แนวคิดงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (5)

      หลายปีที่ผ่านมางานวิจัยในประเทศไทยมักถูกตั้งโจทย์โดยนักวิชาการ หน่วยงานต่างๆ เพียงเพื่อทดสอบทฤษฎีบางอย่างหรือต้องการหาคำตอบบางอย่าง ที่กลุ่มคนเหล่านั้นสนใจหรือเข้าไปทำวิจัยในท้องถิ่น เพื่อการวางแผน กำหนดนโยบายบางอย่าง เพื่อคลี่คลายปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ แต่ก็ยังเป็นที่กังขาว่า ผลงานวิจัย ได้ถูกนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ กับคนส่วนใหญ่หรือไม่ สามารถตอบคำถาม ในชุมชน และนำไปแก้ไขปัญหาได้จริงหรือไม่ มากน้อยเพียงใด เพราะหลายๆ ปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข และในบางปัญหา กลับดูเหมือนว่าจะรุนแรงมากขึ้น ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจาก ขาดการคำนึงถึงว่า ชุมชนต้องการจะคลี่คลาย ในสิ่งที่กลุ่มคนภายนอกเข้าไปศึกษาหรือไม่ กล่าวคือ ผู้ที่เกี่ยวข้อง มักจะไม่ได้นำงานวิจัยไปใช้ หรือไม่ตอบสนองกับปัญหาของชุมชนนั่นเอง
     สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงพยายามสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ ในการสนับสนุนงานวิจัย คือ “ไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตาม ที่จะทำวิจัย โจทย์ควรมาจากชุมชนท้องถิ่น ทำแล้วก่อให้เกิด ความเปลี่ยนแปลงในชุมชน ทำให้คนในชุมชน ได้เรียนรู้และเก่งขึ้น” บนฐานคิดตามความหมาย การวิจัยของศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก ที่ได้กล่าวไว้ว่า “วิจัยที่แท้จริงนั้น จะต้องเป็นการวิจัย ที่หมายความถึงการแสวงคำตอบที่เป็นระบบเปิด และเรื่องของการพัฒนา จะต้องตั้งโจทย์ที่เป็นระบบเปิด เพราะฉะนั้น นอกจากเข้าใจปัญหา และมองแนวทางในการแก้ปัญหา  เราก็มีโจทย์ ในการวิจัยนั้น ซึ่งได้ชี้ช่องทางให้เราเห็นถึง แนวทางการพัฒนา หมายความว่า เป็นการพัฒนาต่อไป เป็นการกำหนดแนวทาง การพัฒนาที่ขึ้นอยู่กับศักยภาพของท้องถิ่นโดยเฉพาะ การทำงานวิจัยในรูปนี้ เราจะต้องมองเงื่อนไข ศักยภาพ เพื่อที่จะให้ท้องถิ่น สามารถพัฒนาตัวเองต่อไปได้” ท้ายที่สุดแล้ว เมื่อมีงานวิจัย มีข้อมูลและประสบการณ์จากหลายๆ พื้นที่ หลายๆ ชุมชนทั่วประเทศเพียงพอ ก็คาดว่า จะสามารถนำไปสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ เพื่อผลักดัน สู่การเปลี่ยนแปลงนโยบาย ในระดับภาค ระดับประเทศ ทำให้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นคลี่คลายในที่สุด
     สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นองค์กร นอกระบบราชการ บริหารงานโดยอิสระ ภายใต้การกำกับ ของสำนักนายกรัฐมนตรี ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2536 เพื่อให้การสนับสนุนการวิจัย ด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และงานวิชาการด้านต่างๆ เพื่อการพัฒนาประเทศ โดยมีการแบ่งเป็นฝ่ายงานต่างๆ ได้แก่ฝ่าย นโยบายชาติ และความสัมพันธ์ข้ามชาติ ฝ่าย 2 เกษตร ฝ่าย 3 สวัสดิภาพสาธารณะ ฝ่าย 4 ชุมชน ฝ่าย 5 อุตสาหกรรม และฝ่ายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
     สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานภาค ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2541 เพื่อให้ดำเนินการ ในฝ่ายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ภายใต้แนวคิดใหม่ เน้นการสร้างกระบวนการ “ติดอาวุธทางปัญญา” (Empowerment) แก่ชุมชนและท้องถิ่น รวมทั้งเน้นให้ชุมชน ได้ใช้ประโยชน์จากกระบวนการวิจัย หรืออีกนัยหนึ่ง เป็นกลไกหนึ่ง ในการสร้างบรรยากาศ “การเรียนรู้ของทุกคน ทุกคนเรียนรู้ เรียนรู้ตลอดชีวิต เรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่” ตามเจตนารมณ์ ของพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
     ที่สำคัญคือ สกว.ภาค จะต้องเน้นการจัดการ และประสานให้เกิดความเชื่อมโยง ระหว่าง “ปัญญา” (นักวิจัย) และ “พัฒนา” (นักพัฒนา) ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด ระดับชาติ ที่ดำเนินงานแบบแยกส่วน ต่างคน ต่างทำอยู่ ในปัจจุบัน ดังคำขวัญ “สร้างสรรค์ปัญญา พัฒนาท้องถิ่น” เพื่อให้ “สังคมไทย ได้ใช้ความรู้และข้อมูลที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ ในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจ แทนการใช้ความรู้สึก หรืออารมณ์” นำไปสู่ความสามารถ ในการแก้ปัญหา พัฒนาตนเอง และพึ่งตนเองได้ในชุมชน ท้องถิ่น ตลอดจน การพัฒนาประเทศชาติ ที่ยั่งยืนในที่สุด 

เปรียบเทียบแนวคิด
เปรียบเทียบแนวคิด

ระบบการวิจัยเพื่อท้องถิ่น
     ศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ได้กล่าวถึงระบบการวิจัยเพื่อท้องถิ่นไว้ว่า จะต้องมีส่วนประกอบสำคัญ ดังต่อไปนี้
1. ระบบทรัพยากร
ต้องมีระบบทรัพยากรที่มาจากส่วนกลาง และส่วนท้องถิ่น
2. หน่วยงานจัดการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
ต้องมีหน่วยงานจัดการ งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ที่สามารถเรียนรู้ และพัฒนาศาสตร์และศิลป์ ในการจัดการ งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ที่เชื่อมโยง กับการจัดงานวิจัย ในภาพรวมของประเทศ ซึ่งหน่วยจัดการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นนี้ อาจมีหน่วยงานเดียว ดูแลทั้งประเทศ หรืออาจแยกเป็น 2 – 3 หน่วยงาน บางพื้นที่กันดูแลตามความเหมาะสม
3. นักบริหารวิจัยเพื่อท้องถิ่น
เนื่องจากการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ในประเทศไทยเป็นเรื่องใหม่ นักวิจัยเองยังไม่สันทัด ไม่คุ้นเคย และคนในท้องถิ่นเอง ก็ยังไม่คุ้นเคย จึงต้องการนักบริหารงานวิจัย เข้าไปจัดกระบวนการ แปรความต้องการ ของชาวบ้านให้เป็นโจทย์วิจัย จัดกระบวนการ เพื่อกำหนดกระบวนการ หรือวิธีวิจัย และแปลผลการวิจัย ตลอดจนนำผลการวิจัย ไปใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น ซึ่งนักบริหารงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จะต้องมีทักษะจำเพาะหลายด้าน ที่แตกต่าง ไปจากนักบริหารงานวิจัยโดยทั่วไป
4. สถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่น
ต้องมีการจัดตั้ง และส่งเสริมความเข้มแข็ง ขององค์กรทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ สถาบันการศึกษา องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรวิจัย และเทคโนโลยี เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นกลไก ในการรับใช้ชุมชนท้องถิ่น ในการส่งเสริมงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ควบคู่ไปกับการสร้างฐานความรู้เพื่อท้องถิ่น
5. นักวิจัยเพื่อท้องถิ่น
ควรประกอบด้วย นักวิจัยจากหลายหลายสาขาวิชา หลายพื้นฐานประสบการณ์ แต่มีส่วนที่เหมือนกัน หรือมีเจตนารมณ์ร่วมกันคือ ต้องการเข้ามาอำนวยความสะดวก ให้ชาวบ้านสร้างความรู้ เพื่อใช้ในการพัฒนาท้องถิ่นของตน
6. นักวิจัยเชิงทฤษฎี
นักวิจัยเชิงทฤษฎีจะต้องเข้ามาจับภาพรวม ภาพใหญ่ พัฒนาเป็นทฤษฎีที่สร้างขึ้นเองภายในประเทศ จากข้อมูลท้องถิ่น ซึ่งในขณะนี้แทบจะไม่มีทฤษฎีทางสังคมที่สร้างขึ้นเองภายในประเทศจากข้อมูลท้องถิ่นเลย
7. ระบบข้อมูลเพื่อการวิจัยท้องถิ่น
ข้อมูลส่วนหนึ่ง (ซึ่งเป็นข้อมูลส่วนใหญ่ที่ต้องการ) คือ ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของชาวบ้านทั่วประเทศ ประเด็นที่สำคัญ คือ ความแม่นยำและทันสมัยของข้อมูล จะต้องมีการจัดเก็บและเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ และมีการประมวลและใช้ข้อมูลในแต่ละท้องถิ่นให้เป็นประโยชน์
     ระบบการวิจัยเพื่อท้องถิ่นในประเทศไทย ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น จึงยังต้องการการพัฒนาอีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการบริหารจัดการ จึงควรเป็นระบบเปิด ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว เป็นการนำไปสร้างความรู้ เท่ากับว่าผู้ที่เกี่ยวข้องต้องช่วยกันพัฒนาระบบนี้ โดยมีเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ คือ “สังคมไทย มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน บนฐานความรู้ และการสร้างความรู้ในทุกส่วนของสังคม”
ข้อมูลจาก http://www.geocities.com/db2545/book1/03.html
http://www.vijai.org/Tool_vijai/05/01.asp

แถลงข่าวประกาศใช้ข้อตกลงในการจัดการงานศพฯ (4)

งานแถลงข่าว
งานแถลงข่าว

เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2552 นายทรงศักดิ์ แก้วมูล ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลไหล่หิน ร่วมกับผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ หัวหน้าโครงการวิจัยรูปแบบการจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในบทบาทอาจารย์มหาวิทยาลัยโยนกร่วมกับนักวิจัยในพื้นที่ทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จัดงานแถลงข่าวการประกาศใช้รูปแบบการจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงตำบลไหล่หิน โดยได้รับเกียตรติจากนายชนะเกียรติ เจริญหล้า นายอำเภอเกาะคา เป็นประธานในพิธีมอบป้ายไวนิล ป้ายประชาสัมพันธ์ประเด็นข้อตกลง และเอกสารประกาศข้อตกลง แก่ตัวแทนผู้นำทั้ง 6 หมู่บ้านที่ทำงานร่วมกันมากว่า 2 ปี ณ ศาลาเอนกประสงค์วัดไหล่หินหลวง โดยมีผู้สูงอายุ นักวิจัยในตำบล หัวหน้าส่วนราชการ และนักวิจัยที่สังกัดศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดลำปาง เข้าไปร่วมเป็นเกียรติ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงวิธีวิทยาของโครงการวิจัยครั้งนี้ หลังเสร็จพิธีนางสาวภัทรา มาน้อย พี่เลี้ยงโครงการวิจัยพื้นที่จังหวัดลำปาง ร่วมกับสภาวัฒนธรรมตำบลไหล่หินจัดพิธีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในตำบล นักวิจัยอวุโส ปลัดอาวุโส และนายอำเภอเกาะคา (news_announce.zip 15 MB)
ลงข่าวในหนังสือพิมพ์ฅนเมืองเหนือหน้า 19 ฉบับวันที่ 20-26 เมษายน 2552

ร่วมทีมอาจารย์โยนก CBR ไปประชุม CBMAG เพื่อตั้ง sub node ที่ลำปาง (3)

ทุกมุมโลกในขณะนี้น่าจะมีการประชุมเพื่อพัฒนา เกิดขึ้นตลอดเวลา เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2552 ผมก็มีโอกาสไปประชุมร่วมกับอาจารย์จากหลายมหาวิทยาลัย อาทิ ม.ราชภัฏลำาปง ม.ราชมงคลลำปาง  โดยเฉพาะ ม.โยนก มีอาจารย์ที่รับทุน CBR ไปประชุมรวมผมด้วยก็ 4 ท่าน คือ อ.อดิศักดิ์ เสมอพิทักษ์ อ.ศิรดา ไชยบุตร อ.อัศนีย์ ณ น่าน ในหัวข้อเรื่อง แนวทางความร่วมมือการสนับสนุนศักยภาพ นักศึกษาปริญญาโทกับงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น มีน้องหนึ่ง เป็นเลขาที่ประชุม และนำประชุมในครั้งนี้ ทำให้เข้าใจว่าศักยภาพของคนไม่ขึ้นอยู่กับอายุ ตำแหน่ง แต่ขึ้นกับประสบการณ์ และบุคลิกส่วนตัว คำว่า CBMAG (Community-Based Master Research Grant) ที่ไปร่วมกันผนึกกำลัง เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาป.โทเข้าขอทุนไปพัฒนาบ้านเมืองของเรา มาจากภาษาไทยว่า ทุนวิจัยเพื่อท้องถิ่นในการทำวิทยานิพนธ์/ค้นคว้าอิสระของนักศึกษาปริญญาโท ดร.ดวงจันทร์ เดี่ยววิไล กล่าวเปิดเวทีการประชุมในฐานะกลไกตรงที่รับผิดชอบงานวิจัย แล้ว รศ.ดร.อาวรณ์  โอภาสพัฒนกิจ เล่าที่มาของฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น และการมาสร้างกลไก ในการขับเคลื่อน ทำให้ผมเข้าใจความหมายของกลไกได้ชัดขึ้น และน่าจะทำยากกว่าคำว่าระบบ เพราะระบบนั้นแค่เขียนขั้นตอนแล้วประกาศให้ทราบทั่วกันก็ถือว่ามี แต่กลไก คือทุกอย่างที่ เป็นรูปธรรมอันจะขับเคลื่อนตัวระบบให้ดำเนินไปตั้งแต่เริ่มจนจบกระบวนการ

การประชุมครั้งนี้มีทุนวิจัยอยู่ปีละประมาณ 15 – 20 ทุน แม้จะดูน้อย แต่ปัญหา คือ นักศึกษาที่ขอทุนเข้าไปมีน้อยกว่าทุนที่ให้ เพราะปัญหาเรื่องของช่วงเวลาเรียน  กับช่วงเวลาทำวิจัยไม่สัมพันธ์กัน ประกอบกับเงื่อนไขการทำงานเชิงพื้นที่ ซึ่งองค์ประกอบ ของความสำเร็จต้องขึ้นอยู่กับพื้นที่เป็นสำคัญ ซึ่งผมก็เสนอเข้าไปว่าบทบาทของพี่เลี้ยงต้อง ทำงานหนักมาก อย่างพี่เลี้ยงของผม คุณภัทรา มาน้อย ต้องคอยโอบอุ้ม หนุ่นเสริม จนทำให้งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นโดยคนไม่มีประสบการณ์อย่างผมสามารถสำเร็จลงได้ ดร.ไกรสร คำมา ก็เสริมว่าการทำงานเพียงไม่กี่เดือนนั้น ไม่เพียงพอกับการทำงานกับชาวบ้าน  ผมเองก็เคยพบมาแล้ว เพราะติดเลือกตั้งบ้าง ติดทำนา ติดงานบุญ อันนี้ก็ต้องเข้าใจบริบทของชุมชน ส่วนอาจารย์ด้านวิทยาศาสตร์ก็นำเสนอปัญหาว่า สาขาทางสัตวศาสตร์ล่ะ พืชไร่ล่ะ คอมล่ะ ในเวทีก็เสนอว่าคงต้องใช้วิธีการประยุกต์ และพบกันครึ่งทาง จะ pure science  กับงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นคงไม่ได้

ประชุมครั้งนี้เป็นความพยายามจัดตั้ง sub node ของลำปาง การตั้งนั้นไม่ยาก แต่การทำให้คงอยู่ยั่งยืนสิยากกว่า การประชุมครั้งนี้ราบรื่นดีแม้ รศ.ศุภศักดิ์ ลิมปิติ ผู้ประสานงานชุดโครงการ CBMAG จะไม่ได้มาด้วย เพราะเจ็บเข่ากระทันหัน ต่อจากนี้มีแผนจะอบรมนักศึกษาปริญญาโทที่สนใจขอทุน ก็จะอบรมให้เห็นกระบวนการ เขียนข้อเสนอ และเข้าใจการเข้าไปทำงานกับชุมชน ก่อนการอบรมมีนัดหมายอีกครั้ง ในวันที่ 25 มิถุนายน 2552 โดยมีแผนว่าควรเปลี่ยนสถานที่ประชุมไปเป็นมหาวิทยาลัยโยนก และสันจรไปที่อื่นหมุนเวียนเปลี่ยนไป เมื่อกลับมาถึงมหาวิทยาลัยโยนก ก็รวบรวมกำลังใจ แต่รวบรวมคนไม่สำเร็จ ไปเล่าอะไรอะไรอย่างไม่เป็นทางการให้ ดร.ศรีศุกร์ นิลกรรณ ฟัง เพราะท่านเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนงานวิจัย ของมหาวิทยาลัย (ถ้ามีโอกาสจะย่อยข้อเสนอโครงการที่ได้รับอนุมัติแล้วให้ได้ศึกษาเรียนรู้ เพราะในเวทีแจกมาเป็นเล่มครับ)

http://www.cbmag.org/

ระบบและกลไก คืออะไร

พบนิยามศัพท์ คำว่า ระบบและกลไก
ใน คู่มือการประกันคุณภาพภายใน ระดับอุดมศึกษา ปี 2553 และ ปี 2557
ได้นิยามไว้เหมือนกัน
สกอ. ย้ายโดเมน ! http://www.mua.go.th/users/bhes/
DATA%20BHES2558/upload%20file%20IQA/
iqa%20manual2557.pdf

https://www.thaiall.com/iqa/handbook_mua57ed3.pdf

ระบบ (System) หมายถึง ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีการกำหนดอย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง  เพื่อให้ได้ผลออกมาตามที่ต้องการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานจะต้องปรากฎให้ทราบโดยทั่วกันไม่ว่าจะอยู่ในรูปของเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือโดยวิธีการอื่น ๆ องค์ประกอบของระบบ ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และข้อมูลป้อนกลับ
ซึ่งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน

กลไก (Mechanism) หมายถึง สิ่งที่ทำให้ระบบมีการขับเคลื่อนหรือดำเนินอยู่ได้ โดยมีการจัดสรรทรัพยากร มีการจัดองค์การ หน่วยงาน หรือกลุ่มบุคคลเป็นผู้ดำเนินงาน

กระบวนการ (Process) หมายถึง กิจกรรมที่ดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนของแต่ละหน่วย และประสานกันเป็นลำดับภายในระบบ เช่น กระบวนการออกข้อสอบ กระบวนการพิมพ์ข้อสอบ กระบวนการสอบสัมภาษณ์ กระบวนการสอบข้อเขียน กระบวนการประกาศผล กระบวนการปฐมนิเทศ ซึ่งทั้งหมดอยู่ในระบบรับนักศึกษา

ระบบ และกลไก

nccit.net system
ตัวอย่างของระบบ

ตัวอย่างระบบ ที่มีองค์ประกอบ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และข้อมูลป้อนกลับ

! http://rd.vru.ac.th/pdf/announcement_fund/Fund/01.pdf

ขั้นตอนการดำเนินงานการขอยืมเครื่องมือจากศูนย์เครื่องมือฯ

! http://www.coop.sut.ac.th/index.php?sec=tool&vdo=2

ระบบและกลไกงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

ระบบและกลไกงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

! http://ethics.knc.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=81&Itemid=54

เมื่อ 11 มีนาคม 2558 ได้มีโอกาสพูดคุย เรื่องระบบและกลไก ในเกณฑ์ประกันคุณภาพภายใน ของสกอ. ปี 2557 ที่มีถึง 7 ระบบในระดับหลักสูตร ที่ต้องดำเนินการ และมีหลักฐานว่าได้นำระบบไปสู่การปฏิบัติ กับ อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ อ.ธวัชชัย แสนชมภู คุณสาธิจิตต์ นกจันทร์ และคุณเรณู อินทะวงศ์ หลังพูดคุย ผมยกร่างกรอบการเขียนระบบ  (Framework of System) ที่แสดงการเชื่อมโยงของ input – process – output – feedback ไว้ดังนี้

framework ของ system

http://www.thaiall.com/pptx/system.pptx
http://www.thaiall.com/iqa

มีโอกาสได้ฟังคำชี้แจงเรื่อง นิยมศัพท์ของ ระบบและกลไก เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2552
โดยคุณเพชรี สุวรรณเลิศ สำนักประกันคุณภาพ ในที่ประชุมผู้บริหารครั้งที่ 9/2552
ตามเอกสารหมายเลข 2 ซึ่งเพิ่มเติมจากคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2551
ระบบ (System) ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ (Objective) ปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) และผลผลิต (Output)
ตัวอย่างที่ 1 ระบบการผลิตบัณฑิตในแต่ละหลักสูตร
วัตถุประสงค์ การผลิตบัณฑิตตามหลักสูตร
ปัจจัยนำเข้า รับนักศึกษาใหม่ตามหลักสูตร
กระบวนการ การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร ..
ผลผลิต บัณฑิตสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
ตัวอย่างที่ 2 ระบบการจัดทำรายงานผลการเรียนทุกสิ้นภาคการศึกษา
วัตถุประสงค์
การจัดทำรายงานผลการเรียนสิ้นภาคการศึกษา
ปัจจัยนำเข้า อาจารย์ส่งผลการเรียนให้สำนักทะเบียน
กระบวนการ ประมวลผลผลการเรียนตามสูตร และนโยบายของผู้บริหาร …
ผลผลิต พิมพ์รายงานผลการเรียนเฉลี่ยของนักศึกษาแต่ละคน

แต่ในการประเมินตามคู่มือของ สกอ. คำว่า ระบบ (System) จะเน้นที่กระบวนการ
หมายถึง ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีการกำหนดอย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้ได้ผลออกมาตามที่ต้องการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานจะต้องปรากฎให้ทราบโดยทั่วกัน ไม่ว่าจะในรูปของเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือโดยวิธีการอื่น ๆ องค์ประกอบของระบบ ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และข้อมูลป้อนกลับ
ตัวอย่าง ระบบการจัดทำรายงานผลการเรียนทุกสิ้นภาคการศึกษา
1. รับข้อมูลผลการเรียนจากอาจารย์ผู้สอน หรือคณะวิชาหลังสอบปลายภาค 2 สัปดาห์
2. นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ และตรวจสอบความถูกต้อง
3. ประมวลผลตามเงื่อนไขตามหลักสูตร และนโยบาย
4. ตรวจสอบผลการประมวลผลในรายละเอียด และในภาพรวม
5. จัดทำรายงานแยกคณะ แยกประเภท แยกกลุ่มนักศึกษา
6. ส่งรายงาน และประกาศให้ผู้เกี่ยวข้องตามลำดับ และเวลา

กลไก (Mechanism) หมายถึง สิ่งที่ทำให้ระบบมีการขับเคลื่อนหรือดำเนินอยู่ได้ โดยมีการจัดสรรทรัพยากร มีการจัดองค์กร หน่วยงาน หรือกลุ่มบุคคลให้เป็นผู้ดำเนินงาน เช่น การแต่งตั้งผู้รับผิดชอบมาดำเนินการ ควบคุมกิจกรรมให้เป็นไปตามแผนงาน โดยมีรายงานการประชุมคณะทำงาน รายงานผลการดำเนินการ การประเมินระบบ และสรุปผลการดำเนินงานตามระบบที่กำหนดไว้

ระบบของกระบวนการเทคโนโลยี

แผนผังการทำงานเชิงระบบของกระบวนการเทคโนโลยี
1. ข้อมูล (input)
เช่น ปัญหา/ความต้องการ
รวบรวมข้อมูล/หาวิธีแก้ปัญหา
เลือกวิธีการ
2. กระบวนการ (process)
เช่น ออกแบบ/ปฏิบัติการ
3. ผลลัพธ์ (output)
เช่น ทดสอบ
ปรับปรุงแก้ไข
ประเมินผล
ผลสัมฤทธิ์ของงาน
ชิ้นงาน
ผลิตภัณฑ์
4. ข้อมูลย้อนกลับ (feedback)
จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน “การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 หน้า 104

โดย เพ็ญพร ประมวลสุข – มนตรี สมไร่ขิง – วรรณี วงศ์พานิชย์ – ศิริรัตน์ ฉัตรศิขรินทร

ประชุมแผนกลยุทธ์ 2552 ที่สวนพฤกษศาสตร์ทวีชล (1)

สวนพฤกษศาสตร์ทวีชล
สวนพฤกษศาสตร์ทวีชล

เล่าเรื่องงานแล้ว เลยเถิดไปถึงเรื่องครอบครัว ที่สอดคล้องสัมพันธ์กัน
1) 3 – 4 เมษายน 2552 ร่วมประชุมนำเสนอแผนกลยุทธ์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ในการประชุมผู้บริหารมหาวิทยาลัยโยนก ประจำปี 2552 ซึ่งท่านอธิการสันติ บางอ้อ
จัดให้มีการประชุมแบบนี้เป็นปีที่ 3 ซึ่งครั้งนี้จัดที่ สวนพฤกษศาสตร์ทวีชล เชียงใหม่
อยู่ห่างตัวเมืองไปดอยสะเก็ดประมาณ 11 กม. มีผู้บริหาร หัวหน้าหน่วยงาน และ
ผู้เกี่ยวข้องในการประชุมครั้งนี้ประมาณ 76 คน ใช้ห้องพักไป 38 ห้อง
ซึ่งครั้งนี้มีผู้ร่วมประชุมเชิงบูรณาการมากกว่าทุกครั้ง มีเอกสารประกอบการประชุมกว่า 2 รีม
หลังประชุมเสร็จคงต้องกลับมานั่งอ่านอย่างใจเย็น เพราะมีรายละเอียดมากจริง ๆ
2) กำหนดการนำเสนอแผนในการประชุม 2 วันนี้มีทั้งหมด 20 แผน
แต่มีการแลกเปลี่ยนในประเด็นสำคัญจนทำให้จำนวนแผนที่นำเสนอในเวลาที่จำกัด
เหลือเพียง 13 แผน ส่วนผมนำเสนอในวันแรก คือ 15.10 – 15.45
การประชุมครั้งนี้มีการจัดประกวดการนำเสนอแผนในระดับคณะ และสำนัก
2.1 คณะที่ได้รับคัดเลือกว่ามีแผนกลยุทธ์ที่สมบูรณ์ คือ คณะบริหารธุรกิจ
ส่วนคณะของผมไม่ติด 1 ใน 3 คณะครับ แสดงว่าแผนกลยุทธ์ยังขาดความสมบูรณ์
2.2 สำนักพัฒนาศักยภาพได้รับการคัดเลือกให้เป็นที่ 1 จากสำนักที่เข้ารอบ 5 สำนัก
แต่เสียดายที่หน่วยงานนี้มิได้นำเสนอในการประชุมครั้งนี้ เพราะเป็น 1 ใน 7 สำนัก
ที่ยกให้กลับไปนำเสนอที่มหาวิทยาลัย เพราะเวลาไม่พอ
ทุกสำนักมีความสำคัญต่อการประกอบการของมหาวิทยาลัย
แต่สำนักที่เกี่ยวข้องกับทุกหน่วยงานอย่างชัดเจน และมีผลต่อการกำหนด
แผนงาน โครงการไปถึงระดับนโยบาย คือ แผนทรัพยากรบุคคลที่นำเสนอโดย
คุณมณฑิชา แสนชมพู และแผนงบประมาณที่นำเสนอโดยคุณปริศนา เขียวอุไร
3) การนำเสนอครั้งนี้ เน้นให้ทุกคณะนำเสนอแผนกลยุทธ์สำหรับ 3 ปี คือปี 2552 – 2554
โดยมีความสอดคล้องกันตั้งแต่ผลการดำเนินงาน การวิเคราะห์ SWOT แล้วนำไป
กำหนดปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย แผนกลยุทธ์ โครงการ
และตัวบ่งชี้ โดยทุกคณะต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพ และการรับนักศึกษา
เพราะเป็นปัจจัยเสี่ยง (Risk Identification) ที่มหาวิทยาลัยต้องให้การดูแลเป็นพิเศษ
4) ในการประชุมไม่มีโอกาสเดินชมสวน เพราะประชุมตั้งแต่เช้าจรดเย็น เสร็จก็ต้องกลับ
เมื่อกลับถึงลำปาง จึงตัดสินใจชวนครอบครัว 6 ชีวิต ไปศึกษาเรียนรู้สวนแห่งนี้ในวันรุ่งขึ้น
สวนนี้ก่อตั้งโดยคุณทวีศักดิ์ เสสะเวช มาได้ 10 กว่าปีแล้ว แต่เปิดให้บริการประมาณปี 2549
เป็นสวนที่มีพันธุ์ไม้หาดูยากอย่าง ปาล์ม ปรง กระบองเพชร สมุนไพร ไม้หอม ไม้หายาก
เหมาะกับการไปจัดประชุม เข้าค่ายของนักเรียน ผมพาลูกไปในวันที่ 5 ประทับใจหลายเรื่อง
สำหรับครอบครัว ลูกบอกว่าดีกว่าสวนสัตว์ซะอีก เพราะชอบสวนกล ใกล้ชิดกวาง อูฐ นกยูง
ได้ใช้บริการรถกอล์ฟที่ให้ความเป็นกันเองอย่างน่าประทับใจ และผู้คนไม่แออัดมากนัก
ตกเย็นก็ไป shopping ที่ robinson airport พบน้องออย (ทิพย์วิมล อุ่นป้อง) มากับคุณพี่
ลูก ๆ ได้รองเท้ามาคนละคู่ ส่วนผมก็ได้กิน นิปปอน ราเมง เป็นข้าวเย็นก่อนกลับมาลำปาง
http://www.tweecholbotanicgarden.com

งานบุญ งานสัมมนา งานวิจัย กับกาแฟ 3 แก้ว

1) เช้าที่ 28 มีค52 ผมมีนัดหมายไปร่วมงานบุญบวชเณรที่วัดต่าง ๆ กับรถตู้ของสถาบัน ตั้งแต่ 7.45 น. ก็วางแผนว่าจะไปเรียบร้อยดี แต่เกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกับการขับถ่าย ทำให้ผมเดินทางไปสถานที่นัดหมายประมาณ 7.55 น. พบว่าล้อหมุนไปแล้ว จึงตกรถ นี่เป็นครั้งที่ 2 ห่างกันไม่ถึงปีที่ผมพลาดงานบุญเป็นชุดเช่นนี้ เพราะเคยไปไหว้พระ 9 วัด กับพระครูที่วัดไหล่หินลุ่ม ไปกันเป็นคาราวาน แต่วัดที่ 8 เกิดมีรถหลงทาง 2 คัน และรถของผมก็เป็น 1 ในนั้น มาครั้งนี้ไปไกล ครอบครัวก็ไม่ได้ไป จึงตัดสินใจไม่ตาม
สรุป : การวางแผนเดินทาง ต้องเผื่อเรื่องห้องน้ำ และรถเสีย ไว้พอประมาณ
2) อันที่จริง ผมมีนัดเข้าสัมมนาการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรที่ 2 แต่เคยปฏิเสธไป เรื่อง วิทยากรกระบวนการ โดย สกว.สำนักงานภาค ห้องสมุดประชาชนเทศบาลนครลำปาง จึงโทรไปถามว่าในทีมผมไปแล้ว 3 คน คือ พ่อกำนัน แพทย์ และป้ากิม เพิ่มผมไปอีกคน จะได้ไหม หลังจากเคยปฏิเสธไปแล้ว ทั้งจิ๋ม และจิ๊ปซึ่งเป็นผู้จัดงานมิได้ปฏิเสธแต่อย่างใด มีกิจกรรมที่ช่วงบ่ายออกไปเสนอกระบวนการจัดตั้งคณะกรรมการกองทุนเงิน 10 ล้าน ของหมู่บ้าน ผมมีโอกาสสมมติตนเองเป็นกำนัน และจัดเวทีหมวดยกร่างกฎ ให้มานำเสนอ ตกเย็นก็มีผู้ทรงคุณวุฒิมาให้ข้อเสนอแนะ ได้ประสบการณ์ และวิธีแก้สถานการณ์ดีมาก
สรุป : อาจสวมหมวกหลายใบ ไม่มีใครสวมทุกใบแล้วไม่พบปัญหา ต้องเลือกตามเหตุอันควร
3)
กลับบ้าน ก็พบว่าตัวเองมีปัญหาเรื่องหัวใจ จนเขียนบทความกับรายงานวิจัยไม่ได้ คิดว่าถ้าเดินคลายเครียดอาจหาย ก็นึกขึ้นได้ว่าตอนเย็นดื่มกาแฟแก้วที่ 3 เข้าไปแล้ว จึงมีอาการทางหัวใจที่เต้นไม่ปกติ พอทราบสาเหตุก็สบายใจ ว่าเดี๋ยวดื่มน้ำเยอะ ก็คงดีขึ้น ตกดึกจึงนั่ง clear งบประมาณงานวิจัย ตามเอกสาร ต้องรอกิจกรรมอีก 3 รายการ ที่จะเกิดขึ้น จึงจะ clear ได้ ซึ่งโครงการขอขยายการเขียนรายงานและสรุปไป 2 เดือน ตามคำแนะนำของผู้ประสานงาน ซึ่งผมก็ว่าดี จะได้ไม่เร่งกิจกรรมสรุปผลในเดือนเมษายน
สรุป : ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ กินเป็นตัวกำหนดที่เราเป็น กินอะไรก็เป็นอย่างนั้น
4) วางแผนว่าพรุ่งนี้ไม่ไปร่วมงานบวชอีกวัน เพราะอยาก clear บทความที่ลงฅนเมืองเหนือ ให้เสร็จสัก 2 เรื่อง เพราะวันนี้ตอนสัมมนา เขียน draft เรื่องเทคโนโลยีกับนวัตกรรม แต่ draft อีก 2 เรื่องที่เขียนไว้ยังไม่ได้ prove และ public ถ้าไปงานบวชตกเย็นคงเพลีย ก็คิดว่าคืนนี้จะนั่งสมาธิแผ่เมตตา แทนการไปงานบวช เพื่อสร้างกุศลแทนกัน ก็คงไม่น่าเกียจ
สรุป : วันนี้คือปัจจุบัน พรุ่งนี้คือสิ่งที่อาจไปไม่ถึง ก็คงมีสักวัน ที่ไปไม่ถึงวันพรุ่งนี้

อาจารย์ 3 ท่าน 3 บทบาทกับมหกรรม 10 ปีวิจัยเพื่อท้องถิ่น (2)

20 – 21 มีนาคม 2552 ท่านอธิการสันติ บางอ้อ ได้มอบหมายให้อาจารย์
ของมหาวิทยาลัยโยนก 3 คนไปร่วมงานมหกรรม 10 ปีวิจัยเพื่อท้องถิ่น
ห้อง Grand Diamon Ballroom เมืองทองธานี
ได้แก่ อ.ศิรดาไชยบุตร อ.อัศณีย์ ณ น่าน และผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์
ทั้ง 3 ท่านไปในบทบาทที่แตกต่างกัน 1) อ.ศิรดาไชยบุตรไปจัดนิทรรศการนำเสนอผลการวิจัย จากโครงการวิจัยกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาฐานข้อมูล
ต.ป่าสัก อ.เมือง จ.ลำพูน 2) อ.อัศนีย์ ณ น่าน นำทีมวิจัยโครงการวิจัยการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของวิสาหกิจชุมชน น้ำดื่ม อสม. ต.บ้านสา อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง ไปร่วมสัมมนา
3) ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ ขึ้นเวทีร่วมเสวนาวันที่ 21 มี.ค.52 ช่วง 9.00- 9.40
เป็น session แรกของช่วงเช้าในห้องย่อย1 หัวข้อ งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นกับสถาบันการศึกษา
ในฐานะตัวแทนสาขาวิทย์คอม แล้วทำวิจัยเพื่อท้องถิ่น และนำทีมวิจัย
โครงการวิจัยรูปแบบการจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงบ้านไหล่หิน ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง ไปร่วมเสวนาในครั้งนี้นักวิจัยเพื่อท้องถิ่น

ร่วมเสวนาในงานมหกรรม 10 ปีวิจัยเพื่อท้องถิ่น (1)

dsc07935

ผมมีโอกาสไปร่วมเสวนาวันที่ 21 มี.ค.52 ช่วง 9.00- 9.40
เป็น session แรกของช่วงเช้าในห้องย่อย1
คือ 
งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นกับสถาบันการศึกษา
ในฐานะตัวแทนสาขาวิทย์คอม แล้วทำวิจัยเพื่อท้องถิ่น
 บนเวทีมี คุณประพจน์ ภู่ทองคำ ดร.มยุรี ถาวรพัฒน์ อ.ไพจิตร ศรีธนานุวัฒน์ ผศ.เยี่ยมลักษณ์ อุดาการ และผม
ความเป็นมา 
สกว.ริเริ่มสนับสนุน “งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น” เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2541 โดยมีการจัดตั้งสำนักงานภาค ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น สกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น ขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมียุทธศาสตร์ที่สำคัญ เน้นการมุ่งเข้าไปเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่น โดยเน้นให้ “คน” ในชุมชนท้องถิ่นใช้ประโยชน์จากงานวิจัย ด้วยการเข้าร่วมกระบวนการวิจัยทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์ชุมชนเพื่อกำหนดโจทย์/คำถามวิจัย การทบทวนทุนเดิมในพื้นที่ การออกแบบการวิจัย และการวางแผนผฏิบัติการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล การทดลองปฏิบัติจริงเพื่อสร้างรูปธรรมในการตอบโจทย์วิจัยหรือแก้ปัญหาในพื้นที่วิจัย การประเมินและสรุปบทเรียน เน้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ระหว่างนักวิจัยชาวบ้าน คนในชุมชนท้องถิ่น นักวิชาการ ข้าราชการ นักพัฒนาและผู้ทรงคุณวุฒิที่จะได้เรียนรู้ร่วมกัน เพื่อสร้างความรู้และกลไกการจัดการปัญหา เพื่อนำไปสู่การพึ่งตนเองของชุมชนในพื้นที่การวิจัยสกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่นได้มุ่งเน้นยุทธศาสตร์สำคัญในการเข้าไปเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่น โดยเน้นให้ “คน” ในชุมชนท้องถิ่นใช้ประโยชน์จากงานวิจัย ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์การทำงานที่ยึดมั่นมาเป็นเวลายาวนานกว่า 10 ปี คุณูปการจากการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่ปัจจุบันขยายงานออกไปทั่วประเทศ ในพื้นที่ภาคเหนือ ได้ขยายงานวิจัยท้องถิ่นในหลายพื้นที่ ได้แก่ เชียงใหม่ พะเยา ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ ตาก แพร่น่าน กำแพงเพชร สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร นครสวรรค์ ในพื้นที่ภาคกลาง ตะวันออก ตะวันตก มีการขยายงานสู่ 18 จังหวัด คือ กาญจนบุรี เพชรบุรี ประจวบ ราชบุรี สมุทรสงคราม นครปฐม ปทุมธานี อยุธยา สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี ชัยนาท อุทัยธานี ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี ตราด ในขณะที่พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก็มีการขยายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นสู่หลายพื้นที่ ได้แก่ อุบลราชธานี มหาสารคาม ชัยภูมิ หนองบัวลำภู เลย ร้อยเอ็ด ยโสธร กาฬสินธุ์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และในพื้นที่ภาคใต้ ได้เกิดการขยายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในหลายจังหวัด เช่น ยะลา สงขลา นราธิวาส ปัตตานี นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ตรัง สตูล พังงา โดยการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ต่างๆ นั้นจะอาศัยกลไกของศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (Node) และพี่เลี้ยงนักวิจัย ซึ่งปัจจุบันมีศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (Node) กว่า 30 แห่งทั่วประเทศ เกิดโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่นจำนวนประมาณ 1,000 โครงการ (ตุลาคม 2541 – พฤษภาคม 2551) และยิ่งไปกว่านี้กระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่นยังส่งผลให้เกิดการพัฒนาคน ให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาให้เกิดวิธีการคิดอย่างเป็นระบบ และทำให้ชุมชนสามารถแก้ปัญหาและค้นหาทางออกจากปัญหาได้ด้วยตัวเอง10 ปีที่กระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือ หรือทางเลือกหนึ่งในการแก้ปัญหาด้วยปัญญาของชุมชนท้องถิ่นเอง ดอกผลจากการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ได้ปรากฎให้เห็นทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ อาทิ เกิดโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่ชาวบ้านเป็นผู้ทำวิจัยด้วยตัวเองกว่า 1,000 โครงการ เกิดนักวิจัยเพื่อท้องถิ่นมากกว่า 7,000 คนและขยายฐานงานจากงานวิจัยชาวบ้านสู่กลุ่มคนทั้งในหน่วยงานและสถาบันต่างๆ นอกจากนี้ พลังคนวิจัยได้นำสู่การสร้างสรรค์งานวิจัยในประเด็นต่างๆ มากมาย ได้แก่ ประเด็นการท่องเที่ยว เกษตรกรรมยั่งยืน สุขภาพ หมอเมือง และสมุนไพร ศิลปวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เศรษฐกิจชุมชน การบริหารจัดการท้องถิ่น เด็กและเยาวชน การศึกษากับชุมชน ชุมชนกับการจัดการทรัพยากร เป็นต้น ซึ่งแต่ละประเด็นล้วนก่อให้เกิดคุณค่าแก่ชุมชนท้องถิ่น นำมาซึ่งความภาคภูมิใจ และความสุขของคนทำวิจัย ที่ ณ วันนี้ ชาวบ้านได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า “ชาวบ้านทำวิจัยได้” จึงอาจกล่าวได้ว่ากระบวนการทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ได้นำมาซึ่ง “คุณค่า พลังและความสุขของชุมชนท้องถิ่น”ด้วยจังหวะเวลาที่เหมาะสม และดอกผลจากการทำงานที่เริ่มก่อเกิด สกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น ร่วมกับเครือข่ายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น/พี่เลี้ยงนักวิจัย) และภาคีพันธมิตร ต่างเห็นร่วมกันว่าช่วงเวลานี้เป็นเวลาที่เหมาะสมแก่การทบทวนการทำงานสนับสนุนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ตลอดจนเป็นโอกาสที่จะนำเสนอผลงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นสู่สาธารณะ และค้นหาทิศทางในการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในอนาคต ด้วยเหตุนี้ สกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น จึงได้กำหนดการจัดงาน “มหกรรม 10 ปี วิจัยเพื่อท้องถิ่น” ซึ่งมีแนวคิดร่วมของงานอยู่ที่การสื่อให้เห็นถึง “ความสุข คุณค่า และพลังงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น” ในวันที่ 20 – 21 มีนาคม 2551 ณ อิมแพ็คเมืองทองธานีวัตถุประสงค์ :
1) นำเสนอผลงานจากงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นให้เป็นที่ประจักษ์
2) นำเสนอผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชุมชน หน่วยงานที่เกิดจากการทำงานวิจัย
3) นำเอาประสบการณ์ต่างๆ มาพิจารณาดูว่าเหมาะสมกับสังคมไทยแค่ไหน
4) ระดมความคิดเห็นของนักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิกลุ่มต่างๆ ต่องานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
5) นำเอาข้อมูลต่างๆ มาดูทิศทางในการขับเคลื่อนงานต่อไป
คุณค่า
คุณค่าในการสร้างและพัฒนาคนบนฐานปัญญา
คุณค่าในการรื้อฟื้นและพัฒนาองค์ความรู้ท้องถิ่น
คุณค่าในการสร้างและพัฒนาชุมชนและสังคม
พลัง
พลังต่อการเปลี่ยนแปลงตัวตนและชุมชน
ความสุข
ความสุขทางจิตวิญญาณ/ปัญญา

http://www.vijai.org/newsTRF_detail.asp?topicid=737
http://www.10year-cbr.org/about_us.php

โบราณว่า ตัดขารักษาชีพ

ในชีวิตของเรา บางครั้งต้องเสียสละความสุขส่วนน้อย เพื่อรักษาความสุขส่วนใหญ่ วันนี้มีเรื่องต้องทำแบบนี้ เป็นครั้งที่ตัดสินใจยากจริง ๆ และคนทั้งโลกคงบอกว่าแปลก เพราะกรณีของผมไม่เหมือนใคร ภรรยาเองก็ยังไม่เห็นด้วยเลย ผมเองก็ยังไม่เคยได้ยินว่ามีใครทำเลย ในกรณีแบบนี้ ก็คงต้องดูผลว่าการเสียสละ ความสุขส่วนน้อยจะรักษา ความสุขส่วนใหญ่ให้อยู่ได้หรือไม่ คำที่คล้ายกันคือ เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย ที่ต้องแลกก็เพื่อ ครอบครัว และ สุขภาพจิต