ถ้าเด็กมีสมรรถนะในการตัดผม หลักสูตรฐานสมรรถนะจะช่วยหนุนนำ

ประเทศไทย มีนักวิชาการรวมกลุ่มกัน
และได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ
เพื่อร่วมกันยกร่างหลักสูตรฐานสมรรถนะ
ที่จะบังคับเปลี่ยนให้เป็นหลักสูตรแกนกลางของประเทศไทย
ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มุ่งสนับสนุนให้เด็กไทย
ได้เรียนรู้ และพัฒนาสมรรถนะของตน
ตามความต้องการ ตามสมรรถนะ
และความถนัดของแต่ละบุคคล
อย่างสร้างสรรค์ อย่างสุจริตไทย
เพราะเป็นสิทธิส่วนบุคคลที่จะเลือกเรียน
ดังคำว่า อยากเรียนต้องได้เรียน

http://www.moesafetycenter.com

เช่น
นักเรียนอยากมีทรงผมในแบบของตน
นักเรียนอยากมีทรงผมตามสายอาชีพในอนาคต
นักเรียนอยากเป็นอินเฟลูเอนเซอร์
นักเรียนอยากเป็นช่างตัดผม
หลักสูตรฐานสมรรถนะก็จะสนับสนุน
ให้เด็กได้เรียน ได้มีทักษะในการตัดผมตามสมรรถนะ
ไว้ทรงผมตามสิทธิ์ของตน
ได้รับการสนับสนุนโดยไม่มีการขัดขวาง
อยากมีสมรรถนะแบบใดก็ได้แบบนั้น
แต่ถ้ามีใครทำร้ายเรา แจ้งที่ #moesafetycenter ได้

https://www.thaiall.com/education/competency_based_curriculum.htm

ใครคิดไม่อยากเป็นช่างตัดผม
ฝึกตัดผม ไว้ผมทรงฮิต **เขาไม่ได้คิดผิด**
เขาแค่ไม่มีธุรกิจร้านตัดผมที่บ้านแบบเรา
และไม่ได้ดูภาพยนตร์เรื่อง #คิดถึงวิทยา
(Teacher’s Diary)

https://web.facebook.com/ajWiriya/posts/pfbid02JmZiqEZzVV1uPX5fC5MsiNPfYQPcK7NtJkUp1YXmMMLNrpo8r9Wa9rigLexQBYUnl

เกมสนุกและสร้างสรรค์ #puzzle #1

โค้ดเกมหากุญแจ ที่เขียนด้วย javascript ใน homepage นี้ มีวัตถุประสงค์ในการสุ่ม กุญแจ (key) และสร้างคำแนะนำ (hint) ทั้ง 5 ข้อ ให้กับผู้เล่นเกมได้ทายตัวเลข 3 ตัวที่ไม่ซ้ำกัน กรอกลงในช่อง 3 ช่องแบบไม่ซ้ำ แล้วกดปุ่ม check ถ้าทายถูกก็จะพบคำว่า “You Crack it.” แต่ถ้าทายผิดก็จะพบคำว่า “Try once again.”

ซึ่งการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน มีขั้นตอนที่ 1 คือ การกระตุ้นความสนใจ ดังนั้นการเริ่มต้นด้วยการคำนวณชวนคิดอย่างมีจินตนาการ เพื่อตามหาตัวเลข 3 ตัว หรือตามหากุญแจที่หายไป จากลายแทงที่เตรียมให้ทั้งหมด 5 ลายแทงดังตัวอย่าง เชื่อว่าจะช่วยกระตุ้นความสนใจ ก่อนเข้าสู่บทเรียนได้เป็นอย่างดี สำหรับ การเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL = Creative-Based Learning)

What is the key?


ซึ่ง CBL ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 กระตุ้นความสนใจ (Interested) ขั้นตอนที่ 2 ตั้งปัญหารายบุคคลและกลุ่มตามความสนใจ (Problem) ขั้นตอนที่ 3 ค้นคว้าและทดลอง (Search and Test) ขั้นตอนที่ 4 นำเสนอผลงาน (Result) ขั้นตอนที่ 5 สรุปและประเมินผล (Conclusion) พบว่า เวทิสา ตุ้ยเขียว สกนธ์ชัย ชะนูนันท์ และ อัญชลี สิริกุลขจร (2563) ศึกษาเรื่อง แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานที่ส่งเสริมสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี ซึ่งผลการวิจัยมีแนวทาง 5 ขั้นตอน อ้างอิงจาก Luachaiphanit, W. (2015). Creativity-Based Learning (CBL). Journal of Learning Innovations Walailak University,1(2), 23-37. [in Thai]

https://www.thaiall.com/php/whatisthekey.htm

ถ้าเกิดการคิดเชิงสร้างสรรค์ จึงมีการสอนแบบสร้างสรรค์

จากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การคิดเชิงสร้างสรรค์
ของสำนักงาน ก.พ. เมื่อปี 2016

หน้า 6 ได้ให้ความหมายของนักวิชาการหลายท่านดังนี้
1) บารอน และเมย์ (Baron and May. 1960) ได้ให้ความหมาย ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถของมนุษย์ที่จะนำไปสู่สิ่งใหม่ ๆ เกิดผลผลิตใหม่ ๆ รวมทั้งความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งแปลกใหม่ เช่น เอดิสันค้นพบหลอดไฟฟ้าและเครื่องไฟฟ้านานาชนิด ยังประโยชน์อย่างมหาศาลต่อชาวโลก
2) กิลฟอร์ด (Guilford. 1950) ได้ให้ความหมาย ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ความคิดอเนกนัย (Divergent Thinking) คือ ความคิดหลายทิศทาง หลายแง่หลายมุม คิดได้กว้างไกลนำไปสู่การคิดประดิษฐ์สิ่งแปลกใหม่ รวมถึงการคิดค้นพบวิธีการแก้ปัญหาได้
3) เวสคอตต์ และสมิท (Wescott and Smith. 1963) ได้ให้ความหมาย ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง กระบวนการทางสมองที่รวมการนำประสบการณ์เดิม จัดให้อยู่ในรูปใหม่ เดรฟดาล (Dredahl. 1960) ให้ความหมายว่า เป็นความสามารถของบุคคล ในการคิดสร้างผลผลิตหรือสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ ที่เกิดจากการรวบรวมเอาความรู้ต่าง ๆ สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ ออกมาในรูปของผลิตผลทางศิลปะ วรรณคดี วิทยาศาสตร์หรือเป็นเพียงกระบวนการหรือวิธีการก็ได้
4) วอลลาซและโคแกน (Wallach and Kogan. 1957) ได้ให้ความหมาย ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถ
5) สเปียร์แมน (Spearman. 1963) ได้ให้ความหมาย ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง อำนาจจินตนาการของมนุษย์ สามารถสร้างผลผลิตใหม่ ๆ
6) ออสบอร์น (Osborn. 1957) ได้ให้ความหมาย ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง จินตนาการประยุกต์ (Applied Imagination) ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหายุ่งยากที่ประสบ

ซึ่งในบทที่ 5 หัวข้อ 5.1 เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
นำเสนอไว้ 7 เทคนิค
[1] เทคนิคความกล้าที่จะริเริ่ม
[2] เทคนิคการสร้างสรรค์ความคิดใหม่
[3] เทคนิคแผ่นตรวจของออสบอร์น
[4] เทคนิค CAI (Cognitive Affective for Implementing)
[5] เทคนิคอุปไมยความเหมือน (Synectices)
[6] เทคนิคการคิดอย่างมีประสิทธิภาพ
[7] เทคนิคการคิดหมวก 6 ใบ (Six Thinking Hats Technique)

https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/ocsc-2017-eb13.pdf