interested in? And why do articles about fashion get a higher percentage of clicks than articles on business?
By Eileen Brown for Social Business
April 12, 2013 — 09:59 GMT (17:59 SGT)
We feel compelled (บังคับ) to share information across our social channels when we find it on the web. But what are our motivations for doing this?
33Across which specialises in social sharing and content discovery has been examining our behaviour online. It has released research from its Tynt publisher solution to examine online sharing behaviour by consumers around the world.
Just like its report on advertising on Facebook post IPO (Initial Public Offering) the research brings up some interesting findings. 33Across examined 450 of its largest publishers across 24 content categories.
Publishers need to move beyond analyzing which content is most frequently shared and also consider the rate at which people click on shared links“.
It calculated sharing rate by dividing the number of shares by the number of page views for a given site. This normalized the data to provide an apples-to-apples comparison across categories.
Click back rate is calculated by dividing the number of clicks on all shared links for a web site by the number of total shares for the web site.
For example, if site xyz.com has 1,000 total shares and 500 clicks on the shared links, then the click back rate would be 50%.
The raw data comes from the Tynt service and is available through the company’s internal data portal where they have access to account-level information. The sites were manually categorized and data rolled up by category.
The research highlights some interesting behavior.
การแบ่งปัน และคลิ๊กกลับ
การแบ่งปัน และคลิ๊กกลับ
Obviously we do not share everything we read. Some topics warrant a higher sharing rate per page view than other topics. Science articles score highly. For every 100 science related articles we read, we are likely to share 12 of them with our friends or connections.
Conversely for every 100 articles relating to men’s health, fitness or relationships, we are likely to share only one article with our friends.
But what do your friends actually read? Are they more likely to read something just because you have shared it? Apparently not.
Stories with a high percentage of shares, such as science stories (11.8 per cent) have a low percentage of clicks (9 per cent). Stories with a low percentage of shares such as men’s health (1.1 per cent) have a high percentage of clicks (47 per cent).
So we are sharing highbrow topic stories that our friends just do not read. So why is that?
เป็นสมมติฐานที่น่าสนใจมาก
I might decide to share a science based article on a topic that I hardly understand with my connections. I am sharing this content because I want to be identified with specific topics that showcase just how much I know about the topic.

33Across.com call this ‘ego sharing’. It enhances my personal brand amongst my connections.
Alternatively I might share an article on parenting (การอบรมเลี้ยงดู) or consumer technology (เทคโนโลยีของผู้บริโภค). These practical articles help my connections with how-to advice. These types of articles are more likely to be clicked upon by my connections as there is practical value to them.
This is ‘practical sharing’ (การแบ่งปันที่ปฏิบัติได้จริง) according to 33Across.
Entertainment and celebrity content is less pro-actively (เชิงรุกน้อย) shared from the original web sites. Perhaps we do not want to admit that we avidly (กระหาย) consume celebrity gossip stories. However, once the content is released on social media, then the click through rates are really high.
This is called ‘water-cooler sharing‘.
The highest click rates are for news. 86 per cent of consumers click these links. But under 2 per cent of us share the links initially. Our motivation for sharing news is partially due to ego sharing and partially due to our desire to break the news to our friends.
We want to share to inform others about breaking news. Consumers are interested in the always on news cycle and click rates are high.
But the highest level of social engagement in the news category was for MailOnline, the digital sister of the Daily Mail, instrument of Paris Brown’s demise.
MailOnline has grown to become the #1 news and entertainment site in the world in part due to readers discovering our content through social sharing,” said Sean O’Neal, Global CMO of MailOnline.
Tynt’s category findings validate the extremely high social engagement that we observe every day with our readership.
Copying and pasting publisher content is how 82 per cent of online sharing begins,” stated Greg Levitt, GM of Publisher Solutions for 33Across.
As our category findings reveal, publishers need to move beyond analyzing which content is most frequently shared and also consider the rate at which people click on shared links.
Dispelling (การพัดกระจาย) myths (ตำนาน) about content consumption behavior while shedding (การไหล) light on the real motivations of readers is yet another way Tynt is helping publishers improve user acquisition (เข้ายึด) and retention (รักษา)  from social channels.
The research was carried out (ดำเนินการ) by 33Across for sites that are use the Tynt service, and it discovered that sites using its CopyPaste and SpeedShare features increased the number of shares and click backs compared to sites that were not using those tools.
Our own ego is driving us to share items that improve our social standing amongst our friends and connections and we hesitate to share items that might not make us look good.
So the deluge (เจิ่งนอง) of content containing pictures of kittens (ลูกแมว) and puppies (ลูกหมา) is not to improve our status amongst our friends but could simply be for the ‘Aww’ (ทุกคน) factor it gives them.

การจัดการความรู้ (หลักการเขียนโครงการวิจัยเพื่อชุมชนท้องถิ่น)

หลักการเขียนโครงการวิจัยเพื่อชุมชนท้องถิ่น
หลักการเขียนโครงการวิจัยเพื่อชุมชนท้องถิ่น

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.584196208261181.142796.506818005999002

โครงการการจัดการความรู้ (Knowledge Management)
เรื่อง หลักการเขียนโครงการวิจัยเพื่อชุมชนท้องถิ่น
เพื่อการรับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก
ณ ห้อง 1203 อาคารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น
วันที่ 25 มกราคม 2556 เวลา 9.00-11.00น

ดร.สุจิรา หาผล
กล่าวเปิดงาน ชี้แจงที่มาที่ไป กระบวนการ และวิธีการในการจัดการความรู้ครั้งนี้
อ.วราภรณ์ เรืองยศ
เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ตาม Powerpoint
ในหัวข้อ “หลักการเขียนโครงร่างงานวิจัย”
ซึ่งส่วนประกอบของโครงร่างงานวิจัย ประกอบด้วย

1. ชื่อเรื่อง
2. บทคัดย่อ
3. ความสำคัญและที่มาของปัญหาวิจัย
4. วัตถุประสงค์
5. แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
6. กรอบแนวคิดการวิจัย
7. คำนิยามศัพท์เฉพาะ
8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
9. สมมติฐาน
10. ขอบเขตการวิจัย
11. ระเบียบวิธีวิจัย
12. ข้อตกลงเบื้องต้น
13. เอกสารอ้างอิง

เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรื่อง – “ชื่อเรื่อง”
อ.วราภรณ์ เล่าว่า มีประกาศทุนวิจัย 2 เรื่องมานำเสนอ
– ศูนย์ประสานการศึกษานโยบายที่ดิน ปี 2556
– การแก้ไขปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิของชุมชนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๗ วรรคสอง

อ.วราภรณ์ เรืองยศ
– เปรียบเทียบเรื่องทุนสร้างบ้าน กับทุนวิจัย ที่ต้องสมเหตุ สมผล
– เล่าเรื่องทุนวิจัยเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ที่ขอไป 10 กว่าล้าน แต่ถูกตัดเหลือ 3 ล้านเศษ

อ.วิเชพ ใจบุญ

เล่าว่าชื่อที่เคยตั้งมามีกระบวนการอย่างไร
การใช้ต้นไม้ชุมชนในการเก็บข้อมูล
ต้องลงไปคลุกคลีกับชาวบ้าน ทั้งแจ้ห่ม แม่ทะ และนิคมพัฒนา

อ.ดร.สุจิรา หาผล
บอกว่ากว่าจะได้หัวข้อมา ต้องใช้เวลามาก
หัวข้อต้องตรงกับผู้ให้ทุน และความต้องการของชุมชน

อ.ดร.อติชาต หาญชาญชัย
การเขียนบทนำ และวรรณกรรม
ต้องให้ความสำคัญกับที่มาที่ไป
แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้งานวิจัยมีความน่าเชื่อถือ และตั้งอยู่บนหลักการที่เกี่ยวข้อง
ต้องค้นมาก ต้องอ่านมาก และอ้างอิงให้ตรง

อ.ปวินท์รัตน์ แซ่ตั้ง
http://www.prawinrat.com/
ได้ทุนจากเครือข่ายภาคเหนือตอนบน
เกี่ยวกับผ้าทอน้ำแร่ เมืองปาน
แลกเปลี่ยนว่างานวิจัยต้องใช้เวลา ทำให้ครบทุกเรื่องที่สามารถทำได้
ต้องลงมือจริง ทุ่มเท และทำให้ครบวงจร
มีทั้งภาพ คลิ๊ป เว็บไซต์ ที่เกิดในพื้นที่จริง ได้ผลงาน และนำไปขายได้จริง

อ.ดร.สุจิรา  หาผล
เล่าว่าการศึกษาตำนาน เรื่องเล่าของอำเภอต่าง ๆ มีกระบวนการมากมาย
ทั้งเชิงคุณภาพ วิพากษ์โดยนักวิชาการ ใช้แบบสำรวจ และวิพากษ์ผลโดยชุมชน
การเลือกคน เลือกปราชญ์ชาวบ้านเป็นเรื่องสำคัญ และต้องเขียนเรื่องของแต่ละอำเภอถึง 13 เล่ม
หลังได้รับทุนก็จะมีการติดตามจากผู้ให้ทุน และมีข้อเสนอแนะที่ทำให้แผนอาจต้องถูกปรับเปลี่ยน

อ.โอปอล์ รังสิมันตุชาติ
เล่าว่าการขอทุนวิจัยสำหรับงานวิจัยระดับปริญญาโท
มีแหล่งทุนสนับสนุนจาก สกว.อย่างต่อเนื่อง ซึ่งตนได้รับจากเชียงใหม่
และมีกระบวนการคล้ายกับทุนวิจัยทั่วไป

รายงานการวิจัย 5 บท

Peer review for quite improvement
Peer review for quite improvement

http://myathleticlife.com/components-of-a-research-report/

มีผู้รู้ 2 ท่าน คือ อ.ทันฉลอง ที่สอนด้วย case study และ อ.อุดม สอนด้วย movie แบบมืออาชีพ .. ทำให้ผมคิดได้ว่าฐานข้อมูล /handbill ที่ผมเคยทำไว้หลายปีก่อน น่าจะ upgrade ในรูปของการวิเคราะห์จากฝั่งผู้ชมอย่างผมบ้าง  โดยใช้หัวข้อการเขียนรายงานการวิจัย 5 บทมาเป็นฐาน เพราะภาพยนตร์แต่ละเรื่องมี 5 ประเด็นให้ชวนคิด คือ 1) ที่มา 2) ทฤษฎีรองรับ 3) วิธีเดินเรื่อง 4) ผลจากการรับสาร 5) อภิปรายผลโดยผู้รับสื่อ มีภาพยนตร์มากมาย ที่สามารถคิดตาม 5 ประเด็นข้างต้น อาทิ davinci code และ matrix และ avatar และ source code .. ตอนนี้เป็นแค่แนวคิด ยังไม่ได้วางโครงสร้างข้อมูลเลยครับ
http://www.thaiall.com/handbill/

องค์ประกอบของรายงานการวิจัย
บทที่ 1 บทนำ (Introduction)
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Background)
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย (Methodology)
บทที่ 4 ผลการวิจัย (Results)
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ (Conclusions and Recommendations)
http://www.scribd.com/doc/24495903/Elements-of-a-Research-Proposal-and-Report

Research report components
1. abstract
2. introduction
3. methodology
4. results
5. discussion
6. references
http://myathleticlife.com/components-of-a-research-report/

Five Chapter Thesis
CH I – Examines the elements found in the Introductory Chapter of a thesis.
CH II – Overviews the Literature Review.
CH III – Insight into the complex world of reseach methodology.
CH IV – Provides the elements necessary to present a complete Findings or Results section.
CH V – Conclusions and Recommendations section is outlined.
http://www.papermasters.com/five_chapter_thesis.html

Basic  Structure
* Title – Author(s)
* Abstract
* Table of Contents
* Introduction
* Equipment and Methodology
* Results AND Discussion
* Conclusions
* References and Citations
* Appendices
http://www.experiment-resources.com/research-paper-outline.html

Web guides
http://www.aresearchguide.com
http://www.ruf.rice.edu/~bioslabs/tools/report/reportform.html

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับการพัฒนาเว็บไซต์

research
research

http://www.riclib.nrct.go.th/database/database.html

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
นายศุภชัย ธรรมวงศ์  (2551) ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลบนเว็บไซต์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงเว็บไซต์สำนักงานฯ ให้เป็นแหล่งเผยแพร่ข้อมูล ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร กิจกรรม และเป็นเครื่องมือในการทำงาน โดยใช้ภาษาพีเอชพี และโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล
เว็บไซต์แบ่งได้ 2 ส่วนที่สำคัญ คือ ส่วนของเจ้าหน้าที่และบุคคลทั่วไป และส่วนระบบบริหารจัดการข้อมูล เป็นส่วนของผู้ดูแลระบบและผู้รับผิดชอบจากแต่ละหน่วยงาน ให้บริการข้อมูลได้แก่ ข้อมูลวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ การจองการใช้งานห้องประชุม รถยนต์ เครื่องโปรเจคเตอร์ การจัดการข้อมูลประชากร สถานการณ์โรคเอดส์ การจัดอันดับสถานการณ์โรคติดต่อต่าง ๆ การจัดการข้อมูลบุคลากร การจัดการไฟล์ดาวน์โหลด การจัดการอัลบั้มภาพ การจัดการข่าวกิจกรรม ข่าวประกวดราคา ข่าวประชาสัมพันธ์ บทความ ซึ่งผลการประเมินความพึงพอใจด้วยแบบสอบถามพบว่า 1) กลุ่มผู้ดูแลระบบ มีความพึงพอในระดับดี (ค่าเฉลี่ย 4.35) 2) กลุ่มเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบข้อมูล มีความพึงพอใจในระดับดี (ค่าเฉลี่ย 4.25) และ 3) กลุ่มเจ้าหน้าที่ และบุคคลทั่วไป มีความพึงพอใจระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย 4.75) สรุปได้ว่าเว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
ที่มา http://ss.lib.cmu.ac.th/digital_collection/etheses/fulltext.php?id=18408 (7 พ.ค.55)

นางสาวมานีสงค์ ปฐมวิริยะวงศ์ (2550) ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจต่อเว็บไซต์สถาบันของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ เหตุผลที่ใช้เว็บไซต์ ลักษณะของการใช้ประโยชน์ และระดับความพึงพอใจต่อเว็บไซต์สถาบันของนักศึกษา ใช้วิธีการสำรวม สุ่มตัวอย่างนักศึกษาจำนวน 400 คน พบว่า พฤติกรรมการใช้เว็บไซต์สถาบันมีความถี่ 1 – 3 ครั้งต่อเดือน แต่ละครั้งใช้เวลา 15 – 29 นาที ส่วนใหญ่เข้าเว็บไซต์เพื่อรับทราบข้อมูลข่าวสาร และเพื่อติดต่อสื่อสารกับสถาบันในระบบของการลงทะเบียน การตรวจสอบผลการศึกษา และการสืบค้นข้อมูลประกอบการศึกษา วิจัย และรายงาน
ผลเปรียบเทียบด้านเพศ ระดับการศึกษา และรายได้ พบว่าไม่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้เว็บไซต์สถาบัน แต่นักศึกษาที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ และโมเด็มของตนเองจะมีพฤติกรรมการใช้เว็บไซต์แตกต่างกับนักศึกษาที่ไม่มีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ประเด็นความต้องการของนักศึกษา มากที่สุด คือ ต้องการให้เว็บไซต์ของสถาบันปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอ รองลงมาคือควรปรับปรุงการออกแบบตกแต่งเว็บไซต์ และจัดหมวดหมู่ให้เป็นระเบียบเพื่อสืบค้นได้ง่าย มีข้อเสนอแนะให้เพิ่มความสามารถของเครื่องบริการ เพื่อการเชื่อมโยงกับเว็บไซต์ที่น่าสนใจ เพิ่มช่องทางการติดต่อสื่อสารกับผู้บิรหาร อาจารย์ที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญ
ที่มา http://www.riclib.nrct.go.th/abs/2550%5Cab177813.pdf (7 พ.ค.55)
ที่มา http://rir.nrct.go.th/rir/?page=researching&nid=26608 (12 ต.ค.58)