เกรดนักศึกษาออกแล้ว ทำให้นึกถึง Tokyo ghoul

tokyo ghoul
tokyo ghoul

ทุกภาคเรียนที่ 1 หลังปีการศึกษา 2559 ของประเทศไทย
ในช่วงหลัง Christmas
ในระดับอุดมศึกษา ก็จะมีการประกาศผลการเรียนของนักศึกษา
หรือในระดับมัธยม ก็จะมีการประกาศผลการเรียนของนักเรียน
ผลพบได้ในสเตตัสบนเฟสบุ๊ค
– ดีใจ ได้เกรด A
– พอใจล่ะ ไม่เอฟก็พอ
– เฉย ๆ ตามคาด
– เงียบ คือ คำตอบ
สงสัยก็ถามอาจารย์ “ทำไมถึงให้ F”

เล่าเรื่องหนัง สะท้อนคิดจากภาพยนตร์
http://www.thaiall.com/handbill

การมีชีวิตอยู่ในโลก ก็เหมือนการมีชีวิตอยู่ในรั้วโรงเรียน
เหมือนมีชีวิตอยู่ในเรือประมง ต้องสู้ ต้องกิน และอยู่
ชีวิตต้องสู้” ต้องเก็บเกี่ยวความรู้ เก็บปลาให้ได้มากพอ
ไม่เก็บปลา หรือเก็บไม่ได้มากพอ ก็ไม่ได้ขึ้นฝั่ง ไปไม่ถึงไหน
เวลามีปัญหาก็ไม่ต้องไปโทษ “เรือที่ไม่ได้เรื่อง
แต่ต้องมองตนเองให้มาก ตั้งแต่เกิดเลย
แล้วแก้ไขเท่าที่ทำได้ โดยเฉพาะการแก้ไขตนเอง

life is a struggle
life is a struggle

ชีวิตจริงไม่ใช่เทพ จะได้ซื้อ Hero ด้วยเงิน
แพ้แล้วเริ่มใหม่ อีกกี่รอบก็ได้ ทั้งคืน ทั้งวันก็ได้
ชีวิตจริงมีเวลาเป็นกรอบ มีขีดจำกัด
เริ่มต้นผิด ไม่สู้ ไม่มุ่งมั่น เส้นทางจริงก็คงห่างเป้าทุกที
คิดว่าเป็นเทพ เป็น Wonder woman
ก็คงไม่ได้หาปลาให้มากพอ ไม่ได้ไปขึ้นฝั่งดี ๆ ที่ไหนหรอก
เราท่านก็คงอยู่ได้ไม่เกิน 200 ปี บางคนสัก 100 น่าจะได้
ไม่ใช่มนุษย์ Bicentennial Man จะได้อิ่มทิพย์ หรือมีเวลาเหลือเฟือ
ที่จะได้กลับไปเริ่มต้นใหม่ ไปเลือกเดินได้หลายรอบ รอบเดียวทุกคน

กลับมาเรื่อง Tokyo Ghoul
พระเอก ก็แค่อยากมีชีวิตแบบไม่สุงสิงกับใคร แต่ถูกกดดันจากพวกมนุษย์
พวกมนุษย์ไม่อยากให้พระเอกได้กิน ได้อยู่ อย่างสงบ กับเพื่อนกูลนักล่า
เพราะการกินของพระเอก คือ การมาแย่งของล้ำค่าจากมนุษย์ ที่เรียกนักล่า
หากจะปกป้องพวกพ้อง จะกิน จะอยู่ ก็ต้องสู้ ต้องฝึกฝน
ต้องหาอาจารย์มาสอน หาเพื่อนเรียน ไม่ใช่เพื่อนเล่น เพื่อนเที่ยว
ต้องมีคู่ซ้อม ต้องเจ็บ ต้องอดทน สู้ไปด้วยกัน
ถึงจะแข็ง มีกำลัง มีทักษะ มีความชำนาญ
พอเก่ง ก็ต้องกระโดดตีลังกาเตะครูฝึก ป๊าบ ป๊าบ ซะเลย
ก่อนจะตีลังกา ก็ต้องเริ่มฝึกฝน
มีเลเวล คือ ขั้น 1 ขั้น 2 ขั้น 3 และบรรลุสัจธรรม
ประเมินตนเองว่าถึงไหนล่ะ
ชีวิตจริงไม่มีทางลัด หรือเคล็ดวิชา
ที่จะฝึกฝน 1 วัน หรือใช้เงินซื้อ แล้วก็เป็นเทพได้หรอก
ฝึกฝน เสร็จ ก็ต้องสอบปฏิบัติกับอาจารย์
สอบตก ก็กลับไปฝึกฝนใหม่ นับหนึ่งกันใหม่
ถ้าสู้กับอาจารย์แล้ว ยังไม่ถึงไหน
แต่อยากให้อาจารย์ปล่อยผ่าน ผ่าน ๆ ไปเถอะ
แล้วอาจารย์ใจร้าย ดันปล่อยผ่านซะงั้น
ภายภาคหน้า กูลที่ไปสู้กับมนุษย์ก็คงสิ้นใจไปในไม่กี่เพลงยุทธ์
พระเอกจึงต้องฝึกหนัก เลือดตก ยางออก จนถึงขั้นปล่อยอิทธิฤทธิ์ได้
แล้วอาจารย์ก็บอกว่า ผ่านเกณฑ์แล้ว .. ใช้ได้ รอดล่ะ
แต่ถ้าให้อาจารย์ลดเพดานเกณฑ์
เพราะเอาธูปเอาเทียน ไปวอนขอว่า “ไม่อยากฝึกล่ะ เหนื่อยจัง ผ่านนะ
ภายภาคหน้า กูลที่ไม่กล้าแข็งก็คงไม่ได้กิน ได้อยู่ ตามเป้าหมายการฝึก
แต่ต่อไป กูลเกิดไปเจอขุมทรัพย์ในหนังล่าสมบัติ นั่นก็ราชรถมาเกยล่ะ
เชื่อได้ว่า “นั่งรอ นอนรอราชรถแล้ว ราชรถอาจไม่มาตามนัด
หวังว่าจะไม่ สะ-ปอย เรื่อง Tokyo Ghoul มากไปนะครับ

เกรดออกล่ะ
เกรดออกล่ะ
grade ไม่ต้อง A ทุกตัวก็ได้
grade ไม่ต้อง A ทุกตัวก็ได้

นักศึกษาทำอย่างไรกับแนวข้อสอบที่อาจารย์ให้ไป

success @Sylviaduckworth
success @Sylviaduckworth

นิทาน น่ะนะ
กาลครั้งหนึ่ง ณ เช้าวันหนึ่ง ที่เป็นวันธรรมดา
แต่ไม่ธรรมดาตรงที่เป็นวันสอบข้อเขียน ในวิชาหนึ่ง
อาจารย์ก็ได้รับข้อความจากนักศึกษาตอน “ตี 4”
วันนั้น อาจารย์ตื่นมาเห็นข้อความตอน “ตี 5 ครึ่ง”
ก็ตอบไป สื่อสารกันไป

นักศึกษา : วันนี้ อาจารย์เข้ากี่โมง
อาจารย์ : ทำไมล่ะ มีอะไรหรา
นักศึกษา : อยากถามเรื่องแนวข้อสอบที่ให้มา
อาจารย์ : ?
นักศึกษา : ข้อ 2 กับ 3 ต่างกันอย่างไร ดูจากสไลด์ไหน
อาจารย์ : แนว 2 ข้อนี้อยู่สไลด์เดียวกัน ที่ให้ฝึกทำนั่นไง
นักศึกษา : (ส่งภาพสไลด์มาให้ดู) ใช่รึเปล่า
อาจารย์ : ก็ใช่นะ
นักศึกษา : อีกข้อล่ะ อยู่ตรงไหน
อาจารย์ : ตรงนั้นไง

ที่เล่านี้ มองเป็นกรณีศึกษา ที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น
และใช้ร่วมกับภูเขาน้ำแข็งแห่งความสำเร็จด้านล่าง

สรุปว่า
เป็นนักศึกษา .. ไม่ทำตัวเสมือนก้อนน้ำแข็งที่จม
แล้วก้อนน้ำแข็งที่โผล่พ้นน้ำ .. จะใหญ่โตขึ้นมาได้อย่างไร
หวังพึ่งโชคชะตาราศีอย่างเดียว .. ก็ไม่สมเหตุสมผลนะ

 

ผ่านไป
ผ่านไป

สรุปว่าเรื่องนี้น่าสนใจตรงที่
นักศึกษาเค้าจะสอบ เพื่อให้ได้เกรด ให้ได้คะแนน
พอเตรียมตัวแล้ว พบปัญหา ก็หาที่ปรึกษา
แต่สิ่งที่นักศึกษาคนนี้น่าจะพร่องไปเล็กน้อย
มีดังนี้
1. Persistence ความหมั่นเพียร คือ มุ่งมั่นให้ถึงจุดหมาย
2. Hard work การทำงานหนัก คือ ฝึกฝนเป็นประจำ
3. Good habits การทำงานจนเป็นนิสัย คือ การวางแผน

สรุปว่า
ความสำเร็จ (Success) ที่ใครมองเห็น มาจาก

– Persistence
– Failure
– Sacrifice
– Disappointment
– Good habits
– Hard work
– Dedication

@Sylviaduckworth
https://twitter.com/sylviaduckworth/status/621334733901983744

เกรด ไม่ได้วัดความฉลาด
เกรด ไม่ได้วัดความฉลาด

เกรดเท่าไร เป็นเงินเท่าไร แต่ แม่ไม่คิดเงิน

เกรดเฉลี่ย 3.0 เท่ากับคันเนี้ย
เกรดเฉลี่ย 3.0 เท่ากับคันเนี้ย

เห็น อ.เกียรติ แชร์เรื่อง “เกรดเฉลี่ยเทอมแรก” น่าสนใจ
ทีแรกว่าจะไม่คลิ๊กอ่านล่ะ
แต่เห็นว่าได้ 2.5 แล้วคิดเท่ากับเงินหมื่น จากภาพเห็นถึง 3.0
ก็เอะใจ ขึ้นมาตะหงิด ๆ สงสัยใครรู้ขึ้นมา
ว่า ถ้าได้เกรดเฉลี่ยสูงไปถึง 3.25 หรือ 4.0 แล้ว
น้องเค้าจะคิดว่าเท่ากับอะไรที่สูงกว่า MSX 1 คันนะ
พอดีข้อมูลที่ให้มาหยุดที่ 3.0 (CGPA : Cumulative Grade Point Average)

อันที่จริงเรื่องนี้นึกถึงเรื่อง “แม่ไม่คิดเงิน
สรุปคือ เด็กชายคิดค่าตัดหญ้า ค่าทำความสะอาดบ้าน เท่านั้น เท่านี้
แต่แม่หยิบปากกามาเขียนด้านหลังว่า
เก้าเดือนอุ้มทองไม่คิด และไม่คิดอีกเยอะแยะ
สุดท้าย ลูกก็บอกว่าไม่คิดตังล่ะ
http://www.kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=5028
http://writer.dek-d.com/dek-d/writer/view.php?id=137222
http://www.2jfk.com/son_salary.htm

เกรดเฉลี่ยเทอมแรก
2.5 = 10,000
2.7 = 15,000
2.9 = ไอโฟน 7
3.0 = MSX 1 คัน
http://hilight.kapook.com/view/142303

บางคนว่าเกรดนั้นไม่สำคัญ แต่นายจ้างบางคนบอกว่าใช้เลือกคน

http://www.youtube.com/watch?v=sbDX-dcEqkg

มีผู้คนมากมายบอกว่าเกรดจากการเรียนหนังสือนั้นไม่สำคัญ
สิ่งสำคัญคือความรู้ที่ได้รับระหว่างเป็นนักศึกษา และการปรับตัวในสังคมหลังสำเร็จการศึกษา
แต่เกรดเป็นส่วนประกอบที่ทำให้ผู้ประกอบการบางคน ให้โอกาสในการทำงาน
โดยใช้พิจารณาเลือกรับเข้าทำงาน
เพราะถ้าบอกว่าได้ 3 กว่า ย่อมได้รับโอกาสให้เข้าไปทำงาน มากกว่าคนที่ได้ 2 นิด ๆ
ดังนั้นหากรู้ตัวสักนิดว่าตอนนี้เรียนแล้วได้เกรดอย่างไรบ้าง .. ก็น่าจะช่วยได้บ้าง

Perl source code
$fm = join “”, “https://chart.googleapis.com/chart?chs=700×400&chd=t:”
,  $gda , “,” ,  $gdbp , “,” ,  $gdb , “,” ,  $gdcp , “,” ,  $gdc , “,”
,  $gddp , “,” ,  $gdd , “,” ,  $gdf
, “&chco=00FF00|00AA00|004400|0000FF|8888FF|FFFF00|FF4444|FF0000&cht=p&chl=A ”
,  $gda , “|B%2B ” ,  $gdbp , “|B ” ,  $gdb , “|C%2B ” ,  $gdcp , “|C ” ,  $gdc , “|D%2B ” ,  $gddp , “|D ” ,  $gdd , “|F ” ,  $gdf , “&chdl=A ” ,  $gda , ” : ”
, substr($gda/$tgd*100,0,4) ,  “% |B%2B ” ,  $gdbp , ” : “, substr($gdbp/$tgd*100,0,4)
, “% |B ” ,  $gdb, ” : “, substr($gdb/$tgd*100,0,4)  , ‘% |C%2B ‘ ,  $gdcp , ” : ”
, substr($gdcp/$tgd*100,0,4)  , ‘% |C ‘ ,  $gdc , ” : “, substr($gdc/$tgd*100,0,4)
, ‘% |D%2B ‘ ,  $gddp , ” : “, substr($gddp/$tgd*100,0,4)  , ‘% |D ‘ ,  $gdd , ” : ”
, substr($gdd/$tgd*100,0,4)  , ‘% |F ‘ ,  $gdf , ” : “, substr($gdf/$tgd*100,0,4)
, ‘%’;
print “<iframe width=’760′ height=’450′ src='”,  $fm , “‘></iframe>”;

output in URL
https://chart.googleapis.com/chart?chs=700×400&chd=t:4,1,2,6,1,2,0,0
&chco=00FF00|00AA00|004400|0000FF|8888FF|FFFF00|FF4444|FF0000&cht=p
&chl=A%204|B%2B%201|B%202|C%2B%206|C%201|D%2B%202|D%200|F%200
&chdl=A%204%20:%2025%%20|B%2B%201%20:%206.25%%20|B%202%20:%2012.5%%20
|C%2B%206%20:%2037.5%%20|C%201%20:%206.25%%20|D%2B%202%20:%2012.5%%20
|D%200%20:%200%%20|F%200%20:%200%

grade classification
grade classification

รวมคลิ๊ปโครงการกรุงเทพฯ สีขาว
http://www.mcot.net/site/streaming?id=50ce975e150ba01f1e000382&type=video#.UNHLna55dwj

text processing แบบ csv ในภาษา perl

ตัวอย่างผลแบบ csv
ตัวอย่างผลแบบ csv

มีโอกาสรื้อโค้ดภาษา perl อ่าน course กับ regist
ซึ่งจัดเก็บแบบ csv โดยส่งรหัสนักศึกษา ปี และภาค ไปถาม
แล้วตอบกลับเป็นรายวิชาที่ลงทะเบียน
ทำให้รู้ว่าลงวิชาอะไรไปบ้างในแต่ละภาคเรียน
เป็นเพียงช่วงหนึ่งของ code หลักที่ใช้ทำ transcript
แต่มีเพื่อนต้องการข้อมูลเพียงเท่านี้ไปประมวลผลต่อ
จึงตัด code ออกมาให้เหลือข้อมูลเท่านี้
มีตัวอย่าง code ดังนี้
#!/usr/bin/perl
# ?idstd=1234&yr=2012&sem=1
&parse;
print “Content-type:text/html\n\n”;
open(FILE,”course.txt”); @rec=&lt;FILE>; close(FILE);
foreach $r(@rec) {
@d = split(“,”,$r);
$dd = join ‘,’,$d[2],$d[3],$d[4]; #code, subject name, credit
$scode{$d[0]} = $dd;
}
# ==================
$file = join ”,”regist”, $config{‘yr’} , $config{‘sem’} ,”.txt”;
open(FILE,”$file”); @rec=&lt;FILE>; close(FILE);
foreach $r(@rec) {
@r = split(“\n”,$r);
@d = split(“,”,$r[0]);
if ($config{‘idstd’} eq $d[2]) {  print  $d[1] . “,”.$scode{$d[2]}.”,&lt;br/>”; }
}
# ==================
sub parse {
if ($ENV{‘REQUEST_METHOD’} eq ‘GET’) {
@pairs = split(/&/, $ENV{‘QUERY_STRING’});
} elsif ($ENV{‘REQUEST_METHOD’} eq ‘POST’) {
read(STDIN, $buffer, $ENV{‘CONTENT_LENGTH’});
@pairs = split(/&/, $buffer);
}
foreach $pair (@pairs) {
local($name, $value) = split(/=/, $pair);
$name =~ tr/+/ /;
$name =~ s/%([a-fA-F0-9][a-fA-F0-9])/pack(“C”, hex($1))/eg;
$name =~ s/~!/~!/g;
$value =~ tr/+/ /;
$value =~ s/%([a-fA-F0-9][a-fA-F0-9])/pack(“C”, hex($1))/eg;
$value =~ s/~!/~!/g;
$value =~ s/&lt;!–(.|\n)*–>//g;
$config{$name} = $value;
}
}

ปรับระบบช่วยนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษา วางแผนการเรียน

grade 2010
grade 2010

19 ต.ค.53 มีการปรับ code ให้งานทะเบียนสามารถ update ข้อมูลในระบบรายงานผลการเรียนได้โดยง่าย ทำให้อาจารย์ส่งผลการเรียนมายังงานทะเบียน และตรวจสอบแล้ว สามารถ update กับระบบข้อมูลออนไลน์ได้ทันที นักศึกษาจึงตรวจสอบผลการเรียน และคำนวณผลการเรียนล่วงหน้าสำหรับภาคเรียนต่อไป หรืออาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบผลการเรียนประกอบการให้คำปรึกษาโดยใกล้ชิด ทำให้นักศึกษาสามารถวางแผนการเรียนของตนเองได้อย่างเป็นรูปธรรม
if(!isset($_REQUEST[“yr”])) {
echo “yr=20101”;
exit;
}
$fn = “limitlc” . $_REQUEST[“yr”];

+ http://blog.yonok.ac.th/burin/1394/
+ http://www.yonok.ac.th/grade