heroku login เพื่อ push ผ่าน command line

การใช้งาน heroku.com บน command line นั้น เริ่มต้นจากการสมัครสมาชิกบน heroku.com ให้เรียบร้อย ก็จะมี user และ password เป็นของตนเอง แต่เมื่อต้องการใช้งานโปรแกรม heroku บน command line ต้อง download
โปรแกรม https://devcenter.heroku.com/articles/heroku-cli

หากต้องการใช้งาน เช่น ใช้คำสั่งแสดงรายการแอปพลิเคชันของเรา ด้วยคำสั่ง heroku apps ต้องเริ่มต้นด้วยคำสั่ง heroku login ซึ่งมีรายละเอียดการรักษาความปลอดภัยแบบ Two-factor authentication พบว่า ต้องมีการ Verify บัญชีผู้ใช้ และต้องเลือก method ในการยืนยันตัวตน
พบว่า มี 3 ปุ่มปรากฎขึ้นมาให้เลือก 1) Salesforce Authenticator 2) One-Time Password Generator 3) Security Key โดยวิธีที่สาม จะเกี่ยวข้องกับการใช้ usb drive ที่น่าสนใจลดลงสำหรับการใช้งานในปัจจุบันที่บางอุปกรณ์ไม่มีช่อง usb แล้ว จึงเลือก 2 วิธีแรก และการใช้งาน ต้องไปดาวน์โหลด app จาก Google play store ชื่อ Salesforce Authenticator ไปติดตั้งบน mobile device เพื่อให้พร้อมสำหรับการยืนยันตัวตน

ขั้นตอนการยืนยันตัวตน มีดังนี้ 1) บน PC : ติดตั้งโปรแกรม แล้วตรวจสอบรุ่นด้วย heroku -v แล้วสั่ง heroku login พบว่าจะมีการเปิด browser ให้ยืนยันตัวตน ซึ่งมี 3 method ให้เลือกดำเนิน ซึ่งผมเลือก 2 method แรก 2) บน PC : คลิ๊ก One-Time Password Generator จะพบกับ QR code มาให้ถูก scan ผ่าน application เฉพาะ จึงไม่สามารถ scan ด้วยโปรแกรมใด ๆ แล้วนำ code ไปเปิดบน browser เพราะไม่ใช่ web link 3) บน Mobile : ติดตั้ง Application ชื่อ Salesforce Authenticator บน Smart phone เปิดขึ้นมา แล้วเลือก เพิ่มบัญชี และสแกน QR code ที่พบบน PC จนผ่าน แล้วจะพบตัวเลข 6 หลัก สำหรับนำไปกรอกบน PC และจะเปลี่ยนเร็วมาก โปรดจดจำ แล้วไปกรอกในเวลาที่กำหนด 4) บน PC : คลิ๊ก Salesforce Authenticator พบช่องให้กรอกโค้ด ถ้ากรอกเลข 6 หลักในเวลาที่กำหนดแล้ว คลิ๊กปุ่ม Enable Two-factor Authentication 5) บน PC : ถ้ายืนยันตัวตนผ่าน ในหน้า Command line จะพบรายงานว่ายืนยันผ่านเรียบร้อย แล้วปรากฎรหัสผู้ใช้ขึ้นมา จากนั้นสามารถใช้ คำสั่ง heroku auth:whoami ตรวจสอบได้ว่าฉันคือใคร คำสั่ง heroku apps แสดงรายการแอปที่เคยสร้างไว้ คำสั่ง heroku apps:info react640909 แสดงรายละเอียดของแอปพลิเคชัน

http://www.thaiall.com/heroku/

http://www.thaiall.com/react/

#เล่าสู่กันฟัง 63-052 เปิดใช้บัญชี line bot

จำได้ว่าลูกศิษย์ชื่อ หนึ่ง CS-NTU
ทำ linebot ส่งข้อมูลรถบรรทุกเข้าออก
ให้บริษัทด้านลอจิสติกที่ลำพูนตอนฝึกงาน
กับพี่แท็กและพี่กอล์ฟ มีพี่ดูแลใกล้ชิด

วันนี้บ่าย ๆ จึงเข้าไปสมัครใช้บริการไลน์
และสร้างบัญชีสำหรับทำ linebot
และใช้บริการของ heroku.com
ที่บริการ php กับ https พอดี
เพราะเครื่องของผมไม่บริการ https

สรุปว่าใช้บริการ reply ผ่านด้วยดี
แต่ push ต้องมาแกะตัวอย่างนิดนึง
เพราะส่งข้อความถึงแต่ละคนเป็นรายไป
เพื่อให้ code เช็คไอดีได้ในอนาคต
และยกเลิกข้อความทักทายอัตโนมัติ

ข้อความที่เตรียมตอบกลับ ก็มี hi กับ สวัสดี ตอบเป็น sticker กับ text เท่านั้น และยังไม่ได้เสียตังให้เค้าครับ ใช้ฟรีอยู่

ขอเข้า line bot ได้ครับ

มี url เพื่อ add friend จาก QR ดังนี้
https://line.me/R/ti/p/%40362lmjyg

#เล่าสู่กันฟัง 63-051 ลง module chatbot แล้วอัพขึ้น heroku

มีโอกาสใช้ node.js พบว่า module
เกี่ยวกับ chatbot เขียนด้วย react
น่าสนใจ
เคยถูกถามจาก ฟลุ๊ค และหัวหน้า
วันนี้ฤกษ์สะดวก
จึงติดตั้ง และลงบน module ใน repo ตัวเดิม คือ  create-react-app
ที่เคย push ขึ้น heroku.com นั่นเอง
เป็น chatbot ของ LucasBassetti
ต้องติดตั้งเพิ่มทั้ง react-simple-chatbot และ styled-components
ที่ติดตั่งใหม่จะอยู่ใน folder : node_modules
การใช้งานก็เข้าไปแก้ไขทั้ง index.html
และ index.js
ระหว่างเปิด npm start และใช้งาน
ระบบจะตรวจสอบ index.js ทันที ไม่ต้อง restart ก่อน
http://react630314.herokuapp.com/

#เล่าสู่กันฟัง 63-050 ทบทวน react อีกครั้ง

ประมาณหนึ่งถึงสองปีที่แล้ว
น้องวิวชวนดูแอพที่เขียนด้วย react native
ตอนนั้นส่งขึ้นไปประมวลผลบน expo.io
แล้วไม่ได้เข้าไปดูอีกเลย เก่าไปแล้ว
ช่วงนี้สนใจ heroku.com เป็น paas
รองรับ react บน node.js ด้วย
จึงทดสอบ react ง่าย ๆ ก่อน
ไปถึงจุด ๆ หนึ่ง ก็ push repo
ที่โหลดมา ขึ้นไปยัง heroku
สรุปว่าเชื่อมกันหมด
ทั้ง node.js, react, git, heroku, app
ภาพนี้ใช้ code ของ w3school
ทั้ง index.js และ index.html
ถ้ามีโอกาสคงเล่ารายละเอียด
และขั้นตอน
ของการเขียน Hello World!

http://www.thaiall.com/reactnative/
http://www.thaiall.com/heroku

#เล่าสู่กันฟัง 63-045 เชื่อม php กับ postgresql บน heroku เป็นรุ่น 1

หลายวันมานี้ มีโอกาสทดสอบ code
ตามคำแนะนำของน้องฟลุ๊คปี 3 (วชิรศักดิ์ สายสูงธนาศักดิ์)
ว่าอยากให้สอนรุ่นน้อง เพราะเค้าไปเห็นมา
ซึ่งเดิมเคยให้นิสิตทำระบบฐานข้อมูล
เรียนรู้สภาพแวดล้อมของผู้ให้บริการ
กับ Free web host เชิงธุรกิจ หลายค่าย
แต่เมื่อเวลาผ่านไป ข้อมูลที่ไม่เคลื่อนไหว
ก็จะหายไป คล้ายกับธนาคารที่ย้ายที่เก็บ
และการปล่อยทิ้งร้างก็เข้าเงื่อนไขพักบัญชี

น้องฟลุ๊คเค้าแนะนำ react บน heroku.com
แต่ผมสนใจ postgresql กับ php
และอีกหลายแอพที่เชื่อมโยงกัน
ซึ่ง heroku มีให้เลือกใช้เยอะมาก
เพราะเป็น cloud application platform
มีให้เลือกพัฒนาอะไรก็ได้
เปิดให้พัฒนาทั้งบน Windows, Linux และ Mac
การใช้งานต้องใช้ git และโปรแกรม heroku
อย่างน้อยก็ต้องติดตั้ง 2 ตัวนี้
1. heroku ใช้เชื่อมบัญชีสำหรับ clone, push
2. git ใช้บริหารจัดการระบบ version
ระบบนี้ ยังไม่รองรับเขียน code บนเว็บ
จะต้องเขียนใน localhost แล้ว push

ถ้าจะเขียน hello world ก็ต้อง clone
Repository ที่สร้างไว้ใน heroku ลงมา
แต่ง code ใน folder ให้เรียบร้อย
แล้ว push ขึ้นไป
หรือใช้ heroku create สั่งสร้าง repository
บน localhost แล้วกำหนด composer.json
ให้เรียบร้อยก่อน push ก็ได้

หากจะใช้ postgresql ก็ต้องขอใช้ resource
จากนั้นก็มีตัวอย่าง code index.php
ที่ดึง config แบบไม่ต้องผ่านมือเรา
ว่ามีชื่อโฮส ฐานข้อมูล หรือรหัสอะไร
ถ้าอยากเห็นเราก็ echo มาดูได้

คืนที่ 6 มี.ค.63 มีโอกาสนำโค้ด
mysqlworking มาปรับเป็น postqresqlworking
ก็ใช้แอพนี้ได้บน herokuapp.com ได้เลย
แต่ที่แชร์เป็นรุ่น 9145
ไปยังไม่ได้ปรับให้งาม เลอะเยอะเลย



http://www.thaiall.com/perlphpasp/source.pl?key=9145

http://thaiall.com/heroku/

#เล่าสู่กันฟัง 63-044 สร้าง php app ผ่าน heroku.com

มีนิสิตวิทย์คอมชื่อ วชิรศักดิ์ สายสูงธนาศักดิ์ “ฟลุ๊ค” ปี 3
ชวนมองแอพของเพื่อนที่ มช. ด้าน CPE
ที่ใช้ react บน heroku.com
แต่ผมสนใจ php จึงเข้าไปส่องในระบบ
แล้วสมัครใช้งานแบบไม่จ่ายตัง
สร้าง repository ว่าง ๆ ขึ้นมา
ในใจนึกถึง github.com เพราะระบบเค้าพูดถึง git

พบ guide ก็ทำตาม พบว่าใช้ git เป็นหลัก
จากการทดสอบ เขียน phpinfo ง่าย ๆ
พบใช้หลักการของ git
1. clone เข้า localhost
2. แก้ไข code
3. แล้ว push ขึ้นไป
4. ใช้ heroku create และ open repository ได้

https://thaiall63.herokuapp.com/

สรุปว่าใน php ถ้าใช้ composer
จะสะดวกมาก ๆ ในการติดตั้ง
ลองติดตั้ง monolog กับ wordpress
ก็ใช้งานใน localhost ได้ปกติ

https://devcenter.heroku.com/articles/getting-started-with-php#deploy-the-app

http://www.thaiall.com/git

การใช้ git กับ heroku.com พบว่าเว็บไซต์ heroku.com บริการ platform as a service ทำให้เราพัฒนาแอพด้วยภาษาที่ได้รับความนิยม แล้วส่งแอพพลิเคชั่นขึ้นไปเผยแพร่ มีภาษาที่รองรับมากมาย การ push โปรแกรมต่าง ๆ ทำได้ผ่าน git ซึ่งเรื่องเว็บไซต์นี้ มีนิสิตชื่อฟลุ๊ค ปี 3 ชวนดูโปรเจคของเพื่อน CPE ที่ มช. ที่ใช้ react แต่ผมสนใจ php จึงเขียน code ง่าย ๆ พิมพ์ 1 – 10 ส่งไปเผยแพร่ หากติดตั้งโปรแกรมต่าง ๆ แล้ว ก็พิมพ์ตามนี้ได้ แต่ต้องมี repository ของตนเอง เช่น safe-hamlet-06492 (ชื่อนี้เคยใช้ heroku create แล้วถูกสร้างแบบสุ่มมาให้ใช้)