แหล่งความรู้ใหม่ทางวิชาการที่อยู่นอกตำรา (itinlife560)

nccit & ic2it 2016
nccit & ic2it 2016 https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10154291789127008&set=a.10150572310562008.426393.751017007

ในแวดวงวิชาการมีแหล่งความรู้ใหม่ที่เป็นนวัตกรรมในแต่ละสายวิชา คือ วารสารวิชาการ และการประชุมวิชาการ ซึ่งความรู้ที่เข้าไปเผยแพร่ใน 2 แหล่งข้างต้นจะต้องได้รับการคัดกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิในสายวิชานั้น ว่าผลงานที่ส่งไปให้เพื่อนอ่าน มีคุณภาพที่ถูกประเมินและถึงเกณฑ์ที่ยอมรับว่าเผยแพร่ได้ จำนวนผลงานในวารสารวิชาการจะมีเล่มละประมาณ 15 เรื่อง เพราะจำกัดด้วยจำนวนหน้าพิมพ์ และการพิจารณาจะเข้มข้นกว่า ผู้ส่งผลงานอาจต้องส่งผลงานที่ถูกปรับแก้หลายครั้งจนกว่าจะได้รับคำว่าผ่าน แต่การประชุมวิชาการมักมีข้อจำกัดด้านเวลา ดังนั้นผลการพิจารณาจึงมีเพียงผ่านหรือไม่ผ่านในรอบเดียว แต่ข้อดีคือรองรับจำนวนผลงานได้มากกว่าถึง 150 ผลงาน มากหรือน้อยกว่านี้ก็ขึ้นกับนโยบายของการจัดการประชุม เพราะมีตัวแปรเรื่องค่าใช้จ่าย และจำนวนวัน
เมื่อ 7 – 8 กรกฎาคม 2559 ผู้เขียนได้เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มีองค์กรร่วมจัดงานถึง 18 หน่วยงาน และจัดต่อเนื่องมาทุกปีตั้งแต่ปี 2548 – 2559 แล้วในปีที่ 12 กำหนดจัดงานขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น โดยมี รศ.ดร.พยุง มีสัจ เป็นเจ้าภาพในงาน IC2IT และ ผศ.ดร.สุจิน บุตรดีสุวรรณ เป็นเจ้าภาพในงาน NCCIT หัวข้อที่น่าสนใจมีมากมาย หากสนใจหัวข้อใดก็เลือกเข้ารับฟังการนำเสนอบทความนั้นตามห้องที่กำหนด แต่ไม่อาจรับฟังได้ทุกเรื่อง เพราะมีการแยกห้องนำเสนอเพื่อให้การนำเสนอบทความทั้งหมดอยู่ในระยะเวลา 2 วัน
ในการประชุมนี้เปิดรับบทความวิชาการที่เกี่ยวข้องกับ 5 หัวข้อหลัก ที่กำหนดขึ้นเพื่อเป็นขอบเขตให้ผู้สนใจเข้ารับฟัง หรือส่งผลงานเผยแพร่ ประกอบด้วย Data Mining and Machine Learning, Data Network and Communication, Human-Computer Interface and Image Processing, Information Technology and System Engineering, Computer Education บทความที่ส่งให้เข้ารับการพิจารณาจะผ่านการอ่านโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และต้องได้รับคำว่าผ่าน 2 ใน 3 ท่าน จึงจะนำเสนอในการประชุมได้ ปี 2559 มีผลงานภาษาไทยส่งเข้าไป 218 บทความ แต่ผ่าน 127 บทความคิดเป็นร้อยละ 58 หากสนใจเข้าร่วมแล้ว ในประเทศไทยยังมีการประชุมวิชาการด้านคอมพิวเตอร์ที่จัดขึ้นเป็นประจำอีกหลายงาน เช่น ACTIS, NCOBA, NCCIT, IC2IT, ECTI, NCIT, IEC, NCTECHED, KDS, JCSSE, TECHCON, KUSRC, SKRU, EDTECH เป็นต้น ที่จัดในช่วงเวลาที่แตกต่างกันไป

http://www.nccit.net/
http://www.thaiall.com/project/nccit07.htm
https://www.facebook.com/phayung.meesad/posts/10154289739422008

ร่วมประชุม NCCIT 2015 มีประเด็นมากมายที่น่าสนใจ

NCCIT 2015
NCCIT 2015

2-3 กรกฎาคม 2558 มีโอกาสไปฟังการนำเสนอผลงานบทความจากการวิจัย
ของอาจารย์ และนักศึกษา ในการประชุมวิชาการระดับชาติ NCCIT 2015
ประธานจัดงานคือ Assoc.Prof.Dr.Phayung Meesad
http://www.nccit.net

มี key note 2 ท่าน
1. Prof.Dr.Nicolai Petkov
Brain-inspired pattern recognition
2. Assoc.Prof.Dr.Andrew Woodward
An uncomfortable change: shifting perceptions to establish pragmatic cyber security

ประเด็นห้องที่ผมสนใจ คือ
Information Technology and Computer Education
วันที่ 2 กรกฎาคม 2558
1. ศึกษาการยอมรับการใช้แอพพลิเคชันบนมือถือ
A Study The Acceptance of Mobile Application
Passana Ekudompong and Sirirak Khanthanurak

2. การพัฒนาระบบการจัดกลุ่มสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยระบบทศนิยมดิวอี้
Development of the System for Electronic Media Classification by
Using the Dewey Decimal Classification System
Worapapha Arreerard,Laongthip Maturos, Monchai Tiantong and
Dusanee Supawantanakul

3. การพัฒนาแอพพลิเคชันเพื่อการปั่นจักรยานท่องเที่ยว
บนระบบปฏิบัติการ iOS กรณีศึกษาการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต
Application Development on iOS for Cycling to Travel A case
study: Phuket Tourism
Amonrat Prasitsupparote, Phuriphong Phumirawi, Apichaya
Khwankaew and Kantida Nanon

4. โปรแกรมต้นแบบระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ภายใต้การตัดสินใจการจัดสรรน้ำ
อย่างเหมาะสมในเขตพื้นที่ชลประทานฝายไม้เสียบ จังหวัดนครศรีธรรมราช
A Prototype of Geographic Information System based on
Appropriate Irrigation Decisions in Maiseab Weir, Nakhon Si
Thammarat Province
Sarintorn Wongyoksuriya, Onjira Sitthisak and Anisara Pensuk Tibkaew

5. การพัฒนาการบูรณาการระบบสารสนเทศบุคลากร
โดยใช้ตัวแบบทูน่า กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่น
A Development of Information System Integration by TUNA
Model Using : A Case Study of Nation University
Burin Rujjanapan

6. การพัฒนาชุดฝึกอบรมการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์
ด้วยภาษาซี สำหรับนักศึกษาครุศาสตร์อุตสาหกรรม
Development of the Training Packages the Robot Control
Programming with C for Students of Technical Teacher Training
Program
Kitti Surpare and Patpong Armornwong

7. การสร้างกรณีทดสอบจากแบบจำลองกระบวนการธุรกิจอิงเหตุการณ์ขับเคลื่อน
Test Cases Generation from Business Process Model Based on
Event Driven
Sarawut Waleetorncheepsawasd and Taratip Suwannasart

8. การทำเจซันแคชด้วยโนเอสคิวแอล
JSON Cache with NoSQL
Aiyapan Eagobon and Nuengwong Tuaycharoen 247

9. ระบบสารสนเทศบนเว็บสำหรับการรายงานสินบนตำรวจจราจร
ผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟน iOS ด้วย Tor
A Web-based Information System for Reporting Traffic Police
Bribe via iOS Smartphones with Tor
Sitichai Chumjai and Nuengwong Tuaycharoen

10. การค้นคืนเอกสารข้อความภาษาไทยด้วยเสียงพูด
Speech-based Thai Text Retrieval
Paphonput Sopon, Jantima Polpinij and Thongparn Suksamer

วันที่ 3 กรกฎาคม 2558
11. การพัฒนาแบบจำลองพื้นผิวทะเล เพื่อสนับสนุนการคัดเลือกเรือขนส่งถ่านหิน รฟ.กระบี่
Sea Floor Model Visualization for Barge Selection, Krabi Power
plant
Nuttanan Pipitpattanaprap and Sakchai Tangwannawit

12. แนวทางการออกแบบกรณีทดสอบ และซีนนาริโอด้วยวิธีวิเคราะห์เมทริกซ์
The guidelines for Test Cases and Scenarios by Analysis Matrix
Taksaporn Phanjhan and Sakchai Tangwannawit 636

13. ขั้นตอนวิธีสำหรับพัฒนาแบบฝึกหัดการเขียนอักษรไทยที่ใช้งานบนแท็บเล็ตพีซี
An Algorithm for Handwriting Exercise in Thai Alphabet on the
Use of Tablet PC
Dechawut Wanichsan, Taweesak Rattanakom, Nitat Ninchawee and
Phannika Kongjuk

14. การวิเคราะห์โครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงเข้าสู่บ้าน
โดยอิงมาตรฐานไอทียูร่วมกับการวางข่ายสายตอนนอก
Analysis of Fiber to the Home Network Based on ITU Standards
with Outside Plant
Tanaporn Jesadamethakajorn and Pudsadee Boonrawd

15. ขั้นตอนวิธีการแปลงแผนภาพบีพีเอ็มเอ็นเป็นแผนภาพลำดับ
ด้วยเมต้าดาต้าโมเดลและกฎการแปลงแผนภาพ
Transformation Algorithm from BPMN Diagram to Sequence
Diagram by Metadata Model and Rule-Based
Shavan Tansap and Pudsadee Boonrawd

16. ระบบติดตามเวลาการเดินขบวนรถไฟแบบเรียลไทม์
ด้วย GPS บนมือถือ กรณีศึกษาการรถไฟแห่งประเทศไทย
Time Train Tracking System Automatic and Real-Time of GPS
Based on Mobile Case Study for State Railway of Thailand
Phongphodsawat Sangthong and Pongpisit Wuttidittachotti

17. การนำแนวทางการบริการเบ็ดเสร็จมาบริหารจัดการแบบสอบถามออนไลน์
Adopting a TurnKey Solution Model to Manage Survey System
Online
Surakiat Rattanarod and Nattavee Utakrit

18. ระบบจัดการครุภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดบนแอนดรอยด์โฟน
Durable Articles Management System on Android Phone by Using
QR code Technology
Jutarat Thochai and Nattavee Utakrit

19. การประยุกต์ใช้การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน
เพื่อบริหารงานซ่อมบำรุงอาคารของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
Building Prevention Maintenance System
Korapat Siriwan and Nattavee Utakrit 680

20. การพัฒนาระบบการจัดการองค์ความรู้พันธุ์ข้าวในประเทศไทย
Development a Rice Knowledge Management System In Thailand
Thiptep Manpholsri and Montean Rattanasiriwongwut 685

21. การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการติดตามยอดเงินค้างชำระ
โดยใช้วิธีการบริหารลูกค้าสัมพันธ์
Management Information System for Monitoring the Accrued
Income by Customer Relationship Management Technique
Ratchada Khantong, Montean Rattanasiriwongwut and Maleerat
Sodanil

22. การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมมือแบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้สื่ออีดีแอลทีวี
The Development of the Model of Cooperative Learning Activities of
Flipped Classroom by using eDLTV Media
Sommai Kaewkanha, Worapapha Arreerard and Tharach Arreerard

http://www.thaiall.com/project/nccit07.htm

การพัฒนาระบบตรวจเยี่ยมสำหรับการประเมินตนเอง โดยใช้โมเดลเซกิ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง

การพัฒนาระบบตรวจเยี่ยมสำหรับการประเมินตนเอง
โดยใช้โมเดลเซกิ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง

peer visit with seci model
peer visit with seci model

มีโอกาสนำเสนอบทความจากการวิจัยเรื่อง
การพัฒนาระบบตรวจเยี่ยมสำหรับการประเมินตนเอง
โดยใช้โมเดลเซกิ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง
A Development of Peer Visit System for Self Assessment
by SECI Model : A Case Study of Nation University
ในงาน NCCIT 2014 เมื่อวันที่ 8-9 พฤษภาคม 2557
http://www.slideshare.net/thaiall/nccit2014-11
และ proceeding ฉบับเต็มที่
http://www.scribd.com/doc/223300399/Proceedings-of-NCCIT2014
แล้วได้อ่านวารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ
ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ซึ่งเราสามารถ download บทความได้
ที่  http://202.44.34.134/journal/index2.htm
ซึ่งเป็นอีกเวทีที่แตกต่างจากเวทีประชุมวิชาการระดับชาติ .. ผมว่าน่าสนใจ

สำหรับบทความที่ไปนำเสนอใน NCCIT 2014  มีเนื้อหาในบทความดังนี้

บทคัดย่อ
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบบันทึกผลการตรวจเยี่ยมคุณภาพการศึกษา ตามเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษาของ สกอ. และสมศ. เพื่อพัฒนาระบบรายงานผลการตรวจเยี่ยมของกรรมการตรวจเยี่ยมในระดับคณะวิชา เป็นกรณีศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่น มีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 5 กลุ่ม ประกอบด้วยผู้บริหาร และหน่วยงานที่รับผิดชอบการประกันคุณภาพการศึกษา ผู้รับผิดชอบองค์ประกอบคุณภาพระดับมหาวิทยาลัย บุคลากรในคณะวิชาที่รับผิดชอบองค์ประกอบ หน่วยงานที่รับผิดชอบตัวบ่งชี้ และผู้ประเมินภายใน เครื่องมือที่ใช้พัฒนาระบบคือ เครื่องบริการอาปาเช่ ตัวแปลภาษาพีเอชพี  เอแจ็กซ์ และระบบฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล แล้วดำเนินการพัฒนาระบบฐานข้อมูลโดยใช้การจัดการความรู้ตามโมเดลเซกิ (SECI Model) ประกอบด้วย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socialization) การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization) การควบรวมความรู้ (Combination) และ การผนึกฝังความรู้ (Internalization) แล้วใช้แบบประเมินความพึงพอใจต่อการอบรมการใช้งานโปรแกรมต้นแบบ และภายหลังการใช้งานระบบโดยผู้ตรวจเยี่ยม งานที่พัฒนาขึ้นใช้กับการตรวจเยี่ยมระดับคณะวิชาตามร่างรายงานการประกันคุณภาพการศึกษาปีการศึกษา 2555 โดยลักษณะคำตอบเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ พบว่า ผลประเมินความพึงพอใจต่ออบรมการใช้งานระบบฐานข้อมูลการตรวจเยี่ยมโดยรวมอยู่ระดับมาก (xˉ =3.94, S.D.=0.46) และผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบ อยู่ระดับมาก (xˉ =3.65, S.D.=0.64) ซึ่งสรุปได้ว่าระบบที่พัฒนาขึ้นตอบสนองความพึงพอใจของผู้ตรวจเยี่ยมได้
คำสำคัญ: การตรวจเยี่ยม ผู้ตรวจเยี่ยม การประกันคุณภาพ เกณฑ์ประเมินคุณภาพการศึกษา

Abstract
The objective of this operational research is to develop the peer visit system for the quality assessment system that is supported the internal and external indicators. It will help the inspector to generate the suggestion report. The system will be used as the case study of Nation University.  The data sampling is divided into 5 groups, consisting of administrator, assessors, faculties, key performance indicator owner and peer visit committee. The system development tools are Apache Server, PHP Interpreter, AJAX and MySQL Database. Another tool for knowledge management process is SECI model that consist 4 sub-processes of socialization, externalization, combination and internalization. 5-scale rating questionnaire is collected to evaluate system performance in 2 times. This system was served for peer visit inspector in all faculties in 2012. The evaluation result of training’s satisfaction is high with a mean of 3.94 and standard deviation of 0.46. The evaluation result of system’s satisfaction is high with a mean of 3.65 and standard deviation of 0.64. It is concluded that the system performance can satisfy the peer visit inspectors.
Keyword: Peer visit, Inspector, Quality Assurance, Quality Indicator

1. บทนำ
สถาบันการศึกษาในประเทศไทยต้องจัดการศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐาน เพื่อตอบสนองต่อเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542  เป็นไปตาม
ตัวบ่งชี้ที่จัดทำขึ้นโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) โดยผลการประเมินสะท้อนถึงคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น
มหาวิทยาลัยเนชั่นได้จัดทำรายงานการประเมินตนเองเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอกประจำปีการศึกษา 2549 จากรายงานการประเมินคุณภาพภายนอก [1] ได้มีข้อเสนอแนะและทิศทางการพัฒนาเร่งด่วนของสถาบัน ว่ามหาวิทยาลัยควรพัฒนาฐานข้อมูล เกณฑ์ และเป้าหมาย เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาตามตัวบ่งชี้
ผลการประเมินในปีต่อมาถึงปัจจุบันยังต้องมีการพัฒนาให้สูงขึ้น การเพิ่มระบบและกลไกในการควบคุมคุณภาพจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากทุกระดับเชิงบูรณาการ การเพิ่มระบบตรวจเยี่ยมก่อนที่คณะวิชาจะจัดทำรายงานการประเมินตนเองฉบับสมบูรณ์ เป็นกลไกที่ทำให้เกิดการพัฒนาและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จะทำให้การไหลวนเป็นวงจรของข้อเสนอแนะและสารสนเทศมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
จึงเป็นที่มาของการพัฒนาระบบตรวจเยี่ยมโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบันทึกผลการตรวจเยี่ยมคุณภาพการศึกษา ตามเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษาของ สกอ. และสมศ. เพื่อพัฒนาระบบรายงานผลการตรวจเยี่ยมของกรรมการตรวจเยี่ยมในระดับคณะวิชา ซึ่งจะได้ระบบตรวจเยี่ยมที่สนับสนุนการจัดทำรายงานการประเมินตนเองฉบับสมบูรณ์อย่างเป็นระบบ

2. วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
2.1 การประกันคุณภาพ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 ได้กำหนดจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นคุณภาพและมาตรฐาน โดยกำหนดรายละเอียดไว้ในหมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา  ซึ่งประกอบด้วย “ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน” และ “ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก”  เพื่อใช้เป็นกลไกในการผดุงรักษาคุณภาพและมาตรฐานของสถาบันอุดมศึกษา [2]
การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน  เป็นการสร้างระบบและกลไกในการควบคุม  ตรวจสอบและประเมินการดำเนินงานของสถานศึกษาให้เป็นไปตามนโยบาย  เป้าหมายและระดับคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด โดยหน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษากำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง  มีการจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายในเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด และเปิดเผยต่อสาธารณชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและรองรับการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก
การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน หมายถึง การดำเนินการตามระบบประเมินคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดโดย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ซึ่งเกณฑ์มุ่งเน้นการสะท้อนคุณภาพด้านระบบและกลไก และกระบวนการจัดการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย 9 องค์ประกอบคุณภาพ
การประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก [3] หมายถึง การดำเนินการตามระบบประเมินคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดโดย สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
(สมศ.) ซึ่งเกณฑ์ต่าง ๆ มุ่งเน้นการสะท้อนคุณภาพด้านผลลัพธ์จากระบบการจัดการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย 18 มาตรฐาน และในปีการศึกษา 2555 ได้ถูกปรับให้มีการรายงานร่วมกับเกณฑ์ของ สกอ. ภายใต้กระบวนการที่ต้องดำเนินการประจำปี
2.2 โมเดล และเครื่องมือ
โมเดลเซกิ (SECI Model) [4] คือ แผนภาพแสดงความสัมพันธ์การหลอมรวมความรู้ในองค์กรระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) กับความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ใน 4 กระบวนการ เพื่อยกระดับความรู้ให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นวัฎจักร เริ่มจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socialization) การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization) การควบรวมความรู้ (Combination) และการผนึกฝังความรู้ (Internalization) และวนกลับมาเริ่มต้นทำซ้ำที่กระบวนการแรก เพื่อพัฒนาการจัดการความรู้ให้เป็นงานประจำที่ยั่งยืน
ภาษาพีเอชพี (PHP Language) [5] คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ประเภทโอเพนท์ซอร์ท (Open Source Computer Language) สำหรับพัฒนาเว็บเพจแบบไดนามิก (Dynamic Webpage) เมื่อเครื่องบริการได้รับคำร้องจากผู้ใช้ก็จะส่งให้กับตัวแปลภาษาทำหน้าที่ประมวลผลและส่งข้อมูลกลับไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ที่ร้องขอ ในรูปของภาษาเอชทีเอ็มแอล ภาพ หรือแฟ้มอิเล็กทรอนิกส์อื่นใด ลักษณะของภาษามีรากฐานมาจากภาษาซีเป็นภาษาที่สามารถพัฒนาให้ใช้งานแบบโต้ตอบกับผู้ใช้ได้
2.3 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
อัจฉรา แก้วละเอียด และผุสดี บุญรอด [6] ทำการศึกษาวิจัย เรื่อง การจัดการองค์ความรู้เชิงความหมายโดยใช้โมเดลเอสอีซีไอสำหรับตรวจสอบบัญชีคอมพิวเตอร์ เพื่อพัฒนาระบบการจัดการความรู้สำหรับตรวจสอบบัญชีคอมพิวเตอร์ กรณีศึกษา กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ โดยสร้างฐานความรู้ออนโทโลยีในรูปแบบโดเมนออนโทโลยี แล้วแปลงไปเป็นภาษาเอ็กซ์เอ็มแอลรองรับการค้นคืนเชิงความหมาย ใช้เครื่องมือคือ โปรแกรมโฮโซ ออนโทโลยี อีดิเตอร์ (Hozo-Ontology editor) มีวิธีการดำเนินงานวิจัย 3 ขั้นตอนคือ 1) การวิเคราะห์และออกแบบระบบจัดการองค์ความรู้โดยใช้โมเดลเอสอีซีไอ 2) การพัฒนาฐานความรู้และระบบการจัดการองค์ความรู้
3) การทดสอบระบบ โดยประเมินคุณภาพด้วยวิธีการแบบแบล็คบ็อกซ์ (Black box testing) มีผลประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญในระดับดี ค่าเฉลี่ย 4.16 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.63 มี
ผลประเมินโดยผู้ใช้ในระดับดี ค่าเฉลี่ย 4.12 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.64 ซึ่งสรุปได้ว่าฐานความรู้ออนโทโลยีและระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นสามารถจัดการองค์ความรู้ได้อย่างเหมาะสม
ณัฐพล สมบูรณ์ และนลินภัสร์ ปรวัฒน์ปรียกร [7] ทำการศึกษาวิจัย เรื่อง ระบบการจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ กรณีศึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง เพื่อพัฒนาระบบถามตอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศผ่านเว็บแอพพลิเคชั่น โดยใช้เทคนิคการจัดการความรู้ด้วยโมเดลปลาทู (Tuna Model) ที่มี 3 ส่วนคือ 1) การรวบรวมและจัดเก็บความรู้ แยกหมวดหมู่ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (KV=Knowledge Vision) 2) การกระจายความรู้ (KS=Knowledge Sharing)
3) การเก็บเข้าคลังความรู้ (KA=Knowledge Assets) มีวิธีการดำเนินงานวิจัย 2 ขั้นตอนคือ 1) การวิเคราะห์และออกแบบระบบ 2) การพัฒนาระบบ มีผลประเมินความพึงพอใจโดยผู้เชี่ยวชาญในระดับดี ค่าเฉลี่ย 4.46 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.23 มีผลประเมินโดยผู้ใช้ในระดับดี ค่าเฉลี่ย 3.89 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.86 ซึ่งสรุปได้ว่าระบบสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริงและช่วยในการถ่ายทอดความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กิตติยา สีอ่อน [8] ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโมเดลเชิงสาเหตุประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในสำหรับกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยสังเคราะห์งานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการประกันคุณภาพการศึกษา ได้แก่ คุณลักษณะของบุคลากรด้านความตระหนักถึงความสำคัญและการมีทัศนคติที่ดีต่อการประกันคุณภาพภายใน การทำงานเป็นทีม การฝึกอบรมพัฒนาบุคลากร ความพร้อมด้านทรัพยากรทั้งด้านจำนวนบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โครงสร้างองค์กรและการกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานประกันคุณภาพ วัฒนธรรมคุณภาพ ภาวะผู้นำของผู้บริหาร และขนาดขององค์กร ส่วนประสิทธิผลการประกันคุณภาพการศึกษามี 2 ส่วนคือ ประสิทธิผลระหว่างทาง ได้แก่ การบริหารจัดการแบบกระจายอำนาจ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การปฏิบัติงานแบบวงจรคุณภาพ และความพึงพอใจในงานของบุคลากร สำหรับประสิทธิผลสุดท้าย  ได้แก่ การบรรลุพันธกิจของสถาบัน
เมื่อศึกษาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จึงได้เพิ่มกลไกการตรวจเยี่ยมและใช้โมเดลเซกิขับเคลื่อนกระบวนการในการพัฒนาระบบ เพื่อให้เกิดการจัดการความรู้ไปสนับสนุนการจัดทำรายงานการประเมินตนเองที่สมบูรณ์

3. วิธีการดำเนินการวิจัย
3.1 ศึกษาข้อมูลเบื้องต้น
3.1.1 รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องทั้งทีมวิจัยและผู้มีบทบาทสำคัญต่องานประกันคุณภาพการศึกษา ทำความเข้าใจต่อกิจกรรม ข้อมูลและประเด็นปัญหา โดยมีเอกสารสำคัญคือ คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา และรายงานการประเมินตนเองที่ผ่านมา [1]
3.1.2 ประชากร คือ อาจารย์และเจ้าหน้าที่จำนวน 88 คน มีกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหาร และหน่วยงานที่รับผิดชอบการประกันคุณภาพการศึกษาจำนวน 7 คน ผู้รับผิดชอบองค์ประกอบคุณภาพระดับมหาวิทยาลัยจำนวน 8 คน บุคลากรในคณะวิชาที่รับผิดชอบองค์ประกอบจำนวน 10 คน หน่วยงานที่รับผิดชอบตัวบ่งชี้จำนวน 5 คน และผู้ประเมินภายใน 5 คน
3.2 กระบวนการจัดการความรู้
การพัฒนาระบบใช้กระบวนการจัดการความรู้ตามโมเดลเซกิ (SECI Model) ครอบคลุมวงจรการพัฒนาระบบ (SDLC) โดยเริ่มจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่นำไปสู่การสร้างโปรแกรมต้นแบบ (Prototype) แล้วจัดเวทีอบรมให้ทดลองใช้ นำผลการใช้และข้อเสนอแนะไปปรับปรุงระบบ หลังมีการใช้งานระบบแล้ว คณะวิชาก็จะนำข้อมูลในระบบไปพัฒนาความรู้ภายในคณะวิชา และรับการประเมินจากผู้ประเมิน แล้วนำข้อเสนอแนะกลับไปจัดเวทีเรียนรู้ภายในคณะวิชาต่อไป
3.3 วิเคราะห์และออกแบบระบบงานใหม่
การวิเคราะห์ระบบใช้วิธีศึกษาจากคู่มือการประกันคุณภาพภายในและภายนอก โดยออกแบบตามทฤษฎีระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ เก็บข้อมูลในมายเอสคิวแอล พัฒนาโปรแกรมด้วยภาษาพีเอชพี และเทคนิคเอแจ็กซ์ ทำการพัฒนาโปรแกรม นำเสนอต่อผู้ตรวจเยี่ยม คณะวิชา และผู้เกี่ยวข้อง
3.4 เก็บข้อมูลความพึงพอใจต่อการใช้งานโปรแกรม
เข้าเก็บข้อมูลจากคณะวิชา และผู้ประเมิน หลังผ่านช่วงเวลาของการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับคณะวิชา และระดับมหาวิทยาลัย มีจำนวน 8 คน
3.4.1 ใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานแสดงระดับความพึงพอใจ โดยแบบสอบถามใช้มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) แบบวัดเจตคติตามเทคนิคของลิเคิร์ท [9] 5 ระดับ คือ ดีมาก ดี พอใช้ น้อย และน้อยมาก
3.4.2 การแปลผลคะแนนสามารถสรุปเป็นระดับของความพึงพอใจ โดยนำระดับสูงสุดลบระดับต่ำสุดแล้วหารด้วยจำนวนช่วงที่ตั้งไว้ จึงได้เกณฑ์การแปลผลคะแนนดังนี้ มากที่สุดมีคะแนนเฉลี่ย 4.21–5.00   มากมีคะแนนเฉลี่ย 3.41–4.20
ปานกลางมีคะแนนเฉลี่ย 2.61–3.40  น้อยมีคะแนนเฉลี่ย 1.81–2.60 และน้อยที่สุดมีคะแนนเฉลี่ย 1.00–1.80

4. ผลการดำเนินงาน
4.1  การวิเคราะห์สถานการณ์ระบบฐานข้อมูล พบว่า มหาวิทยาลัยควรมีระบบที่จะประกันได้ว่าเมื่อเข้ากระบวนการประเมินตนเองจะมีผลประเมินอยู่ในระดับที่สูงขึ้น จึงจัดให้มีการตรวจเยี่ยมก่อนจัดทำรายงานที่สมบูรณ์ เพื่อให้มีกลไกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และปรับปรุงก่อนรับการประเมินจริงอย่างเป็นระบบ จึงได้มีการพัฒนาระบบบันทึกผลการตรวจเยี่ยมคุณภาพการศึกษา ตามเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษาของ สกอ. และสมศ. และพัฒนาระบบรายงานผลการตรวจเยี่ยมของกรรมการตรวจเยี่ยมระดับคณะวิชา โดยดำเนินการพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่บูรณาการกับการจัดการความรู้โดยใช้โมเดลเซกิ
4.2  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socialization) เป็นการจัดเวทีระหว่างผู้รู้ที่มีความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ที่เป็นผู้บริหารและผู้ทำงานด้านประกันคุณภาพมาร่วมแลกเปลี่ยนถึงบทเรียนจากการประเมินตนเองที่ผ่านมาและกำหนดประเด็นปัญหาที่ต้องการแก้ไข ได้ข้อสรุปเป็นการพัฒนาระบบตรวจเยี่ยม (Peer Visit) ที่จะยกระดับความสมบูรณ์ในการประเมินตนเอง

4.3 การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization) เป็นการกำหนดบทบาท กลุ่มเป้าหมาย ทำความเข้าใจกิจกรรมกับผู้รู้ที่มีความรู้ฝังลึกที่อยู่กับข้อมูลโดยตรง เพื่อให้สามารถสกัด และผ่องถ่ายออกเป็นความรู้ชัดแจ้ง โดยมีกิจกรรมอบรม เพื่อศึกษาความต้องการเพิ่มเติม กำหนดรูปแบบการพัฒนา ผ่านโปรแกรมต้นแบบที่นำเสนอในการอบรม พบว่า มีผลประเมินความพึงพอใจในระดับมาก (xˉ=3.94, S.D.=0.40)

4.4 การควบรวมความรู้ (Combination) เป็นการระบุความรู้ชัดแจ้งที่เกิดจากการเข้าตรวจเยี่ยมของผู้รู้ และส่งข้อเสนอแนะเข้าไปในระบบให้คณะวิชาได้เข้าถึง แล้วนำผลในรูปความรู้ใหม่ไปแบ่งปัน วิพากษ์ แลกเปลี่ยนภายในคณะวิชาและผู้ตรวจเยี่ยมภายใน เกิดเป็นความเข้าใจร่วมเป็นความรู้ชัดแจ้งใหม่ นำไปสู่การจัดทำรายงานการประเมินตนเองที่สมบูรณ์ พบว่า มีผลประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบตรวจเยี่ยมอยู่ในระดับมาก (xˉ=3.65, S.D.=0.64)

4.5 การผนึกฝังความรู้ (Internalization) เป็นการเลือกนำเสนอสารสนเทศในรูปของรายงานสมบูรณ์แก่ผู้ประเมินคุณภาพภายนอกในบทบาทของผู้รู้ที่ตรวจประเมินความรู้ชัดแจ้ง ผ่านระบบฐานข้อมูลภายนอก (CheQA) ที่มีการเผยแพร่สู่สาธารณะ แล้วให้ข้อเสนอแนะกลับแก่ผู้ถูกประเมิน ทำให้เกิดการพัฒนาเป็นความรู้ฝังลึกทั้งในคณะวิชา และมหาวิทยาลัย ส่งผลให้นำความรู้ไปพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเป็นวัฎจักร

5. สรุป
การใช้โมเดลเซกิเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาระบบตรวจเยี่ยมการประเมินตนเองสามารถใช้งานได้จริง ผลประเมินความพึงพอใจทั้งสองครั้งพบว่าอยู่ระดับมาก โดยครั้งแรกเป็นการฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนระหว่างผู้รู้ด้านการประกันคุณภาพ และผู้รู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่สองเป็นการประเมินความพึงพอใจของผู้ตรวจเยี่ยมหลังสรุปผลการตรวจเยี่ยม ด้วยแบบสอบถาม
แต่ผลประเมินความพึงพอใจครั้งแรกสูงกว่าครั้งที่สอง ซึ่งเกิดจากความไม่พร้อมของคณะวิชาในการรับการตรวจเยี่ยมตามร่างรายงานการประเมินตนเอง เมื่อผู้ประเมินเข้าตรวจเยี่ยมและได้รับข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้ความพึงพอใจต่อระบบตรวจเยี่ยมลดลง เนื่องจากผู้ใช้มีความต้องการที่หลากหลาย และคาดหวังความสมบูรณ์ต่อข้อมูลที่คณะวิชาส่งเข้าไปในระบบ อนึ่งระบบนี้เป็นระบบที่ใช้งานจริงและมีนโยบายที่จะใช้งานอย่างต่อเนื่อง จึงสามารถนำข้อเสนอแนะหลังการใช้งาน มาปรับปรุงระบบให้พร้อมใช้งานสำหรับปีการศึกษาต่อไป เพื่อสนับสนุนการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษา
ข้อเสนอแนะ คือ ควรเพิ่มกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากต่างคณะวิชา และภายในคณะวิชาเดียวกัน โดยบริการระบบฐานข้อมูลตรวจเยี่ยมที่เชื่อมกับข้อเสนอแนะต่าง ๆ และเร่งการจัดทำร่างรายงานการประเมินตนเองให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ก่อนจัดให้มีการตรวจเยี่ยมอย่างเป็นระบบ และมีนโยบายกำกับให้คณะวิชาดำเนินการตามแผนที่สามารถปฏิบัติได้จริง

เอกสารอ้างอิง
[1]     บุญรักษา สุนทรธรรม,  รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยโยนก, สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา, กรุงเทพฯ, 2550.
[2]     สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพฯ, 2553.
[3]    สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน), คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ระดับอุดมศึกษา, สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน), กรุงเทพฯ, 2555.
[4]    Nonaka, I. and H. Takeuchi, The Knowledge Creating Company, Oxford University Press, New York, 1995.
[5]     พร้อมเลิศ หล่อวิจิตร,  คู่มือเรียน PHP และ MYSQL สำหรับผู้เริ่มต้น,  บริษัทโปรวิชัน จำกัด., กรุงเทพฯ, 2549.
[6]    อัจฉรา แก้วละเอียด และผุสดี บุญรอด, “การจัดการองค์ความรู้เชิงความหมายโดยใช้โมเดลเอสอีซีไอสำหรับตรวจสอบบัญชีคอมพิวเตอร์,” the 9th National Conference on Computing and Information Technology (NCIT2013), กรุงเทพ, ประเทศไทย, 9-10 พ.ค.2556 หน้า 873-878.
[7]    ณัฐพล สมบูรณ์ และนลินภัสร์ ปรวัฒน์ปรียกร, “ระบบการจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ กรณีศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง,” the 9th National Conference on Computing and Information Technology (NCIT2013), กรุงเทพ, ประเทศไทย, 9-10 พ.ค.2556 หน้า 234-239.
[8]    กิตติยา สีอ่อน, โมเดลเชิงสาเหตุประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในสำหรับกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ, 2547.
[9]    L.W. Anderson,   Likert  Scales,  Education  Research  Methodology  and  Measurement : An  International  Handbook,  John,  D.  Keeves,  eds,  Victoria : Pergamon pp.427-428, 1988.

ชวนเสนอบทความในงาน NCCIT2014

ชวนเสนอบทความในงาน NCCIT2014

NCCIT2014 at Angsana Laguna Phuket
NCCIT2014 at Angsana Laguna Phuket

23 มกราคม 2557 ได้รับอีเมลชวนเสนอบทความในงาน NCCIT2014 อีกครั้งหนึ่ง
จาก คุณวัชรีวรรณ จิตต์สกุล [watchareewanj@hotmail.com]
ซึ่งผมสนใจส่ง paper เข้าร่วมนำเสนอหลายปีติดต่อกัน
ในกลุ่ม Information Technology and Computer Education
ว่าปีนี้จัดระหว่างพฤหัสบดีที่ 8 – ศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม 2014
ที่ Angsana Laguna, Phuket
http://www.angsana.com/en/phuket/

Call for paper NCCIT2014
The 10th National Conference on Computing and Information Technology (NCCIT2014)
8-9 May 2014 At Angsana Laguna, Phuket, Thailand by
King Mongkut’s University of Technology North Bangkok
http://www.nccit.net


NCCIT Areas of  Interest
Conference Topics Include (but not limited to):

– Data Mining and Machine Learning:
Artificial Neural Network, Fuzzy Systems, Hybrid Systems, Evolutionary Computation, Knowledge Discovery, Knowledge Transfer, Knowledge Management, Decision Support, Recommender Systems, Text Mining, and Web Mining.
– Data Network and Communication:
Computer Network, Security & Forensic, Wireless & Sensor Network, Telecommunication, Mobile Ad-Hoc Network, Cloud & Grid Computing, Decentralized computing, P2P networks, P2P protocols, and Semantic P2P networks.
– Human-Computer Interface and Image Processing:
Human Machine Interface, User Customization, Embedded Computation, Augmented Reality, Computer Vision, Feature detection, Medical image processing, and Facial recognition
– Information Technology and Computer Education:
Knowledge Management, Web Application, Web Service, Management Information System, Customer Relation Management, Ontology, Semantic Web and Enterprise Resource Planning, Software engineering and Computer Education

Important Dates(NCCIT)
Paper Submission for Review: January 31, 2014
Decision Notification: February 17, 2014
Camera Ready Version: March 3, 2014
Advanced Registration: March 5, 2014

Conference Format
The conference has two types of presentations: invited keynote
speakers and regular oral presentations. The proceedings of the
conference will be published and distributed in CD-contained format.

Paper Submission
Papers must be written inThai for NCCIT2014
and should describe original work in detail. Each regular
paper, according to instructions, must be accompanied by an
abstract summarizing the contribution it makes to the field.
Each paper will be reviewed by at least three reviewers. Submission of a
paper constitutes a commitment that, if accepted, one or more
authors will attend and participate in the conference. Electronic
submission in camera-ready format and author’s bibliography are
required. Please check information at http://www.nccit.net

Contact Information
Assoc. Prof. Dr.Phayung Meesad, NCCIT2014 Chair
Asst. Prof. Dr.Sirapat Boonkrong, NCCIT2014 Secretary
Faculty of Information Technology
King Mongkut’s University of Technology North Bangkok (KMUTNB)
Pracharat 1 Rd. Wongsawang, Bangsue Bangkok 10800.
Email: pym@kmutnb.ac.th; sirapatb@kmutnb.ac.th
Tel:  +662 555 2000  ext. 2711, 2719, 2726; Fax: +662 555 2734

http://www.thaiall.com/project/nccit07.htm

งานประชุมวิชาการระดับชาติที่กรุงเทพ (itinlife396)

I was interested in the ontology topic.
I was interested in the ontology topic.

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.10150179894897272.317163.350024507271

ในประเทศไทยมีการจัดประชุมทางวิชาการระดับชาติ และนานาชาติมากว่า 10 ปีแล้ว โดยส่วนใหญ่จัดโดยสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา สำหรับจังหวัดลำปางมีการรวมตัวกันของสถาบันทั้งในและต่างประเทศเพื่อจัดเวทีให้นักวิชาการ และนักศึกษาได้นำผลงานที่ได้จากการค้นคว้าวิจัยมานำเสนอในเวทีที่มีผู้สนใจในเรื่องคล้ายกัน  เป็นเวทีแลกเปลี่ยนและแบ่งปัน แต่เวทีแบบนี้มักเกิดที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 9 – 10 พ.ค.2556 ผู้เขียนได้ร่วมงานการประชุมทางวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพฯ โดยมี รศ.ดร.พยุง มีสัจ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นประธานจัดงานครั้งนี้

มีบทความเข้ารับการพิจารณาจำนวน 265 ผลงานที่มาจาก 40 สถาบัน ทุกบทความต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน หากได้รับการตอบรับอย่างน้อย 2 ใน 3 ท่านก็ถือว่าผ่านและเข้านำเสนอปากเปล่าในเวทีได้ ซึ่งปี 2556 มีบทความผ่านการพิจารณาทั้งสิ้น 161 ผลงาน จะบรรจุในเอกสารรวมเล่มรายงานผลวิจัยงานประชุมวิชาการ Proceedings of NCCIT 2013 บทความเหล่านี้มีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ และสามารถนำไปใช้งานได้จริง เพราะผ่านการวางแผน ทบทวน  ทดสอบ และสรุปผล รวมทั้งมีข้อเสนอแนะสำหรับผู้สนใจที่จะนำไปพัฒนาต่อยอด

การนำเสนอผลงานแบ่งออกเป็นห้อง ซึ่งผู้เข้าร่วมฟังจะมีค่าลงทะเบียน 2000 บาท ส่วนผู้นำเสนอมีค่าลงทะเบียน 4000 บาท แต่ผู้เข้าฟังไม่สามารถฟังทุกเรื่อง เพราะแบ่งห้องนำเสนอเป็นหลายห้องและทุกห้องนำเสนอพร้อมกัน จึงต้องเลือกหัวข้อในแต่ละห้องตามตารางนำเสนอ ซึ่งแบ่งได้ 4 กลุ่ม คือ Data Mining and Machine Learning, Data Network and Communication, Human-Computer Interface and Image Processing และ Information Technology and Computer Education ในปีนี้ผู้เขียนสนใจเรื่อง Ontology และ Semantic keyword ทำให้ได้เทคนิคในการพัฒนาระบบสืบค้นโดยใช้คำค้นที่ผ่านการทำออนโทโลยี ส่วนจะนำไปใช้กับข้อมูลระบบใดก็คงต้องเป็นคำถามใหม่ที่ต้องขบคิดกันต่อไป

http://www.thaiall.com/project/nccit07.htm

https://www.easychair.org/account/signin.cgi?conf=nccit2013

รูปแบบบทความ NCCIT

nccit diagram
nccit diagram

ชื่อบทความ (Anasana New ขนาด 20 จุด)
Title (Time New Roman, size 14 points)
ชื่อผู้แต่งไทย1 (English1)1  และชื่อผู้แต่งไทย2 (English Name2)2
1ชื่อภาควิชาหรือหน่วยงาน ชื่อคณะ ชื่อมหาวิทยาลัย
2ชื่อภาควิชาหรือหน่วยงาน ชื่อคณะ ชื่อมหาวิทยาลัย
name1@anywhare.com, name2@anywhere.com

บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นตัวอย่างสำหรับการเตรียมการเขียนบทความที่จะส่งให้คณะกรรมการพิจารณาลงพิมพ์ในเอกสารประกอบการประชุม NCCIT บทความนี้จะกล่าวถึงรูปแบบการเขียนบทความ ขนาดตัวอักษรที่ใช้ แบบตัวอักษรที่ใช้ในส่วนต่างๆ
คำสำคัญ: คำค้น1  คำค้น2  คำค้น3  คำค้น4  คำค้น5

Abstract
This paper presents a guideline for preparing a paper to submit to the NCCIT committee for considering publishing in the NCCIT proceeding. The paper describes the format, the sizes, and font types used in each section.
Keyword: word 1, word 2, word 3, word 4, word 5.

1. บทนำ
บทความที่จะส่งต้องใช้กระดาษขนาด A4 (21 ซ.ม. x 29.7 ซ.ม.) จำนวน 6 แผ่น (ห้ามเกินเด็ดขาด) โดยรวมทั้งเนื้อหาและภาพประกอบต่าง ๆ แล้ว   บทความนี้จะกล่าวถึงคู่มือการเขียนบทความทั้งในส่วนของขนาดตัวอักษร การเว้นระยะ และข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการเขียนบทความสำหรับลงพิมพ์ใน NCCIT Proceeding

2. รูปแบบบทความ
2.1 ขอบเขตกระดาษ
เนื้อหาในบทความต้องอยู่ภายในขอบเขต กว้าง 6-7/8 นิ้ว (17.5 ซ.ม.) และสูง 8-7/8 นิ้ว (22.54 ซ.ม.)  อย่าให้เนื้อหาใดอยู่นอกขอบเขตนี้  เนื้อหาต้องจัดให้อยู่ในสองคอลัมน์ แต่ละคอลัมน์มีความกว้าง 3-1/4 นิ้ว (8.25 ซ.ม.) และมีระยะห่างระหว่างคอลัมน์ทั้งสอง 5/16 นิ้ว (0.8 ซ.ม.) เนื้อหาต้องจัดแบบหน้าและหลังตรง (Justify)
2.2 บทคัดย่อ
บทความที่เขียนเป็นภาษาไทย ต้องมีบทคัดย่อเป็นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  สำหรับบทความภาษาไทยใช้คำว่า “บทคัดย่อ” เป็นหัวข้อเริ่มต้น ใช้ตัวอักษรแบบ AngsanaNew ขนาด 16 จุด ตัวหนาและจัดกลาง  เนื้อหาในบทคัดย่อให้ใช้ตัวอักษรแบบ AngsanaNew ขนาด 14 จุด ให้จัดแบบหน้าหลังตรงและตัวอักษรเอียง สำหรับบทความภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า “Abstract” เป็นหัวข้อเริ่มต้น ใช้ตัวอักษรแบบ Times New Roman ขนาด 12 จุด ตัวหนาจัดกลางหน้า   เนื้อหาในบทคัดย่อให้ใช้ตัวอักษรแบบ Times New Roman ขนาด 10 จุด ให้จัดแบบหน้าหลังตรงและตัวอักษรเอียง ระยะระหว่างบรรทัด 1.5 จุด  หลังจบบทคัดย่อ ให้เว้นระยะระหว่างบทคัดย่อกับเนื้อหาหลัก 1 บรรทัด บทคัดย่อควรยาวไม่เกิน 3 นิ้ว
บทคัดย่อ ให้เขียนสรุปย่อเกี่ยวกับงานวิจัยที่ทำ โดยกล่าวถึงปัญหาในงานเก่าหรือความต้องการ และกล่าวถึงสิ่งที่ได้นำเสนอเพื่อแก้ไข วัตถุประสงค์ วิธีการดำเนินการ และผลของการดำเนินการวิจัย อย่ากล่าวถึงสิ่งอื่นที่ไม่ได้นำเสนอในบทความ
2.3 เนื้อหาหลัก
ชื่อเรื่องอยู่หน้าแรก ห่างจากขอบบน 1-3/8 นิ้ว (3.49 ซ.ม.) จัดกลางหน้า ตัวหนา ชื่อเรื่องภาษาไทยให้ใช้รูปแบบตัวอักษร AngsanaNew ขนาด 20 จุด  ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษให้ใช้รูปแบบตัวอักษร Times New Roman ขนาด 14 จุด โดยคำนาม คำสรรพนาม คำคุณสรรพ คำกิริยา และคำขยายกิริยา ในภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่นำตัวเดียว ตัวอักษรที่สองเป็นต้นไปใช้ตัวพิมพ์เล็ก  สำหรับคำเชื่อมต่าง ๆ ให้ใช้ตัวอักษรพิมพ์เล็ก และให้เว้นบรรทัดหลังชื่อบทความสองบรรทัด
2.4 ชื่อผู้แต่ง และสถานที่ติดต่อ
สำหรับภาษาไทย ชื่อผู้แต่งและสถานที่ติดต่อ ใช้ตัวอักษร AngsanaNew ขนาด 14 จุด จัดกลางหน้า และตัวเอียง ดังที่แสดงตัวอย่างข้างบน  ถ้าเป็นภาษาอังกฤษให้ใช้ Time New Roman ขนาด 10 จุด ไม่ต้องใส่คำนำหน้าชื่อผู้แต่ง เช่น ยศ หรือตำแหน่ง โดยชื่อภาษาอังกฤษสามารถย่อชื่อต้นได้ เช่น Phayung Meesad อาจใช้ย่อเป็น P. Meesad
2.5 หน้าที่สองเป็นต้นไป
สำหรับหน้าที่สองเป็นต้นไป เนื้อหาให้เริ่มห่างจากขอบบน 1 นิ้ว (2.54 ซ.ม.)  และห่างจากขอบล่าง 1-5/8 นิ้ว (4.13 ซ.ม.) ของกระดาษ A4
2.6 รูปแบบ และชนิดตัวอักษร
ตัวอักษรภาษาไทยใช้ AngsanaNew ขนาด 14 จุด ส่วนภาษาอังกฤษตัวเลข สมการคณิตศาสตร์ ใช้ Times New Roman  ขนาด 10 จุด อย่าใช้ ตัวอักษรชนิด bit map
2.7 รูปแบบอักษรในเนื้อหาหลัก
การพิมพ์เนื้อหาภาษาไทยใช้ตัวอักษร AngsanaNew ขนาด 14 จุด และภาษาอังกฤษใช้ตัวอักษร Times New Roman ขนาด 10 จุด  ถ้าบรรทัดใดเป็นภาษาไทยล้วน หรือภาษาอังกฤษผสมไทย กำหนดระยะระหว่างบรรทัดเป็น single space ถ้าเป็นภาษาอังกฤษอักษรแบบ Times New Roman ให้ใช้ระยะระหว่างบรรทัดเป็น 1.5
ทุกย่อหน้าให้บรรทัดแรกขึ้นต้นที่ประมาณ 1 pica (ประมาณ 1/6-inch หรือ 0.17 นิ้ว หรือ 0.422 ซ.ม.) ใช้จัดย่อหน้าแบบหน้าตรงและหลังตรงทุกย่อหน้า  ไม่ต้องเว้นบรรทัดระหว่างย่อหน้าในหัวข้อย่อยเดียวกัน
สำหรับภาพและตาราง คำว่า “ภาพที่” และ “ตารางที่” AngsanaNew ขนาด 14 จุด ตัวหนา ส่วนรายละเอียดภาพและตารางให้ใช้ตัวอักษร AngsanaNew ขนาด 12 จุด ตัวธรรมดา ตัวอย่าง เช่น
ภาพที่ 1: นี่คือตัวอย่างภาพ
ตารางที่ 1: นี่คือตัวอย่างตาราง
2.8 หัวข้อลำดับที่ 1
ตัวอย่าง เช่น 1. บทนำ ภาษาอังกฤษและตัวเลขใช้ Times New Roman ขนาด 12 จุด ตัวหนา   ภาษาไทยใช้ AngsanaNew ขนาด 16 จุด ตัวหนา จัดชิดด้านซ้าย เริ่มต้นที่ด้านซ้านสุด ไม่ต้องมีย่อหน้า  เว้นบรรทัดหนึ่งบรรทัดก่อนหัวข้อลำดับที่หนึ่ง 1 บรรทัด และหลังหัวข้อลำดับที่หนึ่ง 1 บรรทัด ใช้จุด (“.”) หลังตัวเลขหัวข้อ (ตัวอย่างจากการเขียนเอกสารนี้)
2.9 หัวข้อลำดับที่ 2
ภาษาอังกฤษและตัวเลขใช้ Times New Roman ขนาด 11 จุด ตัวหนาและจัดแบบชิดซ้าย ส่วนชื่อหัวข้อภาษาไทยใช้ตัวอักษร AngsanaNew ขนาด 14 จุด ตัวหนา เว้นหนึ่งบรรทัดก่อนขึ้นหัวข้อลำดับที่ 2  ไม่ต้องเว้นบรรทัดหลังหัวข้อลำดับที่ 2 ให้ขึ้นเนื้อหาได้เลย (ให้ดูตัวอย่างจากการเขียนเอกสารนี้ประกอบ)

3.  การเขียนเนื้อหาหลัก
เนื้อหาหลักควรประกอบด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้ 1. บทนำ   2. วิจารณ์วรรณ หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  3. วิธีการใหม่ที่นำเสนอ/ขั้นตอนวิธีการดำเนินการวิจัย  4. ผลการดำเนินการวิจัย  และ  5. สรุป
3.1 บทนำ
บทนำหรือความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา โดยกล่าวถึงงานวิจัยในปัจจุบันมีสถานะเป็นอย่างไร งานวิจัยหรือสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมีปัญหาอะไร ให้ระบุปัญหาให้ชัดเจน มีวิธีการอะไรที่ใช้แก้ไขได้บ้างในปัจจุบัน สิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบันยังต้องการสิ่งใดที่จะทำให้ดีขึ้น ผู้เขียนจะนำเสนอสิ่งใดเพื่อแก้ไขหรือตอบสนองความต้องการนั้นๆ ระบุวัตถุประสงค์ของงานวิจัยให้ชัดเจน งานที่ทำนี้เป็นสิ่งใหม่ที่การดำเนินการมาก่อน เป็นงานที่ประยุกต์มาจากงานอื่น เป็นงานประดิษฐ์ เป็นการเปรียบเทียบระหว่างสิ่งเก่ากับสิ่งเก่า เป็นการเปรียบเทียบสิ่งเก่ากับสิ่งที่พัฒนาขึ้นใหม่ เป็นการหาผลสัมฤทธิ์ของวิธีการหรือสิ่งที่พัฒนาขึ้นในงานนี้ เป็นต้น
3.2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
เป็นการกล่าวถึงทฤษฎีและงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนี้ ทฤษฎีที่ใช้ในเป็นพื้นฐานสำหรับทำวิจัยนี้ โดยให้นำเสนอเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้องจริง ๆ หรือที่ใช้จริง ทฤษฎีที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงไม่ต้องนำเสนอ ส่วนงานวิจัยของผู้อื่นให้วิจารณ์จุดดีจุดด้อยของงานที่เกี่ยวข้อง และระบุปัญหาของงานเก่าเหล่านั้นว่ายังต้องการพัฒนาหรือทำอะไรต่อ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจในความแตกต่างระหว่างงานเก่าและงานวิจัยใหม่ที่นำเสนอในครั้งนี้ โดยใช้การอ้างอิงจากเอกสารงานวิจัยต่าง ๆซึ่งควรมีความใหม่ ควรมีจำนวนเอกสารอ้างอิงประมาณ 10-20 เรื่อง
3.3 วิธีการดำเนินการวิจัย
เป็นการนำเสนอนวัตกรรมที่นำเสนอ เทคนิคใหม่ที่นำเสนอ หรือ การประยุกต์ใช้ทฤษฎีเก่า  รวมทั้งการนำเสนอวิธีการดำเนินงานวิจัย โดยแสดงขั้นตอนในการออกแบบ การพัฒนา การทดลอง การทดสอบ การหาประสิทธิภาพ และการหาผลสัมฤทธิ์ของงาน   ถ้าเป็นนวัตกรรมใหม่ ต้องแสดงถึงขั้นตอนการออกแบบ การสร้าง การทดสอบ ถ้ามีการใช้ทฤษฎีของผู้อื่นต้องอ้างอิงไปที่ต้นฉบับด้วย ถ้าเป็นสิ่งที่ต้องการพิสูจน์ต้องมีขบวนการพิสูจน์ทางคณิตศาตร์ หรือการจำลองสถานการณ์ด้วย ในการนำเสนอเทคนิคใหม่ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบกับสิ่งเก่าด้วย  ถ้าเป็นงานประเภทประยุกต์ ต้องระบุถึงวิธีและเทคนิคที่ใช้มีอะไรบ้างและอ้างอิงจากที่ใด ระบุขั้นตอนการประยุกต์ การออกแบบระบบ การทดสอบ และอื่นๆ
3.4 ผลการดำเนินงาน
เป็นการอธิบายผลการการดำเนินงาน เช่น หน้าจอระบบที่ได้ ผลการทดสอบในกรณีต่างๆ ผลการหาผลสัมฤทธิ์ ผลการเปรียบเทียบ เป็นต้น
3.5 สรุป
กล่าวถึงสิ่งที่ทำทั้งหมด เริ่มจากมีปัญหาอะไร นำเสนอสิ่งใดในการแก้ปัญหา มีวิธีการทำอย่างไร ได้ผลลัพธ์อย่างไร และควรมีการอภิปรายถึงเหตุผลจากผลการวิจัย ตลอดจนการวิเคราะห์ว่างานวิจัยนี้มีปัญหาอะไรอีกบ้างที่ต้องการแก้ และจะทำวิจัยอะไรต่อในอนาคต

4. เลขหน้า
ไม่ต้องใส่เลขหน้าในบทความ

5. ภาพประกอบต่างๆ
ภาพทุกภาพให้ใช้ภาพสีขาวดำหรือสีเทาที่คมชัด ไม่ใช้ภาพสี ขนาดกว้างไม่เกินหนึ่งคอลัมน์

6. การส่งบทความ
ส่งบทความที่ได้รับการจัดรูปแบบ เขียนตามคำแนะนำ และพิสูจน์อักษรแล้ว (ไม่เกิน 6 หน้า) โดย ปิดชื่อเจ้าของบทความและสถาบัน ไม่ลงเลขหน้า สามารถส่งเอกสารเพื่อพิจารณาลงพิมพ์ เป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ pdf ไฟล์ (ควรทดลองพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์เพื่อตรวจดูคุณภาพให้เรียบร้อย) ก่อนส่งไปที่ https://www.easychair.org/login.cgi?conf=nccit2012

7. การอ้างแหล่งที่มาของเอกสารอ้างอิง
การอ้างอิงในเนื้อหา ให้อ้างเป็นตัวเลขในวงเล็บสี่เหลี่ยมเช่นกัน เช่น [1], [2], [3]  โดยจะถูกแสดงไว้ที่ เอกสารอ้างอิงท้ายบทความ ซึ่งใช้เป็นตัวเลขในวงเล็บสี่เหลี่ยม ตามลำดับการอ้างในเนื้อหา ในรายการเอกสารอ้างอิง เอกสารภาษาอังกฤษใช้ Times New Roman ขนาด 9 จุด ระยะระหว่างบรรทัดเป็น 1.5 และภาษาไทยใช้ AngsanaNew ขนาด 12 จุด ระยะระหว่างบรรทัดเป็น single spacing
ชื่องานวิจัยที่อยู่ใน Journal, Transactions, Magazine, หรือใน proceedings ของงานประชุมวิชาการ ให้เขียนอยู่ในเครื่องหมายคำพูด “ “  ส่วนชื่อ Journal, Transactions, Magazines, หรือ Proceedings ให้ใช้ตัวอักษรแบบเอียง
สำหรับเอกสารอ้างอิงประเภทหนังสือ ชื่อหนังสือ ให้ใช้ตัวอักษรแบบเอียง ตามด้วยสำนักพิมพ์ เมืองที่พิมพ์ และปีที่พิมพ์

เอกสารอ้างอิง
[1]    P. P. Lin, and K. Jules, “An intelligent system for monitoring the microgravity environment quality on-board the International Space Station,” IEEE Trans. on Instrumentation and Measurement, vol. 51, no. 5, pp. 1002-1009, 2002.
[2]     P. K. Simpson, “Fuzzy min-max neural networks-part 1: classification,” IEEE Trans. Neural Networks, vol. 3, no. 5, pp. 776-786, 1992.
[3]    S. Wu and T. W. S. Chow, “Induction machine fault detection using SOM-based RBF neural networks” IEEE Trans. on Industrial Electronics, vol. 51, no. 1, pp. 183-194, 2004.
[4]    P. Meesad, “A One Pass Algorithm for Generating Fuzzy Rules from Data” The 8th National Computer Science and Engineering Conference (NCSEC 2004), Hat Yai , Songkhla, Thailand, Oct 21-22, 2004.
[5]     P. Meesad and G. Yen, “Fuzzy Temporal Representation and Reasoning,” Proceedings of the IEEE International Symposium on Circuits and Systems (ISCAS03), Bangkok, Thailand, May 25-May 28, 2003, Vol. 5, pp.789-792.
[6]    P. Meesad and G. Yen, “Combined Numerical and Linguistic Knowledge Representation for Medical Diagnosis,” IEEE transactions on Systems, Man, and Cybernetics-Part A: systems and humans, Vol.33, No. 2, pp. 206-222, 2003.
[7]     P. Meesad and G. Yen, “Accuracy, Comprehensibility, and Completeness Evaluation of a Fuzzy Expert System,” International Journal of Uncertainty, Fuzziness and Knowledge-Based Systems (IJUFKS), Vol. 11, No. 4, pp. 445-466, 2003.
[8]     พยุง มีสัจ และ สมิช บัตรเจริญ, “การเปรียบเทียบผลพยากรณ์ปริมาณเลขหมายของชุมสายโทรศัพท์ระหว่างการถดถอย พหุคูณกับโครงข่ายประสาทเทียม” วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ  ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 เม.ย.-มิ.ย. 2548 หน้า 54-64.
[9]    พยุง มีสัจ และ สมพิศ โยมา, “ระบบสารสนเทศสำหรับงานการจัดการเรียนการสอนของระบบงานทวิภาคี,” วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา ปีที่ 16 ฉบับที่ 51 กรกฎาคม-กันยายน พ.ศ. 2547 หน้า 69-75.
[10]    Elaine Rich and Kevin Knight, Artificial intelligence, McGraw-Hill: New York, 1991.

http://www.nccit.net/paper_submission.html
http://www.nccit.net/download/Format_for_Thai_NCCIT2013.doc
http://www.scribd.com/doc/129217081/
http://www.thaiall.com/project/nccit07.htm

ร่ามกิจกรรมประชุมวิชาการ nccit

nccit 2011
nccit 2011

12 พ.ค.54 มหาวิทยาลัยโยนกร่วมเป็นเครือข่ายกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ(มจพ.) จัดการประชุมวิชาการระดับชาติ และนานาชาติ ในชื่องาน The Seventh National Conference on Computing and Information Technology ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ระหว่างวันที่ 11 – 12 พฤษภาคม 2554 โดยมี ผศ.บุรินทร์  รุจจนพันธุ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าร่วมเป็นกรรมการพิจารณาบทความ และนำเสนอผลงานวิชาการ เรื่อง การพัฒนาระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองสำหรับบุคคล กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยโยนก จังหวัดลำปาง โดยมี ดร.มนชัย เทียนทอง คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มจพ.และ ผศ.ดร.พยุง มีสัจ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มจพ. ให้การต้อนรับใกล้ชิด
+ http://www.nccit.net
+ http://www.thaiall.com/project/nccit07.htm
+ http://www.facebook.com/media/set/?set=a.10150179894897272.317163.350024507271

รายงานผลส่งเสริมร่วมประชุม nccit10

8 มิ.ย.53 รายงานการดำเนินงานโครงการ เรื่อง “โครงการส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิชาการในระดับชาติและระดับนานาชาติ” ตามรูปแบบที่กำหนดใช้งานภายในคณะฯ ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญ 4 หัวข้อ คือ 1) บทสรุปผู้บริหาร 2) สรุปผลการดำเนินงานโครงการ 3) ผลการประเมินตามโครงการ 4) สรุปบทเรียนที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ
     ขอสรุปเฉพาะหัวข้อที่ 3 และ 4 ดังนี้ หัวข้อที่ 3) ผลการประเมินตามโครงการ พบว่า โครงการมีตัวบ่งชี้ 2 ตัว คือ มีอาจารย์ผลิตผลงานวิชาการไปนำเสนอในเวทีระดับชาติอย่างน้อย 1 คน และมีอาจารย์ไปร่วมประชุมวิชาการในเวทีระดับชาติอย่างน้อย 3 คน ซึ่งผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ของโครงการพบว่าผ่านตามตัวบ่งชี้ทั้ง 2 ตัว สรุปว่าผ่านตัวบ่งชี้ที่ 1 คือ มีชื่ออาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปนำเสนอผลงานวิชาการในระดับชาติจำนวน 2 คน คือ  อ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ ซึ่งมากกว่าที่ตั้งไว้ 1 คน สรุปว่าผ่านตัวบ่งชี้ที่ 2 คือ มีอาจารย์ไปร่วมประชุมวิชาการในระดับชาติจำนวน 5 คน คือ 1) อ.อติชาต หาญชาญชัย 2) อ.วิเชพ ใจบุญ 3) อ.เกศริน อินเพลา 4) อ.ทนงศักดิ์ เมืองฝั้น และ 5) ผศ.บุรินทร์  รุจจนพันธุ์ ซึ่งมากกว่าที่ตั้งไว้ 3 คน
     หัวข้อที่ 4) สรุปบทเรียนที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ พบว่า บทเรียนจากการร่วมประชุมวิชาการ พบว่ามีนวัตกรรมมากมายที่มีการนำเสนอผ่านบทความวิชาการในการประชุมครั้งนี้ เช่น ระบบเครือข่ายประสาทเทียม ตารางจำแนก มาตรฐาน CMMI การพัฒนาฐานข้อมูลกับ Google Map การประเมินซอฟท์แวร์ด้วยทฤษฎีใหม่ เป็นต้น ซึ่งคณะวิชาควรสนับสนุนให้บุคลากรได้เข้าร่วมงานประชุม และกลับมาเขียนบทความจากงานวิจัย เพื่อไปนำเสนอในปีต่อไปเพิ่มขึ้น
+ http://www.thaiall.com/research/nccit10/report_project_nccit10.doc
+ http://www.thaiall.com/research/nccit10/report_seminar_nccit10.doc
+ http://www.thaiall.com/research/nccit10/report_form_science.doc

ส่งข่าวเรื่องการไปปฏิบัติงานประชุมวิชาการที่กทม

nccit 2010

6 มิ.ย.53 มหาวิทยาลัยโยนกร่วมเป็นเจ้าภาพกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จัดการประชุมวิชาการระดับชาติ ในชื่องาน The 6th National Conference on Computing and Information Technology and The 10 th International Conference on Innovative Internet Community Systems ณ โรงแรมอิสติน กรุงเทพฯ ในระหว่างวันที่ 3 – 5 มิถุนายน 2553 โดยมีบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าร่วมนำเสนอผลงานวิชาการ เกี่ยวกับการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา 
     โดยมี ดร.มนชัย เทียนทอง คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มจพ. ให้การต้อนรับใกล้ชิด ซึ่งบุคลากรที่ไปร่วมงานครั้งนี้ประกอบด้วย อ.วิเชพ ใจบุญ อ.อติชาต หาญชาญชัย อ.เกศริน อินเพลา อ.ทนงศักดิ์ เมืองฝั้น และ ผศ.บุรินทร์  รุจจนพันธุ์ ส่วนพี่ตี๋ทำหน้าที่ควบคุมการเดินทางให้ถึงที่หมายอย่างปลอดภัย
+ http://www.nccit.net

การเดินทางในเมืองหลวงที่แสนวุ่นวาย

แผนที่ผิด กับผู้ชี้ตำแหน่งใหม่

4 มิ.ย.53 เรื่องราวในวันที่ 2 และ 3 มิ.ย.53 เริ่มต้นจากทีมอาจารย์ของมหาวิทยาลัย เดินทางไปกรุงเทพฯ ร่วมประชุมวิชาการ nccit ในเวลากลางวันด้วยรถตู้ของมหาวิทยาลัย และเข้าพักค้างแรมในโรงแรม eastin (2300=1500) สุดหรูหนึ่งคืน โดยมีผมเป็นผู้กำแผนที่ในมือ จากแผนที่เราก็ไปถูกที่ถูกทาง แต่พบว่าแผนที่ระบุตำแหน่งผิด เมื่อสอบถามจากน้องเป็ก (คุณกาญจนา วิริยะพันธ์) และน้องแคทแว่น (คุณวัชรีวรรณ จิตตสกุล) ซึ่งเป็นกรรมการจัดงานและช่วยจองโรงแรม จึงไปถูกโรงแรมในเวลาเย็นแต่ฝนตกทำให้ไปไหนได้ไม่ไกล แล้วเราก็ลุยฝนไปทานอาหารเย็นร่วมกัน รวมค่าอาหาร 550 บาท สำหรับ 6 คน (ถูกเหลือเชื่อเพราะสั่งกว่า 10 รายการ)
     การค้างแรมเรามี 6 คน จึงเช่า 3 ห้อง แต่มีอาจารย์ผู้หญิงโสดหนึ่งท่าน ที่พักกับใครก็ไม่ได้ ถือเป็นจุดอ่อนของทีม ทำให้ผู้ชาย 3 คนพักห้องเดียวกัน แล้วบังเอิญผมพกเสื่อจากที่บ้านไป 1 ผืน จึงสรุปกันว่าใครเอาเสื่อมาคนนั้นก็นอนเสื่อ วันรุ่งขึ้นเริ่มทำงานในฐานะตัวแทนของมหาวิทยาลัยมาร่วมจัดงาน ช่วงเช้าฟังบรรยายจาก Prof.Dr.Wolfgang A. Halang และ Prof. Dr.Jesse Jin พักเที่ยงผมให้คูปองอาหารกับพี่ตี๋ แล้วผมก็เดินเท้าพร้อมเป้คอมพิวเตอร์จากโรงแรมหลงไปถึง Zen พอรู้ตัวก็ถ่ายภาพไว้ และเดินกลับโรงแรม
     เดินกลับมาเข้าฟังการนำเสนอช้าไปสิบนาที พอ break เพื่อนร่วมทีมก็ขอตัวกลับลำปาง เพราะเกรงว่าอยู่ฟังการนำเสนอผลงานวิชาการอีก 1.5 ชั่วโมง จะพบกับรถติด ทำให้กลับถึงลำปางดึกยิ่งขึ้นไป ตกเย็นผมเดินไป pantip ได้ภาพยนต์ csi ny+mi กับ dvd karaoke สำหรับครอบครัว แล้วมาร่วมงานเลี้ยง 19.00น. ตกดึกไปเล่นเน็ตในห้องนอน แต่มีปัญหาต้องเรียกช่างมาเปลี่ยน settopbox ที่นำเข้าจากมาเลเซีย เล่นได้สักพัก settopbox ก็ hang อีก ทำให้ผม video conference กับครอบครัวที่บ้านไม่สำเร็จ .. และแล้วก็เข้านอน ดึกมาก็ได้ยินเสียงผู้หญิงร้องไห้ในโรงแรมสุดหรู ในใจก็คิดว่าคงเป็นคนข้างห้อง และทำใจนอนต่อ
+ http://www.nccit.net
+ http://www.thaiall.com/project/nccit07.htm
     เพิ่มเติม : ผมจำได้ว่าในทีมของเรา อาจารย์ผู้หญิงเพียงคนเดียวของทีม เดินเข้าไปถามผู้นำเสนออย่างสนใจ ฟังอย่างตั้งใจในประเด็นที่ผู้นำเสนอได้ศึกษาวิจัยมา .. มิเสียแรงที่เขาศึกษามา แล้วมานำเสนอครับ และมิเสียแรงที่อาจารย์ผู้หญิงในทีมไปร่วมเข้าประชุมวิชาการในครั้งนี้ ..