ปรับความสูงของ site-header หรือระยะห่างต่าง ๆ ใน wordpress

style css
style css

แฟ้ม style.css ของ Theme: Twenty sixteen
ใน wordpress มีกำหนดไว้เยอะมาก
ตัวหนึ่งที่ใช้กำหนดความสูงของ header คือ site-header

inspector chrome
inspector chrome

การกำหนดให้ padding: เป็น 0em และ 0%
ทำให้ส่วนของ header มีขนาดเล็กลง
ไม่ต้องมีขอบกินพื้นที่ของเนื้อหา

inspector firefox
inspector firefox

การตามแก้ไข css ใช้ inspector ของ browser
ทั้ง firefox และ chrome ช่วย developer ได้มาก
หาตำแหน่งได้ง่ายขึ้นมาก โดยกด ctrl-shift-i
จากนั้นคลิ๊ก inspector
เมื่อทราบว่าตำแหน่งใดที่กำหนด css ผ่านตัวใด ก็เข้าแก้ไขได้
เช่น

ลดขนาด margin-top หรือ padding เป็น 0em เป็นต้น
ลดขนาด margin top กับ left ของ site เหลือ 2px
ลดขนาด padding ของ site-content
จาก padding: 0 4.5455%; เป็น padding: 0 1%;
เพิ่มขนาด width: 71.42857144%; เป็น 80%
ของ body.no-sidebar:not(.search-results) article:not(.type-page) .entry-content
ลดขนาด width: 21.42857143%; เป็น 10%
ของ body:not(.search-results) article:not(.type-page) .entry-footer

ประเพณีพี่พาน้องเตียวขึ้นดอย ปลูกฝ้าย ปั่นฝ้าย สายบุญ จุลกฐิน ถิ่นล้านนา 2559

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1170288079693368&set=oa.1278119572253910
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1170288079693368&set=oa.1278119572253910

 

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1170292013026308&set=oa.1278119572253910
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1170292013026308&set=oa.1278119572253910

นักศึกษาน้องใหม่ 2559 ร่วมแรงร่วมใจ
ทำกิจกรรมสืบสานวัฒนธรรม เมื่อ 29-30 ต.ค.59
ชื่อโครงการ “ประเพณีพี่พาน้องเตียวขึ้นดอย ปลูกฝ้าย ปั่นฝ้าย สายบุญ จุลกฐิน ถิ่นล้านนา

ณ #วัดสามัคคีบุญญาราม พระนาคปรกปางมหานาค
#วัดดอย #วัดพระนาคปรก จังหวัดลำปาง
https://www.facebook.com/watsamakeeboonyaram
เป็นการทำบุญทอดกฐิน รายได้เพื่อสร้างพระอุโบสถ
ที่อยู่บนม่อนพญาหงส์เหิน ภายในวัด
โดยมีอาจารย์ เจ้าหน้าที่ร่วมกิจกรรม และเป็นที่ปรึกษาใกล้ชิด
ร่วมกับศรัทธาของวัด และชุมชนใกล้เคียง

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1170292416359601&set=oa.1278119572253910
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1170292416359601&set=oa.1278119572253910

เนื่องจากมีโอกาสถ่ายภาพ และคลิ๊ปที่เป็น stop motion
ตามคุณสมบัติของกล้อง กำหนดช่วงเวลาไว้ 1 วินาที
ถ่าย 2 เรื่องคือ เดินขบวนของน.ศ. แห่ต้นกฐินและผ้าฝ้ายที่ทอเสร็จ
และคลิ๊ปแบบย่นย่อเวลาแสดงเส้นทางจากศาลาวัดไปหลักกิโลยัก
จึงนำคลิ๊ปมาต่อกันเป็น slide show  ร่วมกับภาพของนักศึกษา
ซึ่งพบภาพสวย ๆ ในกลุ่ม Nation_university
ที่โพสต์โดย ศุภณัฐ สุนันต๊ะ [น้องนัด กาซีล๊อต]
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1170345866354256&set=a.283216758400509.72340.100001365628513
จึงนำมาทำเป็นสไลด์ภาพบนสมาร์ทโฟนด้วย App : Vivavideo
เกี่ยวกับอุโบสถที่อยู่บนสุดของม่อนนั้น ได้สร้างเสร็จไปแล้วบางส่วน
มีศรัทธาร่วมบริจาค หรือทำกิจกรรมร่วมทำบุญในครั้งนี้หลายกอง
อาทิ คุณพุทธชาติ แคท รัตกาล ก็ทำเสื้อจำหน่าย สมทบการสร้างอุโบสถ
โดยอุโบสถที่สร้างขึ้นอย่างสวยงามนี้ ข้างในเน้นสีทองและสีเขียว
ระเบียงของอุโบสถ และเสาด้านในใช้หินอ่อนสีเขียวสวยงามมาก
https://www.facebook.com/179537642095106/photos/pcb.1164236173625243/1164235806958613/

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1170284973027012&set=oa.1278119572253910
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1170284973027012&set=oa.1278119572253910

ภาพโดย “น้องนัดกาซีล๊อต”
1. 55 photos
https://www.facebook.com/media/set/?set=oa.1278119572253910
2. 66 photos
https://www.facebook.com/media/set/?set=oa.1278787235520477

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10154605393473895&set=pb.814248894.-2207520000.1477817136.
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10154605393473895&set=pb.814248894.-2207520000.1477817136.

อัลบั้ม ปี 2559
https://www.facebook.com/ajburin/media_set?set=a.10154605387988895.1073741918.814248894

อัลบั้ม ปี 2558
https://www.facebook.com/ajburin/media_set?set=a.10154605387988895.1073741918.814248894

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1171037916285051&set=oa.1278787235520477
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1171037916285051&set=oa.1278787235520477

คนหลังไมค์กับ ดีเจน้ำหวาน และดีเจอาร์ตี้

ดีเจน้ำหวาน--คุณพนิตพิมพ์ ทั่งเชียงใหม่ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ๊กซ์เอเจนซี่ จำกัด
ดีเจน้ำหวาน–คุณพนิตพิมพ์ ทั่งเชียงใหม่ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ๊กซ์เอเจนซี่ จำกัด

อ่านในไลน์พบ อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง เล่าว่า
ช่วงเช้าวันนี้ 26 ต.ค.59 นักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 ขอเรียนเชิญทุกท่านเข้าร่วมโครงการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “คนหลังไมค์” พบกับ ดีเจน้ำหวาน–คุณพนิตพิมพ์ ทั่งเชียงใหม่ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ๊กซ์เอเจนซี่ จำกัด และดีเจอาร์ตี้–คุณสุรพันธ์ แสงสุวรรณ์ นักจัดรายการสถานีวิทยุ XFM Chiangmai เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ ความคิด และมุมมองในการดำเนินการวิทยุกระจายเสียง พร้อมชี้แนวทางความสำเร็จในการทำงานและต่อยอดไปถึงอาชีพอื่นๆ ที่ห้องประชุม 4201 อาคาร 4 งานเริ่ม 10.30-12.00 น.

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=984110598383159&set=pcb.984117065049179&type=3&theater
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=984110598383159&set=pcb.984117065049179&type=3&theater

https://www.facebook.com/phanitphim.tchiangmai

อ่านแล้วก็สนใจ นำมาแชร์ต่อ
ทำให้นึกถึงเหตุการณ์ และ เรื่องวิทยุกระจายเสียง
ที่หมายถึงการส่งคลื่นวิทยุ เงื่อนไขของอุปกรณ์ กฎหมาย เครื่องบริการออนไลน์
และอื่น ๆ อีกมากมาย
เมื่อก่อนเคยรู้จักเพื่อนที่ทำเรื่องนี้หลายท่านด้วย

ดีเจอาร์ตี้--คุณสุรพันธ์ แสงสุวรรณ์
ดีเจอาร์ตี้–คุณสุรพันธ์ แสงสุวรรณ์

สรุปว่าจะนำเรื่องนี้ไปเล่าให้นักศึกษาฟัง
เพราะมี SoundCloud.com ที่นักศึกษา
สามารถใช้เป็น cloud storage เก็บเสียงใส ๆ ได้
ผมมี 2 บัญชีด้วยเหตุผลเรื่องโควตา
https://soundcloud.com/thaiall
https://soundcloud.com/gthaiall

 

ผมร้องเพลง “สาวเชียงใหม่”
https://soundcloud.com/gthaiall/chiangmai-lady-by-lampang-man

 

นี่ถ้าไม่นึกถึง ranking นะครับ
แต่ถ้าสนใจความเป็นเครือข่ายเพื่อน และจำนวนผู้ฟัง
ก็คงต้องแนะนำให้ไป youtube.com
เพราะคนเยอะที่สุด เทียบกับ social media ด้วยกัน
สรุปว่าชอบกระบวนการด้านเสียงครับ

ข้อมูลเรื่อง youtube.com อันดับหนึ่ง
http://www.digitalthailand.in.th/news-detail-16
– อันดับ 1 Social Media ที่นิยมสูงสุดคือ Youtube ถูกใช้ในอัตรา 97.3%
– อันดับ 2 Social Media ที่นิยมใช้คือ Facebook ถูกใช้ในอัตรา 94.8%
– อันดับ 3 Social Media ที่นิยมใช้คือ LINE ถูกใช้ในอัตรา 94.6%
– อันดับ 4 Social Media ที่นิยมใช้คือ Instagram ถูกใช้ในอัตรา 57.6%
– อันดับ 5 Social Media ที่นิยมใช้คือ Twitter ถูกใช้ในอัตรา 35.5%
– อันดับ 6 Social Media ที่นิยมใช้คือ Whatsapp ถูกใช้ในอัตรา 13.7%
– อันดับ 7 Social Media ที่นิยมใช้คือ Linkedin ถูกใช้ในอัตรา 11.4%

ภาพกิจกรรมคนหลังไมค์ในกลุ่มของมหาวิทยาลัย
https://www.facebook.com/media/set/?set=oa.1275093215889879

คลิ๊ปนี้ของ Prince EA เรื่องระบบการศึกษาโดนใจ ชอบในแบบของผม

 

think about tree
think about tree

กำลังคิดจะชวนนักศึกษาปีนต้นไม้ แบบที่ Prince EA ว่าเลย
แต่ไม่ได้สอนให้ปีนขึ้น หรือลงอย่างเดียว
สอนเข้าไปเก็บทีละใบ เปลี่ยนกิ่ง เปลี่ยนใบ
สอนสร้างต้นไม้ สอนเรียงใบไม้ใหม่
และสอนให้รู้จักต้นไม้หลายสายพันธ์
จะได้เลือกใช้เลือกปีนถูกวิธี
สรุปว่า ผมกำลังสอนลิงอยู่ครับ ไม่ได้สอนปลาให้ปีนต้นไม้
โดยหวังว่าพวกเค้าจะชอบต้นไม้ ไม่หนีกันไปดำน้ำซะหมด

มองเรื่องเด็ก ๆ
พบว่า หลัง ม.3 มีทางเลือกเยอะเลย
สรุปว่าจะเลือก ปีนต้นไม้ ดำน้ำ เดินดิน หรือบิน
นักเรียน คือ ผู้เลือก และเป็นมานานแล้ว
ท้ายที่สุด ทุกระบบมีเป้าหมายสำหรับผู้เลือกแต่ละคน
ถ้าเลือกจะปีนต้นไม้ แต่ถึงเวลาบอกว่าชอบดำน้ำ
สงสัยต้องพึ่ง Flipped Classroom แล้วหละครับ

ทำไมต้องคิดต่างจากคลิ๊ป ผมคล้อยตามคลิ๊ปเรื่องปฏิรูประบบการศึกษาเลย

เห็นคลิ๊ปเรื่อง I just sued the school system.
ผมล่ะคล้อยตามเลย ว่าโรงเรียนสอนให้เด็ก ๆ เหมือนกันทั้งประเทศ
ระบบการศึกษาของโรงเรียนสอนให้เด็ก ๆ เหมือนกันหมดทั้งประเทศ

ปฏิรูประบบการศึกษา เห็นเหมือนกัน แต่เห็นไม่เหมือนกัน
ปฏิรูประบบการศึกษา เห็นเหมือนกัน แต่เห็นไม่เหมือนกัน

http://thainame.net/edu/?p=1114

เอ๊ะ มีข้อสงสัยนิดนึง
พอข้อมูลน่าสนใจเรื่อง “ดัชนีการศึกษา รายจังหวัดของไทย
ที่นำเสนอในบทความของ ดร.ไกรยส ภัทราวาท เมื่อ 6 มิถุนยน 2557
พบว่า เด็กทั้งประเทศแยกตามจังหวัดแล้วไม่เหมือนกัน มีทั้งเก่งและอ่อน
มีทั้งปีนต้นไม้เก่งเป็นลิง และว่ายน้ำเป็นอย่างเดียว
– เขียวเข้มมี 15 จังหวัด
– เขียวอ่อนมี 14 จังหวัด
– เหลืองมี 14 จังหวัด
– ส้มมี 16 จังหวัด
– แดงมี 17 จังหวัด
http://apps.qlf.or.th/member/UploadedFiles/prefix-06062557-043420-2Mw1R1.pdf

ดัชนีการศึกษา รายจังหวัดของไทย พบว่าไม่เหมือนกัน
ดัชนีการศึกษา รายจังหวัดของไทย พบว่าไม่เหมือนกัน

ระบบการศึกษาสมัยนี้เหมือนกัน แต่ก็เหมือนไม่หมดนะ .. ที่ต่างก็มี
เพราะเห็นเค้าปรับระบบโรงเรียนให้สอนต่างกันตามความสามารถ
ปรับการคัดเลือกจาก admission เป็น entrance
เดี๋ยวนี้
ปีนต้นไม้เก่ง ก็เป็นโรงเรียนสอนปีนต้นไม้
ว่ายน้ำเป็นอย่างเดียว ก็เป็นโรงเรียนสอนว่ายน้ำ

เดี๋ยวนี้ถึงมี
– โรงเรียนพระ สำหรับผู้ทรงศีล
– โรงเรียนดนตรี สำหรับผู้ชอบร้องรำทำเพลง
– โรงเรียนกีฬา สำหรับผู้มีหัวใจเป็นนักกีฬา
– โรงเรียนชาวเขา สำหรับชาวเขา
– โรงเรียนประจำจังหวัด สำหรับคนที่จะไปปีนต้นไม้
– โรงเรียนเล็ก สำหรับน้อง ๆ ที่จบไปจะค้าขาย
– โรงเรียนกวดวิชา สำหรับเด็กที่อยากบินไปในนภา
– โรงเรียนนานาชาติ สำหรับเด็กที่อยากพูดหลายภาษา

http://www.thaiall.com/student/
https://www.facebook.com/PrinceEa/videos/vb.71760664768/10154982214184769/

ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง นโยบายยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา

ต่อไปผู้ประกอบการก็จะทราบว่านักศึกษาที่มาสมัครงาน
มักจะต้องมีเอกสารที่มีผลสอบวัดระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษ
ระดับ B1 ก็จะถือว่าใช้ได้

เทียบระดับที่ใช้ได้
เทียบระดับที่ใช้ได้
เทียบระดับ
เทียบระดับ
CEFR image
https://languageresearch.cambridge.org/956-ep-new/cefr

 Introductory Guide to the CEFR (pdf)

ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา
เรื่อง นโยบายยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา

นโยบายยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา
นโยบายยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา

เอกสาร PDF แชร์ไว้ที่
https://www.facebook.com/groups/thaiebook/posts/689529874531167/

นโยบายยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา
นโยบายยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา

ข้อที่ 5 “ให้สถาบันอุดมศึกษาพิจารณาจัดให้นิสิตนักศึกษาทุกคน ทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษตามแบบทดสอบมาตรฐานระดับอุดมศึกษา ที่สถาบันสร้างขึ้น หรือที่เห็นสมควรจะนำมาใช้วัดสมิทธิภาพทางภาษาอังกฤษ (English Proficiency) โดยสามารถเทียบเคียงผลกับ Common European Framework of Reference for Languages (CEFR) หรือมาตรฐานอื่น เพื่อให้ทราบระดับความสามารถของนิสิตนักศึกษาแต่ละคน และสถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณานำผลการทดสอบความรู้ทางภาษาอังกฤษบันทึกในใบรับรองผลการศึกษา หรือจัดทำเป็นประกาศนียบัตร โดยเริมตั้งแต่ปีการศึกษา 2559

เทียบ placement test กับ CEFR ใน speexx
เทียบ placement test กับ CEFR ใน speexx
certificate equivalency
certificate equivalency

เทียบระดับ SPEEXX กับ CEFR
https://www.speexx.com/portals/speexx-campus/en/cefr.htm

cefr level
cefr level

คำถามถึงผู้สูงอายุ เป็นห่วยโซ่ จากอดีตสู่อนาคต

คำถามถึงผู้สูงอายุ จากอดีตสู่อนาคต
คำถามถึงผู้สูงอายุ จากอดีตสู่อนาคต

เกือบปลายปี 2559 ได้พูดคุยกับทีมคณะกรรมการเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดลำปาง (คค.สจ.ลำปาง) แล้วร่วมเป็นคณะอนุกรรมการวิชาการพัฒนายกร่างประเด็น การจัดการแบบบูรณาการเพื่อสร้างความเข้มแข็งในครอบครัว สู่สุขภาวะเด็ก และเยาวชน แล้วเมื่อ 24 ก.ย.59 ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับ ดร.กาญจนา ภาสุรพันธ์ นักวิชาการอิสระ และ คุณกรพินธุ์ วงศ์เจริญ พมจ. ลำปาง (เจี๊ยบ) ก่อนหน้านั้น 28 พ.ย.58 ได้พูดคุยกับกลุ่มพฤฒพลังลำปาง ที่ขับเคลื่อนโดย อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง และ ดร.สุจิรา หาผล

วันนี้ (25 ก.ย.59) ไปเดินที่ศาลาเอนกประสงค์ หมู่ 13 ต.บ่อแฮ้ว อ.เมือง จ.ลำปาง ผู้ใหญ่เรียกให้ลูกบ้านที่มีของเก่า นำของเก่ามาขาย เห็นระบบและกลไก จึงนึกถึงกลุ่มผู้สูงอายุ หรือพฤฒพลังลำปาง เพราะอีก 1 รอบ ผมก็ต้องเป็นผู้สูงอายุ ที่อาจต้องเป็นภาระให้คนหนุ่มสาวมาดูแลก็เป็นได้ มีคำถามว่า “ถ้า ผู้สูงอายุ รวมตัวกันได้ จะทำอะไร เพื่อ ให้มีความสุข ตราบจนวาระสุดท้าย

ก่อนหน้านี้ อ.ปาล์ม สาขาสาธารณสุข ก็เล่าให้ฟังว่าจะลงพื้นที่ลำปางโมเดล
และเห็นการขับเคลื่อนการพัฒนาผู้สูงอายุ ของทุกตำบล เป็นโรงเรียนผู้สูงอายุ
มีกิจกรรมเดือนละ 1 หรือ 2 ครั้ง .. น่าสนใจมากครับ

ที่มาของคำถามนั้น
เนื่องจากนึกถึงนารวมที่คนนิคมพัฒนา ร่วมแรงร่วมใจกันลงแขก
ผมกับเพื่อนทีมวิจัย และนักศึกษาสาขาสาธารณสุขก็ยังเคยไปร่วมกันเกี่ยวข้าวมาแล้ว
https://www.facebook.com/506818005999002/photos/?tab=album&album_id=761676820513118

การรวมกลุ่มกันเป็นสังคมนี่ดีนะครับ
มีพลังมหาศาล เสกอะไรก็ได้ดั่งใจหลาย แต่คนเราจะยอมรวมกลุ่มกัน ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
เคยเห็นในภาพยนตร์เรื่อง The Mission แล้วก็ถึงกับอึ้งไปเหมือนกัน
การเปลี่ยนแปลงไม่เคยง่ายเลยสักครั้ง

หรือ การเปลี่ยนแปลงประเทศของเหมาเจ๋อตุงก็เหมือนกัน
จะยึดที่นาของคนรวยให้คนจนก็มีคนมากมายไม่เห็นด้วย
ตอนที่ 3/5

ได้เห็นคลิ๊ปนายกศิริพร ปัญญาเสน  ทำโรงเรียนชาวนาพิชัย จ.ลำปาง

นายธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ไปเปิดป้ายโรงเรียนชาวนา
เป็นกิจกรรมพัฒนาเยาวชน เตรียมสร้างทายาทเกษตรกรรุ่นใหม่


วิกฤตคนเกิดน้อย
เห็นกระทบที่เป็นข่าวก็โรงเรียนปิดหรือยุบรวมโรงเรียน แต่การกระทบนี้ใหญ่หลวงนัก
ดูจากพีระมิดจำนวนประชากร ที่จะกระทบขึ้นไปในห่วงโซ่ของสังคม
https://www.facebook.com/thaiall/photos/a.423083752271.195205.350024507271/10154554540217272/?type=3&theater

24 ก.ย.59 ประชุมครั้งที่ 3 ร่างประเด็นฯ
https://www.facebook.com/ajburin/media_set?set=a.10154399859253895.1073741908.814248894&type=3
28 พ.ย.58 พฤฒพลังลำปาง
https://www.facebook.com/ajburin/media_set?set=a.10153659525548895.1073741879.814248894&type=3

ประเทศจีนมีความเสมอภาค
ยุคของเหมาเจ๋อตุง เล่าโดยฝรั่งหลายคน
..จีนเป็นสังคมศักดินา ซึ่งคนรวยจำนวนน้อยอยู่อย่างสุขสบาย..
ตอนที่ 3/5 ประกาศโครงการปฏิรูปที่ดิน ยึดที่ดินจากเจ้าของที่ดินศักดินา
แล้วจัดแบ่งให้กับผู้ทำงานในที่ดินนั้น
เจ้าของที่ดินถูกประจานต่อหน้าสาธารณะชน แต่หลายเมืองก็ไม่พอใจ
ตอนที่ 1/5

ตอนที่ 2/5

ตอนที่ 3/5

ตอนที่ 4/5

ตอนที่ 5/5

เกรดเท่าไร เป็นเงินเท่าไร แต่ แม่ไม่คิดเงิน

เกรดเฉลี่ย 3.0 เท่ากับคันเนี้ย
เกรดเฉลี่ย 3.0 เท่ากับคันเนี้ย

เห็น อ.เกียรติ แชร์เรื่อง “เกรดเฉลี่ยเทอมแรก” น่าสนใจ
ทีแรกว่าจะไม่คลิ๊กอ่านล่ะ
แต่เห็นว่าได้ 2.5 แล้วคิดเท่ากับเงินหมื่น จากภาพเห็นถึง 3.0
ก็เอะใจ ขึ้นมาตะหงิด ๆ สงสัยใครรู้ขึ้นมา
ว่า ถ้าได้เกรดเฉลี่ยสูงไปถึง 3.25 หรือ 4.0 แล้ว
น้องเค้าจะคิดว่าเท่ากับอะไรที่สูงกว่า MSX 1 คันนะ
พอดีข้อมูลที่ให้มาหยุดที่ 3.0 (CGPA : Cumulative Grade Point Average)

อันที่จริงเรื่องนี้นึกถึงเรื่อง “แม่ไม่คิดเงิน
สรุปคือ เด็กชายคิดค่าตัดหญ้า ค่าทำความสะอาดบ้าน เท่านั้น เท่านี้
แต่แม่หยิบปากกามาเขียนด้านหลังว่า
เก้าเดือนอุ้มทองไม่คิด และไม่คิดอีกเยอะแยะ
สุดท้าย ลูกก็บอกว่าไม่คิดตังล่ะ
http://www.kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=5028
http://writer.dek-d.com/dek-d/writer/view.php?id=137222
http://www.2jfk.com/son_salary.htm

เกรดเฉลี่ยเทอมแรก
2.5 = 10,000
2.7 = 15,000
2.9 = ไอโฟน 7
3.0 = MSX 1 คัน
http://hilight.kapook.com/view/142303

เปลี่ยนชื่อกระทรวงไอซีที (itinlife570)

Ministry of Digital Economy and Society
Ministry of Digital Economy and Society

ในฐานะประชาชนของประเทศที่เห็นการเปลี่ยนแปลง รู้สึกเชื่อมั่นว่าการเปลี่ยนแปลงย่อมนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ประเทศเรากำลังเปลี่ยนไปใช้คำว่าประเทศไทย 4.0 คือ การเปลี่ยนแปลงหรือการพัฒนาไปสู่บริบทใหม่ที่เคยเป็นประเทศอุตสาหกรรมไปสู่การเป็นประเทศที่ใช้นวัตกรรม ซึ่งต่างจากเดิมอย่างสิ้นเชิง เมื่อ 5 เมษายน 2559 มติคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบทั้งแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล แล้ว 15 กันยายน 2559 ในราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 17) ให้ตั้ง กระทรวงดิจิทัลเศรษฐกิจและสังคม แทน กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หลังกระทรวงเดิมจัดตั้งขึ้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2545 เป็นเวลาเกือบ 14 ปี

ใน พ.ร.บ.ข้างต้นมีการยกเลิกกฎเดิมบางเรื่อง การโอนอำนาจหน้าที่ กิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน บุคลากร และที่เกี่ยวข้องจากกระทรวงเดิมไปไว้กับกระทรวงใหม่ และพบว่ามีชื่อส่วนราชการใหม่ใน มาตรา 21/2 คือ สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ต่อมามีการเผยแพร่ภาพสัญลักษณ์ใหม่ของกระทรวงที่กรมศิลปากรออกแบบ โดยมีความหมายในแต่ละองค์ประกอบดังนี้ ใช้พระพุธอยู่ตรงกึ่งกลาง เป็นสัญลักษณ์แทนภูมิปัญญา มีความรอบรู้เป็นเลิศ พระหัตถ์ซ้ายถือคัมภีร์ แสดงถึงความรอบรู้ในวิทยาการต่าง ๆ พระหัตถ์ขวาเปล่งรัศมีเป็นวงแทนคลื่นดิจิทัล ซึ่งต่อมาก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงคาดหวังว่าจะได้เห็นสัญลักษณ์ที่มีความทันสมัยกว่านี้ แล้วได้ชื่อกระทรวงเป็นภาษาอังกฤษว่า Ministry of Digital Economy and Society

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีมาแล้ว 13 คน คนสุดท้ายของกระทรวงคือ ดร.อุตตม สาวนายน ลาออกเมื่อ 12 กันยายน 2559 ต่อมา พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีก็เข้ามารักษาการแทน ก่อนการเปลี่ยนชื่อกระทรวงพบว่ามีการดำเนินการพัฒนาด้านดิจิทัลตามแผนอย่างต่อเนื่อง อาทิ การพัฒนาบุคลากรในศูนย์ดิจิทัลเพื่อชุมชนที่ต่อยอดมาจากศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน เป็นการขับเคลื่อนการพัฒนาบุคลากรในศูนย์ที่จะกลายเป็นผู้พร้อมขับเคลื่อนชุมชนต่อไป การขับเคลื่อนประเทศไปสู่การเป็นประเทศไทย 4.0 จะผลิกโฉมประเทศได้รวดเร็วเพียงใดตามวิสัยทัศน์ของผู้บริหารประเทศ เป็นเรื่องที่ต้องติดตามและร่วมกันขับเคลื่อนในบทบาทของคนไทยคนหนึ่งไปพร้อมกัน

http://www.thaiall.com/digitalcommunity/

https://www.facebook.com/digitalcommunitycenter/

http://www.posttoday.com/biz/gov/454713

https://www.ega.or.th/th/content/890/10417/

 

ปี 2560 จะเป็นปีสุดท้ายที่มีมหกรรมรับตรง

มหกรรมรับตรง
มหกรรมรับตรง

 

ทราบข่าวว่า ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองต้องการลดความเหลื่อมล้ำ
เห็นว่ามหกรรมรับตรงเป็นปัญหาระดับประเทศ

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10154465889553895&set=a.10150933077238895.437258.814248894
จึงเปลี่ยนแนวปฏิบัติ ห้ามสถาบันการศึกษารับตรงแบบเดิม
ทำให้ปี 2560 จะมีมหกรรมรับตรงเป็นปีสุดท้าย
ดังนั้นปี 2561 เด็กไทยจะไม่พบปัญหาวิกฤตแบบนี้
เด็กทุกคนจะได้โอกาสเท่าเทียมกัน
คือ จบ ม.6 ก่อนแล้วจึงมีสอบใหญ่พร้อมกันครั้งเดียว
ไม่ใช่อยากเข้าที่ไหนก็ไปสอบตรง
ต่อไปเด็กไทยทุกคนได้สิทธิเท่ากัน
เป็นกฎการคัดเลือกแบบใหม่ที่เน้นเท่าเทียม
ไม่ใช่อยากสอบก็ได้สอบ มหาวิทยาลัยอยากรับก็ได้รับ
http://blog.eduzones.com/ezcampus/168157

[ผู้ที่กระทบ]
เด็กที่กระทบ คือ ที่คิดไปสอบหลายที่ แล้วติดเผื่อไว้เลือก
มหาวิทยาลัยที่กระทบ คือ เปิดรับตรงหลายรอบ
ปล. ผู้ใหญ่ ทปอ.เห็นชอบ ตามรัฐมนตรีศึกษาแล้ว
http://www.moe.go.th/websm/2016/aug/348.html

แนะนำภาพยนตร์ แอทลาสยักไหล่ (Atlas Shrugged)