#เล่าสู่กันฟัง 63-006 พลัดหลงกัน แต่หากันจนเจอ ด้วยไอที

เมื่อเดินทางท่องเที่ยว
อาจด้วยโอกาสจาก #ชิมช้อปใช้
ที่ต้องไปต่างจังหวัด ไปเดิน ไปกิน ไปใช้จ่าย
ต่างบ้านต่างเมืองที่ไม่คุ้นชิน
มองไปทางไหนก็ไม่รู้จัก คนต่างเมืองเพียบ
ไม่อู้ภาษาแถวกาดที่อู้อู้อยู่ ฟังบ่าฮู้เรื่องเลย

แต่เทคโนโลยีช่วยได้
ตอนขับรถไปถึงปากทางเข้าตลาด
คนมากมาย รถก็ไม่มีที่จอด คนในรถก็อยากลง
พอลงแล้ว เอารถไปจอด แล้วค่อยเดินหากัน
นัดสถานที่ก็ไม่ได้ นัดเวลาก็ไม่ดี เดินเพลิน

จึงใช้ facebook messenger หรือ line
แชร์ตำแหน่ง #sharelivelocation
ทำให้รู้ว่าจอดรถที่ไหน เพื่อนอยู่ไหน
แต่ละคนอยู่ตรงไหนในระแวกนั้น
แล้วก็เดินไปหา ตำแหน่งปัจจุบัน
ก็จะเคลื่อนที่ตามไปด้วย
หากันจนเจอในที่สุด
หรือประยุกต์ใช้เรื่องติดตามตำแหน่งได้

คนที่เค้าเดินทางไปเป็นหมู่คณะเป็นประจำ
คงใช้ในทุกทริป เช่น เหตุการณ์ในหนัง
เรื่องกวนมึนโอ ที่พระเอกตกทัวร์
ที่นักท่องเที่ยวพลัดหลง ก็คงไม่เกิดขึ้น

https://www.iphonemod.net/how-to-share-realtime-location-on-fb-messager.html

https://www.androidpit.com/whatsapp-tips-tricks-share-live-location

ประชุมคณะทำงานข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัดลำปาง

9 ส.ค.62 มี การประชุมคณะทำงานข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัดลำปาง ที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลำปาง เวลา 9.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลำปาง โดยคณะทำงานวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ ได้รับการประกาศแต่งตั้งโดย นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง และประธานกรรมการบริหารข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัดลำปาง เมื่อ 18 กรกฎาคม 2562 ซึ่งกรรมการชุดที่แต่งตั้งนี้มีทั้งสิ้น 36 คน มีหน้าที่ 5 ข้อ ดังนี้ 1) รวบรวม ศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในพื้นที่จังหวัดลำปาง เพื่อเป็นแนวทางการกำหนดฐานข้อมูล การจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศ การวางแผนจัดทำงบประมาณ และการบริหารจัดการเชิงบูรณาการ 2) กำหนดกรอบฐานข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในพื้นที่จังหวัดลำปาง เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัดลำปาง 3) ประสานงานข้อมูลระหว่างหน่วยงาน นำเสนอความสัมพันธ์ของชุดข้อมูล และปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหา ในประเด็นยุทศศาสตร์ที่น่าสนใจ ปัจจัยความสำเร็จ ตัวชี้วัด เพื่อกำหนดข้อมูลสารสนเทศ และ สร้างความเข้าใจแนวทางการกำหนดฐานข้อมูล การออกแบบระบบ และการใช้งานระบบร่วมกัน 4) ดำเนินการเผยแพร่ โดยใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศ ประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจถึงทิศทาง และแนวโน้มในการพัฒนาการศึกษาจังหวัดลำปาง 5) ปฏิบัติภารกิจอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

ส่วนคณะทำงานพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ ประกาศแต่งตั้งพร้อมชุดข้างต้น ซึ่งกรรมการชุดที่แต่งตั้งนี้มีทั้งสิ้น 27 คน มีหน้าที่ 5 ข้อ ดังนี้ 1) จัดเก็บ รวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านการศึกษา ให้ครบทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ให้มีความสมบูรณ์ ถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในระดับพื้นที่ 2) วิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาของจังหวัดที่มีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย และสามารถให้บริการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) ทดลองและทดสอบระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ รวมทั้งการให้คำแนะนำ การแก้ไขปัญหา การใช้งานระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ 4) รายงานผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาประจำปี ให้คณะกรรมการบริหารข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัดลำปางทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง 5) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ซึ่งประธานคณะทำงานทั้งสองชุด ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม คือ นายบรรพ์ ใสแจ่ม ศึกษาธิการจังหวัดลำปาง ได้แจ้งเรื่อง ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการบริหารข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา พ.ศ.2560  และมีเรื่องเสนอพิจารณา 3 เรื่อง คือ  1) กำหนดกรอบฐานข้อมูลสารสนเทศ 2) การประสานงานข้อมูลระหว่างหน่วยงาน
3) แนวทางการกำหนดฐานข้อมูล

นายวิศนุพงศ์ ถ้ำทอง คณะทำงาน/เลขานุการ และผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน
ได้บรรยายตามสไลด์เรื่อง Big Data ของกระทรวงศึกษาธิการ
และนำเสนอ “สารสนเทศทางการศึกษา”
http://datacenter.lpgpeo.info/
และบรรยายเรื่อง “10 อาชีพในอนาคต ที่มีโอกาสประสบความสำเร็จอย่างสูงในไทย
https://www.kroobannok.com/79488

ระหว่างประชุมนั้น นายวิศนุพงศ์ ถ้ำทอง ทำหน้าที่เลขาฯ
– ได้เชิญกรรมการทุกท่านเข้ากลุ่มไลน์ เพื่อใช้สื่อสารกัน
– ได้สอบถามข้อมูลจากแต่ละสถานศึกษา
ว่าที่มีให้ และที่ต้องการ เพื่อเป็นข้อมูลไปประกอบการพัฒนาระบบ
ซึ่งสถาบันในระดับอุดมศึกษา ตัวแทนได้เสนอใช้ข้อมูลไปในทางเดียวกัน
ว่าเตรียมข้อมูลให้ได้ ตามที่เคยส่งให้กับสกอ. เป็นประจำทุกปี
ที่ http://www.data3.mua.go.th/dataS/

บรรยากาศในห้องประชุมบรรยากาศในห้องประชุม

ส่วนผมเสนอแนะในเบื้องต้น
ตามประเด็น “.. ปัจจัยความสำเร็จ ตัวชี้วัด เพื่อกำหนดข้อมูลสารสนเทศ ..
1. ให้สามารถสืบค้นข้อมูลตาม keyword จากระบบได้
เช่น เกาะคา ทุนการศึกษา ผลสอบ หรือ รางวัลพระราชทาน
2. ให้มี Top 10 หรือ Ranking จากข้อมูลที่มีอยู่
ก็จะเป็นข้อมูลสารสนเทศที่ผ่านการประมวลผล และช่วยสนับสนุนการตัดสินใจได้
3. ให้มีความเด่นเชิงสรุป เช่น โรงเรียนใดเด่นด้านใด หรือได้รางวัลอะไร หรืออยู่ระดับใด
ซึ่ง นายบรรพ์ ใสแจ่ม ศึกษาธิการจังหวัดลำปาง ได้เล่าความเด่นของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์จิตต์อารี
หากมีข้อมูลแบบนี้ในเว็บไซต์ก็จะมีผู้ปกครองเข้ามาใช้ข้อมูลกันมาก
4. ให้สามารถค้นโรงเรียนใกล้เคียงเพื่อตัดสินใจศึกษาต่อ
ซึ่ง นายวิศนุพงศ์ ถ้ำทอง นำเสนอระบบ ว่าปัจจุบันสามารถแสดงผ่านระบบ GIS/Google Map ได้ดี

ข้อมูลจากโฮมเพจ “สารสนเทศทางการศึกษา
ที่พัฒนาไปแล้วระดับหนึ่ง นำเสนอข้อมูลลึกลงไปถึงข้อมูลส่วนบุคคล
หากผู้ใช้มีรหัสเข้าระบบตามสิทธิ ก็จะทราบได้ว่านักเรียนแต่ละคนมีข้อมูลอย่างไร
ซึ่งเก็บไว้ถึง 40 กว่าเขตข้อมูลสำหรับนักเรียนแต่ละคน
http://datacenter.lpgpeo.info/

เมนูสำหรับเข้าถึงสารสนเทศประกอบด้วย
– สารสนเทศทางการศึกษา 2561
– สภาพทั่วไปของจังหวัดลำปาง
– ข้อมูลและสถิติพื้นฐานด้านการศึกษา
– สารสนเทศภูมิศาสตร์
– ระบบข้อมูลประชากรวัยเรียน
– แบบประเมินความพึงพอใจ

ปล. ประชุมครั้งนี้พบมิตรสหายหลายท่าน
พบศิษย์เก่า ม.เนชั่น 2 คนทำงานอยู่ที่ศึกษาธิการจังหวัดลำปาง
พบ พระครูสังฆรักษ์ศุภณัฐ ภูริวฑฒโม ผอ.สำนักงานวิชาการ มจร.วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
พบคุณนงลักษณ์ ใจปลา นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ  สำนักงานจังหวัดลำปาง
และเพื่อนที่คุ้นหน้าคุ้นตาจากหลายหน่วยงาน

https://web.facebook.com/tourlampangna/posts/2444758279076904

สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ที่ classstart.org

http://www.thaiall.com/blog/burin/8972/
http://www.thaiall.com/blog/burin/8972/

สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ในรูปแบบเสริมการจัดการเรียนการสอนด้วยสื่อออนไลน์ ผ่านบริการของ Classstart.org ซึ่งเป็นสื่อเสริมช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนในชั้นเรียน
ที่คณะวิชาสนับสนุนการใช้บริการสื่อออนไลน์ สำหรับนิสิตไว้หลายวิชา ในหลายระบบ
อาทิ ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ที่จัดการสอนโดย อ.วีระพันธ์ แก้วรัตน์ เตรียมไว้ ดังนี้

1. BUSI 452 / MKTG 434 การบริหารตราสินค้าและการสื่อสารตราสินค้า
2. BUSI 103 หลักการจัดการและพฤติกรรมองค์การ
3. BUSI 322 การบริหารลูกค้าสัมพันธ์

นอกจากนี้ยังได้จัดสื่อการสอนแบบอีเลินนิ่งสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน เพิ่มเติมจากในชั้นเรียน ผ่านเครื่องบริการที่ติดตั้งในมหาวิทยาลัย
ที่ http://class.nation.ac.th หรือแบ่งปันสื่อการเรียนการสอนผ่านระบบ e-document ในแต่ละรายวิชา ทั้ง มคอ.3 หรือ เอกสารประกอบการสอน ซึ่งเป็นเครื่องบริการภายในมหาวิทยาลัย

อ้างอิงจาก
http://www.thaiall.com/blog/burin/8972/
http://www.nation.ac.th/index.php/th/research-of-bba

เล่าเรื่องวิจัย 62/1 จากตัวอย่างที่ดีของ ม.เวสเทิร์น

เล่าเรื่องวิจัย 62/1 จากตัวอย่างที่ดีของ ม.เวสเทิร์น

หลังฟัง รศ.ดร.กัญญามล กาญจนาทวีกูล เล่าเรื่องรับรองวิทยฐานะและประกันภายใน
เป็นเวลา 2 วัน ระหว่าง 27 – 28 พฤษภาคม 2562
ทำให้นึกถึงงานวิจัย โดยเฉพาะการได้คะแนนตัวบ่งชี้ 4.2 ระดับหลักสูตร

คู่มือ การรับรองวิทยฐานะสถาบันอุดมศึกษาเอกชน สำหรับคณะกรรมการพิจารณารับรองวิทยฐานะ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน


มองเว็บไซต์ สำนักวิจัยและบริการวิชาการ พบแนวทางมากมาย
หัวหน้าสำนัก คือ อาจารย์วรรณพร พุทธภูมิพิทักษ์
ดูแลโดย รองศาสตราจารย์ ดร.กัญญามน กาญจนาทวีกูล ผู้ช่วยอธิการบดี
มีประเด็นที่น่าสนใจ นำมาเล่าต่อว่า
1. หน่วยงานสนับสนุนงานวิจัยของสถาบันอุดมศึกษานั้น
มีสิ่งที่ต้องมีอย่างน้อย คือ ระบบและกลไก เพื่อให้การขับเคลื่อนงานเป็นไปได้
+ คู่มือจรรยาบรรณนักวิจัย
+ คู่มือการขอรับทุนอุดหนุนการวิจัย
+ กระบวนการดำเนินงานวิจัย
+ กระบวนการทำสัญญา
+ ตัวอย่างสัญญาทุนวิจัย
+ ปฏิทินทุนวิจัย
+ แบบฟอร์มโครงร่างวิจัยปีการศึกษา 2561
+ แบบฟอร์มหน้าลายเซ็นสัญญาปีการศึกษา 2561
+ แบบฟอร์มรายงานความก้าวหน้างานวิจัย
+ ยุทธศาสตร์การวิจัยและวัฒนธรรม
+ แบบฟอร์มการขอรับคำปรึกษาคลินิกวิจัย
+ ประกาศ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการวิจัยและบริการวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น พ.ศ.2561
+ ประกาศ เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิจัยและบริการวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น พ.ศ.2561
+ แบบฟอร์มโครงร่างการขอทุนวิจัยปี 2561
+ แบบฟอร์มหน้าลายเซ็นสัญญา

+ ประกาศ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการวิจัยและบริการวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น พ.ศ.2561
+ ประกาศ เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิจัยและบริการวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น พ.ศ.2561

2. สิ่งที่เห็นจาก กระบวนการดำเนินงานวิจัย คือ ประกาศงบประมาณ ก่อนเปิดภาคการศึกษา
ทั้งงานวิจัยและบริการวิชาการ มีตัวอย่างเอกสารในปีการศึกษา 2561 ดังนี้
ประกาศ เรื่อง ประมาณการรายละเอียดเงินสนับสนุนการบริการวิชาการแก่สังคม 2561
ประกาศ เรื่อง ประมาณการรายละเอียดเงินสนับสนุนการวิจัยปีการศึกษา 2561

3. แหล่งสืบค้นงานวิจัยที่แนะนำของมหาวิทยาลัย
http://it.nation.ac.th/research/
ภายนอก อาทิ สำนักหอสมุด, proquest, iglibrary, journal online, thaijo, thailis

4. ตารางการติดตามหลักสูตรและคณะวิชา
เพื่อใช้ติดตามว่าขณะนี้ระดับคะแนน มากกว่า 3.01 หมายถึง ระดับดีขึ้นไปหรือไม่

5. การวิจัยเป็นสิ่งที่ต้องทำ KM สอดรับกับประเด็น Risk
การทำ Cop (Community of Practice) วิจัย เพื่อให้เขียน proposal
เสนอมหาวิทยาลัยให้ทันยื่นก่อนเปิดภาคการศึกษา จึงเป็นสิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการ

6. เล่าเรื่อง KM ก่อนหน้านี้
อบรมความรู้เรื่องการทำวิจัยเชิงคุณภาพ
ที่บุคลากรส่วนใหญ่มีความต้องการรับการพัฒนา
เป็นผลจากการวิเคราะห์ Risk ด้านการวิจัย
จึงได้เชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ คือ ดร. ถาวร ล่อกา (Thaworn Lorga, Ph.D.)
ดูแลกิจกรรมโดย คณะพยาบาลศาสตร์ 14-15 มีนาคม 2562
เมื่อคณะวิชาต่าง ๆ ได้รับการอบรมแล้ว และนำไปดำเนินการในคณะวิชาของตน
มหาวิทยาลัยได้จัดโครงการการจัดการความรู้ และกำกับติดตามการจัดการความรู้ อีกครั้ง
วิทยากรโดย ดร.สุภาภรณ์ อุดมลักษณ์ คณบดีคณะพยาบาล
ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 13.00-15.00น.

7. ต่อจากนี้ก็จะมีการขมวดความรู้เฉพาะกลุ่มวิจัย
เพื่อขมวดความรู้ และเรียนรู้ตามกระบวนการ
KV (Knowledge Vision)
KS (Knowledge Sharing)
KA (Knowledge Assets)
ซึ่งอาจรวมไปถึงการเขียน proposal ขอทุนวิจัย
สำหรับปีการศึกษา 2562

8. เกณฑ์สนับสนุนการวิจัย และบริการวิชาการ
+ หลักเกณฑ์การกำหนดค่าใช้จ่ายกิจกรรม/โครงการบริการวิชาการสังคม
+ เกณฑ์การพิจารณาโครงการวิจัยและค่าใช้จ่าย

สรุปว่าเล่าเรื่อง Docker กับ Container

มีเรื่องที่อยากเล่าหลายเรื่องเมื่อ 22 ก.พ.62
แต่ละวันมีเรื่องอยากเล่าเยอะ แต่ก็ไม่ได้เล่า เพราะมีเรื่องมากไป
เช้ามา ดร.นิรันดร์ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย มาเป็นวิทยากร
บรรยายให้ศิษย์ของ อ.ธวัชชัย ฟัง เรื่องการเรียน การใช้ชีวิต
สายหน่อย อ.แนน หัวหน้าก็ไปร่วมต้อนรับ กรรมการตรวจคณะพยาบาล
ได้ข้อเสนอแนะกลับมาให้ผมว่า วิชาสื่อต้องปรับคำอธิบายรายวิชาและแผน
ต้องเพิ่มสมรรถนะดิจิทัล ตามที่ประกาศว่า ป.ตรี ในไทยต้องเพิ่มใน มคอ.
ข้างห้องมี ม.ฟุกุอิ มาประชุมวิชาการ อ.อดิศักดิ์ กับ อ.แม็ค
ก็ทำกิจกรรมกันตลอดหลายวันที่ผ่านมา ข้าง ๆ ห้องเลย
บ่ายมาก็ปรับข้อสอบตามข้อเสนอแนะของพี่นาย และอ.นุ้ยได้เม้นไว้
พอว่างก็นั่งส่องผลงานนักศึกษา 6 กลุ่ม บวกนิเทศอีกกลุ่ม เป็น 7 กลุ่ม
ผลงานปีหนึ่งทั้งหมดที่ไปท่องเที่ยว ส่ง #เจอนี่ที่ลำปาง
ส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง
อีกเรื่องที่ชื่นใจคือใช้กระเป๋าตังจริง จากที่ไม่ค่อยอยากใช้
ภาษาอังกฤษเรียก True wallet จ่ายค่าค้างชำระ True move H
เพราะเด็กที่บ้านโดนตัดเน็ต ก็ไปเติมเงินเข้ากระเป๋าที่ 7-11
พอกดจ่ายค่าโทร ก็ขึ้นยอดมา 600 กว่าบาท จ่ายง่ายเลย
ช่วงเช้า หัวหน้าทักว่า รูปเพื่อนหายไป 1 รูป ก็หาเวลาอัพรูปจนเสร็จไปอีกเรื่อง
ระบบนี้ใช้ joomla
นี่ก็ฝันว่าจะหาเวลาเข้า home room เพื่อฟิตนิสิตให้เป็น dev อยู่
จะได้กระจายแทรกซึม ฝังตัวตามหน่วยงาน
เย็นล่ะจะออกงาน เห็น อ.กร เล่าเรื่องนักศึกษาในกลุ่มเฟส
ผมก็อยากชวนเค้าเล่าเรื่อง 5W1H
แล้วนึกถึงละครภาษาอังกฤษของ อ.เก๋ ที่แสดงไปเมื่อศุกร์ที่ 15
ซึ่งน่าจะเล่าเป็นเรื่องย่อได้สนุก ๆ อยากชวนนิสิตเขียน blog กันอีก
ย้อนไปเริ่มเช้าวันนี้ ดร.นิรันดร์ ท่านชวนดูภาพเก่า ๆ เมื่อ 30 ปีที่แล้ว
ตอนผมอายุสัก 18 หยกหยก
นั่นก็นึกเรื่องที่จะเล่าตามภาพได้อีกเยอะเลย
กลับบ้าน เย็นล่ะมาดูคนรักบ้านเมืองในช่องไทยรัฐ
เค้ามาดีเบสกันพูดเรื่องเสียสละเพื่อประเทศ
เดี๋ยวนี้คนเสียสละเพื่อประเทศ โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนตัวเยอะมาก ๆ
ลำปางมีคนเสียสละอุทิศกายใจ เป็นตัวแทนดูแลชาติบ้างเมืองของผม
ใน 4 เขตลำปางมีถึง 117 คน มีเพื่อน ครู อาจารย์ของผมสมัครหลายท่าน
ตกเย็นเจ้าอาวาสนัดหมายไปทำ Big Cleaning Day วันศุกร์ที่ 1 (ที่จะถึง)
ย้อนนึกถึงวันพุธที่ 20 มีแผ่นดินไหวที่ลำปาง แต่ผมก็ไม่ได้เล่า
ตอนเค้าไหวกันหนัก ๆ
ผมติดแหงกอยู่ที่ท่า docker ไม่ได้ขยับตาออกจากจอหลายชั่วโมง
อะไรสั่นไหวก็ไม่รู้ได้ครับ เหมือนตัวถูกหวันอยู่ในกล่อง container
ปล. สรุปว่าเล่าเรื่อง docker ครับ
http://region3.prd.go.th/ct/news/viewnews.php?ID=190209134522

docker
docker

เล่าเรื่อง ท่าเรื่อ (Docker) ที่มีคอนเทนเนอร์บรรจุสินค้า (Container)
แต่ก็ไม่ได้ชวนออกทะเลไปไหนนะครับ
เรื่องมีอยู่ว่า เกือบสัปดาห์ ที่สร้าง image แล้ว push ขึ้น docker 2 ตัว
คือ php กับ mariadb โดยมี database และ script เป็นของ joomla
สลับกันทดสอบโดยใช้ docker toolbox บน Win 10 Home
ทำงานกับ VBox และ docker บน Win 10 Pro ทำกับ Hyper-V
เป็น Container ที่สร้างเสร็จ version 1
จึงยังมีหลายประเด็นที่ต้องปรับแบบ manual
ก่อนที่ server จะทำงานได้ตามเป้าหมาย
สุดท้ายก็ได้เห็นหน้าตาของ joomla ทำงานได้ปกติ
พร้อม extension 2 ตัว
คือ SP Easy Image Gallery และ SP Page Builder
ปัญหาคือผมไม่ได้ใช้งาน Volume ตามแนวคิดที่ Docker ให้ไว้
และไม่ใช้ image สำเร็จรูปที่เค้าเตรียมมาให้ อยากเชื่อ Container เอง
#เล่าสู่กันฟัง 62-043

โพสต์เป็นซี่รี่ใน fb ปิดปี 1 ไปที่ 70 โพสต์ วันนี้นับ 1 กันใหม่

13 fonts ราชการ
13 fonts ราชการ

เริ่มพุทธศักราชใหม่ 2562 ก็เริ่มเปลี่ยนแปลงนู่นนี่นั่น
[มองย้อน]
อดีตไม่ไกลนัก ปีพ.ศ. 2561
นั่งเขียนโพสต์สั้น ๆ แบบมี series นับได้ 70 โพสต์
เริ่มโพสต์แรก Northwind Database เมื่อ 19 ส.ค.61
ด้วย tag #เล่าสู่กันฟัง 61-001
โพสต์สุดท้ายของปี คือ วันที่ 31 ธ.ค.61
เป็นโพสต์ที่ 070 เรื่อง do กับ like
มีเพื่อนกดไลท์จำนวน 3 คน (ถือว่าใช้ได้)
https://web.facebook.com/thaiall/photos/a.10152906385302272/10157059279497272/
[และแล้ว]
ปัจจุบัน คือ วันนี้ 1 ม.ค.62 เปิดปีพ.ศ.ใหม่
นั่งเทียบ 13 ฟอนต์ราชการไทย
พบว่า ผลการเปรียบเทียบ คงทำให้ต้องค่อย ๆ ปรับเว็บเพจทั้งหมด
เป็น TH KodChaSal2 เพราะ TH ChaKraPetch ขนาดเล็กกว่านิดหน่อย
พร้อมเพิ่มขนาดเป็น 20px ให้หมด
แสดงผลการเทียบขนาดไว้ที่ /html5 กับ /web2
http://www.thaiall.com/html5
#เล่าสู่กันฟัง 62-001

 

สร้าง Github page ชื่อ mycsharp เป็นต้น

ไม่ได้เขียน blog นานล่ะ
วันนี้ เล่าขั้นตอนว่าจะสมัคร Github pages อย่างไร
(ในเอกสารหนึ่ง ก็หยิบขั้นตอนมาเขียน blog ซะเลย)
เพราะหวังว่า
จะให้เด็ก ๆ มีกรุ (Repositories) ไว้เก็บของ
และมีโฮมเพจ (Homepage) ไว้ปล่อยของที่เก็บไว้
แต่เริ่มต้นจากการสมัครใช้บริการก่อน
แล้วค่อยสร้างเพจเปล่า ๆ ง่าย ๆ ขึ้นสักเพจหนึ่ง
ผ่านการเขียน code html ในแบบที่ github กำหนด
ขั้นต่อไปก็ค่อยให้เด็ก ๆ หาของมาหย่อนตามกรุของตน

ก็เป็นอีกเวที ที่เด็ก ๆ กลุ่มหนึ่งควรรู้จัก
และเข้ามาใช้งาน ใช้การกัน
ที่สำคัญ ใช้ฟรี และมีมืออาชีพเข้ามาปล่อยของฟรี เยอะมาก

ชวนสร้าง Github pages
ชวนสร้าง Github pages

สร้าง Github page ชื่อ mycsharp เป็นต้น
1. เข้า Github.com
2. สร้าง Repositories คือ กรุ หรือ ที่รับ เช่น mycsharp
3. เมื่อเข้าใน Repositories แล้ว
4. ให้สร้างเพจ ตามกรุที่สร้างขึ้น
เช่น https://thaiall.github.io/programming-page/
เชื่อมกับ https://github.com/thaiall/programming-page
จะพบแฟ้ม index.md เพื่อแนะนำตัวเอง และ repositories
5. วิธีสร้าง page ใน github.io
1. เข้า Settings ของ Repositories (ไม่ใช่ของ Account)
README.md ใน https://github.com/thaiall/vscode
index.md ใน https://github.com/thaiall/programming-page
เป็นหน้าแรก แต่คนละบทบาท กรณีนี้เป้าหมาย คือ index.md
2. หลังเข้า Setting
– Scroll down ลงมาหา GitHub Pages
– choose theme = time machine
– select theme
– Commit changes
หากเข้า Settings ของ Repositories อีกครั้งจะพบ link
https://thaiall.github.io/blank_repository/
3. หากต้องการแก้ไขให้เลือก edit index.md
มองหา Top Right มี Drop down list ให้เลือก
– Your Repositories
จาก Repository ชื่อ blank_repository หรือ mycsharp
คลิ๊กปากกา ที่มุมบนขวา ก็จะแก้ไขแฟ้ม index.md ได้
4. เนื้อหาใน index.md
– ชื่อ สกุล
– สาขาวิชา สถาบัน
– ประเด็นที่สนใจ
– ประสบการณ์
– งานอดิเรก หรือ ความสามารถพิเศษ
– แนะนำเพื่อน คนรู้จัก หนังสือที่ชอบ หรือแหล่งเรียนรู้
5. หากมีแฟ้มอะไรที่ต้องการแชร์เข้า Repositories
– Create new file หรือ Upload files
– ส่งลิงค์ เช่น https://thaiall.github.io/programming-page/

page settings
page settings

นายวิทูรัช ศรีนาม ผวจ.จันทบุรี ขอลาออกจากราชการ

ทุกเรื่องราวมีหลายมุมมอง
กรณีมีข่าว ผู้ว่าราชการ จังหวัดจันทบุรี ลาออก
ปรากฎในสื่อสังคม เพื่อแสดงความรับผิดชอบ
ต่อการพิมพ์เอกสารผิด 1 ฉบับ
แล้วชื่นชมในประเด็นความรับผิดชอบกันมากนั้น

นายวิทูรัช ศรีนาม ผวจ.จันทบุรี ขอลาออกจากราชการ
นายวิทูรัช ศรีนาม ผวจ.จันทบุรี ขอลาออกจากราชการ

แต่
ความรับผิดชอบพัฒนาจังหวัด ในบทบาทของผู้ว่าราชการล่ะ
ตามความสามารถ ตามประสบการณ์ ตามทักษะที่หาได้ยาก
ต้องยุติลง เลิกไปในทันที เป็นเรื่องที่ชอบแล้ว
จริงหรือ .. ชวนคุยครับ

เห็นแห่ชื่นชมในความรับผิดชอบ
นี่นะ ถ้าถามแรงว่า
ทำไมผู้ว่าคิดอย่างนั้น” คงถูกด่าแน่
แต่คาดว่า ท่าน
ใช้กฎ ความรับผิดชอบ
ต่อความผิดพลาดที่ไม่ควร ที่ใช้ถ้อยคำไม่เหมาะสม
อันเกิดจาก human error ที่อาจเป็นของคนอื่น แต่ท่านลงนาม
(ซึ่งรายละเอียดจริง ๆ ไม่รู้ ที่รู้ก็ออกมาตามสื่อเท่านั้น)

แต่มีข้อคิดน่าสนใจว่า
ยอมรับผิดชอบอย่างหนึ่ง 
ย่อมหมายถึง 
ปฎิเสธรับผิดชอบอีกอย่างหนึ่ง

เป็นกรณีศึกษาที่จะนำไปชวนนักศึกษาพูดคุยว่า
บางเรื่องผิดแล้วแก้ไขได้ พระท่านยังปลงอาบัติได้เลย

ปล. มีคำถาม เพิ่ม
ทำไมผู้คนชื่นชมการกระทำ ของผู้ว่าฯ ที่ลาออกจากคำผิด
แล้วถ้าเป็นตัวท่าน จะทำอย่างไร
ตามหลักใจเขา ใจเรา
https://www.prachachat.net/local-economy/news-114956

คะแนนมาตรฐาน หรือค่า T ที่ปรากฎในผลสอบวิชาสามัญ 9 วิชา

วิชาสามัญ 9 วิชา
วิชาสามัญ 9 วิชา

[คำถาม]
มีคำถามว่า คะแนนมาตรฐาน หรือค่า Ti
ที่ปรากฎใน “รายงานผลการทดสอบ
วิชาสามัญ 9 วิชา ประจำปีการศึกษา 2560
บอกอะไรกับนักเรียนในแต่ละวิชา
จากการประกาศผลสอบ
ของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ

[ความหมายของคะแนนมาตรฐาน]
ถ้าคะแนนเต็ม 100 คะแนน
สอบได้ 68 คะแนน
แต่คะแนน 68 ไม่ได้เทียบกับอะไร หรือกับใคร
จึงเรียกว่าคะแนนของนักเรียนที่ทำได้
เพื่อแสดงการเปรียบเทียบกับผู้อื่น
เค้าจึงคำนวณ “คะแนนมาตรฐาน” ขึ้นมา
ซึ่งเป็นผลจากการเทียบกับผู้เข้าสอบทั้งหมด
โดยเทียบว่าเต็ม 100 ได้ประมาณเท่าไร เมื่อเทียบกับผู้เข้าสอบทั้งหมด

[สรุปว่า]
– คะแนนมาตรฐานเกินกว่า 50 แสดงว่า ผ่าน เมื่อเทียบกับผู้เข้าสอบทั้งหมด
– คะแนนมาตรฐานต่ำกว่า 50 แสดงว่า ตก เมื่อเทียบกับผู้เข้าสอบทั้งหมด

เค้าถึงเรียกคะแนนมาตรฐาน เพราะเป็นคะแนนที่เทียบกับกับผู้เข้าสอบทั้งหมด
การตก แปลว่า คะแนนคุณต่ำกว่าคะแนนมาตรฐาน (Standard Score)
การผ่าน แปลว่า คะแนนคุณสูงกว่าคะแนนมาตรฐาน (Standard Score)

[คะแนนมาตรฐาน (Ti) คำนวณอย่างไร]
วิธีคำนวณต้องใช้ตัวเลข 3 ค่า
1. คะแนนที่สอบได้ (Xi) เช่น 68 คะแนนจาก 100 คะแนน
2. ค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ (X-bar) เช่น 58.19
3. ค่าการกระจาย (S.D.) เช่น 13.52

[สมการ]
Zi = (Xi – X-bar) / S.D.
Zi ค่านี้บอกว่าห่างจากค่ามาตรฐานไปเท่าใด
Ti = 50 + (10 * Zi)
ค่า Ti คือ คะแนนมาตรฐาน จะเทียบกับ 50

[ตัวอย่าง]
Zi = (68 – 58.19) / 13.52 = 0.725
Ti = 50 + (10 * 0.725) = 57.25

 

[คะแนนมาตรฐาน (Ti) คำนวณอย่างไร]
จากภาพคำนวณให้เฉพาะ “วิชาภาษาไทย”
นักเรียนคนนี้ได้คะแนนมาตรฐาน 57.25 หรือ 57.26 เมื่อปัดเศษ
แสดงว่า ผ่าน เมื่อเทียบกับนักเรียนทั้งประเทศ
คำถาม คือ แล้ววิชาอื่นที่มี A, B, C, D, E, F
จะได้คะแนนมาตรฐานเป็นเท่าใด และผ่านวิชาใดบ้าง

นักศึกษาด้านไอทีอย่างน้อยต้องทำ responsive เป็น

นักศึกษาด้านไอทีอย่างน้อยต้องทำ responsive เป็น

เว็บมาสเตอร์
เว็บมาสเตอร์

ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็น
ที่นักศึกษาต้องรู้ว่าตัวเองเป็นใคร
Who am i?
เพราะไม่ใช่นักเรียนที่จะไปเข้า #ค่ายค้นหาตัวตน
แล้วหาว่า ตนเหมาะกับอาชีพใด
ถ้าเป็นนักศึกษาก็แสดงว่าเลือกแล้ว
ไม่ใช่กำลังจะเลือก
ตอนนี้มาได้ครึ่งทางแล้วที่จะไปสู่อาชีพที่คาดหวัง
ทุกหลักสูตรมีวิชามากมายต้องเรียนเชื่อมต่อกันเป็น jigsaw
กว่าจะได้ภาพสวยผืนใหญ่ ใส่กรอบ โชว์
ก็ใช้เวลาหลายปี ระหว่างทางต้องทบทวนเป็นระยะ
ว่าทำอะไร เรียนอะไร รู้อะไรไปแล้วบ้าง
หัวข้อต้องรู้มีมากมาย
แต่อย่างน้อยต้องรู้ว่าเรา ทำอะไรเป็นบ้าง
ในสายไอทีก็มีเรื่องเว็บเพจ (webpage)
โดยสิ่งที่ควรรู้ คือ Responsive web design
เพราะแนวโน้มชาวโลกจะขยับไปหา mobile device
ดังนั้นหัวข้ออบรมความรู้เบื้องต้น
เสนอว่าให้นักศึกษาเขียนเว็บเพจด้วย html
จำนวน 3 หน้า ตัวตน ผลงาน และตนเอง
คือ index.html project.htm aboutme.htm
แต่แสดงผลได้ในอุปกรณ์ขนาดต่าง ๆ ได้เหมาะสม

 

ฝากไว้กับ firebase.com หรือ wordpress หรือ facebook ก็ได้

เกี่ยวกับเรา
เกี่ยวกับเรา

http://www.thaiall.com/webmaster/responsive

โครงการ (project)
โครงการ (project)
หน้าแรก (index) เป็นสารบัญ ดัชนี หรือบทนำ
ที่ฉายภาพรวมความเป็นตัวเรา
แต่ไม่ลึกเท่าโปรเจค หรือเกี่ยวกับเรา
หน้าแรกของนักศึกษาน่าจะมีเนื้อหา
ที่มุ่งขายตัวเรา ตัวอย่างหัวข้อดังนี้
- คนต้นแบบมืออาชีพที่ประทับใจ
- กลุ่มที่สนใจที่เราติดตามประจำ
- บทความ ประเด็น หรือข่าวสำคัญ
- เว็บไซต์ที่แนะนำ
- รายการผลงานเด่นที่สะท้อน skill
- ข้อมูลการติดต่อ หรือ อวตารของเรา

 

หน้าโครงการ หรือโปรเจค (Project)
เป็นการขายตัวเรา (ถ้ามี linkin จะดีมาก)
ที่ผ่านมาสวมบท "นักศึกษา" แล้วทำอะไรไปบ้าง
มีงานอะไรที่เราทำส่งอาจารย์แล้วประทับใจ
เทอมหนึ่งเรียน 6 วิชา ๆ ละ 1 งานก็ปีละ 12 งาน
เลือกนำมาแบ่งปัน เพราะนั่นสะท้อนให้เห็น skill 
เว็บเพจหน้านี้จะบ่งบอกอัตลักษณ์ของเรา
ผลงานต้องเป็นที่ประจักษ์ อยู่ในความทรงจำไม่ได้
แนะนำว่าผลงานทุกชิ้นให้เขียนเป็นบล็อก
จะทำเอง ร่วมกัน หรือฟังเขามาก็เขียนบล็อกได้
แต่ถ้านักศึกษาไอทีจะต้องมีโฮมเพจเป็นของตนเอง
แล้วเชื่อมทุกอย่างเข้ากับ social media + blog
เนื้อหาในหน้านี้ มีรายละเอียดผลงานที่ครบถ้วน
มีที่มา เนื้อหา สรุป และลิงค์ดาวน์โหลดจะดีมาก
ทั้งหมดในหน้านี้ก็จะสะท้อน skill เพื่อขายตัวเรา

 

หน้าเกี่ยวกับเรา (About me)
ความเป็นส่วนตัวสำคัญมาก 
แต่การอยู่ในสังคมก็ต้องลดความเป็นส่วนตัวลงบ้าง 
และไม่เปิดเผยอะไรที่ไม่มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน 
เราต้องเป็นนักประชาสัมพันธ์ตนเองอย่างมีเป้าหมาย
นักศึกษาต้องบอกว่าตนเอง
มี skill อะไร
มี project อะไรผ่านมือมาบ้าง
มี avatar ให้ว่าที่นายจ้างไปติดตามที่ไหน
มี experience กับอะไรที่เป็นงานอดิเรก 
มี interested กับอะไรที่เป็นแผนในอนาคต
แต่ถ้าทำงานในองค์กรเมื่อใด ระดับความเป็นส่วนตัว
จะแปรผันตามนโยบายขององค์กรทันที