การพิมพ์เอกสารเป็นภาพ

วันนี้ (27 พ.ค.65) ช่วยเพื่อนเตรียมโปสเตอร์ จากบทความวิจัยฉบับสมบูรณ์ โดยใช้สัดส่วน 8 นิ้ว * 18 นิ้ว ซึ่ง word สามารถรับเอกสารขนาดนี้ได้ การแปลงเอกสาร word ไปเป็น png โดยใช้โปรแกรม word นั้น ไม่สามารถทำได้โดยตรง ซึ่งผมเลือกวิธีการติดตั้ง pdfcreator ซึ่งใช้มานานตั้งแต่สมัยที่ถูกแนะนำในซีดีจันทราแล้ว

โดยเลือกพิมพ์ (print) แล้วเลือกเครื่องพิมพ์ชื่อ pdfcreator เมื่อเปิดโปรแแกรม pdfcreator ขึ้นมาโดยอัตโนมัตินั้น ก็ต้องเข้าไปเลือกแบบกำหนดขนาดเอง (Postscript custom page size) เนื่องจากขนาด 8 นิ้ว * 18 นิ้ว ไม่ใช่ขนาดกระดาษทั่วไปแบบ A4 หรือ Letter เมื่อกำหนดขนาดกระดาษเป็นตามที่ต้องการใน PDFCreator ขณะสั่ง print แล้ว พบว่า แฟ้ม png ที่ได้มีเนื้อหาถูกตัดหายไป หรือมาไม่เต็มหน้า

แล้วสังเกตว่า pdfcreator ที่ใช้อยู่เป็นรุ่น 1.7.2 ที่ติดตั้งมาตั้งแต่ปี 2562 เมื่อไปดูในเว็บไซต์ของซอฟต์แวร์พบว่า รุ่นใหม่คือ 4.4.2 จึงเลือก uninstall แล้ว install ใหม่ ผลปรากฎว่า ผลลัพธ์ในแฟ้ม pdf ออกมาครบตามเนื้อหาที่ได้จัดเตรียม

ร่างโปสเตอร์

ดัชนีความคล้ายคลึง

ตามที่ได้อ่านจาก thailibrary.in.th พบว่า Pharmaceutical and Biosciences Journal และ Bentham Science ได้ระบุในเงื่อนไขการรับบทความวารสารต้นฉบับเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ว่า อนุญาตให้มีความคล้ายคลึงกันโดยรวม 20% สำหรับต้นฉบับที่จะพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ และมีความคล้ายคลึงกันของข้อความจากแหล่งเดียวที่ยอมรับได้คือ 5% ดังนั้น เรื่อง “ดัชนีความคล้ายคลึง” ระบุให้ 1) ความคล้ายคลึงโดยรวมไม่เกินร้อยละ 20 2) ความคล้ายคลึงจากแหล่งเดียวกันไม่เกินร้อยละ 5 พบว่า บางสถาบันกำหนดละเอียดลงไปว่า “ส่วนของผลการวิจัยและอภิปรายผลต้องมีค่าไม่เกินร้อยละ 10” เป็นเงื่อนไขที่น่ายึดเป็นแนวปฏิบัติสำหรับนักวิชาการที่ต้องการตีพิมพ์ผลงาน และตรวจสอบความเหมือน ด้วย อักขราวิสุทธิ์

https://www.thaiall.com/research/apa.htm

thailibrary.in.th
ukjpb.com

ประวัติวัดบ้านต๋อมกลาง

วัดบ้านต๋อมกลาง ตั้งอยู่ที่หมู่ 4 ต.ต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา มีเนื้อที่ 2 ไร่ 3 งาน 45 ตารางวา
ประกาศตั้งวัด พ.ศ.2346 ผูกพันธสีมา พ.ศ.2350 ก่อนจะสร้างวัดนี้ขึ้น ได้มีราษฎรอพยพมาจาก อ.เมือง จ.ลำปาง เพื่อมาตั้งหลักฐานทำมาหากิน ในราว พ.ศ.2346 โดยมี พระภิกษุแสนภาพ เป็นประธาน พร้อมด้วยทายกทายิกา ก่อสร้างสำนักขึ้นเป็นสถานบำเพ็ญกุศล และได้ไปอาราธนานิมนต์ พระภิกษุพิมสาร จากวัดพระเจ้าทันใจ จังหวัดลำปาง มาเป็นประธานสร้างวัด และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส จนสิ้นอายุของท่าน ต่อมาลูกศิษย์ของท่านปกครอบสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

ต่อมาพระภิกษุคำมา ธมมวโส (สอนใจ) เป็นประธานพร้อมด้วยทายกทายิกา ได้ก่อสร้างอุโบสถขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2477 โดยใช้ที่ดินก่อตั้งวัด เดิมมีประมาณ 5 ไร่เศษ ต่อมาสร้างถนนตัดผ่าน แยกที่ออกเป็น 2 แปลง ที่ดินส่วนหนึ่งได้สร้างเป็นตาดสดขึ้นด้านทิศใต้ เพื่อเก็บผลประโยชน์บำรุงวัด ส่วนเขตที่ตั้งวัดและเขตที่ธรณีสงฆ์นั้นมีตามใบ น.ส.3 ของวัดแล้ว

ปี พ.ศ. 2521 พระภิกษุบุญมี วชิรญาโณ
เจ้าอาวาสพร้อมด้วยทายกทายิกา
ได้พร้อมกันซื้อที่ดินด้านทิศเหนือ
ในเนื้อที่ 2 งาน 70 ตารางวา
เพื่อขยายเขตวัดออกไป

สิ่งสำคัญประจำวัดนี้ได้แก่ พระวิหารจำลองหลังเล็ก ซึ่งแกะสลักด้วยมีภาพจิตกรรมของโบราณ ซึ่งพระพิมสาร เป็นผู้สร้าง นายแสงภาพเป็นประธานเจ้าภาพ สร้างเมื่อจุลศักราช 1216 ตรงกับพุทธศักราช 2397 วัดนี้เดิมเรียกว่า “วัดศรีดอนไชย” ต่อมาเปลี่ยนเป็น “วัดบ้านต๋อมกลาง” จนถึงปัจจุบันนี้ เหตุที่เรียกชื่อวัดและหมู่บ้านนี้ อาศัยมูลเหตุมาจากลำแม่น้ำต๋อม

ผู้เรียบเรียงคือ พระอธิการบุญมี วชิราญาโณ (สอนใจ)

ประวัติวัดบ้านต๋อมกลาง

PDPA ebook โดย อ.เธียรชัย ณ นคร ใน PDPAthailand.com

PDPA Thailand (Personal Data Protection Act) ได้รับอนุญาตจาก อ.เธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการ คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในการเผยแพร่เอกสาร “หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลในองค์กรภาคเอกชน” สืบเนื่องในโอกาสที่อาจารย์มาบรรยายให้กับวิทยากรและที่ปรึกษาของบริษัท Digital Business Consult ตลอดจนผู้เข้าอบรมหลักสูตร Train the Trainer รุ่นที่ 1-4 ของสถาบันพัฒนาและทดสอบทักษะดิจิทัล DDTI เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2565 ณ สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และได้ส่งมอบเอกสารฉบับนี้ไว้

PDPA Guideline สำหรับองค์กรภาคเอกชน โดย เธียรชัย ณ นคร ครอบคลุมบทสรุปของหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นสากล นำเสนอให้องค์กรได้นำไปพิจารณาและปรับใข้ตามความเหมาะสมสอดคล้องกับบริบทในการประกอบธุรกิจ โดยอ้างอิงถึงบทบัญญัติใน พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ประกอบ เชื่อว่าเอกสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกองค์กร (ไม่เพียงเฉพาะภาคเอกชน) ที่เริ่มต้นหรือกำลังดำเนินการตาม PDPA กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทยที่ “ทุกองค์กรต้องทำตาม” หากมีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลอื่นแม้เพียงเล็กน้อย

http://www.thaiall.com/pdpa/index.html

e-book 31 หน้า : [Full] PDPA Guideline for Private Sector การบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลในองค์กรภาคเอกชน โดย อ.เธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการ คณะกรรมการข้อมูลส่วนบุคคล

Education on 31 March 2022


พบว่า truehits.net เผยแพร่ข้อมูลเว็บไซต์ด้านการศึกษาใน รูปแบบ XML สำหรับ ประเทศไทย มีเว็บไซต์ด้านการศึกษาจำนวนมาก พบว่า เว็บไซต์ truehits.net เผยแพร่ข้อมูลสถิติการเข้าถึงเว็บไซต์ของสมาชิก มีรายการชื่อเว็บไซต์ที่สามารถนำมาใช้ได้ จากลิงค์ http://truehits.net/xml/ สำหรับกลุ่มการศึกษามีลิงค์ที่ http://truehits.net/xml/education.xml ได้ข้อมูล 10 รายการ ส่วน http://truehits.net/xml/education_all.xml จะมีข้อมูลของสมาชิกในกลุ่มทั้งหมด เมื่อดาวน์โหลดแฟ้มนี้ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2565 พบว่า เป็นรายงานสรุปข้อมูลประจำวันที่ 31 มีนาคม 2565 มีข้อมูลทั้งหมด 578 รายการ สำหรับข้อมูลกลุ่มอื่น สามารถใช้ลิงค์เดิม แต่เปลี่ยนคำว่า education เป็น allmember, government, computer, education, travel, health, entertain, art, social, news, science, organize, person, internet, business, sport ก็จะพบข้อมูลตามชื่อกลุ่มที่เป็นข้อมูลล่าสุด ที่สามารถนำข้อมูลในรูปแบบ XML มาใช้ได้ตามต้องการ

ซึ่งแฟ้ม education.xml จะมีรูปแบบตัวอักษรเป็น ANSI เมื่อแปลงเป็น json ที่ใช้ โค้ดภาษา php โดยใช้ json_encode จะได้แฟ้มข้อมูลรูปแบบตัวอักษรเป็น utf-8 แล้วใช้ class easyui-datagrid ของ jquery-easyui แสดงข้อมูลจาก json เป็นตาราง

https://www.thaiall.com/xml/

https://www.thaiall.com/xml/truehits_education_650331.php

โดนเพื่อน defend เจอดีเลย

วลีที่ได้ยินบ่อยจนชินหู
“ภาพหนึ่งภาพแทนคำนับพัน”
“A picture is worth a thousand words.”

พบ .. ขอเริ่มต้นการรวบรวมการตอบแบบฟอร์ม

[ความเป็นมานั้น]
เหตุเกิดจาก วันหนึ่ง
ช่วงจวนเจียนจะสอบกลางภาคแล้ว
ก็ต้องออกข้อสอบ และสร้างแบบสอบ
รอบนี้สร้างแบบสอบออนไลน์ผ่าน google form
เพราะระบบนี้มี function มากมายที่รองรับความต้องการ
ผู้เข้าสอบต้องเขียนบนกระดาษ ถ่ายภาพ และปรับแสง
แล้วอัพโหลดขึ้นมาตามระบบ ด้วยชื่อแฟ้มที่เป็นระเบียบ
ระบบจะสำรองกระดาษคำตอบหลายชั้น
จากการทดสอบใช้งานมา 3 รอบ
พบว่าใช้งานได้ดีไม่มีปัญหา สำหรับผู้ที่เข้าซ้อมสอบ

[และแล้วก็พบปัญหา]
คาดไม่ถึง สตั้นไปแป๊ปนึง
เพราะมีเพื่อนที่ต้องการจะ defend ข้อสอบ
ผมก็ส่งข้อมูลลิงค์แบบสอบ google form ให้
เพื่อนบอกว่า “เปิดไม่ได้”
ผมก็ตกใจ อึ้งไปแป๊ปนึง
เพราะทำแบบนี้ทุกปี
คือ นำแบบสอบเดิม มาเลือก Make a copy
เปลี่ยนโจทย์ และชื่อแฟ้ม แล้วสร้าง Shorten URL
จากนั้นก็เขียนโพสต์ชี้แจง พร้อมแนบ link

https://www.thaiall.com/google/form.htm

[ตรวจสอบข้อความแจ้งเตือน]
พบว่า Shorten URL ที่สร้างไว้ ไม่เคยถูกเรียกใช้
ซึ่งแบบฟอร์มนี้ เป็นแบบรับแฟ้มที่อัพโหลด upload
แต่ไม่เคยสร้าง Folder สำหรับแฟ้มคำตอบไว้
จึงต้องคลิ๊ก Resume collecting responses
แปลว่า “ขอเริ่มต้นการรวบรวมการตอบแบบฟอร์ม”

[ปัญหานี้ไม่น่ากลัว]
ถ้าผู้สร้างแบบสอบ คือ owner หรือ editor เป็นคนพบ
ก็เพียงแต่คลิ๊กเพื่อเปิดการใช้ นั่นคือ วิธีแก้ปัญหา
แต่สำหรับผู้เข้าทำแบบสอบ
จะต้องแจ้งให้ ผู้สร้างแบบสอบ เป็นคนแก้ไข
เพราะลำพังสิทธิ์ของผู้เข้าสอบ จะไม่สามารถดำเนินการได้
ที่เล่ามา คือ การอธิบายภาพนี้ครับ .. ok นะ

Header background ของ Google form

ไทย และอีก 4 จังหวัดของไทยติดอันดับประเทศระบบนิเวศสตาร์ทอัพดีที่สุดในโลก

ข่าว 8 ธ.ค. 2564 สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เผยข้อมูลจากการจัดอันดับดัชนีระบบนิเวศทางสตาร์ทอัพโลก ประจำปี 2564 (Global Startup Ecosystem Index 2021) ซึ่งเว็บไซต์ StartupBlink ศูนย์กลางข้อมูลด้านระบบนิเวศนวัตกรรมทั่วโลกได้มีการ จัดอับดับ 100 ประเทศ และ 1,000 เมือง ที่มีระบบนิเวศทางสตาร์ทอัพที่ดีที่สุดของโลก
พบว่า กรุงเทพฯ คว้าอันดับ 71 เมืองที่เอื้อต่อการทำสตาร์ทอัพจาก 1,000 เมืองทั่วโลก
ส่วนเชียงใหม่อันดับ 397 ภูเก็ตอันดับที่ 442 และพัทยาอันดับที่ 833 เป็นจังหวัดแจ้งเกิดสตาร์ทอัพระดับโกลบอล

Ranking Methodology (For Top Ecosystems)
– Overall Ranking (The overall global ecosystem ranking is a weighted average of the following factor scores:)


ปัจจัยหลักในการประเมินของเว็บไซต์ StartupBlink.com มีดังนี้

  1. ปัจจัยเชิงปริมาณ ประกอบด้วย
    • จำนวนสตาร์ทอัพ
    • จำนวนโคเวิร์คกิ้งสเปซ
    • จำนวนโปรแกรมเร่งการเติบโต
    • จำนวนกิจกรรมพบปะของสตาร์ทอัพ
  2. คุณภาพของสตาร์ทอัพ และสิ่งอำนวยความสะดวก ประกอบด้วย
    • จำนวนผู้ใช้งานสตาร์ทอัพ
    • จำนวนบริษัท/สาขาของบริษัทที่ดำเนินงานด้านการวิจัยและเทคโนโลยี
    • จำนวนสาขาของบริษัทข้ามชาติ ปริมาณการลงทุน
    • จำนวนลูกจ้าง
    • จำนวนสตาร์ทอัพระดับ Unicorns, Exits และ Pantheon
    • จำนวนสตาร์ทอัพที่เป็นอินฟลูเอนเซอร์ระดับโลก
    • จำนวนเหตุการณ์เกี่ยวกับสตาร์ทอัพระดับโลก
  3. สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ประกอบด้วย
    • ความสะดวกในการทำธุรกิจ
    • ความเร็วอินเทอร์เน็ต
    • อิสระในการใช้อินเทอร์เน็ต
    • การลงทุนด้านงานวิจัย
    • ความพร้อมของเทคโนโลยีด้านการบริการ
    • จำนวนผู้ถือสิทธิบัตรต่อประชากรทั้งหมด
    • ความเชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษ
      https://www.thaiall.com/mis/startup.htm

การใช้แบบฟอร์มซ้ำ ควรล้างแฟ้มเดิมออก

Google Form คือ ระบบฟอร์มออนไลน์เพื่อบริการผู้สร้างฟอร์มได้ตั้งคำถามแล้วรอรับข้อมูลคำตอบจากผู้ให้ข้อมูล โดยแชร์ลิงค์แบบฟอร์มไปให้ผู้ให้ข้อมูล สามารถสั่งเปิดปิดฟอร์มรับข้อมูลได้ ประยุกต์เป็นแบบสอบถามงานวิจัย หรือแบบทดสอบออนไลน์ได้ มีประเภทของตัวเลือกในแบบฟอร์ม อาทิ คำตอบสั้น คำตอบยาวเป็นย่อหน้า หลายตัวเลือก ช่องทำเครื่องหมาย เลื่อนลง อัพโหลดไฟล์ การกำหนดเงื่อนไข เช่น บังคับตอบ สลับตัวเลือก ตอบได้หลายครั้ง หรือเฉลยคำตอบหลังทำเสร็จ

การลบข้อมูลจาก แบบสอบถามออนไลน์

เมื่อเริ่มต้นภาคการศึกษา หรือปิดภาค ตามกระบวนการ PDCA มักเป็นเวลาที่ต้องจัดการข้อมูลคำตอบ และแฟ้มเอกสารในระบบ ซึ่งจัดการลบข้อมูลได้ง่าย เริ่มจาก Delete all responses ใน Google form แล้วเข้า view folder ใน Google Drive เพื่อลบแฟ้มที่ได้รับจากผู้ส่งเอกสารทั้งหมด แล้วเข้า Sheet เพื่อลบรายการข้อมูล เพียงเท่านี้ก็พร้อมสำหรับเปิดรับคำตอบใหม่ ๆ จากกลุ่มเป้าหมายใหม่ได้แล้ว แต่ถ้าต้องการแยกกลุ่มเป้าหมายใหม่ และเก่า มีตัวเลือก Make a copy เพื่อคัดลอก form ไปใช้งานกับกลุ่มเป้าหมายใหม่ และมี Folder เก็บเอกสารแยกออกมาโดยชัดเจน

http://www.thaiall.com/google/form.htm

ผลการจัดอันดับ 2021-2022 ของ THE

Mahidol University

พบว่า Times Higher Education ได้ออกผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลก
เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2564 เข้าไปดูผลการประเมินแต่ละรายการ ได้พบข้อมูลปี 2022 Rank ดังนี้

601–800 Mae Fah Luang University : Thailand
https://www.timeshighereducation.com/world-university-rankings/mae-fah-luang-university

  • Teaching : 15.0
  • Research : 12.0
  • Citations : 63.3
  • Industry Income : 36.0
  • International Outlook : 53.0

601–800 Mahidol University : Thailand
https://www.timeshighereducation.com/world-university-rankings/mahidol-university

  • Teaching : 33.5
  • Research : 22.4
  • Citations : 42.8
  • Industry Income : 76.2
  • International Outlook : 46.1

Times Higher Education World University Rankings ของประเทศสเปน ได้ออกรายงานเป็นประจำทุกปี โดยคุณภาพของมหาวิทยาลัยไม่ได้มีเฉพาะพันธกิจ 4 ด้านของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย (การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม) ซึ่งเกณฑ์การพิจารณาอันดับมหาวิทยาลัยแบ่งได้ 5 กลุ่มตัวบ่งชี้ ดังนี้

  1. Teaching (the learning environment – 30%) คือ คุณภาพการสอน สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ของผู้เรียน
  2. Research (volume, income and reputation – 30%) คือ คุณภาพงานวิจัย ปริมาณ รายได้ และชื่อเสียงของงานวิจัย
  3. Citations (research influence – 30%) คือ การอ้างอิงในงานวิจัย การนำงานวิจัยของสถาบันไปใช้อ้างอิง
  4. International outlook (staff, students and research – 7.5%) คือ ความเป็นนานาชาติจากสายตาภายนอก เจ้าหน้าที่ นักศึกษาและงานวิจัยนานาชาติ
  5. Industry income (knowledge transfer – 2.5%) คือ รายได้ทางอุตสาหกรรม นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ในวงวิชาการที่มหาวิทยาลัยได้คิดค้นขึ้น

https://www.thaiall.com/topstory/timeshighereducation_2021_2022.php

การสร้างแบบสอบออนไลน์

15 ขั้นตอน การสร้างแบบสอบออนไลน์อัตนัยเขียนมือ มีคำถามข้อเดียว แล้วให้ upload file
ตัวอย่างนี้เป็นแบบสอบจำนวน 3 ข้อ คือ test100-01 และ test100-02 และ test100-03

  1. เริ่มต้นด้วยการ login เข้าบัญชี gmail.com ซึ่งผู้สร้างข้อสอบ และผู้ทำข้อสอบ ต่างต้องมีบัญชีประจำตัวของตนเอง
  2. เริ่มด้วย ผู้สร้างแบบสอบ เข้าไปที่ google form, คลิ๊ก blank form, เปลี่ยน untitled form เป็น “test100-01” ซึ่งชื่อนี้มีผลต่อชื่อ folder ที่ใช้จัดเก็บแฟ้มข้อสอบใน google drive สามารถเปลี่ยนชื่อได้ตลอดเวลา แม้จะมีผู้ทำข้อสอบไปแล้วก็ไม่ได้รับผลกระทบ เพราะระบบจะเปลี่ยนชื่อ folder ให้ทันทีที่เปลี่ยนชื่อคำถาม หรือชื่อฟอร์ม
  3. แบบสอบชุดนี้ วางแผนให้เป็นแบบ 1 form สำหรับ 1 คำถาม และตอบคำถามด้วยการอัพโหลดภาพเอกสาร ดังนั้นใต้ title form จึงเลือกที่จะพิมพ์โจทย์ยาวที่ละเอียด เช่น “1. จงบอกเล่าถึง วิชาที่ชอบเรียน และให้เหตุผลประกอบ มาพอเข้าใจ ซึ่งไม่ควรต่ำกว่า 3 บรรทัด และตั้งชื่อแฟ้มให้สอดคล้องกับรหัสนิสิต ชื่อวิชา และคำถาม เช่น 64xxx-test100-01.jpg”
  4. พบคำถาม (First default question) ที่มี radio box มารอนั้น ได้เปลี่ยนเป็น File upload แล้วมีคำถามว่า Let respondants upload files to drive ขึ้นมา ให้คลิ๊กตอบว่า Continue
  5. คำถามนั้น กำหนดสั้น ๆ ว่า “คำถามที่ 1” เพราะชื่อคำถามจะถูกใช้เป็นชื่อ sub folder ภายใต้ folder ชื่อ “test100-01”
  6. คลิ๊กตัวเลือกเปิด option : Allow only specific file types แล้วคลิ๊ก Image เพื่อรับเฉพาะแฟ้มภาพที่ผู้ตอบคำถามต้องส่ง ถ้าจะให้รับได้หลายภาพก็เลือก Maximum numbers of files เป็น 2 หรือมากกว่า
  7. ผลงานภาพที่ผ่านการ crop และแต่งให้คมชัดแล้ว ไม่ควรมีขนาดเกิน 10 MB ซึ่งเป็นค่า default หากลดลงมาจะมี 1 MB ให้เลือก
  8. เลือกเปิด Required เพราะต้องการบังคับอัพโหลดแฟ้มก่อน จึงจะกดปุ่ม submit ได้
  9. ชวนมองกล่อง View folder ขณะสร้างคำถามรับการอัพโหลด เพื่อใช้ดูรายการแฟ้มที่ผู้ตอบส่งเข้ามา พบว่า ขณะสร้างนี้ ในห้องนั้นจะว่างเปล่า เปิดเข้าห้อง “คำถามที่ 1 (File responses)” จะไม่พบอะไร
  10. คลิ๊ก settings ที่เป็นสัญลักษณ์ฟันเฟืองที่มุมบนขวา ในแท็บ General ให้คลิ๊ก collect emails กรณีใช้บัญชีองค์กรให้ยกเลิกการเลือก Restrict to users in [your company] and its trusted organizations เพื่อเปิดให้ผู้ใช้บัญชีบุคคลของ @gmail.com สามารถทำแบบฟอร์มได้
  11. พบตัวเลือก Maximum size of all files uploaded: 1GB ซึ่งหมายความว่าผู้ตอบแบบสอบถามอัพโหลดแฟ้มเข้ามาในแบบสอบแฟ้มนี้ รวมกันแล้วต้องมีขนาดไม่เกิน 1GB (เลือกขยายได้ถึง 1TB) เช่น มีสมาชิก 1000 คน ก็ส่งแฟ้มได้ไม่เกินคนละ 1 MB หรือมีสมาชิก 100 คน ก็ส่งแฟ้มได้ไม่เกินคนละ 10 MB เป็นต้น
  12. ในแท็บ Presentation ไม่ได้คลิ๊ก Show progress bar หรือ Suffle question order เนื่องจากสร้างคำถามเพียงข้อเดียว ต่อหนึ่งแบบฟอร์ม แล้วให้ uncheck : Show link to submit another response เพราะไม่จำเป็นต้องทำแบบฟอร์มอีกครั้งหลัง submit ไปแล้ว
  13. คลิ๊ก Send แล้วเลือก Shorten URL ของคำถามที่ 1 เพื่อนำลิงค์ไปส่งให้กลุ่มเป้าหมาย 72AX7TaKp735o6rm9 (ส่งซ้ำได้ เพราะไม่ได้ lock ครั้งเดียว)
  14. ในแบบฟอร์ม คลิ๊ก 3 จุด มีตัวเลือก Make a copy เมื่อได้แล้วก็เปลี่ยนชื่อแฟ้ม และคำถามใหม่ มีปุ่มให้เลือก restore ก็คลิ๊กทุกครั้ง เพื่อสร้าง folder สำหรับคำถามใหม่ ตัวอย่างคำถาม “2. จงบอกเล่าถึง หนังสือที่ชอบอ่าน และให้เหตุผลประกอบ มาพอเข้าใจ ซึ่งไม่ควรต่ำกว่า 3 บรรทัด และตั้งชื่อแฟ้มให้สอดคล้องกับรหัสนิสิต ชื่อวิชา และคำถาม เช่น 64xxx-test100-02.jpg” จากนั้นก็แชร์และรับลิงค์ คือ v13xs3yzjVEcUhHx8 หรือคำถามที่ 3 ที่ NNUN85pckVbXMMCc8
  15. ผู้ออกข้อสอบสามารถแชร์โฟลเดอร์ที่เก็บคำตอบ ของผู้ตอบที่ส่งแฟ้มภาพผ่าน google form จากคำถามที่ 1 แบบ anyone เพื่อใช้ตรวจสอบอีกทางหนึ่งว่ามีแฟ้มเข้ามาอย่างไร แล้ว preview ได้ หรือจะเข้าไปที่ response ของ form ซึ่งตรวจสอบได้สะดวกเช่นกัน drive.google.com/drive/folders
หน้าตาของ google drive ฝั่ง ผู้สร้างแบบสอบ และผู้ตอบแบบสอบ

https://www.thaiall.com/google/form.htm