#เล่าสู่กันฟัง 63-013 แนวคิดการศึกษาในโลกอนาคต

อ่านเรื่อง 9 แนวคิดการศึกษาในโลกอนาคตของแจ็ค หม่า ใน eduzones.com และเขียนบรรยายเพิ่มเติมได้น่าสนใจ มีประเด็นที่ผมสนใจ ว่าประเด็นเหล่านี้จะไปอยู่ในโลกอนาคต หรืออดีต หรือปัจจุบันอย่างไร

แล้วแยกคำออกมาตามหัวข้อในภาพ นึกถึงเรื่องจริยธรรม สอดคล้องข้อ 7 “มีหัวใจ” ที่อยากชวนนิสิตได้วิพากษ์ ในทั้ง 9 ข้อ

1. รายได้เป็น key point
2. ถูกต้อง เพิ่มการวิเคราะห์
3. ทำงานเป็นทีมในหมู่เด็ก
4. เป้าหมายการศึกษา สอบเข้าไม่พอ
5. เรียนรู้ตลอดชีวิต
6. เรียนรู้ให้เร็ว จบให้เร็ว
7. มีหัวใจ
8. โลกไร้พรมแดน
9. สร้างสรรค์และนวัตกรรม

ข้อ 9 นี่นึกถึง coding และ research
แต่ eduzones มองข้อ 9 เช่น ศิลปะ กีฬา เต้นรำ

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10157815247706171&id=284423006170

http://www.thaiall.com/ethics

ไม่ใช่ Dota2 หรือ ROV แต่นึกว่ากำลังหาคนเข้าทีม แล้วช่วยกันแบก

ประกาศไปว่า

นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน
วิชา xxx รหัสวิชา yyy ปีการศึกษา zzz
ให้เข้าจอยกลุ่ม abc ในเฟสบุ๊ค
ถ้าเข้าจอยได้ แสดงว่ามีทักษะพร้อมรบในเกมนี้
เตรียมรับสกิลไปต่อสู้กัน ในแต่ละเกมย่อย
เพื่อให้ชนะเกมแพ็ค ที่มีเวลาเล่นกันจนเชี่ยวชาญถึง 4 ปี
ถ้ายังไม่เชี่ยวชาญก็ขยายเวลาให้ถึง 8 ปี

conqueror
conqueror

แล้ว น้องแท็ก เค้าถามว่าทำไมพูดถึงเกม ผมก็ตอบว่า
ROV นี่ดีนะ
ทำให้เห็นแนวทางทำมาหากินของนักคอมพิวเตอร์
เค้าจึงเป็น Hero ของ นักคอมพิวเตอร์ในเอเชีย
และมี ทอง มากที่สุดในเอเชีย (ถ้าเค้าเปลี่ยนหุ้นเป็นทอง)
และมี Level สูงสุดในเอเชีย จัดอันดับโดย Forbes.com
แล้วใครเป็นลูกค้าทรงคุณค่า เค้าจะยกให้เป็น คนเก่งได้โล่
ยิ่งเก่งมาก โล่ก็จะสวยมากตามไปด้วย แล้วเงินก็เพิ่มขึ้นตามแนวตั้ง
forbes.com/../tencent-chairman-ma-huateng

แชร์ไปในกลุ่มนักศึกษาว่า
กำลังหาคนเข้าทีม แล้วช่วยกันแบก
ทุกเกมย่อย ผู้เล่นต้องแบกตนเองเป็นหลัก
แบกนาน 4 เดือน ไม่ใช่ 10 นาที

สู้บน 3 เลนหลัก คือ เลนมิด เลนไฟ เลนสับ
สู้นอกเลน มีทั้ง จอยคลาส แพคติส โปรเจค และพลังจิต
สกิลมี 5 แบบ คือ จำ เข้าใจ ประยุกต์ ปฏิบัติ และตรงเวลา
เวลาสู้ ไม่ได้สู้ตอนเผลอ แต่มีกำหนดเวลาและสถานที่
แล้วแลกหมัด เวท ดาบ ธนู ก๋งสติ๊ก ตามสกิล รายตัว ไม่มีออ
วัดสกิลชัดเจน ไม่ได้วัดกันตอนเผลอ มีเวลาให้เตรียมจนพร้อม
หากแพ้ในเลนมิด ก็ไปแก้ตัวในเลนไฟ ถ้าชนะทุกเลน เอา MVP ไป
หลังจบเกมมาดูว่าใครเป็น MVP หรือ ATM หรือ AFK หรือ LOSS หรือ WIN
กฎใหม่ คือ MVP มีได้หลายคน หรือไม่มีเลย
ถ้าได้ MVP ก็จะได้อันดับ Conqueror และ WIN พร้อมกัน
หรือ Diamon, Platinum ตามปริมาณทองที่เก็บได้ระหว่างสู้ด้วยสกิล
สกิลได้จากเกมนี้ ย่อมต่างจากเกมอื่น แต่ต่างกันไปตามวิชา
เพราะแม็พ3 และสกิล ต้องเรียนรู้ ฝึกฝนกันใหม่หมดตามธรรมชาติของวิชา
คนที่มีสกิลเทพในเกม Dota2 หรือ ROV อาจแพ้ในเกมนี้
ไม่ใช่เหมาว่า เทพเกมหนึ่ง จะมีสกิลเทพติดตัว ไปซะทุกเกม
เพราะเกมแพ็คนี้ เล่นกัน 4 ปี มีราว 48 เกมย่อย หรือ 48 ชุดทักษะ
แต่ละเกมย่อยจะเล่นกัน 4 เดือน รอบหนึ่งมี 6 เกมย่อยหรือ 6 ชุดทักษะ
โดยประมาณน่ะครับ

แนวคิดงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (5)

      หลายปีที่ผ่านมางานวิจัยในประเทศไทยมักถูกตั้งโจทย์โดยนักวิชาการ หน่วยงานต่างๆ เพียงเพื่อทดสอบทฤษฎีบางอย่างหรือต้องการหาคำตอบบางอย่าง ที่กลุ่มคนเหล่านั้นสนใจหรือเข้าไปทำวิจัยในท้องถิ่น เพื่อการวางแผน กำหนดนโยบายบางอย่าง เพื่อคลี่คลายปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ แต่ก็ยังเป็นที่กังขาว่า ผลงานวิจัย ได้ถูกนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ กับคนส่วนใหญ่หรือไม่ สามารถตอบคำถาม ในชุมชน และนำไปแก้ไขปัญหาได้จริงหรือไม่ มากน้อยเพียงใด เพราะหลายๆ ปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข และในบางปัญหา กลับดูเหมือนว่าจะรุนแรงมากขึ้น ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจาก ขาดการคำนึงถึงว่า ชุมชนต้องการจะคลี่คลาย ในสิ่งที่กลุ่มคนภายนอกเข้าไปศึกษาหรือไม่ กล่าวคือ ผู้ที่เกี่ยวข้อง มักจะไม่ได้นำงานวิจัยไปใช้ หรือไม่ตอบสนองกับปัญหาของชุมชนนั่นเอง
     สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงพยายามสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ ในการสนับสนุนงานวิจัย คือ “ไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตาม ที่จะทำวิจัย โจทย์ควรมาจากชุมชนท้องถิ่น ทำแล้วก่อให้เกิด ความเปลี่ยนแปลงในชุมชน ทำให้คนในชุมชน ได้เรียนรู้และเก่งขึ้น” บนฐานคิดตามความหมาย การวิจัยของศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก ที่ได้กล่าวไว้ว่า “วิจัยที่แท้จริงนั้น จะต้องเป็นการวิจัย ที่หมายความถึงการแสวงคำตอบที่เป็นระบบเปิด และเรื่องของการพัฒนา จะต้องตั้งโจทย์ที่เป็นระบบเปิด เพราะฉะนั้น นอกจากเข้าใจปัญหา และมองแนวทางในการแก้ปัญหา  เราก็มีโจทย์ ในการวิจัยนั้น ซึ่งได้ชี้ช่องทางให้เราเห็นถึง แนวทางการพัฒนา หมายความว่า เป็นการพัฒนาต่อไป เป็นการกำหนดแนวทาง การพัฒนาที่ขึ้นอยู่กับศักยภาพของท้องถิ่นโดยเฉพาะ การทำงานวิจัยในรูปนี้ เราจะต้องมองเงื่อนไข ศักยภาพ เพื่อที่จะให้ท้องถิ่น สามารถพัฒนาตัวเองต่อไปได้” ท้ายที่สุดแล้ว เมื่อมีงานวิจัย มีข้อมูลและประสบการณ์จากหลายๆ พื้นที่ หลายๆ ชุมชนทั่วประเทศเพียงพอ ก็คาดว่า จะสามารถนำไปสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ เพื่อผลักดัน สู่การเปลี่ยนแปลงนโยบาย ในระดับภาค ระดับประเทศ ทำให้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นคลี่คลายในที่สุด
     สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นองค์กร นอกระบบราชการ บริหารงานโดยอิสระ ภายใต้การกำกับ ของสำนักนายกรัฐมนตรี ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2536 เพื่อให้การสนับสนุนการวิจัย ด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และงานวิชาการด้านต่างๆ เพื่อการพัฒนาประเทศ โดยมีการแบ่งเป็นฝ่ายงานต่างๆ ได้แก่ฝ่าย นโยบายชาติ และความสัมพันธ์ข้ามชาติ ฝ่าย 2 เกษตร ฝ่าย 3 สวัสดิภาพสาธารณะ ฝ่าย 4 ชุมชน ฝ่าย 5 อุตสาหกรรม และฝ่ายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
     สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานภาค ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2541 เพื่อให้ดำเนินการ ในฝ่ายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ภายใต้แนวคิดใหม่ เน้นการสร้างกระบวนการ “ติดอาวุธทางปัญญา” (Empowerment) แก่ชุมชนและท้องถิ่น รวมทั้งเน้นให้ชุมชน ได้ใช้ประโยชน์จากกระบวนการวิจัย หรืออีกนัยหนึ่ง เป็นกลไกหนึ่ง ในการสร้างบรรยากาศ “การเรียนรู้ของทุกคน ทุกคนเรียนรู้ เรียนรู้ตลอดชีวิต เรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่” ตามเจตนารมณ์ ของพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
     ที่สำคัญคือ สกว.ภาค จะต้องเน้นการจัดการ และประสานให้เกิดความเชื่อมโยง ระหว่าง “ปัญญา” (นักวิจัย) และ “พัฒนา” (นักพัฒนา) ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด ระดับชาติ ที่ดำเนินงานแบบแยกส่วน ต่างคน ต่างทำอยู่ ในปัจจุบัน ดังคำขวัญ “สร้างสรรค์ปัญญา พัฒนาท้องถิ่น” เพื่อให้ “สังคมไทย ได้ใช้ความรู้และข้อมูลที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ ในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจ แทนการใช้ความรู้สึก หรืออารมณ์” นำไปสู่ความสามารถ ในการแก้ปัญหา พัฒนาตนเอง และพึ่งตนเองได้ในชุมชน ท้องถิ่น ตลอดจน การพัฒนาประเทศชาติ ที่ยั่งยืนในที่สุด 

เปรียบเทียบแนวคิด
เปรียบเทียบแนวคิด

ระบบการวิจัยเพื่อท้องถิ่น
     ศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ได้กล่าวถึงระบบการวิจัยเพื่อท้องถิ่นไว้ว่า จะต้องมีส่วนประกอบสำคัญ ดังต่อไปนี้
1. ระบบทรัพยากร
ต้องมีระบบทรัพยากรที่มาจากส่วนกลาง และส่วนท้องถิ่น
2. หน่วยงานจัดการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
ต้องมีหน่วยงานจัดการ งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ที่สามารถเรียนรู้ และพัฒนาศาสตร์และศิลป์ ในการจัดการ งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ที่เชื่อมโยง กับการจัดงานวิจัย ในภาพรวมของประเทศ ซึ่งหน่วยจัดการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นนี้ อาจมีหน่วยงานเดียว ดูแลทั้งประเทศ หรืออาจแยกเป็น 2 – 3 หน่วยงาน บางพื้นที่กันดูแลตามความเหมาะสม
3. นักบริหารวิจัยเพื่อท้องถิ่น
เนื่องจากการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ในประเทศไทยเป็นเรื่องใหม่ นักวิจัยเองยังไม่สันทัด ไม่คุ้นเคย และคนในท้องถิ่นเอง ก็ยังไม่คุ้นเคย จึงต้องการนักบริหารงานวิจัย เข้าไปจัดกระบวนการ แปรความต้องการ ของชาวบ้านให้เป็นโจทย์วิจัย จัดกระบวนการ เพื่อกำหนดกระบวนการ หรือวิธีวิจัย และแปลผลการวิจัย ตลอดจนนำผลการวิจัย ไปใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น ซึ่งนักบริหารงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จะต้องมีทักษะจำเพาะหลายด้าน ที่แตกต่าง ไปจากนักบริหารงานวิจัยโดยทั่วไป
4. สถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่น
ต้องมีการจัดตั้ง และส่งเสริมความเข้มแข็ง ขององค์กรทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ สถาบันการศึกษา องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรวิจัย และเทคโนโลยี เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นกลไก ในการรับใช้ชุมชนท้องถิ่น ในการส่งเสริมงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ควบคู่ไปกับการสร้างฐานความรู้เพื่อท้องถิ่น
5. นักวิจัยเพื่อท้องถิ่น
ควรประกอบด้วย นักวิจัยจากหลายหลายสาขาวิชา หลายพื้นฐานประสบการณ์ แต่มีส่วนที่เหมือนกัน หรือมีเจตนารมณ์ร่วมกันคือ ต้องการเข้ามาอำนวยความสะดวก ให้ชาวบ้านสร้างความรู้ เพื่อใช้ในการพัฒนาท้องถิ่นของตน
6. นักวิจัยเชิงทฤษฎี
นักวิจัยเชิงทฤษฎีจะต้องเข้ามาจับภาพรวม ภาพใหญ่ พัฒนาเป็นทฤษฎีที่สร้างขึ้นเองภายในประเทศ จากข้อมูลท้องถิ่น ซึ่งในขณะนี้แทบจะไม่มีทฤษฎีทางสังคมที่สร้างขึ้นเองภายในประเทศจากข้อมูลท้องถิ่นเลย
7. ระบบข้อมูลเพื่อการวิจัยท้องถิ่น
ข้อมูลส่วนหนึ่ง (ซึ่งเป็นข้อมูลส่วนใหญ่ที่ต้องการ) คือ ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของชาวบ้านทั่วประเทศ ประเด็นที่สำคัญ คือ ความแม่นยำและทันสมัยของข้อมูล จะต้องมีการจัดเก็บและเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ และมีการประมวลและใช้ข้อมูลในแต่ละท้องถิ่นให้เป็นประโยชน์
     ระบบการวิจัยเพื่อท้องถิ่นในประเทศไทย ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น จึงยังต้องการการพัฒนาอีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการบริหารจัดการ จึงควรเป็นระบบเปิด ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว เป็นการนำไปสร้างความรู้ เท่ากับว่าผู้ที่เกี่ยวข้องต้องช่วยกันพัฒนาระบบนี้ โดยมีเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ คือ “สังคมไทย มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน บนฐานความรู้ และการสร้างความรู้ในทุกส่วนของสังคม”
ข้อมูลจาก http://www.geocities.com/db2545/book1/03.html
http://www.vijai.org/Tool_vijai/05/01.asp