หลักของพาเรโต 80/20 มีตัวอย่างในหลายสาขาวิชา

output is hello world
output is hello world

The distribution is claimed to appear in several different aspects
relevant to entrepreneurs and business managers.
For example:
    80% of problems can be attributed to 20% of causes.
    80% of a company’s profits come from 20% of its customers
    80% of a company’s complaints come from 20% of its customers
    80% of a company’s profits come from 20% of the time its staff spend
    80% of a company’s sales come from 20% of its products
    80% of a company’s sales are made by 20% of its sales staff

http://c2.com/cgi/wiki?EightyTwentyRule

ตัวอย่างทางคอมพิวเตอร์ก็มี 4 ตัวอย่าง
1. Microsoft noted that by fixing the top 20% of the most-reported bugs, 80% of the related errors and crashes in a given system would be eliminated.
ไมโครซอฟต์บันทึกไว้ว่า การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย 20% ที่รายงานมากที่สุด จะทำให้ปัญหาที่เกี่ยวข้องอีก 80% ถูกจัดการไปด้วย
2. In load testing, it is common practice to estimate that 80% of the traffic occurs during 20% of the time.
ในการทดสอบการโหลด พบว่า 80% ระหว่างการโหลดนั้น ทุ่มไปกับ 20% ที่เป็นเรื่องของเวลา
http://www.somkiat.cc/think-before-load-testing/
3. In software engineering, Lowell Arthur expressed a corollary principle: “20 percent of the code has 80 percent of the errors. Find them, fix them!”
โลเวล อาร์เธอร์ นำเสนอหลักการข้อพิสูจน์ว่า “20% ของโค้ด มีข้อผิดพลาดอยู่ 80% ค้นหาและแก้ไขซะ”
Lowell Arthur คือ ผู้สั่งการภารกิจ Apollo 13
https://en.wikipedia.org/wiki/Jim_Lovell (James Arthur “Jim” Lovell, Jr.)
4. Software frameworks have often been observed to make 80% of use cases easier to implement and 20% of use cases much more difficult to implement.
กรอบซอฟต์แวร์ถูกพบได้บ่อยว่าการทำโปรแกรมเพื่อใช้ที่ง่ายขึ้น 80% มาจากส่วนที่ยากขึ้น 20%
อ้างอิงจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Pareto_principle

ตามคลิ๊ปอธิบายกฎนี้ว่า
อะไรก็ตามที่อยู่เต็ม 100%
80% จาก 100% จะถูกครอบครองโดย 20%
และอะไรก็ตามที่เหลือจาก 20% จะถูกครอบครองโดย 80%


วิลเฟรโด พาเรโต นักเศรษฐศาสตร์ชาวอิตาเลี่ยน
พูดถึงหลักของพาเรโต ตั้งแต่ค.ศ.1895
โดยอธิบายว่า “สิ่งที่สำคัญจะมีอยู่เป็นจำนวนที่น้อยกว่าสิ่งที่ไม่สำคัญ
หรือ “สิ่งที่มีประโยชน์จะมีอยู่เป็นจำนวนที่น้อยกว่าสิ่งที่ไม่มีประโยชน์
ในอัตราส่วน 20 ต่อ 80 หรือ ที่เรียกกันว่า กฎ 80/20
[ด้านเศรษฐศาสตร์]
การผลิตของมีตำหนิขึ้น 20% จะเป็นปัญหา 80% ของปัญหาทั้งหมด
เสื้อผ้า 100 ตัว จะใจประจำอยู่เพียง 20 ตัว
จับกลุ่มทำรายงาน 10 คน จะมีเพียง 2 – 3 คนที่เป็นแกนนำ
อ่านหนังสือ 100 หน้า จะมีเพียง 20 หน้าเท่านั้นที่ถูกนำมาออกข้อสอบ
คน 100 คนทำงาน มีเพียง 20 คนที่มุ่งมั่นทำงาน และเจริญก้าวหน้า
ร้านขายของชำมีสินค้านับ 100 รายการ แต่รายได้ 80% มาจากสินค้าเพียง 20%
ประเทศทุนนิยม คนรวย 20% สร้างรายได้ให้ประเทศเป็น 80% ของรายได้ทั้งประเทศ
มูลค่ารายจ่ายกว่า 80% มาจากรายการที่ใช้จ่ายเพียง 20% ของรายการทั้งหมด
อ้างอิงจาก http://www.oknation.net/blog/knowledge09/2009/08/15/entry-1

อ้างอิงเพิ่มเติม http://www.clairenewton.co.za/my-articles/paretos-principle-the-80-20-rule.html

หลักการ (Principles)

8 ส.ค.53 มีหลักการอยู่มากมายเหลือเกินที่มนุษย์พัฒนาขึ้นมา แต่ละหลักมีรายละเอียด และองค์ประกอบที่แตกต่างกันไป บางเรื่องก็มีหลักการที่ใช้อ้างอิงประกอบการตัดสินใจได้หลายหลักการ อาทิ ปัญหาเสื้อแดง และเสื้อเหลือง ที่ใช้หลักนิติศาสตร์ หลักเศรษฐศาสตร์ หลักประชาธิปไตย ทุกหลักมีความถูกต้องตามหลักสมเหตุสมผล แต่มองกันคนละมุม บางคนอ้างอิงหลักเดียวกัน แต่มองในมุมของตนเอง ก็จะได้ผลเป็นคนละขั้ว ลองดูว่ารอบตัวเรามีหลักอะไรบ้าง ผมจึงยกร่างขึ้นมาประกอบการคิด เพราะอนาคตอาจต้องนำไปใช้ประกอบการทำงาน ในการวางแผน ดำเนินการ ประเมิน และปรับปรุงกิจกรรมก็เป็นได้ .. ถ้าท่านใดจะนำไปใช้ก็สามารถนำไปแตกระดับออกไปได้อีกนับไม่ถ้วน เหนือจินตนาการที่ผมจะวางลงไปในแผนที่ความคิดนี้ได้หมด
บางคนบอกว่า บ้านเมือง สังคม องค์กร หรือแม้แต่ตัวเขาเองก็ไม่เคยสนใจ ผมก็ยังคิดว่าเขาก็มีหลักของเขา คือ .. หลักของเขา (His Principle)

แนวคิดงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (5)

      หลายปีที่ผ่านมางานวิจัยในประเทศไทยมักถูกตั้งโจทย์โดยนักวิชาการ หน่วยงานต่างๆ เพียงเพื่อทดสอบทฤษฎีบางอย่างหรือต้องการหาคำตอบบางอย่าง ที่กลุ่มคนเหล่านั้นสนใจหรือเข้าไปทำวิจัยในท้องถิ่น เพื่อการวางแผน กำหนดนโยบายบางอย่าง เพื่อคลี่คลายปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ แต่ก็ยังเป็นที่กังขาว่า ผลงานวิจัย ได้ถูกนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ กับคนส่วนใหญ่หรือไม่ สามารถตอบคำถาม ในชุมชน และนำไปแก้ไขปัญหาได้จริงหรือไม่ มากน้อยเพียงใด เพราะหลายๆ ปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข และในบางปัญหา กลับดูเหมือนว่าจะรุนแรงมากขึ้น ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจาก ขาดการคำนึงถึงว่า ชุมชนต้องการจะคลี่คลาย ในสิ่งที่กลุ่มคนภายนอกเข้าไปศึกษาหรือไม่ กล่าวคือ ผู้ที่เกี่ยวข้อง มักจะไม่ได้นำงานวิจัยไปใช้ หรือไม่ตอบสนองกับปัญหาของชุมชนนั่นเอง
     สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงพยายามสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ ในการสนับสนุนงานวิจัย คือ “ไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตาม ที่จะทำวิจัย โจทย์ควรมาจากชุมชนท้องถิ่น ทำแล้วก่อให้เกิด ความเปลี่ยนแปลงในชุมชน ทำให้คนในชุมชน ได้เรียนรู้และเก่งขึ้น” บนฐานคิดตามความหมาย การวิจัยของศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก ที่ได้กล่าวไว้ว่า “วิจัยที่แท้จริงนั้น จะต้องเป็นการวิจัย ที่หมายความถึงการแสวงคำตอบที่เป็นระบบเปิด และเรื่องของการพัฒนา จะต้องตั้งโจทย์ที่เป็นระบบเปิด เพราะฉะนั้น นอกจากเข้าใจปัญหา และมองแนวทางในการแก้ปัญหา  เราก็มีโจทย์ ในการวิจัยนั้น ซึ่งได้ชี้ช่องทางให้เราเห็นถึง แนวทางการพัฒนา หมายความว่า เป็นการพัฒนาต่อไป เป็นการกำหนดแนวทาง การพัฒนาที่ขึ้นอยู่กับศักยภาพของท้องถิ่นโดยเฉพาะ การทำงานวิจัยในรูปนี้ เราจะต้องมองเงื่อนไข ศักยภาพ เพื่อที่จะให้ท้องถิ่น สามารถพัฒนาตัวเองต่อไปได้” ท้ายที่สุดแล้ว เมื่อมีงานวิจัย มีข้อมูลและประสบการณ์จากหลายๆ พื้นที่ หลายๆ ชุมชนทั่วประเทศเพียงพอ ก็คาดว่า จะสามารถนำไปสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ เพื่อผลักดัน สู่การเปลี่ยนแปลงนโยบาย ในระดับภาค ระดับประเทศ ทำให้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นคลี่คลายในที่สุด
     สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นองค์กร นอกระบบราชการ บริหารงานโดยอิสระ ภายใต้การกำกับ ของสำนักนายกรัฐมนตรี ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2536 เพื่อให้การสนับสนุนการวิจัย ด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และงานวิชาการด้านต่างๆ เพื่อการพัฒนาประเทศ โดยมีการแบ่งเป็นฝ่ายงานต่างๆ ได้แก่ฝ่าย นโยบายชาติ และความสัมพันธ์ข้ามชาติ ฝ่าย 2 เกษตร ฝ่าย 3 สวัสดิภาพสาธารณะ ฝ่าย 4 ชุมชน ฝ่าย 5 อุตสาหกรรม และฝ่ายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
     สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานภาค ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2541 เพื่อให้ดำเนินการ ในฝ่ายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ภายใต้แนวคิดใหม่ เน้นการสร้างกระบวนการ “ติดอาวุธทางปัญญา” (Empowerment) แก่ชุมชนและท้องถิ่น รวมทั้งเน้นให้ชุมชน ได้ใช้ประโยชน์จากกระบวนการวิจัย หรืออีกนัยหนึ่ง เป็นกลไกหนึ่ง ในการสร้างบรรยากาศ “การเรียนรู้ของทุกคน ทุกคนเรียนรู้ เรียนรู้ตลอดชีวิต เรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่” ตามเจตนารมณ์ ของพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
     ที่สำคัญคือ สกว.ภาค จะต้องเน้นการจัดการ และประสานให้เกิดความเชื่อมโยง ระหว่าง “ปัญญา” (นักวิจัย) และ “พัฒนา” (นักพัฒนา) ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด ระดับชาติ ที่ดำเนินงานแบบแยกส่วน ต่างคน ต่างทำอยู่ ในปัจจุบัน ดังคำขวัญ “สร้างสรรค์ปัญญา พัฒนาท้องถิ่น” เพื่อให้ “สังคมไทย ได้ใช้ความรู้และข้อมูลที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ ในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจ แทนการใช้ความรู้สึก หรืออารมณ์” นำไปสู่ความสามารถ ในการแก้ปัญหา พัฒนาตนเอง และพึ่งตนเองได้ในชุมชน ท้องถิ่น ตลอดจน การพัฒนาประเทศชาติ ที่ยั่งยืนในที่สุด 

เปรียบเทียบแนวคิด
เปรียบเทียบแนวคิด

ระบบการวิจัยเพื่อท้องถิ่น
     ศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ได้กล่าวถึงระบบการวิจัยเพื่อท้องถิ่นไว้ว่า จะต้องมีส่วนประกอบสำคัญ ดังต่อไปนี้
1. ระบบทรัพยากร
ต้องมีระบบทรัพยากรที่มาจากส่วนกลาง และส่วนท้องถิ่น
2. หน่วยงานจัดการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
ต้องมีหน่วยงานจัดการ งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ที่สามารถเรียนรู้ และพัฒนาศาสตร์และศิลป์ ในการจัดการ งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ที่เชื่อมโยง กับการจัดงานวิจัย ในภาพรวมของประเทศ ซึ่งหน่วยจัดการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นนี้ อาจมีหน่วยงานเดียว ดูแลทั้งประเทศ หรืออาจแยกเป็น 2 – 3 หน่วยงาน บางพื้นที่กันดูแลตามความเหมาะสม
3. นักบริหารวิจัยเพื่อท้องถิ่น
เนื่องจากการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ในประเทศไทยเป็นเรื่องใหม่ นักวิจัยเองยังไม่สันทัด ไม่คุ้นเคย และคนในท้องถิ่นเอง ก็ยังไม่คุ้นเคย จึงต้องการนักบริหารงานวิจัย เข้าไปจัดกระบวนการ แปรความต้องการ ของชาวบ้านให้เป็นโจทย์วิจัย จัดกระบวนการ เพื่อกำหนดกระบวนการ หรือวิธีวิจัย และแปลผลการวิจัย ตลอดจนนำผลการวิจัย ไปใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น ซึ่งนักบริหารงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จะต้องมีทักษะจำเพาะหลายด้าน ที่แตกต่าง ไปจากนักบริหารงานวิจัยโดยทั่วไป
4. สถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่น
ต้องมีการจัดตั้ง และส่งเสริมความเข้มแข็ง ขององค์กรทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ สถาบันการศึกษา องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรวิจัย และเทคโนโลยี เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นกลไก ในการรับใช้ชุมชนท้องถิ่น ในการส่งเสริมงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ควบคู่ไปกับการสร้างฐานความรู้เพื่อท้องถิ่น
5. นักวิจัยเพื่อท้องถิ่น
ควรประกอบด้วย นักวิจัยจากหลายหลายสาขาวิชา หลายพื้นฐานประสบการณ์ แต่มีส่วนที่เหมือนกัน หรือมีเจตนารมณ์ร่วมกันคือ ต้องการเข้ามาอำนวยความสะดวก ให้ชาวบ้านสร้างความรู้ เพื่อใช้ในการพัฒนาท้องถิ่นของตน
6. นักวิจัยเชิงทฤษฎี
นักวิจัยเชิงทฤษฎีจะต้องเข้ามาจับภาพรวม ภาพใหญ่ พัฒนาเป็นทฤษฎีที่สร้างขึ้นเองภายในประเทศ จากข้อมูลท้องถิ่น ซึ่งในขณะนี้แทบจะไม่มีทฤษฎีทางสังคมที่สร้างขึ้นเองภายในประเทศจากข้อมูลท้องถิ่นเลย
7. ระบบข้อมูลเพื่อการวิจัยท้องถิ่น
ข้อมูลส่วนหนึ่ง (ซึ่งเป็นข้อมูลส่วนใหญ่ที่ต้องการ) คือ ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของชาวบ้านทั่วประเทศ ประเด็นที่สำคัญ คือ ความแม่นยำและทันสมัยของข้อมูล จะต้องมีการจัดเก็บและเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ และมีการประมวลและใช้ข้อมูลในแต่ละท้องถิ่นให้เป็นประโยชน์
     ระบบการวิจัยเพื่อท้องถิ่นในประเทศไทย ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น จึงยังต้องการการพัฒนาอีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการบริหารจัดการ จึงควรเป็นระบบเปิด ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว เป็นการนำไปสร้างความรู้ เท่ากับว่าผู้ที่เกี่ยวข้องต้องช่วยกันพัฒนาระบบนี้ โดยมีเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ คือ “สังคมไทย มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน บนฐานความรู้ และการสร้างความรู้ในทุกส่วนของสังคม”
ข้อมูลจาก http://www.geocities.com/db2545/book1/03.html
http://www.vijai.org/Tool_vijai/05/01.asp