เข้าอบรมทักษะการคิดแบบวิจัย

นักวิจัยส่วนหนึ่งที่ร่วมกิจกรรม

29 พ.ค.53 สถาบันนวัตกรรมกระบวนการเรียนรู้ชุมชนจัดอบรมทักษะการคิดแบบวิจัย ที่ สำนักงานสิ่งแวดล้อม ภาค 2 ลำปาง วันเสาร์ที่ 29 พ.ค.53 นำโดยคุณอัญมณี แสงแก้ว (โบว์) คุณภัทรา มาน้อย (จิ๋ม) และคุณรัตติกร บุญมี (จิ๊บ) เป็นกิจกรรมที่ 3 ใน 7 กิจกรรมตามแผนของปี 2553 คือ 1) เทคนิคการวิเคราะห์ชุมชนอย่างมีส่วนร่วม 2) วิทยากรกระบวนการ 3) ทักษะการคิดแบบวิจัย 4) การวาดเพื่อการสื่อสาร 5) การเขียนโครงการเพื่อขอรับทุน 6) การทำแผนที่ทางสังคม 7) สุนทรียสนทนา
     นอกจากกิจกรรมวิชาการที่ให้แนวการวิเคราะห์งานไว้ 4 ประเด็นคือ ปรากฎการณ์ รูปแบบ โครงสร้าง และแบบจำลองความคิด และองค์ประกอบของบ้านแล้ว ยังมีกิจกรรมส่งเสริมการคิดแบบวิจัย อาทิ วาดจักรยาน เดินเท้าชิด และแม่น้ำพิษ ส่วนโครงการใหม่ที่เข้ามาร่วมเรียนรู้คือ กลุ่มนักวิจัยวัดปงสนุก และกลุ่มนักวิจัยน้ำห้วยปุ๊
     มีโอกาสแลกเปลี่ยน กับนายกอบต. ท่านสนใจจัดทำสื่อมัลติมีเดียของตำบล ผมจึงแนะนำ กรกับปราง ที่ทำงานวิจัยจัดทำสื่อวีดีทัศน์บ้านไหล่หิน ได้ติดต่อกับท่านนายก และในเวทีนี้ คุณภัทรา ได้ฉายวีดีโอที่กรกับปรางจัดทำ ให้เพื่อนในทีมวิจัยได้เรียนรู้กระบวนการทำงานวิจัยของบ้านไหล่หิน .. ก็หวังว่า กรกับปราง จะเข้าไปขยายงานในชุมชนนี้ได้สำเร็จ

กิจกรรมต่อเนื่องร่วมกับสกว.ภาค ศูนย์ลำปาง

แผนที่ไป สำนักงานสิ่งแวดล้อม ภาค 2 ลำปาง

28 พ.ค.53 ได้รับอีเมล 2 ฉบับจากน้องโบว์ เรื่องแรกคือเปลี่ยนสถานที่อบรมพัฒนาศักยภาพนักวิจัย จากห้องสมุดเป็น สำนักงานสิ่งแวดล้อม ภาค 2 ลำปาง คาดว่าโบว์ใช้วิธีวาดรูปแล้ว scan จากนั้นก็ส่งให้ผมทางอีเมล คาดว่าพรุ่งนี้คงทราบเหตุว่าเปลี่ยนจากห้องสมุดเทศบาลนครลำปาง มาเป็นส.ว.ล เพราะอะไร เรื่องที่สองคือได้รับรายงานการขอขยายเวลาโครงการวิจัย คาดว่าส่งให้หัวหน้าโครงการทุกคนที่อยู่ในรายการ เห็นรายชื่อโครงการที่อยู่ในความดูแลของศูนย์ และระยะเวลาที่ขอขยายออกไปของแต่ละโครงการแล้ว ก็ต้องบอกว่าเป็นภาระของศูนย์ที่ต้องดูแลใกล้ชิด เนื่องจากโครงการที่ขยายเวลาออกไปนานก็จะต้องใช้ทรัพยากรเพิ่ม ทั้งด้านเวลา งบประมาณ และการดูแล ถ้าจบเร็วก็จะได้ใช้เวลาที่เหลือของชีวิตไปทำกิจกรรมอื่นได้ .. ก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกโครงการที่ยังปิดไม่โดยสมบูรณ์เร่งให้เสร็จโดยเร็ว

อบรม TQF ที่มหาวิทยาลัยโยนก โดย อ.อุาณีย์ คำประกอบ

วิทยากร อาจารย์ และทีมผู้บริหารมหาวิทยาลัย

6 พ.ค.53 ฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยโยนก โดย อ.อติชาต หาญชาญชัย จัดสัมมนาวิชาการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education) ซึ่งมีผู้อำนวยการสำนักประกันคุณภาพจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้เกียรติมาเป็นวิชาการ คือ รศ.อุษณีย์ คำประกอบ สำหรับเนื้อหาประกอบด้วยรายละเอียดเกี่ยวกับแบบฟอร์มที่ต้องจัดทำทั้งหมด 7 แบบ คือ มคอ.1) การพัฒนามาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา มคอ.2) กรอบมาตรฐานคุณวุฒิกับการพัฒนารายละเอียดของหลักสูตร มคอ.3) การพัฒนารายละเอียดของรายวิชา (Course Specification) มคอ.4) การพัฒนารายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (Field Experience Specification) มคอ.5) การรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา (Course Report) มคอ.6) การรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (Field Experience Report) มคอ.7) การรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร (Programme Report)
     เอกสารของ รศ.อุษณีย์ คำประกอบ ฝากให้กับคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย PowerPoint และแฟ้มตัวอย่างของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่ท่านรวบรวมไว้สำหรับเป็นตัวอย่างให้ทุกคนได้เรียนรู้ เพื่อเป็นตัวแบบในการใช้ประกอบพิจารณา และปรับปรุงให้สอดรับกับการจัดทำ TQF ในหลักสูตรของตนเอง
Download : http://www.yonok.ac.th/doc/oit/TQF_530506.zip
Download : http://www.yonok.ac.th/doc/oit/tqf_yonok_530506.ppt
+ http://www.thaiall.com/tqf
+ http://www.qa.rmutk.ac.th/Download/
+ http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/
+ http://www.eqd.cmu.ac.th
+ http://eoffice.pharmacy.cmu.ac.th/mis/person/view_person_detail.asp?id=6246

อบรมการพัฒนาสื่อการสอนอีเลินนิ่ง

อบรมการใช้ moodle อีกครั้ง

29 เม.ย.53 วันนี้เป็นวันแรกในสองวันของการอบรมการพัฒนาสื่อการสอนอีเลินนิ่ง (e-learning) ซึ่งมี อ.ทนงศักดิ์ เมืองฝั้น เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้พื้นฐาน และมีผู้ได้รับคัดเลือกเป็นผู้พัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้อีเลินนิ่งระดับดี ประจำปีการศึกษา 2552 ซึ่งเป็นปีแรกที่มอบประกาศนียบัตรมาเป็นผู้บรรยายประสบการณ์ในการใช้ประโยชน์จากระบบอีเลินนิ่ง ประกอบด้วย อ.ทนงศักดิ์ เมืองฝั้น อ.อติชาต หาญชาญชัย อ.วีระพันธ์ แก้วรัตน์ และอ.คงศักดิ์ ตุ้ยสืบ จากนั้นก็มีผู้ดูแลงานไอทีมาบรรยายการใช้โปรแกรม moodle แบบ offline โดยใช้โปรแกรม thaiabc.com เป็นเครื่องมืออบรม ซึ่งมีผู้ช่วยวิทยากรคือ อ.เกศริน อินเพลา และคุณธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ และผู้ประสานงานโครงการคือคุณศิริพร ยาสมุทร
ในการอบรมเน้นให้อาจารย์แต่ละคนจำลองตนเองเป็น ผู้ดูแลระบบ ครู และนักเรียน สลับบทบาทไปมาอย่างเข้าใจ เพื่อให้กลับไปจัดทำแผนการสอน และใช้เครื่องมือได้อย่างลงตัว ทำความเข้าใจแหล่งเอกสารระหว่างในไซต์กับจากนอกไซต์ แล้วฝึกใช้เครื่องมือทั้ง resource และ activities ซึ่งทั้งหมดเป็นการเรียนรู้แบบออฟไลน์ด้วยโปรแกรม thaiabc.com ทำให้รวมเร็ว และไม่มีผลต่อเครื่องบริการหลักของมหาวิทยาลัย ก่อนปิดคลาสวันนี้ ได้ฝึกให้อาจารย์สร้างการบ้าน และจำลองเป็นนักเรียน 2 คนเข้ามาส่งการบ้าน และอาจารย์ให้คะแนน ซึ่งมีผลเป็นการรวมคะแนนที่ได้จากการบ้าน 2 ชิ้น
+ http://www.thaiall.com/e-learning/moodle.htm
+ http://www.weerapun.com
+ http://www.facebook.com/album.php?aid=168683&id=814248894
+ http://www.4shared.com/dir/38358133/530e46a/train_elearning.html

เข้าอบรมหลักสูตรที่ 5 dialogue และคิดอย่างวิจัย

24 ต.ค.52 ไปเข้าอบรมกับศูนย์ประสานงาน สกว.ลำปาง เช้า – เย็น จัดโดยนางสาวภัทรา มาน้อย มี กร กับ มะปราง ในฐานะนักศึกษาที่รับทุน CBPUS ไปร่วมด้วย ที่ห้องสมุดประชาชนเทศบาลนครลำปาง ครั้งนี้นั่งพื้นกัน และมีเพื่อนนักวิจัยชุมชนเข้าร่วมกว่า 40 คน ก่อนปิดเวทีให้เขียนข้อเสนอแนะต่อเพื่อนในวง แล้วนำกลับไปอ่านที่บ้าน ในแบบสุนทรียเสวนาด้วยกัลยาณมิตร
     กิจกรรมที่จำได้มี 3 อย่าง คือ 1)นั่งสมาธิแล้ว ให้วาดภาพในวัยเด็ก เรื่องนี้ผมทำไม่ได้ ต้องเปลี่ยนไปวาดภาพดอกบัว หลังวาดเสร็จให้นำเสนอรายคน เป็นเหตุให้ในเวทีมีคนร้องไห้ 2 คน ถ้าผมวาดภาพความหลังคงร้องไห้เป็นแน่ พักนี้จิตอ่อนไหวง่ายมาก เพราะทนไม่ได้ต่อการเห็นการเปลี่ยนแปลงโลก ที่มนุษย์เป็นต้นเหตุ แต่แก้ไขอะไรไม่ได้เลย 2)มีกิจกรรมให้เลือกระหว่าง นกอินทรีย์ หมี วัวกระทิง และหนู ก็เลือกกันไปแล้ว แบ่งกลุ่มและให้เหตุผลทีละคน สุดท้ายเฉลยว่าคนเลือกแบบใดมักมีลักษณะอย่างไร สำหรับผมก็ต้องบอกว่าตรงกับตัวผม 3)มีคำถามน่าสนใจ ว่า “ชาย 2 คนลงซ่อมปล่องไฟ แล้วขึ้นมา คนหนึ่งสะอาด อีกคนสกปรก ใครจะไปอาบน้ำก่อนกันคำตอบที่ถูกก็มีอยู่นะครับ แต่เจอคำใบ้ไปว่ามองเพื่อนแล้วไปอาบน้ำ ทำให้เขวกันไปหมดเลย .. นี่คือกรณีหนึ่งที่ใช้นำเสนอเรื่องคิดอย่างวิจัย

รายงานการทำงานต่อคณบดีฯ 3/2552

21 มิ.ย.52 1)งานบริการวิชาการที่ได้รับอนุมัติจาก อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ ให้ผมไปบริการวิชาการที่ กศน.แม่ทะ วันที่ 13-14 มิ.ย.52 ก็ได้ดำเนินการเป็นวิทยากรในหัวข้อ web template 2.0 เสร็จสิ้น แต่ได้ประสานเพิ่มเติมและรับเชิญเป็นวิทยากรอีกครั้งในหัวข้อ google apps เมื่อวันเสาร์ที่ 20 มิ.ย.52 ซึ่งมีอาจารย์เกศริน อินเพลา ร่วมเป็นวิทยากรในครั้งนี้ 2)การเตรียมงานพิธีไหว้ครู ได้ประสานกับนักศึกษา และเลือกให้เดือนกับดาวของคณะทำหน้าที่ถือพาน 2 พาน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณ 250 บาท ทำให้ปีนี้คณะจะมีพานใช้งานของคณะ และนักศึกษาเห็นชอบร่วมกันทำพานไหว้ครู โดยรวมกลุ่มกันในเย็นวันพุธที่ 24 มิ.ย.52 ถ้าอาจารย์ท่านใดสะดวกไปให้กำลังใจนักศึกษาในการทำพานแสดงความของคุณท่านก็ขอเชิญที่ใต้หอพักชาย 3)งานพิธีถวายเทียนพรรษา ซึ่ง อาจารย์เกศริน อินเพลา ได้ร่วมประชุมในครั้งแรก เมื่อผมร่วมประชุมในครั้งที่ 2 ก็ได้ข้อสรุปว่ามหาวิทยาลัยขอเชิญชวนนักศึกษาคณะละ 10 คน ซึ่งนักศึกษาแจ้งชื่อมาแล้ว เป็นงานบุญที่ชวนกันไปแสดงพลังที่สวนเขลางค์ แล้วไปแห่เทียนเข้าวัดพระบาท เพื่อถวายเทียนสู่วัดพระบาท ในวันศุกร์ที่ 3 ก.ค.52 โดยคณะวิทย์ได้รับมอบหมายให้ดูแลแถวขบวนแห่ 4)บทวิเคราะห์ความคลาดเคลื่อนที่สรุปโดยอ.วันชาติ นภาศรี draft แรก เขียนเสร็จแล้ว แต่สรุปเฉพาะส่วนขององค์ประกอบ และไม่แยกส่วนของตัวบ่งชี้ออกมาให้เด่นชัด และขาดบทวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับคณะ ที่เป็นส่วนสำคัญในการสร้างความตระหนัก (Awareness) ให้แก่คณะ ซึ่งขณะนี้เป็นช่วงเวลาที่ทุกคณะกำลังเตรียมข้อมูล เมื่อวิเคราะห์แล้วจะนำเสนอเวทีแรกในเวทีวิจัยที่จะมีขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 25 มิ.ย.52 โดยนำเสนอต่อยอดจากการนำเสนอความก้าวหน้าโครงการวิจัยประกันคุณภาพของอาจารย์ศศิวิมลและทีมงานมหาวิทยาลัย 5)คณะแสดงบทบาทต่อชุมชนด้วยการนำเสนอความคิดเห็นด้านไอทีสู่สื่อท้องถิ่น ผมแจ้งให้ทราบว่า บทความไอทีในชีวิตประจำวัน ที่ 196 เขียนเรื่อง ความสำเร็จของระบบฐานความรู้ของโลก  ตีพิมพ์ 6 ก.ค. – 12 ก.ค.52

อบรมการใช้งานระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง

18 มิ.ย.52 มีการจัดอบรมการใช้งานระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง ครั้งที่ 1 / 2552 รอบที่ 1 ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 1 มหาวิทยาลัยโยนก โดยมีเจ้าหน้าที่ อาจารย์ และหัวหน้าสำนักงาน เข้ารับการอบรม 13 ท่าน ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 11.00 – 12.00น. ซึ่งเป็นไปแผนงานใน โครงการวิจัย “พัฒนาระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองของหน่วยงาน

      หัวข้อบรรยายดังนี้ 1) แจกคู่มือ ลงชื่อเข้าอบรม และแจกรหัสผ่านใหม่ 2) ชี้แจงวัตถุประสงค์ และประเด็น 2.1) ปรับคำอธิบาย และเงื่อนไขในเกณฑ์ ตามที่คุณเพชรี สุวรรณเลิศ นำเสนอในที่ประชุมผู้บริหาร ที่ สกอ. แก้ไขมีเอกสารประกอบ 36 หน้า 2.2) เพิ่มการเลือกปี เพื่อตรวจข้อมูลย้อนหลัง 2.3) แสดงผลวิเคราะห์ความคลาดเคลื่อน 2.4) แก้ไขรหัสผู้ใช้เป็นภาษาอังกฤษ 2.5) เพิ่มการเชื่อม CDS เข้าองค์ประกอบในส่วนตรวจเอกสาร 3) ทบทวนการใช้งานโปรแกรม 3.1) การนำเข้าข้อมูลพื้นฐานด้วย excel หรือแก้เป็นรายการ 3.2) การกรอกข้อมูลเป้าหมาย ผลดำเนินงาน และผลประเมิน การนำไปทำรายงาน 4 ส และการนำเสนอร่วมกับข้อมูลพื้นฐาน 3.3) ใส่รายการหลักฐานได้ทั้งแบบทำเอกสารจนแล้วเสร็จ หรือทำงานบูรณาการโดยใช้เว็บเก็บข้อมูลเพื่อเข้าไปจัดทำร่วมกัน 4) ประเมินการอบรม และอื่น ๆ ( http://www.yonok.ac.th/sar )

อบรม web template และ google apps ที่กศน.แม่ทะ

ผู้ร่วมอบรม
ผู้ร่วมอบรม

12 – 13 มิ.ย 52  ผมไปเป็นวิทยากรอบรมการใช้งานระบบซีเอ็มเอส web template 2.0 ที่พัฒนาและเผยแพร่โดย อ.ศรีเชาวน์  วิหคโต มีคุณอนุชิต ยอดใจยาไปเป็นผู้ช่วย เราได้รับเชิญจาก ผอ.จรรยา จิรชีวะ ให้อบรมบุคลากร กศน.แม่ทะ  ณ ศูนย์การเรียนรู้ประวัติความเป็นมาแหล่งเรียนรู้อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง  ก่อนไปได้ปรับแต่งโปรแกรม thaiabc6.3 เพื่อเปิดบริการ Local Web Server ซึ่งมี web template 2.01 ในโปรแกรมนั้น ทำให้ฝึกจัดการ web template 2.01 ที่ผมปรับปรุงระบบความปลอดภัย สามารถเรียนรู้ร่วมกันได้ง่าย วันแรกปูพื้นฐานการเขียนเว็บ ซึ่งผู้เรียนหลายท่านไม่ถนัด แต่วันที่ 2 เรียนการเข้าจัดการเท่านั้น (ไม่สอน html) ทุกคนเข้าใจการปรับแต่งเว็บแบบ CMS ด้วยตนเอง ตามวัตถุประสงค์ของ ผอ. วัตถุประสงค์ของการอบรมคือ เพื่อให้ครูในแหล่งเรียนรู้แต่ละตำบลมีส่วนร่วมในการเข้าจัดการเว็บเพจของ กศน.แม่ทะ โดยแบ่งกลุ่มตามหัวข้อ และตามพื้นที่ แทนที่จะปล่อยให้ใครสักคนเป็นคนป้อนข้อมูล ก็จะหันมาแบ่งงานและรับผิดชอบร่วมกัน

     ในสัปดาห์ต่อมา วันที่ 20 มิ.ย.52 ไปเป็นวิทยากรอีกครั้งมี อ.เกศริน อินเพลา เป็นผู้ช่วยในการอบรมการใช้ google apps ซึ่งรุ่นของระบบที่ กศน.ลำปาง และกศน.กรุงเทพฯ เคยขอใช้จาก google เพื่อเปิดบริการแก่บุคลากรในกศน. ต่างกับ google apps ที่ผมขอใช้บริการล่าสุด เพื่อเตรียมสอน โดยเฉพาะเรื่อง start page กับ page creater นั้นไม่พบใน google apps รุ่นใหม่ แต่พบเรื่อง site แทน และ site ก็ไม่มีใน google apps รุ่นเก่า แต่ระยะเวลาการอบรม 1 วันก็เหมาะกับ 4 หัวข้อคือ email, talk, calendar และ document วัตถุประสงค์ของการอบรมคือ เพื่อใช้งานระบบการสื่อสารและระบบสนับสนุนการทำงานร่วมกัน ตามแนว enterprise 2.0 ผ่านบริการของ google apps ที่กศน. ลำปาง และกศน.ทั่วประเทศเข้ารับการอบรม ครั้งนี้จึงเป็นการขยายความสามารถในระดับครู เพื่อทำให้การสื่อสารระหว่างครู กับผอ. สามารถเกิดขึ้นได้

     ผู้เข้าร่วมอบรมน่ารักทุกคน โดยเฉพาะเรียน google talk แล้ว หลายคนก็ใช้หูฟังกับไมค์คุยกันเพลินเลยครับ ผู้เรียนประกอบด้วย 1)นางสาวนันท์นภัสร์ ศรีวิเชียร 2)นางกมลนันท์  ธรรมนพ 3)นายทาน จันทะปัน 4)นางลำดวน วงศ์สาย 5)นางเทียมจิตร เพชรล้ำ 6)นางธิติยา  แก้วเมืองมา 7)นางสายไหม  กรรเชียง 8)นางสาวอรวรรณ  มานันไชย 9)นางสาวจุฬารัตน์ วงศ์ษา 10)นางสาวนงคราญ  ใจตา 11)นางสาวกาญจนา  กิ่งแก้ว 12)นางกรชนก มังคะวงศ์ 13)นางสาวบงกช  เกิดในวงศ์ 14)นางสาวไพรินทร์   สุวรรณจักร 15)นางอัฉราภรณ์   คำพิชัย 16)นางสาวมนัสวี  จิรชีวะ 17)นางสาวธัญจิรา  บุญรักษา 18)นางสาววิไลลักษณ์  บุญปันเชื้อ 19)นางสาวทัศนีย์  เพชรตา 20)นายธนวัฒน์  ปันสุทะ 21)นายวุฒิพงศ์  เครือวงศ์ปิง 22)นางสาวปิยะกาญน์  เลิศจุ่ม 23)นายณรงค์  จักรจันทร์ 24)ผอ.จรรยา จิรชีวะ ( ภาพทุกคน )

     ผลการให้บริการวิชาการครั้งนี้ ทำให้ผม และผู้ช่วยทั้ง 2 ท่าน ได้เรียนรู้ระบบ CMS อีกโปรแกรมหนึ่งที่พัฒนาโดยใช้ text file และถูกใช้งานในกศน.ลำปาง และกศน.อำเภอ ได้เข้าไปศึกษาโปรแกรม ปรับแต่งให้เหมาะกับการอบรม และนำเสนอให้คนทั่วไปได้นำไปเรียนรู้และใช้งาน และนำเสนอลงสื่อท้องถิ่นด้วยภาพข่าวกิจกรรมบริการวิชาการ ผ่านสำนักประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัย ส่วน google apps จะได้ไปเผยแพร่ในมหาวิทยาลัย และคนทั่วไปผ่านหลายช่องทาง เพราะมีประโยชน์ต่อองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการใช้ประโยชน์จากไอที โดยเฉพาะเรื่องการสื่อสาร และการทำงานร่วมกันที่ใช้เอกสารเป็นสื่อกลาง ( เอกสารอบรม ) http://www.google.com/a/thaiabc.com

รายงานการทำงานต่อคณบดีฯ 1/2552

เสาร์ที่ 30 พฤษภาคม 2552 1)การอบรม : กลางวันผมเป็นตัวแทนของโครงการวิจัยฯ ที่มหาวิทยาลัยรับทุนในการทำวิจัยเพื่อท้องถิ่น ไปอบรม “การวาดเพื่อการสื่อสาร” ที่จัดโดยศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น มีรายละเอียดใน blog ของมหาวิทยาลัย 2)ร่วมงาน cocktail กลางคืนร่วมงานมุทิตาจิตของ รศ.จินตนา สุนทรธรรม ร่วมกับ ร.คณบดี และอ.อติชาต หาญชาญชัย มีประเด็นที่ผมจับได้เกี่ยวกับไอทีในชีวิตประจำวัน จึงเขียนเป็นบทความที่ 194 ลง นสพ.ฅนเมืองเหนือ และนำเสนอในเว็บไซต์ของคณะ 3)ได้แนวคิดเขียนบทความ จากงานมุทิตาจิต ผมจับประเด็นเรื่องการจัดการความรู้ การบริหารความเสี่ยง และระบบ knowledge-based system ได้ แต่ยังไม่ได้ยกร่างบทความ สิ่งที่เห็นคือความเสียดายในองค์ความรู้ที่มหาวิทยาลัยสกัด หรือสั่งสมจากท่านออกมาเป็นรูปธรรม เพื่อใช้ในการเรียนรู้ และต่อยอดไปสู่การพัฒนาคน ยังไม่มากพอที่ผมจะสังเกตุเห็น โดยเฉพาะระบบ knowledge-based system ที่จะเป็นการบริหารจัดการองค์ความรู้ เพื่อนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจก็ยังไม่ชัด .. ก็มีแผนจะนำเสนอในกลุ่มประเด็นนี้ครับ

งานบุญ งานสัมมนา งานวิจัย กับกาแฟ 3 แก้ว

1) เช้าที่ 28 มีค52 ผมมีนัดหมายไปร่วมงานบุญบวชเณรที่วัดต่าง ๆ กับรถตู้ของสถาบัน ตั้งแต่ 7.45 น. ก็วางแผนว่าจะไปเรียบร้อยดี แต่เกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกับการขับถ่าย ทำให้ผมเดินทางไปสถานที่นัดหมายประมาณ 7.55 น. พบว่าล้อหมุนไปแล้ว จึงตกรถ นี่เป็นครั้งที่ 2 ห่างกันไม่ถึงปีที่ผมพลาดงานบุญเป็นชุดเช่นนี้ เพราะเคยไปไหว้พระ 9 วัด กับพระครูที่วัดไหล่หินลุ่ม ไปกันเป็นคาราวาน แต่วัดที่ 8 เกิดมีรถหลงทาง 2 คัน และรถของผมก็เป็น 1 ในนั้น มาครั้งนี้ไปไกล ครอบครัวก็ไม่ได้ไป จึงตัดสินใจไม่ตาม
สรุป : การวางแผนเดินทาง ต้องเผื่อเรื่องห้องน้ำ และรถเสีย ไว้พอประมาณ
2) อันที่จริง ผมมีนัดเข้าสัมมนาการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรที่ 2 แต่เคยปฏิเสธไป เรื่อง วิทยากรกระบวนการ โดย สกว.สำนักงานภาค ห้องสมุดประชาชนเทศบาลนครลำปาง จึงโทรไปถามว่าในทีมผมไปแล้ว 3 คน คือ พ่อกำนัน แพทย์ และป้ากิม เพิ่มผมไปอีกคน จะได้ไหม หลังจากเคยปฏิเสธไปแล้ว ทั้งจิ๋ม และจิ๊ปซึ่งเป็นผู้จัดงานมิได้ปฏิเสธแต่อย่างใด มีกิจกรรมที่ช่วงบ่ายออกไปเสนอกระบวนการจัดตั้งคณะกรรมการกองทุนเงิน 10 ล้าน ของหมู่บ้าน ผมมีโอกาสสมมติตนเองเป็นกำนัน และจัดเวทีหมวดยกร่างกฎ ให้มานำเสนอ ตกเย็นก็มีผู้ทรงคุณวุฒิมาให้ข้อเสนอแนะ ได้ประสบการณ์ และวิธีแก้สถานการณ์ดีมาก
สรุป : อาจสวมหมวกหลายใบ ไม่มีใครสวมทุกใบแล้วไม่พบปัญหา ต้องเลือกตามเหตุอันควร
3)
กลับบ้าน ก็พบว่าตัวเองมีปัญหาเรื่องหัวใจ จนเขียนบทความกับรายงานวิจัยไม่ได้ คิดว่าถ้าเดินคลายเครียดอาจหาย ก็นึกขึ้นได้ว่าตอนเย็นดื่มกาแฟแก้วที่ 3 เข้าไปแล้ว จึงมีอาการทางหัวใจที่เต้นไม่ปกติ พอทราบสาเหตุก็สบายใจ ว่าเดี๋ยวดื่มน้ำเยอะ ก็คงดีขึ้น ตกดึกจึงนั่ง clear งบประมาณงานวิจัย ตามเอกสาร ต้องรอกิจกรรมอีก 3 รายการ ที่จะเกิดขึ้น จึงจะ clear ได้ ซึ่งโครงการขอขยายการเขียนรายงานและสรุปไป 2 เดือน ตามคำแนะนำของผู้ประสานงาน ซึ่งผมก็ว่าดี จะได้ไม่เร่งกิจกรรมสรุปผลในเดือนเมษายน
สรุป : ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ กินเป็นตัวกำหนดที่เราเป็น กินอะไรก็เป็นอย่างนั้น
4) วางแผนว่าพรุ่งนี้ไม่ไปร่วมงานบวชอีกวัน เพราะอยาก clear บทความที่ลงฅนเมืองเหนือ ให้เสร็จสัก 2 เรื่อง เพราะวันนี้ตอนสัมมนา เขียน draft เรื่องเทคโนโลยีกับนวัตกรรม แต่ draft อีก 2 เรื่องที่เขียนไว้ยังไม่ได้ prove และ public ถ้าไปงานบวชตกเย็นคงเพลีย ก็คิดว่าคืนนี้จะนั่งสมาธิแผ่เมตตา แทนการไปงานบวช เพื่อสร้างกุศลแทนกัน ก็คงไม่น่าเกียจ
สรุป : วันนี้คือปัจจุบัน พรุ่งนี้คือสิ่งที่อาจไปไม่ถึง ก็คงมีสักวัน ที่ไปไม่ถึงวันพรุ่งนี้