เคยอ่านเรื่องที่ ดร.อานนท์ พูดถึงวิทยาการคอมพิวเตอร์แล้วโดนใจ

dotcom expired
dotcom expired
ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สาขาวิชา Business Analytics and Intelligence สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
สาขาวิชา Business Analytics and Intelligence
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

อ่านบทความเรื่อง “มหาวิทยาลัยไทยจะอยู่รอดได้หรือไม่
ที่ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ เขียนใน manager online
แล้วหัวหน้าของผมก็แชร์ให้อ่านในกลุ่มไลน์
เนื้อหาพูดถึงปัญหามหาวิทยาลัยกับอัตราการเกิดที่ลดลง
แต่มีประเด็นหนึ่งที่โดนใจจี๊ด ๆ
พบในส่วนของ “สาเหตุที่อุดมศึกษาไทยถึงทางตีบตัน
ในประการที่สอง ท่านขึ้นย่อหน้าว่า
ปัญหาใหญ่ที่สุด” เนื้อหาตอนหนึ่งชี้ว่ามีบัณฑิตไทยบางสาขาตกงานมากมาย
เช่น ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer science)
ที่เปิดสอนแทบทุกสถาบัน แต่บริษัทหาคนทำงานด้านคอมพิวเตอร์
ได้ยากมาก เพราะไม่สามารถเขียนโปรแกรมคอมพิวตอร์ที่ใช้งานได้จริง
ท่านสรุปไว้ง่ายเลย คือ “เรามีปริมาณมากแต่มีคุณภาพไม่เพียงพอ

จึงเป็นที่มาของการสะท้อนคิดให้ตัวผมเอง
คิดว่า ผมสอนหนังสือนักศึกษามาหลายปี
สอนอะไรไปบ้างนะ แล้วเค้าทำอะไรเป็น และไม่เป็นอะไรบ้างนะ
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9590000051896

การเรียนด้านคอมพิวเตอร์ไม่ได้มีเฉพาะวิทยาการคอมพิวเตอร์
และทุกสาขาถูกสังคม หรือผู้ประกอบการคาดหวังว่าต้องเขียนโปรแกรมได้
และโปรแกรมก็มีภาษาให้เลือกมากมาย
ภาษาที่ง่ายที่สุดภาษาหนึ่งคือ HTML และการเขียนได้จริง
มักต้องมีเวทีโชว์ของ โชว์พาวล์ หรือโชว์อะไรที่มีอยู่นั่นหละ
กว่า 20 ปีแล้ว
ที่จะเล่าให้นักศึกษาฟังว่าจดโดเมนไม่ยาก
มีตังไม่กี่ร้อยต่อปีก็เป็นเจ้าของได้ นี่ก็ได้รับมอบหมายจากหัวหน้า
ให้พูดเรื่องการเป็นเว็บมาสเตอร์ให้นักศึกษาฟัง
หัวข้อที่จะไปเร้าใจนักศึกษาก็คงหนีไม่พ้น
เรื่อง Domain name กับ Web hosting
ที่เป็นของจริง เพียงแต่ต้องลงทุน และมีอะไรอีกนิดหน่อย
เรื่องของ ดร.อานนท์ ได้ repost บทความ
ไว้ในเว็บเพจที่จะสอนนักศึกษา ก็หวังจะให้เขาเข้าใจ และฮึกเหิมขึ้นมา
http://www.thaiall.com/webmaster/responsive/index.html

สิ่งที่นักศึกษาต้องมีก่อนจดโดเมนมี 6 ข้อ
แต่ไม่ต้องครบก็ได้นะครับ เป็นเพียงข้อเสนอ
ได้เล่าสู่กันฟังไว้ที่ http://www.thaiall.com/article/dotcom.htm

1. เงิน(Money)
2. วิธีการ(Method)
3. เวลา(Time)
4. รีบศึกษา(Hurry)
5. ความตั้งใจ(Attention)
6. จินตนาการ(Imagination)
M.M.T.H.A.I

แล้ว webpage หน้านี้ก็ปรับเป็น Responsive Web Design แล้ว
แล้วนักศึกษาด้านคอมพิวเตอร์ทุกคน
ก็คงต้องรู้จัก CSS ไม่มากก็น้อย แต่ถ้าบอกว่าไม่รู้จักเลย
ก็คาดได้ว่าไม่คิดจะทำงานด้านเว็บโปรแกรมมิ่งเป็นแน่

คำถาม คือ นักศึกษา หรือบัณฑิต
พกอะไรติดตัวหลังพ้นรั้วมหาวิทยาลัยไปสมัครงานบ้าง
คำตอบ เชิงแนะนำ คือ
ถ้ามีเว็บไซต์ของตัวเอง แล้วในเว็บไซต์ก็มีอะไร ๆ
ที่เป็นผลงานของตนเอง
เป็นเวทีปล่อยของที่นายจ้างได้เห็นผลงานกันจะจะไปเลย
.. น่าจะดี

Review แอพสอนเขียนโปรแกรม .. ลองแล้วจะติดใจ

ถ้า (if) ต้องการเรียนรู้การเขียนโปรแกรม และมี Smartphone อยู่ในอุ้งมือ
และมีเวลานั่งเฉย ๆ ระหว่างรอรถเมย์ รอดูหนัง รอเพื่อนทานข้าว รอเข้างาน รอเรียน
รอลูกเรียนพิเศษ รอแฟนเลิกงาน รอแฟนเข้าร้านเสริมสวย
แล้วอยากหาอะไรอ่าน .. “อ่าน

programming language
programming language

ในสายคอมพิวเตอร์ทั้ง นักศึกษา หรือคนทำงาน
ก็คง “สนใจเรื่องการเขียนโปรแกรมไม่มากก็น้อย
คนใน play store พบแอพพลิเคชั่นเพียบเลย ที่สอนเขียนโปรแกรมต่าง ๆ
แต่มี app หนึ่งที่สอนหลายภาษา และในหลายรูปแบบ
แล้วเค้าก็พัฒนาต่อเนื่อง ปรับทั้งแอพ และเนื้อหาตลอด
คือ Programming Hub ดาวน์โหลดที่ http://www.programminghub.io
ผมนั่งอ่านดูก็สนุกดี
ถ้าเทียบเนื้อหาระหว่าง version บน smartphone กับ web
จะพบว่าบน smartphone ดีกว่าเยอะ ลองแล้วจะติดใจ .. เหมือนผม

programminghub แอพพลิเคชั่นที่สอนเขียนโปรแกรม
programminghub แอพพลิเคชั่นที่สอนเขียนโปรแกรม

Programming hub คือ แอพพลิเคชั่นที่สอนเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ ที่มีทั้งบนแอนดรอย (Android) และไอโอเอส (iOS) และสามารถเรียนผ่านเว็บไซต์ (Learn on Web) ได้ที่ programminghub.io โดยแบ่งเนื้อหาเป็นตัวอย่างโค้ด (Program) และเนื้อหาอ้างอิง (Reference) สำหรับแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนจะมีบางภาษาที่สามารถทำการทดสอบเขียนโค้ด และประมวลผลได้ทันที (Playground) ปัจจุบันมีภาษาโปรแกรมให้ศึกษา ดังนี้ Python, Assembly, HTML, VB.NET, C, C++, C# (C Sharp), JavaScript, PHP, Ruby, R Programming, CSS, Java programming เป็นต้น

c language
c language

หนังสือ ผมรวยด้วยการเขียนโปรแกรมขายได้ยังไง

book
book

หนังสือ “ผมรวยด้วยการเขียนโปรแกรมขายได้ยังไง
โดย ยุทธนา ท้าวนอก


ผมได้หนังสือเล่มนี้ เมื่อวันเสาร์ที่ 29 ธ.ค.55 ตอนไปส่งครอบครัวแถวห้างเสรี แล้วไปเดินโต๋เต๋ในร้าน se-ed หนังสือเล่มนี้เป็นเล่มแรกที่หยิบออกจากชั้นมาดู เห็นว่าหลายบทน่าสนใจก็หยิบไปจ่ายตัง (295 บาท) เลย เป็นครั้งแรกที่ใช้เวลาในร้านหนังสือน้อย และตัดสินใจเร็วกว่าทุกครั้ง  คาดว่า 3 นาที
ประโยคสำคัญ ที่ทำให้ผมตัิดสินใจซื้อ คือ ผลงานของผู้เขียนชนะเลิศระดับประเทศ 2 ครั้ง ในการประกวด “Thailand ICT Awards” ซึ่งสะท้อนอะไรบ้างอย่าง จึงทำให้ผมไม่ลังเลที่จะมีหนังสือเล่มนี้ในบ้านอีกเล่ม

http://www.cargooptimizer.com/OSC/Softbiz.php?language=th

หนังสือพ็อกเกตบุ๊คความหนา 400 หน้า ที่ถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นมาของผู้ก่อตั้งกิจการ Dreamsofts Optimization ltd. part. กิจการซอฟต์แวร์ของไทยที่ก้าวไกลออกไปทั่วโลก ด้วยจำนวนลูกค้าที่มากกว่า 500 รายทั่วโลก ประสบการณ์สิบปีเต็มในการบริหารกิจการซอฟต์แวร์จนประสบความสำเร็จถูกนำมาบรรจงถ่ายทอดลงในหนังสือเล่มนี้แล้ว

ใช้เวลาเขียนถึง 1 ปีเต็ม (ม.ค. – ธ.ค. 55) เพื่อให้ได้ผลงานที่มีเนื้อหากระชับและครบถ้วนที่สุด


บทที่ 1. บทนำ

จาก คนที่มีความรู้เรื่องการเขียนโปรแกรมอันน้อยนิดจนกลายมาเป็นเจ้าของกิจการ ซอฟต์แวร์ที่สามารถขายผลงานได้ทั่วโลก มีรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ 2 รางวัลเป็นเครื่องยืนยันคุณภาพ ซึ่งกว่าผมจะมาถึงจุดนี้ได้มีองค์ประกอบหลายๆอย่างที่เป็นส่วนช่วยเสริมและ ผลักดันให้ผมประสบความสำเร็จได้ แต่จุดเปลี่ยนหลักๆที่ทำให้ผมมาถึงจุดนี้ได้คือการเปลี่ยนตัวเองจาก โปรแกรมเมอร์มาเป็นนักธุรกิจซอฟต์แวร์

รู้จักกันก่อน
มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับซอฟต์แวร์กันอีกนิด
จากโปรแกรมเมอร์มาเป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์และกลายมาเป็นนักธุรกิจ
ไม่ต้องเขียนโปรแกรมเก่งมาก แต่ต้องรู้จักคำว่าจุดขาย
กว่าจะเป็น Dreamsofts
เรียนตอนไหนก็ได้ จบมาก็ต้องหางานทำอยู่ดี
กลับมาเรียนดีกว่า พอแล้วงานมันหนัก

ขายได้ตั้งสามพันห้า
ได้หน้าแต่ไม่ได้เงิน
วันนี้ที่รอคอย

ลูกค้าของ Dreamsofts
ผลของ Dreamsofts

โปรแกรมคำนวณการจัดเรียงสินค้าใส่คอนเทนเนอร์
โปรแกรมคำนวณการตัดชิ้นงาน 1 และ 2 มิติ
โปรแกรมออกแบบบรรจุภัณฑ์แบบ 3 มิติ
โปรแกรมสร้างภาพโมเสค
เกมหวย[หนทางรวยหรือจน]

มาตกลงกันก่อนไปต่อ


บทที่ 2. การพัฒนาโปรแกรมให้มีคุณภาพ

ผมจะมาเล่าการคัดเลือกโปรแกรมที่มีจุดขายเพื่อนำมาพัฒนา รวมถึงขั้นตอนในการพัฒนา เพื่อที่คุณจะได้รู้จักการพัฒนาผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพ

พัฒนาโปรแกรมอะไรดี?

เลือกโปรแกรมที่เราเข้าใจระบบและสามารถพัฒนาได้
เลือกเป้าหมายของโปรแกรมในเชิงธุรกิจ
จุดขายของโปรแกรม
โปรแกรมที่มีกลุ่มเป้าหมายใหญ่ที่สุด

ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม

1. ศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโปรแกรม
2. วิเคราะห์ระบบเพื่อกำหนดความสามารถของผลิตภัณฑ์
3. ออกแบบระบบเพื่อใช้ในการพัฒนา
4. พัฒนาโปรแกรม
5. ทดสอบและประเมินผล
6. ทำการผลิต
7. แจกจ่ายและสนับสนุน


บทที่ 3. ส่วนประกอบเสริมโปรแกรม

ถ้าคุณคิดว่าการทำธุรกิจซอฟต์แวร์มีเพียงการพัฒนาให้โปรแกรมทำงานได้เท่านั้นแล้วล่ะก็ คุณคิดผิดแล้วล่ะครับ เพราะยังมีส่วนประกอบเสริมอื่นๆ ที่จะทำให้ซอฟต์แวร์ของเรา ดูมีคุณภาพและขายได้ เรามาดูกันซิว่ามีอะไรบ้าง

ตัวโปรแกรม

ข้อมูลโปรแกรม
มาตรฐานที่โปรแกรมควรจะต้องมี
รุ่นของโปรแกรม

การป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์

ดีคอมไพล์
ดีบั๊ก
ผลิตภัณฑ์สำหรับป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์

ส่วนเสริมโปรแกรม

เนื้อหาที่ควรมีในส่วนเสริมโปรแกรม
ไฟล์ช่วยเหลือ

ไฟล์ติดตั้ง (Installation File)

โปรแกรมที่ใช้สร้างไฟล์ติดตั้ง
บรรจุภัณฑ์
สื่อจัดเก็บไฟล์ทั้งหมด
กล่องใส่แผ่น
กล่องใส่สินค้า


บทที่ 4. การตั้งราคาขาย

โปรแกรม ที่ทำงานได้อย่างสมบูรณ์อาจจะไม่ใช่เหตุผลหลักที่ทำให้โปรแกรมนั้นขายได้ ราคาของโปรแกรมเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ผู้ซื้อใช้พิจารณา เราจะมาศึกษาถึงการตั้งราคาขายที่จะทำให้โปรแกรมของเราขายได้ง่ายและมีกำไร มากที่สุด

ตั้งราคาขายยังไงไม่ให้ขาดทุน

ต้นทุนสินค้า
วิธีตั้งราคาขาย
แยกย่อยรุ่นสินค้า
ค่าใช้จ่ายเสริม

ภาษี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

วิธีการชำระเงิน
การตั้งราคาสำหรับต่างประเทศ


บทที่ 5. เว็บไซต์สำหรับขายซอฟต์แวร์

สินค้า ดีก็ต้องมีหน้าร้านเพื่อวางจำหน่าย การมีเว็บไซต์ก็เปรียบเสมือนมีหน้าร้านสำหรับธุรกิจซอฟต์แวร์ คุณคิดว่าเว็บไซต์สำหรับขายซอฟต์แวร์ควรจะมีอะไรอยู่ในนั้นบ้าง ผมจะมาบอกถึงการตั้งชื่อเว็บไซต์ รายละเอียดภายในเว็บไซต์รวมไปจนถึงส่วนเสริมในการทำให้เว็บไซต์ของเราเป็น เว็บไซต์ที่เหมาะกับการขายซอฟต์แวร์จริงๆ

การพัฒนาเว็บไซต์
โดเมนเนม

ประเภทของโดเมนเนม
การจดโดเมนเนม
คำแนะนำเกี่ยวกับโดเมนเนม

โฮสต์

ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับโฮสต์
การเช่าโฮสต์
เว็บฝากไฟล์

การส่งเว็บไซต์เข้าสู่โฮสต์

ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับโฮสต์
การเช่าโฮสต์
เว็บฝากไฟล์

สิ่งที่ควรมีในเว็บไซต์

รองรับหลายภาษา
ระบบสมาชิก
รายละเอียดสินค้า
ดาวน์โหลด
ราคา
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการจัดส่ง
ส่วนส่งเสริมการขาย
ลูกค้าอ้างอิง
คำรับรองจากผู้ใช้งาน
รางวัล
ประชาสัมพันธ์
คำถามที่ถามบ่อย
สนับสนุนการใช้งาน
ข้อมูลการติดต่อ
ความน่าเชื่อถือ
ส่วนเสริมในเว็บไซต์


บทที่ 6. จำหน่ายซอฟต์แวร์สำหรับต่างประเทศ

ถ้า ซอฟต์แวร์ของคุณมีความเหมาะสมที่จะจำหน่ายออกสู่ต่างประเทศได้ คุณอาจจะยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นที่ตรงไหนดี ผมมีขั้นตอนและประสบการณ์อันมีค่าเกี่ยวกับการจำหน่ายซอฟต์แวร์ให้กับต่าง ประเทศมาเล่าให้คุณผู้อ่านได้นำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติได้

ข้อควรรู้เกี่ยวกับซอฟต์แวร์สำหรับต่างประเทศ
วิธีการชำระเงิน

บัตรเครดิต
โอนเงินระหว่างประเทศ
PayPal
ผู้ให้บริการรับและส่งเงินระหว่างประเทศ

วิธีการจัดส่ง

การจัดส่งสินค้าแบบออนไลน์
การจัดส่งสินค้าแบบออฟไลน์

บริการตัวกลางในการขายซอฟต์แวร์
share-it! เครื่องมือชั้นดีในการขายซอฟต์แวร์

การสมัครเพื่อใช้บริการของ share-it!
การยอมรับข้อตกลงการเป็นผู้ขายของ share-it!
การแจ้งข้อมูลบัญชีธนาคารสำหรับรับเงินจาก share-it!
การเพิ่มข้อมูลสินค้าเข้าสู่ระบบ
รายการส่งเสริมการขายโดยใช้ coupon code
เครือข่ายการตลาดของ share-it!
ผู้ช่วยขายผ่านระบบ Affiliate ของ share-it!


บทที่ 7. คุณรู้ไหม? ลูกค้าของคุณคือใคร

สินค้าดีก็มีแล้ว หน้าร้านก็มีแล้ว เหลือแต่การเรียกลูกค้าเข้ามาในร้าน แล้วลูกค้าของเราคือใครล่ะพวกเขาเหล่านั้นอยู่ที่ไหนกันบ้าง? เราจะหาข้อมูลของพวกเขาได้อย่างไร? และเมื่อได้ข้อมูลมาแล้วมีวิธีการติดต่อลูกค้าอย่างไรบ้าง? มาพบคำตอบของคำถามเหล่านี้ในบทนี้กัน

สินค้าของเรามีประโยชน์อย่างไร
ใครคือลูกค้าของเรา?
เราจะหาข้อมูลลูกค้าจากที่ไหน?
เราสามารถติดต่อลูกค้าได้ทางใดบ้าง

การติดต่อทางตรง
การติดต่อทางอ้อม


บทที่ 8. มาเรียกลูกค้าเข้าเว็บไซต์กันเถอะ

เมื่อเรารู้จักข้อมูลการติดต่อของลูกค้าและสถานที่ๆลูกค้ารวมตัวกันอยู่มากแล้ว เราจะมีวิธีการเรียกให้เขามาเข้าเว็บไซต์ของเราอย่างไร? มาพบคำตอบของคำถามเหล่านี้ในบทนี้กัน

ส่งโปรแกรมเข้าเว็บดาวน์โหลดซอฟต์แวร์
PAD สิ่งมหัศจรรย์สำหรับการตลาดซอฟต์แวร์

PAD คืออะไร?
การสร้าง PAD
เว็บไซต์ที่รองรับ PAD
การส่งข้อมูลเข้าเว็บไซต์ดาวน์โหลดโปรแกรมด้วย PAD
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ PAD

การใช้เสิร์ชเอนจิ้นในการตลาด

การส่งข้อมูลเว็บไซต์เข้าเสิร์ชเอนจิ้น
ลงโฆษณากับเสิร์ชเอนจิ้น
ทำการปรับปรุงเว็บไซต์ด้วย SEO

ส่งโปรแกรมเข้าเว็บท่าและเว็บไซต์สำหรับขายสินค้า
การแลกลิงก์

บทที่ 9. การส่งเสริมการขาย

เมื่อเราเรียกลูกค้าให้เข้ามายังเว็บไซต์ของเราได้แล้ว เราจะมีวิธีการใดที่จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อโปรแกรมของเราได้เร็วที่สุด? การส่งเสริมการขายเป็นคำตอบของคำถามนี้ครับ

ข้อเสนอพิเศษ

การลดราคา
การแลกซื้อ
การแจกสินค้า
การแถม
การขายพ่วง
ส่วนลดตามจำนวน

ข้อจำกัดของข้อเสนอพิเศษ

จำนวนสิทธิ์
ระยะเวลาในการได้รับสิทธิ์
ประเภทของลูกค้าที่ได้รับสิทธิ์

รายการส่งเสริมการขาย
คำแนะนำเรื่องการส่งเสริมการขาย

บทที่ 10 ความรู้ในการทำระบบควบคุมลิขสิทธิ์เบื้องต้น

คุณอาจจะยินดีมากๆ ที่โปรแกรมของคุณเป็นที่นิยมจนได้รับการกล่าวขานไปทั่ว แต่พอมาดูยอดขายแล้วกลับพบสิ่งที่ตรงกันข้าม เกิดอะไรขึ้น? มันน่าจะทำเงินให้คุณมากกว่านี้สิ และแล้วคุณก็พบว่าโปรแกรมที่คุณขายไปหนึ่ง แต่กับมีผู้ร่วมใช้งานเป็นร้อย วิธีป้องกันขั้นพื้นฐานสำหรับปัญหานี้เป็นสิ่งที่คุณควรจะรู้และผมกำลังจะบอกครับ

การควบคุมสิทธิ์การใช้งานซอฟต์แวร์
หลักการควบคุมลิขสิทธิ์การใช้งานขั้นพื้นฐาน

รหัสประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ (Machine code)
ข้อมูลการใช้งาน
รหัสปลดล็อค (License code)
การทำงานของระบบควบคุมลิขสิทธิ์
ระบบการลงทะเบียน
การบังคับปิด

การทำให้ระบบควบคุมลิขสิทธิ์ของเราซับซ้อนยิ่งขึ้น

การบีบอัดข้อมูล
การเข้ารหัสข้อมูล
การเพิ่มรหัสตรวจสอบ
การเขียนและอ่านข้อมูลในสถานที่ปลอดภัย

ระบบนี้ต่อกรกับใครได้บ้าง
คำแนะนำอื่นๆ เกี่ยวกับการควบคุมลิขสิทธิ์

ข้อจำกัดของรุ่นทดลองใช้
ทำระบบโอนย้ายสิทธิ์การใช้งานดีไหม
จำนวนครั้งในการขอปลดล็อก
จำนวนครั้งในการขอปลดล็อก
ทำระบบปลดล็อกบนเว็บไซต์กันไหม
ทำระบบปลดล็อกด้วย Hardlock ใช้เองกันไหม

เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือฟ้าอีกทีคืออะไร?


บทที่ 11. ความรู้เพิ่มเติมในธุรกิจซอฟต์แวร์

เรื่อง ราวในบทนี้คือ สิ่งที่จะต้องทำเมื่อเป็นนักธุรกิจซอฟต์แวร์ ปัญหาต่างๆ ที่จะพบและ วิธีแก้ไขปัญหาเหล่านั้น พร้อมคำแนะนำ รวมทั้งเคล็ดลับต่างๆ ที่จะเป็นส่วนเสริมสำคัญให้คุณประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจซอฟต์แวร์

ขั้นตอนการทำธุรกิจซอฟต์แวร์มีอะไรบ้าง ?

ขั้นตอนที่ 1 คิดสินค้าที่แปลกใหม่ มีจุดขาย และเราสามารถพัฒนาได้
ขั้นตอนที่ 2 ตั้งชื่อกิจการและชื่อโดเมน
ขั้นตอนที่ 3 บัญชีธนาคาร โทรศัพท์และแฟกซ์
ขั้นตอนที่ 4 พัฒนาผลิตภัณฑ์และพัฒนาเว็บไซต์
ขั้นตอนที่ 5 ทำการตลาดให้กับสินค้าและเว็บไซต์ของเรา
ขั้นตอนที่ 6 บริหารกิจการของเรา

เคล็ดลับการประสบความสำเร็จ

คำแนะนำที่ 1 คุณภาพของสินค้าต้องมาก่อน
คำแนะนำที่ 2 ส่วนเสริมผลิตภัณฑ์ต้องมีให้ครบถ้วน
คำแนะนำที่ 3 ราคาสินค้าต้องมีความเหมาะสม
คำแนะนำที่ 4 การตลาดต้องมีตลอดเวลา
คำแนะนำที่ 5 การส่งเสริมการขายต้องมีบางโอกาส
คำแนะนำที่ 6 ทำให้ลูกค้าเกิดความเชื่อถือ
คำแนะนำที่ 7 อย่าทิ้งลูกค้าเดิม
คำแนะนำที่ 8 ตอบสนองด้วยความรวดเร็ว
คำแนะนำที่ 9 ปัญหามีไว้ป้องกัน

วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์

เกิดมาหน้าตาสดใส
บาดเจ็บจากการทำงานต้องรักษาเยียวยา
คุณภาพดีก็มีอายุยืน
โปรแกรมไม้ใกล้ฝั่ง
ตายซะเถอะ
เกิดใหม่ไฉไลกว่าเดิม
ตายไปสองแต่เกิดมาใหม่แค่หนึ่ง
ขายไปด้วยกันดีกว่า

คำแนะนำเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการทำธุรกิจซอฟต์แวร์

วางแผนให้ดีก่อนสร้างเว็บไซต์ ?
ขจัดปัญหาคนเข้าเว็บมาก แต่ขายไม่ได้
อะไรที่พิมพ์บ่อยๆสร้างเทมเพลตไว้เลย
Mail signature คือหน้าตาของผู้ส่ง
จงสร้างและพัฒนาระบบการทำงานของคุณเอง
ทำคนเดียวแล้วลูกค้าเชื่อถือเหรอ ?
มีงานต้องทำหลายอย่างพร้อมกัน ทำอย่างไรดี ?
ซอฟต์แวร์กับทรัพย์สินทางปัญญา
ต้องซื้อเครื่องมือที่มีลิขสิทธิ์มาใช้หรือไม่
ระบบ OEM สำหรับตัวแทนจำหน่าย
ทำอย่างไรกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ประสบความสำเร็จ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์

จงสร้างโอกาสในการประสบความสำเร็จให้กับตัวเอง

แปลงเลขอารบิกเป็นเลขไทย

การแปลงเลขอารบิกเป็นเลขไทยด้วย macro

10 ก.พ.53 เรื่องนี้ควรเขียนเมื่อหลายเดือนก่อนหน้านี้ เพราะ ผศ.ดร.จินดา งามสุทธิ ท่านอธิการบดี รณรงค์ให้ใช้เลขไทยในบันทึกข้อความ แต่ความไม่ชินและความมักง่าย ทำให้ผมเลือกใช้วิธีแปลงเลขอารบิกด้วยการ replace ถึง 10 ครั้ง เพื่อเปลี่ยนตัวเลขทีละตัว แต่ถ้าให้อัตโนมัติก็จะเข้าไปกำหนดใน autocorrect สำหรับแต่ละตัวเลข แต่ใช้ได้กับเลขหลักเดียว ก็ช่วยได้เพียงระดับหนึ่ง (วันนี้ผมเคลียร์งานเขียนแผน km ของมหาวิทยาลัยล้อกับโครงการอบรมประกันฯของ อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ เสร็จเร็วกว่าที่คาด) จึงคิดว่าถึงเวลาที่ไม่ควรผลัดวันประกันพรุ่งอีกต่อไป เมื่อศึกษาวิธีการแทนที่ตัวเลขด้วย macro ที่เขียนแบบใช้ใน word กับ excel เผยแพร่ใน thaiall.com/vb เพราะ macro ใช้ visual basic script ใน module สำหรับการประมวลผล
แหล่งเก็บ macro มี 2 แบบคือ ใน normal หรือ ใน document ถ้าเป็นแบบใน document เมื่อสร้างเอกสารก็จะติดเอกสารไป เปิดเอกสารใหม่จะไม่พบ macro เดิม แต่ถ้าเป็นแบบใน normal จะมี macro ติดอยู่ใน template ของ word ทำให้เปิด word แล้วเรียกใช้ macro ได้ทุกครั้ง สำหรับวิธีสร้างและใช้ macro นั้นเริ่มต้นด้วยการคัดลอกโค้ดไปใส่ใน module ของ macro แล้วสั่ง run ใน macro เมื่อต้องการเปลี่ยนตัวเลขทั้งหมดเป็นเลขไทย ซึ่งโค้ดได้สั่งแทนที่ทั้ง 10 ตัวอักษรเป็นเลขไทยอัตโนมัติ การนำไปใช้สำหรับ word กับ excel ต่างกันเล็กน้อย ถ้านำไปใส่ไม่ได้ โปรดติดต่อช่างเทคนิคใกล้บ้าน เพราะส่งเข้า word ครั้งเดียว แต่ใช้งานได้ตลอดไป .. ต่อไปผมก็จะเริ่มใช้แล้ว เพราะ replace 10 ครั้ง ไม่ดีแน่

source code : macro of word

Sub arabictothai()
For i = 0 To 9
With Selection.Find
.Text = Chr(48 + i)
.Replacement.Text = Chr(240 + i)
.Wrap = wdFindContinue
End With
Selection.Find.Execute Replace:=wdReplaceAll
Next
End Sub

source code : macro of excel

Sub arabictothai()
For i = 0 To 9
Cells.Replace What:=Chr(48 + i), Replacement:=Chr(240 + i)
Next
End Sub

การแปลงเลขใน excel

1. ถ้าเป็น excel ไม่ต้องใช้ function ให้กด Ctrl-A แล้วกำหนด format ของ cell ใน Number,  Custom เป็น [$-D07041E]0 ก็จะทำให้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขทั้งหมดเป็นเลขไทย
2. ถ้าต้องการมี , กั้นหลักพันก็ใช้ [$-D07041E]#,###,##0 อะไรทำนองนี้ ok ไหมครับ

สาธิต : http://www.youtube.com/watch?v=JNy15bLnt9k
ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiall.com/blog/burin/1496/

กรมคำสั่ง application.openforms

mdiparent กับ 2 form

28 ม.ค.53 ปกติผมไม่เขียนเรื่องเทคนิคการโปรแกรมใน blog เพราะมีรายละเอียดมาก และเขียนไว้ในเว็บเพจอยู่แล้ว แต่หัวหน้าแนะว่าอยากให้ เขียนเรื่อง application.openforms ซึ่งเป็นวิธีการส่งค่าระหว่างฟอร์มลูกใน mdiparent ซึ่งผมเคยเขียนไว้ในเว็บเพจว่าใช้วิธีอ้างผ่าน mdiparent แต่ทั้ง 2 วิธีที่จะนำเสนอนี้มีความแต่ต่างกันชัดเจน ซึ่งผมจะเขียนเรื่องนี้ไว้ใน
+ http://www.thaiall.com/vbnet/testtoolbox.htm
ขั้นตอนที่ 1 การสร้างคอนโทล เพื่อเตรียมความพร้อม
    
สร้าง mdi parent form และ windows form ขึ้น 2 form เมื่อเปิด solution ให้เรียกทั้ง 2 ฟอร์มมาแสดงใน mdi parent form ทันที โดยใส่คำสั่งในโหลดของเอ็มดีไอ คือ dim f1 = new form1 : f1.mdiparent = me : f1.show() : dim f2 = new form2 : f2.mdiparent = me : f2.show() แล้วในฟอร์มทั้งสองมี ปุ่มและเท็คบ็อกอย่างละหนึ่ง
ขั้นตอนที่ 2 ทดสอบคำสั่งที่ใช้ส่งค่าเมื่อกดปุ่ม
    กรณีที่ 1 กรอกข้อมูลและสั่งจากฟอร์มหนึ่งแต่มีผลในฟอร์มสอง ใส่คำสั่งในปุ่มของฟอร์มหนึ่งว่า For Each f As Object In MDIParent1.MdiChildren : If UCase(f.name) = “FORM2” Then : Dim f2 As Form2 = f : f2.TextBox1.Text = Me.TextBox1.Text : MsgBox(“wait”) : f2.Close() : End If : Next
    กรณีที่ 2 ทดสอบตามที่หัวหน้าแนะนำให้ใช้ application.openforms โดยสั่งจากฟอร์มสองแต่มีผลในฟอร์มหนึ่ง โดยใส่คำสั่งในปุ่มของฟอร์มสองว่า Dim f As Form : f = Application.OpenForms.Item(“form1”) : For Each i As Object In f.Controls : If UCase(i.name) = “TEXTBOX1” Then : i.text = “abc” : End If : Next : MsgBox(“wait”) : f.Close()
ขั้นตอนที่ 3 อธิบายความแตกต่าง
     ทั้ง 2 กรณีต่างกันที่ กรณีที่ 1 อ้างอิงฟอร์มเป้าหมายผ่าน mdiparent1 แล้ววนลูปตาม object ทั้งหมดในนั้น โดยมองหาวัตถุที่ชื่อ FORM2 เมื่อพบก็จะส่งเข้าวัตถุชิ้นใหม่ให้อ้างอิง แล้วจึงเรียกใช้ textbox1 ตามวัตถุประสงค์ แต่กรณีที่ 2 อ้างอิงฟอร์มเป้าหมายผ่าน Application.Openforms ซึ่งเรารู้ว่า Form1 เปิดอยู่ แล้วก็วนลูปเข้าไปใน controls ทั้งหมด เมื่อพบ textbox1 ก็ดำเนินการทันที

ลบปุ่มบันทึกจาก phpbb

14 ก.ย.52 ระบบเว็บบอร์ด phpbb ได้รับความนิยมอย่างมากในโลกไซเบอร์ มาวันนี้คุณธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ ทีมงานสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศเลือกใช้ phpbb3 เพื่อบริการเว็บบอร์ดในมหาวิทยาลัย (อีกครั้ง) ซึ่งเป็นระบบที่สำนักงานจังหวัดฯ เคยติดตั้งเมื่อหลายปีก่อนเช่นกัน และผมติดตั้ง pnphpbb2 ใน thaiabc.com ตั้งแต่วันที่ 16 มิ.ย.48 ซึ่งตอนนั้นผมเลือกใช้เป็นส่วน plug-in ใน postnuke ส่วนรุ่นใหม่คือ phpbb3 ใน thaiabc.com นั้นมีตั้งแต่วันที่ 5 ม.ค.51 มาวันนี้พบว่าผู้ใช้มีปัญหาการเลือกกดปุ่มระหว่าง บันทึก กับ ตั้งกระทู้ หากกดปุ่ม บันทึก ก็จะกลายเป็นกระทู้ฉบับร่าง หากจะนำมาตั้งเป็นกระทู้ ก็จะมีขั้นตอนที่ซับซ้อน จึงตัดสินใจยกเลิกปุ่มนี้ออกไป
     วิธีการลบปุ่มบันทึก เริ่มจากก็นั่งหาแบบมองด้วยตาเปล่าในระบบแก้ template ของ phpbb3 กับคุณ bank แต่มองไม่เห็น จึงต้องใช้วิธีกดปุ่มตั้งกระทู้ และ view source จนพบคำว่า save แล้วใช้ search ของ windows หาคำว่า save ใน folder phpbb3 ของ thaiabc.com พบในแฟ้ม posting_editor.html บรรทัดที่ 184 แล้วก็ลบทั้งบรรทัด บรรทัดที่ลบคือ <!– IF S_SAVE_ALLOWED –> <input type=”submit” accesskey=”k” tabindex=”8″ name=”save” value=”{L_SAVE}” />&nbsp; <!– ENDIF –>
     เพียงเท่านี้ก็ไม่ต้องเกรงว่าผู้ใช้มือใหม่จะกดปุ่ม บันทึก แล้วไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร แล้วโทรมาถามกันบ่อย ๆ หรือไม่ก็บอกว่าระบบผิดพลาดแล้วบ่นอยู่ในใจคนเดียว สิ่งที่ทีมงานเกรงว่าจะเกิดขึ้นก็จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน แต่ปัญหาที่ hotmail.com เปลี่ยนนโยบายเรื่อง security ขอให้กรอก captcha บ่อย ๆ ผู้ใช้ก็มาบอกว่าเป็นความผิดพลาดของระบบอีเมลมหาวิทยาลัย ผมก็ถึงกับอึ้งว่า .. ทุกสาเหตุของปัญหามาจากสำนักไอทีหรือนี่ ก็คงเป็นหน้าที่ที่ทีมงานต้องช่วยกันวิเคราะห์ความเสี่ยง และหามาตรการป้องกันในแต่ละปัจจัยเสียงกันไปให้ครบเท่าที่จะสามารถทำได้

ป.4 เขียนโปรแกรม

7 ก.ย.52 ถ้ามีคนพูดว่านักเรียน ป.4 เขียนโปรแกรมเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน หลายคนก็คงบอกว่าเป็นไปไม่ได้ แต่ที่โรงเรียนอนุบาลลำปาง (เขลางค์รัตน์อนุสรณ์) เริ่มสอนนักเรียนวาดรูปด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ชั้น ป.1 เมื่อมีพื้นฐานการใช้แป้นพิมพ์ เมาส์ การใช้เมนูบาร์ ไฟล์เมเนเจอร์ การสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต การคัดลอกข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตมาทำรายงานส่งครู การวาดรูปด้วยไมโครซอฟท์เพนท์ แล้วก็สอนการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาโลโก้ (Logo Writer) ในชั้น ป.4
     การเขียนโปรแกรมนั้นเปรียบเสมือนการเขียนขั้นตอนหรือระบบหรือกระบวนการ ซึ่งพบว่าสอดคล้องกับงานประกันคุณภาพการศึกษาที่ อาจารย์ศศิวิมล แรงสิงห์ มหาวิทยาลัยโยนก จัดให้มีการวิพากษ์รายงานการประเมินตนเองทั้งในระดับคณะวิชาและระดับมหาวิทยาลัย โดยผู้เกี่ยวข้องมาร่วมพิจารณาความสมเหตุสมผลของหลักฐานประกอบเกณฑ์มาตรฐานในตัวบ่งชี้แต่ละข้อ และพบว่าสิ่งแรกที่ต้องทำในหลายตัวบ่งชี้คือการมีระบบ ดังนั้นการปูพื้นฐานการคิดของนักเรียนอย่างเป็นระบบและมีขั้นตอนตั้งแต่ระดับประถม จะทำให้เยาวชนของชาติมีคุณภาพและเข้าใจหลักข้อแรกของการทำงานเมื่อโตขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ระบบประกันคุณภาพการศึกษาที่จัดให้มีขึ้นในสถาบันการศึกษาทุกระดับดังเช่นตัวอย่างข้างต้น ที่ต้องเริ่มต้นการทำงานด้วยการเขียนระบบหรือขั้นตอนการทำงานเป็นลายลักษณ์อักษรและเผยแพร่ให้ทุกคนเข้าใจตรงกัน
     เนื้อหาการเรียนการเขียนโปรแกรมของนักเรียน ป.4 เริ่มต้นจาก 1)การสอนให้พวกเขาอ่านโจทย์ให้เข้าใจ แล้ววางแผนแก้ปัญหาจากโจทย์หรือตัวบ่งชี้ความสำเร็จที่กำหนดอย่างเป็นระบบและเป็นขั้นตอน ถ้านักเรียนคนใดอ่านโจทย์แล้วไม่เข้าใจไม่สามารถกำหนดขั้นตอนการทำงานได้ก็คงล้มเหลวที่จะทำตัวบ่งชี้นั้นสำเร็จลงได้ ถ้าวางแผนได้อย่างเป็นระบบก็จะ 2)เข้าสู่ขั้นตอนการลงมือปฏิบัติ 3)พร้อมการตรวจสอบและแก้ไขในทันที เมื่อพบข้อผิดพลาด 4)หากทำได้แล้วก็จะเรียนรู้ประเด็นปัญหาใหม่ วางแผนแก้ปัญหาใหม่ ดำเนินการและแก้ไข อย่างนี้เรื่อยไป ตามวงจร PDCA (Plan Do Check Action) เมื่อเรียนต่อไปในชั้นประถม 5 และ 6 ต้องเรียนไมโครซอฟท์เวิร์ด เอ็กเซล เขียนเว็บเพจ ตัดต่อวีดีโอหรือจัดทำสื่อมัลติมีเดียจากกรณีศึกษาในชุมชน เป็นต้น นี่เป็นภาพที่ผู้ปกครองของนักเรียนคนหนึ่งมองเห็น กิจกรรมการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นในโรงเรียนนี้
+ http://www.thaiall.com/logo/logowr.zip
+ http://www.dosbox.com