ระบบรับข้อมูลการสมัครเรียนด้วยแบบฟอร์มออนไลน์

online application of university in thailand
online application of university in thailand

ระบบรับข้อมูลการสมัครเรียนด้วยแบบฟอร์มออนไลน์
(Application form for the new student)

มหาวิทยาลัยเนชั่น
http://www.nation.ac.th/register-bangkok.php
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
http://www.sau.ac.th/apply.html
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
http://admission.utcc.ac.th/register-howto.html
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
http://admission.bu.ac.th/index.php/admissions/applymenu
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
http://admission.spu.ac.th/content/535/7857.php
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
http://www.admissions.au.edu/
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
http://web.spu.ac.th/apply/information
มหาวิทยาลัยคริสเตียน
http://estudent.christian.ac.th/admission/
มหาวิทยาลัยพายัพ
http://www.payap.ac.th/pyu_e-admission/
มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
http://www1.rbac.ac.th/graduate/candidate.asp
หน่วยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร
http://web.mis.nu.ac.th/graduate/register.php
มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น
http://lms.umt.ac.th:8080/umtreg/default3.aspx
มหาวิทยาลัยราชธานี
http://register.rtu.ac.th/
วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
http://www.cas.ac.th/systems/form_rg.asp
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง
http://www.trang.rmutsv.ac.th/~regis/reg_admission/webopac/index.php?option=mod_admission01
วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
http://www.bsc.ac.th/Register_Short/
มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล นครราชสีมา
http://i-vu.vu.ac.th/admission/apply.php
วิทยาลัยนครราชสีมา
http://reg.nmc.ac.th/OnlineRegister/regisonline.php
มหาวิทยาลัยเกริก
http://wwwback.krirk.ac.th/form/applyform.asp
วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ (MBA) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
http://mba.kku.ac.th/index.php?gid=admission&cid=webapply
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
http://reg.lru.ac.th/registrar/apphome.asp
สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
http://www.pim.ac.th/register
มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา
http://www.cpu.ac.th/cpu2010/apply53/reserve.php
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต
http://www.rsu-cyberu.com/msitm/RegisterI/register.php
มหาวิทยาลัยราชธานี
http://register.rtu.ac.th/Form.php
วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก
http://www.southeast.ac.th/register.php
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
http://www.coe.psu.ac.th/th/interest/registeronline.html
มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ศูนย์ดุสิตพณิชยการ
http://203.144.226.201/rbac/site/index.php/welcome/page/Online%20Registration.htm
มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
http://www.bkkthon.ac.th/admission/
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
http://admission.hcu.ac.th/modules.php?name=admission_online
มหาวิทยาลัยนครพนม
http://www.npu.ac.th/edus/entry_online/main.php

วางแผ่นใสอีกแผ่นหนึ่งเหนือเว็บเพจ

free samsung galaxy : comparation
free samsung galaxy : comparation

5 มี.ค.55 มีโอกาสปรับ script ใน http://www.nation-u.com/2554/index.php เพื่อแสดงป้าย banner จาก http://www.nation.ac.th ที่มีข้อความสำคัญว่า “ฟรี … Samsung Galaxy Tab 10.1 สำหรับนักศึกษาใหม่ทุกคน เพื่อใช้ในการเรียนที่มหาวิทยาลัยเนชั่น” เมื่อทดสอบการแสดงผลกับ IE8 และ FireFox 3.6.6 พบว่าแสดงผลได้ปกติ
โดยใช้ script วาง layer ดังนี้
<body>
<div style=”position:absolute;width:100%;top:40px;text-align:center”>
<iframe width=”950″ height=”465″
src=”http://www.nation.ac.th/banner.html” frameborder=”0″ scrolling=”no”>
</iframe>
</div>

ค่า Pagerank ได้จาก http://www.checkpagerank.net
พบว่า nation.ac.th มีค่า PR = 5 และ Alexa Rank = 4,270,710
พบว่า nation-u.com มีค่า PR = 5 และ Alexa Rank = 2,405,535

ม.เนชั่น ดูงาน ม.หอการค้าไทย

utcc & nation university
utcc & nation university
คุณวรางคณา กัลยาณประดิษฐ์ ผู้บริหารบริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด นำบุคลากรมหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง และศูนย์เนชั่นทาวเวอร์ จำนวน 40 คน ไปศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555 โดยมี  ผศ.รัตนาวดี ศิริทองถาวร รองอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร ให้การต้อนรับ และ รศ.ดร.สถาพร อมรสวัสดิ์วัฒนา รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา บรรยายสรุปการจัดการเรียนการสอนด้วยระบบ Hybrid Learning System นอกจากนี้ยังศึกษาระบบบริหารจัดการมหาวิทยาลัย โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในงานด้านระบบงานทะเบียนและประมวลผล งานบัญชีและงบประมาณ งานการเงิน และงานบริหารทรัพยากรมนุษย์
มหาวิทยาลัยหอการค้า เป็น Reference Sites ของ Vision Net
http://www.vn.co.th/
ดูงานมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ดูงานมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

5w จาก ohec newsletter

ohec newsletter
ohec newsletter

พบคำว่า 5 w จาก จดหมายข่าวของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (OHEC Newsletter) ซึ่งประกอบกอบด้วย who what when where และ why หรือใคร ทำอะไร เมื่อไร ที่ไหน ทำไม ซึ่งคาดว่าต้องการให้ผู้อ่านได้ตระหนักในการทำกิจกรรม / โครงการ ว่าต้องคิดอย่างไร จากแนวเริ่มต้นที่ให้มาทั้ง 5 มีดังนี้
1. งานนั้นใครรับผิดชอบ หรือมีเจ้าภาพ
2. งานนั้นคืออะไร ทำอะไร หรือเพื่ออะไร
3. งานนั้นทำเมื่อไร เป็นการกำหนดสิ่งที่ต้องทำแต่ละช่วงเวลา
4. งานนั้นทำที่ไหน ภายนอก/ภายใน เตรียมตามแผนอย่างไร
5. งานนั้นทำไปทำไม จำเป็นแค่ไหน สมเหตุสมผลที่จะทำหรือไม่
ผมว่า สกอ. คงเสนอว่านี้เป็นการเริ่มต้น หากก้าวพ้นแนวคิดเริ่มต้นด้วยความเข้าใจได้ คงไปถึง AAR ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมก่อนกระบวนการวนรอบจะครบถ้วนสมบูรณ์
http://www.thaiall.com/pdf/ohec/
http://www.mua.go.th/pr_web/ohecnewsletter/index.html

ศึกษาศาสตร์ มช. ม็อบไล่คณบดีอ้างไม่มีธรรมาภิบาล-บริหารงานล้มเหลว

ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ – ศึกษาศาสตร์ มช.เดือด “คณาจารย์-บุคลากร-นศ.” จัดขบวนชุมนุม-ยื่นหนังสือ ร้องสภามหาวิทยาลัยปลดคณบดีพ้นตำแหน่ง อ้างบริงานล้มเหลว-ขาดธรรมาภิบาล-ส่อทุจริต ชี้เรื่องร้องเรียนมาตั้งแต่สิงหาปีก่อนแต่กลับไม่มีความคืบหน้า หวั่นยิ่งนานคณะยิ่งตกต่ำ เผยคณะปัญหาเพียบทั้งหลักสูตรไม่ได้ปรับปรุง-ยุบรวมสาขาวิชา-ปัญหาบุคลากร แถมคณะผู้บริหารทยอยลาออก-อาจารย์งดสังฆกรรมคณบดี

วันนี้ (21 ก.ค.54) ที่คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นักศึกษา คณาจารย์และบุคลากรของคณะศึกษาศาสตร์จำนวนประมาณ 300 คน ได้ร่วมชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ออกจากตำแหน่ง และยื่นหนังสือต่อสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอให้ปลดคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ออกจากตำแหน่ง

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9540000090081
http://paidoo.net/article/9025206.html

บทเรียนที่ร่วมวิจัยเครือข่ายมหาวิทยาลัยลำปาง

นิคมพัฒนา
นิคมพัฒนา

9 มิ.ย.54 บทเรียนจากการร่วม “โครงการวิจัย แนวทางการทำงานของเครือข่ายสถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปางเพื่อสร้างการเรียนรู้และเสริมศักยภาพชุมชนพื้นที่ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดลำปา“จากการร่วมโครงการระยะที่ 1 ระหว่าง 1 มกราคม 2554 – 31 พฤษภาคม 2554 จำแนกได้ 2 ประเด็นหลัก
ประเด็นหลักที่ 1 ความรู้ คือ
1. การได้รู้เทคนิค และฝึกฝนการวิเคราะห์ชุมชนผ่านการใช้ SWOT ที่เปรียบเทียบกับการใช้อริยสัจสี่ เพราะทั้งสองแบบสามารถใช้งานได้กับชุมชน โดย SWOT นั้นถูกใช้รวบรวมข้อมูลตามประเด็นหลัก 3 ครั้งได้แก่ การศึกษา เกษตร อาชีพ และอริยสัจสี่ใช้กับสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
2. การได้ฝึกเขียนแผนที่ความคิด (MindMap) และเรียนรู้การเขียนจากคุณภัทรา มาน้อย ผ่านการลงมือปฏิบัติ เปรียบเทียบการเขียน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมทั้งการใช้เป็นเครื่องมือเก็บประเด็นเป้าหมาย และการนำเสนอผลการวิเคราะห์ชุมชนรายกลุ่ม
3. การได้แลกเปลี่ยนเทคนิคการวางแผน การจับประเด็น การคิด การพูด การฟัง ร่วมกับเพื่อนนักวิชาการในสาขาวิชาต่าง ๆ ได้มีโอกาสฟังข้อเสนอแนะของ นักคิดนักบริหารระดับประเทศ คือ ศ.ดร.ปิยวัฒน์ บุญหลง และ ดร.บัญชร แก้วส่อง ต่อโครงการของทีมงาน

ประเด็นหลักที่ 2 ความสุข คือ
1. การได้เห็นรอยยิ้มจากความสุขผู้คนในชุมชน ที่ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มที่มีความเข้าใจ มีฐานคิดคล้ายกัน ได้ระบายปัญหา จุดแข็ง และเป้าหมายที่ต้องการบรรลุ และได้ออกมานำเสนอด้วยตนเอง
2. การได้ใช้เวลาว่างในวันสุดสัปดาห์ทำงานกับชุมชน เพราะการทำงานในกรอบ ใต้กฎเกณฑ์รัดตัว ผู้คนที่มุ่งแต่แข่งขัน ในป่าคอนกรีต ย่อมมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างจากการทำงานกับชาวบ้าน ในพื้นที่ที่แวดล้อมด้วยป่าเขา ลำธาร และบรรยากาศบริสุทธิ์ เป็นสิ่งที่ผู้คนมากมายใฝ่ฝัน แต่มีเพียงไม่กี่คนที่ไปถึงฝั่งฝัน
3. การทำตัวเป็นประโยชน์แก่ชุมชน เพราะการให้ความรู้เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาที่มุ่งเข้าศึกษาในสถาบันนั้นมีกรอบอยู่แต่ในมหาวิทยาลัย แต่การออกให้บริการวิชาการเชิงประยุกต์นั้น มีเรื่องคาดไม่ถึงให้ประหลาดใจอยู่เสมอ  เพราะนอกจากจะเป็นผู้ให้ความรู้แก่ชุมชนแล้ว ก็ยังเป็นผู้รับความรู้ไปพร้อมกัน พร้อมกับการแก้ปัญหาไปตามสถานการณ์เฉพาะหน้า
4. การได้เพื่อนใหม่ต่างวัยต่างสมณะที่มาจากห้าสถาบันการศึกษาหลัก รวมกลุ่มเป็นเครือข่ายมหาวิทยาลัยลำปาง แล้วร่วมกันทำงานวิจัยและบริการวิชาการเพื่อชุมชน เป็นโอกาสที่อาจมีเพียงครั้งเดียวในชีวิต เพราะเพื่อนจากแต่ละสถาบันมีความเป็นกัลยาณมิตรที่หาได้ยากยิ่ง ในทีมทั้ง 29 คนมีเป้าหมายเดียวกันคือ ทำเพื่อชุมชน และมุ่งประโยชน์ของชุมชนเป็นที่ตั้ง

แผ่นพับ (Folder)

brochure folder leaflet
brochure folder leaflet

25 เม.ย.54 ทำตัวเป็นนักท่องเที่ยวไปเดินที่ BigC พบบูธของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง วางแผ่นพับแบบ 2 พับ 3 ตอน จึงหยิบมาดูด้วยความสนใจ เพราะออกแบบได้ดี และเนื้อหาน่าสนใจถูกใจวัยรุ่นอย่างผม

ประเด็นที่สนใจ
– brochure มีขนาด 18 ซม * 54 ซม
– มีนักศึกษาหน้าตาดีถึง 17 คน
– ปกมีสารบัญว่าเอกสารขนาด 2 พับ 3 ตอนจะนำเสนออะไร
– หน้าแรกคือ กำหนดการ วิธีการ และหลักฐานที่จำเป็น
– หน้าสองคือนักศึกษามานำเสนอคณะวิชา
– หน้าสามและสี่คือรายละเอียดของคณะวิชา
– หน้าห้าคือจุดเด่นที่เน้นเรื่องสถานที่ และการเดินทาง

แผ่นพับ คือ สิ่งพิมพ์ที่ขณะใช้งานมีการกางพับเข้าและกางออก อาจมีวัตถุประสงค์เพื่อการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือเป็นคู่มือสินค้า

http://www.supremeprint.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538768851

C2U (CITEC-To-University)

citec
citec

31 มี.ค.54 ได้พบ กรรมการผู้จัดการ บริษัท CITEC Evolution จำกัด ในงาน TISA Pro-talk ท่านเล่าให้ฟังว่ามีโครงการดี ๆ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศเราอีกโครงการหนึ่ง คือ โครงการ C2U (CITEC-To-University) เป็นโครงการแลกเปลี่ยนความรู้และแข่งขันด้าน IT ระหว่างมหาวิทยาลัย มีสโลแกนคือ อบรมฟรี มีทุนการศึกษา พบเพื่อนใหม่ พัฒนาประเทศชาติ

หลักการและเหตุผล
เนื่องด้วยการเรียนภายในมหาวิทยาลัยปัจจุบันต้องยอมรับว่ามีข้อจำกัดหลายประการ เช่นเวลาในการสอนมีจำกัดจึงทำให้การเรียนการสอนในส่วนของภาคปฏิบัตินี้ไม่สามารถเป็นไปตามเป้าหมายที่คาดไว้ได้ อีกประการหนึ่งก็คือ ขาดผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้ความรู้ที่ลึกซึ้งในบางหัวข้อเช่น Computer Security, Mobile Device Programming, Virtualization ซึ่งเป็นด้านที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาด IT ด้วยปัญหาดังกล่าวนี้ ทำให้ผู้เรียนเอง เมื่อจบออกไปก็ต้องไปขนขวายอบรมกับสถาบันการสอนต่างๆอีกครั้ง เสียค่าใช้จ่ายและเวลาเพิ่มมากขึ้น แทนที่สำเร็จการศึกษาออกมาแล้ว จะมีความพร้อมสามารถประกอบ อาชีพได้เลยทันที ด้วยเหตุนี้ผู้ประกอบการเอกชนหลายแห่ง ต่างก็ประสงค์ที่จะผู้สมัครพนักงานที่มีประสบการณ์ในการทำงานมากกว่านักศึกษาที่จบใหม่ที่ขาดประสบการณ์มาก่อน ดังนั้นกล่าวได้ว่า การแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากนอกห้องเรียนและได้สัมผัสกับโจทย์ในโลกการทำงานจริงๆนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ด้วยเหตุนี้ทางบริษัท จึงเล็งเห็นว่าการนำความรู้จากประสบการณ์

Teleconference online
– Programming: C/C++, C#, Java, HTML, Javascript, PHP
– Mobile Phone Programming: iPhone/iPod/iPad , Android
– Web/Graphics Design: Photoshop, Dreamweaver, Illustrator,In-Design
– Computer and Network Security: Web Security, Wireless Security, Application Security
– Window/Linux System Administration: Window 2003, 2008, Linux

กิจกรรมภายใต้โครงการ
1. บริษัทจัดการอบรมแลกเปลี่ยนความรู้ ผ่านระบบ Teleconference ให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
2. มีการคัดเลือกคณะทำงานของนักศึกษแต่ละมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นตัวแทนในการติดต่อประสานงาน
3. แต่ละมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการจะต้องคัดเลือกตัวแทนนักศึกษาที่จะมาเป็นวิทยากรสอนผ่านระบบ Teleconference (จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนการสอนไปมหาวิทยาลัยต่างๆทุกสัปดาห์ หรือตามแต่ความเหมาะสมของ แผนการอบรม)
4. มีการจัดการแข่งขันขึ้นในหัวข้อที่อบรม ระหว่างมหาวิทยาลัยเช่น University Programming Cup
5. มีการประชุมประจำเดือนโดยผลัดเปลี่ยนสถานที่ประชุมและเจ้าไปภาพไปยังมหาวิทยาลัยต่างๆ
6. ทางบริษัท CITEC จะมีการเชิญนักศึกษาที่สนใจเข้ามาร่วมพัฒนาระบบในโปรเจคต่างๆ เพื่อเป็นการสนับสนุนทุนการศึกษาในระหว่างเรียน
7. เผยแพร่กิจกรรมของกลุ่มให้บุคคลภายนอกทราบผ่าน website, facebook หรือ youtube เป็นต้น
8. มีการเผยแพร่ความรู้ด้าน Computer Security ภายใต้โครงการ Sec2U จาก CITEC
9. มีการคัดเลือกนักศึกษาที่มีความสามารถเข้าไปร่วมงานกับบริษัทต่างๆ ที่ตรงกับความสามารถเมื่อจบการศึกษา

http://www.citec.us
http://www.citecclub.org
http://www.facebook.com/citecclub

สูตรรวยเจ้าพ่อ คอม-ลิงค์ ศิริธัช โรจนพฤกษ์

nation university
nation university http://www.nation-u.com

ข่าวจาก bangkokbiznews.com สูตรรวยเจ้าพ่อ คอม-ลิงค์ ศิริธัช โรจนพฤกษ์

ศิริธัช โรจนพฤกษ์ เจ้าพ่อคอม-ลิงค์ สอนวิธี ‘รวย’ ฉบับมือใหม่ ‘ให้เงินทำงาน’ ด้วยการซื้อหุ้นปันผลสูงกว่าดอกเบี้ย และขายเมื่อขึ้นมา 2-3 เท่า

นานทีปีหนที่ ศิริธัช โรจนพฤกษ์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คอม-ลิงค์ จำกัด จะออกมาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเขามักถูกพูดถึงในทำนอง “มิสเตอร์ Shadow” เข้าไปเกี่ยวข้องกับหุ้น (ร้อน) หลายบริษัทโดยเฉพาะในยุคที่ บล.บีฟิท (BSEC) รุ่งเรืองซึ่งในอดีตโบรกเกอร์แห่งนี้ถือเป็นแหล่งชุมมังกรซ่อนพยัคฆ์ ปัจจุบันศิริธัชยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ บง.กรุงเทพธนาทร (BFIT) บริษัทแม่ของ “บล.บีฟิท”

ต่อมาปี 2549 เจ้าพ่อคอม-ลิงค์ถูกมองว่าอยู่เบื้องหลัง วรเจตน์  อินทามระ และ สมโภชน์ อาหุนัย เข้าเทคโอเวอร์ บมจ.ซีฮอร์ส (SH) ก่อนจะเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจจากอาหารทะเลแช่แข็งมาทำธุรกิจพลังงานทดแทนใน ชื่อบริษัทใหม่ บมจ.อีเทอเนิล เอนเนอยี (EE) จากนั้นศิริธัชค่อย ๆ ก้าวออกมาอยู่เบื้องหน้าในฐานะ “เจ้าของตัวจริง” และลามือจาก “หุ้นร้อน” เกือบหมดสิ้น

ปัจจุบันเขาและกลุ่มคอม-ลิงค์ ยังถือหุ้นใหญ่อาคารไอทาวเวอร์ (อาคารฐานเศรษฐกิจเดิม) เป็นเจ้าของเว็บไซต์อีไฟแนนซ์ไทยดอทคอม และเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ บมจ.เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป (NMG) ผ่านบริษัท ปรีดาปราโมทย์ จำกัด ก่อนจะมีการโอนขายหุ้นไปอยู่ในชื่อ มยุรี สุขศรีวงศ์ เมื่อปลายปี 2551

ในขณะที่กลุ่มคอม-ลิงค์ เป็นแหล่งรวมของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ของเมืองไทยมีผู้ถือหุ้นได้แก่ กลุ่มโรจนพฤกษ์ 18.62% กลุ่มสันติ ภิรมย์ภักดี 17.5% กลุ่มสุขศรีวงศ์ 14.45% ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล 8.34% ธนาคารกสิกรไทย 6.25% ตระกูลอดิเรกสาร 8.76% และตระกูลล่ำซำ 5.2% เป็นต้น

เมื่อ 2-3 ปีก่อนกลุ่มคอม-ลิงค์ มีเงินลงทุนในตลาดหุ้นสูงกว่า 4,000 ล้านบาท ช่วงนั้นศิริธัชเปิดตัวต่อสื่อมวลชนครั้งแรกมีนักข่าวถามเขาว่า พอร์ตการลงทุนของกลุ่มโรจนพฤกษ์ และกลุ่มคอม-ลิงค์ มีมูลค่าเท่าไร

ศิริธัช กล่าวว่า “ไม่ขอตอบ” เดี๋ยวจะหาว่า “ผมขี้โม้” (ฟังแล้วอาจไม่เชื่อ) แต่บอกได้คร่าวๆ ว่า มีการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยในต่างประเทศจะเน้นลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ประเภทโรงแรม เนื่องจากสามารถเก็บกินผลประโยชน์ได้ในระยะยาว รวมทั้งได้ลงทุนในมหาวิทยาลัยโยนก จังหวัดลำปาง ซึ่งล่าสุดได้ขายใบอนุญาตประกอบกิจการให้กับเครือเนชั่น และกลุ่มเสริมสิน สะมะลาภา ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น “มหาวิทยาลัยเนชั่น”

หากคุณอยากร่ำรวยเหมือนผมจงให้เงินทำงาน อย่าให้มันนอนนิ่ง ๆ” ศิริธัชกล่าว ล่าสุดเขากำลังปลุกปั้น บมจ.อีเทอเนิล เอนเนอยี (EE) มีแผนผลิตเอทานอล 6.5 แสนลิตรต่อวัน มูลค่าเงินลงทุนสูงถึง 5,950 ล้านบาท

เจ้าพ่อคอม-ลิงค์ กล่าวว่า คุณรู้หรือไม่ทุกวันนี้ที่ผมร่ำรวยไม่ได้เป็นเพราะผมเก่ง แต่มันเกิดจาก “ความเฮง” ล้วนๆ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับ “บุญวาสนา” ต่อให้เก่งมากขนาดไหนแต่ไม่มีวาสนาเลยชีวิตคุณก็คงไปไม่ถึงดวงดาว

คำแนะนำของเศรษฐีรุ่นใหญ่วัย 65 ปีรายนี้บอกเล่าถึงวิธี “รวยหุ้น” ให้กับมือใหม่ว่า หาก มีเงินเย็นๆ อยู่ในมือให้เอาไปซื้อหุ้นที่จ่ายเงินปันผลสูงกว่าดอกเบี้ย หรือไปซื้อหุ้นที่มีสภาพคล่องรอให้ราคาปรับตัวลงมาแล้วค่อยเข้าไปซื้อ เขายกตัวอย่างหุ้นราคา 100 บาท ถ้าได้รับปันผลปีละ 5 บาท แค่นี้ก็คุ้มเกินคุ้มแล้ว

“ซื้อแล้วไม่ใช่ปล่อยให้มันนอนแช่นิ่งๆ ต้องดูแลมันด้วย ถ้าราคาหุ้นขึ้นไป 2-3 เท่าจากต้นทุนก็ควร “ขายออก” แล้วกำเงินสดไว้เพื่อรอจังหวะนำไปลงทุนอย่างอื่นต่อไป…ผมเรียกมันว่า “เงินต่อเงิน” เงินมันต้องทำงานอย่าให้มันนั่งนอนอยู่เฉยๆ” เขาเผยเคล็ดลับ

ศิริธัชบอกว่าพนักงานในบริษัทของเขาส่วนใหญ่จะเคยฟังเขาปฐมนิเทศเกี่ยว กับเคล็ดลับความร่ำรวยเสมอๆ เจ้าตัวไม่ขอตอบคำถามการลงทุนในส่วนอื่นๆ และหลีกเลี่ยงที่จะแนะนำหุ้นรายตัว โดยบอกเพียงว่า “ไปหาซื้อหุ้นที่มีคุณลักษณะตามที่ผมบอก (จ่ายเงินปันผลสูงกว่าดอกเบี้ยและมีสภาพคล่อง) เดี๋ยวก็ได้พบเจอกับคำว่า “รวย” อีกอย่างถ้าพูดว่าหุ้นตัวไหนจะดี คนเขาก็หาว่าผมปั่นหุ้น พอบอกว่าตัวไหนไม่ดีก็หาว่าผมทุบหุ้น”

ที่ผ่านมามีหลายครั้งที่ชื่อของเขาหลุดเข้าไปเกี่ยวข้องกับหุ้นร้อนหลาย บริษัทแต่ศิริธัชก็ไม่เคยออกมาแก้ข่าวหรือโต้ตอบใดๆ เขากล่าวถึงประเด็นนี้ว่า ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งจะบอกเสมออย่าพูดอะไรจะดีกว่า ปล่อยให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์เองดูอย่างเรื่องที่ผมอยากทำโรงงานผลิตเอทา นอลตอนนั้นคนก็ไม่เชื่อนะ (คิดว่าปั่นหุ้น) แต่วันนี้เห็นแล้วว่าผมทำจริงและแสงสว่างปลายอุโมงค์ก็เกิดขึ้นแล้ว

เศรษฐีรายนี้เชื่อเรื่องบุญกรรมและชอบทำบุญเป็นประจำเขาเชื่อว่าที่ร่ำ รวยมาได้ทุกวันนี้เป็นเพราะ “พระท่านให้พร” บวกกับได้สะสมบุญบารมีมาตลอดชีวิต ทุกครั้งที่จะพูดหรือทำอะไรผมจะคิดเสมอว่าขอให้บุคคลเหล่านั้นเข้าใจในสิ่ง ที่เราพูด ในทุกๆ วันเขาจะนั่งสมาธิวันละ 2 เวลา ช่วงเช้าและก่อนนอนครั้งละ “ครึ่งชั่วโมง”

“ผมหัดนั่งสมาธิมาตั้งแต่อายุ 10 ขวบ ผมเคยเดินสมาธิจากถนนสามเสนไปแถวสนามหลวง หายใจเข้าออกพุทโธ ฝึกจิตให้อยู่กับตัวเราตลอดเวลา นี่ตั้งใจว่าจะนั่งสมาธิวันละ 3 เวลา ครั้งละ 5 นาที ตามที่พระอาจารย์หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร (เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล วัย 91 ปี) สั่งสอน”

ศิริธัชเป็นหนึ่งในศิษย์เอกของหลวงพ่อวิริยังค์ เจ้าตัวบอกว่า เดี๋ยววันที่ 20 มีนาคม 2554 นี้ ท่านจะมาสอนฝึกพลังจิตพระอาจารย์บอกว่าหากเราทุกคนมีพลังจิตอยู่ในตัวมันจะ เหมือนฝากเงินไว้ในธนาคารเราสามารถจะถอนออกมาใช้ได้ พลังจิตจะทำให้ร่างกายสดชื่น…ผมเชื่อว่าหากเราทุกคนมีพลังจิตจะทำอะไรก็ ประสบความสำเร็จ

EE (Ethanol Energy) เริ่มมีกำไรสุทธิ ปี 2557

โครงการผลิตเอทานอลของ บมจ.อีเทอเนิล เอนเนอยี (EE) ก่อสร้างบนพื้นที่ 1,500 ไร่ ในอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปี โรงงานจะแล้วเสร็จประมาณกลางปี 2555

บริษัท แคปปิตอล พลัส แอดไวซอรี่ จำกัด ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ ได้ประมาณการรายได้และกำไรสุทธิของ EE บนสมมติฐานปี 2556 ใช้กำลังการผลิต 65% และช่วงปี 2557-2563 ใช้กำลังการผลิตที่ 70% โดยในปี 2554-2555 บริษัทจะมีรายได้จากการขายมันสำปะหลังปีละ 22 ล้านบาท โดยจะเริ่มมีรายได้จากการผลิตเอทานอลในปี 2556 จำนวน 1,988 ล้านบาท แต่ผลการดำเนินงานยัง “ขาดทุน” ในช่วง 3 ปีนี้ (2554-2556)

ในปี 2557 อีเทอเนิล เอนเนอยีจะ เริ่มมีกำไรสุทธิเป็นปีแรกประมาณ 300 ล้านบาท บนประมาณการรายได้ก้าวกระโดดเป็น 4,435 ล้านบาท บนสมมติฐานระยะเวลาในการคืนทุน 8.35 ปี อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี (IRR) ที่ 17.25% บนประมาณการราคาขายเอทานอลเฉลี่ยอยู่ที่ลิตรละ 28.52 บาท

ศิริธัช โรจนพฤกษ์ ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.อีเทอเนิล เอนเนอยี เชื่อว่าอนาคตบริษัทจะสดใส เผลอๆ จะทำได้ดีกว่าที่บริษัท แคปปิตอล พลัส แอดไวซอรี่ ประมาณการไว้ด้วย เพราะที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเขาประเมินผลประกอบการเพียงแค่ 70% ส่วนตัวคิดว่า 100% เราทำได้มันไม่ใช่เรื่องยากอะไร ตลาดในประเทศเราก็มีลูกค้าอยู่แล้ว ล่าสุดก็เซ็นสัญญาขายเอทานอลให้กับ ปตท. ขณะที่ตลาดต่างประเทศอย่างจีน ก็เล็งจะส่งไปขายด้วย

“เราใช้เวลาหลายปีในการศึกษาโครงการนี้ ผมจึงมั่นใจว่าดีแน่นอน ถามว่าที่ผ่านมาเหนื่อยมั้ย! ผมว่ามันกำลังจะเริ่มเหนื่อยมากกว่า ธุรกิจที่ทำมันมีความเสี่ยงก็จริงแต่มันเสี่ยงน้อยที่สุด และคุ้มค่ามากด้วย” ศิริธัช มั่นใจสุดๆ

เขาบอกว่า ผลการศึกษาของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระถ้าราคาขายเอทานอลเฉลี่ยอยู่ที่ลิตร ละ 27.09 บาท ผลตอบแทนจากการลงทุนจะอยู่ที่ 13.26% ต่อปี ระยะเวลาคืนทุน 10 ปี ถ้าราคาขายอยู่ที่ลิตรละ 28.52 บาท จะได้ผลตอบแทนปีละ 17.25% คืนทุนในเวลา 8.35 ปี แต่ถ้าราคาขายขึ้นไป 29.94 บาทต่อลิตร  ผลตอบแทนเฉลี่ยจะอยู่ที่ 20.83% ต่อปี คืนทุนใน 7.3 ปี

เจ้าพ่อคอม-ลิงค์ กล่าวทิ้งท้ายว่า อีเทอเนิล เอนเนอยี (EE) กำลังจะดีขึ้นตามลำดับ เพราะผมตั้งใจกับมันมาก (ลากเสียงยาว) ถ้ารักแล้วรอหน่อยเถอะครับ!

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/bizweek/20110301/379604/%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3-%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A2-%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1-%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C-%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B1%E0%B8%8A-%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C.html
http://www.toro.in.th/1299/%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B9%8D%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B5.html

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงาน ม.เกษตร

ผลการดำเนินงานเทคโนโลยีสารสนเทศปี พ.ศ. 2548 – 2550
http://www.ku.ac.th/e-university/result2548-2550.html
1. ระบบงบประมาณ
โครงการพัฒนาระบบงบประมาณ หรือ โครงการบัญชี 3 มิติ (https://acc3d.ku.ac.th/) มีระบบงานย่อยที่เปิดใช้ รวมทั้งสิ้น 3 ระบบ ได้แก่ ระบบจัดทำงบประมาณเงินรายได้ประจำปี 2550 ปี 2551 การจัดสรรเงินงบประมาณ และ การจัดสรรเงินประจำงวด ได้ดำเนินการจัดอบรมให้แก่บุคลากรหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้มีความเข้าใจในระบบงานบัญชี 3 มิติ และสามารถนำไปปฏิบัติงานได้จริง โดยเนื้อหาการจัดอบรม ประกอบด้วย 4 ระบบงานหลัก ได้แก่ งบประมาณ พัสดุ การเงิน และการบัญชี มีบุคลากรเข้ารับการอบรมจำนวน 917 คน แยกเป็น วิทยาเขตศรีราชา จำนวน 72 คน วิทยาเขตสุพรรณบุรี จำนวน 15 คน วิทยาเขตบางเขน จำนวน 539 คน วิทยาเขตลพบุรี จำนวน 11 คน วิทยาเขตกำแพงแสน จำนวน 231 คน วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร จำนวน 39 คน และวิทยาเขตกระบี่ จำนวน 10 คน
2. ระบบการเงินและบัญชี
เป็นระบบ สารสนเทศที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการบัญชี 3 มิติ ที่ใช้งานโดยกองคลังและหน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัย เพื่อบันทึกรายละเอียดการดำเนินงานด้านการเงินของโครงการ เช่น การรับเงินและการออกใบเสร็จ รายงาน ณ สิ้นวัน/เดือน/ปี รายการใบนำส่ง/ใบนำฝาก พิมพ์เช็ค การโอนเงิน เงินทดรองจ่าย รายการลงบัญชีงบดุล เป็นต้น และสามารถใช้เพื่อจัดทำรายงานทางการเงินในรูปแบบงบแสดงฐานะการเงิน งบแสดงผลการดำเนินงาน งบกระแสเงินสด โดยเริ่มใช้งานตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 เป็นต้นมา
3. ระบบพัสดุและทะเบียนทรัพย์สิน
เป็นระบบสารสนเทศที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ 3 มิติ ช่วยสนับสนุนการจัดซื้อ จัดจ้าง ควบคุมครุภัณฑ์และทะเบียนทรัพย์สินและทะเบียนวัสดุ เป็นต้น โดยเริ่มใช้งานตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 เป็นต้นมา https://acc3d.ku.ac.th/
4. ระบบการประชุมอิเล็กทรอนิกส์
เริ่มใช้ระบบนี้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2545 ในการประชุมผู้บริหารระดับสูงอื่น ได้แก่ การประชุมคณบดี การประชุม อ.ก.ม. และการประชุมสภามหาวิทยาลัย การประชุมแบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นการประชุมที่พิจารณาข้อมูลวาระการประชุมผ่าน เครือข่าย เพื่อให้การประชุมในแต่ละครั้งมีความสะดวก รวดเร็ว และทันสมัย อีกทั้งสามารถค้นหาและอ่านข้อมูลได้โดยสะดวกในทุกเวลาและทุกสถานที่ ที่ http://emeeting.ku.ac.th
5. ระบบทวนสอบข้อมูลบุคลากร
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ ได้ให้การสนับสนุนด้านเทคนิคและการจัดทำโปรแกรม และการจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูล ระบบทวนสอบข้อมูลบุคลากรมหาวิทยาลัย โดยมีกองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานอธิการบดี เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บข้อมูลหลักของข้าราชการและลูกจ้างประจำ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งการทวนสอบข้อมูลเป็นช่องทางหนึ่งของการสำรวจสถานภาพที่แท้จริงของ บุคลากรมหาวิทยาลัยประเภทต่าง ๆ ที่ https://mis.person.ku.ac.th/report_person/profile/
6. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ร่วมกับสถาบันวิจัย และพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ดำเนินการพัฒนาระบบงานสารบรรณ และการจัดการระบบเอกสารของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถออนไลน์ผ่านทางเครือข่ายได้ทันที ทำให้ระบบการรับ-ส่ง หนังสือบันทึกราชการ ประกาศ และหนังสือเวียนต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย สามารถรับ-ส่ง ถึงกันได้อย่างรวดเร็ว ประหยัดเวลา ทรัพยากร ทั้งด้านกำลังคน กระดาษ และงบประมาณได้อย่างมาก ที่ http://life.ku.ac.th

ระบบสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน
1. ระบบสนับสนุนการเรียนการสอน M@xLearn
ระบบสนับสนุนการเรียนการสอนผ่านเว็บของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ( Learning/Content Management System : LMS หรือ LCMS) ได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และทดลองใช้มาตั้งแต่ปี 2542 ต่อมาได้ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ พร้อมกับขยายการใช้งานไปสู่ระดับ มหาวิทยาลัยในปี 2544 และสนับสนุนการเปิดสอนหลักสูตรที่เรียนแบบออนไลน์ของคณะฯ ในปี พ.ศ. 2546 โดยได้ตั้งชื่อซอฟท์แวร์ LMS ดังกล่าวอย่างเป็น ทางการว่า M@xLearn (Maximum Learning) ที่ http://course.ku.ac.th
2. ระบบหลักสูตรระดับบัณฑิตวิทยาลัยและข้อมูลสนับสนุนผู้บริการของบัณฑิตวิทยาลัย
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย พัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างของฐานข้อมูลหลักสูตรระดับบัณฑิตวิทยาลัยและฐาน ข้อมูลอื่นของบัณฑิตวิทยาลัย ให้มีมาตรฐานเดียวกัน และสามารถเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ โดยเริ่มใช้งานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2548 พร้อมกับได้พัฒนาระบบสารสนเทศวิทยานิพนธ์เพื่อการเรียกค้นข้อมูลวิทยานิพนธ์ ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ โดยเริ่ม ใช้งาน ตั้งแต่เดือนมกราคม 2548
3. พัฒนาระบบลงทะเบียนอบรม/สัมมนาออนไลน์
ระบบลงทะเบียนอบรม/สัมมนาออนไลน์ ช่วยให้บัณฑิตวิทยาลัยบริหารการลงทะเบียนเข้าร่วมการอบรม/สัมมนาที่หน่วยงาน จัดขึ้นได้โดยผ่านทางเครือข่ายนนทรี และทำให้การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่สะดวกและคล่องตัวขึ้น โดยเริ่มใช้ในงานสัมมนาทางวิชาการในเดือนตุลาคม 2548 และจะเป็นต้นแบบของการใช้งานในส่วนกลางของมหาวิทยาลัยต่อไป
4. พัฒนาระบบประเมินการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์
ระบบประเมินการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ ได้เริ่มใช้ตั้งแต่ ภาคต้น ปีการศึกษา 2547 ระบบได้อำนวยความสะดวกให้อาจารย์และนิสิต โดยสามารถทำการประเมินได้อย่างรวดเร็ว แบ่งการประเมินเป็น 3 ประเภท ได้แก่ นิสิตประเมินการสอนของอาจารย์ นิสิตประเมินการเรียนของตนเอง และอาจารย์ประเมินการสอนของตนเอง โดยในขณะนี้อยู่ในระหว่างการพัฒนา ปรับปรุงระบบฯ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพ ตามระบบถามตอบ และข้อเสนอแนะของผู้ใช้ เว็บไซด์ระบบฯ ที่ https://eassess.ku.ac.th/

ระบบสารสนเทศเพื่อการวิจัย
1. ระบบฐานข้อมูลงานตีพิมพ์ทางวิชาการ
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ได้ดำเนินการเพื่อสนับสนุนให้เกิดการรวบรวมงานวิจัยของ บุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเป็นฐานข้อมูลเพื่อเผยแพร่อ้างอิงได้ อีกทั้ง มีกลไกการเรียกค้นและนำไปใช้งานต่อไปได้ ระบบฐานข้อมูลงานตีพิมพ์ จะแสดงรายการงานตีพิมพ์ในรูปแบบ เดียวกับเอกสารอ้างอิงทางวิชาการ พร้อมทั้งมีแฟ้มอิเล็กทรอนิกส์บรรจุผลงานเพื่อให้ผู้สนใจสามารถเปิดอ่านได้ ในปี 2549 มีข้อมูลงานตีพิมพ์ทางวิชาการแล้ว ทั้งสิ้น 1,621 รายการ โดยสามารถป้อนข้อมูลและการสืบค้นผ่านทางอินเทอร์เน็ตที่ https://pindex.ku.ac.th/

ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริการ
1. ระบบปฏิทินกิจกรรม มก. (e-Calendar)
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ได้จัดทำเว็บเพจปฏิทินกิจกรรมของมหาวิทยาลัย เพื่อใช้ในการแจ้งข่าวสารและประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัยโดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่เพื่อให้สะดวกในการค้นหา เช่น ทุนการศึกษา การประชุมทางวิชาการ การฝึกอบรม การรับสมัครงาน เป็นต้น ระบบปฏิทินกิจกรรม มก. เปิดบริการตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2549 ผู้ที่สนใจสามารถเรียกดูได้ที่หน้าแรกของโฮมเพจมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือที่ http://calendar.ku.ac.th

ระบบบริการอื่น
1. ระบบโทรทัศน์ผ่านเครือข่าย (ไอพีทีวี)
ไอพีทีวี เป็นรูปแบบหนึ่งของการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านเครือข่าย ด้วยความพร้อมด้านโครงข่ายสัญญาณที่ครอบคลุมในวิทยาเขต มหาวิทยาลัยได้มอบให้ สำนักบริการคอมพิวเตอร์ถ่ายทอดสัญญาณผ่านเครือข่ายนนทรี โดยแพร่ภาพกิจกรรมที่ถ่ายทำไว้ล่วงหน้าหรือถ่ายทอดสดงานที่จัดขึ้นใน มหาวิทยาลัยภายใต้ ความร่วมมือกับบริษัท บีลิงค์ มีเดีย จำกัด ในโครงการ KU Channel โดยสำนักบริการคอมพิวเตอร์ได้ดำเนินการ ติดตั้งจอพลาสมาพร้อมสายสัญญาณ เพื่อกระจายสัญญาณตามจุดต่าง ๆ ทั้งสิ้น 8 จุด จำนวน 12 ตัว คือ โรงอาหารกลาง 1 จำนวน 2 ตัว โรงอาหารกลาง 2 จำนวน 2 ตัว บัณฑิตวิทยาลัย จำนวน 1 ตัว ศูนย์เรียนรวม 1 จำนวน 1 ตัว ศูนย์เรียนรวม 2 จำนวน 1 ตัว ศูนย์เรียนรวม 3 จำนวน 1 ตัว อาคารสารนิเทศ 50 ปีบริเวณชั้น U และชั้น 1 จำนวน 3 ตัว และคณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 ตัว
2. ระบบ E-Security
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยสำนักบริการคอมพิวเตอร์ ดำเนินการติดตั้งกล้องรักษาความปลอดภัย ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ภายใต้โครงการ e-Security ระยะแรก จํานวนทั้งสิ้น 36 ตัว เชื่อมโยงเข้าเป็นระบบเดียวกันที่สามารถบริหารจัดการได้สะดวก ตามจุดต่าง ๆ ได้แก่ บริเวณอาคารศูนย์ เรียนรวม 1 จํานวน 5 ตัว อาคารศูนย์เรียนรวม 2 จํานวน 2 ตัว อาคารศูนย์เรียนรวม 3 จํานวน 5 ตัว โรงอาหารกลาง 1 จํานวน 4 ตัว โรงอาหารกลาง 2 จํานวน 3 ตัว อาคาร Kasetsart IT Square (KITS) จํานวน 7 ตัว อาคารสํานักบริการคอมพิวเตอร์ จํานวน 5 ตัว อาคารศูนย์มัลติมีเดีย จํานวน 2 ตัว และอาคารจักรพันธ์ ฯ จํานวน 3 ตัว อีกทั้งมีระบบจัดเก็บข้อมูลที่สํานักบริการคอมพิวเตอร์ และมีจอตรวจสอบเหตุการณ์ ต่าง ๆ ที่ศูนย์เกษตรรวมใจ งานรักษาความปลอดภัยประตูงามวงศ์วาน โดยกล้อง ทุกตัวจะเชื่อมเข้าเครือข่ายนนทรี ทําให้สามารถตรวจสอบการทํางานระยะไกลจากคอมพิวเตอร์ได้โดยตรงผ่านเว็บ และยังสามารถดูภาพจากกล้องทุกตัวได้พร้อมกัน ตลอดจนมีระบบบันทึกภาพเพื่อเปิดดูย้อนหลังได้