#เล่าสู่กันฟัง 63-022 ปลุกชีพมูเดิ้ล

ระบบอีเลินนิ่ง (e-learning) ที่ใช้กันแพร่หลาย ในฝั่งของ #ผู้เปิดบริการอีเลินนิ่ง คงหนีไม่พ้น moodle ที่พัฒนามาต่อเนื่องยาวนาน ระบบนี้ก็ต้องมีเครื่อง มีภาษา มีฐาน และมีโค้ด ผู้พัฒนามูเดิ้ลเค้าอัพโค้ด ให้เข้ากับภาษาใหม่ และฐานใหม่ แต่ถ้ามีเครื่องบริการที่ลงภาษาใหม่ แต่ฐานเก่า เช่น php7 กับ mysql5 ตัวโค้ดก็จะไม่ทำงานตามปกติ ผู้พัฒนาโค้ดก็ไม่ได้ทำให้รองรับส่วนนี้ เครื่องบริการเก่าหลายไซต์เค้าไม่อัพ ถ้าอัพจะกระทบระบบเดิมของคนเป็นร้อยเป็นพัน

http://www.thaiall.com/moodle

เครื่องของผมที่เช่าไว้ก็เข้าปัญหาข้างต้น จึงต้องปรับโค้ดเก่าเป็น code ใหม่ เพราะ code เก่าเคยทำงานได้ปกติ แต่ยังใช้ฐานเดิม งม deprecate กันนานหน่อย เยอะด้วยครับกับรุ่นคำสั่งที่ไม่เข้ากัน

สุดท้าย เห็นหน้าแรกโผ่มาแล้วก็ชื่นใจ

http://www.thaiall.com/e-learning/moodle.htm

ค้นฟังก์ชัน get_fast_modinfo พบใน course/lib.php สำหรับ moodle 1.9

https://github.com/conel/moodle-1.9/tree/master/lib

ช่วงท้ายของการแก้ไข code (6 ก.พ.63)
ได้การสืบค้นจาก https://github.com/conel/moodle-1.9/
แล้วเทียบว่า function ที่มีปัญหาอยู่แห่งหนตำบลใด
ทำให้ไม่ต้อง download code จาก server ค้นเพื่อแก้ไข
ปัญหาที่พบหลัก คือ function รับ และส่งตัวแปรไม่เท่ากัน
ปัญหาการใช้ object ที่ต้องเปลี่ยนไปเป็น stdclass
และ deprecate เช่น eregi_replace ที่ต้องใช้ preg_replace แทน

#เล่าสู่กันฟัง 62-291 งาน educa 2019

พบ delegate’s satisfaction survey
ที่นำผลประเมินมาทำ infographic ให้เข้าใจง่าย หัวข้อ สอนสร้างสรรค์ เรียนสนุก ในยุค 4.0 Creativity-based learning งานจัด 16 – 18 ต.ค.62 ที่ impact อ่านได้จากเว็บไซต์ educathai.com งานมีผู้เข้าร่วมกว่า 425 คน

การประเมินผล แล้วนำมาทำแผนภาพ วันที่ 16 ต.ค.62 จากห้อง sapphire 206 ช่วง 9.00 – 10.30 ผู้ฟังทั้งหมดเป็นคุณครู ป.ตรี พบว่า เทียบมา 4 ประเด็น

1. หัวข้อน่าสนใจ 4.45 จาก 5
2. การถ่ายทอดความรู้ 4.73 จาก 5
3. ตอบคำถาม 4.50 จาก 5
4. การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ 4.59 จาก 5

จากภาพ #infographic ทำให้นึกถึงประเด็นการศึกษามากมาย มองจากอดีต มาทำปัจจุบัน เพื่อให้เกิดผลในอนาคต ซึ่ง ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ โพสต์ในเฟสบุ๊คให้อ่านเสมอ และโพสต์นี้ท่านพูดถึงการประเมินเพื่อพัฒนา

– ปัจจุบันการศึกษามีการประเมินเพื่อพัฒนาอยู่มากมาย
– Pisa สนใจ การอ่าน คณิต และวิทย์
– ประเมินด้านการศึกษา สนใจ ประเมินก่อนเรียน ระหว่างเรียน หลังเรียน ประเมินระหว่างหัวข้อการสอน แบ่งเป็น พุทธพิสัย จิตพิสัย ทักษะพิสัย กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ที่เรียก curriculum mapping ที่แต่ละวิชากำหนดจุดดำจุดขาวไม่เหมือนกัน การเรียนในหลักสูตรแบ่งวิชาเป็นหลายกลุ่ม เช่นกลุ่มทั่วไป กลุ่มพื้นฐาน กลุ่มเฉพาะ
– เป้าหมายการได้ผู้เรียนแต่ละปีแต่ละภาคเรียนก็ไม่เหมือนกัน วัดผลกันรายหลักสูตร รายปี รายวิชา รายหัวข้อ รายชั่วโมง รายผู้สอน
– มาตรฐานการเรียนรู้ของเด็กก็ไม่เหมือนกัน แยกตามวิชาชีพ ตามหลักสูตร ตามสถาบัน ตามโรงเรียน บางที่ละเอียดลงไปถึงตามครูผู้สอน เพราะครูที่สอนสร้างสรรค์ย่อมต่างกับครูที่สอนแนวอื่น
– ประเมินผลก็มีหลายด้าน เด็กประเมินครู ครูประเมินเด็ก ประเมินเป็นความพอใจ คะแนนสอบ กระบวนการ ผลสัมฤทธิ์ มีทวนสอบว่าสอนตรงตามแผน ออกข้อสอบตามแผน เด็กได้รับผลตามแผน ประเมินสิ่งสนับสนุน อาจมีประเมินสิ่งรายล้อม ระบบไอที น้ำ ไฟ เอกสาร อาหารเครื่องดื่ม ประเมินงานของเพื่อน ผู้ช่วยสอน เป็นต้น

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2823490554339577&id=109357035752956

สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ที่ classstart.org

http://www.thaiall.com/blog/burin/8972/
http://www.thaiall.com/blog/burin/8972/

สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ในรูปแบบเสริมการจัดการเรียนการสอนด้วยสื่อออนไลน์ ผ่านบริการของ Classstart.org ซึ่งเป็นสื่อเสริมช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนในชั้นเรียน
ที่คณะวิชาสนับสนุนการใช้บริการสื่อออนไลน์ สำหรับนิสิตไว้หลายวิชา ในหลายระบบ
อาทิ ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ที่จัดการสอนโดย อ.วีระพันธ์ แก้วรัตน์ เตรียมไว้ ดังนี้

1. BUSI 452 / MKTG 434 การบริหารตราสินค้าและการสื่อสารตราสินค้า
2. BUSI 103 หลักการจัดการและพฤติกรรมองค์การ
3. BUSI 322 การบริหารลูกค้าสัมพันธ์

นอกจากนี้ยังได้จัดสื่อการสอนแบบอีเลินนิ่งสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน เพิ่มเติมจากในชั้นเรียน ผ่านเครื่องบริการที่ติดตั้งในมหาวิทยาลัย
ที่ http://class.nation.ac.th หรือแบ่งปันสื่อการเรียนการสอนผ่านระบบ e-document ในแต่ละรายวิชา ทั้ง มคอ.3 หรือ เอกสารประกอบการสอน ซึ่งเป็นเครื่องบริการภายในมหาวิทยาลัย

อ้างอิงจาก
http://www.thaiall.com/blog/burin/8972/
http://www.nation.ac.th/index.php/th/research-of-bba

การเพิ่มสมาชิกด้วยการ upload

upload users in moodle
upload users in moodle

20 ก.ค.54 ผลการทดสอบใช้ moodle 1.9.12 ผ่านไปด้วยดีอีก 1 ขั้น เพราะได้ทำการ Upload users รหัสผู้ใช้ทั้งหมดหลายสิบบัญชี เข้าระบบอีเลินนิ่งได้ และมีการเชื่อมกับอีเมลในระบบ @thaiabc.com ที่ใช้บริการของ google apps โดยสร้างบัญชีผู้ใช้ผ่าน text file มีรูปแบบเป็น CSV เมื่ออัพโหลดแล้ว ก็กำหนดอีเมลเป็น %f@thaiabc.com ซึ่งมีบัญชีอีเมลรองรับอยู่แล้ว จึงใช้ได้ทันที .. เมื่อทดสอบ login ก็พบว่าไม่ปัญหา ส่วน field deleted ผมกำหนดค่าเป็น 0 ทำให้ผู้ใช้ที่ผมสร้างขึ้นทั้งหมดไม่สามารถลบ account ของตนด้วยตนเองได้ ถ้าจะลบต้องให้ admin ดำเนินการ (แต่รหัสผ่านที่ผมกำหนดเข้าไปจะซับซ้อนกว่าตัวอย่างที่เห็นนะครับ)

ระบบการสอน ของ ADDIE Model

addie model
addie model

รูปแบบการออกแบบระบบการสอนแบบ ADDIE Model หรือเรียกว่า SAT (System Approach to Training) หรือ ISD (Instructional System Design) มี 5 ขั้นตอน

1. การวิเคราะห์ (Analysis)
2. ขั้นออกแบบ (Design)
3. ขั้นพัฒนา (Development)
4. ขั้นดำเนินการให้เป็นผล (Implementation)
5. ขั้นประเมินผล (Evaluation)
http://www.nwlink.com/~donclark/history_isd/addie.html ***
http://www.kroobannok.com/5661

ADDIE Model


http://en.wikipedia.org/wiki/ADDIE_Model
http://www.businessperform.com/workplace-training/addie_model.html

หลักการสอน ของ robert gagne

robert gagne
robert gagne

หลักการสอนโดย โรเบิร์ต กาเย่ (Robert Gagne) คือ แนวทางการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้บทเรียนที่เกิดจากการออกแบบในลักษณะการเรียนการสอนจริง โดยยึดหลักการนำเสนอเนื้อหา และจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ มี 9 ประการ
1. เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention)
เหตุผล : Giving background information creates validity.
The use of multimedia grabs the audience’s attention.
Asking questions in the beginning creates an interactive atmosphere.
2. บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective)
เหตุผล : Make learners aware of what to expect so that they are aware and prepared to receive information.
3. ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Information)
เหตุผล : When learning something new, accessing prior knowledge is a major factor in the process of acquiring new information.
4. นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information)
เหตุผล : The goal is information acquisition, therefore, the stimulus employed is written content and the actual software program.
5. ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning)
เหตุผล : Teacher uses “discovery learning” because learners are adults and it gives them the freedom to explore. Teacher facilitates the learning process by giving hints and cues when needed. Since the audience are teachers with some basic level of technology skills and the software program is easy to follow and understand, guidance is minimal.
6. กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response)
เหตุผล : Requiring the learner to produce based on what has been taught enables the learner to confirm their learning.
7. ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback)
เหตุผล : Regular feedback enhances learning.
8. ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance)
เหตุผล : Independent practice forces students to use what they learned and apply it. Assessing such gives instructors a means of testing student learning outcomes.
9. สรุปและนาไปใช้ (Review and Transfer)
เหตุผล : Applying learning in real-life situations is a step towards Mastery Learning.
http://my-ecoach.com/project.php?id=12152&project_step=28465 ***
http://tip.psychology.org/gagne.html ***
http://www.nwlink.com/~donclark/hrd/learning/id/nine_step_id.html
http://www.chontech.ac.th/~abhichat/Website_abhichat/Edu_Theory/Edu_gagne.htm
http://www.amazon.com/Conditions-Learning-Theory-Instruction/dp/0030636884/bigdogsbowlofbis/