ภาษาอาร์สำหรับวิเคราะห์ข้อมูล


เรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพ
ในระบบสาธารณสุขไทย
โดยใช้โปรแกรมอาร์

https://www.thaiall.com/r/

https://medipe2.psu.ac.th/2019/content?id=30


พบว่าคู่มือที่เผยแพร่นี้
จัดพิมพ์โดย
สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
.
มีเนื้อหาละเอียด และอธิบายไว้ดีมาก
ในเรื่องการใช้โปรแกรมอาร์
เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพ
ซึ่งเป็นข้อมูลทางสถิติ
.
ในเล่มอีบุ๊ค ที่เปิดให้อ่าน
นอกจากเนื้อหาแล้ว
ยังมีแบบฝึกหัด.ให้ฝึกออกคำสั่ง
และมีแฟ้มตัวอย่างให้.ดาวน์โหลด
ซึ่งแฟ้มข้อมูลตัวอย่างมีหลายแฟ้ม
ทุกแฟ้มอยู่ในรูปของ
ข้อความแบบ C.S.V.
หรือ Comma. Separated. Values.
.
ภาษานี้น่าสนใจอย่างมาก
เพราะผลการสอบถาม เอ.ไอ. ว่า
โปรดแนะนำเครื่องมือ
สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
ที่ได้รับความนิยม
แล้ว เอ.ไอ.
ก็ให้คำแนะนำโปรแกรมนี้
ว่าเป็นหนึ่ง
ในหลายเครื่องมือที่น่าสนใจ
.
นอกจากนี้
เมื่อทดสอบแฟ้มข้อมูลตัวอย่าง
จำนวน 400 รายการที่จำลองขึ้นมา
บนโปรแกรมอาร์
.
เมื่อทดสอบประมวลผลแล้ว
พบว่า สามารถวิเคราะห์ข้อมูล
ได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
.
เช่น
ค่าเลือกคอลัมภ์ ค่าสรุป การนับ
หรือ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย เป็นต้น

https://vt.tiktok.com/ZSFDcfWgc/

ภาษาอาร์สำหรับวิเคราะห์ข้อมูล
#computing
#statistics
#data
#analysis
#psu
#language
#programming

ผลสําเร็จจากการวิจัยและนวัตกรรม


สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ขอเชิญเข้าร่วมรับฟังการชี้แจง กรอบการวิจัยและนวัตกรรม ประจําปีงบประมาณ 2565 และแถลงผลสําเร็จจากการวิจัยและนวัตกรรม NRCT Open House 2021 ระหว่างวันที่ 18 – 25 กรกฎาคม 2564 ผ่านระบบออนไลน์ ใน 8 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (18 กรกฎาคม 2564) 2) ด้านการพัฒนาเส้นทางอาชีพนักวิจัยและนวัตกรรม และการวิจัยเพื่อฐานทางวิชาการ (19 กรกฎาคม 2564) 3) ด้านเศรษฐกิจและการเกษตร และด้านสัตว์เศรษฐกิจ (20 กรกฎาคม 2564) 4) ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม (21 กรกฎาคม 2564) 5) ด้านการรองรับสังคมสูงวัย (22 กรกฎาคม 2564) 6) ด้านสังคมและความมั่นคง (23 กรกฎาคม 2564) 7) ด้านการรองรับการระบาดของโรคโควิด-19และรองรับโรคติดต่ออุบัติใหม่ (24 กรกฎาคม 2564) 8) ด้านการจัดการความรู้การวิจัยและถ่ายทอดเพื่อการใช้ประโยชน์ (25 กรกฎาคม 2564)

https://openhouse2021.nrct.go.th/


https://www.facebook.com/nrctofficial/videos

https://www.scribd.com/document/516552580/

การวิจัยแบบผสมผสาน

วัลนิกา ฉลากบาง. (2560). การวิจัยแบบผสมผสาน. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 7(2), 124 – 132.


บทคัดย่อ
การวิจัยแบบผสมผสานเป็นการวิจัยที่ได้รับอิทธิพลมาจากปรัชญาปฏิบัตินิยมที่ใช้วิธีวิทยาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพร่วมกันในการดำเนินการวิจัย เพื่อหาคำตอบของการวิจัยที่มีความครอบคลุม ลุ่มลึกและชัดเจน ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจในปรากฏการณ์ที่ศึกษา การวิจัยแบบผสมผสานสามารถจำแนกได้ 12 แบบแผน เช่น แบบแผนที่ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพคู่ขนานกัน โดยให้ความสำคัญกับทั้งสองวิธีอย่างเท่าเทียมกัน แบบแผนที่ดำเนินการไปตามลำดับก่อนหลัง โดยให้ความสำคัญกับวิธีวิจัยวิธีใดวิธีหนึ่งเป็นวิธีหลักแบบแผนที่ใช้วิธีวิจัยวิธีหนึ่งเป็นวิธีหลักและอีกวิธีหนึ่งเป็นวิธีรอง แต่ประเด็นที่ศึกษาด้วยวิธีหลักและวิธีรองไม่ใช่ประเด็นเดียวกันหรือ
ที่เรียกว่าแบบแผนรองรับภายใน เป็นต้น การจะเลือกใช้แบบแผนใดจะต้องคำนึงถึงคำถามวิจัยเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามนักวิจัยก็ไม่ควรนำวิธีวิทยาแบบใดแบบหนึ่งไปใช้อย่างผิวเผิน แต่จะต้องฝึกฝนตนเองให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทั้งวิธีเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

https://so03.tci-thaijo.org/index.php/npuj/article/download/86439/76194/

การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในสาระการเรียนรู้การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

บทความวิจัย
รุ่งภรณ์ กล้ายประยงค์. (2563). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในสาระการเรียนรู้การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 11(1), 104 – 113.

บทคัดย่อ
การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรม พัฒนากระบวนการคิด อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน จนเกิดเป็นองค์ความรู้ของตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นของการพัฒนาผู้เรียนสู่มาตรฐานสากลในสาระการเรียนรู้การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง วัตถุประสงค์ของบทความนี้เขียนขึ้นเพื่อนำเสนอเกี่ยวกับคำจำกัดความ แนวคิด และลักษณะของการเรียนรู้เชิงรุก รูปแบบการจัดการเรียนรู้และบทบาทของผู้สอนในการจัดการเรียนรู้การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองด้วยการเรียนรู้เชิงรุก รวมถึงตัวอย่างการจัดการเรียนรู้การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองด้วยการเรียนรู้เชิงรุก

บันได 5 ขั้นของการพัฒนาผู้เรียนสู่มาตรฐานสากล
(Five Steps for Student Development)
ได้แก่ 1) การตั้งคำถาม/สมมติฐาน (Hypothesis Formulation) เป็นการฝึกให้ผู้เรียนรู้จักคิด สังเกต ตั้งคำถามอย่างมีเหตุผลและสร้างสรรค์ ซึ่งจะส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในการตั้งคำถาม (Learning to Question) 2) การสืบค้นความรู้และสารสนเทศ (Searching for Information) เป็นการแสวงหาความรู้ ข้อมูล และสารสนเทศ จากแหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลาย เช่น ห้องสมุด อินเทอร์เน็ต หรือจากการฝึกปฏิบัติ ทดลอง เป็นต้น ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ในการแสวงหาความรู้ (Learning to Search) 3) การสร้างองค์ความรู้ (Knowledge Formation) เป็นการฝึกให้ผู้เรียนนำความรู้และสารสนเทศที่ได้จาการแสวงหาความรู้ มาถกแถลง อภิปราย เพื่อนำไปสู่การสรุปและสร้างองค์ความรู้ (Learning to Construct) 4) การสื่อสารและนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Communication) เป็นการฝึกให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้มาสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีทักษะในการสื่อสาร (Learning to Communicate) 5) การบริการสังคมและจิตสาธารณะ (Public Service) เป็นการนำความรู้สู่การปฏิบัติ ซึ่งผู้เรียนจะต้องเชื่อมโยงความรู้ไปสู่การทำประโยชน์ให้กับสังคมและชุมชนรอบตัวตามวุฒิภาวะของผู้เรียน และจะส่งผลให้ผู้เรียนมีจิตสาธารณะและบริการสังคม (Learning to Serve) (สำนักบริหารงานมัธยมศึกษาตอนปลาย, 2555)

ลักษณะของการเรียนรู้เชิงรุก
กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ผู้เรียนจะถูกเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับความรู้ ไปสู่การมีส่วนร่วมในการสร้างองค์ความรู้ (Fedler & Brent, 1996) โดยผู้เรียนต้องมีการปฏิบัติมากกว่าการฟังพวกเขาต้องมีการอ่าน เขียน อภิปราย หรือร่วมกันแก้ไขปัญหา สิ่งสำคัญที่สุดคือการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการคิดขั้นสูง เช่น การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินผล (Chickering & Gamson, 1987 cited in Bonwell & Eison, 1991) จนเกิดเป็นองค์ความรู้ของตนเอง ซึ่งจะมีส่วนสำคัญที่ส่งผลต่อความคงทนในการเก็บรักษาความรู้เมื่อเวลาผ่านไป (Berry, 2008) ผู้สอนจึงมีส่วนสำคัญต่อการกำหนดทิศทางอย่างมีนัย รวมถึงโครงสร้างของการจัดกระบวนการเรียนรู้ (Mayer, 2004; Kirschner & Clark, 2006) อีกทั้งการจัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อมที่จะช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกระทำกับข้อมูล เนื้อหา หรือประสบการณ์ต่าง ๆ ผ่านการลงมือปฏิบัติ ร่วมกับผู้เรียนคนอื่น และจะต้องสร้างความหมายให้กับสิ่งนั้น ๆ จนเกิดเป็นองค์ความรู้ของตนเอง ซึ่งเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมอง และกระบวนการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน จึงถือว่าเป็นกระบวนการทั้งทางด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป

https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yri/article/download/244035/166005/

http://www.edu.ru.ac.th/index.php/30-2014-06-07-08-03-10/385-2020-06-01-13-04-44

การตรวจสอบเครื่องมือ

นิสิตมหาบัณฑิตสายสังคมศาสตร์ ที่ต้องการหาคำตอบด้วยกระบวนการวิจัย เมื่อออกแบบเครื่องมือแล้ว มักจะต้องนำเครื่องมือไปทดสอบความเที่ยงตรง (Validity) และความน่าเชื่อถือ (Reliability) ของเครื่องมือ ก่อนที่จะนำไปใช้สอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกไว้ ซึ่งความเที่ยงตรงนั้นจะต้องทดสอบโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ส่วนความน่าเชื่อถือนั้นจะทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างไม่ต่ำกว่า 30 ชุด
1. การตรวจสอบหรือทดสอบคุณภาพของเครื่องมือ
ความตรงของเนื้อหา (Content Validity) คือ การทดสอบนำแบบสอบถามที่สร้างขึ้น ให้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความเชี่ยวชาญด้านที่เกี่ยวข้อง ช่วยตรวจสอบประเมินความถูกต้อง ความชัดเจน ความสอดคล้องของเนื้อหาที่ต้องการศึกษา จากนั้นนำมาปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมในส่วนของเนื้อหา โดยหาค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้อง (Index of Item-Objective Congruence, IOC) มาจาก ผลรวมคะแนนจากผู้เชี่ยชาญทั้งหมด หารด้วย จำนวนผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเกณฑ์การให้คะแนนเป็น 3 ระดับ โดย 1+ คือเนื้อหาสอดคล้อง แล้ว -1 คือ เนื้อหาไม่สอดคล้อง และ 0 เมื่อไม่แน่ใจ สรุปคือค่า IOC ในระดับดี ที่สามารถนำไปวัดผลได้ จะต้องมีค่า IOC เกินกว่า 0.5 ขึ้นไป จึงจะถือว่าสอดคล้อง
2. การตรวจสอบหรือทดสอบความน่าเชื่อถือของเครื่องมือ
ความน่าเชื่อถือของเนื้อหา (Content Reliability) คือ การทดลองนำแบบสอบถามจำนวน 30 ชุด ไปใช้กับกลุ่มที่แยกออกมาจากกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ซึ่งค่าหนึ่งที่น่าสนใจ คือ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แอลฟาของครอนบัค (Cronbach’s alpha coefficient) สามารถใช้วัดความสอดคล้องภายใน (internal consistency) ที่สามารถหาความสอดคล้องและบ่งบอกมิติไปในทิศทางเดียวกันของข้อคำถามในชุดนั้น หากได้ค่าความเชื่อมั่นโดยรวมมีค่ามากกว่า 0.7 (ยิ่งเข้าใกล้ 1.0 ยิ่งมีความเชื่อมั่นสูง) นั่นหมายถึงสามารถนำแบบสอบถามมาใช้ในการเก็บข้อมูลจริงได้
การตรวจสอบคุณภาพด้านความเชื่อมั่น

  1. การสอบซ้ำ (Test-Retest Reliability)
  2. ความคงเส้นคงวาภายใน (Internal Consistency)
    2.1 การหาความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรของคูเดอร์และริชาร์ดสัน (Kuder and Richardson)
    2.2 การหาความเชื่อมั่นใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของ ครอนบัค (Coefficient Alpha or Cronbach’s Alpha)
  3. การตรวจสอบคุณภาพด้านความเชื่อมั่นโดยอาศัยหลักของความเท่าเทียมกัน (Equivalence)
    (อ่านจาก บทที่ 7 : การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือการวิจัย ของ อ.พัชราภัณฑ์ ไชยสังข์ 503 402 Nursing Research และเอกสารของ ดร. ดนัย ปัตตพงศ์ เรื่อง การทดสอบความเชื่อมั่นด้วย Cronbach’s alpha)

ชวนอ่าน 2 บทความ
เรื่องแรก : การทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นของแบบประเมินกลยุทธ์ในการรับมือกับความเครียดแบบสั้นฉบับภาษาไทย โดย ธนานันต์ นุ่มแสง และ ธนิตา ตันตระรุ่งโรจน์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ใน วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2561; 63(2): 189-198
เรื่องที่สอง : การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย Validation of the Tests โดย อารยา องค์เอี่ยม และพงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพ 10700 ประเทศไทย ใน วิสัญญีสาร 2561; 44(1): 36-42

พฤติกรรมการใช้เฟสบุ๊ค

อ่านบทความของ บุญอยู่ ขอพรประเสริฐ เรื่อง พฤติกรรมการใช้เฟสบุ๊ค ของนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ในวารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2557 หน้า 1 – 24 งานนี้มีวัตถุประสงค์มี 3 ข้อ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้เฟสบุ๊ค ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากการใช้เฟสบุ๊คของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาผลกระทบจากการใช้เฟสบุ๊คของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับมี 3 ข้อ 1) ทำให้ทราบถึงพฤติกรรมการใช้ประโยชน์ และผลกระทบจากการใช้เฟสบุ๊คนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่กำลังได้รับความนิยม 2) สามารถนำผลการวิจัยที่ได้ไปวางแผนพัฒนาและส่งเสริมให้นักศึกษา ซึ่งเป็นเยาวชนสำคัญของชาติสามารถใช้เทคโนโลยีทางการสื่อสารได้อย่างรู้เท่าทันและสร้างสรรค์ต่อไป โดยไม่ตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมหรือกลุ่มมิจฉาชีพที่อาศัยเฟสบุ๊คเป็นช่องทางในการกระทำความผิด 3) สามารถนำผลงานวิจัยนำไปใช้ประโยชน์ในเรื่อง การตลาด การโฆษณา หรือเรื่องที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการวางแผนพัฒนากลยุทธ์ทางการสื่อสารผ่านเฟสบุ๊คให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสารการตลาดผ่านเฟสบุ๊คกับกลุ่มนักศึกษา ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่มากที่มีการใช้เฟสบุ๊คเป็นประจำ

https://so05.tci-thaijo.org/index.php/romphruekj/article/download/62926/51703/

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เล่นเฟสบุ๊คทุกวันจำนวน 491 คน คิดเป็นร้อยละ 70.1 รองลงมาเล่นเฟสบุ๊ค 4-6 วันต่อสัปดาห์ มี 89 คนคิดเป็นร้อยละ 12.7 โดยเล่นมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อครั้ง ซึ่งมีร้อยละ 33.3 ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เล่นเฟสบุ๊คในช่วงเวลา 18.01-21.00 น. มีร้อยละ 39.1 รองลงมาเล่นเฟสบุ๊คช่วงเวลา 21.01-24.00 น. มีร้อยละ 33.7 และมักเล่นเฟสบุ๊คที่บ้านหรือที่พัก ร้อยละ 86.7 ส่วนใหญ่เล่นผ่านอุปกรณ์มือถือร้อยละ 67.6 จำนวน และเล่นผ่านโน๊ตบุ๊ค ร้อยละ 43.9 นอกจากนี้พบว่า การเล่นเฟสบุ๊คส่วนใหญ่จะเล่นเมื่อมีเวลาว่างร้อยละ 59.4 และเล่นเฉพาะนอกเวลาเรียน ร้อยละ 17.7

พบลักษณะการใช้เฟสบุ๊ค 20 พฤติกรรม เฉลี่ยรวม 2.37
1) ใช้ chat กับเพื่อน (x=3.51)
16) เขียนแสดงความยินดีในโอกาสต่าง ๆ ของเพื่อน (x=3.36)
2) กด like เอาใจเพื่อน (x=3.18)
11) ติดตามข่าวประจำวัน (x=3.18)
14) ได้ติดต่อสื่อสารกับเพื่อนเก่า (x=3.09)
9) เขียน Post ข้อความเล่าเรื่องต่าง ๆ (x=2.71)
15) แสดงความคิดเห็นต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ (x=2.68)
17) สร้างอัลบั้มรูปต่าง ๆ (x=2.60)
8) Upload ภาพในชีวิตประจำวัน (x=2.52)
12) ติดตามข่าววงการบันเทิง (ดารา/นักร้อง) (x=2.50)
10) ติดต่อผู้คุยกับบุคคลในครอบครัว (x=2.34)
20) ติดต่อสอบถามเรื่องการเรียนหรือส่งการบ้านครู/อาจารย์ (x=2.34)
13) เล่นเกม (x=2.16)
4) ดู Facebook ดารา/นักร้องที่ชื่นชอบ (x=2.15)
6) สืบประวัติแฟนใหม่หรือเพื่อนต่างเพศ (x=2.11)
7) ติดตามพฤติกรรมของคนที่เราไม่ชื่นชอบ (x=1.71)
5) ดูพฤติกรรมแฟนเก่า (x=1.66)
3) สร้าง Fan page ส่วนตัว (x=1.42)
18) ซื้อสินค้าและบริการ (x=1.33)
19) ขายสินค้าและบริการ (x=0.94)

ประโยชน์ที่ได้รับ เฉลี่ยรวม 3.80
1) ได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นปัจจุบัน (x=4.16)
2) ได้รับข้อมูลเพิ่มขึ้น (x=4.03)
3) ได้พบเพื่อนที่ขาดการติดต่อกันมานาน (x=4.03)
4) ได้ผ่อนคลาย / คลายเครียด (x=3.98)
5) ได้มีเพื่อนใหม่เพิ่มขึ้น (x=3.80)
7) ทําให้ไม่ตกเทรนด์ / ทันกระแสสังคม (x=3.80)
8) ได้ข้อมูลมาใช้ในการเรียนหรือพัฒนาตนเอง (x=3.55)
6) ได้รับประโยชน์ด้านเพิ่มช่องทางทําธุรกิจของตนเองมากขึ้น (x=3.07)