การใช้แบบฟอร์มซ้ำ ควรล้างแฟ้มเดิมออก

Google Form คือ ระบบฟอร์มออนไลน์เพื่อบริการผู้สร้างฟอร์มได้ตั้งคำถามแล้วรอรับข้อมูลคำตอบจากผู้ให้ข้อมูล โดยแชร์ลิงค์แบบฟอร์มไปให้ผู้ให้ข้อมูล สามารถสั่งเปิดปิดฟอร์มรับข้อมูลได้ ประยุกต์เป็นแบบสอบถามงานวิจัย หรือแบบทดสอบออนไลน์ได้ มีประเภทของตัวเลือกในแบบฟอร์ม อาทิ คำตอบสั้น คำตอบยาวเป็นย่อหน้า หลายตัวเลือก ช่องทำเครื่องหมาย เลื่อนลง อัพโหลดไฟล์ การกำหนดเงื่อนไข เช่น บังคับตอบ สลับตัวเลือก ตอบได้หลายครั้ง หรือเฉลยคำตอบหลังทำเสร็จ

การลบข้อมูลจาก แบบสอบถามออนไลน์

เมื่อเริ่มต้นภาคการศึกษา หรือปิดภาค ตามกระบวนการ PDCA มักเป็นเวลาที่ต้องจัดการข้อมูลคำตอบ และแฟ้มเอกสารในระบบ ซึ่งจัดการลบข้อมูลได้ง่าย เริ่มจาก Delete all responses ใน Google form แล้วเข้า view folder ใน Google Drive เพื่อลบแฟ้มที่ได้รับจากผู้ส่งเอกสารทั้งหมด แล้วเข้า Sheet เพื่อลบรายการข้อมูล เพียงเท่านี้ก็พร้อมสำหรับเปิดรับคำตอบใหม่ ๆ จากกลุ่มเป้าหมายใหม่ได้แล้ว แต่ถ้าต้องการแยกกลุ่มเป้าหมายใหม่ และเก่า มีตัวเลือก Make a copy เพื่อคัดลอก form ไปใช้งานกับกลุ่มเป้าหมายใหม่ และมี Folder เก็บเอกสารแยกออกมาโดยชัดเจน

http://www.thaiall.com/google/form.htm

การสร้างแบบสอบออนไลน์

15 ขั้นตอน การสร้างแบบสอบออนไลน์อัตนัยเขียนมือ มีคำถามข้อเดียว แล้วให้ upload file
ตัวอย่างนี้เป็นแบบสอบจำนวน 3 ข้อ คือ test100-01 และ test100-02 และ test100-03

  1. เริ่มต้นด้วยการ login เข้าบัญชี gmail.com ซึ่งผู้สร้างข้อสอบ และผู้ทำข้อสอบ ต่างต้องมีบัญชีประจำตัวของตนเอง
  2. เริ่มด้วย ผู้สร้างแบบสอบ เข้าไปที่ google form, คลิ๊ก blank form, เปลี่ยน untitled form เป็น “test100-01” ซึ่งชื่อนี้มีผลต่อชื่อ folder ที่ใช้จัดเก็บแฟ้มข้อสอบใน google drive สามารถเปลี่ยนชื่อได้ตลอดเวลา แม้จะมีผู้ทำข้อสอบไปแล้วก็ไม่ได้รับผลกระทบ เพราะระบบจะเปลี่ยนชื่อ folder ให้ทันทีที่เปลี่ยนชื่อคำถาม หรือชื่อฟอร์ม
  3. แบบสอบชุดนี้ วางแผนให้เป็นแบบ 1 form สำหรับ 1 คำถาม และตอบคำถามด้วยการอัพโหลดภาพเอกสาร ดังนั้นใต้ title form จึงเลือกที่จะพิมพ์โจทย์ยาวที่ละเอียด เช่น “1. จงบอกเล่าถึง วิชาที่ชอบเรียน และให้เหตุผลประกอบ มาพอเข้าใจ ซึ่งไม่ควรต่ำกว่า 3 บรรทัด และตั้งชื่อแฟ้มให้สอดคล้องกับรหัสนิสิต ชื่อวิชา และคำถาม เช่น 64xxx-test100-01.jpg”
  4. พบคำถาม (First default question) ที่มี radio box มารอนั้น ได้เปลี่ยนเป็น File upload แล้วมีคำถามว่า Let respondants upload files to drive ขึ้นมา ให้คลิ๊กตอบว่า Continue
  5. คำถามนั้น กำหนดสั้น ๆ ว่า “คำถามที่ 1” เพราะชื่อคำถามจะถูกใช้เป็นชื่อ sub folder ภายใต้ folder ชื่อ “test100-01”
  6. คลิ๊กตัวเลือกเปิด option : Allow only specific file types แล้วคลิ๊ก Image เพื่อรับเฉพาะแฟ้มภาพที่ผู้ตอบคำถามต้องส่ง ถ้าจะให้รับได้หลายภาพก็เลือก Maximum numbers of files เป็น 2 หรือมากกว่า
  7. ผลงานภาพที่ผ่านการ crop และแต่งให้คมชัดแล้ว ไม่ควรมีขนาดเกิน 10 MB ซึ่งเป็นค่า default หากลดลงมาจะมี 1 MB ให้เลือก
  8. เลือกเปิด Required เพราะต้องการบังคับอัพโหลดแฟ้มก่อน จึงจะกดปุ่ม submit ได้
  9. ชวนมองกล่อง View folder ขณะสร้างคำถามรับการอัพโหลด เพื่อใช้ดูรายการแฟ้มที่ผู้ตอบส่งเข้ามา พบว่า ขณะสร้างนี้ ในห้องนั้นจะว่างเปล่า เปิดเข้าห้อง “คำถามที่ 1 (File responses)” จะไม่พบอะไร
  10. คลิ๊ก settings ที่เป็นสัญลักษณ์ฟันเฟืองที่มุมบนขวา ในแท็บ General ให้คลิ๊ก collect emails กรณีใช้บัญชีองค์กรให้ยกเลิกการเลือก Restrict to users in [your company] and its trusted organizations เพื่อเปิดให้ผู้ใช้บัญชีบุคคลของ @gmail.com สามารถทำแบบฟอร์มได้
  11. พบตัวเลือก Maximum size of all files uploaded: 1GB ซึ่งหมายความว่าผู้ตอบแบบสอบถามอัพโหลดแฟ้มเข้ามาในแบบสอบแฟ้มนี้ รวมกันแล้วต้องมีขนาดไม่เกิน 1GB (เลือกขยายได้ถึง 1TB) เช่น มีสมาชิก 1000 คน ก็ส่งแฟ้มได้ไม่เกินคนละ 1 MB หรือมีสมาชิก 100 คน ก็ส่งแฟ้มได้ไม่เกินคนละ 10 MB เป็นต้น
  12. ในแท็บ Presentation ไม่ได้คลิ๊ก Show progress bar หรือ Suffle question order เนื่องจากสร้างคำถามเพียงข้อเดียว ต่อหนึ่งแบบฟอร์ม แล้วให้ uncheck : Show link to submit another response เพราะไม่จำเป็นต้องทำแบบฟอร์มอีกครั้งหลัง submit ไปแล้ว
  13. คลิ๊ก Send แล้วเลือก Shorten URL ของคำถามที่ 1 เพื่อนำลิงค์ไปส่งให้กลุ่มเป้าหมาย 72AX7TaKp735o6rm9 (ส่งซ้ำได้ เพราะไม่ได้ lock ครั้งเดียว)
  14. ในแบบฟอร์ม คลิ๊ก 3 จุด มีตัวเลือก Make a copy เมื่อได้แล้วก็เปลี่ยนชื่อแฟ้ม และคำถามใหม่ มีปุ่มให้เลือก restore ก็คลิ๊กทุกครั้ง เพื่อสร้าง folder สำหรับคำถามใหม่ ตัวอย่างคำถาม “2. จงบอกเล่าถึง หนังสือที่ชอบอ่าน และให้เหตุผลประกอบ มาพอเข้าใจ ซึ่งไม่ควรต่ำกว่า 3 บรรทัด และตั้งชื่อแฟ้มให้สอดคล้องกับรหัสนิสิต ชื่อวิชา และคำถาม เช่น 64xxx-test100-02.jpg” จากนั้นก็แชร์และรับลิงค์ คือ v13xs3yzjVEcUhHx8 หรือคำถามที่ 3 ที่ NNUN85pckVbXMMCc8
  15. ผู้ออกข้อสอบสามารถแชร์โฟลเดอร์ที่เก็บคำตอบ ของผู้ตอบที่ส่งแฟ้มภาพผ่าน google form จากคำถามที่ 1 แบบ anyone เพื่อใช้ตรวจสอบอีกทางหนึ่งว่ามีแฟ้มเข้ามาอย่างไร แล้ว preview ได้ หรือจะเข้าไปที่ response ของ form ซึ่งตรวจสอบได้สะดวกเช่นกัน drive.google.com/drive/folders
หน้าตาของ google drive ฝั่ง ผู้สร้างแบบสอบ และผู้ตอบแบบสอบ

https://www.thaiall.com/google/form.htm

เกรดนักศึกษาออกแล้ว ทำให้นึกถึง Tokyo ghoul

tokyo ghoul
tokyo ghoul

ทุกภาคเรียนที่ 1 หลังปีการศึกษา 2559 ของประเทศไทย
ในช่วงหลัง Christmas
ในระดับอุดมศึกษา ก็จะมีการประกาศผลการเรียนของนักศึกษา
หรือในระดับมัธยม ก็จะมีการประกาศผลการเรียนของนักเรียน
ผลพบได้ในสเตตัสบนเฟสบุ๊ค
– ดีใจ ได้เกรด A
– พอใจล่ะ ไม่เอฟก็พอ
– เฉย ๆ ตามคาด
– เงียบ คือ คำตอบ
สงสัยก็ถามอาจารย์ “ทำไมถึงให้ F”

เล่าเรื่องหนัง สะท้อนคิดจากภาพยนตร์
http://www.thaiall.com/handbill

การมีชีวิตอยู่ในโลก ก็เหมือนการมีชีวิตอยู่ในรั้วโรงเรียน
เหมือนมีชีวิตอยู่ในเรือประมง ต้องสู้ ต้องกิน และอยู่
ชีวิตต้องสู้” ต้องเก็บเกี่ยวความรู้ เก็บปลาให้ได้มากพอ
ไม่เก็บปลา หรือเก็บไม่ได้มากพอ ก็ไม่ได้ขึ้นฝั่ง ไปไม่ถึงไหน
เวลามีปัญหาก็ไม่ต้องไปโทษ “เรือที่ไม่ได้เรื่อง
แต่ต้องมองตนเองให้มาก ตั้งแต่เกิดเลย
แล้วแก้ไขเท่าที่ทำได้ โดยเฉพาะการแก้ไขตนเอง

life is a struggle
life is a struggle

ชีวิตจริงไม่ใช่เทพ จะได้ซื้อ Hero ด้วยเงิน
แพ้แล้วเริ่มใหม่ อีกกี่รอบก็ได้ ทั้งคืน ทั้งวันก็ได้
ชีวิตจริงมีเวลาเป็นกรอบ มีขีดจำกัด
เริ่มต้นผิด ไม่สู้ ไม่มุ่งมั่น เส้นทางจริงก็คงห่างเป้าทุกที
คิดว่าเป็นเทพ เป็น Wonder woman
ก็คงไม่ได้หาปลาให้มากพอ ไม่ได้ไปขึ้นฝั่งดี ๆ ที่ไหนหรอก
เราท่านก็คงอยู่ได้ไม่เกิน 200 ปี บางคนสัก 100 น่าจะได้
ไม่ใช่มนุษย์ Bicentennial Man จะได้อิ่มทิพย์ หรือมีเวลาเหลือเฟือ
ที่จะได้กลับไปเริ่มต้นใหม่ ไปเลือกเดินได้หลายรอบ รอบเดียวทุกคน

กลับมาเรื่อง Tokyo Ghoul
พระเอก ก็แค่อยากมีชีวิตแบบไม่สุงสิงกับใคร แต่ถูกกดดันจากพวกมนุษย์
พวกมนุษย์ไม่อยากให้พระเอกได้กิน ได้อยู่ อย่างสงบ กับเพื่อนกูลนักล่า
เพราะการกินของพระเอก คือ การมาแย่งของล้ำค่าจากมนุษย์ ที่เรียกนักล่า
หากจะปกป้องพวกพ้อง จะกิน จะอยู่ ก็ต้องสู้ ต้องฝึกฝน
ต้องหาอาจารย์มาสอน หาเพื่อนเรียน ไม่ใช่เพื่อนเล่น เพื่อนเที่ยว
ต้องมีคู่ซ้อม ต้องเจ็บ ต้องอดทน สู้ไปด้วยกัน
ถึงจะแข็ง มีกำลัง มีทักษะ มีความชำนาญ
พอเก่ง ก็ต้องกระโดดตีลังกาเตะครูฝึก ป๊าบ ป๊าบ ซะเลย
ก่อนจะตีลังกา ก็ต้องเริ่มฝึกฝน
มีเลเวล คือ ขั้น 1 ขั้น 2 ขั้น 3 และบรรลุสัจธรรม
ประเมินตนเองว่าถึงไหนล่ะ
ชีวิตจริงไม่มีทางลัด หรือเคล็ดวิชา
ที่จะฝึกฝน 1 วัน หรือใช้เงินซื้อ แล้วก็เป็นเทพได้หรอก
ฝึกฝน เสร็จ ก็ต้องสอบปฏิบัติกับอาจารย์
สอบตก ก็กลับไปฝึกฝนใหม่ นับหนึ่งกันใหม่
ถ้าสู้กับอาจารย์แล้ว ยังไม่ถึงไหน
แต่อยากให้อาจารย์ปล่อยผ่าน ผ่าน ๆ ไปเถอะ
แล้วอาจารย์ใจร้าย ดันปล่อยผ่านซะงั้น
ภายภาคหน้า กูลที่ไปสู้กับมนุษย์ก็คงสิ้นใจไปในไม่กี่เพลงยุทธ์
พระเอกจึงต้องฝึกหนัก เลือดตก ยางออก จนถึงขั้นปล่อยอิทธิฤทธิ์ได้
แล้วอาจารย์ก็บอกว่า ผ่านเกณฑ์แล้ว .. ใช้ได้ รอดล่ะ
แต่ถ้าให้อาจารย์ลดเพดานเกณฑ์
เพราะเอาธูปเอาเทียน ไปวอนขอว่า “ไม่อยากฝึกล่ะ เหนื่อยจัง ผ่านนะ
ภายภาคหน้า กูลที่ไม่กล้าแข็งก็คงไม่ได้กิน ได้อยู่ ตามเป้าหมายการฝึก
แต่ต่อไป กูลเกิดไปเจอขุมทรัพย์ในหนังล่าสมบัติ นั่นก็ราชรถมาเกยล่ะ
เชื่อได้ว่า “นั่งรอ นอนรอราชรถแล้ว ราชรถอาจไม่มาตามนัด
หวังว่าจะไม่ สะ-ปอย เรื่อง Tokyo Ghoul มากไปนะครับ

เกรดออกล่ะ
เกรดออกล่ะ

grade ไม่ต้อง A ทุกตัวก็ได้
grade ไม่ต้อง A ทุกตัวก็ได้

นักศึกษาทำอย่างไรกับแนวข้อสอบที่อาจารย์ให้ไป

success @Sylviaduckworth
success @Sylviaduckworth

นิทาน น่ะนะ
กาลครั้งหนึ่ง ณ เช้าวันหนึ่ง ที่เป็นวันธรรมดา
แต่ไม่ธรรมดาตรงที่เป็นวันสอบข้อเขียน ในวิชาหนึ่ง
อาจารย์ก็ได้รับข้อความจากนักศึกษาตอน “ตี 4”
วันนั้น อาจารย์ตื่นมาเห็นข้อความตอน “ตี 5 ครึ่ง”
ก็ตอบไป สื่อสารกันไป

นักศึกษา : วันนี้ อาจารย์เข้ากี่โมง
อาจารย์ : ทำไมล่ะ มีอะไรหรา
นักศึกษา : อยากถามเรื่องแนวข้อสอบที่ให้มา
อาจารย์ : ?
นักศึกษา : ข้อ 2 กับ 3 ต่างกันอย่างไร ดูจากสไลด์ไหน
อาจารย์ : แนว 2 ข้อนี้อยู่สไลด์เดียวกัน ที่ให้ฝึกทำนั่นไง
นักศึกษา : (ส่งภาพสไลด์มาให้ดู) ใช่รึเปล่า
อาจารย์ : ก็ใช่นะ
นักศึกษา : อีกข้อล่ะ อยู่ตรงไหน
อาจารย์ : ตรงนั้นไง

ที่เล่านี้ มองเป็นกรณีศึกษา ที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น
และใช้ร่วมกับภูเขาน้ำแข็งแห่งความสำเร็จด้านล่าง

สรุปว่า
เป็นนักศึกษา .. ไม่ทำตัวเสมือนก้อนน้ำแข็งที่จม
แล้วก้อนน้ำแข็งที่โผล่พ้นน้ำ .. จะใหญ่โตขึ้นมาได้อย่างไร
หวังพึ่งโชคชะตาราศีอย่างเดียว .. ก็ไม่สมเหตุสมผลนะ

 

ผ่านไป
ผ่านไป

สรุปว่าเรื่องนี้น่าสนใจตรงที่
นักศึกษาเค้าจะสอบ เพื่อให้ได้เกรด ให้ได้คะแนน
พอเตรียมตัวแล้ว พบปัญหา ก็หาที่ปรึกษา
แต่สิ่งที่นักศึกษาคนนี้น่าจะพร่องไปเล็กน้อย
มีดังนี้
1. Persistence ความหมั่นเพียร คือ มุ่งมั่นให้ถึงจุดหมาย
2. Hard work การทำงานหนัก คือ ฝึกฝนเป็นประจำ
3. Good habits การทำงานจนเป็นนิสัย คือ การวางแผน

สรุปว่า
ความสำเร็จ (Success) ที่ใครมองเห็น มาจาก

– Persistence
– Failure
– Sacrifice
– Disappointment
– Good habits
– Hard work
– Dedication

@Sylviaduckworth
https://twitter.com/sylviaduckworth/status/621334733901983744

เกรด ไม่ได้วัดความฉลาด
เกรด ไม่ได้วัดความฉลาด

การสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้

ดร.วิยดา เหล่มตระกูล
ดร.วิยดา เหล่มตระกูล

14 มิ.ย.54 เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา มี อ.ดร.วิยดา เหล่มตระกูล และ อ.พงษ์วัชร ฟองกันทา เป็นวิทยากร มีเนื้อหาในการอบรม 4 เรื่อง ได้แก่
1) หลักการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
2) การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3) การสร้างเครื่องมือวัดด้านคุณลักษณะ
4) การสร้างเครื่องมือวัดภาคปฏิบัติ
สอดรับกับ มคอ : กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education, TQF:HEd)

องค์ประกอบของผลการเรียนรู้ตามแนวคิดและทฤษฎีของบลูม (Benjamin S. Bloom, 1956 อ้างอิงถึงใน ศิริชัย กาญจนวาสี, 2540) มีดังนี้
1) ด้านพุทธพิสัย (Cognitive Domain) เป็นการเรียนรู้ด้านความรู้ความเข้าใจและความคิด เป็นความสามารถทางสถิปัญญา ซึ่งมี 6 ระดับ ดังนี้ (1) ความรู้ความจำ (Knowledge) (2) ความเข้าใจ (Comprehension) (3) การนำไปใช้ (Application) (4) การวิเคราะห์ (Analysis) (5) การสังเคราะห์ (Syntehsis) (6) การประเมินผล (Evaluation)
2) ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) เป็นการเรียนรู้ด้านอารมณ์ ความรู้สึก ซึ่งมี 5 ระดับ ดังนี้ (1) การรับรู้หรือการใส่ใจต่อสิ่งเร้า (Receiving or Attending) (2) การตอบสนอง (Responding) (3) การเห็นคุณค่า (Valuing) (4) การจัดระบบค่านิยม (Organization) (5) การแสดงลักษณะตามค่านิยม (Characterization)
3) ด้านทักษะพิสัย  (Psychomotor domain/skill domain) เป็นการเรียนรู้ด้านความชำนาญ หรือทักษะในการปฏิบัติ ซึ่งมี 7 ระดับ ดังนี้ (1) การรับรู้ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ (Perception) (2) ความพร้อมที่จะปฏิบัติ (Set) (3) การปฏิบัติตามข้อแนะนำ (Guided Response) (4) การปฏิบัติจนเป็นนิสัย (Mechanism) (5) การปฏิบัติที่สลับซับซ้อน (Complex overt response) (6) การปรับเปลี่ยนการปฏิบัติ (Adaption) (7) การสร้างปฏิบัติการใหม่ (Origination)

มีโอกาสฝึกปฏิบัติสร้างเครื่องมือวัด แบ่งเป็น 3 ด้าน
1) ด้านพุทธพิสัย มีประเด็นวัดผล 6 ด้านคือ (1) ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด (2) ความเข้าใจ (Comprehend) (3) การประยุกต์ (Application) (4) การวิเคราะห์ ( Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้ (5) การสังเคราะห์ ( Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่ (6) การประเมินค่า ( Evaluation)
2) ด้านจิตพิสัย จะมีองค์ประกอบที่ใช้วัด 3 ส่วนคือ เป้าหมาย (Target) ทิศทาง (Direction) และความเข้มข้น (Intensity)
3) ด้านทักษะพิสัย จะมีจุดประสงค์ปลายทางได้ 3 แบบ คือ การปฏิบัติ (performance) กระบวนการ (process) ผลผลิต (product) และวัดได้ 2 แบบคือวัดภาพรวม และวัดองค์ประกอบ
หมายเหตุ. มีบทเรียนที่ได้จากการอบรมมากมาย แต่ขอสรุปสั้น ๆ ไว้เพียงเท่านี้ครับ