ใช้ – ก่อน- เรียน หรือ เรียน – ก่อน – ใช้ .. เลือกกันได้

https://www.facebook.com/chujai68/photos/a.1869171433367526.1073741828.1869163350035001/1904820289802640/
เว้นแต่เรื่องที่คุณเรียนนั้นสำคัญกับคุณมาก
https://www.facebook.com/chujai68/photos/a.1869171433367526.1073741828.1869163350035001/1904820289802640/

ถูกต้อง กับคำว่า “เริ่มก่อนได้เปรียบ
แต่ยังมีอีกแนวคิดที่น่าสนใจ

เรียนก่อน แล้วได้ประยุกต์ใช้ สมใจหมาย
แต่ถึงเวลาจะใช้ แล้วค่อยเรียน คงไม่ทัน


คุณภาพ = ความพึงพอใจ

ข่าว .. กอปศ.ทุบโต๊ะเลิกเรียน 8 กลุ่มสาระในเด็ก ป.1-3 (27 ก.พ.61)
ผลวิจัยพบ เรียนมากไม่สบความสำเร็จ ทำเด็กต้องแข่งขัน ชี้เด็กวัยนี้ควรเรียนรู้สมรรถนะการใช้ชีวิต คงแปลได้ว่า เรียนไม่สบความสำเร็จ ก็เลิกเรียน เปลี่ยนเรื่องรู้สมรรถนะการใช้ชีวิต ที่ง่ายกว่า สนุกกว่า

ส่วนสาระทั้ง 8 ที่เคยเห็นว่าจำเป็น มาตั้งแต่ 2551 นั้น จะใช้เมื่อไร (ป.4) ค่อยเรียน ประกอบด้วย 1) ภาษาไทย 2) คณิตศาสตร์ 3) วิทยาศาสตร์ 4) สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 5) สุขศึกษาและพลศึกษา 6) ศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ 7) การงานอาชีพ และเทคโนโลยี 8) ภาษาต่างประเทศ

http://www.thaiall.com/student/

คำถามที่ตอบยากครับ
เลือกอะไรระหว่าง
1. จะใช้เมื่อไร แล้วค่อยไปเรียน
2. เรียนก่อน แล้วค่อยเลือกใช้วันหน้า
กลุ่มแรก – ไม่ได้เรียน
80 ไม่ได้เรียน – ทำงานได้เลย
20 จะใช้ – แต่ไม่ได้เรียนมา

กลุ่มที่สอง – เรียนมา
80 ได้ใช้  ที่ได้เรียนมา
20 ที่เรียนมา – ไม่ได้ใช้

ไม่ใช่ Dota2 หรือ ROV แต่นึกว่ากำลังหาคนเข้าทีม แล้วช่วยกันแบก

ประกาศไปว่า

นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน
วิชา xxx รหัสวิชา yyy ปีการศึกษา zzz
ให้เข้าจอยกลุ่ม abc ในเฟสบุ๊ค
ถ้าเข้าจอยได้ แสดงว่ามีทักษะพร้อมรบในเกมนี้
เตรียมรับสกิลไปต่อสู้กัน ในแต่ละเกมย่อย
เพื่อให้ชนะเกมแพ็ค ที่มีเวลาเล่นกันจนเชี่ยวชาญถึง 4 ปี
ถ้ายังไม่เชี่ยวชาญก็ขยายเวลาให้ถึง 8 ปี

conqueror
conqueror

แล้ว น้องแท็ก เค้าถามว่าทำไมพูดถึงเกม ผมก็ตอบว่า
ROV นี่ดีนะ
ทำให้เห็นแนวทางทำมาหากินของนักคอมพิวเตอร์
เค้าจึงเป็น Hero ของ นักคอมพิวเตอร์ในเอเชีย
และมี ทอง มากที่สุดในเอเชีย (ถ้าเค้าเปลี่ยนหุ้นเป็นทอง)
และมี Level สูงสุดในเอเชีย จัดอันดับโดย Forbes.com
แล้วใครเป็นลูกค้าทรงคุณค่า เค้าจะยกให้เป็น คนเก่งได้โล่
ยิ่งเก่งมาก โล่ก็จะสวยมากตามไปด้วย แล้วเงินก็เพิ่มขึ้นตามแนวตั้ง
forbes.com/../tencent-chairman-ma-huateng

แชร์ไปในกลุ่มนักศึกษาว่า
กำลังหาคนเข้าทีม แล้วช่วยกันแบก
ทุกเกมย่อย ผู้เล่นต้องแบกตนเองเป็นหลัก
แบกนาน 4 เดือน ไม่ใช่ 10 นาที

สู้บน 3 เลนหลัก คือ เลนมิด เลนไฟ เลนสับ
สู้นอกเลน มีทั้ง จอยคลาส แพคติส โปรเจค และพลังจิต
สกิลมี 5 แบบ คือ จำ เข้าใจ ประยุกต์ ปฏิบัติ และตรงเวลา
เวลาสู้ ไม่ได้สู้ตอนเผลอ แต่มีกำหนดเวลาและสถานที่
แล้วแลกหมัด เวท ดาบ ธนู ก๋งสติ๊ก ตามสกิล รายตัว ไม่มีออ
วัดสกิลชัดเจน ไม่ได้วัดกันตอนเผลอ มีเวลาให้เตรียมจนพร้อม
หากแพ้ในเลนมิด ก็ไปแก้ตัวในเลนไฟ ถ้าชนะทุกเลน เอา MVP ไป
หลังจบเกมมาดูว่าใครเป็น MVP หรือ ATM หรือ AFK หรือ LOSS หรือ WIN
กฎใหม่ คือ MVP มีได้หลายคน หรือไม่มีเลย
ถ้าได้ MVP ก็จะได้อันดับ Conqueror และ WIN พร้อมกัน
หรือ Diamon, Platinum ตามปริมาณทองที่เก็บได้ระหว่างสู้ด้วยสกิล
สกิลได้จากเกมนี้ ย่อมต่างจากเกมอื่น แต่ต่างกันไปตามวิชา
เพราะแม็พ3 และสกิล ต้องเรียนรู้ ฝึกฝนกันใหม่หมดตามธรรมชาติของวิชา
คนที่มีสกิลเทพในเกม Dota2 หรือ ROV อาจแพ้ในเกมนี้
ไม่ใช่เหมาว่า เทพเกมหนึ่ง จะมีสกิลเทพติดตัว ไปซะทุกเกม
เพราะเกมแพ็คนี้ เล่นกัน 4 ปี มีราว 48 เกมย่อย หรือ 48 ชุดทักษะ
แต่ละเกมย่อยจะเล่นกัน 4 เดือน รอบหนึ่งมี 6 เกมย่อยหรือ 6 ชุดทักษะ
โดยประมาณน่ะครับ

นั่งเฉย ๆ ปล่อยให้ความรู้เข้าหัว แบบ Streaming ชิลชิล

สมัยนี้ อยากเรียนแบบ
ใน Matrix หรือ Battlefield earth
มีแล้วหรา .. ก็มีนะ
1. เลือกหลักสูตร (Curriculum)
2. เข้านั่งในเก้าอี้ (Sit)
3. เริ่มโหลดเข้าสมอง (Input)
4. กำลังโหลดความรู้ หัวหมุน (Process)
5. มีดีต้องโชว์ (Output)
6. แก้ไข ปรับปรุง หรือโหลดซ้ำ (Review/Reload/Redo)
7. นำไปใช้จริง (Apply)



Output หลังการเรียนของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
เวลาที่ใช้ไม่เร็วเหมือนในหนัง และใช้เวลาในแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป
– บางคนเรียนรอบเดียวก็รู้เรื่อง
– บางคนเรียน ๆ หลับ ๆ ก็ยังรู้เรื่อง
– บางคนเรียนสองรอบ กว่าจะรู้เรื่อง
– บางคนเรียนกี่รอบกี่รอบ ก็ยังไม่รู้เรื่อง
แต่ – ทุกคนเริ่มต้นจากคำว่า “เรียน

ความรู้ (Knowledge) หมายถึง การเรียนรู้ที่เน้นถึงการจำ และการระลึกได้ถึงความคิด วัตถุ และปรากฏการณ์ ซึ่งเป็นความจำที่เริ่มจากสิ่งที่ง่าย ที่เป็นอิสระแก่กัน ไปจนถึงความจำในสิ่งที่ซับซ้อนและมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน
http://www.thaiall.com/km

ตัวอย่างความรู้ ที่มาในรูปแผ่นดิสก์ หรือมัลติมีเดียร์
1. ความรู้ โดย MOOC
https://thaimooc.org/
2. S.E.L.F. @Home
http://www.enconcept.com/main_index/selfathome100/
3. Programming by SIPA
https://www.youtube.com/channel/UCgWqtSlHS0hCFlV4OfcAmAQ/videos

หนังสือ Battlefield earth
http://www.agonybooth.com/battlefield-earth-2000-part-5-5796
http://tvtropes.org/pmwiki/pmwiki.php/Literature/BattlefieldEarth

ใน All-Round Appraiser Q: The Eyes of Mona Lisa
นางเอกก็เรียนภาษาฝรั่งเศษ ผ่านความสามารถพิเศษ
http://asianwiki.com/All-Round_Appraiser_Q:_The_Eyes_of_Mona_Lisa

ใน Gifted
น้องเค้าเป็นอัจฉริยะ ที่ชอบเรียน ไม่ชอบวิ่งเล่นแบบเด็ก แต่ชอบแก้โจทย์คณิตศาสตร์อยู่บ้าน
สุดท้ายก็ไปนั่งเรียนในมหาวิทยาลัยกับพี่ ๆ เค้า
https://www.youtube.com/watch?v=x7CAjpdRaXU

เกรดเท่าไร เป็นเงินเท่าไร แต่ แม่ไม่คิดเงิน

เกรดเฉลี่ย 3.0 เท่ากับคันเนี้ย
เกรดเฉลี่ย 3.0 เท่ากับคันเนี้ย

เห็น อ.เกียรติ แชร์เรื่อง “เกรดเฉลี่ยเทอมแรก” น่าสนใจ
ทีแรกว่าจะไม่คลิ๊กอ่านล่ะ
แต่เห็นว่าได้ 2.5 แล้วคิดเท่ากับเงินหมื่น จากภาพเห็นถึง 3.0
ก็เอะใจ ขึ้นมาตะหงิด ๆ สงสัยใครรู้ขึ้นมา
ว่า ถ้าได้เกรดเฉลี่ยสูงไปถึง 3.25 หรือ 4.0 แล้ว
น้องเค้าจะคิดว่าเท่ากับอะไรที่สูงกว่า MSX 1 คันนะ
พอดีข้อมูลที่ให้มาหยุดที่ 3.0 (CGPA : Cumulative Grade Point Average)

อันที่จริงเรื่องนี้นึกถึงเรื่อง “แม่ไม่คิดเงิน
สรุปคือ เด็กชายคิดค่าตัดหญ้า ค่าทำความสะอาดบ้าน เท่านั้น เท่านี้
แต่แม่หยิบปากกามาเขียนด้านหลังว่า
เก้าเดือนอุ้มทองไม่คิด และไม่คิดอีกเยอะแยะ
สุดท้าย ลูกก็บอกว่าไม่คิดตังล่ะ
http://www.kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=5028
http://writer.dek-d.com/dek-d/writer/view.php?id=137222
http://www.2jfk.com/son_salary.htm

เกรดเฉลี่ยเทอมแรก
2.5 = 10,000
2.7 = 15,000
2.9 = ไอโฟน 7
3.0 = MSX 1 คัน
http://hilight.kapook.com/view/142303

8 เหตุผล ทำไมเด็กประสบความสำเร็จหลังเรียนจบ

ระหว่างเด็กหน้าห้อง กับเด็กหลังห้องที่ประสบความสำเร็จ
ระหว่างเด็กหน้าห้อง กับเด็กหลังห้องที่ประสบความสำเร็จ
เด็กหลังห้อง
1. พวกเขาตั้งคำถามเกี่ยวกับระบบการศึกษา
2. พวกเขาไม่ยอมเป็นผู้ติดตามใคร
3. พวกเขามักไม่ประจบประแจง
4. พวกเขามักมีเรื่องใหญ่กว่าที่ต้องกังวล
5. พวกเขามีคำจำกัดความของคำว่า “ความสำเร็จ” เป็นของตัวเอง
6. พวกเขารู้วิธีจะยกระดับความสามารถของผู้อื่น
7. พวกเขามักจะเรียนรู้โดยตรงมากกว่า
8. พวกเขามักเป็นคนช่างฝัน
เด็กหน้าห้อง (เสนอเพิ่มเติม)
1. พวกเขาปรับตัวให้เข้ากับระบบการศึกษา
2. พวกเรารู้ว่าใครเป็นคนที่ควรติดตาม
3. พวกเขารู้จักวางตัวในสังคม
4. พวกเขารู้จัดจัดลำดับเรื่องที่ต้องกังวล
5. พวกเขารู้ความหมายของ “ความสำเร็จ” ที่สังคมยอมรับ
6. พวกเขารู้วิธีจะยกระดับความสามารถของตนเอง
7. พวกเขามักจะเรียนรู้ทฤษฏีก่อนปฏิบัติ
8. พวกเขามักอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง

https://www.facebook.com/thaiall/photos/a.423083752271.195205.350024507271/10153871078767272/

มหาบัณฑิต MBA NATION ตอน… เรียนต่อปริญญาโทไปทำไม ?

ดร.ฑัตษภร ศรีสุข
ดร.ฑัตษภร ศรีสุข

การเข้าสู่ AEC ในยุคที่ภาวะเศรษฐกิจอยู่บนพื้นฐานความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ ทุนมนุษย์ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดของการพัฒนาเศรษฐกิจชาติ “การศึกษา” จึงเป็นเครื่องมือหลักที่จะสามารถพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๙: สำนักงานคณะกรรมการแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) ที่ต้องการเร่งสร้างภูมิคุ้มกันในประเทศโดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนและสังคมไทยให้มีคุณภาพ เพื่อเตรียมความพร้อมคน สังคม และระบบเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากร และได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นธรรม สามารถสร้างโอกาสให้ตนเองด้วยฐานความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อประโยชน์สุขอย่างยั่งยืนในสังคมไทย
หลักสูตรการศึกษาต่อในระดับปริญญาโทในสาขาต่าง ๆ จึงได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีโอกาสสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ตนเองทั้งด้านการงานและชีวิตส่วนตัว มีความคาดหวังให้บัณฑิตเรียนจบออกไปพร้อมกับความสามารถหลักในการทำงาน และขณะเดียวกันก็รู้แนวทางการพัฒนาชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม อาจาร์ยผู้สอนมุ่งศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาเนื้อสาระของโปรแกรมการศึกษาให้ตามทันความก้าวหน้าของสภาพแวดล้อมทางสังคมและเศรษฐกิจ รูปแบบการถ่ายทอดองค์ความรู้ในวิชาที่สอนมีความสอดคล้องกับความต้องการและการนำไปใช้ประโยชน์ของผู้เรียน

มหาวิทยาลัยเนชั่น ในฐานะสถาบันการศึกษาที่มุ่งพัฒนาบัณฑิตและมหาบัณฑิตให้มีคุณภาพ ได้ยึดหลักการบริหารการศึกษาที่มีรูปแบบเป็นปัจจุบัน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการพัฒนาตนเองของผู้เรียนและการนำไปใช้ประโยชน์ภายในองค์กร ทิศทางการพัฒนาบัณฑิตจึงสอดคล้องกับความต้องการขององค์กรต่างๆ โดยสร้างคุณค่าแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกคน อันประกอบด้วย ผู้สอน ผู้เรียน สังคมรอบข้าง และนายจ้าง
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) มหาวิทยาลัยเนชั่น ซึ่งเป็นหน่วยการศึกษาที่มุ่งพัฒนามหาบัณฑิตด้วยการประยุกต์แนวความคิดทางธุรกิจเข้าผสมผสานกับการจัดการศึกษา ได้จัดกระบวนการเรียนการสอนและการทดสอบในลักษณะกระตุ้นให้รู้จักคิดและพัฒนาทักษะการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking) เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกสร้างทักษะและความสามารถให้ตนเองจากการเรียนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รู้จักเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ ด้านการศึกษาให้สามารถเข้าถึงสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) มหาวิทยาลัยเนชั่น จึงเป็นทางเลือกสำคัญแห่งหนึ่งที่เปิดประตูให้คนหนุ่มสาวยุคใหม่เข้ามาไขว่คว้าหาโอกาสเพื่อสร้างและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างมั่นคงให้ตนเอง.

อุปกรณ์ที่ให้เตรียมเข้าห้องสอบ

เด็ก ๆ ที่รัก .. เรามีนวัตกรรมใหม่
พรุ่งนี้เตรียมกล่องมาคนละใบ
เป็นอุปกรณ์ประกอบการสอบ
ไม่ควรใหญ่ไป หรือเล็กไป
ที่สำคัญห้ามมีรูโดยเด็ดขาด
ปล. ไม่บอกว่านำมาทำอะไร
จะทำ surprise ในห้องสอบ

examination innovation
examination innovation

ตัวแบบปัจจัยความสำเร็จสหกิจศึกษา

http://sphotos-d.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-prn1/154460_564684576879011_543953131_n.jpg
ตัวแบบปัจจัยความสำเร็จสหกิจศึกษา

จากบทความ เรื่อง การพัฒนาตัวแบบปัจจัยความสำเร็จสหกิจศึกษาแบบมีส่วนร่วม (Key Success Factors Participative Co-op Education Development Model) โดย วันชาติ นภาศรี ธวัชชัย แสนชมภู สิริรัตน์ เลิศมีมงคลชัย
เสนอว่า ตัวแบบ 12 ปัจจัยความสำเร็จสหกิจศึกษาแบบมีส่วนร่วม มีดังนี้
1. การสนับสนุนของผู้บริหารระดับสูง (Top Management Support)
2. การมีความรู้ ความเข้าใจในพันธกิจสหกิจศึกษา (Co-op Mission)
3. การจัดโครงสร้างงาน ระบบ & กลไก (Organization Management)
4. การจัดการความรู้สหกิจศึกษา (Co–op Knowledge Management)
5. การจัดทำแผนกลยุทธ์/คู่มือการปฏิบัติงาน (Co-op Schedule/Strategy Plan)
6. การสร้างการยอมรับ เห็นคุณค่า และประโยชน์ร่วมกัน (Stakeholder Acceptance)
7. การปรึกษาหารือ การให้คำแนะนำ การนิเทศ  (Consultation)
8. การติดต่อสื่อสาร การประสานงาน (Communication)
9. การจัดการทรัพยากร  (Resource Management)
10. เครือข่ายความร่วมมือ (Net Working)
11. การแก้ไขปัญหา และอุปสรรคที่เหนือความคาดหมาย (Troubleshooting)
12. การติดตามประเมินผล และการรับรู้ข้อมูลป้อนกลับ  (Monitoring Evaluation & Feedback)

แล้วมีข้อเสนอแนะ การนำไปประยุกต์ใช้กับสถาบันอุดมศึกษา ว่าควรพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. ดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันของตนเอง วิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis) เพื่อประเมินศักยภาพ ความพร้อมตามองค์ประกอบ เงื่อนไข คุณลักษณะของตัวชี้วัดความสำเร็จสหกิจศึกษาที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมขององค์กรผู้ใช้บัณฑิต และนักศึกษา
2. ดำเนินการจัดการความรู้สหกิจศึกษา ปรัชญา แนวคิดพื้นฐาน หลักเกณฑ์ ขั้นตอน วิธีการดำเนินงาน ระบบและกลไกการประสานงาน จัดทำเป็น “คู่มือการจัดการศึกษาระบบสหกิจศึกษา” และการจัดการความรู้ในระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ (Internet) ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามบริบทของสถาบันอุดมศึกษานั้นๆ
3. จัดอบรม สัมมนาความรู้ ความเข้าใจ เตรียมความพร้อม ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสหกิจศึกษาให้บุคลากร อาจารย์/เจ้าหน้าที่ นักศึกษา องค์กรผู้ใช้บัณฑิต และประชาชนทั่วไปได้รับทราบ
4. ขยายเครือข่ายองค์กรผู้ใช้บัณฑิต การรับรู้เห็นคุณค่า คุณประโยชน์ของคณาจารย์ในทุกหลักสูตร การขยายหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนสหกิจศึกษา เพื่อรองรับนักศึกษาสหกิจศึกษา อย่างต่อเนื่อง
5. การบริหารจัดการตาม “ตัวแบบ 12 ปัจจัยความสำเร็จสหกิจศึกษาแบบมีส่วนร่วม”


http://www.facebook.com/media/set/?set=a.564684180212384.139685.506818005999002

http://www.scribd.com/doc/118643661/

Lean Manufacturing จากระบบการผลิตในวงการรถยนต์ สู่อุตสาหกรรมสิ่งทอ

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ตื่นตัวมุ่งสู่การผลิตแบบลีน ไนซ์ แอพพาเรล ผู้ผลิตเสื้อผ้ากีฬา สร้างต้นแบบในวงการ
นับจากโตโยต้าผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ได้คิดค้นการผลิตแบบลีนและเปิดเป็นแนวทางสู่วงการอุตสาหกรรมต่างๆ ได้สร้างปรากฎการณ์ใหม่และจุดประกายให้เกือบทุกภาคอุตสาหกรรมหันมาปรับรูปแบบบริหารจัดการด้านการผลิตให้เห็นและเข้าใจกระบวนการมากขึ้น เพื่อมุ่งกำจัดกิจกรรมที่ไร้ประโยชน์ และส่งเสริมกิจกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มเชิงธุรกิจ ตามหลักการสำคัญของการผลิตแบบลีน ซึ่งในปัจจุบันมีหลายอุตสาหกรรมที่ประยุกต์การผลิตแบบลีนมาใช้ และเห็นผลชัดเจน ดังเช่นในวงการอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยที่บริษัท ไนซ์ แอพพาเรล จำกัด ประสบผลสำเร็จและกลายเป็นแม่แบบในวงการ
ไนซ์ แอพพาเรล กับการผลิตแบบลีน การผลิตแบบลีนไม่ได้จำเพาะเพียงแค่อุตสาหกรรมรถยนต์ แต่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับแต่ละอุตสาหกรรมได้ เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยที่บริษัท ไนซ์ แอพพาเรล จำกัด ผู้ผลิตชุดกีฬาฟุตบอล บาสเกตบอล เทนนิส ให้กับ 3 แบรนด์ดัง คือ Adidas, Nike, Under Armour และผลิตเสื้อผ้าป้อนผู้ค้าปลีกในสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ได้หันมาเอาจริงเอาจัง โดยจัดกระบวนการผลิตในสายการผลิตใหม่ แยกทีมการผลิตตามสินค้าแต่ละแบรนด์และแยกโรงงานชัดเจนไม่ปะปนกัน จัดให้แต่ละแผนกที่ทำงานต่อเนื่องกันมาอยู่ใกล้กัน เช่น ตัด เย็บ ฟินิชชิ่ง แพคกิ้ง ใช้รูปแบบการส่งต่องานแบบการไหลชิ้นเดียว (One-piece Flow) คือ การส่งชิ้นงานระหว่างแผนกแบบชิ้นต่อชิ้น และให้พนักงานตรวจสอบคุณภาพชิ้นงานของตนเองทุกครั้งที่เสร็จสิ้นงานแต่ละชิ้น แทนรูปแบบเดิมที่แต่ละแผนกแยกเป็นสัดส่วน ส่งต่องานทีละหลายชิ้นรวมเป็นมัดๆ ทำให้เกิดความล่าช้า เสียเวลาจากการรองาน-จากการเคลื่อนย้ายชิ้นงาน หรือทำงานไม่ทันเมื่อมีชิ้นงานมาพร้อมกันมากเกินไป ซึ่งล้วนแต่เป็นกิจกรรมที่ไม่เกิดมูลค่า หรือ ของเสีย (waste) ตามหลักการการผลิตแบบลีนทั้งสิ้น
“เราเปลี่ยนสายงาน ให้ตัด เย็บ มาอยู่ด้วยกันหมด เพราะการตัดแล้วกอง แล้วค่อยขนย้าย รวมถึงการหยิบวางงาน ถือเป็นการสูญเสียทั้งนั้น พนักงานทุกคนที่ทำงานจะตรวจสอบงานตัวเองก่อนค่อยส่ง แทนที่จะมีแผนกตรวจสอบงานแยกต่างหาก ดังนั้นงานที่เสร็จออกมาจะเสียน้อยมาก” คุณไกรฤกษ์ ธวัชพันธุ์ HRM/GA Manager บริษัท ไนซ์ แอพพาเรล จำกัด กล่าวทั้งนี้จากการปรับรูปแบบการผลิตดังกล่าวส่งผลชัดเจน คือ ลดสต็อคในโรงงานกว่า 4 เท่าตัว จากเดิมสต็อคประมาณ 30-45 วัน แต่ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 10 วัน ช่วยลดปริมาณสินค้าเสียหายจากเดิมที่เคยมีประมาณ 10% เหลือเพียง 1-2% นอกจากนี้ช่วยเสริมความแข็งแกร่งด้านการบริหารซัพพลายเชนทั้งภายใน และภายนอกโรงงาน เนื่องจากมีความรัดกุมในเรื่องการจัดการวัตถุดิบ-การจัดส่งสินค้า ทำให้สามารถสนองตอบการค้าแบบ Speed to market ได้ดี กระบวนการทำงานในสายผลิตมีระบบและความชัดเจนขึ้น ช่วยลดระยะเวลาทั้งในการเคลื่อนย้ายชิ้นงาน การรอชิ้นงาน ทำให้กระบวนการทำงานลื่นไหล
“เรานำมาใช้ในสายการผลิตเป็นส่วนใหญ่ ผลที่เห็นชัดเจน คือ เนื้อที่การบริหารชัดเจนขึ้น การเคลื่อนย้ายของงานในสายการผลิตชัดเจนขึ้น โรงงานระเบียบเรียบร้อยขึ้น เราวัดค่าไว้แต่ตีเป็นเปอร์เซ็นต์ยากเพราะว่าปีต่อปีไม่ได้ผลิตสินค้าประเภทเดียวกัน แต่จะมองว่านำลีนเข้ามาแล้วเราชัดเจนไหมในสายการผลิต มีกระบวนการทำงานชัดเจนไหม อะไรที่เป็นอุปสรรค การขยายให้สมดุลในสายการผลิตดีแล้วหรือยัง” คุณประสพ จิรวัฒน์วงศ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ไนซ์ แอพพาเรล จำกัด กล่าว
ทั้งนี้การปรับรูปแบบการผลิตสู่การผลิตแบบลีน ไม่ใช่สิ่งที่ปรับเปลี่ยนและเกิดผลเพียงข้ามคืน ซึ่งกรณีศึกษาของไนซ์ แอพพาเรล ที่นำการผลิตแบบลีนเข้ามาใช้แล้วประมาณ 3 ปี ต้องใช้เวลาช่วง 6 เดือนแรกในการอบรม โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาให้คำปรึกษา ขั้นแรกอบรมในระดับหัวหน้า แล้วจึงขยายผลสู่ระดับพนักงาน โดยมีนโยบายว่าพนักงานของบริษัททุกคนต้องได้รับการอบรมแนวทางการผลิตแบบลีนไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง/ปี เพราะการเปลี่ยนมุมมองและสร้างความเข้าใจให้กับผู้ปฏิบัติงาน ถือเป็นจุดยากที่สุดของการผลิตแบบลีน
คุณไกรฤกษ์ กล่าวว่า“แรกๆ เรามีปัญหาว่าต้องเปลี่ยนมุมมองพนักงาน เปลี่ยนความคิด เพราะแต่ก่อนทุกคนบอกว่าทำงานอย่างเดียวเยอะๆ จะดีจะเก่ง แต่การผลิตแบบลีนไม่ใช่แบบนั้น หนึ่งคนต้องทำหลายอย่าง การเปลี่ยนความเชื่อตรงนั้นต้องปลูกฝังตั้งแต่ระดับผู้ใหญ่ หัวหน้าแผนก แล้วค่อยๆให้ระดับพนักงานซึมซับว่าลีนดีอย่างไร”
บริษัทสิ่งทอตื่นตัว สนใจ-หันใช้การผลิตแบบลีน
เมื่อมองเห็นกลยุทธ์ยกระดับการผลิตที่เห็นผลชัดเจน ส่งผลให้บริษัทสิ่งทอในไทยหลายบริษัทเริ่มหันมาสนใจและพัฒนาสู่การผลิตแบบลีน เช่นเดียวกับคุณสุกิจ คงปิยาจารย์ กรรมการผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฮงเส็งการทอ ที่เริ่มนำการผลิตแบบลีนเข้ามาใช้ในโรงงาน ส่งผลชัดเจน คือ ลดเวลาและลดกระบวนการในการทำงานลง เนื่องจากระบบการผลิตเดิมมีการทำงานหลายขั้นตอน และส่งต่อชิ้นงานจำนวนมากเป็นมัดๆ ซึ่งกว่าชิ้นงานในขั้นตอนแรกจะไปถึงขั้นตอนสุดท้ายอาจใช้เวลาเกือบ 2 วัน แต่ปัจจุบันใช้เวลาแค่ประมาณ 3 ชั่วโมง “ลีนช่วยลดของเสียได้เยอะ เพราะจำนวนของที่น้อยจะเห็นปัญหาได้เร็ว แต่การทำลีนไม่จบ ต้อง Improve ตลอดเวลา ซึ่งตอนนี้เราทำในเรื่องกระบวนการ เพราะเราเองเป็น OEM ทำแค่ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตก่อน แต่วันหนึ่งสิ่งที่เราควรทำ คือ ปรับปรุงเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วย” คุณสุกิจ กล่าวส่วนคุณนรินทร์ ธีรจุมพล ผู้จัดการอาวุโส บริษัท วี เอ เอส การ์เม้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งนำการผลิตแบบลีนมาประยุกต์ใช้ประมาณ 2-3 เดือน โดยศึกษารูปแบบการผลิตแบบลีนจากบริษัท ไนซ์ แอพพาเรล จำกัด และบริษัท ทองไทยการทอ จำกัด แล้วนำมาปรับและเรียนรู้เอง พบการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ ระบบงานลื่นไหลต่อเนื่องมากขึ้น ลดปริมาณชิ้นงานที่ค้างในสายการผลิต ทั้งในกรณีที่ทำไม่ทัน และกรณีที่ชิ้นงานหลบซ่อน แต่เมื่อสายการผลิตมีความชัดเจนขึ้นทำให้ปัญหาดังกล่าวลดน้อยลง นอกจากนี้ Lead timeในการผลิตยังสั้นลง จากเดิมใช้เวลาประมาณ 15 วัน แต่ปัจจุบันใช้เพียงประมาณ 1-2 วัน
โตโยต้าแม่แบบการผลิตแบบลีน
หลักการสำคัญของการผลิตแบบลีน(Lean Production) หรือระบบการผลิตแบบโตโยต้า (Toyota Production System: TPS) คือ การบริหารจัดการด้านเวลาและการทำงานโดยลดความสูญเปล่า คือ ลดช่วงเวลาโดยการกำจัดทุกสิ่งที่ไม่มีคุณค่าเพิ่มในตัวผลิตภัณฑ์ ยึดหลักการผลิตโดยไม่มีของเหลือ ซึ่งในกรณีของโตโยต้า คือ การผลิตมากเกินไป การผลิตสินค้าหลายอย่างที่ต้องการแล้วเก็บไว้ จนกลายเป็นสินค้าคงคลัง แต่เมื่อทำความเข้าใจระบบการผลิต หาสิ่งที่ไม่เกิดคุณค่า และกำจัดออกไปแล้ว ส่งผลให้ระบบการลื่นไหลของงานดีขึ้น นอกจากทันเวลาพอดี (Just in time) แล้ว ยังสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี
นอกจากการผลิตแบบลีนแล้ว โตโยต้าได้บริหารการจัดส่งวัตถุดิบให้เกิดความคุ้มค่าโดยใช้ระบบการจัดส่งแบบ Milk-run ซึ่งเป็นแนวคิดที่นำมาจากการรับวัตถุดิบน้ำนมสดของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นม โดยส่งรถไปรับวัตถุดิบที่บริษัทของซัพพลายเออร์เอง เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการจัดส่งมากขึ้น ทั้งนี้ปัจจุบันโตโยต้ารับมอบวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ 2 รูปแบบ คือ ซัพพลายเออร์เป็นผู้นำวัตถุดิบมาส่งให้เอง และบริษัทจัดรถไปรับวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์แต่ละราย แบ่งพื้นที่การรับมอบวัตถุดิบเป็น 3 โซน โดย ณ ปัจจุบันมีซัพพลายเออร์ 96 รายที่ใช้ระบบ Milk-run จากจำนวนซัพพลายเออร์ทั้งหมด 141 ราย ซึ่งซัพพลายเออร์ที่ยังไม่สามารถเข้าสู่ระบบ Milk-run ได้ เนื่องจากข้อจำกัดด้านต่างๆ เช่น โลเคชั่นโรงงานของซัพพลายเออร์อยู่ใกล้กรุงเทพฯ การจราจรติดขัดทำให้ติดเวลาในการจัดส่ง กลุ่มซัพพลายเออร์ที่มีโรงงานอยู่ไกลจากซัพลายเออร์รายอื่นไม่สามารถเข้ากลุ่มได้ และซัพพลายเออร์ที่ส่งสินค้าเล็กๆ ซึ่งโตโยต้าไม่ได้สั่งทุกวัน เป็นต้น แต่ในอนาคตบริษัทฯ มีแผนพัฒนาให้ซัพพลายเออร์ทุกราย 100% เข้าสู่ระบบ Milk-run
ทั้งนี้ประโยชน์ที่เห็นชัดเจนจากระบบ Milk-run คือ ลดการจราจรที่ติดขัดในโรงงานลง เพราะเดิมที่ซัพพลายเออร์ทุกรายต้องมาส่งวัตถุดิบที่โรงงานเอง ทำให้การจราจรในโรงงานติดขัด โดยเฉพาะช่วงที่มาพร้อมกันหลายราย นอกจากนี้ยังลดพื้นที่สต็อควัตถุดิบลง เนื่องจากระบบ Milk-run ทำให้สามารถรับวัตถุดิบได้หลากหลายในปริมาณต่อหน่วยสินค้าที่น้อยลง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประสบความสำเร็จในรูปแบบ Just in time ของบริษัทฯ  “การ Implement ระบบ Milk-run System เป็นโปรเจครวมสินค้าให้เต็มรถ เพราะเดิมรถมีช่องว่างเยอะ จึงจัดทำมาตรฐานเพื่อบริหารโลจิสติกส์สูงสุด ใช้หลักเลโก้ โดยทดลองเอา Packaging มาเรียง เพื่อบริหารพื้นที่ในรถ ส่วนการรับวัตถุดิบเราแบ่งพื้นที่เป็น 3 โซน A B C ตามพื้นที่โรงงานซัพพลายเออร์ ผลที่ได้คือช่วยลดการจราจรแออัดหน้าโรงงานได้เยอะ และเราสามารถใช้พื้นที่ว่างในรถได้มากขึ้นด้วย” คุณอภิชัย สิทรัตตะกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย กล่าว
ลีนคอนเซปต์ดี แต่ไม่ได้เกิดเพียงข้ามคืน
อย่างไรก็ตามแม้การผลิตแบบลีนจะช่วยยกระดับการผลิต แต่ใช่ว่าจะเหมาะสมหรือปรับได้กับทุกโรงงาน ดังเช่นที่คุณยศธน กิจกุศล กรรมการผู้จัดการ บริษัท วี.อาร์ ไทย การ์เม้นท์ แฟคตอรี่ จำกัด ได้เสนอมุมมองว่า แม้การผลิตแบบลีนเป็นรูปแบบที่น่าสนใจ แต่บริษัทฯ ยังไม่ได้นำมาประยุกต์ใช้ เพราะผู้ที่จะนำมาใช้ต้องมีพร้อม ทั้งในแง่การปรับสายการผลิต ความเข้าใจของบุคลากร ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายในการทำให้ประสบผลสำเร็จ
ด้านคุณสุชาติ จันทรานาคราช กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลด์ไมน์ การ์เม้นท์ จำกัด กล่าวว่า “ระบบลีนดี เพราะคอนเซปต์ คือ ลดของเสียให้น้อยที่สุด ที่ทำได้เห็นตัวอย่างชัดเจน คือ โตโยต้า เพราะมีลักษณะ Just in time มาพอดีในเวลาที่ต้องการใช้ ไม่มีของกอง ไม่มีของเหลือ ทำให้งานไม่สะดุด เพราะ Productionสะดุด เช่น ต้องการใช้ชิ้นเดียว แต่มา 3 ชิ้น ก็ไม่ลีน เพราะฉะนั้นต้องการให้ลีนต้องมาทีละชิ้น อย่างไรก็ตามแม้เป็นระบบที่ดีแต่ไม่ใช่ทำง่าย ทำยาก ทั้งเรื่องการวางแผน การบริหารจัดการต้องดี จึงจะสามารถลีนได้”อย่างไรก็ดี แม้หลายบริษัท หลายอุตสาหกรรม ประสบความสำเร็จจากรูปแบบการผลิตแบบลีน ขณะที่หลายบริษัทกำลังอยู่ระหว่างการเริ่มต้น หรือศึกษาเพื่อหาโอกาสที่เหมาะสม แต่อย่างน้อยก็ทำให้เห็นกระแสที่กำลังมา และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งส่งผลด้านต่างๆ แน่นอนต่อทุกภาคอุตสาหกรรม