PDPA ebook โดย อ.เธียรชัย ณ นคร ใน PDPAthailand.com

PDPA Thailand (Personal Data Protection Act) ได้รับอนุญาตจาก อ.เธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการ คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในการเผยแพร่เอกสาร “หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลในองค์กรภาคเอกชน” สืบเนื่องในโอกาสที่อาจารย์มาบรรยายให้กับวิทยากรและที่ปรึกษาของบริษัท Digital Business Consult ตลอดจนผู้เข้าอบรมหลักสูตร Train the Trainer รุ่นที่ 1-4 ของสถาบันพัฒนาและทดสอบทักษะดิจิทัล DDTI เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2565 ณ สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และได้ส่งมอบเอกสารฉบับนี้ไว้

PDPA Guideline สำหรับองค์กรภาคเอกชน โดย เธียรชัย ณ นคร ครอบคลุมบทสรุปของหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นสากล นำเสนอให้องค์กรได้นำไปพิจารณาและปรับใข้ตามความเหมาะสมสอดคล้องกับบริบทในการประกอบธุรกิจ โดยอ้างอิงถึงบทบัญญัติใน พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ประกอบ เชื่อว่าเอกสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกองค์กร (ไม่เพียงเฉพาะภาคเอกชน) ที่เริ่มต้นหรือกำลังดำเนินการตาม PDPA กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทยที่ “ทุกองค์กรต้องทำตาม” หากมีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลอื่นแม้เพียงเล็กน้อย

http://www.thaiall.com/pdpa/index.html

e-book 31 หน้า : [Full] PDPA Guideline for Private Sector การบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลในองค์กรภาคเอกชน โดย อ.เธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการ คณะกรรมการข้อมูลส่วนบุคคล

#เล่าสู่กันฟัง 63-013 แนวคิดการศึกษาในโลกอนาคต

อ่านเรื่อง 9 แนวคิดการศึกษาในโลกอนาคตของแจ็ค หม่า ใน eduzones.com และเขียนบรรยายเพิ่มเติมได้น่าสนใจ มีประเด็นที่ผมสนใจ ว่าประเด็นเหล่านี้จะไปอยู่ในโลกอนาคต หรืออดีต หรือปัจจุบันอย่างไร

แล้วแยกคำออกมาตามหัวข้อในภาพ นึกถึงเรื่องจริยธรรม สอดคล้องข้อ 7 “มีหัวใจ” ที่อยากชวนนิสิตได้วิพากษ์ ในทั้ง 9 ข้อ

1. รายได้เป็น key point
2. ถูกต้อง เพิ่มการวิเคราะห์
3. ทำงานเป็นทีมในหมู่เด็ก
4. เป้าหมายการศึกษา สอบเข้าไม่พอ
5. เรียนรู้ตลอดชีวิต
6. เรียนรู้ให้เร็ว จบให้เร็ว
7. มีหัวใจ
8. โลกไร้พรมแดน
9. สร้างสรรค์และนวัตกรรม

ข้อ 9 นี่นึกถึง coding และ research
แต่ eduzones มองข้อ 9 เช่น ศิลปะ กีฬา เต้นรำ

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10157815247706171&id=284423006170

http://www.thaiall.com/ethics

วงจรในการจัดกระบวนการประเมินคุณภาพภายใน

คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2554-2556
คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2554-2556

วงจรในการจัดกระบวนการประเมินคุณภาพภายใน
จากหัวข้อแนวทางการจัดกระบวนการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน
หน้า 201
ของ คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2554-2556
(Quality Assurance Manual 2554-2556)

1. สถาบันวางแผนการประเมินคุณภาพประจำปีการศึกษาใหม่ โดยประกาศตัวบ่งชี้ก่อนเริ่มต้นปีการศึกษาใหม่ และแจกคู่มือการจัดทำ SAR (กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงตัวบ่งชี้ วิธีการ และกำหนดการประเมินคุณภาพภายในประจำปี)
2. สถาบันเก็บข้อมูลระยะ 12 เดือนตามตัวบ่งชี้ที่ได้ประกาศใช้บนระบบ CHEQA Online (มีทีมงานให้คำปรึกษากับบุคลากร และหรือหน่วยงานและหรือภาควิชาในการเก็บข้อมูล พร้อมทั้งพิจารณาปรับปรุงการดำเนินงานตามความเหมาะสม)
3. สาขาวิชา ศูนย์นอกที่ตั้ง จัดทำ SAR และเตรียมการประเมินระดับคณะวิชา และศูนย์นอกที่ตั้ง
4. ประเมินระดับคณะวิชา และศูนย์นอกที่ตั้ง
5. คณะวิชาและศูนย์นอกที่ตั้ง นำผลการประเมินมาจัดทำ SAR บนระบบ CHEQA Online และเตรียมการประเมินระดับสถาบัน และแต่งตั้งกรรมการประเมินระดับสถาบัน
6. ประเมินระดับคณะวิชา และศูนย์นอกที่ตั้งบนระบบ CHEQA Online
7. สถาบันนำผลการประเมินระดับคณะวิชา และศูนย์นอกที่ตั้งมาจัดทำ SAR บนระบบ CHEQA Online และเตรียมการประเมินระดับสถาบัน และแต่งตั้งกรรมการประเมินระดับสถาบัน
8. ประเมินระดับสถาบันบนระบบ CHEQA Online และนำผลการประเมินเสนอสภาสถาบันเพื่อพิจารณาวางแผนพัฒนาสถาบันในปีการศึกษาถัดไป
9. ผู้บริหารของสถาบันอุดมศึกษานำผลการประเมินและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน (รวมทั้งข้อเสนอแนะของสภาสถาบัน) มาวางแผนปรับปรุงการดำเนิน หรือปรับแผนกลยุทธ์/แผนปฏิบัติการประจำปีและเสนอตั้งงบประมาณปีถัดไป หรือจัดทำโครงการพัฒนาและเสนอใช้งบประมาณกลางปี
10. ส่งรายงานประจำปีที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายใน (ประกอบด้วย SAR และผลการประเมินคุณภาพภายในระดับคณะวิชา ศูนย์นอกที่ตั้ง และระดับสถาบัน) ให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาผ่านระบบ CHEQA Online และหน่วยงานต้นสังกัด (ภายใน 120 วันนับจากสิ้นปีการศึกษา)

http://www.mua.go.th/users/bhes/bhes2/QA%20MUA_54/ManualQA_MUA_February2554.pdf

http://www.cheqa.mua.go.th/

ผลการวิพากษ์เค้าโครงรายวิชา

8 มิ.ย.54 ผลการวิพากษ์เค้าโครงรายวิชา (Syllabus Defending) ระดับกลุ่มสาขาวันนี้ได้ข้อสรุปว่า ต่อไปหัวข้อในการประเมินผลการเรียน ไม่ควรแตกต่าง และมีความเป็นมาตรฐานตรงกันทุกวิชา จึงทำข้อตกลงเสนอเป็นหัวข้อให้พิจารณาจัดทำในรายวิชาของตน มีลำดับและชื่อหัวข้อดังนี้
1. การเข้าชั้นเรียน
2. ความรับผิดชอบ
3. งานที่มอบหมาย
4. ฝึกปฏิบัติการ
5. โครงงาน
6. สอบย่อย
7. สอบกลางภาค
8. สอบปลายภาค

ส่วนหัวข้อใหญ่ในเค้าโครงรายวิชามีดังนี้
1. ชื่อวิชา ชื่อผู้สอน ตามรูปแบบ
2. วิชาบังคับก่อน
3. คำอธิบายรายวิชา
4. จุดประสงค์รายวิชา
5. รายละเอียดการเรียนการสอน
6. การประเมินผลการเรียน
7. เกณฑ์ประเมินผลการเรียน
8. หนังสือบังคับอ่าน
9. หนังสือประกอบการเรียน
10. เว็บไซต์ที่แนะนำ