สมัยก่อนมนุษย์มีสมบัติพัสถาน น้อยประเภทกว่าสมัยนี้นะ

sar handbook in bhes 2557
sar handbook in bhes 2557

สมบัติพัสถาน หมายถึง ทรัพย์สิน ที่ดิน และบ้านเรือน
อันได้แก่ แก้ว แหวน เงิน คำ ภาพวาด รูปป้้น อาคาร และสิ่งปลูกสร้าง
แต่สมัยนี้หาสมบัติพัสถานแบบเดิมมาเป็นเจ้าของนั้นยากขึ้น
สำหรับบางอาชีพ สมัยนี้การเลือกอาชีพจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็กมัธยม

สมบัติรูปแบบใหม่ที่เริ่มหากันมาครอบครอง ก็คือสิ่งที่อยู่ใน cloud
จับต้องกันไม่ค่อยได้ ที่จับต้องได้ก็เป็นเพียงเครื่องมือ เช่น server
แต่สิ่งมีค่ากว่า hardware คือ content
เช่น ภาพ คลิ๊ป งานเขียน เพชรนินจินดาในเกม หรือเงินในเกม เป็นต้น

วันนี้ได้ใช้บริการ revision ของ scribd.com
คือ upload เอกสารของ สกอ. ไปทับของเดิม
แต่ข้อมูลแวดล้อมเดิมยังอยู่
เพียงแต่เปลี่ยนรุ่น ก็เหมือนระบบของ fb group
ที่ผมมัก upload lecture note ให้นักศึกษาได้ติดตาม
ในระหว่างเรียนมีการแก้ไข ก็จะทำการ revision หลังปิดชั้นเรียน

เหตุที่ต้อง revision ใน scribd.com ครั้งนี้
เพราะผมนำเอกสาร pdf มา merge กันด้วย pdfcreator
แต่มีปัญหา หน้าสีดำเป็นบางหน้า
แล้ววันต่อมา ที่มหาวิทยาลัย คุณเปรม ได้รับแฟ้มจากพี่ทอง
แล้ว upload แฟ้มที่มีการ merge กันอย่างสมบูรณ์
ผมจึงนำเอกสาร ที่เป็นร่างประกันสกอ. 2557 มา upload ทับรุ่นเดิม
ผมถือว่าเอกสารต่าง ๆ ใน cloud หรือ social media
ล้วนเป็นสมบัติพัสถาน เพราะมีค่าทางจิตใจ และรู้สึกว่าเราเป็นเจ้าเข้าเจ้าของนั่นเอง

scribd can do revision
scribd can do revision

เอกสารรุ่นใหม่ ค้นจาก google.com ด้วยคำว่า
“ร่างคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557”
พบลิงค์แรก คลิ๊กเข้าไปก็พบบริการ “ตรวจสอบรายชื่ออาจารย์”
ที่ http://www.mua.go.th/users/bhes/

รุ่นใหม่ ทาง สกอ.ได้อัพเดท กำหนดตัวบ่งชี้ไว้ถึง 2.9
https://www.scribd.com/doc/241588240/

ส่วนรุ่นเก่าที่ระดับคณะวิชา กำหนดตัวบ่งชี้ไว้ถึง 2.8
เมื่อ 3 ต.ค.57 พบว่าถูก view ไป 377 ครั้ง
https://www.scribd.com/doc/221987061/

ศูนย์สอบออนไลน์แห่งใหม่

online quiz
online quiz

9 ต.ค.55 ผมได้เปลี่ยนนโยบาย thainame.net (อีกครั้ง) จาก “โฮมเพจฟรี และสคริปต์สำหรับสร้างบริการนี้” เป็น “ศูนย์สอบออนไลน์แห่งใหม่” โดยอาศัยเด็ก ๆ 3 คน สร้างข้อสอบ 3 ชุด คือ ชุดฝนดาวตก ชุดเกาะพีพี และชุดอ่าวมาหยา ส่วนชุดที่แถมเข้าไปคือ ชุดป๊ะป๋าม๊ะม๋า งานนี้เริ่มดำเนินการในช่วงปิดภาคเรียนที่ 1 ของม.1 น้องแฝด และม.2 ของพี่คนโต แทนที่จะเรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ เฉย ๆ ก็นำความรู้มาเรียบเรียง และเผยแพร่ในรูปของข้อสอบออนไลน์ โดยใช้การสร้างข้อสอบที่มีเด็ก ๆ เป็นกลไก และคาดว่าผมจะทิ้งไม้ปล่อยให้พวกเขาเข้าควบคุมระบบในเร็ววันนี้ ซึ่งช่วงนี้ผมใช้กระบวนการดังนี้

1. เด็ก ๆ พิมพ์ข้อสอบใน word ในชื่อแฟ้มที่ตนถนัด
2. ทำความเข้าใจเรื่องกฎการตั้งชื่อ และรูปแบบการพิมพ์
3. ผมเตรียมเครื่อง แก้ไขจาก test10.php มาเป็น test3.php และทดสอบ
4. ให้พวกเขาเปลี่ยนจาก word มาเป็น php โดยใช้ excel แบบ csv
5. เลือกสี และภาพประกอบชุดข้อสอบของตน
6. ตรวจทานผ่านระบบออนไลน์ แล้วแก้ไขให้ถูกต้อง

พรุ่งนี้ .. ผมต้องอบรมนักศึกษา เตรียมความพร้อมเข้าสหกิจฯ เรื่องการเขียนโฮมเพจ ก็คาดว่าจะเปิดให้นักศึกษาเข้าใช้บริการโฮมเพจฟรีผ่านโดเมนตัวนี้ ก่อนปรับ design ในวันถัด ๆ ไป โดยมี webpage ที่ให้บริการคือ http://www.thainame.net/ntu แล้วมี account ตั้งแต่ onea ถึง twoz ทั้งหมด 52 account ไว้คอยท่า

ระบบรับข้อมูลการสมัครเรียนด้วยแบบฟอร์มออนไลน์

online application of university in thailand
online application of university in thailand

ระบบรับข้อมูลการสมัครเรียนด้วยแบบฟอร์มออนไลน์
(Application form for the new student)

มหาวิทยาลัยเนชั่น
http://www.nation.ac.th/register-bangkok.php
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
http://www.sau.ac.th/apply.html
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
http://admission.utcc.ac.th/register-howto.html
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
http://admission.bu.ac.th/index.php/admissions/applymenu
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
http://admission.spu.ac.th/content/535/7857.php
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
http://www.admissions.au.edu/
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
http://web.spu.ac.th/apply/information
มหาวิทยาลัยคริสเตียน
http://estudent.christian.ac.th/admission/
มหาวิทยาลัยพายัพ
http://www.payap.ac.th/pyu_e-admission/
มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
http://www1.rbac.ac.th/graduate/candidate.asp
หน่วยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร
http://web.mis.nu.ac.th/graduate/register.php
มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น
http://lms.umt.ac.th:8080/umtreg/default3.aspx
มหาวิทยาลัยราชธานี
http://register.rtu.ac.th/
วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
http://www.cas.ac.th/systems/form_rg.asp
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง
http://www.trang.rmutsv.ac.th/~regis/reg_admission/webopac/index.php?option=mod_admission01
วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
http://www.bsc.ac.th/Register_Short/
มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล นครราชสีมา
http://i-vu.vu.ac.th/admission/apply.php
วิทยาลัยนครราชสีมา
http://reg.nmc.ac.th/OnlineRegister/regisonline.php
มหาวิทยาลัยเกริก
http://wwwback.krirk.ac.th/form/applyform.asp
วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ (MBA) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
http://mba.kku.ac.th/index.php?gid=admission&cid=webapply
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
http://reg.lru.ac.th/registrar/apphome.asp
สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
http://www.pim.ac.th/register
มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา
http://www.cpu.ac.th/cpu2010/apply53/reserve.php
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต
http://www.rsu-cyberu.com/msitm/RegisterI/register.php
มหาวิทยาลัยราชธานี
http://register.rtu.ac.th/Form.php
วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก
http://www.southeast.ac.th/register.php
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
http://www.coe.psu.ac.th/th/interest/registeronline.html
มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ศูนย์ดุสิตพณิชยการ
http://203.144.226.201/rbac/site/index.php/welcome/page/Online%20Registration.htm
มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
http://www.bkkthon.ac.th/admission/
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
http://admission.hcu.ac.th/modules.php?name=admission_online
มหาวิทยาลัยนครพนม
http://www.npu.ac.th/edus/entry_online/main.php

จังหวัดบึงกาฬ

จังหวัดบึงกาฬผ่านมติเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2553 ให้เป็นจังหวัดที่ 77 ของประเทศไทย ซึ่งเริ่มมีการยื่นคำร้องขอให้จัดตั้งขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะกรรมการกฤษฎีกา ก่อนนำทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป โดยจะต้องออกเป็นพระราชบัญญัติการจัดตั้งให้เรียบร้อย จึงเสร็จสิ้นสมบูรณ์

จังหวัดบึงกาฬ
จังหวัดบึงกาฬ

จังหวัดบึงกาฬผ่านมติเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2553 ให้เป็นจังหวัดที่ 77 ของประเทศไทย ซึ่งเริ่มมีการยื่นคำร้องขอให้จัดตั้งขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะกรรมการกฤษฎีกา ก่อนนำทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป โดยจะต้องออกเป็นพระราชบัญญัติการจัดตั้งให้เรียบร้อย จึงเสร็จสิ้นสมบูรณ์

เหตุผลในการตั้งจังหวัดที่ 77 มีดังนี้
– จังหวัดบึงกาฬ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ในเรื่อง อำเภอ จำนวนประชากร และลักษณะพิเศษของจังหวัด อีกทั้งยังเป็นผลดีต่อการให้บริการแก่ประชาชน
– เนื้อที่และสภาพภูมิศาสตร์ของจังหวัดหนองคาย ก่อนแยกออกมาเป็นจังหวัดบึงกาฬนั้น เป็นพื้นที่แนวยาวทอดตามลำน้ำโขง มีเส้นทางคมนาคมจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออกเป็นระยะทาง 350 กิโลเมตร จึงส่งผลต่อการรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดนได้ง่าย
– จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดอำนาจเจริญ ที่ตั้งขึ้นใหม่ ก็มีเนื้อที่น้อยกว่าหลักเกณฑ์มติคณะรัฐมนตรีเช่นกัน
– นอกจากนี้ จังหวัดบึงกาฬ ไม่ใช่หน่วยงานที่ดำเนินกิจการบริการสาธารณะ ซ้ำซ้อนกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงไม่กระทบต่อแนวทางการกระจายอำนาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่อย่าง ใด
– ส่วนเรื่องบุคลากร ที่มีอยู่จำนวน 439 อัตรา ก็สามารถกระจายกันภายในส่วนราชการได้ จึงไม่เป็นผลกระทบและภาระต่องบประมาณของประเทศมากนัก

ประวัติ อ.บึงกาฬ หรือ ว่าที่ จังหวัดบึงกาฬ
อำเภอบึงกาฬเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดหนองคาย อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 136 กิโลเมตร มีเขตพื้นที่ติดต่อกับแม่น้ำโขง และแขวงบริคำไชย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
เดิมอำเภอบึงกาฬ มีชื่อเดิมว่า ไชยบุรีซึ่ง ขึ้นกับจังหวัดนครพนม จนกระทั่งปี พ.ศ. 2460 ได้ถูกโอนย้ายให้ขึ้นต่อจังหวัดหนองคาย และถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น บึงกาฬ ในปี พ.ศ.2482
ต่อมา ในปี พ.ศ. 2537 ได้มีการร้องขอให้จัดตั้งเป็นจังหวัดบึงกาฬ ตามข้อเสนอของนายสุเมธ พรมพันห่าว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเสรีธรรม จังหวัดหนองคาย โดยแยกพื้นที่อำเภอบึงกาฬ อำเภอปากคาด อำเภอโซ่พิสัย อำเภอพรเจริญ อำเภอเซกา อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ออกจากจังหวัดหนองคาย แต่กระทรวงมหาดไทย ยังไม่มีแผนที่จะยกฐานะอำเภอบึงกาฬขึ้นเป็นจังหวัด เพราะการจัดตั้งจังหวัดใหม่เป็นการเพิ่มภาระด้านงบประมาณ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มกำลังคนภาครัฐซึ่งขัดมติคณะรัฐมนตรี

จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2553 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นายเทวฤทธิ์ นิกรเทศ ส.ส.สัดส่วน พรรคกิจสังคมได้ตั้งกระทู้ถามสดต่อนายกรัฐมนตรี เรื่องการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ และทางกระทรวงมหาดไทยเห็นด้วย กำลังอยู่ในกระบวนการนำเข้าเสนอต่อที่ประชุม ครม. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนส่งเรื่องเข้ามาสู่สภาผู้แทนราษฎร เพื่อเสนอเป็นกฎหมายพ.ร.บ.จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ ต่อไป
ต่อมา ในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ

ที่ตั้งและอาณาเขต
* ทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงบอลิคำไซ (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว)
* ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบุ่งคล้า
* ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเซกา อำเภอศรีวิไล อำเภอพรเจริญ และอำเภอโซ่พิสัย
* ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอปากคาด

เขตการปกครองแบ่งเป็น 12 ตำบล 131 หมู่บ้าน
1. บึงกาฬ (Bueng Kan) 11 หมู่บ้าน
2. โนนสมบูรณ์ (Non Sombun) 13 หมู่บ้าน
3. หนองเข็ง (Nong Kheng) 11 หมู่บ้าน
4. หอคำ (Ho Kham) 14 หมู่บ้าน
5. หนองเลิง (Nong Loeng) 13 หมู่บ้าน
6. โคกก่อง (Khok Kong) 9 หมู่บ้าน
7. นาสวรรค์ (Na Sawan) 9 หมู่บ้าน
8. ไคสี (Khai Si) 10 หมู่บ้าน
9. ชัยพร (Chaiyaphon) 13 หมู่บ้าน
10. วิศิษฐ์ (Wisit) 13 หมู่บ้าน
11. คำนาดี (Kham Na Di) 8 หมู่บ้าน
12. โป่งเปือย (Pong Pueai) 7 หมู่บ้าน
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AC
http://article.konmun.com/77-know509.htm