ถ้าเกิดการคิดเชิงสร้างสรรค์ จึงมีการสอนแบบสร้างสรรค์

จากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การคิดเชิงสร้างสรรค์
ของสำนักงาน ก.พ. เมื่อปี 2016

หน้า 6 ได้ให้ความหมายของนักวิชาการหลายท่านดังนี้
1) บารอน และเมย์ (Baron and May. 1960) ได้ให้ความหมาย ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถของมนุษย์ที่จะนำไปสู่สิ่งใหม่ ๆ เกิดผลผลิตใหม่ ๆ รวมทั้งความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งแปลกใหม่ เช่น เอดิสันค้นพบหลอดไฟฟ้าและเครื่องไฟฟ้านานาชนิด ยังประโยชน์อย่างมหาศาลต่อชาวโลก
2) กิลฟอร์ด (Guilford. 1950) ได้ให้ความหมาย ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ความคิดอเนกนัย (Divergent Thinking) คือ ความคิดหลายทิศทาง หลายแง่หลายมุม คิดได้กว้างไกลนำไปสู่การคิดประดิษฐ์สิ่งแปลกใหม่ รวมถึงการคิดค้นพบวิธีการแก้ปัญหาได้
3) เวสคอตต์ และสมิท (Wescott and Smith. 1963) ได้ให้ความหมาย ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง กระบวนการทางสมองที่รวมการนำประสบการณ์เดิม จัดให้อยู่ในรูปใหม่ เดรฟดาล (Dredahl. 1960) ให้ความหมายว่า เป็นความสามารถของบุคคล ในการคิดสร้างผลผลิตหรือสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ ที่เกิดจากการรวบรวมเอาความรู้ต่าง ๆ สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ ออกมาในรูปของผลิตผลทางศิลปะ วรรณคดี วิทยาศาสตร์หรือเป็นเพียงกระบวนการหรือวิธีการก็ได้
4) วอลลาซและโคแกน (Wallach and Kogan. 1957) ได้ให้ความหมาย ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถ
5) สเปียร์แมน (Spearman. 1963) ได้ให้ความหมาย ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง อำนาจจินตนาการของมนุษย์ สามารถสร้างผลผลิตใหม่ ๆ
6) ออสบอร์น (Osborn. 1957) ได้ให้ความหมาย ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง จินตนาการประยุกต์ (Applied Imagination) ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหายุ่งยากที่ประสบ

ซึ่งในบทที่ 5 หัวข้อ 5.1 เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
นำเสนอไว้ 7 เทคนิค
[1] เทคนิคความกล้าที่จะริเริ่ม
[2] เทคนิคการสร้างสรรค์ความคิดใหม่
[3] เทคนิคแผ่นตรวจของออสบอร์น
[4] เทคนิค CAI (Cognitive Affective for Implementing)
[5] เทคนิคอุปไมยความเหมือน (Synectices)
[6] เทคนิคการคิดอย่างมีประสิทธิภาพ
[7] เทคนิคการคิดหมวก 6 ใบ (Six Thinking Hats Technique)

https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/ocsc-2017-eb13.pdf